SCBS Wealth Research – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 08 Aug 2022 11:11:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 หุ้นกลุ่มธนาคาร – สินเชื่อเติบโตต่ำในเดือนพฤษภาคม 2022 https://thestandard.co/market-focus-banking-stocks-credit-growth-may-2022/ Wed, 22 Jun 2022 11:49:36 +0000 https://thestandard.co/?p=645138 หุ้นกลุ่มธนาคาร

เกิดอะไรขึ้น: ในเดือนพฤษภาคม 2022 สินเชื่อของกลุ่มธนาคา […]

The post หุ้นกลุ่มธนาคาร – สินเชื่อเติบโตต่ำในเดือนพฤษภาคม 2022 appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นกลุ่มธนาคาร

เกิดอะไรขึ้น:

ในเดือนพฤษภาคม 2022 สินเชื่อของกลุ่มธนาคารเติบโต 0.2%MoM, 5.5%YoY และ 1.5%YTD โดยการเติบโตของสินเชื่อ MoM หลักๆ ได้แรงหนุนจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อรายย่อย ขณะที่ KKP, TTB และ KBANK มีการเติบโตของสินเชื่อ MoM แข็งแกร่งที่สุดในแง่เปอร์เซ็นต์ 

 

ส่วน KTB และ BBL เป็นธนาคารเพียง 2 แห่งที่สินเชื่อหดตัว MoM สำหรับ KTB การหดตัว MoM ของสินเชื่อ เชื่อว่าอาจเกิดจากการชำระคืนสินเชื่อที่เกี่ยวกับภาครัฐ ขณะที่การเติบโตของสินเชื่อ YTD ของ TISCO พลิกกลับมาเป็นบวกในเดือนพฤษภาคม หลักๆ ได้แรงหนุนจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก) และสินเชื่อ SMEs (สินเชื่อ Floor Plan สำหรับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เป็นหลัก) 

 

อย่างไรก็ตาม SCBS ยังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อปี 2022 ไว้ที่ 5.4% เทียบกับ 1.5% ใน 5M22

 

ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มปรับขึ้นเร็วกว่าคาด SCBS ได้ปรับประมาณการผลประกอบการหุ้นกลุ่มธนาคาร เพื่อสะท้อนการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้น 50 bps เป็น 1% ใน 2H22 และปรับขึ้น 100 bps เป็น 2% ในปี 2023 เรียบร้อยแล้ว 

 

โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นบวกเล็กน้อยต่อ Net Interest Margin (NIM) ของธนาคารขนาดใหญ่ แต่จะเป็นลบต่อ NIM ของธนาคารที่มีเงินให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ (สินเชื่อเช่าซื้อ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล) ในสัดส่วนสูง และเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ (CASA) ในสัดส่วนต่ำอย่าง TISCO, KKP และ BAY

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร (SETBANK) ปรับตัวลดลง 0.46%MoM ขณะที่ SET Index ปรับตัวลดลง 3.64%MoM

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS คาดว่ากำไร 2Q22 ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัว QoQ และจะฟื้นตัวต่อเนื่อง YoY ทั้งนี้เมื่อเทียบ QoQ คาดว่ากำไรจะค่อนข้างทรงตัว อันเป็นผลมาจากการเติบโตของสินเชื่อที่ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น NIM ในระดับทรงตัว และการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 

 

ขณะที่เมื่อเทียบ YoY คาดว่าการฟื้นตัวของกำไรส่วนใหญ่จะเกิดจากการตั้งสำรองลดลง และ NII ที่เพิ่มขึ้น แต่จะถูกฉุดรั้งโดย Non-NII ที่ลดลง

 

ปัจจุบันหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มี Valuation ไม่แพง โดยเทรดที่ระดับ PBV ระดับ -1SD ถึง -2SD เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต ขณะที่หุ้นเด่นของกลุ่มธนาคาร SCBS เลือก BBL (มีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำที่สุด และเป็นหุ้น Laggard Play) และ KBANK (ผู้นำด้านดิจิทัลแบงกิ้งและสินเชื่อเติบโตโดดเด่น)

 

มุมมองระยะยาว:

SCBS คาดว่ากำไรกลุ่มธนาคารจะฟื้นตัว 13% ในปี 2022 (17% หากตัดกำไรจากการขายหุ้น TIDLOR ของ BAY ออกไป) โดยได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์ว่า Credit Cost จะลดลง 24 bps พร้อมกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวแย่ลงในระดับที่สามารถจัดการได้ โดยที่ปัญหานี้จะบรรเทาลงได้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวแบบเบ็ดเสร็จ 

 

ส่วนสินเชื่อที่เติบโต 5%, NIM ในระดับทรงตัว (ผลกระทบเชิงลบจากการปรับโครงหนี้ระยะยาวแบบเบ็ดเสร็จ จะได้รับการชดเชยจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนสินเชื่อมามีสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้น), Non-NII ที่ลดลง (กำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียวลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมค่อนข้างทรงตัว) และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลงเล็กน้อย (รายได้ดีขึ้น และสามารถควบคุม OPEX ได้)

 

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความเสี่ยง Downside ต่อคุณภาพสินทรัพย์ จากแรงกดดันเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเกิดขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post หุ้นกลุ่มธนาคาร – สินเชื่อเติบโตต่ำในเดือนพฤษภาคม 2022 appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลุ่มพาณิชย์ – พรีวิวผลประกอบการ 4Q64 ช่วงเริ่มฟื้นตัว https://thestandard.co/market-focus-commercial-stocks-profit-4q64/ Mon, 07 Feb 2022 13:06:29 +0000 https://thestandard.co/?p=591499 Commercial stocks

เกิดอะไรขึ้น: SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ […]

The post กลุ่มพาณิชย์ – พรีวิวผลประกอบการ 4Q64 ช่วงเริ่มฟื้นตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
Commercial stocks

เกิดอะไรขึ้น:

SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 4Q64 ของบริษัทกลุ่มพาณิชย์ ภายใต้การวิเคราะห์จำนวน 6 บริษัท ได้แก่ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC), บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL), บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC), บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์ (GLOBAL), บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และ บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO)

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มพาณิชย์ (SETCOMM) ปรับเพิ่มขึ้น 2.6%MoM โดย

 

ราคาหุ้น BJC ปรับเพิ่มขึ้น 4.9%MoM สู่ระดับ 32.25 บาท 

ราคาหุ้น CPALL ปรับเพิ่มขึ้น 8.6%MoM สู่ระดับ 63.25 บาท

ราคาหุ้น CRC ปรับเพิ่มขึ้น 18.1%MoM สู่ระดับ 37.50 บาท 

ราคาหุ้น GLOBAL ปรับลดลง 4.5%MoM อยู่ที่ระดับ 19.10 บาท 

ราคาหุ้น HMPRO ปรับลดลง 0.7%MoM อยู่ที่ระดับ 14.00 บาท

ราคาหุ้น MAKRO ปรับลดลง 2.5%MoM อยู่ที่ระดับ 39.50 บาท 

 

ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565

 

พรีวิวผลประกอบการ 4Q64:

SCBS คาดว่าใน 4Q64 กำไรปกติของกลุ่มพาณิชย์น่าจะเติบโต 4%YoY และ 268%QoQ โดยได้แรงหนุนจากยอดขายสาขาเดิม (SSS) ที่ฟื้นตัวกลับมาเติบโต 6%YoY (เทียบกับลดลง 11%YoY ใน 4Q63 และ 5.8%YoY ใน 3Q64) หลังจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น (ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค, CCI, ทำจุดสูงสุดในรอบ 9 เดือนในเดือนธันวาคม 2564) การขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง, EBIT Margin ที่กว้างขึ้นจากการมีสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น, รายได้ Rebate ที่สูงขึ้นตามยอดขายที่สูงขึ้น รายได้ค่าเช่าที่แข็งแกร่งมากขึ้น QoQ หลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการควบคุมค่าใช้จ่าย SG&A / ยอดขายได้ดีขึ้น

 

CPALL กำไรสุทธิจะอยู่ที่ 1.02 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 185%YoY และ 582%QoQ (ดีที่สุดในกลุ่ม) หลักๆ ได้แรงหนุนจากรายการพิเศษ โดยเกิดจากกำไรจากหุ้นใหม่ของ MAKRO บวกกับกำไรจากการขายเงินลงทุน 

 

CRC กำไรปกติจะอยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 173%YoY และฟื้นตัวจากขาดทุนปกติ 2.1 พันล้านบาท ใน 3Q64 โดยได้รับการสนับสนุนจาก SSS ที่เติบโตขึ้น รายได้ค่าเช่าที่ปรับตัวดีขึ้น QoQ อัตรากำไรขั้นต้นที่แข็งแกร่งมากขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจและกลุ่มแฟชั่นที่ให้มาร์จิ้นสูงที่ฟื้นตัวดีขึ้น 

 

GLOBAL กำไรปกติจะอยู่ที่ 687 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 96%YoY และ 4%QoQ ได้รับการสนับสนุนจาก SSS ที่เติบโตขึ้นจากราคาเหล็กที่สูงขึ้นและอัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้น 

 

HMPRO กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7%YoY และ 89%QoQ ได้รับการสนับสนุนจาก SSS ที่เติบโตขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้นจากรายได้ Rebate ที่เพิ่มขึ้นตามยอดขายที่แข็งแกร่งมากขึ้น และสัดส่วนการขายที่ดีขึ้นเพราะยอดขายสินค้า Private Brand สูงขึ้น 

 

MAKRO หลังจากรวมกิจการของ Lotus’s เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 คาดว่าจะมีกำไรปกติที่ 2.09 พันล้านบาท ลดลง 2%YoY แต่เพิ่มขึ้น 33%QoQ กำไรที่ปรับตัวดีขึ้น QoQ จะได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจ B2B ที่ดีขึ้นตามฤดูกาล และธุรกิจ B2C ที่แข็งแกร่งขึ้นเพราะรายได้ค่าเช่าปรับตัวดีขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์ 

 

BJC กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.0 พันล้านบาท ลดลง 26%YoY แต่เพิ่มขึ้น 189%QoQ กำไรปกติที่ปรับตัวดีขึ้น QoQ จะได้รับการสนับสนุนจากยอดขายที่ดีขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้น รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่นที่ฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS คาดว่าในเดือนมกราคม 2565 ยอดขายสาขาเดิม (SSS) ของกลุ่มพาณิชย์จะเติบโตในอัตราเร็วขึ้นสู่ระดับมากกว่า 10%YoY จากฐานต่ำของปีก่อน ผลกระทบที่มีจำกัดจากการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนท่ามกลางอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น YTD, การปรับราคาผลิตภัณฑ์สืบเนื่องมาจากเงินเฟ้อ, ผลกระทบของปีปฏิทินในเชิงบวกจากเทศกาลตรุษจีนที่มาถึงเร็วขึ้น (ต้นกุมภาพันธ์ ในปี 2565 เทียบกับกลางกุมภาพันธ์ ในปี 2564) และมาตรการลดหย่อนภาษีช้อปปิ้ง กำไร 4Q64 ที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น และกำไร 1Q65 ที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งมากขึ้นจะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นของกลุ่มพาณิชย์

 

สำหรับหุ้นเด่นของกลุ่มพาณิชย์ SCBS เลือก CRC เนื่องจากกำไรปกติ 4Q64 น่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และกำไรปี 2565 จะเติบโตดีที่สุดในกลุ่มพาณิชย์ นอกจากนี้ยังชอบ CPALL เนื่องจากกำไรสุทธิ 4Q64 น่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และกำไรปี 2565 จะเติบโตดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มพาณิชย์ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ สถานการณ์โควิดเลวร้ายลง ซึ่งจะส่งผลทำให้รัฐบาลนำข้อจำกัดต่างๆ กลับมาใช้อีกครั้ง

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post กลุ่มพาณิชย์ – พรีวิวผลประกอบการ 4Q64 ช่วงเริ่มฟื้นตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
OSP – แนวโน้มกำไร 3Q64 หดตัวแรง จากมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศ และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการกู้ยืมเงินเมียนมา https://thestandard.co/market-focus-osp-profit/ Thu, 28 Oct 2021 14:07:45 +0000 https://thestandard.co/?p=553482 OSP

เกิดอะไรขึ้น: SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ […]

The post OSP – แนวโน้มกำไร 3Q64 หดตัวแรง จากมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศ และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการกู้ยืมเงินเมียนมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
OSP

เกิดอะไรขึ้น:

SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 3Q64 ของ บมจ.โอสถสภา (OSP) ซึ่งคาดว่าจะประกาศในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น OSP ปรับตัวลง 4.3%MoM สู่ระดับ 33.25 บาท เทียบกับ SET Index ที่ปรับตัวขึ้น 0.5%MoM สู่ระดับ 1,624.31 จุด (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2564)

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS คาดว่า OSP จะรายงานกำไร 3Q64 จำนวน 3Q64 หดตัวลงแรง 38.9%YoY และ 31.2%QoQ โดยรายได้รวม 3Q64 จะลดลง 5.9% และ 1.2%QoQ สู่ระดับ 6.2 พันล้านบาท ซึ่งรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทั้งหมดจะลดลงทั้ง YoY และ QoQ เกิดจากเครื่องดื่มบำรุงกำลังภายในประเทศที่อ่อนแอในช่วงล็อกดาวน์ และรายได้จากการขายเครื่องดื่ม Functional Drinks จะเติบโตเพียงเล็กน้อย 

 

ขณะที่ยอดขายจากต่างประเทศ 3Q64 จะเติบโตไม่เกิน 10% สำหรับอัตรากำไรขั้นต้น 3Q64 จะอยู่ที่ 34.5% ลดลงทั้ง YoY และ QoQ จากการประหยัดต่อขนาดของเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่ลดลง นอกจากนี้ใน 3Q64 บริษัทจะมีการบันทึกขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้ยืมในเมียนมา

 

มุมมองระยะยาว:

ปี 2565 SCBS เล็งเห็นปัจจัยบวกหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัว การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มกัญชงและกัญชาออกสู่ตลาด และการเริ่มเดินเครื่องสายการผลิตขวดแก้วแห่งใหม่ในเมียนมา 

 

อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้นและราคาวัตถุดิบหลายอย่างที่สูงขึ้น ทำให้ SCBS ยังคงประมาณการรายได้ไว้ที่ 2.74 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.3%YoY แต่ปรับประมาณการอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A ต่อยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 21% สู่ 22% ดังนั้นประมาณการกำไรสุทธิปี 2565 จึงถูกปรับลดลงลดลง 7% สู่ 3.77 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.6%YoY

 

แม้ SCBS คิดว่าจะไม่มีการล็อกดาวน์เกิดขึ้นในประเทศในปี 2565 แต่หากเกิดขึ้นจะสร้าง Downside ต่อประมาณการผลประกอบการ รวมถึงต้องติดตามความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post OSP – แนวโน้มกำไร 3Q64 หดตัวแรง จากมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศ และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการกู้ยืมเงินเมียนมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
TU-แนวโน้มกำไรสุทธิ 3Q64 เติบโตทั้ง YoY และ QoQ หนุนจากเงินบาทอ่อนค่า แต่กำไรปกติ 3Q64 อ่อนตัวลงจาก SG&A และส่วนแบ่งกำไรที่แย่ลง https://thestandard.co/market-focus-tu-7/ Fri, 08 Oct 2021 12:56:58 +0000 https://thestandard.co/?p=546314 บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป

เกิดอะไรขึ้น: SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ […]

The post TU-แนวโน้มกำไรสุทธิ 3Q64 เติบโตทั้ง YoY และ QoQ หนุนจากเงินบาทอ่อนค่า แต่กำไรปกติ 3Q64 อ่อนตัวลงจาก SG&A และส่วนแบ่งกำไรที่แย่ลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป

เกิดอะไรขึ้น:

SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 3Q64 ของ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ซึ่งคาดว่าจะประกาศวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TU ปรับตัวลดลง 2.8%MoM สู่ระดับ 20.80 บาท ขณะที่ SET Index ที่ปรับตัวลง 0.1%MoM สู่ระดับ 1,639.41 จุด (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2564)

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS คาดยอดขาย 3Q64 ของ TU จะเติบโต 3%YoY โดยเกิดจากยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นที่เพิ่มขึ้นเพราะอุตสาหกรรมบริการอาหารฟื้นตัวดีขึ้น และยอดขายอาหารสัตว์เลี้ยงในระดับทรงตัว อันเป็นผลมาจากการปิดโรงงานสงขลาแคนนิ่ง ซึ่งจะมากเกินพอชดเชยยอดขายในธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปที่ลดลงจากฐานสูงของปีก่อน อันเป็นผลมาจากการกักตุนอาหารในช่วงที่โควิดระบาด

 

ด้านอัตรากำไรขั้นต้น 3Q64 คาดว่าจะอยู่ที่ 18.2% ทรงตัว YoY โดยมีสาเหตุมาจากมาร์จิ้นที่ดีขึ้นจากธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็น มาร์จิ้นในระดับทรงตัวจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป เพราะต้นทุนวัตถุดิบทูน่าระดับต่ำจะช่วยชดเชยปริมาณการขายที่ลดลง แต่มาร์จิ้นจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงจะลดลงอันเป็นผลมาจากการปิดโรงงานสงขลาแคนนิ่ง ขณะที่ค่าใช้จ่าย SG&A ต่อยอดขาย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 50bps YoY สู่ 12.4% โดยเกิดจากต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงขึ้นมากกว่า 200 ล้านบาท YoY อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกและค่าใช้จ่ายการตลาดที่สูงขึ้น 

 

ส่วนแบ่งกำไรจาก AVANTI มีแนวโน้มลดลง YoY โดยมีสาเหตุมาจากการดำเนินงานที่อ่อนแอลงในธุรกิจอาหารสัตว์จากสถานการณ์โควิดในอินเดีย และธุรกิจอาหารแช่แข็งจากการเรียกคืนสินค้าจากลูกค้าในสหรัฐฯ ขณะที่คาดว่าส่วนแบ่งขาดทุนจาก Red Lobster จะเพิ่มขึ้นสู่ 180 ล้านบาท ใน 3Q64 (เทียบกับขาดทุน 54 ล้านบาท ใน 3Q63 และขาดทุน 162 ล้านบาท ใน 2Q64) ซึ่งประกอบด้วยส่วนแบ่งขาดทุนจากการดำเนินงานตามปกติ 80 ล้านบาท 

 

โดยมีสาเหตุมาจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น จากการเพิ่มพนักงานใหม่และรักษาพนักงานเดิมเอาไว้ในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูงท่ามกลางร้านอาหารที่กลับมาเปิดให้บริการ และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น เช่น ปูและล็อบสเตอร์ และค่าเช่าเพิ่มเติมจำนวน 100 ล้านบาท จากการปรับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ตั้งแต่ 1Q64

 

โดย SCBS คาดกำไรสุทธิ 3Q64 ของ TU ไว้ที่ระดับ 1.9 พันล้านบาท ลดลง 6%YoY และ 17%QoQ โดยหากตัดกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 100 ล้านบาท ที่เกิดจากเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐออกไป กำไรปกติ 3Q64 จะอยู่ที่ 1.8 พันล้านบาท ลดลง 15%YoY และ 19%QoQ

 

โดยกำไรที่ลดลง YoY เกิดจากค่าใช้จ่าย SG&A ที่สูงขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจาก Red Lobster และ AVANTI ที่ลดลง ขณะที่กำไรที่ลดลง QoQ เกิดจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเนื่องจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่อ่อนแอจากการปิดโรงงานสงขลาแคนนิ่ง

 

มุมมองระยะยาว:

ในระยะถัดไปต้องติดตามความคืบหน้าแผนปลดล็อกมูลค่าแฝงของ TU ผ่านการนำไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ และ Global Petcare เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน 4Q64 และปี 2565 รวมถึงการนำ Red Lobster เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post TU-แนวโน้มกำไรสุทธิ 3Q64 เติบโตทั้ง YoY และ QoQ หนุนจากเงินบาทอ่อนค่า แต่กำไรปกติ 3Q64 อ่อนตัวลงจาก SG&A และส่วนแบ่งกำไรที่แย่ลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
KISS – แนวโน้มกำไร 3Q64 หดตัวทั้ง YoY และ QoQ จากล็อกดาวน์นาน 2 เดือน ฉุดผลประกอบการปี 2564 โตระดับต่ำ https://thestandard.co/kiss-3q64-profit-probability/ Tue, 31 Aug 2021 11:25:10 +0000 https://thestandard.co/?p=531423

เกิดอะไรขึ้น: SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์ทบทวนประมาณการผลป […]

The post KISS – แนวโน้มกำไร 3Q64 หดตัวทั้ง YoY และ QoQ จากล็อกดาวน์นาน 2 เดือน ฉุดผลประกอบการปี 2564 โตระดับต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์ทบทวนประมาณการผลประกอบการของ บมจ.โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล (KISS) หลังจากได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์นานถึง 2 เดือน (เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564) ส่งผลทำให้ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าบางแผนกต้องปิดทำการตามมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาหุ้น KISS ปรับตัวขึ้น 5.3%WoW สู่ระดับ 11.90 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564)

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS คาดว่าแนวโน้มกำไร 3Q64 ของ KISS จะอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า โดยจะลดลงทั้ง YoY และ QoQ ส่งผลทำให้ SCBS ปรับลดประมาณผลการดำเนินงานของ KISS ในปี 2564 เนื่องจากการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน (เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2564) โดยมีการจำกัดเวลาเปิดให้บริการของร้านสะดวกซื้อและไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นช่องทางหลักของ KISS รวมถึงข้อจำกัดด้านการขนส่งเนื่องจากการประกาศเคอร์ฟิว ทำให้ SCBS คาดว่ายอดขายของ KISS ใน 3Q64 จะลดลงอย่างมาก 

 

ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้มีการประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว ซึ่งมีผลวันที่ 1 กันยายน 2564 แต่จะไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้ยอดขายเติบโตใน 3Q64 จึงทำให้ SCBS มีการปรับประมาณการรายได้ของ KISS ลงจากเดิม 12% สู่ระดับ 991 ล้านบาท ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2564 ลดลงจากเดิมที่ 199 ล้านบาท สู่ 176 ล้านบาท แต่ยังเติบโต 5%YoY และยังคงประมาณการส่วนแบ่งกำไรจาก JV ไว้ที่ 15 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ KISS มีแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในสิ้นเดือนกันยายน 2564 คือ O2 KISS ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับ GMM Grammy หลังจากเลื่อนเปิดตัวมาราว 2-3 เดือน โดยเริ่มต้นด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สำหรับผลิตภัณฑ์จากกัญชง KISS อาจเปิดตัวในช่วงสิ้นปี 2564 ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมใน 1Q65 

 

มุมมองระยะยาว:

SCBS ยังคงประมาณการรายได้ปี 2565 ของ KISS ที่ 1.5 พันล้านบาท ฟื้นตัว 53%YoY และคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2565 ที่ 291 ล้านบาท ฟื้นตัว 66%YoY โดยมีส่วนแบ่งจากการร่วมทุน (JV) จำนวน 45 ล้านบาท โดยประมาณการดังกล่าวอิงกับสมมติฐานที่ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะฟื้นตัวสู่ระดับปกติในปี 2565 และคาดว่าจะเห็น KISS เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในอัตราปกติที่ 20-25 รายการต่อปี รวมถึงการปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในช่วงโควิดระบาดในปี 2564 อีกครั้ง

 


 

เตรียมพบกับฟอรัมที่ผู้บริหารต้องดูก่อนวางแผนกลยุทธ์ปีหน้า! The Secret Sauce Strategy Forum คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตปี 2022

 

📌 เฟรมเวิร์กกลยุทธ์ใช้ได้จริง

📌 ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทยโลก

📌 เทรนด์ผู้บริโภคการตลาด

📌 เคสจริงจากผู้บริหาร

 

พิเศษ! บัตร Early Bird 999 บาท วันนี้ถึง 27 สิงหาคมนี้เท่านั้น

ซื้อบัตรได้แล้วที่ www.zipeventapp.com/e/the-secret-sauce

The post KISS – แนวโน้มกำไร 3Q64 หดตัวทั้ง YoY และ QoQ จากล็อกดาวน์นาน 2 เดือน ฉุดผลประกอบการปี 2564 โตระดับต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความเสี่ยงตลาดเงินโลกมาครบ Fed ส่อยุติมาตรการ QE โควิดเดลตาระบาดหนัก คาดการณ์ปรับฐานยังไม่จบ https://thestandard.co/market-exclusive-content/ Mon, 23 Aug 2021 05:48:18 +0000 https://thestandard.co/?p=528035

ตลาดการเงินกำลังอยู่ในช่วงปรับตัวรับกับความเสี่ยงที่ ‘ร […]

The post ความเสี่ยงตลาดเงินโลกมาครบ Fed ส่อยุติมาตรการ QE โควิดเดลตาระบาดหนัก คาดการณ์ปรับฐานยังไม่จบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตลาดการเงินกำลังอยู่ในช่วงปรับตัวรับกับความเสี่ยงที่ ‘รุนแรงขึ้น’ ตามที่บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ลดลงต่ำกว่า 1.30% ขณะที่ราคาทองคำเพิ่มขึ้นแตะ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

 

ส่วนตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลง โดยเฉพาะน้ำมันดิบ ซึ่งตลาดการเงินเริ่มเห็นภาพความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น และคงต้องใช้เวลาในการปรับตัวอีกสักระยะ รวมถึงยังคงต้องติดตาม Delta Variant ว่าจะสามารถควบคุมได้เมื่อไร เพราะประเด็นนี้จะกลายเป็นปัจจัยหนุนในระยะถัดไป ตลอดจนความเสี่ยงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะเริ่มลดมาตรการ QE ลง

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดไม่ได้มีแค่ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ แต่ยังมีความเสี่ยงด้านนโยบาย ได้แก่ การคุมเข้มกฎระเบียบในจีนและด้านการเมืองในสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งมีโอกาสสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินต่อไป

 

โอกาสการลงทุนเริ่มกลับมา เน้นทรัพย์สินคุณภาพดี

 

การที่ตลาดการเงินกำลังปรับตัวเพื่อสะท้อนปัจจัยเสี่ยงถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีสำหรับนักลงทุนที่กำลังรอจังหวะในการเข้าลงทุน เนื่องจากสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม

 

ทั้งนี้ แม้ SCBS คาดว่าการปรับฐานยังคงไม่จบ แต่การที่ราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ อาทิ พันธบัตร เริ่มสะท้อนว่ามีผลตอบแทนจำกัด ในขณะที่ราคาสินทรัพย์เสี่ยงที่มีคุณภาพดีปรับตัวลดลงทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ในสถานการณ์แบบนี้จึงแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ ‘ทยอยซื้อสะสม’ ในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีเป็นหลัก

 

สำหรับการลงทุน แนะนำกลยุทธ์ Defensive โดยรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ทั้งนี้ ยังคงแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุนในหุ้น Reopening และหุ้นน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบมี Downside Risk

 

ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยยังคงมีโอกาสปรับลดลงมาที่บริเวณ 1,500 จุด ดังนั้นยังคงเน้นการลงทุนในหุ้น Defensive ที่มีการเติบโตดีในช่วงครึ่งปีหลัง โดยแนะนำให้ทยอยซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ส่วนหุ้นที่แนะนำคือ GULF ที่มีแนวโน้มกำไรดีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  • การประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แจ็กสันโฮล วันที่ 26-28 สิงหาคมนี้ โดยต้องจับตาการส่งสัญญาณการปรับลดวงเงิน QE
  • การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G7 ในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือในประเด็นกลุ่มตาลีบันเข้ายึดครองอัฟกานิสถาน
  • รายงานดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคลขั้นพื้นฐาน (Core PCE) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดด้านเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ

 

ส่วน ‘หุ้นเด่น’ สัปดาห์นี้ SCBS แนะนำ GULF

 

สาเหตุที่เลือก บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชั้นนำของไทยและยังมีแผนขยายไปสู่ธุรกิจก๊าซ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีสัมปทานกับรัฐบาลเพื่อสร้างกระแสเงินสดให้เติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว

 

ครึ่งหลังของปี 2021 คาดการณ์กำไรเติบโตดีเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกและเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) จากกำไรที่เพิ่มขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในทะเลในเยอรมนี (BKR2) หลังคาดความเร็วลมในทะเลกลับสู่ระดับปกติ อีกทั้งรับรู้รายได้โรงไฟฟ้า GSRC หน่วยที่ 2 (625MW) ซึ่งกำหนดเริ่มดำเนินงานในเดือนตุลาคมนี้ และมีเงินปันผลรับจาก บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) เข้ามาเพิ่ม

 

โดยราคาหุ้น GULF มีโอกาสปรับขึ้นได้ดีกว่าภาพรวมดัชนี SET เนื่องจากกำไรมีศักยภาพเติบโตได้อีกมากในระยะยาว โดย SCBS ให้เป้าหมายราคาหุ้นไว้ที่ 42 บาท

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว ยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีกว่าคาด

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลผลกระทบจากระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาต่อเศรษฐกิจ การเกิด Sector Rotation และแนวโน้มของ Fed ที่จะส่งสัญญาณปรับลดวงเงิน QE และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด

 

กองทุนแนะนำ

 

  • Krungsri Global Brands Equity Fund หรือ KFGBRAND-A

กองทุน KFGBRAND-A ลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่คัดเลือกหุ้นของบริษัทต่างๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก ที่มีคุณภาพสูง มีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่แข็งแกร่ง ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยอำนาจการต่อรองด้านราคา ความสำเร็จและยากที่จะลอกเลียนแบบของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อาทิ แบรนด์สินค้า


 

  • SCB Global Experts Fund หรือ SCBGEX(A)

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดย บล.ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

 

ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากความคืบหน้าของวุฒิสภาที่ผ่านร่างงบประมาณ (Budget Resolution) มูลค่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน (Bipartisan Infra Bill) มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2 ปี 2021 ที่ส่วนใหญ่ออกมาแข็งแกร่งมากกว่าคาด

 

ส่วนประเด็นที่ควรเฝ้าระวังคือ แนวโน้มการส่งสัญญาณปรับลดวงเงิน QE ของ Fed และการดำเนินการขยายหรือปรับเพิ่มเพดานหนี้ภาครัฐฯ (Debt Limit) เพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้และ Government Shutdown แนะนำสัดส่วนถือครองหุ้นสไตล์ Growth อยู่ที่ 60% หุ้นสไตล์ Value และ Defensive ที่ 40%

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Semiconductor Fund หรือ SCBSEMI(A)

กองทุน SCBSEMI(A) ลงทุนในกองทุน VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ London Stock Exchange ซึ่งลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ รวมถึงหุ้นต่างประเทศที่จดทะเบียนซื้อขายที่สหรัฐฯ (ADR) ในหุ้นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรม Semiconductor

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2 ปี 2021 มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด นำโดยหุ้นกลุ่ม Value/Cyclical ที่งบบริษัทออกมาโดดเด่นในทุกอุตสาหกรรม การฉีดวัคซีนที่ต่อเนื่องและแผนการเปิดประเทศจะช่วยหนุน Sentiment ตลาด นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม Fit for 55 ล่าสุดของสหภาพยุโรปที่มุ่งเป้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อย 55% โดยมีเป้าหมายให้สำเร็จภายในปี 2030 และการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มยังไม่ส่งสัญญาณ QE Taper ชัดเท่า Fed จะเป็นแรงหนุนหุ้นยุโรปได้ต่อเนื่อง

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • MFC Continental European Equity Fund หรือ MEURO

กองทุน MEURO ลงทุนในกองทุน BGF Continental European Flexible Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นยุโรปภาคพื้น (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) โดดเด่นในการสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง รวมทั้งลงทุนแบบยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุนและขนาดของหุ้นได้ตามสภาวะตลาด

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

 

แม้สกุลเงินเยนยังมีแนวโน้มอ่อนค่าและผลตอบแทนแท้จริง (Real Yield) อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งมูลค่า (Valuation) ของหุ้นญี่ปุ่นยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอื่นๆ และอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ยังมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการ บจ. ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น มีแนวโน้มเติบโตไม่โดดเด่นเท่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป

 

โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังได้รับปัจจัยกดดันจากการขยายภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียวและอีกหลายเมืองจนถึงวันที่ 12 กันยายน ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นมาก และคะแนนความนิยมของรัฐบาลตกต่ำซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการยุบสภา

 

ตลาดหุ้นจีน

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

 

ดัชนีหุ้นจีน Offshore (H-Shares/ADR) ยังเผชิญความไม่แน่นอนที่สูง จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของทางการจีน ในด้าน Financial De-Risking, Antitrust, Data Security และ Consumer Protection ที่มีอยู่ และจะกดดันความสามารถในการทำกำไรของบริษัทแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ประกอบกับผลประกอบการของ บจ.จีน ในกลุ่ม Offshore Internet ที่มีแนวโน้มขยายตัวปานกลาง สะท้อนจากบริษัท Big Tech อาทิ Tencent รายงานรายได้ไตรมาส 2 ปี 2021 ขยายตัวน้อยที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2019 และข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐฯ รวมทั้งความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติบนหุ้นกลุ่ม Offshore Internet ที่ลดลง ยังเป็นปัจจัยที่กดดันดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

 

ตลาดหุ้นไทยแม้ว่า Valuation เริ่มน่าสนใจและความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนมีแนวโน้มดีขึ้น แต่การระบาดยังคงรุนแรงต่อเนื่อง แผนการเปิดประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปียังมีความเสี่ยงด้านต่ำอยู่มาก เห็นได้จากการปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้ลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีโอกาสสูงที่การประมาณการผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในช่วงครึ่งปีหลังอาจถูกปรับลดลงและจะกดดันดัชนีฯ ในช่วงที่เหลือของปี

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม 

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนามแม้อาจจะยังผันผวนสูงจากความกังวลการแพร่ระบาด แต่เศรษฐกิจยังมีพื้นฐานแข็งแกร่ง โดยรัฐบาลคาด GDP เติบโตได้ราว 6.5-7% ในปี 2021-2025 จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวตามอุปสงค์โลก การบริโภคภายในที่ขยายตัวดี และการใช้จ่ายภาครัฐที่แข็งแกร่ง ตลาดเวียดนามมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนโดดเด่นจากผลประกอบการ บจ. ที่ออกมาดี และสถานะการลงทุนของต่างชาติยังไม่สูง Valuation ที่ยังไม่แพงเท่าตลาดอื่นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • Principal Vietnam Equity Fund

กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนามซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเองและคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

The post ความเสี่ยงตลาดเงินโลกมาครบ Fed ส่อยุติมาตรการ QE โควิดเดลตาระบาดหนัก คาดการณ์ปรับฐานยังไม่จบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCBS ตั้ง ‘อารักษ์ สุธีวงศ์’ นั่งซีอีโอคนใหม่ เตรียมเร่งการลงทุนดิจิทัล-ต่อยอดธุรกิจ Securities และ Trading https://thestandard.co/scbs-set-up-arak-suthiwong-as-new-ceo/ Wed, 04 Aug 2021 04:37:27 +0000 https://thestandard.co/?p=521235 อารักษ์ สุธีวงศ์

บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) ประกาศแต่งตั้ง อารักษ […]

The post SCBS ตั้ง ‘อารักษ์ สุธีวงศ์’ นั่งซีอีโอคนใหม่ เตรียมเร่งการลงทุนดิจิทัล-ต่อยอดธุรกิจ Securities และ Trading appeared first on THE STANDARD.

]]>
อารักษ์ สุธีวงศ์

บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) ประกาศแต่งตั้ง อารักษ์ สุธีวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม Securities และ Trading รวมถึงเร่งการเติบโตด้านการลงทุนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Investment) และเตรียมความพร้อมในการสร้างนวัตกรรมการลงทุนที่จะเข้ามาพลิกโฉมธุรกิจการเงินและธนาคารในอนาคต

 

ทั้งนี้ นอกจากการเข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ไทยพาณิชย์ แล้ว อารักษ์ยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ควบคู่กับการดูแลบริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) ซึ่งเป็นบริษัท Holding Company ในเครือธนาคาร ที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการลงทุนที่สามารถสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารอีกด้วย

 

ปัจจุบัน บล.ไทยพาณิชย์ ได้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มการลงทุน อาทิ EASY INVEST ที่มีความพร้อม สามารถต่อยอดไปสู่การลงทุนในด้านอื่นๆ ในอนาคตได้อีกมาก มีศักยภาพที่จะช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันการลงทุนในยุคดิจิทัลของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์

 

ด้านการศึกษา อารักษ์จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโทและปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

The post SCBS ตั้ง ‘อารักษ์ สุธีวงศ์’ นั่งซีอีโอคนใหม่ เตรียมเร่งการลงทุนดิจิทัล-ต่อยอดธุรกิจ Securities และ Trading appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCBS ลดน้ำหนัก ‘หุ้นจีน’ หลังทางการคุมเข้มภาคธุรกิจ ทำตลาดเหวี่ยงแรง แต่ปรับเพิ่มระดับความน่าสนใจใน ‘ทองคำ’ ระยะสั้น https://thestandard.co/scbs-reduced-china-stock-weight/ Mon, 02 Aug 2021 02:41:59 +0000 https://thestandard.co/?p=520289 Exclusive Content

The post SCBS ลดน้ำหนัก ‘หุ้นจีน’ หลังทางการคุมเข้มภาคธุรกิจ ทำตลาดเหวี่ยงแรง แต่ปรับเพิ่มระดับความน่าสนใจใน ‘ทองคำ’ ระยะสั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
Exclusive Content

The post SCBS ลดน้ำหนัก ‘หุ้นจีน’ หลังทางการคุมเข้มภาคธุรกิจ ทำตลาดเหวี่ยงแรง แต่ปรับเพิ่มระดับความน่าสนใจใน ‘ทองคำ’ ระยะสั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประเมินผลกระทบมาตรการล็อกดาวน์ 13 จังหวัด มองหุ้นกระทบหนักสุด https://thestandard.co/lockdown-effect-and-restaurant-business/ Tue, 20 Jul 2021 08:04:07 +0000 https://thestandard.co/?p=514849 restaurant business

เกิดอะไรขึ้น: ตามที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการล็อกดาวน์เพิ่ […]

The post ประเมินผลกระทบมาตรการล็อกดาวน์ 13 จังหวัด มองหุ้นกระทบหนักสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
restaurant business

เกิดอะไรขึ้น:

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการล็อกดาวน์เพิ่มเติมใน 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม 2564 เพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ทาง SCBS จึงได้ทำการประเมินหุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการใหม่ครั้งนี้

 

สรุปผลกระทบรายกลุ่มธุรกิจ

 

กลุ่มร้านอาหาร: 

SCBS ได้สอบถามไปยัง บมจ.เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป (ZEN), บมจ.อาฟเตอร์ ยู (AU) และ บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (CENTEL) โดยบริษัทต่างๆ ให้ข้อมูลว่า ห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ควบคุมเข้มงวดสูงสุด 13 จังหวัด ได้ส่งจดหมายแจ้งให้ร้านอาหารปิดบริการ ซึ่งรวมถึงปิดการใช้ครัวในการทำ Delivery และ Take Away ด้วย

 

มาตรการนี้เข้มข้นกว่ามาตรการตอนเดือนเมษายน 2563 ที่ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้ายังสามารถตั้งบูธในบริเวณชั้นล่างของห้างและใช้ครัวของร้านในการให้บริการ Delivery และ Take Away ได้ ในขณะที่ Community Mall ยังไม่ได้มีประกาศทางการออกมาให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร

 

จากการประเมินเบื้องต้น สาขาใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล (ส่วนใหญ่จะอยู่ในห้างสรรพสินค้า) คิดเป็นประมาณ 80-90% ของรายได้ของ ZEN และ AU และประมาณ 40% ของรายได้จากธุรกิจอาหารของ CENTEL

 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการอยู่ในระหว่างการหาพื้นที่ทำครัวกลาง (Cloud Kitchen) เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการ Delivery แทน แต่ก็น่าจะมีผลกระทบเชิงลบในช่วงแรกจากจำนวนสาขาที่ต้องปิดลง และครัวกลางอาจจะยังไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่

 

กลุ่มค้าปลีก: 

บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) คาดได้รับผลกระทบ 15-20% ของยอดขาย โดยมีการปิดธุรกิจแฟชั่นใน Shopping Mall ปิดพื้นที่ขายสินค้าฮาร์ดไลน์บางส่วน ปิดร้านเร็วขึ้น แต่ผลกระทบจริงอาจลดลงหากมีการขายผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งคิดเป็น 13% ของยอดขาย

 

บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) คาดได้รับผลกระทบ 15-20% ของยอดขาย เนื่องจากการปิดร้านใน Shopping Mall ปิดพื้นที่ขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางส่วนในร้านสแตนด์อโลนปิดร้านเร็วขึ้น โดยผลกระทบจริงอาจลดลง หากมีการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งคิดเป็น 5% ของยอดขาย

 

บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) คาดได้รับผลกระทบ 5-8% ของยอดขาย เนื่องจากมีการปิดร้านช่วงกลางคืน 8 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 20.00-04.00 น.

 

บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) และ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) คาดได้รับผลกระทบ 2-3% ของยอดขายจากการปิดพื้นที่ขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารบางส่วน และปิดร้านเร็วขึ้น

 

บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์ (GLOBAL) คาดได้รับผลกระทบ 1% ของยอดขายจากการปิดพื้นที่ขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางส่วน

 

กลุ่ม IT Distributor:

บมจ.คอมเซเว่น (COM7) ในเบื้องต้นต้องปิดจำนวนสาขาทั้งหมด 40% ของจำนวนสาขาทั้งหมดประมาณ 800 สาขา โดยสาขาที่ปิดจะอยู่ในสาขาที่อยู่ในจังหวัดสีแดงเข้มเช่นกัน

 

บมจ.คอปเปอร์ ไวร์ด (CPW) ต้องมีการปิดจำนวนสาขามากขึ้น โดย CPW สามารถเปิดได้ทั้งหมด 10 สาขา จากที่มีทั้งหมด 45 สาขา โดยสาขาที่ปิดทั้งหมดจะเป็นสาขาที่อยู่ในจังหวัดสีแดงเข้มเช่นกัน

The post ประเมินผลกระทบมาตรการล็อกดาวน์ 13 จังหวัด มองหุ้นกระทบหนักสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCBS ลดน้ำหนักตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว ประเมินแนวโน้มตลาดเงินทั่วโลกยังผันผวน จับตาประชุม ECB สัปดาห์นี้ https://thestandard.co/scbs-lose-weight-on-the-japanese-stock-market/ Tue, 20 Jul 2021 00:46:35 +0000 https://thestandard.co/?p=514597 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

The post SCBS ลดน้ำหนักตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว ประเมินแนวโน้มตลาดเงินทั่วโลกยังผันผวน จับตาประชุม ECB สัปดาห์นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

The post SCBS ลดน้ำหนักตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว ประเมินแนวโน้มตลาดเงินทั่วโลกยังผันผวน จับตาประชุม ECB สัปดาห์นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>