Shopee – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 20 Nov 2024 09:36:10 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว? ทำอีคอมเมิร์ซเร่งขยายไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ Temu เจออุปสรรคเข้าอินโดนีเซียไม่ได้ รัฐบาลอ้างต้องคุมสินค้าราคาถูก https://thestandard.co/ecommerce-growth-in-southeast-asia/ Wed, 20 Nov 2024 09:36:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1010801

ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว ทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญช […]

The post ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว? ทำอีคอมเมิร์ซเร่งขยายไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ Temu เจออุปสรรคเข้าอินโดนีเซียไม่ได้ รัฐบาลอ้างต้องคุมสินค้าราคาถูก appeared first on THE STANDARD.

]]>

ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว ทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีนบุกโฟกัสตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายแคมเปญ Singles’ Day กระหน่ำลดราคาดึงลูกค้า แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายของ Temu ที่พยายามเจาะอินโดนีเซียหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลชี้ ต้องคุมการนำเข้าสินค้าราคาถูกและปกป้องผู้ประกอบการรายเล็ก

 

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างมาก เพราะด้วยจำนวนประชากรที่มีอายุน้อยและมีการเข้าถึงโลกโซเชียลเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก 

 

สอดคล้องกับรายงานจาก Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่า ในปีที่ผ่านมาตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม (GMV) รวมสูงถึง 1.39 แสนล้านดอลลาร์ จึงทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นสนามแข่งขัน สำคัญของยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ ทั้ง Shopee, TikTok Shop, Lazada และ Temu 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

แม้ว่าจะไม่มีแพลตฟอร์มจากค่ายไหนเปิดเผยตัวเลข GMV (มูลค่ารวมของสินค้าที่ขายผ่านแพลตฟอร์ม) หรือในช่วงเทศกาลลดราคาโดยตรง แต่ก็เห็นการขยายตัวอย่างชัดเจน 

 

สำหรับในปีนี้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนอย่าง Alibaba และ JD.com มีการขยายแคมเปญ Singles’ Day ซึ่งเป็นเทศกาลลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ ไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

จริงๆ แล้ว Double 11 เป็นเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจัดขึ้นทุกวันที่ 11 พฤศจิกายนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นมาจาก Taobao ของ Alibaba ที่เริ่มต้นจัดงานนี้ในประเทศจีนเมื่อ 15 ปีก่อน ในช่วงแรกเริ่มก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันความนิยมในจีนเริ่มลดลง ไม่นิยมสั่งซื้อสินค้าในช่วงแคมเปญเหมือนหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องเผชิญกับเศรษฐกิจชะลอตัว ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย รวมถึงรัฐบาลมีการควบคุมสงครามราคาอีกด้วย 

 

หากสังเกตจะเห็นว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขการขายมา 2 ปีแล้ว และปีนี้ Tmall แพลตฟอร์มในเครือ Alibaba ก็ไม่ได้จัดงานอีเวนต์เหมือนหลายปีที่ก่อนที่เคยมีการแสดงจากนักร้องชื่อดัง เช่น Taylor Swift และ Scarlett Johansson

 

สะท้อนให้เห็นว่าตลาดในจีนเริ่มอิ่มตัวแล้ว แพลตฟอร์มของจีนจึงเปลี่ยนโฟกัส ขยายไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ประโยชน์จากการมีห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ เพื่อลดราคาสู้กับคู่แข่งในตลาดอื่นๆ แต่แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม ตลาด การกำกับดูแล และนโยบายการคุ้มครองตลาดในแต่ละประเทศ

 

เหมือนกับที่ Temu และ SHEIN กำลังเผชิญกับการตรวจสอบในประเทศเวียดนาม ซึ่งรัฐบาลได้เตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์มที่ไม่ได้จดทะเบียน และ Temu ยังพยายามจะเข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะรัฐบาลอ้างว่าจำเป็นต้องควบคุมการนำเข้าสินค้าราคาถูก เพื่อปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กในประเทศ 

 

เมื่อมาดูความคึกคักของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย หากสังเกตจะเห็นว่าถนนในกรุงเทพฯ ย่านที่มีคนพลุกพล่านจะเห็น TikTok Shop แสดงแคมเปญ Double 11 บนจอ LED ขนาดใหญ่ ชวนให้ไปช้อปปิ้ง และมีการยิงโฆษณาบนแอปพลิเคชันเรียกรถอย่าง Grab ไม่เว้นแม้แต่ Lazada ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Alibaba Group ก็สร้างกระแสโปรโมชันอย่างหนักหน่วง รวมถึงแพลตฟอร์ม X ก็เต็มไปด้วยโฆษณาที่เสนอส่วนลดอย่างต่อเนื่อง 

 

ณัฐพงศ์ คู่เมือง ชาวกรุงเทพฯ วัย 28 ปี กล่าวว่า ตัวเขาซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมูลค่า 3,600 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee และใช้โปรโมชันส่วนลดไป ทำให้ประหยัดได้ประมาณ 20% โดยส่วนลดในช่วง Double 11 จะคุ้มกว่าแคมเปญอื่นๆ

 

รวมถึงตลาดมาเลเซียมีผู้คนมากกว่า 5 ล้านคนเข้าร่วมรับชมงาน 11.11 Mega LIVE Showdown ที่จัดขึ้นโดย TikTok Shop เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา งานนี้สร้างคำสั่งซื้อผ่านไลฟ์สตรีมประมาณ 80,000 รายการ ขณะเดียวกัน Shopee Live ในมาเลเซียก็ทำยอดขายสินค้ากว่า 2.5 ล้านชิ้นในช่วง 2 ชั่วโมงแรกของวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าจากยอดขายในช่วงปกติ

 

ด้าน Lazada อธิบายถึงเทศกาล Singles’ Day ของปีนี้ว่า เป็นโอกาสทางธุรกิจของแพลตฟอร์ม และเน้นนำแบรนด์สินค้าที่มียอดเติบโตมาเพิ่มโปรโมชัน ให้ส่วนลด เมื่อมียอดใช้จ่ายถึงเกณฑ์ที่กำหนดและจัดส่งฟรีเพื่อดึงดูดนักช้อป โดยปีนี้ Lazada ยังรายงานด้วยว่าบรรลุเป้าหมายการทำกำไรเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม โดยวัดจากกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย 

 

พร้อมกันนี้เมื่อตลาดอีคอมเมิร์ซขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็สร้างอานิสงส์ให้บริษัทขนส่งสินค้าด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 1-11 พฤศจิกายน J&T Express ซึ่งเป็นบริษัทจัดส่งพัสดุที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแง่ของปริมาณการจัดส่งนั้นได้จัดการพัสดุมากกว่า 15 ล้านชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้นถึง 73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น J&T Express จึงขยายพื้นที่คัดแยกพัสดุเพิ่มขึ้นประมาณ 19,000 ตารางเมตร และติดตั้งระบบอัตโนมัติเพิ่มอีกกว่า 13 ระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ควบคู่กับการเพิ่มยานพาหนะขนส่งกว่า 900 คัน และจ้างพนักงานมากกว่า 3,800 คน เพื่อเสริมความสามารถในการคัดแยก การจัดส่ง และการบริการลูกค้าให้ได้อย่างครอบคลุม

 

“สุดท้ายตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับมาฟื้นตัวแล้ว และเข้าสู่ช่วงการเติบโตที่มั่นคงแล้วหลังผ่านพ้นช่วงวิกฤตโควิดมา” Li Jianggan ผู้ก่อตั้ง Momentum Works กล่าว

 

ภาพ: yanishevska / shutterstock

อ้างอิง:

The post ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว? ทำอีคอมเมิร์ซเร่งขยายไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ Temu เจออุปสรรคเข้าอินโดนีเซียไม่ได้ รัฐบาลอ้างต้องคุมสินค้าราคาถูก appeared first on THE STANDARD.

]]>
จากยุคทองสู่ยุคที่มืดมน! Shopee และ Tokopedia ขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้าในอินโดนีเซีย สูงสุด 10% หวังเพิ่มกำไร-ฝ่าสมรภูมิแข่งเดือด https://thestandard.co/shopee-tokopedia-indo-10-percent/ Thu, 26 Sep 2024 06:14:27 +0000 https://thestandard.co/?p=988281

Nikkei Asia รายงานว่า ในช่วงยุคทองของแพลตฟอร์ม e-Commer […]

The post จากยุคทองสู่ยุคที่มืดมน! Shopee และ Tokopedia ขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้าในอินโดนีเซีย สูงสุด 10% หวังเพิ่มกำไร-ฝ่าสมรภูมิแข่งเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>

Nikkei Asia รายงานว่า ในช่วงยุคทองของแพลตฟอร์ม e-Commerce ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายๆ แพลตฟอร์มพยายามกำหนดค่าธรรมเนียมที่ต่ำเพื่อดึงร้านค้าเข้ามา แต่วันนี้สภาพตลาดเปลี่ยนไปและมีผู้เล่นหน้าใหม่กระโดดเข้ามา ทำให้การแข่งขันยิ่งทวีคูณมากขึ้น

 

กระทั่งล่าสุด Shopee และ Tokopedia ประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้าในอินโดนีเซียสูงสุดถึง 10% ของราคาขาย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าหรือประเภทผู้ขาย จากเดิมที่เคยเก็บสูงสุดเพียง 6.5% แต่ในเดือนเดียวกัน Shopee เพิ่มค่าคอมมิชชันให้แก่ผู้ขายบางรายในอินโดนีเซียเช่นกัน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการปรับกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจทำรายได้และกำไรได้มากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งในการปรับตัวรับมือกับแรงกดดันหลังจากโควิดคลี่คลายและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จากเดิมที่เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลับไปซื้อสินค้าจากหน้าร้านเพิ่มขึ้น ทำให้การเติบโตของยอดขายชะลอตัวลง

 

โดย Shopee และ Tokopedia ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตัดสินใจปรับขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว แต่ Kai Wang นักวิเคราะห์หุ้นอาวุโสจาก Morningstar กล่าวว่า หลังจากกำไรสุทธิของทั้ง 2 แพลตฟอร์มลดลง การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมจึงเป็นทางเลือกที่ต้องทำเพื่อเพิ่มผลกำไร แม้ร้านค้าจะไม่พอใจก็ตาม

 

ทั้งนี้ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แพลตฟอร์มคู่แข่งหลายค่ายทั้ง Lazada และ TikTok ปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมกันไปแล้ว แต่สิ่งที่หลายค่ายยังทำอยู่คือการขึ้น ค่าคอมมิชชัน โดยในเดือนกรกฎาคมปีนี้ Shopee ก็ปรับขึ้นค่าคอมมิชชันในมาเลเซียไปแล้ว

 

เมื่อไม่นานมานี้ Shopee ร่วมกับ YouTube เปิดตัวบริการช้อปปิ้งออนไลน์ในอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ใช้สามารถซื้อสินค้าที่เห็นในเว็บไซต์สตรีมมิงผ่านลิงก์ของ Shopee โดยทั้งสองบริษัทยังมีแผนที่จะขยายความร่วมมือนี้ไปยังตลาดในประเทศอื่นๆ เช่น ไทยและเวียดนาม

 

ฝั่งบรรดานักวิเคราะห์คาดว่า แม้ว่าจะมีผู้ค้าบางรายไม่พอใจ แต่ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอย่างมีนัยสำคัญ

 

ฟังเสียงสะท้อนจากร้านค้าบนแพลตฟอร์มในสิงคโปร์ เป็นชายวัย 35 ปีที่ขายเสื้อผ้าบน TikTok Shop แสดงความเห็นว่า ตนจะยังคงขายบนแพลตฟอร์มต่อไป เนื่องจากการสร้างช่องทางขายของตนเองอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าและเสียเวลามากกว่าในการทำการตลาดและการจัดส่งสินค้า ดังนั้นต้องยอมจ่ายเพิ่มหากต้องการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

 

ขณะที่ร้านค้าบางรายหันไปเปิดช่องทางขายเป็นของตัวเอง เจ้าของร้านค้าบนแพลตฟอร์มชาวมาเลเซียระบุว่า เขาขายสินค้าบน Shopee และ Lazada มานาน 2 ปี และขายบน TikTok Shop 1 ปี เมื่อ 3 เดือนก่อนเขาตัดสินใจปิดร้านค้าออนไลน์ทั้งหมด เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นและกรอบเวลาการจัดส่งที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ต้นสูงขึ้นและกำไรลดลงจนไม่สามารถแบกรับได้ไหว

 

Jianggan Li ซีอีโอของบริษัทที่ปรึกษา Momentum Works ในสิงคโปร์ กล่าวว่า ในระยะสั้นไม่ได้มองว่าการขึ้นค่าคอมมิชชันจะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมหรือจำนวนผู้ค้าที่มีอยู่บนแพลตฟอร์ม

 

ตั้งแต่ช่วงปี 2010 แพลตฟอร์มอย่าง Tokopedia, Lazada และ Shopee แข่งขันกันด้วยการเสนอส่วนลด โปรโมชัน และค่าคอมมิชชันที่ต่ำ เพื่อดึงดูดความสนใจจนทำให้มีร้านค้าเข้ามาจำนวนมาก

 

แต่หลังจากโควิดคลี่คลายบวกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้บังคับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องลดการใช้จ่ายและลดจำนวนพนักงานอย่างรวดเร็ว เพื่อปรับปรุงผลกำไร เนื่องจากนักลงทุนเริ่มหลีกเลี่ยงบริษัทเทคโนโลยีที่ยังขาดทุน

 

แต่การแข่งขันกลับทวีความรุนแรงขึ้นในปี 2021 เมื่อ TikTok ได้เปิดตัวบริการ e-Commerce ของตัวเองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ฟังก์ชันการไลฟ์ที่ได้รับความนิยมและเพิ่มฐานลูกค้าขนาดใหญ่ พร้อมเสนอค่าคอมมิชชันที่ต่ำกว่า ทำให้ TikTok เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในสินค้าหมวดความงามและแฟชั่น

 

สิ่งนี้ทำให้ Shopee ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคต้องเปิดเกมรุกด้วยการลงทุนเพิ่มฟังก์ชันการไลฟ์ที่คล้ายกันเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด รวมไปถึง Tokopedia ที่ต้องเผชิญความยากลำบากในการตามให้ทันเทรนด์การแข่งขันจนในที่สุดก็ประกาศขายหุ้น 75% ให้กับ TikTok เมื่อเดือนธันวาคมปี 2023 โดยการซื้อกิจการจะแล้วเสร็จในปีนี้

 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล Momentum Works ในปี 2023 Shopee ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำด้วยส่วนแบ่งตลาด 48% เมื่อพิจารณาจากปริมาณการค้า สินค้ารวมในภูมิภาค ตามมาด้วย Lazada ที่มีส่วนแบ่ง 16.4% ขณะที่ TikTok และ Tokopedia มีส่วนแบ่งเท่ากันที่ 14.2%

 

อ้างอิง:

The post จากยุคทองสู่ยุคที่มืดมน! Shopee และ Tokopedia ขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้าในอินโดนีเซีย สูงสุด 10% หวังเพิ่มกำไร-ฝ่าสมรภูมิแข่งเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>
Affiliate Marketing มาแรงจน YouTube ประกาศศึก TikTok Shop! จับมือ Shopee เปิดตัว YouTube Shopping ในไทย เร็วๆ นี้ https://thestandard.co/affiliate-marketing-youtube-shopping/ Wed, 25 Sep 2024 03:56:58 +0000 https://thestandard.co/?p=987689 Affiliate Marketing

Affiliate Marketing กลายเป็นสิ่งที่หอมเย้ายวนจนแม้แต่แพ […]

The post Affiliate Marketing มาแรงจน YouTube ประกาศศึก TikTok Shop! จับมือ Shopee เปิดตัว YouTube Shopping ในไทย เร็วๆ นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Affiliate Marketing

Affiliate Marketing กลายเป็นสิ่งที่หอมเย้ายวนจนแม้แต่แพลตฟอร์มวิดีโอยักษ์ใหญ่ของโลกยังทนไม่ไหว ประกาศจับมือกับอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง Shopee เดินหน้าขยายการให้บริการ YouTube Shopping ในไทย โดยยังไม่ระบุจะเปิดเมื่อไร แต่บอกว่า ‘เร็วๆ นี้’ เท่านั้น

 

YouTube ขยายความในระหว่างแถลงผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่ง THE STANDARD WEALTH ได้เข้าร่วมว่า Affiliate ที่จะเข้ามาช่วยครีเอเตอร์สร้างรายได้อีกช่องทางผ่านการแสดงสินค้าที่สามารถให้ผู้ชมกดสั่งซื้อได้ระหว่างรับชม โดยครีเอเตอร์จะได้ค่าคอมมิชชันเป็นผลตอบแทน

 

ก่อนหน้านี้ Reuters รายงานว่า YouTube และ Shopee ประกาศเปิดตัวบริการช้อปปิ้งออนไลน์ในอินโดนีเซีย ภายใต้ความร่วมมือ YouTube Shopping ซึ่ง Ajay Vidyasagar ผู้อำนวยการ YouTube ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า พลังและความเร็วของการช้อปปิ้งออนไลน์ในอินโดนีเซียเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เลือกเปิดตัวบริการนี้ในอินโดนีเซียก่อน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

นอกจากนี้บริการดังกล่าวยังมีแผนขยายไปยังเวียดนามด้วย แต่ยังไม่ได้เปิดเผยช่วงเวลาที่แน่นอนเช่นกัน ปัจจุบัน YouTube Shopping เปิดให้บริการแล้วในเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา

 

Reuters ชี้ว่า การเปิดตัว YouTube Shopping ถือเป็นการประกาศศึกกับ TikTok Shop ของ ByteDance ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ TikTok เข้าควบคุม Tokopedia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย

 

TikTok Shop มีมูลค่าการซื้อขายรวม (GMV) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 1.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2023 เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าจากปีก่อนหน้า ทำให้กลายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาครองจาก Shopee

 

Affiliate Marketing เทรนด์มาแรงในไทย

 

ในประเทศไทย ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด หรือ MI GROUP ได้แสดงความเห็นเอาไว้ว่า จากใช้เพื่อสร้างแบรนด์ ต่อไปเทรนด์การใช้อินฟลูเอ็นเซอร์จะขยับไปเป็น Affiliate Marketing มากขึ้น

 

“เหตุผลที่เป็นอย่างนั้นเพราะบางคนขายได้เป็นล้านบาทในหนึ่งวัน ทำให้แบรนด์เห็นยอดขายได้ทันที” ภวัตระบุ พร้อมขยายความว่า การใช้ Affiliate Marketing กับอินฟลูเอ็นเซอร์นั้นขึ้นอยู่กับว่าจะตกลงกันอย่างไร ซึ่งมีทั้งการแบ่งเป็นค่าคอมมิชชันในสัดส่วน 5-15% หรือแบ่งตามจำนวนชิ้นที่ขายได้ตั้งแต่หลักหน่วยไปจนถึงหลักหมื่นที่ยังมีสำหรับสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ

 

ด้านข้อมูลจาก Lazada ระบุถึงอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทยว่ามีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ไทยเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อจากอินโดนีเซีย ด้วยอัตราการเติบโต 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค โดยมีมูลค่า 9.8 แสนล้านบาท

 

Lazada ยังประเมินถึงอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทย ซึ่งคาดว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะเห็นตัวเลขการเติบโตเป็นดับเบิลดิจิตอยู่ เพราะผู้บริโภคในไทยเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตได้ครอบคลุมมากกว่าประเทศอื่น ทำให้มีการใช้บริการอีคอมเมิร์ซค่อนข้างมาก

 

สร้างแคปชันพากย์เสียงแบบเรียลไทม์กำลังจะมา แต่ยังไม่มีไทย

 

ขณะเดียวกัน การแถลงข่าวของ YouTube เมื่อเช้าวานนี้ (24 กันยายน) ยังได้ประกาศการอัปเดตแพลตฟอร์มจากงาน Made On ว่ากำลังมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่จะเปิดให้เหล่าครีเอเตอร์ได้หยิบไปใช้สร้างสรรค์คอนเทนต์ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

 

ซึ่งหนึ่งในไฮไลต์ของงานคือการนำโมเดล ‘แปลงข้อความเป็นวิดีโอ’ (Text to Video) จาก Google DeepMind เข้ามาให้ครีเอเตอร์ที่ทำคลิปสั้น (Shorts) สามารถนำไปสร้างวิดีโอพื้นหลังหรือสร้างวิดีโอความยาว 6 วินาที เพื่อใช้ประกอบคอนเทนต์ของตนเองได้ ฟีเจอร์นี้มีชื่อว่า ‘Veo’ โดย YouTube ประกาศว่าฟีเจอร์ดังกล่าวจะติดกำกับว่าเป็นคอนเทนต์ที่ AI สร้างขึ้น ซึ่งจะเปิดให้ใช้งานช่วงประมาณปลายปีนี้

 

ในขณะเดียวกัน YouTube ยังได้นำ AI เข้ามาเป็นเพื่อนคู่คิดบน YouTube Studio ในแท็บใหม่ที่บริษัทเรียกว่า Inspiration ซึ่งครีเอเตอร์สามารถพูดคุยและระดมสมองกับ AI เพื่อเปลี่ยนไอเดียให้กลายเป็นความจริง ทั้งการคิดชื่อปก ภาพ Thumbnail ไปจนถึงโครงร่างเนื้อหาในคอนเทนต์

 

Community Hubs เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่มี AI เข้ามาช่วยครีเอเตอร์จัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มคนดูของตัวเองด้วยการแนะนำวิธีโต้ตอบกับฐานคนดู ช่วยให้การบริหารเวลามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

การสร้างแคปชันพากย์เสียงในภาษาต่างประเทศแบบเรียลไทม์หรือว่า Auto Dubbing เป็นสิ่งที่ YouTube กำลังขยายขอบเขตการให้บริการไปสู่ภาษาสเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอิตาเลียน

 

อย่างไรก็ตาม การเปิดให้บริการ Auto Dubbing ในภาษานอกเหนือจากที่กล่าวมายังอยู่ระหว่างการพัฒนา และยังไม่มีการประกาศออกมาจาก YouTube อย่างชัดเจนว่าภาษาอื่นรวมถึงไทยจะออกมาให้ครีเอเตอร์ใช้กันได้เมื่อไร

 

ภาพ: Dave Kotinsky / Getty Images

อ้างอิง:

The post Affiliate Marketing มาแรงจน YouTube ประกาศศึก TikTok Shop! จับมือ Shopee เปิดตัว YouTube Shopping ในไทย เร็วๆ นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Shopee 9.9 ทุบสถิติ! คนไทยช้อปทะลุ ‘พันล้าน’ ใน 18 นาที บ้านสำเร็จรูปราคา 3 แสน สินค้าราคาแพงสุดที่ขายได้บน Shopee Video https://thestandard.co/shopee-9-9-record-breaking-sales/ Wed, 11 Sep 2024 08:12:25 +0000 https://thestandard.co/?p=982297 Shopee 9.9

ถึงแคมเปญ Double Day จะมาทุกเดือน รวมถึงสารพัดโปรโมชันท […]

The post Shopee 9.9 ทุบสถิติ! คนไทยช้อปทะลุ ‘พันล้าน’ ใน 18 นาที บ้านสำเร็จรูปราคา 3 แสน สินค้าราคาแพงสุดที่ขายได้บน Shopee Video appeared first on THE STANDARD.

]]>
Shopee 9.9

ถึงแคมเปญ Double Day จะมาทุกเดือน รวมถึงสารพัดโปรโมชันที่ออกมาดึงเงินในกระเป๋าคนไทยในวันที่เศรษฐกิจผันผวน แต่ทุกครั้งก็เกิดสถิติใหม่เรื่อยๆ อย่าง 9.9 ของ Shopee ที่ออกมาเผยว่าคนไทยซื้อสินค้าแตะ ‘พันล้านบาท’ ในเวลาเพียง 18 นาทีเท่านั้น

 

“Shopee Live, Shopee Video และ Shopee Affiliate Program คือเครื่องมือในแคมเปญ 9.9 ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และครีเอเตอร์” การัน อำบานี ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ ช้อปปี้ (ประเทศไทย) กล่าว

 

โดยสถิติระบุว่า วันที่ 9 เดือน 9 ที่ผ่านมา Shopee Live ทำให้ร้านค้าสร้างยอดขายโตกว่า 8 เท่า และร้านค้าท้องถิ่นรายหนึ่งสามารถสร้างยอดขายโตกว่า 23 เท่า โดยสกินแคร์ อุปกรณ์ทำอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง คือสินค้าขายดีบน Shopee Live ในแคมเปญ 9.9

 

ส่วน Shopee Video ร้านค้าและแบรนด์สามารถสร้างยอดขายทะลุกว่า 22 เท่า ในแคมเปญ 9.9 ที่ผ่านมา โดยร้านสินค้าอุปโภคบริโภคร้านหนึ่งสามารถสร้างยอดออร์เดอร์ทะยานไปกว่า 80 เท่า บน Shopee Video เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ และพบว่าสินค้าที่มีราคาแพงที่สุดที่ซื้อบน Shopee Video คือบ้านสำเร็จรูปที่มีราคาสูงถึงกว่า 3 แสนบาท

 

สุดท้าย Shopee Affiliate Program สร้างยอดขายให้กับแบรนด์บน Shopee Mall เติบโตมากกว่า 5.5 เท่า และพบว่าหนึ่งในร้านสกินแคร์ท้องถิ่นสามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 142 เท่า ในช่วงแคมเปญ 9.9 และเครื่องใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิง และความงามและของใช้ส่วนตัว เป็น 3 หมวดหมู่สินค้าฮิตที่ครีเอเตอร์ตัวยงเลือกโปรโมตผ่าน Shopee Affiliate Program

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จาก 6.34 แสนล้านบาท ในปี 2566 เป็น 6.94 แสนล้านบาท ในปี 2567 เติบโตเฉลี่ยปีละ 6% และคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 7.5 แสนล้านบาท ในปี 2568

 

ขณะที่ Tellscore แพลตฟอร์มด้านอินฟลูเอ็นเซอร์ของไทยเผยว่า ในประเทศไทยคาดว่ามีคอนเทนต์ครีเอเตอร์มากถึง 9 ล้านคน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับ Nano, Macro และ Mega Creator ทั้งที่เป็น Full-Time และ Part-time ซึ่งคาดว่าตลาดครีเอเตอร์นั้นมีมูลค่ากว่า 4.5 หมื่นล้านบาท โดยมูลค่าดังกล่าวนั้นเป็นคนละส่วนกับตลาดโฆษณาดิจิทัล

The post Shopee 9.9 ทุบสถิติ! คนไทยช้อปทะลุ ‘พันล้าน’ ใน 18 นาที บ้านสำเร็จรูปราคา 3 แสน สินค้าราคาแพงสุดที่ขายได้บน Shopee Video appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยสร้างไทยชี้ ต่างชาติยึดตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเบ็ดเสร็จ ทำลายอำนาจการแข่งขันในประเทศ https://thestandard.co/thai-sang-thai-on-e-commerce/ Sun, 19 May 2024 12:03:31 +0000 https://thestandard.co/?p=935480 ไทยสร้างไทย พูดถึง ตลาดอีคอมเมิร์ซ

วันนี้ (19 พฤษภาคม) นพดล มังกรชัย รองหัวหน้าพรรคไทยสร้า […]

The post ไทยสร้างไทยชี้ ต่างชาติยึดตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเบ็ดเสร็จ ทำลายอำนาจการแข่งขันในประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยสร้างไทย พูดถึง ตลาดอีคอมเมิร์ซ

วันนี้ (19 พฤษภาคม) นพดล มังกรชัย รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย กลายเป็นหนึ่งในช่องทางการค้าขายสินค้าที่สำคัญของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ในปัจจุบัน เพราะซื้อง่ายขายคล่อง และยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็ต้องยอมรับความเจ็บปวด เพราะแลกมาด้วยการที่ผู้ค้าผู้ขายต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการขาย (Sales Transaction Fee) ที่ยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มเจ้าตลาดเป็นผู้กำหนดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มข้ามชาติที่เป็นเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซ และตอนนี้เข้ามายึดตลาดบ้านเราไปอย่างเบ็ดเสร็จแล้วที่พวกเรารู้จักคุ้นเคยกันดี ได้แก่ Lazada, Shopee, TikTok ซึ่งในระยะแรกๆ ที่เข้ามาในเมืองไทย ดูเหมือนจะทำตัวสงบเสงี่ยมไม่วางก้ามมากนัก ที่ผ่านมาเป็นการทำการตลาดด้วยการแข่งขันในสงครามราคาเพื่อสร้างฐานผู้ใช้ โดยในช่วงแรกออกค่าธรรมเนียมให้ผู้ขาย เพื่อดึงดูดให้คนมาขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ส่งผลให้ประสบภาวะขาดทุนเป็นหมื่นล้านบาทหลายปีติดต่อกัน จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่มีฐานผู้ใช้มากขึ้น มีอำนาจต่อรองกับคนขายก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนต่าง เช่น ค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการจัดส่ง รวมแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องเสียค่าธรรมเนียมราว 15.85% ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

จากข้อมูลรายงาน E-commerce in Southeast Asia 2023 ระบุว่า มูลค่าการซื้อขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในไทย ปี 2565 อยู่ที่ 1.44 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.27 แสนล้านบาท)  ซึ่งเมื่อเจาะรายละเอียดไปที่ส่วนแบ่งตลาดของแต่ละแพลตฟอร์มจะพบว่า Shopee มีส่วนแบ่งมากสุดที่ 56% ตามด้วย Lazada 40% และ TikTok 4% ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ภาพตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการจากต่างประเทศอย่างแท้จริง

 

ถามว่าแพลตฟอร์มข้ามชาติเหล่านั้นยอมขาดทุนอย่างมหาศาลเพื่อแลกกับอะไร นพดลชี้ว่า เพื่อแลกกับการเข้าสู่ตลาดในประเทศ เพื่อทำลายอำนาจการแข่งขันของผู้ประกอบการภายในประเทศ และที่สำคัญคือเพื่อแลกกับการเข้าสู่ข้อมูลลูกค้า รวมไปถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยหรือไลฟ์สไตล์ของลูกค้า เพื่อนำไปให้ AI วิเคราะห์กำหนด Customer Information Scoring ทำการตลาดเจาะลูกค้าแต่ละราย ทำให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแม่นยำทั้งในรูปปัจเจกบุคคลและกลุ่มลูกค้ารายประเภทการค้า นอกจากข้อมูลลูกค้ายังรวมไปถึงข้อมูลคู่ค้าที่อยู่ในวงโคจรทั้งหมดด้วย พอถึงเวลาที่ได้ข้อมูลทุกอย่างพร้อมก็พาเหรดกอดคอกันปรับขึ้นค่าธรรมเนียมตามใจชอบ เช่นในปี 2566 ทั้ง Shopee และ Lazada ขึ้นค่าธรรมเนียมถึง 2 รอบ

 

ล่าสุด Shopee Thailand ประกาศปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการขายครั้งใหม่สำหรับกลุ่ม Mall Sellers และ Non-Mall Sellers (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีผลตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2567 ดังนี้ 

 

  • ค่าธรรมเนียมสำหรับ Mall Sellers แบ่งเป็น สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Items) เป็น 6% จากเดิม 5% ของราคาสินค้า, สินค้าบางประเภทในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Exceptions of Electronics Items) เป็น 5% หรือ 8% จากเดิม 6% ส่วนสินค้าที่ไม่อยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Non-Electronics Items) อยู่ที่ 5-8% จากเดิม 7%

 

  • ส่วนค่าธรรมเนียมสำหรับ Non-Mall Sellers แบ่งเป็น สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Items) 5% จาก 4%, สินค้าที่ไม่อยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Non-Electronics Items) 5% จาก 4%, สินค้าในหมวดหมู่สินค้าแฟชั่น (Fashion Cluster) 6% จาก 5% และสินค้าบางประเภทในหมวดหมู่ย่อยของสินค้าในหมวดหมู่สินค้าแฟชั่น 5% จาก 4% ของราคาสินค้า 

 

ส่วน Lazada ได้ปรับค่าธรรมเนียมการใช้บริการ Marketplace Service Fee และมีผลตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ในบางหมวดหมู่สินค้า เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องเสียง กล้อง โดรน ฯลฯ) 4% จากเดิม 3%, สินค้าแฟชั่น (กระเป๋า เสื้อผ้า ฯลฯ) 5% จากเดิม 4%, สินค้าอุปโภค-บริโภค 4% จากเดิม 3% และสินค้าทั่วไป 4% จากเดิม 3%

 

สำหรับ TikTok Shop Thailand ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ได้ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมคอมมิชชัน เดิมคิดอัตราคงที่ 4% มาเป็นการคิดแตกต่างกันหมวดหมู่ย่อยของสินค้า (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) แบ่งเป็นสินค้าแฟชั่น 4.00-5.35%, สินค้าอุปโภค-บริโภค (FMCG) 4.28%, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 4.28% สินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องครัว 4.28%

 

ส่วน LINE SHOPPING คิดค่าธรรมเนียม (Service Fee) จากคำสั่งซื้อบนช่องทางสื่อและแคมเปญ LINE SHOPPING ที่ 3% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป แต่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขายในกรณีที่คำสั่งซื้อเกิดจากการออร์เดอร์ผ่านห้องแชตในแอปพลิเคชัน LINE หรือผู้ขายเป็นผู้โฆษณาร้านค้าด้วยตนเอง หรือส่งลิงก์ร้านค้าและสินค้าของผู้ขาย shop.line.me/@shopbasicid ให้ผู้ซื้อโดยตรง

 

ไทยสร้างไทยจึงขอเสนอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการกำกับการแข่งขัน-เพดานราคา เนื่องจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ มีแค่ 2-3 เจ้า ผูกขาดตลาดไว้เกือบหมด ผู้ค้าขายคนไทยรวมถึงผู้บริโภคคนไทยไม่ได้มีตัวเลือกไปมากกว่านี้ ส่วนผู้บริโภคแม้จะมีส่วนดีที่ยังได้รับอานิสงส์จากการที่แพลตฟอร์มเสนอดีลราคาพิเศษ แต่ความน่ากลัวที่เป็นผลกระทบข้างเคียง คือแผนการตลาดจากแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีผลเป็นการทุบร้านค้าปลีกรายเล็กตายหมด ถ้าอยากรอดก็ต้องขึ้นมาขายออนไลน์ แต่แพลตฟอร์มก็ขึ้นค่าธรรมเนียมต่อเนื่อง เวลาขึ้นจาก 1% เป็น 2% ดูเหมือนไม่เยอะ แต่จริงๆ คือเท่าตัว 100-200% ภาครัฐควรเข้ามากำกับดูแลการขึ้นค่าธรรมเนียมของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ที่มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศ จำเป็นต้องป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคคนไทยโดยแพลตฟอร์มข้ามชาติ

The post ไทยสร้างไทยชี้ ต่างชาติยึดตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเบ็ดเสร็จ ทำลายอำนาจการแข่งขันในประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Gen Z ช้อปออนไลน์ก่อนใคร! 68% เริ่มต้นที่อีคอมเมิร์ซ ค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ พบเสื้อเชิ้ต กางเกงยีนส์ นาฬิกา ไอเท็มยอดฮิต https://thestandard.co/gen-z-68-percents-e-commerce-price-research/ Sun, 05 May 2024 02:30:53 +0000 https://thestandard.co/?p=930093 Gen Z

จากรายงาน The Future of Shopping: Engaging Generation Z […]

The post Gen Z ช้อปออนไลน์ก่อนใคร! 68% เริ่มต้นที่อีคอมเมิร์ซ ค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ พบเสื้อเชิ้ต กางเกงยีนส์ นาฬิกา ไอเท็มยอดฮิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
Gen Z

จากรายงาน The Future of Shopping: Engaging Generation Z Shoppers in the Digital Era ซึ่งจัดทำโดย Shopee ร่วมกับ Kantar ให้ข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ของกลุ่ม Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล และกำลังจะกลายเป็นกำลังซื้อหลักในอนาคตอันใกล้

 

จากการศึกษาพบว่า 68% ของนักช้อป Gen Z จะเริ่มต้นการช้อปปิ้งด้วยการเยี่ยมชมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก่อนเสมอ โดยให้ความสำคัญอย่างมากกับการค้นคว้าข้อมูลสินค้าอย่างละเอียด ทั้งการอ่านรีวิวจากผู้ใช้จริง การดูวิดีโอสาธิตการใช้งานสินค้า รวมถึงการเปรียบเทียบราคาจากหลายร้านค้า ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อในที่สุด 

 

ทั้งนี้ ความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกช้อปของ Gen Z โดย 79% ของกลุ่มนี้ระบุว่า มีความไว้วางใจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในระดับสูง เนื่องจากมั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จำหน่าย มีประสบการณ์การสั่งซื้อที่ราบรื่น การบริการลูกค้าที่ดี ตลอดจนมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายและสะดวกสบาย

 

นอกจากนี้ 74% ของนักช้อป Gen Z ยังนิยมการค้นหาและสั่งซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ โดยชื่นชอบแพลตฟอร์มที่มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย สามารถเปรียบเทียบสินค้าจากหลายร้านค้าได้ง่าย และมีระบบแนะนำสินค้าที่ตรงใจ ขณะที่อีก 50% แม้จะเข้าไปสำรวจสินค้าบนโซเชียลมีเดียก่อน แต่สุดท้ายก็มักจะกลับมาสั่งซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซเป็นหลักอยู่ดี

 

อีกหนึ่งเทรนด์น่าสนใจคือ Gen Z กว่า 77% ของกลุ่มนี้จะเลือกช้อปบนแพลตฟอร์มที่มีคอนเทนต์ความบันเทิงแทรกอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ไลฟ์สตรีมหรือวิดีโอสั้น เพื่อที่จะได้ติดตามครีเอเตอร์คนโปรดไปพร้อมๆ กับการช้อปได้อย่างเพลิดเพลิน ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของ Gen Z ที่ใช้เวลากับการเสพคอนเทนต์บันเทิงบนมือถือเป็นเวลานาน

 

สำหรับประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม Gen Z ของไทยนั้น 73% ให้ความสนใจสินค้าแฟชั่นมากที่สุด โดยข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Shopee ชี้ให้เห็นว่า เสื้อเชิ้ต กางเกงยีนส์ และนาฬิกา ครองแชมป์ไอเท็มยอดฮิต ส่วนกางเกงช้าง กระโปรงเทนนิส และกระเป๋าเดินทาง ติดอันดับคำค้นหายอดนิยม และของมาแรงบนฟีเจอร์วิดีโอของ Shopee ได้แก่ สร้อยข้อมืออัญมณี รองเท้ากีฬา และกระเป๋าผ้าแคนวาส

 

จากข้อมูลเชิงลึกนี้ นักการตลาดและแบรนด์สินค้าต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของกลุ่ม Gen Z มากขึ้น ทั้งในแง่ของการนำเสนอข้อมูลสินค้าที่ครบถ้วน เข้าใจง่าย สร้างความน่าเชื่อถือ ผ่านรูปแบบที่หลากหลายทั้งรีวิว, How-to Video หรือ Live Product Demo ควบคู่ไปกับการนำเสนอคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ สอดแทรกความบันเทิง และดึงดูดให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ชม 

 

นอกจากนี้การเลือกจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำที่มีความน่าเชื่อถือ ระบบการซื้อขายและชำระเงินที่ปลอดภัย การจัดส่งที่รวดเร็ว รวมถึงการให้บริการหลังการขายที่ดี ก็จะช่วยสร้างความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และการบอกต่อในกลุ่มผู้บริโภค Gen Z ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างแบรนด์และลูกค้าต่อไปในระยะยาว

The post Gen Z ช้อปออนไลน์ก่อนใคร! 68% เริ่มต้นที่อีคอมเมิร์ซ ค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ พบเสื้อเชิ้ต กางเกงยีนส์ นาฬิกา ไอเท็มยอดฮิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
AFF จับมือ Shopee จัดศึกชิงแชมป์สโมสรอาเซียนในชื่อ Shopee Cup https://thestandard.co/aff-with-shopee-launched-shopee-cup/ Wed, 10 Apr 2024 08:07:53 +0000 https://thestandard.co/?p=921513 Shopee Cup

สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (AFF) ได้แถลงความร่วมมือกับ Shopee […]

The post AFF จับมือ Shopee จัดศึกชิงแชมป์สโมสรอาเซียนในชื่อ Shopee Cup appeared first on THE STANDARD.

]]>
Shopee Cup

สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (AFF) ได้แถลงความร่วมมือกับ Shopee ในฐานะพันธมิตรหลักของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรอาเซียน หรือ ASEAN Club Championship เป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อการแข่งขัน Shopee Cup

 

โดย Shopee Cup จะเป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรระดับภูมิภาคอย่างเป็นทางการครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะจัดเป็นประจำในทุกปี เพื่อระดมความสนใจในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระดับสโมสรในหนึ่งในตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นภูมิภาคบ้านเกิดของแพลตฟอร์ม Shopee

 

การแข่งขันครั้งนี้จะเล่นในรูปแบบลีก โดยมีทีมสโมสรชั้นนำจากอาเซียนทั้งหมด 14 สโมสรเข้าร่วมการแข่งขันรวม 40 นัด เพื่อให้สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวระดับภูมิภาคตามปฏิทินยุโรป โดย Shopee Cup จะเริ่มต้นขึ้นในปีนี้ ช่วงวันที่ 17 กรกฎาคม ไปจนถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2568

 

สำหรับทีมที่เข้าร่วม Shopee Cup ประกอบด้วย แชมป์ลีกระดับชาติ และทีมแชมป์ฟุตบอลถ้วย (หรือรองแชมป์ในบางกรณี) ได้แก่ ประเทศไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม (ประเทศละ 2 ทีม) ประเทศฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ (ประเทศละ 1 ทีม) ตามลำดับ ส่วนแชมป์ลีกระดับชาติของประเทศบรูไน, กัมพูชา, สปป.ลาว และเมียนมา จะแข่งขันเพื่อหาทีมเข้ารอบแบ่งกลุ่มต่อไป

 

ทั้งนี้ 12 สโมสรที่เข้ารอบจะถูกจับสลากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้ง 30 แมตช์จะเล่นแบบเหย้า-เยือน ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน 5 วัน ซึ่งทีมแชมป์และรองแชมป์ของแต่ละกลุ่มจะได้เข้ารอบรองชนะเลิศ ซึ่งรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศจะเล่นแบบเหย้า-เยือนเช่นเดียวกัน

The post AFF จับมือ Shopee จัดศึกชิงแชมป์สโมสรอาเซียนในชื่อ Shopee Cup appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าของ Shopee ประกาศผลกำไรเป็น ‘ปีแรก’ ด้วยตัวเลข 5.5 พันล้านบาท พลิกจากขาดทุน 6 หมื่นล้านบาทในปีก่อนหน้า https://thestandard.co/shopee-first-profit-year/ Wed, 06 Mar 2024 05:28:11 +0000 https://thestandard.co/?p=907805 Shopee

Sea Group เจ้าของ Shopee ประกาศเมื่อวันจันทร์ (4 มีนาคม […]

The post เจ้าของ Shopee ประกาศผลกำไรเป็น ‘ปีแรก’ ด้วยตัวเลข 5.5 พันล้านบาท พลิกจากขาดทุน 6 หมื่นล้านบาทในปีก่อนหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
Shopee

Sea Group เจ้าของ Shopee ประกาศเมื่อวันจันทร์ (4 มีนาคม) ว่าสามารถทำกำไรได้เป็นปีแรกนับตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ท่ามกลางการพยายามปกป้องส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งอย่าง Lazada (ที่ Alibaba เป็นเจ้าของ) และ TikTok

 

ยักษ์เทคโนโลยีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีกำไรสุทธิ 162.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.5 พันล้านบาท) ในปี 2023 ต่างจากปี 2022 ที่ขาดทุนสุทธิ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท) อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 4/23 ยังคงขาดทุนสุทธิ 111.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.7 พันล้านบาท) โดยไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า มีกำไรสุทธิ 422.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท)

 

“ในปี 2023 เราสามารถทำกำไรได้ เสริมความแข็งแกร่งให้เราขึ้นเป็นผู้นำตลาดธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ขยายธุรกิจการเงินดิจิทัล และรักษาระดับผลประกอบการในธุรกิจบันเทิงดิจิทัลไว้ได้” Forrest Li ประธานและซีอีโอของ Sea Group กล่าวเมื่อวันจันทร์ ก่อนหน้านี้ Sea ไม่สามารถทำกำไรและสะสมยอดขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2009

 

Sea ดำเนินงานในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประกอบธุรกิจทั้งในส่วนของอีคอมเมิร์ซ (Shopee), การเงิน (SeaMoney) และเกม (Garena)

 

“เรามีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น พร้อมเงินสดในมือเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.85 แสนล้านบาท) ณ สิ้นปี 2023 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีวินัยที่เราใช้ในการลงทุนตลอดปีที่ผ่านมา” Li กล่าว และระบุเพิ่มอีกว่า บริษัทคาดว่าจะทำกำไรต่อเนื่องได้ในปี 2024

 

ราคาหุ้นของ Sea ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ราคาปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.58% เมื่อวันจันทร์ 

 

บริษัทระบุว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ Sea อย่าง Shopee เพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้มากในปี 2023 แม้จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยระบุด้วยว่าบริษัทสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ได้ และตั้งใจจะรักษาส่วนแบ่งตลาดในปี 2024

 

Shopee ต้องเผชิญกับคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Lazada ที่ Alibaba เป็นเจ้าของ และ Tokopedia ของอินโดนีเซีย โดยตอนนี้ Tokopedia ได้ควบรวมกิจการกับ TikTok Shop ในอินโดนีเซีย กลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ขึ้น โดย TikTok ถือหุ้นหลักที่ 75.01%

 

เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว Sea ประกาศว่าจะเน้นการเติบโตเหนือการทำกำไร ซึ่งเกิดจากมาตรการลดต้นทุนท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์มองว่า การปรับเปลี่ยนครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อป้องกันการสูญเสียส่วนแบ่งตลาด

 

SeaMoney รายงานว่าทำกำไรได้เป็นปีแรกในปี 2023 และบริษัทยังคาดว่าเกมดาวเด่นอย่าง Free Fire จะเติบโตกว่า 10% ทั้งด้านฐานผู้ใช้และรายได้ในปี 2024

 

“เรายินดีที่เห็นแนวโน้มเชิงบวกทั้งด้านการเติบโตและการทำกำไรในทั้ง 3 ธุรกิจของเรา มองไปข้างหน้า เราจะยังคงลงทุนต่อเนื่องอย่างมีวินัยและมุ่งเน้นผลประกอบการ” Sea Group กล่าวในแถลงการณ์

 

ขณะเดียวกัน DBS ได้ปรับเพิ่มอันดับหุ้นของ Sea จาก ‘ถือ’ เป็น ‘ซื้อ’ พร้อมราคาเป้าหมาย 75 ดอลลาร์สหรัฐ หลังได้เห็นรายงานผลประกอบการ เช่นเดียวกับ CGS-CIMB Securities ได้ปรับเพิ่มอันดับหุ้นของ Sea พร้อมปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 74 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น จากเดิม 46 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้น 37%

 

Wedbush ก็ได้ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายสำหรับหุ้น Sea เป็น 72 ดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 45 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันจันทร์ โดยคงระดับแนะนำไว้ที่ ‘ดีเกินคาด’

 

“เรามองหุ้นนี้ในเชิงบวกมากขึ้นจากการมองไปที่การเติบโตและอัตรากำไรที่คาดการณ์ได้จากตัวชี้วัดของฝ่ายบริหาร และเชื่อว่า Sea อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัวขึ้นมา หลังจากแรงกดดันจากคู่แข่งผ่อนคลายลง และการลงทุนในไลฟ์สตรีมมิง การดึงดูดลูกค้า และระบบโลจิสติกส์เริ่มออกดอกผล” นักวิเคราะห์จาก Wedbush ระบุ

 

อ้างอิง:

The post เจ้าของ Shopee ประกาศผลกำไรเป็น ‘ปีแรก’ ด้วยตัวเลข 5.5 พันล้านบาท พลิกจากขาดทุน 6 หมื่นล้านบาทในปีก่อนหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้หรือไม่​? ปี 2023 คนไทยช้อปออนไลน์ทะลุ 7 แสนล้าน สูงเป็นประวัติการณ์ มากกว่ายอดขาย 7-Eleven ทุกสาขาทั้งปี https://thestandard.co/online-shopping-in-2023/ Sat, 13 Jan 2024 03:49:01 +0000 https://thestandard.co/?p=887274

ข้อมูลสถิติในปี 2023 จากตลาดหลักทรัพย์และ Statista บริษ […]

The post รู้หรือไม่​? ปี 2023 คนไทยช้อปออนไลน์ทะลุ 7 แสนล้าน สูงเป็นประวัติการณ์ มากกว่ายอดขาย 7-Eleven ทุกสาขาทั้งปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

ข้อมูลสถิติในปี 2023 จากตลาดหลักทรัพย์และ Statista บริษัทข้อมูลการตลาดและผู้บริโภคชั้นนำของโลก พบว่าคนไทยมีการซื้อของออนไลน์สูงเป็นประวัติการณ์ ด้วยมูลค่าถึง 7 แสนล้านบาท โดยหากเทียบให้เห็นภาพชัดๆ กับยอดขายของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่ใหญ่ที่สุดในไทย และมีสาขารวมกันมากกว่า 14,000 แห่งทั่วประเทศ

 

สถิติยังสอดคล้องกับของ McKinsey ที่คาดการณ์ว่ารายได้ช่องทางอีคอมเมิร์ซไทยจะเติบโตมากถึง 25% ต่อปีไปอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็น 7 เท่าของ GDP การเติบโตของเศรษฐกิจของปีนี้ที่ 2% โดยหมวดหมู่ที่โตมากที่สุดคือ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม และรองมาคือ หมวดสุขภาพและความงาม 

 

ชวพล ฟ้าอำนวยผล นักกลยุทธ์การตลาดอีคอมเมิร์ซและดิจิทัล เล่าให้ฟังว่าจากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงอีคอมเมิร์ซ, ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และสตาร์ทอัพมากว่า 15 ปี เชื่อว่า Marketplace เป็นเครื่องมือการตลาดที่ทำเงินได้มหาศาล

 

“ที่ผ่านมาผมดูแลทั้งแบรนด์ชั้นนำมากกว่า 10 แบรนด์ รวมถึงร้านค้าเล็กๆ ที่เริ่มจากศูนย์บนช่องทางออนไลน์ ซึ่งผมได้เปิดร้านค้าและทำการตลาดให้บน Lazada และ Shopee ผ่านไป 2 ปี ปัจจุบันร้านค้าดังกล่าวมียอดขายสูงถึง 7-8 หลักต่อเดือน ผมจึงเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์องค์กร (Brand) หรือร้านค้า (Online Seller) หากมีความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ รู้เทรนด์ทันเกม และนำเทคนิคต่างๆ ในการทำตลาดออนไลน์มาปรับใช้ ก็สามารถสร้างรายได้อีกมากมายมหาศาล”

 

ปี 2024 ถือเป็นปีที่การตลาดออนไลน์มาแรง ยอดขายน่าจะแซงปีที่แล้ว จึงได้คัดเลือก 4 กลยุทธ์เด็ดๆ ในปี 2024 เพื่อสร้างรายได้กันอีกช่องทาง ได้แก่  

 

ลุย TikTok เต็มกำลัง ใครเริ่มก่อนได้เปรียบ ด้วยเหตุผลหลักๆ ที่ว่า

 

  • ปี 2024 อีคอมเมิร์ซบน TikTok จะเติบโตเร็วที่สุดเทียบกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอื่นๆ เพราะพลังของ KOL ที่สามารถกระตุ้นยอดขายได้เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า
  • เครื่องมือที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญสำหรับปี 2024 คือโปรแกรม TikTok Affiliate ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคซื้อง่ายยิ่งขึ้น โปรแกรมส่งฟรี (TikTok Free Shipping) นอกจากนั้น ค่าคอมของ TikTok ที่ต่ำกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ (Minimal Commission) จะทำให้แบรนด์หรือร้านค้าออนไลน์มีกำไรเพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • คนไทยชอบรับข่าวสารด้วยวิดีโอมากกว่าการอ่าน และ TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย
  • TikTok Live เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นยอดขาย เพราะสามารถเข้าถึงผู้ชมได้อย่างใกล้ชิดและสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม
  • ค่าโฆษณาบน TikTok ต่ำกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook ถึง 10 เท่า
  • TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่ม ยกตัวอย่างแบรนด์ที่อยู่ในกลุ่ม Premium Mass หรือ Premium ก็ขายดีบน TikTok ด้วย เช่น Samsung Thailand, Estée Lauder, Yves Saint Laurent, Kiehl’s และ Dyson สรุปคือเริ่มเปิด TikTok ก่อนได้เปรียบ

 

ใช้ Marketplace อย่าง Lazada และ Shopee อย่างชาญฉลาด

 

  • ควรจัดโปรโมชันในช่วง CBMO (Crazy Brand Mega Offer) เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่จะรอคอยเพื่อซื้อสินค้าในช่วงนี้ ทำให้ร้านค้ามีโอกาสเพิ่มยอดขายได้ถึง 30-40% ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตี 2 ของวัน D-Day เช่น 11.11, 12.12 เป็นต้น 
  • แบ่งงบประมาณทำ CPAS (Collaborative Performance Advertising Solution) เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้ามาดูสินค้าบนแพลตฟอร์ม หรือ Add to Cart 
  • ให้ความสำคัญกับ ROAS (Return on Ad Spend) หรือรายได้จากค่าโฆษณาที่ยิงออกไป อธิบายง่ายๆ คือ ยิงโฆษณา 1 บาท จะได้ยอดขายกี่บาท คือถ้ากำหนด ROAS = 5 หมายความว่า ยิงโฆษณา 1 บาท ควรจะได้ยอดขายคืนมา 5 บาท
  • ต้องคำนวณ Breakeven ROAS เป็นตัวเลขที่สำคัญมาก เพราะจะบ่งบอกว่าร้านค้าจำเป็นต้องได้ยอดขายคืนมาเท่าไรจากค่าโฆษณา 1 บาท จึงจะคุ้มทุน ยกตัวอย่าง ครีมกันแดด มีราคาขายปลีกอยู่ที่ 100 บาท มีต้นทุนขาย (COGS) อยู่ที่ 35 บาท ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม 5 บาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 5 บาท รวมเป็นต้นทุนทั้งหมด 40 บาท 
  • หากแบรนด์ต้องการให้ไม่ขาดทุน จะต้องคำนวณโดยเอา ราคาขาย (100 บาท) หารด้วย ต้นทุนทั้งหมด (40 บาท) จะได้ Breakeven ROAS เท่ากับ 2.5 แสดงว่า เวลาแบรนด์หรือร้านค้ายิงโฆษณา 100 บาท ต้องได้ยอดขายคืนมา 250 บาท จึงจะไม่ขาดทุน  

 

เริ่มทำ DTC (Direct-to-Consumer) หรือเว็บไซต์ Brand.com ของตัวเอง

 

  • จากการสำรวจของ Google พบว่า ผู้บริโภคเริ่มสนใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ Brand.com เพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคเชื่อว่า การซื้อจาก Brand.com จะได้บริการหลังการขายที่ดีกว่า การรับประกันที่แพลตฟอร์มออนไลน์ไม่มีให้ มีความมั่นใจว่าสินค้าเป็นของแท้ และประสบการณ์การซื้อที่ดีกว่า
  • ช่วยให้แบรนด์สามารถขายสินค้าราคาแพงกว่าช่องทางอื่นๆ ได้ 20% และไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชันให้กับแพลตฟอร์ม 
  • ช่วยให้แบรนด์มีข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องพึ่งพาบริษัทค้าปลีกหรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งสามารถมาทำ Customer Insight และ CRM ได้ภายหลัง

 

ใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ เช่น Bard ซึ่งเป็น AI ตัวใหม่ของค่าย Google ที่ฉลาดไม่แพ้กับ ChatGPT 4.0 หรือ ChatGPT แบบ Premium หรือ Copilot ของ Microsoft ซึ่งอีกไม่นานเกินรอจะมี Google Gemini ตัวใหม่ที่พัฒนาได้เจ๋งมากขึ้น เพิ่มความเร็วในการแก้ปัญหา สามารถทำภาพ ทำ Report ให้ข้อมูล และพัฒนาด้านการเขียนโค้ดมากขึ้นไปอีกขั้น

 

ด้านของร้านค้าหรือผู้ประกอบการรายย่อยก็มี 4 เทคนิคเสริมหากต้องการนำสินค้ามาลงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ได้แก่

 

  1. ต้องทำให้ลูกค้าหาสินค้าเราให้เจอ – โดยใช้คำค้นหาที่ลูกค้าใช้ ไม่ใช่คำที่เราใช้ เช่น คำว่า ‘กางเกงยีนส์สาวอวบ’ จะค้นเจอง่ายกว่า คำว่า ‘ยีนส์ไซต์ใหญ่’ เพราะเป็นคำค้นหายอดฮิตของลูกค้า และควรใส่คำค้นหาที่อธิบายคุณสมบัติของสินค้าให้ชัดเจน และสื่อถึงประโยชน์ของสินค้า 

 

  1. ทำภาพให้หยุดที่ปลายนิ้ว – โดยใช้สีสันสะดุดตา ใช้ภาพที่มีองค์ประกอบโดดเด่น หรือดึง Pain Points ของลูกค้าขึ้นมา เช่น เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย ไม่ระคายเคือง 

 

  1. ยิงโฆษณาบน Lazada และ Shopee ก่อน – กรณีที่ขายสินค้าบนสองแพลตฟอร์มนี้เป็นหลัก เพราะจะได้ผลตอบแทนจากค่าโฆษณา (ROAS) ที่ดีกว่า และประหยัดเงินมากกว่าบน Facebook 

 

  1. ใช้เทคนิค Bundle Deal และ Add-on Deal – เพื่อเสนอส่วนลดพิเศษเมื่อซื้อสินค้าร่วมกันหลายชิ้น 

 

สิ่งสำคัญที่มักมองข้ามคือ การเปลี่ยนชื่อสินค้าบน Marketplace ให้เข้ากับเทศกาลก็ช่วยกระตุ้นยอดขายได้ เช่น ของขวัญปีใหม่ ชุดเทศกาลสงกรานต์ หรือปรับภาพและแจกของแถมให้เข้ากับเทศกาลฟุตบอลยูโร (ช่วงเดือนมิถุนายน 2024) หรือกีฬาโอลิมปิก (ช่วงเดือนกรกฎาคม 2024) เป็นต้น

The post รู้หรือไม่​? ปี 2023 คนไทยช้อปออนไลน์ทะลุ 7 แสนล้าน สูงเป็นประวัติการณ์ มากกว่ายอดขาย 7-Eleven ทุกสาขาทั้งปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
แคมเปญ Shopee 11.11 สร้างยอดขาย 36,000 ล้านบาทจากทั่วโลก มีการเก็บโค้ด Voucher ทั้งหมดกว่า 93 ล้านโค้ดในไทยวันที่ 11 พฤศจิกายน https://thestandard.co/shopee-11-11-sales-36000-million-baht-world-wide/ Wed, 15 Nov 2023 08:37:57 +0000 https://thestandard.co/?p=865953 Shopee 11.11

ผ่านไปแล้วสำหรับแคมเปญดับเบิลเดย์ที่ใหญ่ที่สุดประจำปีอย […]

The post แคมเปญ Shopee 11.11 สร้างยอดขาย 36,000 ล้านบาทจากทั่วโลก มีการเก็บโค้ด Voucher ทั้งหมดกว่า 93 ล้านโค้ดในไทยวันที่ 11 พฤศจิกายน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Shopee 11.11

ผ่านไปแล้วสำหรับแคมเปญดับเบิลเดย์ที่ใหญ่ที่สุดประจำปีอย่าง 11.11 หรือวันคนโสด ที่ล่าสุด Shopee ได้ออกมาเปิดเผยว่า แคมเปญในแพลตฟอร์มของตัวเองนั้นมียอดขายรวมมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 36,000 ล้านบาท จากทั่วโลก 

 

โดยไฮไลต์ที่เกิดขึ้นในแคมเปญ ได้แก่ 

 

  • มีการเก็บโค้ด Voucher เพื่อใช้งานไปทั้งหมดกว่า 93 ล้านโค้ด ในไทยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน
  • มีการเก็บโค้ด Voucher เพื่อใช้งานกว่า 5 ล้านโค้ดผ่าน Shopee Live
  • เพิ่มโอกาสสำหรับธุรกิจท้องถิ่นในประเทศไทย
  • ธุรกิจท้องถิ่นของไทยสร้างออเดอร์เพิ่มขึ้นกว่า 141 เท่าเมื่อเทียบกับวันปกติโดยเฉลี่ย จากการใช้ Shopee Live ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 
  • มีผู้ขาย Shopee มาไลฟ์ผ่าน Shopee Live เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัวในวันที่ 11 พฤศจิกายน 
  • ในระดับภูมิภาคมีผู้ใช้งาน Shopee รับชมไลฟ์บน Shopee Live เป็นเวลา 85,000 ล้านชั่วโมงทั่วภูมิภาค
  • ในประเทศไทย หมวดหมู่สินค้าที่ได้รับความนิยมและขายดีใน Shopee Live ได้แก่ สินค้าความงามและของใช้ส่วนตัว สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิง
  • เหล่าซินเดอเรลลานักช้อปตั้งตารอการช้อปปิ้งในช่วง 00.00-02.00 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยมีตัวเลขจำนวนชิ้นสินค้าที่ Check Out ผ่าน Shopee Live ในช่วง 2 ชั่วโมงแรกของวันที่ 11.11 โตเพิ่มสูงขึ้นถึง 540 เท่า
  • มีผู้ใช้งาน Shopee เข้ามาเล่นเกมรวมกันมากกว่า 269 ล้านครั้ง

 

“ด้วยผลตอบรับผ่านตัวเลขสถิติต่างๆ ของแคมเปญ ตอกย้ำถึงความตั้งใจในการส่งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่ดีที่สุดให้แก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายของเรา ต่อจากนี้ไปเราจะยังคงมุ่งมั่นนำเสนอแคมเปญที่น่าดึงดูดใจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานชาวไทยในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีนี้ จึงอยากให้ทุกคนติดตามแคมเปญของเรากันต่อไป” สุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ (ประเทศไทย) กล่าว 

The post แคมเปญ Shopee 11.11 สร้างยอดขาย 36,000 ล้านบาทจากทั่วโลก มีการเก็บโค้ด Voucher ทั้งหมดกว่า 93 ล้านโค้ดในไทยวันที่ 11 พฤศจิกายน appeared first on THE STANDARD.

]]>