Sex worker – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 05 Nov 2024 11:22:44 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Anora (2024) ชีวิตที่ช่างไม่เย้ายวนเซ็กซี่ของนางระบำเปลื้องผ้า https://thestandard.co/anora-2024-sean-baker/ Tue, 05 Nov 2024 11:22:44 +0000 https://thestandard.co/?p=1004774 Anora

หนังเรื่อง Anora ผลงานล่าสุดของ Sean Baker ซึ่งชนะรางวั […]

The post Anora (2024) ชีวิตที่ช่างไม่เย้ายวนเซ็กซี่ของนางระบำเปลื้องผ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
Anora

หนังเรื่อง Anora ผลงานล่าสุดของ Sean Baker ซึ่งชนะรางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลหนังนานาชาติเมืองคานส์ครั้งล่าสุด และเข้าฉายบ้านเราในฐานะหนังเรต ฉ 20- หรือหนังที่ไม่อนุญาตให้คนดูอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าชม บอกเล่าในสิ่งที่คนทำหนังสนใจและให้ความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือชีวิตของคนชายขอบ ชนชั้นรากหญ้า และโดยเฉพาะตัวละครที่เป็น Sex Worker ซึ่งว่าไปแล้ว เป็นคาแรกเตอร์จำพวกที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอในหนังกระแสหลักในแบบสำรวจตรวจสอบอย่างจริงจัง และรวมๆ แล้วนี่คือลายเซ็นหรือลักษณะประพันธกรของผู้สร้าง

 

 

สมมติว่าจะลองสอดส่องเหล่าบรรดาประชากรที่โลดแล่นอยู่ในหนังของ Sean Baker อย่างคร่าวๆ เผื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ชมที่ไม่เคยผ่านตาผลงานเรื่องก่อนหน้า ตัวละครหลักของหนังเรื่อง Starlet (2012) ได้แก่ นักแสดงหนังโป๊วัย 20 ต้นๆ ผู้ซึ่งจับพลัดจับผลูพัฒนาความสัมพันธ์อันแปลกประหลาดกับหญิงชราวัย 85 ปี ผู้ซึ่งชีวิตของเธอแทบไม่หลงเหลือคุณค่าอะไรอีกแล้วนอกจากการเล่นบิงโก ในหนังเรื่อง Tangerine (2015) ตัวละครหลักของเรื่อง ได้แก่ กะเทยขายบริการทางเพศที่เพิ่งออกจากคุก และพบว่าแฟนหนุ่มของเธอมีคนใหม่ซะแล้ว ใน The Florida Project (2017) แม่ของเด็กหญิงอายุ 6 ขวบเป็นนักเต้นระบำเปลื้องผ้าตกงาน และหาลำไพ่ด้วยการเป็นโสเภณีพาร์ตไทม์ ความฝืดเคืองขัดสนทางเศรษฐกิจกำลังทำให้โลกที่ผุดผ่องสดใสของลูกสาวตัวน้อยล่มสลายต่อหน้าต่อตาคนดู ขณะที่ในหนังเรื่อง Red Rocket (2022) อดีตพระเอกหนังโป๊ต้องซมซานกลับมาขออาศัยบ้านเมียเก่าเป็นที่ซุกหัวนอน กระนั้นก็ตาม ความมุ่งหวังของเขาก็คือการปลุกปั้นเด็กสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในฐานะดาวโป๊ดวงใหม่ของวงการ

 

 

แต่ว่าไปแล้ว เรื่องของคนให้บริการทางเพศก็ไม่ใช่หัวข้อแปลกใหม่ และสร้างกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ความท้าทายจริงๆ คือมุมมองและท่าทีในการบอกเล่า ทำนองว่าคนทำหนังวางตำแหน่งของตัวเองไว้ตรงไหนและบรรทัดฐานในทางศีลธรรมเป็นอย่างไร และวิธีของ Baker ก็คือการชักชวนคนดูเข้าไปคลุกคลีตีโมงกับบุคลิกเหล่านั้น ด้วยสไตล์การนำเสนอที่ดูเหมือนจริงแบบ Docudrama ซึ่งปราศจากการขัดเกลา (การถ่าย Hand-Held, การตัดภาพ Jump Cut) บางครั้งมันก้ำกึ่ง คาบลูกคาบดอกระหว่างความเห็นอกเห็นใจ การสอดรู้สอดเห็นและฉวยโอกาสของคนทำ ขณะที่ตัวละครในหนังของเขาก็เหมือนกับเดินเข้าฉากมาจากโลกความเป็นจริง หรือพูดง่ายๆ รูปลักษณ์ภายนอกของตัวละครเหล่านี้ไม่เหมือนกับที่เราเห็นในหนังฮอลลีวูด และอะไรบางอย่างบอกให้รู้ว่าพวกเขาแสดงอย่างอื่นไม่ได้นอกจากเป็นตัวเอง

 

ข้อน่าสังเกตอีกอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ สายตาของคนทำหนังไม่ได้วางตัวเองอยู่เหนือกว่าตัวละคร หรือแสดงออกว่ากำลังพิพากษาหรือตัดสินผิดชอบชั่วดีไม่ว่าจะด้วยกรอบกฎหมายหรือศีลธรรม และพร้อมๆ กับที่หนังของ Baker เป็นเหมือนกระบอกเสียงและถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของคนชายชอบ มันก็ตีแผ่ให้คนดูได้เห็นความมีชีวิต เลือดเนื้อ ตลอดจนความเป็นมนุษย์ปุถุชน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนดูเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงได้ไม่ยากเย็น

 

 

กล่าวสำหรับ Anora ชื่อของหนังก็คือชื่อของนักเต้นระบำเปลื้องผ้า (Mikey Madison) ในบทบาทการแสดงที่สมควรถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล) ผู้ซึ่งเป็นเหมือนดาวดวงเด่นของสถานบันเทิงชั้นสูงของเมืองนิวยอร์ก และด้วยความที่เธอเป็นคนเดียวที่พูดรัสเซียได้ หญิงสาวได้รับมอบหมายให้ต้อนรับขับสู้ Vanya ลูกชายของคนใหญ่คนโตในรัสเซียที่เกิดมาแบบคาบช้อนเงินช้อนทองและใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเขาเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทีละน้อย สถานะของแดนเซอร์โชว์เนื้อหนังมังสาของ Anora หรือ Ani (ชื่อที่เธออยากให้ใครๆ เรียก) ก็แปรเปลี่ยนไปเป็นคู่ขาทางเพศ หรือจริงๆ แล้วต้องเรียกว่าของเล่นชิ้นใหม่ของหนุ่มใจแตก เมื่อฝ่ายหลังว่าจ้างให้หญิงสาวรับบทแฟนสาวร่านสวาทเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ และไม่ว่าจะด้วยความไม่มีสติสัมปชัญญะของ Vanya ซึ่งอยู่ในสภาพเมามายเกือบตลอดเวลา หรือความเก็บกดอัดอั้นจากการตกอยู่ใต้อาณัติของแม่ซึ่งบัญชาการโน่นนี่นั่นจากประเทศบ้านเกิดผ่านลูกน้องชาวอาร์เมเนียที่ชื่อ Toros (Karren Karagulian) ที่ทำหน้าที่เสมือนผู้ปกครอง หนุ่มน้อยที่อายุเพิ่ง 21 ปีและกำลังเมามันกับการทำทุกสิ่งอย่างสนองตัณหาตัวเองก็ขอ Ani แต่งงาน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของความวุ่นวายยุ่งเหยิงจนไม่อาจควบคุม

 

 

อย่างที่หลายคนร้องทักตรงกันว่า ปมเรื่องของ Anora ชวนให้นึกถึง Pretty Woman ของ Garry Marshall ซึ่งเล่าเรื่องนักธุรกิจหนุ่มรูปหล่อตกหลุมรักโสเภณีชั้นสูงผู้ซึ่งมีหัวใจงดงามดั่งทองคำ และหนังลงเอยด้วยบทสรุปแบบแฮปปี้เอนดิ้ง นั่นคือหญิงสาวหลุดพ้นจากวังวนของการเป็นหญิงขายบริการทางเพศ ส่วนชายหนุ่มก็กลายเป็นตัวละครที่คุณธรรมสูงส่งในพริบตา แต่ก็นั่นแหละ วันเวลาที่ผ่านพ้นไม่ได้ให้ความเมตตาหนังของ Marshall เท่าไรนัก และ Julia Roberts ดารานำ ถึงกับให้สัมภาษณ์ว่า มันเป็นหนังที่สร้างตอนนี้ไม่ได้อีกแล้ว เนื่องจากความเพ้อฝันและหลงละเมอเพ้อพก นั่นยังไม่ต้องเอ่ยถึงทัศนคติของคนทำที่มอง Sex Work ทำนองว่ามันคือสภาวะจมปลักหรือสิ้นไร้ไม้ตอกของคนที่ไม่มีทางเลือก และไม่ใช่งานอาชีพซึ่งต้องใช้ทักษะหรือสกิล และมีเส้นทางก้าวหน้าหรือ Career Path ของมัน

 

อย่างหนึ่งที่คนดูหนังเรื่อง Anora น่าจะมองเห็นด้วยคล้ายคลึง นั่นก็คือ Ani เป็นนักเต้นที่ลวดลายพลิ้วไหวและจัดจ้าน ในแง่ของงานอาชีพ เธอก็เก่งกาจสามารถและแพรวพราวไปด้วยลูกล่อลูกชน นั่นยังไม่ต้องเอ่ยถึงบุคลิกออเซาะฉอเลาะลูกค้าให้ใช้บริการห้องส่วนตัวกับเธอแบบสองต่อสอง

 

และถึงแม้ว่า Ani จะขีดเส้นแบ่งทำนองว่า อาชีพของเธอคือแดนเซอร์ และไม่ได้ค้าประเวณี แต่สำหรับลูกค้ากระเป๋าตุงอย่าง Vanya นี่ก็เป็นเรื่องที่ยืดหยุ่นและอะลุ่มอล่วยได้ ข้อสำคัญคือเธอต่อรองผลประโยชน์ได้อย่างไม่มีท่าทีเคอะเขินเหนียมอาย หรือจริงๆ คล่องแคล่วลื่นไหล ทั้งในตอนที่เธอแจ้งสนนราคาค่าตัวของการเป็นสาวเอสคอร์ตหรือคู่ขาทางเพศหนึ่งสัปดาห์ หรือตอนที่หญิงสาวเรียกร้องสินสอดแต่งงานเป็นแหวนเพชรเม็ดโต 

 

 

แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่คนดูรับรู้เกี่ยวกับตัวละครนี้ ช่วงสั้นๆ ของหนังที่พวกเราได้เห็นชีวิตหลังเลิกงานของเจ้าตัว ก็ชวนให้สรุปได้ไม่ยากว่าเธอเป็นอีกคนหนึ่งอย่างสิ้นเชิง ทั้งใบหน้าสดๆ ปราศจากเมกอัพ สีหน้าสีตาเรียบเฉย ไม่มีริ้วรอยของอารมณ์ความรู้สึกใดๆ ซึ่งว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะสำหรับคนที่งานอาชีพของเธอต้องแต่งตัวสวย ยิ้มหวาน พูดจาออดอ้อน และแสดงออกอย่างร่าเริงแจ่มใสตลอดเวลา ซึ่งสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น ‘ของซื้อของขาย’ และมีมูลค่าในตัวมันเองทั้งสิ้น

 

ขณะที่บ้านช่องห้องหับและชีวิตความเป็นอยู่ของเธอกับพี่สาวซึ่งน่าเชื่อว่าวันๆ พูดจากันแบบนับคำได้ ก็ชวนให้สรุปได้ไม่ยากถึงวิถีที่ต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนทางเศรษฐกิจของตัวละคร ไหนยังจะมีเรื่องความเป็นปฏิปักษ์ระหว่าง Ani กับเพื่อนร่วมงานที่เขม่นกันมาตั้งแต่ต้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าคงเป็นเรื่องแย่งลูกค้า แถมความขัดแย้งนี้ก็บานปลายถึงขั้นลงไม้ลงมือ หรือพูดรวมๆ แล้วหนังของ Sean Baker วาดให้คนดูได้เห็นโลก ชีวิต และงานอาชีพ ที่ไม่ได้โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบของตัวละครนี้ได้อย่างกะทัดรัดทว่าครอบคลุม และกลายเป็นเรื่องช่วยไม่ได้เมื่อมันถูกนำไปเทียบเคียงกับความเป็นอยู่ที่หรูหราฟุ้งเฟ้อของ Vanya ซึ่งต้องบอกว่าหมอนี่ร่ำรวยอย่างน่าอัปลักษณ์ พฤติการณ์ใช้จ่ายอย่างล้างผลาญและมองเห็นเงินเป็นแค่เศษกระดาษของเขาก็เหยียบย่ำความรู้สึกของคนที่ต้องปากกัดตีนถีบอย่างน่าขุ่นเคือง

 

แต่ก็นั่นแหละ Anora ไม่ใช่หนังดราม่าบีบคั้นอารมณ์ อย่างน้อยองก์สองของหนังก็ทั้งตลกขบขัน เรียงร้อยไว้ด้วยสถานการณ์ที่ดูประสาทเสีย และความบ้าบอคอแตกของโน่นนี่นั่นก็สร้างบรรยากาศที่หรรษาครื้นเครง ทั้งหมดทั้งมวลเริ่มจาก Galina (Darya Ekamasova) ผู้เป็นแม่ซึ่งรู้ข่าวแต่งงานก็สั่งการจากแดนไกลให้ลูกชายยกเลิกการสมรักสมรสทันควัน จนเขาสติแตกและหนีออกจากคฤหาสน์ เดือดร้อนบรรดาลูกน้องของผู้เป็นแม่ รวมถึง Ani ต้องออกตามหาหนุ่มน้อยที่เตลิดเปิดเปิงในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ก และรูปการณ์ก็ไม่ต่างจากการงมเข็มในมหาสมุทร 

 

ส่วนที่ควรหมายเหตุก็คือ ในความเป็นหนังตลกเถิดเทิง หรืออีกนัยหนึ่ง เล่นมุกจากความวายป่วงของเหตุการณ์ไปเรื่อยๆ แบบไม่จบไม่สิ้น บรรดาตัวละครปลีกย่อยกลับไม่เคยเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ประกอบฉากหรือเครื่องมือที่ใช้เดินเรื่อง และทีละน้อย วิบากกรรมของลูกสมุนทั้งสองคน (Yura Borisov และ Vache Tovmasyan) ของ Toros หรือจริงๆ จะรวมตัวพ่ออุปถัมภ์ด้วย (ซึ่งก็มีชีวิตและเรื่องส่วนตัวที่ต้องสาละวน) ก็ไม่ได้มีเอาไว้เพื่อเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูเพียงลำพัง และรายละเอียดปลีกย่อยที่คนทำหนังสอดแทรกก็ทำให้คนดูตระหนักได้ว่า พวกเขาก็เป็นปุถุชนที่รู้สึกรู้สม รู้ร้อนรู้หนาว และความเหมือนกันของตัวละครทั้งหมดภายใต้สถานการณ์อลเวงก็คือ พวกเขาไม่ได้มีหนทางให้เลือกมากนักนอกจากทำตามคำสั่งหรือตกกระไดพลอยโจน มองแง่มุมนี้แล้วไม่ต้องสงสัยว่าตัวละครที่โหดเหี้ยมและเลือดเย็นก็คือคนอย่าง Vanya และ Galina ผู้เป็นแม่ที่ใช้อำนาจบาตรใหญ่เหยียบย่ำและบดขยี้คนตัวเล็กตัวน้อยอย่างชนิดไม่ต้องดูดำดูดี และนั่นทำให้ประเด็นความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นเป็นเรื่องทิ่มแทงความรู้สึกของคนดูอย่างหนักหน่วงรุนแรง

 

 

แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ ไม้ตายหรือจะเรียกว่าหมัดน็อกของคนทำหนังได้แก่ฉากสุดท้ายขององก์สามซึ่งคนดูคงต้องไปค้นหาเอาเอง กระนั้นก็ตาม ตอนจบแบบปลายเปิดในหนังแทบทุกเรื่องของ Sean Baker ทิ้งรสชาติหวานอมขมกลืนที่ติดแน่นทนนาน และในกรณีของ Anora มันก็เป็นบทสรุปที่ระคนและคละเคล้าไปด้วยอารมณ์หลากหลายที่ประดังเข้ามา ในความเศร้าสร้อยมันแอบแฝงความอ่อนหวาน ในความห่อเหี่ยวสิ้นหวังคลับคล้ายว่าเราจะได้เห็นแสงสว่างรำไร และในความหมกมุ่นลุ่มหลงมันก็ดูเหมือนตัวละครสร่างเมาและหลุดพ้นจากภาพลวงตา

 

แต่ในขณะที่หนังเรื่อง Anora ไม่ได้หยิบยื่นความหมายเพียงหนึ่งเดียว หรือจริงๆ แล้วเปิดกว้างสำหรับการตีความ ทว่าอย่างหนึ่งที่เป็นเสมือนคุณค่าที่สอดแทรกในหนังทุกเรื่องของ Sean Baker ก็เป็นดังที่ได้กล่าวก่อนหน้า นั่นคือการกะเทาะให้คนดูได้เห็นความเป็นมนุษย์มนาของตัวละครที่มักจะตกสำรวจทางชนชั้น และพร้อมๆ กัน เลนส์ที่คนทำหนังเลือกใช้ถ่ายทอดตัวละครเหล่านั้นก็เจือปนไปด้วยความเห็นอกเห็นใจ ความอ่อนไหว และการปลอบโยน

 

Anora (2024)

ผู้กำกับ: Sean Baker

นักแสดง: Mikey Madison, Mark Eydelshteyn, Yura Borisov, Karren Karagulian ฯลฯ

The post Anora (2024) ชีวิตที่ช่างไม่เย้ายวนเซ็กซี่ของนางระบำเปลื้องผ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติลงตรวจถนนสุขุมวิท เข้มความปลอดภัยทุกมิติ ในฐานะเจ้าบ้าน ยอมรับมีปัญหาต่างชาติแย่งงานคนไทย-Sex Worker https://thestandard.co/chadchart-inspects-sukhumvit-road/ Wed, 06 Mar 2024 00:21:52 +0000 https://thestandard.co/?p=907690

วันนี้ (5 มีนาคม) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเ […]

The post ชัชชาติลงตรวจถนนสุขุมวิท เข้มความปลอดภัยทุกมิติ ในฐานะเจ้าบ้าน ยอมรับมีปัญหาต่างชาติแย่งงานคนไทย-Sex Worker appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (5 มีนาคม) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย พล.ต.อ. อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบสิ่งผิดกฎหมายและความเรียบร้อยของการให้บริการสถานบริการและร้านอาหารในพื้นที่โซนถนนสุขุมวิท ซอย 3-11

 

ชัชชาติกล่าวว่า การลงพื้นที่ของคณะในวันนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของกลุ่ม LGBTQIA+ ระหว่างชาวไทยและชาวฟิลิปปินส์ที่ทะเลาะวิวาทกันที่สุขุมวิท ซอย 11 แต่เป็นการลงพื้นที่ตามวงรอบ เพื่อกำชับเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่เทศกิจที่อยู่ในสังกัดของ กทม. ให้กวดขันผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของกรุงเทพฯ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เช่น ความปลอดภัยเรื่องถังดับเพลิงในสถานบริการ ทางหนีไฟ 

 

และเรื่องที่ กทม. ให้ความสำคัญมาโดยตลอดคือ เรื่องร้านขายกัญชา ซึ่งแม้จะเปิดได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ก็มีความกังวลว่ามีเยาวชนสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ ในเรื่องนี้เจ้าหน้าที่พยายามสุ่มตรวจมาโดยตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนถูกมอมเมา และในขณะนี้ กทม. ยังเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย แต่กลับพบวางขายโดยทั่วไป ยิ่งโดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร

 

ชัชชาติกล่าวต่อว่า การตรวจตราความเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่มีการทำเป็นวงรอบสม่ำเสมอ เพื่อตอกย้ำความมั่นใจให้ชาวกรุงเทพฯ ว่า กทม. ไม่ได้นิ่งนอนใจกับความสุ่มเสี่ยงใดๆ

 

เมื่อถามถึงกรณีที่เกิดขึ้นที่สุขุมวิท ซอย 11 ชัชชาติกล่าวว่า เรื่องการจัดการหรือดูแลชาวต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจและทำงานในประเทศไทย ต้องยอมรับว่าไม่ใช่หน้างานโดยตรงของกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีอำนาจในการจัดการโดยเฉพาะ เพียงแต่ถ้าพบเจอก็จะต้องส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง

 

แต่ในฐานะเจ้าบ้านยอมรับว่า ปัญหาของชาวต่างชาติเบียดเบียนพื้นที่ทำกินของชาวไทยกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ในหลายรูปแบบ ที่พบมากคือ กลุ่มเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชาและเมียนมาที่ขายน้ำผลไม้ตามสถานที่ท่องเที่ยว ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่เทศกิจเมื่อพบเจอก็จะต้องแจ้งเรื่องให้ตำรวจในพื้นที่รับช่วงต่อจัดการ แต่เทศกิจก็จะหาแนวทางป้องกันในฐานะผู้ดูแลเรื่องหาบเร่แผงลอย

 

ส่วนประเด็นการค้าบริการทางเพศ ส่วนนี้กรุงเทพมหานครก็ไม่สามารถจัดการได้โดยตรงเช่นกัน แต่หวังว่าในอนาคตจะได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ปัญหานี้ ในเบื้องต้นกรุงเทพมหานครทำได้เพียงเป็นทางเลือกให้กลุ่มคนที่ทำงานในลักษณะดังกล่าวได้ประกอบอาชีพอื่นๆ เพราะหลายคนที่ทำอาชีพนี้เขาอาจไม่มีทางเลือก กทม. ยินดีที่จะหยิบยื่นโอกาสให้

 

ช่วงหนึ่งของการลงพื้นที่ ชัชชาติพร้อมคณะเข้าไปในซอย 11/1 ซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุการกระทบกระทั่งกัน ชัชชาติได้พูดคุยกับผู้ประกอบการที่อยู่ในซอยที่เกิดเหตุ ซึ่งผู้ประกอบการเปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มสาวๆ ที่ผ่านไปมาหน้าร้านเป็นประจำอยู่กันอย่างสงบสุข ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบเมื่อคืนนี้ ซึ่งมีการตะลุมบอนมาจนถึงหน้าร้านของเธอ ทำให้ข้าวของเสียหาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ป้ายร้าน และพัดลม อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุมีชาวไทยโอนเงินมาให้จากสหรัฐอเมริกาจำนวน 10,000 บาท เพื่อชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมระบุว่า “ขอโทษแทนน้องกะเทย” แล้ว

 

ด้าน พ.ต.อ. ยิ่งยศ สุวรรณโณ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล (สน.) ลุมพินี ที่ลงพื้นที่ร่วมด้วย ยืนยันว่า ได้แจ้งข้อหากับชาวฟิลิปปินส์แล้วทั้งหมด 4 คน ส่วนที่มีรายงานว่าบางส่วนหลบหนีและคุมตัวได้ที่สนามบิน ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องนี้ การตรวจสอบเบื้องต้น ชาวฟิลิปปินส์เข้ามาประเทศด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ส่วนระยะเวลาการพักอาศัยยังอยู่ในเวลาที่อนุญาต ส่วนก่อนหน้านี้เคยเข้ามากี่ครั้งและลักลอบทำงานหรือไม่ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ 

 

เมื่อถามถึงกรณีคนในพื้นที่ให้ข้อมูลว่า ในซอยที่เกิดเหตุมีชาวฟิลิปปินส์​และชาวต่างชาติเข้ามาขายบริการโดยแย่งพื้นที่กับคนไทย ประเด็นนี้ พ.ต.อ. ยิ่งยศ กล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยได้รับรายงาน และจากการสอบปากคำชาวไทยที่อยู่ในเหตุการณ์ ​ยังไม่มีใครเปิดเผยประเด็นนี้

 

The post ชัชชาติลงตรวจถนนสุขุมวิท เข้มความปลอดภัยทุกมิติ ในฐานะเจ้าบ้าน ยอมรับมีปัญหาต่างชาติแย่งงานคนไทย-Sex Worker appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าของ OnlyFans โกยกำไร 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอู้ฟู่จากการมีครีเอเตอร์ 3 ล้านคน และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription https://thestandard.co/onlyfans-paid-its-owner-338m/ Sat, 26 Aug 2023 03:44:31 +0000 https://thestandard.co/?p=833966

Fenix International ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์ม OnlyF […]

The post เจ้าของ OnlyFans โกยกำไร 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอู้ฟู่จากการมีครีเอเตอร์ 3 ล้านคน และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription appeared first on THE STANDARD.

]]>

Fenix International ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์ม OnlyFans ได้รายงานผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งนำไปสู่การจ่ายเงินปันผลจำนวนมากถึง 338 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท

 

แพลตฟอร์มดังกล่าวให้บริการแก่ Sex Worker นักดนตรี และคนดัง สำหรับเผยแพร่คอนเทนต์ ซึ่งแรงหนุนจากการล็อกดาวน์ทำให้มีผู้เข้าชมจำนวนมาก ปัจจุบัน OnlyFans มีครีเอเตอร์กว่า 3 ล้านคน ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2022 เพิ่มขึ้น 47% และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription ซึ่งเพิ่มขึ้น 27%

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

ตามรายงานระบุว่า แฟนๆ ใช้จ่ายมากถึง 5.5 พันล้านดอลลาร์กับ OnlyFans จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2022 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้แปลเป็นกำไรก่อนหักภาษีแตะ 525 ล้านดอลลาร์สำหรับบริษัทจดทะเบียนในลอนดอน เพิ่มขึ้นจาก 432 ล้านดอลลาร์ในปี 2021

 

Fenix International กล่าวถึงความสำเร็จนี้ว่า “OnlyFans มีการเติบโตและผลกำไรที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนถึงการขยายตัวของแพลตฟอร์มในแง่ของผู้สร้างเนื้อหาและแฟนๆ ตลอดจนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้สร้างเนื้อหาที่มีอยู่”

 

เป็นที่น่าสังเกตว่ารายได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของแพลตฟอร์มในขณะนี้มาจากบริการที่ไม่สมัครสมาชิก เช่น เนื้อหาตามความต้องการและเคล็ดลับจากผู้สร้าง การเติบโตนี้บ่งบอกถึงฐานผู้ใช้ที่ขยายและรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครีเอเตอร์ที่มีอยู่

 

แม้ OnlyFans จะโด่งดังจากคอนเทนต์โป๊เปลือย แต่แพลตฟอร์มกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ โดยมุ่งเน้นเนื้อหาประเภทต่างๆ เช่น ตลก การทำอาหาร ฟิตเนส และดนตรี

 

อ้างอิง:

The post เจ้าของ OnlyFans โกยกำไร 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอู้ฟู่จากการมีครีเอเตอร์ 3 ล้านคน และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sex Worker ในออสเตรเลีย พบว่า ‘ตัวเองมีรายได้น้อยลง’ หลังลูกค้าต้องเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและค่าครองชีพที่สูงจนต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น https://thestandard.co/sex-workers-in-australia-earning-less/ Sun, 06 Aug 2023 05:27:30 +0000 https://thestandard.co/?p=826040 Sex worker ออส

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและค่าครองชีพที่สูงมีผลกระทบอย […]

The post Sex Worker ในออสเตรเลีย พบว่า ‘ตัวเองมีรายได้น้อยลง’ หลังลูกค้าต้องเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและค่าครองชีพที่สูงจนต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sex worker ออส

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและค่าครองชีพที่สูงมีผลกระทบอย่างมากต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ หนึ่งในอุตสาหกรรมดังกล่าวคือ ‘อุตสาหกรรมการค้าบริการทางเพศ’ ซึ่งขณะนี้กำลังต่อสู้กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องอาศัยการใช้จ่ายตามความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างมาก

 

บุคคลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์นี้คือ Jenna Love ซึ่งเป็น Sex Worker ในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ที่พบสัญญาณเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและแนวโน้มของคนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่นานขึ้น ซึ่งได้มาจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและความถี่ในการมาเยี่ยม

 

ตอนนี้ Jenna Love เหมือนกับเพื่อนๆ ของเธออีกหลายคนในอุตสาหกรรมทางเพศ ที่พบว่ารายได้ของพวกเธอน้อยลงจากการที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นพบว่าตนเองต้องประหยัดเนื่องจากการเงินที่ตึงเครียด

 

ผลสำรวจล่าสุดโดย CNBC และ Morning Consult ยืนยันสิ่งนี้ โดยเผยให้เห็นว่า 92% ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ได้ควบคุมการใช้จ่ายของพวกเขาเนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน แม้ว่าสถิติจะมุ่งเน้นไปที่สหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 3% แต่แนวโน้มที่คล้ายคลึงกันนั้นเห็นได้ชัดเจนในออสเตรเลีย

 

เรื่องที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นคือการเลือกปฏิบัติและการตีตราที่ผู้ให้บริการทางเพศต้องเผชิญ ซึ่งจำกัดการเข้าถึงการสนับสนุนจากภาครัฐและรูปแบบอื่นๆ ที่อาจช่วยให้พวกเขาผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ไปได้

 

ประเด็นนี้ได้รับการเน้นย้ำโดยโฆษกของสมาคมผู้ให้บริการทางเพศแห่งออสเตรเลีย Scarlet Alliance ซึ่งกล่าวถึงความยากลำบากที่คล้ายคลึงกันที่ผู้ให้บริการทางเพศต้องเผชิญในช่วงการระบาดของโควิด

 

แม้จะมีความท้าทายแต่ Love ยังคงมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรม เธอเชื่อว่าความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์ในด้านเพศจะทำให้อุตสาหกรรมนี้เดินหน้าต่อไปได้ 

 

อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้คนจะสามารถควักเงินออกมาจ่ายค่าบริการที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ได้หรือไม่ ยังเป็นคำถามที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างชัดเจน

 

อ้างอิง:

The post Sex Worker ในออสเตรเลีย พบว่า ‘ตัวเองมีรายได้น้อยลง’ หลังลูกค้าต้องเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและค่าครองชีพที่สูงจนต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sex Worker ในไทยคาดหวังให้ ‘รัฐบาลชุดใหม่’ ผลักดันให้เป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย ท่ามกลางอุตสาหกรรมบริการทางเพศมูลค่ากว่า 2.16 แสนล้านบาท https://thestandard.co/push-sex-worker-for-legal-profession/ Tue, 16 May 2023 00:50:14 +0000 https://thestandard.co/?p=790885 Sex Worker

ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมบริการทางเพศขนาดใหญ่ ซ […]

The post Sex Worker ในไทยคาดหวังให้ ‘รัฐบาลชุดใหม่’ ผลักดันให้เป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย ท่ามกลางอุตสาหกรรมบริการทางเพศมูลค่ากว่า 2.16 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sex Worker

ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมบริการทางเพศขนาดใหญ่ ซึ่งแม้จะผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายปัจจุบัน แต่ก็มีการประเมินว่ามีผู้คนกว่า 3 แสนคนที่ทำงานเป็น Sex Worker ซึ่งจัดอยู่ในอันดับ 8 ของโลก และมีมูลค่ากว่า 6.4 พันล้านดอลลาร์ หรือ 2.16 แสนล้านบาทต่อปี

 

อุตสาหกรรมนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ‘เศรษฐกิจสีเทา’ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการยอมรับหรือควบคุมอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาล การขาดการยอมรับและข้อบังคับนี้ทำให้ Sex Worker ไม่มีสิทธิหรือการคุ้มครองทางกฎหมายมากนัก

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ภายใต้กฎหมายปัจจุบันซึ่งร่างขึ้นในปี 2539 การค้าประเวณีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโดย Empower Foundation ซึ่งสนับสนุนสิทธิของผู้ให้บริการทางเพศ ได้ร่วมมือกับพรรคการเมืองเพื่อให้พวกเขาสนับสนุนกฎหมายใหม่ 

 

กฎหมายที่เสนอนี้จะลดทอนอาชญากรรม และให้ความคุ้มครองทางกฎหมายและสิทธิแก่ Sex Worker มากขึ้น

 

Nikkei Asia รายงานว่า ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ ทันตา เลาวิลาวัณยกุล ซึ่งขายบริการทางเพศมากว่า 20 ปี เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เธอแสดงความมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับศักยภาพของการปฏิรูป โดยระบุว่าพรรคการเมืองทั้งหมดที่พวกเขาติดต่อมาเห็นพ้องต้องกันว่าควรยกเลิกกฎหมายนี้ หากประสบความสำเร็จ นี่หมายความว่าผู้ให้บริการทางเพศสามารถดำเนินธุรกิจได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตำรวจจับหรือคุกคาม

 

แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ดูเหมือนจะมีส่วนรู้เห็นกับการเปลี่ยนแปลงนี้ จินตนา จันทร์บำรุง ซึ่งทำงานในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า พวกเขาต้องการเสนอกฎหมายใหม่ต่อรัฐบาลที่เข้ามา กฎหมายเดิมจะเกี่ยวกับการลงโทษผู้ให้บริการทางเพศ แต่กฎหมายใหม่จะเกี่ยวกับการคุ้มครองพวกเขา

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริง ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตเจ้าของอาบอบนวดหลายแห่ง เชื่อว่าระบบปัจจุบันที่ปล่อยให้มีการคอร์รัปชันและติดสินบนจะดำเนินต่อไป เพราะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลบางกลุ่ม

 

ผู้ให้บริการทางเพศอย่าง ใหม่ จันตา หวังว่าคนอื่นๆ ในสังคมไทยจะเห็นอกเห็นใจต่อชะตากรรมของคนเช่นเธอมากขึ้น ปัจจุบันเธออายุ 30 ปีและทำงานในอุตสาหกรรมนี้มานานนับสิบปี และสนับสนุนอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาเรียกร้อง

 

“ฉันต้องการให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ให้บริการทางเพศ” เธอกล่าว “เราควรได้รับการยอมรับในฐานะพนักงานทั่วไปและสามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย”

 

ภาพ: Jonas Gratzer / LightRocket via Getty Images

อ้างอิง: 

The post Sex Worker ในไทยคาดหวังให้ ‘รัฐบาลชุดใหม่’ ผลักดันให้เป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย ท่ามกลางอุตสาหกรรมบริการทางเพศมูลค่ากว่า 2.16 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จักงานเอ็นท์ EP.3 (จบ): บรรทัดฐานสังคม กับมุมมองอาชีพที่ถูกด้อยค่า ‘Sex Worker’ งานที่สังคมผลักไสให้อยู่มุมมืด https://thestandard.co/entertainment-job-social-norms/ Fri, 05 May 2023 02:00:13 +0000 https://thestandard.co/?p=785305 Sex Worker

การเลือกตั้งที่หลายๆ คนตั้งหน้าตั้งตารอคอยกำลังใกล้จะเข […]

The post รู้จักงานเอ็นท์ EP.3 (จบ): บรรทัดฐานสังคม กับมุมมองอาชีพที่ถูกด้อยค่า ‘Sex Worker’ งานที่สังคมผลักไสให้อยู่มุมมืด appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sex Worker

การเลือกตั้งที่หลายๆ คนตั้งหน้าตั้งตารอคอยกำลังใกล้จะเข้ามาถึงแล้ว หลายพรรคการเมืองทั้งพรรคใหญ่และพรรคเล็กต่างหันมาให้ความสนใจกับงานอิสระกันมากขึ้น เช่น แม่ค้าออนไลน์ ไรเดอร์ส่งอาหาร หรือพริตตี้ และงานอิสระอีก

 

งานหนึ่งที่เหล่าพรรคการเมืองทั้งหลายต่างก็ถกเถียงกันในแง่ของการให้เข้ามาอยู่ในระบบกฎหมาย นั่นก็คือ ‘Sex Worker’ ที่มีบางพรรคที่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ ต่างก็ออกมาแสดงจุดยืนในการคุ้มครองอาชีพนี้ร่วมกัน เช่น การยกร่างกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองและปกป้องอาชีพบริการทางเพศ จากพรรคก้าวไกล การร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองอาชีพ Sex Worker จากพรรคเพื่อไทย หรือไม่ว่าจะเป็นนโยบายเพื่อพนักงานบริการ การเรียนรู้เรื่องเพศ และการให้ความสุขทางเพศ จากพรรคเพื่อชาติ และสำหรับบางพรรคที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ต่างก็ได้ออกมาแสดงความเห็นในเชิงที่ว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพสีเทาและเป็นอาชีพที่ขัดต่อศีลธรรมของประเทศไทย

 

นิยามของ Sex Worker

คำว่า Sex Worker หลายๆ คนอาจจะตีความว่าเป็นอาชีพค้าบริการทางเพศอย่างเดียวหรือเปล่า แต่ในความเป็นจริงนั้น อาชีพ Sex Worker นั้นมีความหมายที่กว้างไปกว่านั้น เพราะในนิยามของอาชีพนี้อ้างอิงจากการศึกษาและเก็บข้อมูล รวมถึงประมวลผลที่ได้ไปทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีความรู้และนักวิชาการในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้กล่าวว่าไว้ว่า อาชีพ Sex Worker คืออาชีพที่ใช้เพศเพื่อการทำงาน และสร้างประโยชน์จากสรีระของตัวเอง จึงกล่าวได้ว่าอาชีพ Sex Worker นั้นไม่ได้จำเป็นต้องเป็นอาชีพค้าบริการทางเพศอย่างเดียว แต่อาชีพอื่นๆ เช่น พริตตี้ โคโยตี้ หรือไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการงานเอ็นเตอร์เทน ต่างก็ถือว่าเป็น Sex Worker เหมือนกัน เพราะว่าอาชีพเหล่านี้คืออาชีพอิสระที่ใช้สรีระร่างกายของตัวเองในการทำงาน โดยไม่ได้จำเป็นต้องมีเรื่องเพศสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

 

“Sex Worker คือการใช้เพศเพื่อการทำงาน ด้วยสรีระของตนเองในการสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้น แต่การยอมรับนั้นต่ำมาก” นักวิชาการด้านการสื่อสารจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

Sex Worker

 

ผลักดันอาชีพ Sex Worker ให้ถูกกฎหมาย จำเป็นจริงหรือ?

ในประเทศไทยนั้นอาชีพที่ใช้เรือนร่างในการทำงานถือว่าไม่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง เพราะยังมีความเชื่อที่ว่างานพวกนี้เป็นการใช้ร่างกายเพื่อแลกกับเงิน เป็นอาชีพไม่สุจริต และเป็นอาชีพสีเทาที่ต้องปกปิด แต่ในความจริงนั้นอาชีพเหล่านี้แค่ใช้สรีระร่างกายของตัวเองเป็นส่วนประกอบ เพราะหัวใจในการทำงานหลักคือการให้บริการ เช่น พริตตี้ ต่างก็มีหน้าตาที่สะสวยดูดี เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาสนใจในสินค้าที่ตัวเองนำเสนออยู่ รวมไปถึงผู้ให้บริการงานเอ็นเตอร์เทน ไม่ว่าจะเป็นพริตตี้บอยหรือโฮสต์ ก็มีหน้าตาที่ดูดีเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาเลือกใช้บริการจากตน ที่หน้าที่หลักคือการสร้างความบันเทิงและคอยพูดคุยกับลูกค้าเพียงเท่านั้น จึงเห็นได้ว่างานนี้ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่สุจริตและไม่ได้สร้างความเดือดร้อน งานนี้ก็ต้องใช้แรงกายและใช้ทักษะความสามารถในการทำงานเช่นเดียวกับงานอื่นๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการสื่อสาร การพูดคุย หรือทักษะด้านจิตวิทยาในการคาดเดา หรือประเมิน ให้คำปรึกษา แต่ด้วยความที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในอาชีพนี้จึงทำให้ยังไม่มีกฎหมายเข้ามาคุ้มครองเหมือนกับในต่างประเทศ

 

หนึ่งสาเหตุสำคัญที่อาชีพ Sex Worker จำเป็นที่ต้องมีกฎหมายเข้ามาคือ การคุ้มครองด้านความเสี่ยงในการทำงาน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่างานนี้นั้นก็มีความเสี่ยงสูงในการทำงานเช่นกัน ที่สามารถเห็นตามสื่อที่มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการโดนล่อลวงและความเสี่ยงในด้านอาชญากรรม เพราะในผู้ให้บริการงานเอ็นเตอร์เทนบางประเภทนั้น เช่น เพื่อนเที่ยวออนไลน์จำเป็นต้องออกไปพบปะลูกค้านอกสถานที่ ไม่ได้เหมือนกับพริตตี้บอยหรือโฮสต์ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดไว้และมีกฎข้อระเบียบของทางสถานที่ในการป้องกันตัวผู้ให้บริการเอง ผู้ให้บริการประเภทนี้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะต้องเจอกับลูกค้าประเภทไหน สถานที่ที่ตนกำลังไปอยู่นั้นเป็นอย่างไร การมีกฎหมายเข้ามารองรับจึงเป็นเหมือนหลักประกันในการคุ้มครองผู้ที่อยู่ในอาชีพนี้ รวมถึงการได้รับสวัสดิการต่างๆ ตามที่ควรจะได้รับเหมือนกับผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ

 

เมื่อสามารถผลักดันให้งานประเภทนี้เข้าไปถูกกฎหมายได้ อาจจะทำให้ประเทศไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มได้ เนื่องจากเป็นงานที่สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ ทั้งในแง่ที่มีแรงงานเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าในปัจจุบันหลายๆ คนก็ให้ความสนใจในการเข้ามาทำอาชีพนี้ เนื่องจากเป็นอาชีพอิสระที่ไม่ต้องขึ้นตรงกับใคร รวมถึงมีปัจจัยด้านรายได้เป็นส่วนสำคัญ และจากที่เห็นได้ตามสื่อโซเชียลต่างๆ สามารถเห็นได้ว่ามีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาใช้บริการงานเอ็นเตอร์เทนกันมากมาย มีการถ่ายรีวิวลงโซเชียลและเกิดการแชร์ต่อ จึงเป็นกระแสและแรงดึงดูดให้เกิดการเข้ามาใช้บริการเรื่อยๆ อาชีพนี้จึงเป็นอาชีพที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและจะเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถสร้างเม็ดเงินเป็นจำนวนมากให้กับประเทศได้เช่นกัน ซึ่งตัวเม็ดเงินที่อยู่ในวงการนี้สามารถจัดเก็บเป็นภาษีเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ แต่ในขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ควรจะต้องมีอะไรตอบแทนให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการ การคุ้มครองต่างๆ ทำอาชีพเหล่านี้ให้เหมือนอาชีพทั่วไปในสังคม ลดการตีตรา การสร้างภาพเหมารวม

 

“Sex Worker is Work”

ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในร่างกาย ความคิดของตนเอง อย่าเอาบรรทัดฐานของตนเองไปขีดเส้นและปิดกั้นความหลากหลายที่เกิดขึ้นในสังคม และผลักให้กลุ่มคนเหล่านั้นเป็นคนที่แปลกแยก แตกต่าง เพียงเพราะพวกเขาทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ แต่ไม่ได้เป็นอาชีพที่ไม่ได้ถูกระบุในบรรทัดฐานของสังคมว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ

 

อ้างอิง: 

The post รู้จักงานเอ็นท์ EP.3 (จบ): บรรทัดฐานสังคม กับมุมมองอาชีพที่ถูกด้อยค่า ‘Sex Worker’ งานที่สังคมผลักไสให้อยู่มุมมืด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : ส่องนโยบายพรรคการเมืองที่ออกแบบเพื่อสตรีและ LGBTQIA+ https://thestandard.co/policies-for-women-and-lgbtqia/ Tue, 18 Apr 2023 10:46:20 +0000 https://thestandard.co/?p=778248 นโยบาย สตรี LGBTQ

THE STANDARD ชวนพิจารณานโยบายจาก 4 พรรคการเมือง ที่ออกแ […]

The post เลือกตั้ง 2566 : ส่องนโยบายพรรคการเมืองที่ออกแบบเพื่อสตรีและ LGBTQIA+ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นโยบาย สตรี LGBTQ

THE STANDARD ชวนพิจารณานโยบายจาก 4 พรรคการเมือง ที่ออกแบบรองรับสังคมที่มีความหลากหลาย แนวทางเพื่อเสรีภาพ ตลอดจนการดูแลสวัสดิภาพในการสร้างครอบครัว

 

 

พรรคก้าวไกล

  • สวัสดิการผ้าอนามัย : ไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน
  • เพศศึกษา : ปฏิรูปการสอน ส่งเสริมความเสมอภาค
  • อาชีพ : ตำรวจหญิงทุกสถานี
  • กฎหมาย : ปรับปรุงหัวข้อต่อต้านความรุนแรงทางเพศ
  • สมรส : สมรสเท่าเทียม 
  • เสรีภาพ : คำนำหน้าตามความสมัครใจ
  • การวางแผนครอบครัว อนามัยเจริญพันธุ์ : ยุติการตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ รับยาฟรีทุก รพ.สต. สิทธิลาคลอด 180 วัน ศูนย์เลี้ยงเด็กใกล้บ้าน ห้องปั๊มนมในที่ทำงาน
  • สุขภาพร่างกาย : คัดกรองมะเร็งฟรี 6 ชนิด 

 

พรรคเพื่อไทย

  • สวัสดิการผ้าอนามัย :
  • เพศศึกษา :
  • อาชีพ : ยกระดับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีด้วยเทคโนโลยี
  • กฎหมาย : แก้กฎหมายให้เท่าเทียม ไม่มีเงื่อนไขเพศสภาพ / เพศวิถี
  • สมรส : สมรสเท่าเทียม
  • เสรีภาพ : 
  • การวางแผนครอบครัว อนามัยเจริญพันธุ์ : สิทธิแรงงานลาคลอด 180 วัน ผู้ชายลาเลี้ยงลูกได้ กลุ่มหลากหลายทางเพศลาเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้
  • สุขภาพร่างกาย : ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี, ผลักดันบัตร 30 บาทดูแลเรื่องฮอร์โมน

 

พรรคไทยสร้างไทย

  • สวัสดิการผ้าอนามัย : แจกฟรีให้นักเรียนและผู้มีรายได้น้อย
  • เพศศึกษา :
  • อาชีพ : กองทุนพลังหญิง, เพิ่มจำนวน ส.ส. ผู้หญิงในสภา, สร้างโอกาสในการทำงาน Sex Worker
  • กฎหมาย :
  • สมรส : สมรสเท่าเทียม
  • เสรีภาพ : –
  • การวางแผนครอบครัว อนามัยเจริญพันธุ์ : ศูนย์ Women Care, กองทุนแม่เลี้ยงเดี่ยว
  • สุขภาพร่างกาย : ตรวจภายใน-มะเร็งเต้านมฟรี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี

 

พรรคสามัญชน

  • สวัสดิการผ้าอนามัย : ฟรี
  • เพศศึกษา : ยุติวัฒนธรรมข่มขืน
  • อาชีพ : สนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Sex Toy
  • กฎหมาย : ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
  • สมรส : สมรสเท่าเทียม
  • เสรีภาพ : สวัสดิการการข้ามเพศ
  • การวางแผนครอบครัว อนามัยเจริญพันธุ์ :
  • สุขภาพร่างกาย :

 

ภาพประกอบ: พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์

The post เลือกตั้ง 2566 : ส่องนโยบายพรรคการเมืองที่ออกแบบเพื่อสตรีและ LGBTQIA+ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : ชานันท์ จาก 1 ใน 20 ผู้ได้รับหมายเรียกกิจกรรม LGBTQIA+ สู่ 1 ใน 100 ปาร์ตี้ลิสต์พรรคเพื่อไทย https://thestandard.co/interview-chanant-pheu-thai-party-list/ Sat, 01 Apr 2023 05:00:34 +0000 https://thestandard.co/?p=771649 ชานันท์ เพื่อไทย

“ส.ส. คือผู้แทนของประชาชนทุกกลุ่ม แม้ผลักดัน LGBTQIA+ ก […]

The post เลือกตั้ง 2566 : ชานันท์ จาก 1 ใน 20 ผู้ได้รับหมายเรียกกิจกรรม LGBTQIA+ สู่ 1 ใน 100 ปาร์ตี้ลิสต์พรรคเพื่อไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชานันท์ เพื่อไทย

“ส.ส. คือผู้แทนของประชาชนทุกกลุ่ม แม้ผลักดัน LGBTQIA+ ก็ไม่ใช่ตัวแทน LGBTQIA+ เท่านั้น”

 

THE STANDARD สัมภาษณ์ ปกป้อง-ชานันท์ ยอดหงษ์ ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ พรรคเพื่อไทย ล่าสุดเป็น 1 ใน 100 รายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ชานันท์มีผลงานเขียนหนังสือก่อนหน้านี้ เช่น นายใน สมัยรัชกาลที่ 6 และ หลังบ้านคณะราษฎร: ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง

 

ขณะเดียวกันเป็นหนึ่งในผู้ได้รับหมายเรียกข้อหา ‘ร่วมกันจัดกิจกรรมมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดฯ’ เป็นหมายแรกในชีวิต จากกรณีการขึ้นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ในฐานะตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย ประเด็นเรียกร้องให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1448 เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ โดยมองว่ากฎหมายควรจะรับรองการสมรสระหว่างบุคคลกับบุคคลรวมถึงการสมรสคู่รักเพศเดียวกัน ไม่เฉพาะชาย-หญิง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ที่แยกราชประสงค์ เป็นกิจกรรมที่มีการปราศรัยและมีซุ้มต่างๆ เพื่อให้ความรู้ประชาชน โดยได้รับเชิญจากภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม ซึ่งเชิญตัวแทน 5 พรรคการเมือง ปรากฏว่าได้รับหมายเรียกทั้งผู้จัดงานและวิทยากร ให้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) ลุมพินี ออกหมายวันที่ 12 ธันวาคม 2564 ระบุชื่อชานันท์เป็นผู้ต้องหาที่ 3 จาก 20 คน 

 

ในปีนี้มีอีกบทบาทนอกจากงานนโยบายในพรรคเพื่อไทย และประสบการณ์กรรมาธิการฯ ในรัฐสภา บทบาทล่าสุดคือผู้สมัครับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งกำลังจะมีการประกาศลำดับภายในไม่กี่วันนี้ 

 

ชานันท์เล่าถึงกระบวนการสมัครเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ของพรรคว่า เริ่มจากการยื่นใบสมัครเสนอไปที่พรรคว่าอยากทำประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เรื่อง LGBTQIA+ เรื่องชาติพันธุ์ ซึ่งพรรคก็เห็นด้วยโดยเฉพาะการทำงานเกี่ยวกับประเด็น LGBTQIA+ โดยก่อนหน้านี้ก็ทำนโยบายให้พรรคมาเป็นเวลาหนึ่งปีกว่าอยู่แล้ว โดยมี หมอเลี้ยบ-นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และ หมอมิ้ง-นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช คอยดูแลให้คำแนะนำ  

 

เมื่อถามถึงคดีความที่ สน.ลุมพีนี มีความคืบหน้าเป็นอย่างไร 

 

ชานันท์กล่าวว่า ตำรวจยังไม่ยื่นอัยการ แล้ว พ.ร.ก.นั้นยกเลิกไปแล้ว ต่อมาเรื่องก็เงียบไปไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติม ดูเหมือนแจ้งความเป็นพิธีการเท่านั้น

 

สำหรับปรากฏการณ์ฮือฮาในโลกโซเชียลมีเดีย เวทีปราศรัยที่สเตเดียม วัน มีอินฟลูเอ็นเซอร์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQIA+ นั่งแถวหน้าเวที

 

ชานันท์กล่าวว่า วันนั้นเป็นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ ใครอยากมาร่วมฟังวิสัยทัศน์ฟังนโยบายก็สามารถเดินทางมาได้เลย ซึ่งคนในพรรคหลายๆ คนก็ช่วยกันเชิญเพื่อนๆ ที่เขาอยากให้มาฟังกัน พรรคเชิญคนหลากหลายกลุ่ม ส่งจดหมายเชิญบ้าง โทรศัพท์เชิญบ้าง เชิญคนหลากหลายวงการ เช่น นักธุรกิจ ศิลปิน ส่วน LGBTQIA+ หรืออินฟลูเอ็นเซอร์วันนั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มาในงาน ส่วนตัวอยู่ในฝ่ายเชิญเครือข่าย LGBTQIA+ ร่วมกับพี่ๆ ในพรรคหลายๆ คน

 

เมื่อถามว่าหากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะผลักดันอะไรทั้งในรัฐสภาและในทำเนียบรัฐบาล 

 

ชานันท์กล่าวว่า ถ้าเรื่องตำแหน่งเป็นตำแหน่งอะไรก็ได้ ขอให้ได้ยกระดับคุณภาพชีวิต LGBTQIA+ เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ได้รับศักดิ์ศรี คุณค่าเท่าเทียมกับชาย-หญิง ให้เกิดความเท่าเทียมกัน

 

ประสบการณ์ในรัฐสภา 

 

ชานันท์เล่าว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยเป็น ส.ส. แต่เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต กับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม 

 

สำหรับประสบการณ์การเป็นกรรมาธิการฯ คือช่วยดู 2 ร่าง พ.ร.บ.นี้ ทำให้ได้เจอคนในพรรคอื่นๆ ด้วย และรู้หลักการทำงานในรัฐสภามากขึ้น รู้ว่าจะรับมืออย่างไรกับบางพรรคการเมืองที่ต่อต้านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้เรียนรู้การจะพูดต่อรองอย่างไร จะต่อสู้อย่างไรให้เขายอมรับสมรสเท่าเทียมให้ได้ 

 

เมื่อเจอความเห็นที่เห็นต่าง หรือฝ่ายต่อต้านสมรสเท่าเทียม ได้ให้เหตุผลว่าอย่างไร 

 

ชานันท์เล่าว่า ผู้มีความเห็นแตกต่างได้อ้างหลักศาสนาว่าสมรสเท่าเทียมเป็นเรื่องขัดแย้งกับความเชื่อศาสนาดั้งเดิม หรือประเพณี เราจึงได้บอกเขาไปว่า หลักศาสนาก็อีกหลักหนึ่ง แต่นี่เป็นเรื่องการจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องนายทะเบียนกับประชาชน เพราะฉะนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาเลย เพราะว่าไม่ได้มีการต้องให้นักบวชหรือผู้นำศาสนาเป็นผู้ลงนามในทะเบียนสมรส แล้วก็บอกว่าประเทศเราเป็น Secular State เป็นรัฐฆราวาส 

 

เพราะฉะนั้นไม่ควรเอาความเชื่อของลัทธิหรือศาสนาใดมาเป็นเงื่อนไขในการเขียนกฎหมาย หรือเป็นอุปสรรคในการพัฒนากฎหมาย เพราะกฎหมายใช้กับทุกคนทุกเพศทุกศาสนาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการเลือกศาสนาใดมาเป็นเงื่อนไขเป็นความไม่สมเหตุสมผลและไม่ควรจะเป็นเช่นนั้นในรัฐฆราวาส ได้บอกเขาไปอย่างนั้น พยายามทำให้เขาเข้าใจให้ได้ ตอนแรกเขาก็ไม่เข้าใจในที่ประชุมกรรมาธิการฯ แต่คุยทำความเข้าใจ อธิบายจนสำเร็จ

 

ส่วนคนที่จะโหวตมติร่างกฎหมายต้องเป็น ส.ส. ซึ่งได้บอกเขาไปว่า ส.ส. เป็นผู้แทนของประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ใช่เป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แม้กระทั่ง ส.ส. ที่ผลักดันเรื่อง LGBTQIA+ เอง เขาก็ไม่ใช่ตัวแทนของ LGBTQIA+ เท่านั้น เขาเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ 

 

สมรสเท่าเทียมผ่านมติ ส.ส. วาระ 1 ก็เท่ากับเป็นของประชาชนทุกคนแล้ว ไม่ได้คิดว่าเป็นผลงานของพรรคใดพรรคหนึ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ ส.ส. โหวตกันมา ตัวแทนประชาชนโหวตมาแล้ว ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เสนอโดยฝั่งพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งก็ผ่านทั้งกรรมาธิการฯ และสภาวาระ 1 แล้วเช่นกัน แต่ยืนยันมีจุดยืนไม่เอา พ.ร.บ.คู่ชีวิต และเลือกร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเท่านั้น 

 

ภารกิจต่อไป

 

ชานันท์กล่าวว่าถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็จะนำร่างสมรสเท่าเทียมมาพิจารณาอีกครั้ง เพราะกฎหมายอนุญาตให้ภายใน 60 วันสามารถนำร่าง พ.ร.บ. จากสมัยรัฐบาลชุดเก่ามาพิจารณาได้อีกครั้ง 

 

ตอนนี้ผ่านสภาวาระ 1 ยังไม่ผ่านวาระ 2 และ 3 เนื่องจากขั้นตอนวาระที่ 2 โดนถ่วงเวลาในยุคของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเอาเรื่องกัญชามาพิจารณากันก่อน แล้วก็ทำให้เสียเวลากันไปในตอนนั้น ทำให้สมรสเท่าเทียมไม่ได้พิจารณาในวาระ 2 ของสภา ประกอบกับสภาล่มหลายครั้งในยุครัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ส่งผลให้การแก้ไขกฎหมายหรือการร่างกฎหมายบางฉบับที่สำคัญกับประชาชนเพื่อสร้างความเท่าเทียม ไม่ได้ถูกพิจารณาให้ความสำคัญในรัฐบาลที่ผ่านมา 

 

อยากจะสานต่อเรื่องสมรสเท่าเทียมให้สำเร็จ ให้ทุกคนได้จดทะเบียนสมรสได้เหมือนกันทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เลือกเพศวิถี 

 

ส่วนประเด็น Sex Worker ก็อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อผลักดันเป็นนโยบายเช่นเดียวกัน ตอนนี้ก็มีพูดคุยกับภาคประชาสังคมหลายๆ กลุ่มที่ผลักดัน รวมถึงคุยกับ Sex Worker หลายๆ คนว่าจะผลักดันอย่างไรไม่ให้กลายเป็นอาชญากร โดยให้การขายบริการทางเพศเป็นแรงงานหนึ่ง เป็นอาชีพหนึ่งที่เท่าเทียมกับอาชีพอื่นๆ คนที่ทำประเด็นนี้มีตัวเราเอง และ ส.ส. จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็ผลักดันเรื่องนี้เช่นเดียวกัน 

 

เนื่องจากกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ทำให้ Sex Worker กลายเป็นอาชญากรไป แต่ไม่ได้หมายความว่าอาชีพนี้ต้องขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีรูปแบบ 2 อย่างคือ Decriminalisation กับ Legalisation ซึ่ง Legalisation ต้องจดทะเบียน แต่ทำให้มีแนวโน้มเกิดการผูกขาดโดยนายทุนที่ทำธุรกิจนี้ จึงไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียน 

 

ต้องการให้ใครจะทำหรือจะเลิกทำก็ได้ เนื่องจากถ้าต้องจดทะเบียนเท่ากับคนที่ไม่จดทะเบียนก็จะกลายเป็นผิดกฎหมาย ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาเรื่อง Sex Worker ผิดกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่ขึ้นมา ถ้าเขาอยู่ในสถานบริการก็จะเป็นพนักงานคนหนึ่งเท่ากับพนักงานคนอื่นทั่วไปภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานอยู่แล้ว 

 

สำหรับเรื่องชาติพันธุ์ได้เสนอเป็นงานศึกษาเพื่อผลักดันเป็นนโยบายให้พรรคต่อไป ยังอยู่ในกระบวนการเสนอให้พรรค

 

เมื่อถามถึง ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และความสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน 

 

ชานันท์กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีอิสระ คนที่มีอิทธิพลที่สุดคือประชาชน เพราะพรรคต้องรับฟังเสียงประชาชนเพื่อนำมาออกแบบนโยบาย รวมถึงรับฟังภาคประชาสังคม NGO ทั้งหลาย เพราะว่าเขาเป็นเจ้าของประสบการณ์เผชิญปัญหาโดยตรง เขาก็จะมาเสนอพรรคในประเด็นต่างๆ ซึ่งจะกลายเป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบนโยบายในการแก้ไขปัญหา 

 

นอกจากนั้น หลายครั้งที่เวลาทักษิณพูดในรายการของกลุ่ม CARE ก็ไม่ได้หมายความว่าคนในพรรคจะเห็นด้วยทุกคน รวมทั้งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการออกแบบนโยบายของพรรค

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์การผลักดันสมรสเท่าเทียมก็ต้องชื่นชมทักษิณ ตั้งแต่ตอนเป็นรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในปี 2544 รัฐบาลไทยรักไทยก็มีโครงการที่จะให้คนรักเพศเดียวกันได้จดทะเบียนสมรสด้วย แต่ตอนนั้นกระแสสังคมมีการต่อต้านกันอย่างรุนแรงมาก มี LGBTQIA+ ที่เป็นผู้มีชื่อเสียงหลายคนในเวลานั้นก็ไม่ได้เห็นด้วย ด้วยความที่กระแสสังคมต่อต้านมาก จึงทำให้โครงการไอเดียนี้ต้องยุติไปภายในสัปดาห์เดียว จำได้ว่ามีข่าวครึกโครม 

 

แล้วเมื่อมาถึงยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี 2554-2555 ก็มีความพยายามผลักดัน พ.ร.บ.คู่ชีวิต เพราะว่าตอนนั้นทั่วโลกก็ใช้ พ.ร.บ.คู่ชีวิตกันหมด สมัยนั้นยังไม่มีการพูดถึงสมรสเท่าเทียม จึงถือว่าทั้งพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทยผลักดันเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เรื่องสมรสเท่าเทียมตลอดมายาวนานตั้งแต่เป็นพรรคไทยรักไทย

 

เมื่อถามถึง อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร 

 

ชานันท์กล่าวว่า แพทองธารให้ความสนใจให้ความสำคัญเรื่อง LGBTQIA+ มากๆ น่าจะเป็นเพราะเจเนอเรชันด้วย อย่างไรก็ตาม แพทองธารสนใจหลายเรื่อง และใส่ใจกับหลายประเด็น แต่เวลาพูดคุยในห้องประชุมในทุกๆ ครั้งก็จะมีประเด็นเรื่อง LGBTQIA+ ด้วยเสมอ

 

ส่วนตัวมองว่าเวลาผู้หญิงเข้ามาในพื้นที่ทางการเมือง เรื่องครอบครัวจะถูกจับตาอยู่เสมอว่าเป็นลูกใคร เมียใคร นักการเมืองหญิงหลายคนในไทยเจอเช่นนี้มากกว่าผู้ชาย เพราะหากเทียบนักการเมืองชาย เมื่อปรากฏตัวคนอื่นจะมองในฐานะความเป็นนักการเมืองชายคนนั้น เช่น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ก็จะไม่ถูกถามถึงคุณพ่อ ส่วนนักการเมืองหญิงมักถูกมองโยงครอบครัว

 

อย่างไรก็ตาม กรณีแพทองธาร การที่มีคนถามถึงคุณพ่อก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีคุณูปการต่อประเทศ ต่อประชาชน แล้วก็เป็นที่จดจำอยู่เสมอ หลายๆ คนต่างคิดถึงทักษิณจึงทำให้ถูกพูดถึงมากกว่า อันนี้ก็เข้าใจได้เหมือนกัน เพราะยังไม่มีนายกรัฐมนตรีคนไหนที่มีคุณูปการสูงต่อประเทศเหมือนที่ทักษิณทำ ทั้งด้านการพัฒนาและแก้ปัญหาเรื่องปากท้องประชาชน ซึ่งถ้าย้อนไปในประวัติศาสตร์คนที่ทำได้ก่อนหน้านี้คือ จอมพล ป. พิบูลสงครามเท่านั้น หลังจากนั้นมองว่ามีทักษิณเพียงคนเดียว

The post เลือกตั้ง 2566 : ชานันท์ จาก 1 ใน 20 ผู้ได้รับหมายเรียกกิจกรรม LGBTQIA+ สู่ 1 ใน 100 ปาร์ตี้ลิสต์พรรคเพื่อไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยสร้างไทย ชวนสังคมหยุดตีตราอาชีพ ‘Sex Worker’ ชี้หนีความจริงไม่ได้ แต่ออกแบบกติกาได้ https://thestandard.co/stop-stigmatizing-sex-worker/ Sun, 19 Mar 2023 08:52:35 +0000 https://thestandard.co/?p=765292

วันนี้ (19 มีนาคม) ทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล รองโฆษกพรรคไทย […]

The post ไทยสร้างไทย ชวนสังคมหยุดตีตราอาชีพ ‘Sex Worker’ ชี้หนีความจริงไม่ได้ แต่ออกแบบกติกาได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 มีนาคม) ทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล รองโฆษกพรรคไทยสร้างไทย ชวนสังคมทบทวนการมีอยู่ของผู้ให้บริการทางเพศ หรือ Sex Worker รวมถึงผู้ผลิตสินค้าและให้บริการความบันเทิงทางเพศ อย่าง Sex Toy และ Sex Creator โดยเสนอให้แก้ไขกฎหมายเพื่อผู้ให้บริการทางเพศไม่ต้องหลบซ่อน อยู่ในสถานะที่สามารถแจ้งความกับตำรวจได้อย่างเปิดเผยเมื่อถูกละเมิดสิทธิ โดยไม่ต้องหวาดกลัวโทษทางอาญา ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมและการค้ามนุษย์ได้จริง พร้อมย้ำด้วยว่า “การกำหนดให้สินค้าและบริการทางเพศเป็นเรื่องต้องกำจัดทิ้ง ซุกซ่อน ปกปิด แทนที่จะควบคุม จัดระเบียบ ไม่ทำให้สังคมก้าวไปข้างหน้าได้”   

 

ทวีชัยกล่าวถึงปัญหาจากการตีความและใช้ตัวบทกฎหมายต่างๆ ในเรื่องเพศ เช่น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ศุลกากร พ.ศ. 2560 รวมถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ที่ว่าด้วยการนำเข้า เผยแพร่ ประกอบการค้าหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งลามกอนาจาร ที่ตีความ ‘Sex Toy’ ให้เป็นวัตถุลามก อนาจาร ซึ่งขัดขวางประชาชนไม่ให้เข้าถึงสินค้าทางเพศที่ปลอดภัย มีคุณภาพ เป็นปัญหาให้ประชาชนลักลอบนำเข้าสินค้าเถื่อนอันตราย เสนอแนวทางปรับนิยามใหม่ จากวัตถุลามกอนาจาร สู่สินค้าควบคุมภายใต้รัฐกำกับดูแล ให้มีการนำเข้า ผลิตซื้อขายได้ภายใต้การขอใบอนุญาต จำกัดอายุผู้ซื้อ กำหนดพื้นที่ขาย จึงขอเชิญชวนสาธารณสุขตรวจสอบคุณภาพให้ความรู้เรื่องสุขอนามัยและการใช้งาน มองไทยมีศักยภาพผลักดันวัสดุในประเทศผลิต Sex Toy ส่งออก แนะรัฐต้องเอื้อให้มนุษย์มีความสุขโดยไม่รู้สึกเป็นผู้ร้าย 

 

ขณะที่ในส่วนของผู้ผลิตสื่อบันเทิงทางเพศ Sex Creator ซึ่งก่อนหน้านี้ ทวีชัยได้ให้ความเห็นในกรณีพนักงานบริษัทเอกชนถูกไล่ออกหลังจากนายจ้างรู้ว่าเคยทำคลิปแนว OnlyFans จึงขอเรียกร้องให้สังคมยุติการตีตรา เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ประชาชนใช้สร้างรายได้ บริการจัดการความเสี่ยงบนเนื้อตัวร่างกายของตัวเองผ่านกล้อง ในขณะที่ Sex Worker ต้องออกไปเจอกับความเสี่ยงข้างนอกในรูปแบบอาชญากรรม ความรุนแรงต่างๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งผู้ที่ถูกบังคับล่อลวงเข้ามาทำงาน ผู้ที่ไร้ทางเลือก รวมถึงบุคคลที่สมัครใจ ปัญหาจึงไม่ใช่อยู่ที่ว่าผิดถูกกฎหมายอย่างไร แต่จะทำอย่างไรให้บุคคลเหล่านี้ได้รับการคุ้มครอง ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีสิทธิในการประกอบอาชีพเช่นอาชีพอื่นๆ 

 

ทวีชัยยังได้ตั้งคำถามไปยังรัฐบาลว่า จะทำอย่างไรที่จะสร้างโอกาสและทางเลือกให้ประชาชนแทนการออกกฎหมายต่อต้าน โดยไม่ลืมความสำคัญคือ ต้องยุติการตีตรา Sex Worker ว่าเป็นอาชีพบ่อนทำลายศีลธรรม ผิดกฎหมาย รณรงค์ปฏิบัติกับ Sex Worker ในความเป็นมนุษย์โดยเสมอหน้า ไม่ใช่เพียงแรงงานไร้ใบหน้าที่มีผลประโยชน์เพียงให้ตำรวจได้เรียกเก็บส่วย เป็นแหล่งฟอกเงินผิดกฎหมายเท่านั้น

The post ไทยสร้างไทย ชวนสังคมหยุดตีตราอาชีพ ‘Sex Worker’ ชี้หนีความจริงไม่ได้ แต่ออกแบบกติกาได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ม็อบแรงงานลุยทำเนียบ ทวงสิทธิแรงงานสตรีในวันสตรีสากล 2566 https://thestandard.co/labor-mob-go-government-house/ Wed, 08 Mar 2023 07:53:08 +0000 https://thestandard.co/?p=760020

วันนี้ (8 มีนาคม) กลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน […]

The post ม็อบแรงงานลุยทำเนียบ ทวงสิทธิแรงงานสตรีในวันสตรีสากล 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (8 มีนาคม) กลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนรวมตัวกันบริเวณด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลเนื่องในวันสตรีสากล โดยมีข้อเรียกร้องเพื่อทวงสิทธิแรงงาน สิทธิทางสังคม และสิทธิทางการเมือง 

 

สำหรับตัวอย่างข้อเรียกร้องในวันนี้ เช่น 

 

  • ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี 
  • คืนสิทธิให้พนักงานค้าบริการทางเพศ หรือ Sex Worker 
  • ขยายสิทธิลาคลอดโดยได้รับค่าตอบแทนเป็น 180 วัน
  • แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 287 ลดค่าครองชีพ แรงงาน และประชาชนหญิง ด้วยการจัดสวัสดิการผ้าอนามัยฟรี 
  • จัดให้มีสวัสดิการประชาชนตามช่วงอายุ ได้แก่ 0-6 ปี และ 60 ปีขึ้นไป รายละ 3,000 บาทต่อเดือน 
  • ขยายสถานบริการรัฐที่ให้ยุติการตั้งครรภ์ปลอดภัยและฟรีสำหรับผู้ท้องไม่พร้อม 
  • รับรองสิทธิสมรสเท่าเทียมทุกเพศ 
  • คืนสิทธิการประกันตัวให้นักสู้ทางการเมืองทุกคน

 

ทั้งนี้ บรรยากาศโดยรอบมีการตรึงกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมถึงกองร้อยน้ำหวานที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม

 

The post ม็อบแรงงานลุยทำเนียบ ทวงสิทธิแรงงานสตรีในวันสตรีสากล 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>