Salaryman – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 20 Feb 2019 13:26:23 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สั่งงานลูกน้องไปทีไร ไม่เคยได้งานที่ดีกลับมาสักที ควรทำอย่างไรดีคะ https://thestandard.co/garbage-in-garbage-out/ https://thestandard.co/garbage-in-garbage-out/#respond Wed, 20 Feb 2019 11:32:36 +0000 https://thestandard.co/?p=203649 Garbage in - Garbage out

Q: เราเป็นหัวหน้าค่ะ ความอึดอัดก็คือสั่งงานลูกน้องไปทีไ […]

The post สั่งงานลูกน้องไปทีไร ไม่เคยได้งานที่ดีกลับมาสักที ควรทำอย่างไรดีคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Garbage in - Garbage out

Q: เราเป็นหัวหน้าค่ะ ความอึดอัดก็คือสั่งงานลูกน้องไปทีไร ไม่เคยได้งานที่ดีกลับมาเลยสักครั้ง ทำงานก็ตกหล่น จะจัดการกับลูกน้องอย่างไรดีคะ

 

A: ก่อนจะจัดการกับลูกน้อง ผมว่าจัดการกับตัวเองก่อนเลยง่ายกว่าครับ อันนี้ไม่ได้กวนนะครับ!

 

ผมคิดว่าการสั่งงานลูกน้อง ในมุมหนึ่งก็เหมือนครูให้การบ้านลูกศิษย์หรือให้นักเรียนทำข้อสอบนั่นล่ะครับ เพื่อนผมที่เป็นอาจารย์ รวมไปถึงอาจารย์ที่ผมเคารพหลายท่านเคยเล่าให้ผมฟังว่า เวลานักเรียนทำข้อสอบก็เหมือนคนเป็นครูได้ทำข้อสอบไปด้วย เพราะครูเองก็จะได้ประเมินไปด้วยเหมือนกันว่าสอนนักเรียนดีไหม

 

ลองถ้านักเรียนทั้งห้องส่งการบ้านหรือข้อสอบที่ตอบผิดๆ มากันหมด ครูที่ดีจะเอะใจแล้วว่าหรือเราสอนเขาไม่ดี เราต้องเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่ แปลว่าเราอาจจะอธิบายแล้วไม่เข้าใจ หรือเราอาจจะต้องให้เวลากับนักเรียนมากกว่านี้ นั่นล่ะครับ ครูที่ดีจึงไม่ปล่อยผ่านทุกคำตอบที่นักเรียนเขียนมา

 

ที่สำคัญ อาจารย์หลายท่านบอกผมว่าท่านอ่านทุกตัวหนังสือที่นักเรียนส่งมาจริงๆ (ไม่ว่าจะอ่านมาแล้วหงายเงิบแค่ไหนก็เถอะ!) เพราะจะได้ประเมินนักเรียนว่ามีความเข้าใจแค่ไหน และสะท้อนกลับมาว่าอาจารย์ควรต้องปรับปรุงอะไร

 

มาถึงตรงนี้ เพื่อนผมที่เป็นอาจารย์ฝากบอกด้วยว่าอยากให้ลูกศิษย์เขียนลายมือดีๆ หน่อย แกะลายมือนักเรียนทั้งห้องมันเหนื่อย ฮ่าๆ

 

ที่เล่าเรื่องการบ้านกับข้อสอบให้คุณอ่านก็เพราะอยากให้คุณลองนำมาใช้กับการเป็นหัวหน้าของลูกน้องดูครับ เวลาที่ลูกน้องทำงานกลับมาให้เรา คุณภาพของงานที่เขาทำก็บ่งบอกถึงคุณภาพในการสั่งงานของหัวหน้าเหมือนกัน

 

เคยได้ยินคำว่า Garbage in – Garbage out ไหมครับ ถ้าเราเอาขยะใส่เข้าไป เราก็จะได้ขยะออกมาเหมือนกันครับ ถ้าเราสั่งงานไม่ดี เราก็จะได้งานที่ไม่ดีกลับมา ลองใช้โอกาสนี้คุยกับลูกน้องดีไหมครับว่าเขาเข้าใจในสิ่งที่เรามอบหมายหรือเปล่า หรือเราอธิบายไม่ชัดเจน มีอะไรที่เราจะช่วยให้งานนี้ดีขึ้นได้บ้าง บางทีเราอาจจะได้รู้นะครับว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน เราจะได้แก้ตรงนั้น

 

วิธีพื้นฐานก่อนเลยนะครับ ยิ่งงานใหญ่ก็อย่าสั่งงานปากเปล่า ต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ลายลักษณ์อักษรในที่นี้ไม่ใช่การสั่งงานผ่านไลน์นะครับ ฮ่าๆ อย่าลืมว่าธรรมชาติของไลน์นั้น พอมีข้อความใหม่ปุ๊บ ข้อความเก่าก็จะถูกเลื่อนขึ้นไป ลองคิดดูว่าการจะหาอะไรแต่ละครั้งบางทีก็ยากไปหน่อย

 

ผมแนะนำว่าให้เขียนบรีฟเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาเลยครับ บรีฟที่ดีจะต้องบอกชัดเจนว่าจุดประสงค์ของงานนี้คืออะไร คนที่ทำงานต่ออ่านแล้วจะรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร ยิ่งให้รายละเอียดได้มากเท่าไรยิ่งช่วยคนทำงานครับ รายละเอียดสำคัญแค่ไหน ผมมีตัวอย่างครับ

 

คำสั่งแบบที่ 1 – อยากได้วิธีทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านบาท ขอวิธีการแบบใหม่ๆ ครีเอทีฟหน่อย ไปคิดมา!

 

คำสั่งแบบที่ 2 – ต้องการเพิ่มยอดขายจาก 50 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 100 ล้านบาทในปีนี้ โดยมีงบประมาณการตลาดให้ 20 ล้านบาท มีระยะเวลาในการทำงาน 1 ปี โดยใช้สื่อออนไลน์เจาะกลุ่ม Young Manager ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งกำลังต้องการมีคอนโดฯ เป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกหลังจากที่เป็นฝ่ายเช่าคอนโดฯ มาตลอด โจทย์คือจะทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายนี้คิดว่าถ้าจะมีคอนโดฯ เป็นของตัวเองครั้งแรกจะเลือกแบรนด์ของเรา

 

การสั่งแบบแรก คุณอาจจะได้คำตอบว่าสั่งงานแบบนี้พี่ปิดบริษัทเถอะ ครีเอทีฟพอไหม ฮ่าๆ สั่งแบบที่ 2 คุณจะช่วยลูกน้องตีกรอบการทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่ใช่ สั่งแบบแรกคืองมเข็มในมหาสมุทรแบบตัวเปล่า ถีบลงน้ำแล้วไปหาเอาเอง แบบที่ 2 คืองมเข็มในสระว่ายน้ำโอลิมปิกแบบมีอุปกรณ์ดำน้ำให้พร้อม แถมช่วยนำทางให้ด้วยว่าเข็มมันน่าจะอยู่แถวๆ ไหน

 

ถ้าโจทย์มันมาชัดเจนแบบนี้ ที่บอกว่าขอวิธีที่มันครีเอทีฟหน่อย เดี๋ยวมันจะตามมาได้ เพราะลูกน้องไม่ต้องเสียเวลากับไอเดียฟุ้งๆ ที่ใช้ไม่ได้จริง เขาก็ไปโฟกัสกับการทำงานที่มันได้คุณภาพจริงมากกว่า

 

ถ้าเอาแบบง่ายที่สุด เบสิกโคตรๆ สำหรับคนที่ไม่เคยเขียนบรีฟมาก่อน ลองเอา 5W + 1H เป็นตัวตั้งครับ

 

Why – จุดประสงค์ของการทำงาน เราต้องบอกได้ว่าเราทำงานนี้ไปเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาอะไร เช่น กำลังจะเปิดตัวสินค้าใหม่ ปัญหาคือคนยังไม่รู้จักหรือคนยังมีความเข้าใจบางอย่างผิดอยู่ เราจึงต้องทำให้คนรู้จักสินค้านี้ หรือเราจึงต้องไปเปลี่ยนความคิดของคนใหม่

 

Who – กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร และใครที่ต้องทำงานนี้ จะดีมากครับถ้าเราสามารถหาข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย หรือให้รายละเอียดสำคัญที่บรรยายภาพของกลุ่มเป้าหมายได้ ยิ่งมีรายละเอียดมากเท่าไร ยิ่งเป็นประโยชน์กับคนคิดงานต่อ หมดยุคแล้วครับที่จะบอกแค่ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรเพศชาย รายได้ปานกลาง อาศัยในกรุงเทพฯ แค่นี้ไม่พอครับ การทำงานทุกวันนี้ต้องอธิบายไปถึง Persona ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ใช้ชีวิตแบบไหน คิดอะไรอยู่ มีปัญหาอะไร มีอะไรเป็นเป้าหมายในชีวิต จะมีอะไรจูงใจเขาได้ ฯลฯ

 

When – ไทม์ไลน์ของงานนี้คืออะไรบ้าง จะมีอะไรเกิดขึ้นเมื่อไร

 

Where – งานที่ให้ทำนี้จะเกิดขึ้นที่ไหน

 

How – ทำอย่างไร อันนี้อาจจะเป็นการระบุงบประมาณ กำลังคน หรือวิธีการทำงานที่เราต้องการก็ได้ครับ

 

สุดท้ายถ้าเราให้รายละเอียดได้มากเท่าไร ลูกน้องก็จะคิด What ได้ต่อแบบไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ครับ

 

ถ้าแอดวานซ์มากขึ้น ลองเพิ่มเติมหัวข้อเหล่านี้ครับ

 

Success – ภาพความสำเร็จของงานนี้คืออะไร อันนี้จะช่วยให้คนคิดงานเห็นภาพตรงกัน เพราะสำเร็จของเขากับสำเร็จของเราอาจจะต่างกัน เราต้องมาจูนกันก่อน

 

Caution – มีข้อห้าม ข้อจำกัด หรือข้อระมัดระวังอะไรบ้างในการทำงานนี้ เช่น ต้องเป็นไปตามกฎหมายข้อไหนไหม งานนี้ห้ามใช้สีดำ งานนี้อย่าใช้วิธีไหน เพราะเคยทำมาแล้วไม่ดี ฯลฯ

 

Inspiration – มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างงานที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจ หรือใช้ต่อยอดไอเดียได้ไหม ถ้ามีก็ใส่มาโลด จะได้ช่วยให้ไอเดียกับคนทำงานว่าจะไปทางไหนดี

 

หลักๆ แล้วผมคิดว่ามันคือการลงรายละเอียดกับการตั้งโจทย์ให้ลูกน้องมากที่สุดแบบที่เขาจะรู้ได้ว่าต้องไปทำอะไรต่อ ไม่ใช่งงว่าหัวหน้าสั่งอะไร ผมแนะนำว่าให้ทำบรีฟขึ้นมา ก่อนจะบรีฟลูกน้องให้ลองอ่านเองก่อนว่าเราเข้าใจหรือเปล่า เรารู้เรื่องไหม ควรทำทั้งการบรีฟเป็นลายลักษณ์อักษรและบรีฟด้วยคำพูดอีกทีหนึ่ง เพื่อที่ลูกน้องจะได้มีโอกาสซักถามเรา รวมทั้งเราและลูกน้องจะได้มีหลักฐานว่าสั่งงานอะไรไป สุดท้ายแล้วงานที่ส่งมาตอบโจทย์ตามที่บรีฟกันหรือเปล่า และช่วยให้การสั่งงานไม่ตกหล่นด้วยครับ ใช้เวลากับการทำบรีฟให้มากหน่อย แต่มันช่วยลดเวลาที่จะเสียไปกับงานที่ไม่ตรงตามโจทย์หรือการที่คนคิดงานต่อต้องไปคลำหาทางเอาเองได้เยอะเลยครับ

 

ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันไหม แต่มีคำในภาษาไทยที่ผมชอบมากที่สุดก็คือคำว่า ‘ใส่ใจ’ ผมว่ามันเป็นคำที่เราเห็นภาพได้เลย และอะไรก็ตามที่เราใส่ใจกับมัน มันจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นงานไหนที่เราใส่ใจกับมัน เราก็จะได้งานที่ให้ใจเรากลับมาเหมือนกันครับ

 

ทำแบบนี้จะได้ไม่มีคำว่า Garbage in – Garbage out ครับ

 

*ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post สั่งงานลูกน้องไปทีไร ไม่เคยได้งานที่ดีกลับมาสักที ควรทำอย่างไรดีคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/garbage-in-garbage-out/feed/ 0
ถ้าจะให้เด็กจบใหม่ทำงานหนักจนไม่มีเวลาขนาดนี้ หนูควรลาออกดีไหมคะ https://thestandard.co/deal-with-work-hard/ https://thestandard.co/deal-with-work-hard/#respond Wed, 13 Feb 2019 10:53:51 +0000 https://thestandard.co/?p=198109 deal-with-work-hard

Q: หนูเพิ่งเรียนจบมาและกำลังทำงานแรกค่ะ ปัญหาของหนูก็คื […]

The post ถ้าจะให้เด็กจบใหม่ทำงานหนักจนไม่มีเวลาขนาดนี้ หนูควรลาออกดีไหมคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
deal-with-work-hard

Q: หนูเพิ่งเรียนจบมาและกำลังทำงานแรกค่ะ ปัญหาของหนูก็คืองานที่ทำอยู่หนักมาก บางทีต้องหอบงานกลับมาทำที่บ้าน เสาร์-อาทิตย์บางทีก็ยังทำงานอยู่เลย ถ้าหนูไม่ทำ งานก็ไม่เสร็จ หนูเริ่มรู้สึกว่าทำไมงานมันหนักจัง เงินก็ให้น้อย เวลาให้ครอบครัวหนูก็ไม่ค่อยจะมีให้ เพราะทำแต่งาน หรือหนูควรลาออกไปทำงานที่มีเวลาและให้เงินมากกว่านี้ดีคะ

 

A: ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่พี่เจอก็คือเด็กรุ่นใหม่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตมากขึ้น คุณภาพชีวิตในที่นี้หมายถึงอิสระในการจัดสรรเวลาให้มีทั้งเวลาที่เป็นเวลาส่วนตัว เวลาส่วนรวม และเวลาทำงานอยู่ร่วมกันได้ ความสำเร็จในชีวิตของพวกเขาอาจหมายถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่มาพร้อมการเติบโตในหน้าที่การงานไปด้วย ไม่ใช่การเติบโตในหน้าที่การงาน แต่ชีวิตด้านอื่นพังพินาศหมดเลย

 

บางทีที่เด็กรุ่นใหม่คิดแบบนี้ก็เพราะได้เรียนรู้จากคนรุ่นก่อนว่าการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแบบที่ชีวิตส่วนตัวล่มสลายไม่ใช่ชีวิตที่ดี เขาคงไม่อยากเป็นคนที่มีตำแหน่งใหญ่โต มีชื่อเสียง แต่สุดท้ายทำงานจนเป็นมะเร็ง หรือขับรถหลับในเพราะทำงานหนัก แล้วสุดท้ายนอนเป็นผักอยู่บนเตียง

 

มันน่าเสียดายนะครับถ้าเราจะประสบความสำเร็จ แต่หันไปมองคนรอบข้างแล้วเราไม่เหลือใครที่ยินดีกับเราไปด้วย และต่อให้ไม่ได้เป็นเด็กรุ่นใหม่ ผมก็คิดว่าเราควรบริหารชีวิตให้ไปได้ดีทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตส่วนรวม และชีวิตหน้าที่การงาน

 

เพราะฉะนั้นใครที่เป็นผู้นำองค์กรทั้งหัวหน้าหรือเจ้าของบริษัท น่าจะทำความเข้าใจแล้วว่าไม่มีใครอยากจะทุ่มเทให้กับองค์กรจนเขาต้องสูญเสียชีวิตด้านอื่นไปหรอกครับ ถ้าอยากรักษาคนให้เติบโตในองค์กรได้ เราต้องออกแบบองค์กรที่ไม่ได้มองว่าพนักงานมาเพื่อ ‘ทำงาน’ อย่างเดียว แต่ให้มองว่าพนักงานมาเพื่อ ‘ใช้ชีวิต’ พอเป็นแบบนี้เราจะไม่ได้มองพนักงานเป็นเครื่องจักร แต่เรามองเขาเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะฉะนั้นวิธีปฏิบัติต่อพนักงานจะไม่เหมือนกัน มองว่าเขาเป็นเครื่องจักรผลิตงานก็แบบหนึ่ง มองว่าเขาคือหนึ่งชีวิตที่เข้ามาใช้ชีวิตในบริษัทก็จะอีกแบบหนึ่ง

 

นั่นแปลว่าเราต้องไม่ได้คิดแค่ว่าเขาจะมาทำงานได้ดีอย่างไร แต่ต้องคิดเผื่อไปว่าบริษัทของเราจะทำให้เขามีคุณภาพชีวิตดีได้อย่างไร แม้กระทั่งเมื่อเขาก้าวออกจากออฟฟิศเพื่อกลับไปที่บ้าน บริษัทก็ยังดูแลเขาหรือทำให้เขามีชีวิตที่บ้านที่ดีไปด้วยเหมือนกัน

 

แบบนั้นล่ะครับคือองค์กรที่มองพนักงานเป็นสิ่งมีชีวิตจริงๆ อันนี้คงต้องฝากหลายองค์กรกลับไปดูว่าดูแลพนักงานเป็นเครื่องจักรหรือสิ่งมีชีวิต แล้วดูแลเขาแค่ในบริษัทหรือดูแลเขาไปถึงชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย

 

อย่างแรกพี่คิดว่าดีแล้วที่น้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตในการทำงาน เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญ เราคงไม่มีความสุขในการทำงานแน่ถ้าเราทำงานหนักเกินไป ถ้าเราไม่มีเวลาให้ครอบครัว ถ้าเรากลายเป็นคนที่หายใจเป็นงานอย่างเดียว งานมันไม่ใช่ทั้งหมดทั้งมวลในชีวิตนี่นะ เพราะฉะนั้นถ้าน้องจะบอกว่าหนูเบื่องานจัง เพราะงานหนักจนไม่มีเวลา แถมเงินก็น้อย เรื่องนี้ก็เข้าใจได้ครับ

 

เรื่องหนึ่งที่พี่อยากบอกน้องก็คือมันไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ มันไม่มีงานที่ลงแรงน้อย ไม่ต้องเหนื่อย แต่ได้เงินเยอะ เวลาก็ว่าง พี่คิดว่าทุกอย่างมันต้องแลกกัน แต่ไม่ได้แปลว่าน้องจะมีชีวิตแบบที่น้องอยากมีไม่ได้

 

คำแนะนำของพี่สำหรับเด็กจบใหม่ก็คือ ช่วง 1-3 ปีแรกของการทำงาน เผลอๆ อาจจะ 5 ปีแรกด้วยซ้ำ ให้คิดไว้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการหาประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด เพราะน้องจะได้เรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่ในระดับพื้นฐานที่สุด แล้วการมีประสบการณ์นี่ล่ะครับที่จะทำให้น้องมีต้นทุนในการออกแบบชีวิตแบบที่น้องอยากมีได้

 

ไม่ได้บอกว่าน้องจ๋า บ้างานไปเลยลูก แต่ทุกอย่างมันจะยากในตอนแรกเสมอ อะไรที่หนูรู้สึกว่าตอนนี้มันยากจังเลย หนักจังเลย พอน้องฝึกมากขึ้นมันก็จะง่ายขึ้น หรือน้องจะรู้ว่าจะรับมือกับมันอย่างไร จากเดิมที่เคยใช้เวลากับบางอย่างนานมากก็จะใช้เวลาน้อยลง แต่เป็นเวลาน้อยลงแบบที่ยังละเอียดกับมันอยู่ จากเดิมที่เคยต้องแบกงานกลับไปบ้าน น้องก็เริ่มบริหารเวลาให้ไม่ต้องหอบงานกลับไปทำที่บ้านได้ เพราะรู้แล้วว่าจะจัดการกับมันอย่างไร หรือถ้าต้องเอากลับไปทำที่บ้านจริงๆ ก็รู้ว่าจะปิดจ๊อบนี้ได้เร็วแค่ไหน

 

ระหว่างนี้มันจะมีเรื่องกวนใจน้องเสมอว่าทำไมมันหนักจัง ทำไมมันยากจัง เวลาก็มีน้อย เงินก็ให้นิดเดียว มันมีอยู่แล้วล่ะ แต่พี่อยากให้น้องโฟกัสว่ามันจะดีขึ้นเมื่อเราเก่งขึ้น แต่ ณ เวลานี้ขอให้เราอดทนเพื่อเรียนรู้ไปก่อน เราจำเป็นต้องสร้างภูมิต้านทานให้ตัวเองไว้เยอะๆ ตั้งแต่ทำงานใหม่ๆ นี่ล่ะครับ เพราะเมื่อโตไปน้องอาจจะเจอปัญหาหนักกว่านี้ น้องจะได้รู้ว่าต้องรับมือกับมันอย่างไร และน้องจะขอบคุณที่เคยผ่านความลำบากมาก่อน

 

อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้มากๆ ก็คือการคุยกับหัวหน้าหรือพี่ๆ ที่ทำงาน ยิ่งถามมากเราก็ยิ่งได้ความรู้เยอะ แล้วพอเรารู้มากขึ้น เราก็จะจัดสรรเวลาได้มากขึ้น เพราะเราจะไม่เสียเวลาไปกับความผิดพลาดที่มันควรจะป้องกันได้หรือไม่ควรเกิดขึ้น ไปจนถึงว่าถ้ารู้สึกว่างานมันหนักจริงๆ การบอกหัวหน้าก็เป็นเรื่องที่เราทำได้ครับ เป็นไปได้ไหมครับว่าวิธีการทำงานแบบเก่าๆ ที่ทำกันมามันทำให้ทุกคนเสียเวลาและต้องใช้เวลากับการทำงานมากจนกินเวลาส่วนตัวของทุกคนไปหมด ถ้าเราจะหาวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ ที่ลดการเสียเวลาของทุกคนได้ แต่ยังได้งานที่ดีอยู่ และคุณภาพชีวิตของทุกคนก็ยังดีได้ พี่คิดว่าเราก็น่าจะหาทางช่วยกันนะ ในเมื่อเราเห็นๆ อยู่ว่าวิธีการแบบเก่าๆ มันกินเวลาของเราเยอะ ใครจะรู้ หนูอาจจะเป็นคนที่ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคนในที่ทำงานดีขึ้นมาก็ได้

 

ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ ลองคุยกับหัวหน้านะครับ เราจะได้ช่วยกันออกแบบการทำงานที่ทุกคนไม่ต้องทำงานหนักขนาดนั้น การทำงานหนักตลอดจะได้งานที่ดีได้อย่างไร ถ้าหัวหน้าบอกว่าอย่างไรก็ต้องทำ อันนี้เราต้องมาคุยกันแล้วว่าทำได้ แต่จะมีวิธีการทำงานแบบไหนที่จะช่วยเราได้บ้าง แต่ไม่ได้แปลว่างานหนักแล้วเราก็จะไม่ทำนะครับ ถ้าเรากลายเป็นคนหยิบโหย่ง นั่นก็ทำไม่ได้ นี่ก็ทำไม่ได้ เราก็จะไม่เก่งเสียที เราจะโตไปเป็นคนกลวงๆ ซึ่งนั่นแหละคือการเติบโตที่น่ากลัวมาก

 

ส่วนเรื่องการมีเวลาให้ครอบครัว พี่คิดว่าก็เป็นเรื่องที่เราไม่ควรทิ้ง เมื่อไรก็ตามที่มีเวลาให้ครอบครัว เราก็ให้เวลาเต็มที่ บางทีมันอาจจะไม่ได้เป็นเวลาที่มากด้วยปริมาณ แต่ให้มากด้วยคุณภาพ เอาเป็นว่าโทรหาท่านบ่อยๆ ส่งข้อความหาท่าน ไปหาท่าน แสดงความเป็นห่วงอย่างที่เราควรทำ เล่าให้ท่านฟังบ่อยๆ ว่าแต่ละวันเราไปเจออะไรมาบ้าง และเราได้เรียนรู้อะไรจากมัน ทำทุกอย่างที่เราจะยังเชื่อมโยงกับครอบครัวอยู่ ทำให้เป็นนิสัยเลย ไม่อย่างนั้นพอเราทำงานไปมากๆ งานอาจจะถ่างความสัมพันธ์ของเรากับครอบครัวให้ห่างกันมากกว่าเดิม

 

ชีวิตจริงในการทำงานมันไม่ได้สวยหรูไปหมด แต่เราทำให้มันดีขึ้นได้ ณ เวลานี้ขอให้น้องอดทนเพื่อเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้ได้มากที่สุดก่อน ค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ เรียนรู้กันไป แล้วความตั้งใจของน้องนี่ล่ะครับจะพาให้น้องมีชีวิตอย่างที่น้องอยากมีได้ พี่เป็นกำลังใจให้ครับ

 

*ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ถ้าจะให้เด็กจบใหม่ทำงานหนักจนไม่มีเวลาขนาดนี้ หนูควรลาออกดีไหมคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/deal-with-work-hard/feed/ 0
หัวหน้าสองคนสั่ง มีความเห็นคนละแบบ หนูจะฟังใครดีคะ https://thestandard.co/deal-with-more-than-one-boss/ https://thestandard.co/deal-with-more-than-one-boss/#respond Wed, 06 Feb 2019 11:27:58 +0000 https://thestandard.co/?p=192629

Q: มีหัวหน้าสองคนค่ะ ปัญหาคือเวลาทำงาน หัวหน้าคนหนึ่งก็ […]

The post หัวหน้าสองคนสั่ง มีความเห็นคนละแบบ หนูจะฟังใครดีคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: มีหัวหน้าสองคนค่ะ ปัญหาคือเวลาทำงาน หัวหน้าคนหนึ่งก็อยากได้งานแบบหนึ่ง อีกคนก็อยากได้งานอีกแบบหนึ่ง หนูไม่รู้จะฟังใครดี เพราะสิ่งที่เขาต้องการมันคนละทางกันเลย และเขาสองคนก็ไม่คุยกันอีก หนูควรฟังใครดีคะ

 

A: การมีหัวหน้าหลายคนเป็นเรื่องปกติ นอกจากมีหัวหน้าโดยตรงแล้ว บางทีเราก็จะมีหัวหน้าของหัวหน้า หรือหัวหน้าของหัวหน้าของหัวหน้าต่ออีกหลายทอด

 

บางคนอาจจะรู้สึกว่ามีหัวหน้าน้อยๆ หน่อยก็ดี คุยคนเดียวก็จบ พอมีหลายคนเราก็ต้องคุยกับหลายคน แล้วต้องทำให้หลายคนคิดเหมือนกันอีก โอ๊ย! เอาคนเดียวให้อยู่ก็ยากแล้วค่ะพี่ขา!

 

พี่คิดว่ามันก็มีข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกันอยู่นะครับ มีหัวหน้าน้อย ลำดับขั้นน้อย การตัดสินใจหรือกระบวนการทำงานก็จะเร็ว เพราะไม่ต้องผ่านด่านเยอะ ลองนึกถึงว่าจะทำงานอะไรแต่ละทีแล้วต้องผ่านหลายคน บางทีกว่างานจะได้รับการอนุมัติก็ใช้เวลานานแล้ว ยิ่งในยุคที่เราต้องทำงานแข่งกับเวลา ถ้ามัวแต่รอให้นายแต่ละคนมาฟันธงกันแต่ละทีคงไม่ทันกิน นี่ยังไม่รวมว่ากว่านายแต่ละคนจะขอแก้ขอปรับอีก ทำงานปีนี้เสร็จอีกทีปีหน้า เพราะมัวแต่รอหัวหน้าอนุมัติให้ครบทุกคน!

 

แต่หลายองค์กรจำเป็นจริงๆ ครับที่ต้องมีหัวหน้าหลายคน ยิ่งองค์กรใหญ่แล้วก็จำเป็นต้องมีคนดูแลหลายส่วน ช่วยกันดูแล ช่วยกันตรวจสอบ ในอีกแง่หนึ่งของ Career Path คนเป็นลูกน้องก็พอจะเห็นเส้นทางเติบโตได้ เพราะดูแล้วมีตำแหน่งให้เขาได้ไปต่อหลายขั้น ลองนึกถึงว่าถ้า Organization Chart มีแค่หัวหน้าคนเดียว แล้วรองลงมาเป็นลูกน้องแนวราบหมดเลย แปลว่าถ้าลูกน้องจะโตได้ก็ต้องรอให้หัวหน้าลาออกหรือมีตำแหน่งใหม่ให้หัวหน้าคนเดิมก่อน ลูกน้องเองก็จะรู้สึกว่าแล้วเขาจะเติบโตไปได้อย่างไร ในเมื่อหัวหน้าคนเดิมยังเกาะขาเก้าอี้อยู่แน่น อันนี้ก็จะเป็นปัญหาขององค์กรที่ไม่ได้คิดเรื่อง Career Path ให้พนักงานได้เติบโตต่อ

 

ไม่ได้บอกว่าแบบไหนดีกว่ากันนะครับ เพราะทั้งสองแบบมีโอกาสที่จะรุ่งหรือรุ่งริ่งได้หมด เช่น มีหัวหน้าคนเดียว ตบทีเดียวอยู่ ก็ดีมากตรงตัดสินใจได้เร็ว เอาอย่างไรก็ว่ามา! แต่ลองคิดดูสิครับว่าถ้าหัวหน้าเราไม่แกร่งพอแล้วทุกอย่างต้องพุ่งไปหาเขาคนเดียว อันนี้ก็จะตายหมู่ได้ ขณะเดียวกันการมีหัวหน้าหลายคน หลายขั้น หลายด่านก็ดูเหมือนจะยุ่งยาก กว่าจะผ่านแต่ละด่านได้ก็ช้า แต่ถ้าเราดีไซน์การทำงานให้ดี ยิ่งถ้าหัวหน้าให้อำนาจในการตัดสินใจกับลูกน้องตำแหน่งรองลงมาแล้วลูกน้องรับผิดชอบได้ดีก็ไม่ยากครับ ยิ่งถ้าหัวหน้ามีความเฉียบคม มาถึงฟันโชะๆ ให้ทิศทางได้ ให้คำปรึกษาได้ และพร้อมสนับสนุนเต็มที่ งานก็ไปได้เร็วและไปได้ไกล

 

เพราะฉะนั้นพี่คิดว่ามันไม่มีอะไรที่ดีจังเลยแล้วก็แย่จังเลย มันอยู่ที่ว่าเราจะดีไซน์ระบบการทำงานแบบไหนมากกว่า

 

น้องเอ๋ย มีหัวหน้าสองคนนี่ถือว่าไม่เยอะแล้วล่ะ ต่อไปน้องอาจจะเจอเยอะกว่านี้อีก เอาว่าโจทย์ตอนนี้คือเอาหัวหน้าสองคนให้อยู่อย่างไรมากกว่า

 

คิดในแง่ดีก่อนเลยว่า โห…ดีจัง มีคนช่วยให้งานเราดีขึ้นตั้งสองคน คิดแบบนี้ก่อนเลยนะครับ ไม่อย่างนั้นเราจะมองว่าหัวหน้าสองคนคือคนที่ทำให้งานเรามีปัญหา ถ้าเราทำให้การมีหัวหน้าที่มีความเห็นต่างกันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหา แต่ถ้าเราทำให้มันไม่เป็นปัญหา มันก็จะไม่เป็นปัญหาครับ

 

ในแง่หนึ่ง พี่คิดว่าการที่มีหัวหน้ามองต่างกันก็เป็นเรื่องดีนะครับ เพราะแปลว่าเราจะได้เห็นมุมที่แตกต่างกันของงานชิ้นเดียวกัน ถ้าทุกคนเออออเห็นทางเดียวกันหมดตลอดเวลา มันก็จะไม่มีการเขย่าความคิดกันเท่าไร หรือไม่มีการช่วยตรวจสอบ ช่วยพัฒนางานให้ดีขึ้นร่วมกัน ทีมที่ดีจึงต้องการคนที่เห็นต่างกันบ้าง เพราะเราคนเดียว ความคิดเดียว ก็จะเห็นจากมุมเดียว ลองถ้าเราได้ฟังความเห็นคนอื่นๆ บ้างก็จะทำให้เราได้มุมมองอื่นๆ และมันอาจจะดีกับการปรับปรุงงานก็ได้นะครับ

 

ถึงความคิดเห็นของหัวหน้าทั้งสองคนจะไปกันคนละทาง แต่ถ้าเป้าหมายของพวกเขาเป็นอย่างเดียวกัน คืออยากทำให้งานออกมาดี พี่คิดว่านั่นก็เป็นเจตนาที่ดีแล้ว วิธีการทำงานมันไม่ได้มีวิธีเดียวสักหน่อย เหมือนถ้าเป้าหมายคือการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ คนหนึ่งอาจจะบอกว่านั่งเครื่องบินไปสิ อีกคนบอกว่านั่งรถไฟไปดีกว่า หรือแม้กระทั่งบอกว่านั่งเครื่องบินไปเหมือนกัน อาจจะเป็นเครื่องบินคนละแบบกันเลย เพราะฉะนั้นมันไม่มีผิดหรือถูก มันมีแต่ว่าดีในบริบทไหนเท่านั้น

 

ทีนี้มาว่ากันด้วยเรื่องจะฟังหัวหน้าคนไหนดี

 

บางคนอาจจะบอกว่าฟังหัวหน้าคนที่ใหญ่กว่าสิ เพราะเขามีตำแหน่งใหญ่กว่า เขามีอำนาจตัดสินใจมากกว่า เราต้องทำงานให้ขายผ่านหัวหน้าคนนั้น แต่ถ้าเราคิดแบบนี้ อย่างแรก เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าหัวหน้าคนที่ใหญ่กว่าจะคิดถูกเสมอ เอาล่ะ เขาอาจจะประสบการณ์มากกว่าเรา แต่ก็ไม่ถูกเสมอไป เพราะบางเรื่องเราอาจจะรู้รายละเอียดมากกว่า หรือหัวหน้าสายตรงจากเราก็อาจจะรู้มากกว่า อีกอย่าง ถ้าเราคิดว่าเราจะฟังคนที่ใหญ่กว่าแล้วเราจะมีหัวหน้าไปทำไม เราไม่ควรทำให้ใครรู้สึกว่าเขาไม่มีความหมาย ในเมื่อพวกเราคือทีมเดียวกันหมด ว่าไหมครับ

 

พี่คิดว่าหลายครั้งที่คนทำงานเป๋เพราะคิดว่าการทำงานคือการขายนายให้ผ่าน ในความเป็นจริงแล้วงานที่ขายนายผ่านอาจจะเป็นงานที่ไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริงที่เราตั้งไว้ตั้งแต่ต้นก็ได้ ต้องกลับไปที่โจทย์ตั้งต้นว่าเราต้องการอะไร

 

สมมติว่าโจทย์คือต้องการเพิ่มยอดขาย ก็ต้องคิดงานที่สุดท้ายแล้วมันจะไปเพิ่มยอดขายได้จริงๆ ไม่ใช่คิดงานที่จะเอาแต่ขายนายให้ผ่าน เพราะนายจะชอบแบบนี้ แบบนี้นายชอบนะครับ แต่ลูกค้าไม่ชอบ มันก็ไม่กลับไปที่ยอดขายแล้ว ไปทำงานที่ขาย ‘นายที่แท้จริง’ ซึ่งก็คือลูกค้าถึงจะถูกต้อง ไม่ใช่นายในห้องทำงาน เพียงแต่ว่าเพื่อที่จะทำงานที่ขายลูกค้าได้ เราต้องการการสนับสนุนจากหัวหน้าเท่านั้นเองครับ

 

หรือถ้าโจทย์คืออยากทำให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็ต้องคิดงานที่ทำให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ใช่คิดงานว่าทำงานแบบไหนนายจะชอบ เพราะนายชอบกับพนักงานชอบก็ไม่เหมือนกัน ต้องกลับไปที่โจทย์เลยครับว่าเราทำงานนี้เพื่อแก้ปัญหาอะไรอยู่

 

เช่นเดียวกันครับ หัวหน้าสองคนมองไม่เหมือนกัน ต้องกลับมาดูว่าแล้วทำแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ที่แท้จริง โดยไม่เกี่ยวกับว่าจะเป็นหัวหน้าคนไหน แล้วที่เหลือมันเป็นเรื่องของการโน้มน้าวให้หัวหน้าสนับสนุนเราแล้วล่ะครับ เช่น นายคนหนึ่งจะเอาทาง A นายอีกคนหนึ่งจะเอาทาง B เราต้องกลับมาคิดว่าแล้วแบบไหนดีที่สุดและตอบโจทย์นี้ ซึ่งสุดท้ายมันอาจจะเป็นได้ทั้ง A หรือ B หรือไม่อยู่ในสักทางที่หัวหน้าเลือกเลยก็ได้ จากนั้นเพื่อที่จะโน้มน้าวให้นายสนับสนุนสิ่งที่เราเลือก เราต้องหาข้อมูลหรือเหตุผลมาประกอบการตัดสินใจให้มากที่สุดว่าทำไมเราถึงเลือก A ทำไมเราถึงเลือก B เหตุผลที่จะมาสนับสนุนเราได้มีได้ตั้งแต่ข้อมูล สถิติ การสำรวจ การลองถามความเห็นของคนที่ไปไกลกว่าตัวเราเอง ฯลฯ ถ้าเรามีเหตุผลเหล่านี้มากพอ เสียงของเราก็จะหนักแน่นขึ้น และมันจะช่วยให้หัวหน้าเห็นมุมอื่นๆ ด้วย ที่สำคัญคือเราต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของเรา ไม่ได้แปลว่าเราจะผิดไม่ได้นะครับ แต่ไม่ว่าจะทำแบบไหน และผลงานออกมาเป็นอย่างไร ขอให้เราเรียนรู้กับมันให้มากที่สุด

 

อีกสิ่งที่สำคัญพอๆ กับการมีเหตุผลมาสนับสนุนก็คือการรักษาอารมณ์ของคนที่เห็นต่างจากเรา เราต้องไม่ทำให้เขารู้สึกไม่มีความหมาย ต้องไม่ทำให้เขารู้สึกว่าความคิดเห็นของเขามันโง่จังเลย เช่นเดียวกัน เราต้องไม่คิดว่า โห…ฉันฉลาดจังเลย หัวหน้าโง่จัง ไม่ควรคิดแบบนั้นเป็นอันขาด พี่คิดว่าเราควรเอาเหตุผลไปปรึกษาหัวหน้า คุยกับเขาดีๆ ว่าเราไปหาข้อมูลอะไรมาเพิ่มเติมแล้วคิดแบบนี้ และเราคิดว่ามันจะออกมาดีตรงกับโจทย์อย่างไร

 

แต่แน่นอนว่าในโลกแห่งความเป็นจริง บางทีหัวหน้าก็อาจจะไม่ฟังเรา จะด้วยเหตุผลของเรายังไม่ดีพอจริงๆ หรือด้วยอะไรก็แล้วแต่ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ พี่คิดว่าบางอย่างอาจจะต้องใช้เวลา มันอาจจะไม่ใช่โปรเจกต์นี้ก็อาจจะเป็นโปรเจกต์ต่อๆ ไป การเปลี่ยนคนมันไม่ง่ายและต้องใช้เวลา บางทีการทำให้คนลองทำอะไรใหม่ๆ ก็ต้องใช้เวลาและใช้เหตุผลเยอะเหมือนกัน แต่น้องอาจจะลองคิดแบบนี้ก็ได้ว่าวันนี้เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ซื้อใจเขาก่อน แล้วพอเขาเห็นฝีมือเรามากขึ้น เขาอาจจะค่อยๆ เปิดให้เราลองทำอะไรใหม่ๆ ที่อาจจะไม่ใช่แค่ทาง A หรือ B หรือต่อไปเราพูดอะไรก็จะหนักแน่นขึ้น เขาฟังเรามากขึ้น อย่าเพิ่งคิดว่าเขาไม่ฟังเราในวันนี้แปลว่าเขาจะไม่ฟังเราตลอดไป ของแบบนี้ต้องใช้เวลากับฝีมือในการพิสูจน์

 

ชีวิตเรามันไม่ได้มีแค่ทาง A หรือ B นะครับ

 

* ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post หัวหน้าสองคนสั่ง มีความเห็นคนละแบบ หนูจะฟังใครดีคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/deal-with-more-than-one-boss/feed/ 0
เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันไย โดนหัวหน้าด่าทุกวันจนอยากลาออกเหลือเกินค่ะ https://thestandard.co/boss-always-gets-the-blame/ https://thestandard.co/boss-always-gets-the-blame/#respond Wed, 23 Jan 2019 12:00:37 +0000 https://thestandard.co/?p=184845

Q: พี่ขา ตั้งแต่หนูทำงานมา ไม่มีวันไหนเลยค่ะที่หัวหน้าจ […]

The post เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันไย โดนหัวหน้าด่าทุกวันจนอยากลาออกเหลือเกินค่ะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: พี่ขา ตั้งแต่หนูทำงานมา ไม่มีวันไหนเลยค่ะที่หัวหน้าจะไม่ด่าหนู ไม่รู้ไปโกรธอะไรมาถึงขยันด่าหนูเหลือเกิน เจอแบบนี้ทุกวันมันบั่นทอนจิตใจนะคะ หนูอยากลาออกมากเลยค่ะ แค่คิดว่าต้องตื่นมาทำงานเพื่อให้หัวหน้าด่าหนูก็ไม่อยากตื่นแล้วค่ะ หนูจะทำอย่างไรดีคะ

 

A: โถ…ดูท่าจะบอบช้ำมาแสนสาหัส โดนด่าทุกวันก็เสียสุขภาพจิตเหมือนกันนะครับ มา! เรามาแก้ปัญหานี้กัน อย่าเพิ่งโมโหจนลุกขึ้นมาบีบคอหัวหน้านะครับ แม้นั่นจะเป็นสิ่งที่น้องอยากทำก็ตาม ไม่ดีหรอกน้อง กรีดรถก็พอ เอ้ย! ไม่ใช่แล้ว!

 

พี่มีวิธีคิดอย่างหนึ่งที่อาจจะเป็นประโยชน์กับน้องได้ พี่คิดว่าเวลาที่มีคนด่าเราหรือตำหนิเรา ลองมองเจตนาเขาให้ออกก่อนว่าเขาว่าเราด้วยเจตนาแบบไหน ตำหนิเพื่อให้เราปรับปรุง หรือตำหนิเพื่อทำลายเราให้ย่อยยับ

 

ถ้าเป็นแบบหลัง (อย่างที่น้องไม่ได้อคติเอาเองด้วยนะ) พี่แนะนำว่าปล่อยผ่าน อย่าได้ให้ความสำคัญ เพราะเขาไม่ได้หวังดีกับเราอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเขาอยากให้เราฉิบหายวายวอด เรายิ่งต้องไม่ยอมให้เขามามีอำนาจอยู่เหนือจิตใจเราได้ ไม่งั้นแปลว่าเป้าหมายที่เขาอยากทำลายเราสำเร็จเลยนะครับ

 

อยากให้ฉันบรรลัยนักใช่ไหม…ฉันไม่ยอมให้เธอทำได้หรอก ชิ! — คิดแบบนี้ก่อนเลย

 

เอาจริงๆ พี่คิดว่าเราไม่ควรต้องไปทุกข์กับคนแบบนี้นะครับ คนที่คิดแต่จะทำลายคนอื่นนี่น่าสงสารนะครับ บางทีก็น่าสมเพช ต้องโตมาแบบไหนกันนะ เวลาเกลียดใครนี่ข้างในใจมันร้อนรนไปหมดเลยนะ เราไม่ควรต้องเป็นคนที่ทุกข์ ถ้าเขาอยากคิดร้ายจนทุกข์ร้อนนอนไม่หลับ เชิญจ้า! แต่ฉันจะหลับสบายที่สุดแล้วทำตัวแบบนี้จะมีคนรักคนอยากทำงานด้วยไหม พี่ว่าใครก็ไม่อยาก ว่าไหมครับ

 

แต่ถ้าเรามองให้เห็นเจตนาที่ดีของคนที่ตำหนิเราว่าที่เขาตำหนินั้นเพราะเขาอยากให้เราปรับปรุง พี่คิดว่าเราต้องขอบคุณเขานะครับ เพราะคำติของเขานี่แหละที่เราต้องสกัดเอามาเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ตัวเราดีขึ้น

 

ถ้าเราทำงานโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของคนที่ไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว เราจะเชื่อว่าตัวเราสามารถทำงานให้ดีขึ้นได้ เราเป็นคนที่เก่งขึ้นได้ เราเป็นคนที่ดีกว่านี้ได้ ซึ่งจะดีขึ้นได้ก็เพราะมีคนมาช่วยบอกเราว่าเราต้องพัฒนาอะไรบ้าง เราก็เอาคำตินั้นมาปรับปรุงตัวเรา แต่ถ้าเราเป็นน้ำเต็มแก้ว เราจะคิดว่าเราเจ๋งที่สุดแล้ว เราแน่ที่สุด เราจะไม่ปรับปรุงตัวอะไรทั้งนั้น ใครมาแนะนำอะไรเราเราก็จะปิดใจ เท่ากับว่าเราเสียโอกาสที่จะเป็นคนที่ดีขึ้นเหมือนกันนะครับ น่าเสียดายนะ

 

พี่คิดว่า การที่มีคนตำหนิเราอยู่แปลว่าเขายังมีความเชื่อมั่นในตัวเราว่าเรายังพัฒนาตัวเองได้ เขายังศรัทธาในตัวเราว่าเราจะเป็นคนที่ดีกว่านี้ นั่นเท่ากับว่าการที่เขาตำหนิแปลว่าเขายังให้โอกาสเรานะครับ ลองคิดว่าถ้าเขาไม่แคร์ ไม่เห็นเรามีค่า เขาไม่ต้องมาเสียเวลา เสียพลังงาน อ้าปากตำหนิเราหรอกครับ ป่านนี้ปล่อยเราเดินตกเหวไปแล้ว

 

เพราะฉะนั้น เอาคำติของเขามาปรับปรุง ยิ่งหัวหน้าด่าเราทุกวัน พี่คิดว่าเราต้องลองมาดูตัวเราก่อนนะครับว่า เรื่องที่เขาตำหนิเรามีเรื่องอะไรบ้าง มันเป็นเรื่องซ้ำๆ ซากๆ หรือเปล่า ถ้าเป็นเรื่องเดิมทุกวัน แปลว่าเขายังไม่เห็นว่าเราปรับปรุงไงเขาถึงต้องว่าเราอยู่ พี่ว่าเราตั้งเป้าดีไหมว่าจะทำให้หัวหน้าไม่ด่าเราในเรื่องเดิมซ้ำอีก ถ้าเขาด่าเรื่องใหม่ก็อีกเรื่องนะ แปลว่าเรายังมีเรื่องให้ปรับปรุงเรื่องอื่นๆ อีก แต่เอาว่าเราอุดรูรั่วไปทีละเรื่อง เรื่องที่เขาด่าเราเมื่อวานต้องไม่ให้เขาด่าเราได้ซ้ำอีก ฮ่าๆ

 

ไหนๆ น้องก็โดนด่าทุกวันมาก่อน พี่ว่าเอาคำด่าของหัวหน้ามาวิเคราะห์เลยดีกว่าว่าเขาด่าเราเรื่องอะไรบ้าง เอาจริงๆ พี่ว่าถ้าน้องเรียนรู้จากการถูกด่าทุกวัน น้องน่าจะพอเดาได้หรือจับทางได้แล้วว่าหัวหน้าจะด่าในเรื่องไหนได้บ้าง แล้วเราป้องกันมันให้หมด เอาให้เขาด่าเราได้น้อยลง นี่ไงน้องจะมีเซนส์ของการป้องกันตัวแล้ว น้องอย่ารอให้หัวหน้าด่าแล้วค่อยแก้ไข น้องสแกนกรรมตัวเองก่อนเลยว่ายังมีอะไรเหลือให้ด่าได้บ้าง ป้องกันมันก่อนที่หัวหน้าจะอ้าปากออกมานั่นแหละ!

 

ถ้าน้องรู้สึกว่าตัวเองโดนด่าทุกวันเลย ไม่อยากทำงาน มาทำงานเพื่ออะไร (วะ) พี่มีเรื่องอยากเล่าให้น้องฟังครับ เป็นเรื่องของคนที่งานของเขามีไว้เพื่อให้โดนด่าทุกวัน

 

อาชีพนั้นคือ ‘Call Center’ ครับ

 

พี่เคยนั่งคุยกับน้อง Call Center ของ SCB นี่แหละว่าน้องรู้สึกอย่างไรที่ต้องโดนด่าทุกวัน แถมเรื่องที่โดนด่าก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดมาจากตัวน้องเองด้วย แต่น้องต้องมารับคำด่าก่อนเลย

 

คำตอบของน้อง Call Center ที่พี่คุยด้วยทำให้พี่จดจำได้ถึงทุกวันนี้ครับ เขาบอกว่า

 

“ในแต่ละวันผมต้องรับสายคอมเพลนประมาณ 70 สาย รวมๆ แล้วเท่ากับว่าในหนึ่งเดือนผมจะต้องรับสายทั้งหมด 2,000 กว่าสาย ถ้าผมคิดว่า ในหนึ่งเดือนผมต้องโดนคน 2,000 กว่าคนด่า ผมคงทุกข์มาก ผมคงไม่อยากมีชีวิตต่อ

 

แต่ถ้าผมคิดว่า ผมโชคดีนะ ในหนึ่งเดือนผมมีโอกาสได้ช่วยเหลือคนตั้ง 2,000 กว่าคน ผมก็จะรู้สึกว่างานของเรามีประโยชน์จัง เราโชคดีจังได้ทำงานที่ได้ช่วยเหลือคนเยอะขนาดนี้ แถมผมยังได้เอาคำตำหนิของลูกค้ามาช่วยพัฒนาธนาคารของเราด้วย มีคน 2,000 กว่าคนมาช่วยบอกเราว่าอยากให้เราทำดีขึ้นอย่างไรนี่มันทำให้เราปรับปรุงได้เร็วขึ้นเยอะเลยนะครับ”

 

ถ้าน้องรู้สึกว่าน้องโดนด่าเยอะแล้ว ยังมีมนุษย์ Call Center อีกคนที่โดนคน 2,000 กว่าคนด่าทุกเดือนอยู่ แต่เขามองเห็นว่ามันคือโอกาสที่ทำให้เขาได้ช่วยคนตั้ง 2,000 กว่าคนทุกเดือน

 

เรื่องแบบนี้มันอยู่ที่ว่า เรามองเห็นว่างานของเรามีความหมายแบบไหนครับ ถ้าเรามองว่างานของเราคือการโดนด่าทุกวัน เราก็จะไม่อยากตื่นมาทำงาน แต่ถ้าเรามองว่างานของเราคือโอกาสที่ทำให้เราได้พัฒนาตัวเองขึ้นทุกวัน เราก็จะอยากตื่นขึ้นมาทำตัวเราให้ดีขึ้น

 

นอกจากเป็นโอกาสให้เราได้พัฒนาตัวเองได้ดีขึ้นแล้ว พี่คิดว่าเรายังมีโอกาสทำให้คนอื่นได้พัฒนาตัวเองได้ดีขึ้นด้วย อย่าลืมนะครับว่า หัวหน้าจะเป็นหัวหน้าไม่ได้ถ้าไม่มีลูกน้อง เพราะฉะนั้นลูกน้องนี่แหละครับที่จะช่วยทำให้หัวหน้าเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้

 

ใช่ครับ น้องมีโอกาสทำให้หัวหน้าที่เขาด่าน้องทุกวันเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้

 

เป็นไปได้ไหมครับที่น้องจะสะท้อนความรู้สึกของน้องให้หัวหน้ารับรู้ว่า บางทีหัวหน้าก็พูดแรงไปหน่อย คนฟังฟังแล้วใจก็ห่อเหี่ยวตามไปด้วย เสียกำลังใจทุกทีเวลาเจอคำพูดแรงๆ ของพี่ บางทีเขาอาจจะไม่รู้ตัวก็ได้นะครับว่าที่เขาพูดมามันทำให้เราเจ็บ คือคนเราถ้ายังมีสามัญสำนึกอยู่ ถ้ารู้ว่าเราทำให้ใครเสียใจก็ต้องทบทวนตัวเองกันบ้างล่ะน่า

 

วิธีของพี่ พี่อาจจะบอกหัวหน้าตอนที่บรรยากาศดีๆ ทุกคนเฮฮา แล้วเราใช้ความตลก ความอารมณ์ดีเข้าช่วย พี่อาจจะใช้โอกาสตอนทานข้าวด้วยกันที่หัวหน้าอารมณ์ดีอยู่ หรือช่วงปาร์ตี้ออฟฟิศหรือเอาท์ติ้งบริษัทบอกว่า “พี่ ผมรักพี่นะ และขอบคุณพี่เลยที่แนะนำผมมาตลอด แต่ช่วงนี้พี่เครียดใช่ไหมครับ ผมเป็นห่วงพี่นะ ผมชอบเวลาพี่ร่าเริงแบบนี้มากเลย แต่เวลาพี่ดุผม พี่น่ากลัวจริงๆ นะ ฮ่าๆ ผมฟังแล้วก็หงอทุกที ใจมันเหี่ยวลงไปเลยพี่ ยังไงผมจะพยายามทำให้พี่บ่นน้อยลงนะครับ พี่จะได้ไม่เครียด”

 

เรื่องสำคัญคือ น้องต้องทำให้หัวหน้ารู้นะครับว่า น้องเข้าใจความหวังดีของหัวหน้าที่คอยชี้ว่าน้องต้องปรับปรุงตัวอย่างไร น้องขอบคุณมาก แต่ก็อยากให้รู้ว่าด่ามากๆ คนมันเหี่ยวเหมือนกัน แล้วตบท้ายให้เขารู้ว่าเราเป็นห่วงเขา และเราน้อมรับเอาคำติของเขามาปรับปรุงจริงๆ ซึ่งนั่นเป็นการบอกให้เขารู้ว่า หนูจะแก้จุดบกพร่องของหนูเพื่อพี่นะ เช่นเดียวกัน พี่ก็ช่วยแก้จุดบกพร่องของพี่เพื่อหนูด้วย

 

ลองว่าถ้าจูนให้เห็นความหวังดีของกันและกันได้ พี่คิดว่าก็น่าจะอยู่ด้วยกันได้ดีขึ้น เราปรับปรุงในสิ่งที่เขาสะท้อนมา เขาเองก็ปรับปรุงในสิ่งที่เราสะท้อนให้เขาเหมือนกัน

 

ถือว่าเป็นการให้โอกาสตัวเราเองได้เป็นคนที่ดีขึ้น เหมือนกับที่เราก็ต้องให้โอกาสเขาเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นเหมือนกัน

 

ตื่นขึ้นมาทำงานแล้วทำให้มีทั้งหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องที่ดีขึ้นกันดีกว่าครับ

 

*ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์  

 

ภาพประกอบ: Karin Foxx

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันไย โดนหัวหน้าด่าทุกวันจนอยากลาออกเหลือเกินค่ะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/boss-always-gets-the-blame/feed/ 0
ทำงานที่เดิม แต่เงินเดือนแทบไม่ขึ้น โบนัสก็น้อย ความจงรักภักดีไม่มีความหมายเหรอคะพี่ https://thestandard.co/salary-is-not-increased/ https://thestandard.co/salary-is-not-increased/#respond Wed, 16 Jan 2019 17:01:29 +0000 https://thestandard.co/?p=180902

Q: หนูทำงานที่เดิมมา 4 ปีแล้ว แต่เงินเดือนไม่เคยขึ้นเลย […]

The post ทำงานที่เดิม แต่เงินเดือนแทบไม่ขึ้น โบนัสก็น้อย ความจงรักภักดีไม่มีความหมายเหรอคะพี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: หนูทำงานที่เดิมมา 4 ปีแล้ว แต่เงินเดือนไม่เคยขึ้นเลย แถมได้โบนัสมาน้อยเหมือนได้เงินทอนเลยค่ะ ไม่มีกำลังใจทำงานเลย อยู่ไปเงินเดือนก็คงไม่ขึ้น ลาออกดีไหมคะ

 

Q: หนูได้ทำงานที่บริษัทในฝันตั้งแต่เรียนจบ อยู่ที่นี่มา 5 ปีแล้ว แต่สิ่งที่หนูเจ็บปวดก็คือ หนูได้เงินเดือนเพิ่มน้อยมาก มันไม่เหมือนเวลาที่ลาออกไปที่ใหม่ซึ่งได้เงินเดือนเพิ่มมากกว่าอยู่ที่เดิม ที่เจ็บคือเพื่อนร่วมงานบางคนลาออกไปแล้วกลับมาสมัครงานที่นี่ใหม่ ได้ทั้งเงินเดือนและตำแหน่งแบบก้าวกระโดดกว่าคนที่ยืนมานานอีก ความจงรักภักดีไม่มีความหมายเลยเหรอคะพี่

A: เงินเดือนไม่ขึ้นมา 4 ปี… ปีที่ 2 พี่ก็ไปแล้วน้อง! ฮ่าๆ อันนี้ล้อเล่นนะ

 

พี่สัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดของน้องทั้งสองคน และพี่คิดว่าประเด็นของทั้งสองคนเป็นเรื่องการอยู่ที่ทำงานเดิมแล้วเงินเดือนขึ้นน้อย ทั้งที่ตัวเองอยู่ที่เดิมมาหลายปี แต่ก็รู้สึกว่าองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญ เลยขออนุญาตรวบตึงตอบน้องทั้งสองคนในรอบเดียว

 

อย่างแรก พี่เข้าใจครับว่ามันคือความเจ็บปวดของคนทำงาน เป็นเรื่องธรรมดาที่การเติบโตของเงินเดือนด้วยการย้ายงานใหม่จะมากกว่าการอยู่ที่เดิม ฟังดูไม่แฟร์สำหรับคนที่ทำงานที่เดิมนานๆ แต่มันก็เป็นแบบนี้จริงๆ ครับ

 

ยิ่งเจ็บน่าดูนะครับที่ได้เห็นบางคนลาออกไปแล้วกลับมาใหม่พร้อมตำแหน่งใหญ่กว่าเดิม เงินเดือนมากกว่าเดิม คนที่อยู่มานาน ไม่ได้ไปไหน ก็คงเสียความรู้สึกเป็นธรรมดา

 

ไม่ได้พูดเข้าข้างบริษัทนะครับ แต่เป็นไปได้ไหมครับว่าการทำงานอยู่ที่เดิมนานๆ ทำให้เรามีทักษะความสามารถที่จำกัด ในขณะที่การลาออกไปทำงานที่อื่นบ้าง ได้เห็นโลกการทำงานแบบอื่นๆ ได้เพิ่มเติมความสามารถอื่นๆ บ้าง อาจเป็นสิ่งที่บริษัทของน้องๆ มองหาอยู่ ไม่ใช่การมองหาคนที่มีความสามารถเท่าเดิม

 

เช่น คนที่ลาออกไปนั้น เมื่อเขากลับมาสมัครงานใหม่ เขากลับมาพร้อมกับความสามารถใหม่ในแบบที่บริษัทเดิมไม่สามารถสร้างสิ่งนี้ได้ บริษัทอื่นๆ ข้างนอกไปทำให้เขามีความสามารถใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งบริษัทเดิมทำไม่ได้ พอกลับมาบริษัทก็เลยให้คุณค่ากับคนเหล่านั้นมากกว่า

 

ฟังดู Make Sense ไหม ก็เข้าใจได้ครับ บริษัทย่อมให้คนที่มีคุณค่า มันอยู่ที่ว่าคำว่า ‘คุณค่า’ ที่บริษัทมองหานั้นคืออะไร และมันมีในตัวเราหรือเปล่า

 

ถ้าสมมติว่าวัดจากความสามารถแล้ว คนที่อยู่ที่เดิมก็มีความสามารถไม่ต่างกับคนเดิมแต่ย้ายมาจากที่ใหม่นักหรอก แต่บริษัทดันไปให้คุณค่ากับคนเดิมที่เข้ามารอบใหม่มากกว่า ผมว่าองค์กรนั้นก็มีปัญหาแล้วล่ะ ลองคิดดูว่าถ้าพนักงานจับไต๋นี้ได้ว่า “อ๋อ! วิธีที่จะเติบโตที่นี่ได้คือให้อยู่ที่นี่แป๊บหนึ่งแล้วลาออกไปอยู่ที่อื่นถึงค่อยกลับมาใหม่ โตกว่าเดิมด้วย” ใครมันจะอยู่ทำงานเดิมนานๆ ล่ะครับ เดี๋ยวก็ลาออกไปใหม่ และเขารู้ดีด้วยนะว่าออกไปเดี๋ยวก็กลับมาได้ เดี๋ยวบริษัทนี้ก็ให้เงินเดือนเยอะกว่าเดิม กลับมารอบใหม่พร้อมตำแหน่งใหม่ สบายใจแฮ เย้!

 

พี่ว่าบริษัทที่ไม่ให้คุณค่ากับคนทำงานก็จะได้คนที่ไม่จงรักภักดีแบบนี้แหละครับ คู่ควรกันดี ฮ่าๆ

 

ถ้าเราเห็นตัวอย่างอยู่แล้ว ว่าบริษัทนี้ให้คุณค่ากับอะไร เราต้องกลับมามองตัวเองครับ ว่าแล้วคุณค่าเราตรงกันหรือเปล่า สมมติบริษัทไม่ได้ให้คุณค่ากับความจงรักภักดี เรามีความจงรักภักดีไป มันก็ไม่ตอบโจทย์ซึ่งกันและกัน อันนี้พูดกันอย่างแฟร์ๆก็อาจจะเจ็บปวดหน่อย แต่ว่าเข้าใจได้ไหม เข้าใจได้มากๆ ต้นทุนในการสร้างพนักงานขึ้นมาใหม่ย่อมสูงกว่าการรักษาพนักงานไว้ แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทจะเข้าใจสิ่งนี้หรอกนะครับ

 

โจนิ มิตเชลล์ เคยร้องเพลงว่า “Don’t it always seems to go that you don’t know what you’ve got til it’s gone” บางทีกว่าจะรู้ว่ามีอะไรอยู่ในมือก็เมื่อวันที่เสียมันไปแล้ว ชีวิตมันก็เป็นแบบนั้นแหละครับ หลายครั้งบริษัทก็ต้องเสียคนที่ดีมีความสามารถไป ก็เพราะไม่รักษาเขาไว้ในตอนที่เขายังทำงานอยู่

 

พี่คิดว่านี่คือสิ่งที่ทุกองค์กรควรตั้งคำถามกับตัวเองว่า องค์กรจะมีวิธีรักษาพนักงานที่มีฝีมือและจงรักภักดีกับองค์กรไว้ได้อย่างไร ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะมีพนักงานที่รู้สึกว่าตัวเองได้รับการปฏิบัติที่ทำร้ายจิตใจ จนมีคำถามว่า “ความจงรักภักดีไม่มีความหมายจริงๆ ใช่ไหม”

 

มันเจ็บนะครับ เจ็บมากด้วย

 

ถ้าพี่จะถามน้องกลับบ้างว่า หลายปีที่ผ่านมานั้น ทั้งๆ ที่เงินเดือนขึ้นน้อย ทำไมน้องถึงยังอยู่ที่บริษัทเดิม แล้วเหตุผลนั้นที่เราเคยมีและทำให้เราตัดสินใจอยู่ที่เดิม จงรักภักดีเหมือนเดิม ยังเป็นเหตุผลที่ทำให้เรายังอยากอยู่ที่นี่ไหม

 

พี่คิดว่า ถ้าน้องพบแล้วว่าที่นี่เป็นที่ทำงานที่น้องชอบมาก ตอบโจทย์ทุกอย่าง ณ เวลานี้ ไปจนถึงในอนาคตที่ไม่ไกลเกินได้ และน้องอยากเติบโตที่นี่จริงๆ พี่อยากให้น้องเข้าไปคุยกับหัวหน้า หัวหน้าคะ หนูรักที่นี่ หนูอยากเติบโตที่นี่ หนูไม่คิดจะไปไหน แต่หนูติดที่เงินเดือนมันขึ้นน้อยมาก หัวหน้าคิดว่าบริษัทมีแนวทางในการวาง Career Path ให้หนูอย่างไรได้บ้างคะ เป็นไปได้ไหมครับว่าที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยรู้เลยว่าน้องอยากทำงานที่นี่นานๆ น้องรักที่นี่ น้องอยากเติบโตที่นี่ ลำพังแค่การ ‘ไม่ลาออก’ ไม่ได้บอกเขาได้ดังพอ น้องถึงต้องเดินไปบอกเขาถึงที่ให้เขาได้ยินดังๆ

 

เหมือนแฟนน่ะครับน้อง ถ้ามีคนเดินมาบอกว่า “ฉันอยากอยู่กับเธอ ฉันจะภักดีกับเธอ” เราคงชื่นใจนะครับ และถ้าเราเห็นคุณค่าเขา เราคงหาทางทุกวิถีทางเพื่อรักษาเขาไว้ เพราะเรารู้ว่าคนคนนี้มีความหมาย เขาอยากจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา

 

แต่ก็เหมือนแฟนอีกนั่นแหละครับ บางทีเขาก็อาจจะไม่ได้ต้องการเราขนาดนั้น เห็นเป็นของตายว่างั้นเถอะ คนใหม่มันน่าตื่นเต้นกว่าคนเก่านี่นะ

 

ถ้าน้องบอกแล้ว และหัวหน้ามีแนวทางที่จะรักษาเราไว้ พี่คิดว่าในจุดนี้เราก็สมหวังระดับหนึ่ง แต่ถ้าบอกแล้ว หัวหน้าเองก็ไม่มีแนวทางว่าจะให้เงินเดือนเราเพิ่มขึ้นได้ เราก็จะได้รู้ไว้ และมาพิจารณาต่อครับ แต่อย่างน้อยเรารู้แล้วว่าบริษัทอยากมีเราอยู่นานๆ ไหม

 

สิ่งที่พี่จะบอกก็คือ การอยู่ที่ใดที่หนึ่งนั้น สิ่งที่เราต้องมีก็คือ ความสามารถและความจงรักภักดี สองอย่างนี้ต้องมาควบคู่กัน ถ้าเรามีความจงรักภักดีอย่างเดียว แต่ไม่มีฝีมือ เราก็ไม่มีความหมาย เพราะเราก็จะเป็นแค่คนที่เกาะขาเก้าอี้ไว้ไม่ให้ไปไหน แต่ถ้าเรามีฝีมือแต่ไม่มีความจงรักภักดี บริษัทก็ไม่ได้อยากได้เราเหมือนกัน เพราะรู้ว่าจ้างเรามาก็คงอยู่ไม่นาน ความรู้สึกอยาก ‘ลงทุน’ ในตัวเราก็จะน้อยลง พี่ถึงบอกว่าคนที่มีประวัติลาออกบ่อยๆ นี่เวลาไปสมัครงานจริงๆ บริษัทไหนก็ไม่ค่อยกล้ารับเท่าไรหรอกนะครับ สุดท้ายการไม่มีความจงรักภักดีนี่แหละที่จะกลับมาทำลายเราเอง เพราะฉะนั้น เราต้องมีทั้งความสามารถและมีความจงรักภักดี

 

ทีนี้ที่น้องบอกว่า “หรือความจงรักภักดีไม่มีความหมาย” พี่เลยอยากชวนคุยว่า ความจงรักภักดีต่อองค์กรนี่มันคืออะไรกัน

 

ความจงรักภักดีในที่นี้ไม่ได้แปลว่าการสยบยอมกับทุกการกระทำของบริษัท หลับหูหลับตาทำตามที่บริษัทบอกทุกอย่าง อันนั้นแปลว่าเชื่องครับ ในมุมบริษัทก็อาจจะง่ายดีที่พนักงานเชื่อง เพราะไม่หือไม่อือใดๆ ก้มหน้าทำตามคำสั่งอย่างเดียว แต่ปัญหาก็คือ เราจะได้แต่คนที่เอาตัวมาทำงาน แต่ไม่ได้เอาใจมาทำงานด้วย การทำงานที่ไม่ได้ใส่หัวใจลงไปก็จะได้งานที่ไม่ดีออกมา

 

ความจงรักภักดีสำหรับพี่แล้วคือ การให้เกียรติที่ทำงาน ไม่ทำอะไรที่ทำร้ายที่ทำงาน รักที่ทำงาน อยากจะทำสิ่งดีๆ ให้ที่ทำงานเติบโต เห็นปัญหาในที่ทำงานก็อยากจะแก้ไข นั่นแหละครับ ความจงรักภักดีที่แท้จริง

 

เห็นไหมครับ มันเป็นคนละเรื่องกับการอยู่นาน อยู่นานไม่ได้แปลว่าจงรักภักดีนะครับ อยู่นานอาจแปลว่าก็แค่ไม่ไปไหนหรือไม่มีที่ไปก็ได้ เพราะฉะนั้น เราต้องทำงานแบบที่ทำให้เราสามารถแยกออกมาจากกลุ่ม ‘ไม่ยอมไปไหนเพราะไม่มีที่ไป’ และให้เราอยู่ในกลุ่ม ‘อยู่เพราะตัวเองมีคุณค่า และจะอยู่เพื่อทำให้ที่นี่มีคุณค่า’

 

ปัญหาที่หลายคนเจอคือ เรียกการอยู่นานอย่างเดียวว่าความจงรักภักดีนี่แหละครับ แต่การที่เราทำงานอย่างมีคุณค่าโดยมีกาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ และทำให้บริษัทที่อยู่เติบโตมีคุณค่าไปด้วยต่างหากครับที่เรียกว่าความจงรักภักดีที่แท้จริง

 

ประเด็นต่อมาคือ ไม่ใช่เพียงบริษัทนะครับที่ต้องการความจงรักภักดี พนักงานเองก็ควรมองหาความจงรักภักดีจากบริษัทเหมือนกัน มันเป็นสิ่งที่เราต้องมีให้กันและกัน ความสัมพันธ์ถึงจะไปรอดได้ เราให้คุณค่ากับบริษัทแล้ว บริษัทให้คุณค่ากับเราหรือเปล่า มันไม่ควรจะเป็นความรักข้างเดียว ว่าไหมครับ

 

ถ้าเราเจ๋งจริง และทำให้บริษัทเห็นว่าควร ‘ลงทุน’ ในตัวเรา ผลประโยชน์ต่างๆ มันก็จะตามมาครับ แต่ถ้าเราเจ๋งจริง แต่บริษัทมองไม่เห็นสิ่งที่เราทำ พี่คิดว่า ถ้าน้องเจ๋งจริงก็ไม่มีอะไรต้องกลัวเลย อยู่ที่ไหนก็ได้ ขอให้ที่นั่นเป็นที่ที่ทำให้น้องฉายแสงได้มากที่สุด จะที่เดิมหรือที่ใหม่ก็แล้วแต่

 

ไม่จำเป็นว่าเราต้องยึดติดว่า ทำงานที่เดียวนานๆ ดีกว่า หรือลาออกไปที่ใหม่ดีกว่า พี่อยากให้น้องเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง แล้วดูว่าอยู่ที่ไหนแล้วน้องเติบโตได้อย่างที่น้องต้องการ ไม่ว่าจะเป็นที่ใหม่หรือที่เดิม ถ้ามันตอบโจทย์เรา ที่นั่นคือที่ที่ดีครับ

 

แล้วไปทำให้รู้ว่าความจงรักภักดีมีความหมายนะครับ

 

*ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post ทำงานที่เดิม แต่เงินเดือนแทบไม่ขึ้น โบนัสก็น้อย ความจงรักภักดีไม่มีความหมายเหรอคะพี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/salary-is-not-increased/feed/ 0
ได้โบนัสแล้ว หนูลาออกได้หรือยังคะพี่ https://thestandard.co/get-a-bonus-and-resign/ https://thestandard.co/get-a-bonus-and-resign/#respond Wed, 09 Jan 2019 17:01:56 +0000 https://thestandard.co/?p=176349

Q: จะผิดไหมคะถ้าหนูจะลาออกหลังจากที่ได้โบนัส แล้วจะลาออ […]

The post ได้โบนัสแล้ว หนูลาออกได้หรือยังคะพี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: จะผิดไหมคะถ้าหนูจะลาออกหลังจากที่ได้โบนัส แล้วจะลาออกอย่างไรให้เขาดูไม่ออกคะว่าหนูไม่ได้กะจะชิ่งหลังจากได้โบนัส

 

A: ถามมาสั้นๆ แต่ตรงประเด็นมาก และพี่เชื่อว่าหลายคนก็คงสงสัยแบบน้องนี่แหละครับ จะว่าไปแล้วถ้าปลายปีมีเพื่อนร่วมงานคนไหนแต่งตัวเนี้ยบผิดปกติ คนก็เริ่มไหวตัวกันแล้วว่าคงไปสัมภาษณ์งานใหม่มาแน่นอน ฮ่าๆ

 

ยิ่งช่วงต้นปีที่คนเพิ่งได้รับโบนัสแบบนี้ก็จะเป็นช่วงของการโยกย้ายไปหางานใหม่ มองในอีกมุมหนึ่ง สำหรับคนที่คิดจะลาออกก็เหมือนได้ทำงานจนครบความตั้งใจและได้เห็นดอกผลของการทำงานเป็นโบนัสแล้ว ถ้าจะนับว่าถึงเวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่ก็เข้าใจได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าก่อนปลายปีแล้วคนมองหางานใหม่อยู่ อย่าถอดใจไปว่าไม่มีงานสำหรับเราเท่าไรเลย แหงล่ะ ก็เพราะตอนนั้นยังไม่มีคนอยากลาออกกัน ทุกคนก็เกาะขบวนรับโบนัสก่อนทั้งนั้น อาจจะต้องอดทนรอให้ผ่านช่วงให้โบนัสไปก่อน หลังจากนั้นแหละครับคนถึงจะลาออกกัน ช่วงต้นปีจึงเป็นช่วงเวลาในการหางานใหม่ของใครหลายคน

 

พี่คิดว่าการลาออกหลังได้โบนัสเป็นเรื่องเข้าใจได้ ประเด็นสำคัญคือเหตุผลอะไรที่ทำให้หนูอยากลาออกมากกว่า แล้วการจะลาออกหลังได้โบนัสเป็นเพียงแค่การเลือกช่วงเวลาในการลาออกเฉยๆ ไม่ใช่เพราะได้โบนัสแล้วก็เลยลาออก แต่ให้หนูลาออกเพราะมีเหตุผลในการลาออกตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ถ้ามีเหตุผลอยู่แล้ว การจะลาออกหลังได้โบนัสก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรรู้สึกผิดหรอกครับ ที่จริงเราไม่ควรรู้สึกผิดเพราะเราลาออกหลังจากได้โบนัส แต่เราควรรู้สึกผิดถ้าเราลาออกแบบไม่มีเหตุผล หรือลาออกแล้วทิ้งงานไปแบบไม่รับผิดชอบ นั่นแหละครับผิดมหันต์

 

เพราะฉะนั้นผิดไหมถ้าจะลาออกหลังจากที่ได้โบนัส พี่คิดว่าไม่ผิด แต่จะผิดถ้าน้องลาออกไปแบบไม่มีความรับผิดชอบ ลาออกไปแบบไม่มีเหตุผลมากพอ และที่สำคัญ ลาออกไปแบบไม่ได้มีแผนสำรองก่อน

 

แผนสำรองในที่นี้คือน้องหางานใหม่ได้แล้วหรือยัง หรือรู้ไหมว่าถ้าลาออกแล้วจะไปทำอะไรต่อ ถ้าได้งานใหม่เรียบร้อยแล้ว อันนี้ก็สบายใจได้หน่อยว่าน้องมีแผนที่ชัดเจนในการลาออกแล้วว่าจะทำอะไรต่อ เหลือแต่ว่าจะบอกหรือจัดการกับความรู้สึกของตัวเองอย่างไร

 

การลาออกเป็นเรื่องธรรมดาของการทำงาน ถ้างานที่ทำอยู่ไม่ตอบโจทย์ชีวิตหรือเพราะเป้าหมายของเราเปลี่ยน การลาออกก็เป็นทางออกแบบหนึ่ง ซึ่งถ้าที่ผ่านมาได้พยายามแก้ปัญหาแล้ว คิดมาดีแล้ว การลาออกก็เป็นสิ่งที่ทำได้ครับ ไม่ใช่เรื่องที่ผิด และพี่คิดว่าหัวหน้าหรือบริษัทต้องเข้าใจได้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีคนมาลาออกกับเขาหรอกครับ

 

การเลือกเวลาเพื่อแจ้งลาออกเป็นเรื่องสำคัญครับ และวิธีการบอกหัวหน้าอย่างไรให้ไม่น่าเกลียด อันนี้สำคัญมาก พี่คิดว่าน้องควรทิ้งเวลาสักสองสัปดาห์หรือหนึ่งเดือนหลังได้โบนัสเรียบร้อยแล้วจึงแจ้งหัวหน้า โดยปกติแล้วเมื่อถึงต้นปี หัวหน้าและลูกน้องในหลายองค์กรจะต้องคุยกันว่าปีนี้วางแผนการทำงานอย่างไร มีเป้าหมายอะไร น้องอาจใช้ช่วงเวลานี้เป็นการคุยกับหัวหน้าก็ได้ครับ สิ่งที่น้องควรทำคือแจ้งหัวหน้าแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่ว่ารับงานโปรเจกต์ใหม่มารับผิดชอบไว้เต็มๆ แล้วไปบอกทีหลังว่าจะไม่อยู่แล้ว พี่คิดว่ารีบบอกเขาไว้ เขาจะได้วางแผนการทำงานได้ต่อ หรือรู้ว่าจะให้น้องรับผิดชอบงานต่อได้ถึงแค่ไหน

 

แต่ถ้าน้องอยากลาออก แต่ยังหางานใหม่ไม่ได้ พี่คิดว่าก็อย่าเพิ่งเดินไปขอลาออก ถ้าจะลาออก ให้ลาออกเมื่อพร้อมแล้ว หรือถ้ารู้สึกว่างานที่ทำอยู่มีปัญหา ไม่ตอบโจทย์ ลองเดินไปคุยกับหัวหน้าว่าจะช่วยเราแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง แล้วมาพิจารณาลาออกอีกที พี่บอกไว้ก่อนเลยว่าช่วงหลังโบนัสน้องจะเห็นเพื่อนร่วมงานลาออกกันคนแล้วคนเล่า อย่าเพิ่งรู้สึกว่า เฮ้ย! หรือเราต้องลาออกวะ ให้เราลาออกเพราะมีเป้าหมายอื่นที่ไม่ใช่ที่ทำงานเดิมแล้ว แต่อย่าไหลไปเพราะใครๆ ก็ทำกัน ให้น้องเป็นคนเลือกด้วยตัวเองโดยไม่ได้มาจากสิ่งเร้า

 

ถ้าน้องทำให้หัวหน้าหรือบริษัทเห็นว่าน้องมีความรับผิดชอบต่องานตั้งแต่มาทำงานจนกระทั่งถึงตอนที่ลาออก พี่คิดว่าน้องก็ทำหน้าที่ของพนักงานได้สุดความสามารถแล้ว หนูไม่ได้ชิ่ง แต่ทั้งหมดนี้ได้คิดแล้วว่าต้องการลาออก และต่อให้ลาออกก็ยังคงรับผิดชอบอยู่ เพื่อที่ว่าเราจะจากกันไปด้วยดี มีความรู้สึกที่ดีต่อกันอยู่ นั่นแหละครับ น้องจะไม่มีความรู้สึกผิดอะไรต่อการลาออกนี้

 

สิ่งที่เราควรทำคือทำสิ่งที่เราจะไม่รู้สึกผิดในภายหลังนั่นแหละครับ

 

การลาออกก็เหมือนกันครับ

 

*ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ได้โบนัสแล้ว หนูลาออกได้หรือยังคะพี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/get-a-bonus-and-resign/feed/ 0
บริษัทใหม่อยากให้เริ่มงานเร็วที่สุด แต่เรายังรอโบนัสที่บริษัทเก่าอยู่ จะทำอย่างไรดีคะ https://thestandard.co/quitting-job-vs-waiting-for-bonus-payment/ https://thestandard.co/quitting-job-vs-waiting-for-bonus-payment/#respond Wed, 02 Jan 2019 10:36:58 +0000 https://thestandard.co/?p=173808

Q: ดิฉันไปสัมภาษณ์งานบริษัทใหม่มาค่ะ ทุกอย่างเป็นไปด้วย […]

The post บริษัทใหม่อยากให้เริ่มงานเร็วที่สุด แต่เรายังรอโบนัสที่บริษัทเก่าอยู่ จะทำอย่างไรดีคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: ดิฉันไปสัมภาษณ์งานบริษัทใหม่มาค่ะ ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ตอนแรกดิฉันบอกว่าพร้อมจะเริ่มงานใหม่ในอีกสองเดือนข้างหน้า เพราะมีโปรเจกต์ที่ฉันดูแลอยู่ในบริษัทปัจจุบันที่อยากทำให้จบก่อน และว่ากันตามตรงดิฉันก็อยากจะรอโบนัสออกก่อนด้วย แต่บริษัทใหม่พยายามบีบให้ดิฉันเริ่มงานเร็วที่สุด ถึงขนาดบอกว่ามีคู่แข่งคนอื่นๆ ที่พร้อมจะเริ่มงานเร็วกว่าดิฉัน และถ้าดิฉันไม่รีบมา เขาก็อาจจะเลือกคนอื่นแทน ดิฉันควรจัดการอย่างไรดีคะ

 

A: เป็นสถานการณ์ที่น่าลำบากใจเหมือนกันนะครับ ตอนนี้เหมือนบริษัทใหม่หงายไพ่ออกมาว่า ‘ถ้าเธอไม่มา ฉันจะเลือกคนอื่น!’ ว่ากันตามตรง เขาก็มีเหตุผลของเขานะครับ ในมุมของ HR เขาก็ต้องทำหน้าที่ปิดดีลนี้ให้เร็วที่สุด หาคนมาเติมตำแหน่งที่ว่างหรือขาดหายนี้ให้เร็วที่สุด เพื่อให้งานดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุด มองจากมุมของเขาก็น่าเห็นใจนะครับ HR เองก็เคยเจอคนที่สัมภาษณ์กันมาดิบดี อีกนิดจะก้าวขาเข้ามาทำงานแล้วแต่เกิดเปลี่ยนใจก่อน HR เองก็เสียงานเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สิ่งที่เขาทำ เขาก็ทำตามหน้าที่ของเขานั่นแหละครับที่จะต้องปิดดีลให้เร็วที่สุด

 

ขณะเดียวกัน เหตุผลของคุณก็เป็นเหตุผลที่ยอมรับได้ คุณดูแลโปรเจกต์งานนี้มาตลอดก็คงอยากให้ทุกอย่างลุล่วงไปด้วยดี ขออยู่ดูแลจนเห็นงานนี้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างสมความตั้งใจก่อนแล้วจะจากไปก็รู้สึกไม่ค้างคาแล้ว ก็ถือว่าคุณพยายามรับผิดชอบหน้าที่อย่างดีที่สุดเหมือนกัน

 

ส่วนเหตุผลเรื่องการรอโบนัสออกก่อนนั้น ผมว่าก็ยอมรับได้ที่เราจะคิดแบบนี้ มันคือผลประโยชน์ที่เราจะได้รับ ทำงานมาทั้งปี ตั้งใจดีมาตลอด เราก็สมควรได้รับโบนัสเป็นรางวัล และคุณก็คงอยากรู้เหมือนกันนะครับว่าจะได้โบนัสเท่าไร เข้าใจได้ว่าถ้าโพล่งไปตั้งแต่ตอนที่โบนัสยังไม่มาถึงมือว่าคุณจะลาออก บางบริษัทก็อาจจะเอาประเด็นนี้มาพิจารณาโบนัสที่คุณกำลังจะได้ เข้าใจได้ครับว่าบริษัทก็ไม่ได้ใจกว้างตลอด เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ไปยื่นขอลาออกหลังจากได้โบนัสแล้วก็น่าจะดีกว่า

 

ที่ไล่เหตุผลแต่ละฝั่งมาก็เพื่อให้คุณเข้าใจก่อนว่า ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง และทุกคนมีเหตุผลที่ยอมรับได้หมด ทีนี้อยู่ที่คุณแล้วว่าคุณจะเลือกทางไหน

 

เรื่องการรอโบนัส บางบริษัทที่ต้องการตัวเรามากจริงๆ ขนาดที่อยากให้เราลาออกก่อนที่จะได้โบนัสจากที่ปัจจุบัน เวลาเขาคำนวณเงินเดือนและผลประโยชน์ให้เรา เขาจะคิดเผื่อไว้แล้วว่าเงินเดือนที่เขาจะให้คุณรวมไปถึงผลประโยชน์อื่นๆ เช่น การการันตีโบนัส ฯลฯ เขาจะคัฟเวอร์ไปให้มากกว่าโบนัสที่คุณจะได้จากที่ปัจจุบัน นัยว่าถ้าที่ใหม่จะให้คุณมากกว่าขนาดนี้แล้ว อย่าได้ช้า มาเดี๋ยวนี้ พี่พร้อมฟาด!

 

สิ่งที่ผมจะบอกถ้าคุณเจอสถานการณ์ ‘มาเดี๋ยวนี้ พี่พร้อมฟาด!’ ก็คือ อยากได้คุณมันก็แน่นอนอยู่แล้ว แต่มันน่าคิดนะครับว่าทำไมต้องรีบร้อนขนาดนั้น ใจป๋าจริงหรือเปล่า หรือมีอะไรบีบให้เขาทำทุกวิถีทางเพื่อหาคนมาทำงานตรงนี้ให้ได้ เช่น มีงานที่รอไม่ได้แล้ว มีปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้เดี๋ยวนี้แล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณแล้วล่ะครับที่ต้องรู้ให้ได้ว่าเพราะอะไรทำไมถึงรีบร้อนขนาดนั้น

 

แนะนำว่าคุณจะไม่ได้คำตอบที่แท้จริงจาก HR หรอกครับ (แต่คุณ ‘ต้อง’ ถามเขา เอาเหตุผลเขามาประกอบการตัดสินใจ) เขาจะมาบอกคุณเหรอว่าบริษัทกำลังมีปัญหาต้องหาคนแก้โดยด่วน มันต้องเงื่อนงำมากกว่านั้นที่คุณต้องไปสืบจากศพเอง ทำตัวเป็นนักสืบหน่อยครับ ลองหาข่าวเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทใหม่มาอ่านเพื่อดูว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ สืบให้ได้ว่าทำไมคนเก่าถึงลาออก แล้วลาออกไปอยู่ไหน ลาออกกันยกทีมหรือเปล่า หรือข้างในมีการเมือง สืบจากคนที่ทำงานอยู่ในบริษัทนั้นที่เราไว้ใจได้ รู้ข้อดีข้อเสียของบริษัทให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วเอามาประกอบการตัดสินใจอีกทีว่า จากสถานการณ์ทั้งหมดที่เรารับทราบมา เรายอมรับได้ไหมที่จะกระโจนเข้าไป ถ้าคิดแล้วว่าได้ก็ลุยมันให้สุดตัวเลย ถ้าเราแก้ปัญหาได้เราก็เติบโตขึ้น แถมยิ่งมีวิกฤตสิเป็นโอกาสให้เราได้แสดงฝีมือ แต่ถ้าคิดดีแล้วว่าเราไม่โอเคที่จะไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น เราก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ ในชีวิตอีก จะอยู่ที่เก่าก็ได้ หรือจะไปที่อื่นก็ยังมี ประเด็นสำคัญมันคือการที่เรารู้หรือเปล่าว่ากำลังจะไปเจออะไรในที่ใหม่ แล้วเรายอมรับได้หรือเปล่า

 

หลักการทั่วไปของการที่เราได้เงินเดือนเยอะก็คือแปลว่าความรับผิดชอบของเราต้องเยอะตามเงินเดือนไปด้วย แน่นอนว่าเขาไม่ได้ให้เงินเราเยอะๆ แล้วให้เราไปนั่งสบายๆ เขาจ้างให้เราไปแก้ปัญหา อย่าให้ตัวเองเมาเงินที่เขาฟาดมาครับ เงินมันหอมหวานแน่นอน แต่ให้ผลประโยชน์ที่เขาเสนอมาเป็นสิ่งที่เราควรค่ากับมันจริงๆ เหมาะกับเราจริงๆ ไม่อย่างนั้นเราจะได้เงินมาเยอะแต่ไม่มีความสุขในการทำงานเลย ถึงตอนนั้นเราอาจจะยิ่งรู้สึกแย่กว่าเดิมก็ได้

 

เห็นได้ชัดครับว่าเขาอยากได้คุณ แต่ตอนนี้เขากำลังดึงอำนาจในการตัดสินใจมาอยู่ที่เขา เขากำลังต่อรองกับคุณอยู่ว่าเขามีตัวเลือกอื่นที่พร้อมจะมาทำงานเร็วกว่าคุณ สิ่งที่จะทำให้คุณมีไพ่ที่เหนือกว่าเขาได้ก็คือ คุณต้องทำให้พวกเขาคิดว่า ถ้าต้องการฉันจริงๆ ต้องรอฉันได้ และถ้ารอฉันได้ ฉันจะไม่ทำให้คุณผิดหวังเลย คนอื่นมีแต้มต่อคุณได้แค่ว่าเขามาเริ่มงานได้เร็วกว่าคุณแค่นั้น แต่ถ้าคุณทำให้เขาเห็นว่าคะแนนด้านฝีมือคุณมีเหนือกว่า คุณแน่จริง คุณเจ๋งจริง ถ้าอยากได้ก็ต้องฟังและให้เกียรติคุณ ไม่ใช่มาบีบว่ามีคนมาจ่ออยู่หน้าประตูรอเสียบอยู่ตลอดเวลา ผมคิดว่าบริษัทที่ทำให้พนักงาน (หรือแม้กระทั่งว่าที่พนักงาน) รู้สึกว่าเธอต้องสยบยอมต่อฉัน ฉันมีอำนาจต่อรองมากกว่าเธอ และฉันพร้อมจะเอาคนอื่นมาแทนที่เธอได้เสมอเพียงแค่เธอไม่พร้อม มันเป็นบริษัทที่ไม่ค่อยให้เกียรติคนทำงานเท่าไรในความรู้สึกของผม

 

แต่อย่างที่ผมบอกครับ คนเราจะมีไพ่ที่เหนือกว่าได้ก็ต่อเมื่อฝีมือเราเจ๋งพอที่เขาจะรอ หรือเล็งเห็นว่ามีแต่เราคนเดียวเท่านั้นที่ทำงานนี้ได้ ถ้าเมื่อไรที่เราเป็นคนที่ใครก็มาแทนที่ได้ เราจะไม่มีอำนาจในมือ อันนี้มันเป็นเรื่องกรรมเก่าแล้วว่าคุณสั่งสมประสบการณ์ในงานไว้มากขนาดไหน ฝีมือดีขนาดไหน เป็นที่เลื่องลือขนาดไหน

 

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณเชื่อมั่นว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ และคุณจะไม่ทำให้คนที่รอผิดหวังเลยที่เลือกคุณ ผมคิดว่าการบอกเขาตรงๆ ว่าคุณต้องการจบโปรเจกต์ที่ทำอยู่ให้เรียบร้อย ไม่มีประโยชน์ที่เราจะจากไปโดยทิ้งให้คนที่เคยอยู่ร่วมกันมาต้องเดือดร้อน และการเป็นมืออาชีพคือการที่เรารับผิดชอบงานอย่างดีที่สุดตั้งแต่วันแรกที่เราเข้าทำงานจนถึงวันสุดท้าย เพราะฉะนั้น มืออาชีพอย่างคุณก็ขอทำหน้าที่นี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะไปเป็นมืออาชีพในงานใหม่ที่สำคัญ คุณควรได้มีโอกาสจัดการเรื่องลาออกที่บริษัทปัจจุบันให้เรียบร้อยก่อน มันมีกฎระเบียบในการลาออกอยู่ที่คุณต้องให้เกียรติที่ทำงานปัจจุบัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว คุณพร้อมที่จะทำงานใหม่อย่างเต็มที่แน่นอน

 

โดยส่วนตัว ผมคิดว่าการลาออกที่ดีนั้นคุณควรจบกับที่ทำงานปัจจุบันให้เรียบร้อยดีก่อน อย่าโผไปหาที่ใหม่จนทำร้ายที่ทำงานเดิมที่เราอยู่กันมา วงการมันแคบ คุณจะถูกแบล็กลิสต์ได้ เสียชื่อหมดครับ ใครจะรู้ว่าวันหนึ่งอาจจะโคจรมาทำงานด้วยกันอีกก็ได้ เพราะฉะนั้น ไปจบให้ดี ส่วนที่ใหม่นั้น ถ้าเขาจะไม่เอาคุณ คุณไม่มีอะไรเสียเลย เพราะคุณทำถูกต้องแล้วที่ต้องจบกับที่เดิมให้เรียบร้อยก่อน เผลอๆ ที่ใหม่นี่ต่อให้เขาจะดีใจที่คุณรีบโผมาหาเขา แต่เขาเห็นแล้วนะครับว่าเงินฟาดคุณได้ เห็นแล้วว่าคุณพร้อมจะไปที่ใหม่แบบที่ไม่แลที่เก่า พร้อมจะไปได้ทุกเมื่อถ้าผลประโยชน์ดีกว่า เขาอ่านคุณออกแล้วและจะหมายหัวไว้แล้วว่าคุณเป็นคนแบบไหน ผมว่านี่สิที่น่าเป็นห่วงมากกว่า

 

ส่วนเรื่องโบนัส คุณสามารถบอกบริษัทใหม่ไปได้ตรงๆ ว่าคุณรอโบนัสอยู่ (ใครๆ ก็รอโบนัสไม่ใช่เหรอ ฮ่าๆ) ถึงตรงนี้ถ้าเขาอยากได้คุณจริงๆ บริษัทใหม่อาจจะคำนวณตัวเลขผลประโยชน์ให้คุณใหม่เพื่อโน้มน้าวใจคุณก็ได้ หรืออาจจะไม่ก็แล้วแต่ แต่คุณได้บอกความต้องการที่แท้จริงของคุณไปแล้ว และมันเป็นการคุยกันแบบแฟร์ๆ รับได้ก็อยู่ด้วยกันได้ รับไม่ได้ก็ไม่ใช่ แค่นั้นเลย สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ถ้าเขาให้ตัวเลขที่ดีกว่าและมันคือสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ ไม่ได้แปลว่าคุณจะถีบหัวที่เก่าไปเลยให้มันจบเรื่องได้นะครับ คุณยังคงต้องไปจบกับที่เก่าให้เรียบร้อย เพียงแค่ว่าคุณต้องยอมตัดใจที่จะไม่ได้อยู่ทำงานจนจบโปรเจกต์นั้น แต่คุณต้องส่งต่อทุกอย่างให้เรียบร้อยถ้าต้องยื่นใบลาออกล่วงหน้าตามกฎเท่าไรก็ทำตามกฎให้ถูกต้อง แลนดิ้งตัวเองให้สวยครับ

 

นอกจากนั้นแล้ว ที่คุณบอกว่าคุณรอโบนัสจากที่ปัจจุบันอยู่ คุณพอจะประเมินได้ไหมครับว่าคุณน่าจะได้โบนัสอยู่ที่เท่าไร หรือมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินอย่างแน่นอนหรือเปล่า ถ้ามีต้องมีเท่าไร และต้องใช้เมื่อใด สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมาพิจารณาได้ว่าคุณจำเป็นต้องรอหรือจำเป็นต้องไปเมื่อไร เราต้องเอาความจำเป็นในชีวิตมากางดูกันเลยล่ะครับ

 

เลือกงานก็เหมือนเลือกแฟนครับ เราต้องเอาความจริงมาพูดกัน และเคารพการตัดสินใจของกันและกัน เราถึงจะอยู่ด้วยกันได้ ให้คิดว่าช่วงเวลาก่อนจะก้าวขาไปทำงานบริษัทใหม่นี้เป็นช่วงการดูใจ ตราบเท่าที่คุณยังไม่ได้เซ็นสัญญา ทุกอย่างยังคงอยู่ในการพิจารณาเสมอ อะไรที่ไม่เป็นไปตามต้องการต้องสื่อสารกันให้รู้เรื่อง ไม่เริ่มตั้งแต่วันที่ยังไม่เซ็นสัญญาแล้วจะเริ่มกันวันไหนล่ะครับ ยังต้องอยู่ด้วยกันอีกยาว เช่นเดียวกัน จะเลิกกับคนเก่าไปหาคนใหม่ก็เลิกกันด้วยดี ไม่ใช่โผไปหาคนใหม่แบบถีบหัวคนเก่าชนิดไม่ไยดี จากกันก็ยังให้มองหน้ากันได้อยู่ ปรารถนาดีต่อกันได้อยู่

 

*ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post บริษัทใหม่อยากให้เริ่มงานเร็วที่สุด แต่เรายังรอโบนัสที่บริษัทเก่าอยู่ จะทำอย่างไรดีคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/quitting-job-vs-waiting-for-bonus-payment/feed/ 0
เป็นหัวหน้ามือใหม่กำลังจะมีลูกน้องคนแรก ต้องเลือกลูกน้องแบบไหนดีครับ https://thestandard.co/first-time-bosses-first-employee/ https://thestandard.co/first-time-bosses-first-employee/#respond Wed, 26 Dec 2018 11:14:32 +0000 https://thestandard.co/?p=171358

Q: เพิ่งได้รับการโปรโมตให้เป็นหัวหน้าที่ต้องมีลูกน้องคร […]

The post เป็นหัวหน้ามือใหม่กำลังจะมีลูกน้องคนแรก ต้องเลือกลูกน้องแบบไหนดีครับ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: เพิ่งได้รับการโปรโมตให้เป็นหัวหน้าที่ต้องมีลูกน้องครั้งแรกครับ ทั้งตื่นเต้นและกดดันกับการมีลูกน้องคนแรก ผมควรเลือกลูกน้องอย่างไรดีครับ

 

A: ยินดีกับหัวหน้ามือใหม่ด้วยครับ พี่บอกเลยว่าพอขยับมาเป็นหัวหน้าแล้วน้องจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายที่ทำให้น้องเติบโตขึ้นอีกเยอะ ทำงานคนเดียวที่ต้องควบคุมตัวเองว่ายากแล้ว การทำงานเป็นทีมที่ต้องบริหารคนนี่ยากยิ่งกว่าครับ แต่ไม่ต้องกลัวครับ ครั้งแรกมันยากเสมอ

 

อย่างแรกเลย สิ่งที่น้องจะต้องเจอคือการเลือกลูกน้อง ถ้าน้องได้มีโอกาสสัมภาษณ์งานเพื่อหาลูกน้องตัวเอง พี่อยากแนะนำว่าอย่ามองหาคนที่เหมือนเราทุกอย่าง หรือเป็น ‘Mini-me’ ของตัวเรา ปกติแล้วเรามักจะชอบคนที่คล้ายเรา นิสัยคล้ายเรา มีความสามารถคล้ายเรา เพราะอยู่ด้วยแล้วสบายใจ แต่ทีมที่แข็งแกร่งคือทีมที่ประกอบไปด้วยคนที่แตกต่างกัน แต่ละคนเก่งกันคนละแบบ และนำความเก่งนั้นมาช่วยเสริมความแกร่งซึ่งกันและกัน เติมเต็มจุดอ่อนจุดแข็งให้กันและกัน

 

ตอนที่พี่ยังเป็นหัวหน้ามือใหม่แล้วต้องสัมภาษณ์งานลูกน้อง พี่ก็เคยได้บทเรียนนี้ครับ ด้วยความที่พี่เป็นคนถนัดเรื่องภาษา ถนัดการเขียน พี่ก็เลือกลูกน้องที่เขียนเก่งมา ซึ่งหัวหน้าของพี่ก็เคยแนะนำพี่ไว้ว่าควรเลือกลูกน้องที่ไม่เหมือนเรา แต่ตอนนั้นพี่รู้สึกชอบน้อง Mini-me มากกว่า ไม่ได้บอกนะครับว่าเลือกมาแล้วน้องไม่เก่ง น้องเขาเก่งมากเลยล่ะโดยเฉพาะเรื่องเขียน ให้เขียนอะไรเขียนดีหมด มีงานที่ต้องใช้การเขียนนี่ยกให้เขาแล้วหายห่วงเลย แต่กลายเป็นว่าหัวหน้ากับลูกน้องเหมือนกันไปหมด ไม่ได้มีทักษะอื่นในทีมที่งอกเงยออกมา เก่งเรื่องไหนก็เก่งจังเลยในเรื่องนั้น แต่เรื่องที่ไม่เก่งก็ยังแหว่งๆ วิ่นๆ อยู่อย่างนั้นเหมือนเดิม ซึ่งสิ่งเหล่านี้พอพี่รู้ตัวแล้ว พี่ก็ต้องหันมามองลูกน้องตัวเองว่า นอกจากสิ่งที่น้องเก่งเรื่องเดียวกับเราแล้ว น้องเก่งเรื่องไหนอีกบ้าง เราจะได้ไปพัฒนาส่วนนั้นต่อให้เขาสามารถทำแทนเราได้ หรือมีเรื่องไหนบ้างที่เป็นจุดอ่อนของน้อง เราจะได้ไปหาคนมาช่วยเสริม หรือเรานี่แหละที่ต้องมีสิ่งที่น้องไม่มีขึ้นมาให้ได้

 

ทีมฟุตบอลที่แข็งแกร่งนั้น นักฟุตบอลแต่ละตำแหน่งต้องมีทักษะที่ต่างกันเพื่อมาอยู่ร่วมกันให้ทั้งทีมมีความสามารถครบถ้วน คนที่ทำหน้าที่กองหน้าย่อมต้องการทักษะ ทัศนคติ วิธีคิด และประสบการณ์ที่ต่างจากคนที่ทำหน้าที่ผู้รักษาประตู เราสร้างทีมที่ทุกคนเหมาะกับเป็นกองหน้าไปทั้ง 11 คนคงไม่ได้ เพราะเราจะไม่มีกองหลัง ผู้รักษาประตู ตัวสำรอง ฯลฯ ที่เก่ง เพราะฉะนั้น ในฐานะที่น้องเป็นหัวหน้าทีม หรือเป็นผู้จัดการทีม การเลือกคนมาอยู่ในแต่ละตำแหน่งจึงต้องเลือกคนที่มีทักษะที่หลากหลายมาอยู่ร่วมกันในทีม

 

นั่นแปลว่าน้องต้องรู้จักตัวเองให้ดีก่อนว่าน้องเก่งในเรื่องอะไร และน้องต้องการคนแบบไหนมาเสริมทีม เสริมในสิ่งที่น้องอาจจะไม่ได้ถนัดมาก หรืออาจจะเป็นสิ่งที่ทีมต้องการเพื่อให้มีความสามารถรอบด้าน นั่นแหละครับ บทเรียนแรกของการเป็นหัวหน้าคือหาจุดอ่อน จุดแข็งของตัวเองให้เจอและยอมรับมัน เพื่อเปิดใจให้คนอื่นเข้ามาเติมเต็มทีม อย่าคิดว่าการเป็นหัวหน้าแล้วแปลว่าเราต้องเก่งที่สุด เก่งทุกอย่าง มันไม่มีใครเก่งทุกเรื่องหรอกครับ แต่เราต้องรู้จุดแข็งจุดอ่อนของเรา และต้องหาคนมาทำในสิ่งที่เราไม่ได้ถนัดที่สุด

 

แต่ไม่ได้แปลว่าน้องจะหาลูกน้องที่เก่งในเรื่องที่น้องไม่ถนัดมาแล้วจะปล่อยเลยตามเลยนะครับ น้องอาจจะไม่ได้เก่งบนเรื่องนั้นเท่าลูกน้อง แต่น้องควรต้องมีความรู้พื้นฐานบนเรื่องนั้นมากพอที่จะทำงานกับลูกน้องได้ ไม่ใช่ความรู้เรื่องนั้นเป็นศูนย์แล้วไปสั่งการเขา แบบนั้นพูดกันไม่รู้เรื่อง คอมเมนต์งานก็ไม่ได้ ลูกน้องเองก็จะไม่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม ยิ่งถ้าเขารู้สึกว่าหัวหน้าของเขาไม่รู้เรื่องเขาจะยิ่งไม่ศรัทธาในตัวหัวหน้า น้องจะทำอะไรเขาก็ไม่เชื่อมั่นในตัวน้อง อันนี้จะแย่

 

คำแนะนำของพี่คือ เรื่องไหนที่เราเก่ง แน่นอนว่าเราก็ต้องพัฒนาให้เก่งขึ้น แต่อย่าละเลยเรื่องที่เราไม่เก่ง พอรู้ว่าตัวเองไม่เก่งบนเรื่องไหนแล้ว เราต้องไปเพิ่มเติมความรู้ในส่วนนั้นด้วย เพราะที่สุดแล้ว เมื่อเรามาทำงานที่มีลูกน้องหรือคนในทีมต้องทำเรื่องนั้นแทนเรา เรายังต้องมีความรู้ ความสามารถในระดับที่สามารถทำงานกับเขาได้อยู่ อย่าไปกลัวที่จะเรียนรู้เรื่องที่เราไม่ถนัดครับ เปิดใจแล้วเรียนรู้ เรื่องที่เราไม่รู้ก็เพราะเราแค่ไม่คุ้นเคยกับมันเท่านั้นเอง

 

ตอนหาลูกน้องใหม่ๆ เรามักจะเลือกเฟ้นเป็นดิบดีเพราะเราต้องการคนที่สมบูรณ์แบบ อารมณ์เดียวกับเลือกแฟนแหละครับ แต่จริงๆ มันไม่มีใครสมบูรณ์แบบหรอกนะครับ พี่คิดว่ายิ่งเป็นน้องจบใหม่ เด็กจูเนียร์ พวกนี้เราดูทัศนคติก่อนเลยว่าเขาดูพร้อมจะเรียนรู้ไหม เป็นน้ำเต็มแก้วหรือเปล่า ใจสู้หรือเปล่าเวลาเจอความกดดัน หยิบโหย่งไหม พวกประสบการณ์เรามาเติมได้ครับ แต่จุดตั้งต้นมาก็ต้องดีหน่อยนะ ไม่ใช่ว่าไม่รู้อะไรเลยก็คงไม่ไหว หาคนที่เราพอจะปั้นได้น่าจะดีกว่า

 

สิ่งที่พี่อยากบอกอีกอย่างคือ ถ้าเลือกลูกน้องผิดก็ไม่เป็นไรนะ ให้เป็นประสบการณ์ ใครมันจะไปเลือกถูกทุกโจทย์ในชีวิต บางคนเราคิดว่าดี มาทำงานจริงดันไม่ดีก็เป็นได้ แต่สิ่งที่จะช่วยป้องกันได้ก็คือ ตอนสัมภาษณ์อย่ารีบร้อน คุยกันสักสองสามรอบ นอกจากคุยแล้ว เราลองให้โจทย์ในการทำงานให้เขาคิดดูก็ดีครับ เราได้เห็นความสามารถของเขาด้วย

 

เรื่องสุดท้ายที่พี่อยากบอกน้องไว้ก่อนเลยก็คือ เมื่อน้องเป็นหัวหน้าไปเรื่อยๆ น้องจะพบว่ามีลูกน้องมาลาออก อย่าคิดว่าลูกน้องไม่รักหรือลูกน้องทรยศเรา พี่เข้าใจว่าแน่นอนแหละว่าลูกน้องที่เราปั้นมาทั้งคนมาลาออกกับเราเราคงเสียดายเป็นธรรมดา และเผลอๆ จะมีคำถามกับตัวเองว่าเราทำอะไรหรือเปล่า แต่เชื่อเถอะว่าในอนาคตน้องจะเจอลูกน้องลาออกอีกหลายคนเป็นเรื่องธรรมดาของการเปลี่ยนแปลง แต่ละคนลาออกด้วยเหตุผลที่ต่างกัน ให้เราคิดว่า ณ เวลาที่เราอยู่เป็นหัวหน้าเขา ไม่ว่าจะยาวนานแค่ไหนก็ตาม ขอให้เราทำหน้าที่หัวหน้าที่ดี ให้เขานึกถึงเราแล้วรู้สึกว่าภูมิใจที่ได้เป็นลูกน้องเรา อยู่กับเราแล้วได้บทเรียนหลายอย่าง และอยากจะเป็นหัวหน้าที่ดีแบบเรา

 

แต่พี่ก็บอกไว้ก่อนเหมือนกันว่าบางครั้งกับลูกน้องบางคนเราก็อาจจะจบไม่สวย ให้คิดว่าเราได้บทเรียนจากการมีลูกน้องคนนี้บ้าง มีอะไรที่เราจะปรับปรุงแก้ไขได้ ที่สำคัญ เราบังคับเขาไม่ได้ เขามีสิทธิ์ที่จะรู้สึกไม่ดีกับเรา และแน่นอนว่าบางทีเรา ณ เวลาหนึ่งก็อาจจะทำตัวไม่ดี พี่ว่าก็เป็นบทเรียนครับ แต่อย่าไปผูกใจเจ็บกับใคร โลกมันกลมครับน้อง วันหนึ่งอาจจะโคจรมาเจอกันอีก

 

เป็นหัวหน้าคนมันไม่ง่ายเลย และเมื่อน้องเป็นหัวหน้าแล้วน้องจะยิ่งรักหัวหน้าที่ดีกับน้องมากขึ้นกว่าเดิม พี่อยากให้น้องเอาบทเรียนที่ได้จากหัวหน้าคนก่อนๆ มาใช้ อย่างน้อยตอนเราเป็นลูกน้อง เรารู้แล้วว่าหัวหน้าแบบไหนที่ลูกน้องทำงานด้วยแล้วมีความสุข ทำงานด้วยแล้วงานเดินหน้า ลูกน้องเติบโต หัวหน้าแบบไหนลูกน้องไม่อยากทำงานด้วยเลย น้องมีบทเรียนโดยตรงให้เห็นแล้ว เอามาปรับใช้ให้น้องเป็นหัวหน้าแบบที่น้องอยากเป็น

 

และจำไว้เสมอครับว่าหัวหน้าคนแรกสำคัญมาก คนที่จะมาเป็นลูกน้องคนแรกของน้องก็อาจจะมีน้องเป็นหัวหน้าคนแรกเหมือนกัน ถ้าเราตั้งใจเป็นหัวหน้าที่ดี แน่นอนว่ามันไม่มีทางสมบูรณ์แบบหรอก อย่าไปเครียด แต่ให้เป็นหัวหน้าที่ดีที่สุดเท่าที่เราทำได้ ณ เวลานี้ ก็ถือว่าน้องกำลังวางรากฐานให้กับ ‘ว่าที่หัวหน้าในอนาคต’ คนต่อไปแล้วล่ะครับ

 

พี่เป็นกำลังใจให้ครับ

 

*ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post เป็นหัวหน้ามือใหม่กำลังจะมีลูกน้องคนแรก ต้องเลือกลูกน้องแบบไหนดีครับ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/first-time-bosses-first-employee/feed/ 0
สิ่งที่พี่ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ อยากบอกเด็กที่กำลังจะเรียนจบคืออะไรคะ? https://thestandard.co/new-graduates-learn-in-their-first-year-of-employment/ https://thestandard.co/new-graduates-learn-in-their-first-year-of-employment/#respond Thu, 06 Dec 2018 03:00:53 +0000 https://thestandard.co/?p=159972

Q: หนูกำลังจะเรียนจบค่ะ ตื่นเต้นเหมือนกันที่กำลังจะกลาย […]

The post สิ่งที่พี่ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ อยากบอกเด็กที่กำลังจะเรียนจบคืออะไรคะ? appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: หนูกำลังจะเรียนจบค่ะ ตื่นเต้นเหมือนกันที่กำลังจะกลายเป็นคนทำงาน ไม่รู้ว่าจะไปเจออะไรบ้าง พี่ท้อฟฟี่มีอะไรอยากบอกเด็กที่กำลังจะเรียนจบอย่างหนูและอีกหลายๆ คนไหมคะ



A: ยินดีด้วยกับว่าที่บัณฑิตและว่าที่มนุษย์ทำงานคนใหม่ครับ มีเรื่องใหม่ๆ รอให้น้องเรียนรู้อีกมากมาย เก็บความตื่นเต้นนี้ไว้นะครับ เพราะพอโตไป ทำงานไปเรื่อยๆ บางทีน้องอาจจะไปเจอช่วงเวลาที่ความตื่นเต้นมันมอดไปกลายเป็นความซังกะตาย อย่าปล่อยให้ตัวเองไปถึงจุดนั้น แต่ถ้าบังเอิญเกิดความรู้สึกแบบนั้นจริงๆ ขอให้น้องอย่าปล่อยให้ตัวเองเฉาจนหมดความหมาย และขอให้รู้ว่าทุกปัญหาจะมีทางออก เอาน้องคนเดิมที่ตื่นเต้นกับชีวิตกลับคืนมา



สัปดาห์ก่อน พี่ได้รับเกียรติให้กล่าวสุนทรพจน์ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พี่ร่างสุนทรพจน์ไว้และคิดว่าสิ่งที่พี่ได้พูดวันนั้นน่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ไม่ว่าน้องจะทำงานอยู่สายไหนก็ตาม พี่ขอเอามาแบ่งปันกับน้องๆ ครับ



ผมเกิดและเติบโตที่บ้านที่ชื่อคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ ออกจากบ้านนี้ไปหลายปี วันนี้ได้กลับบ้าน ผมมีเรื่องมากมายที่อยากจะเล่าให้ฟัง



นอกจากการเป็นนักเขียน มนุษย์ออฟฟิศ พีอาร์ และ Content Creator แล้ว อีกหนึ่งอาชีพที่ผมทำอยู่ งานที่ผมรัก และเป็นงานที่พาผมไปสู่บทเรียนใหม่ๆ เสมอก็คือการเป็นนักสัมภาษณ์



ผมเรียกอาชีพนักสัมภาษณ์ว่า นักทำให้คนตกหลุมรักใน 7 วินาที เพราะมีวิจัยเคยบอกว่า 7 วินาทีแรกที่เราเจอกันคือช่วงเวลาที่สำคัญ และภาพของเราจะถูกจดจำไปตลอดในฐานะนักสัมภาษณ์ ผมคือคนแปลกหน้าที่จะต้องไปคุยกับคนดัง และต้องทำให้เขารู้สึกไว้วางใจผม รู้สึกเชื่อมั่นในตัวผม รู้สึกปลอดภัยที่จะเปิดเผยความรู้สึกกับผม นั่นแหละครับที่ทำให้ผมต้องทำให้เขาตกหลุมรักผมให้ได้ภายในเวลารวดเร็วที่สุด



หัวใจหลักของนักสัมภาษณ์คือ คำถาม แต่คำถามแบบไหนกันที่เป็นคำถามที่ควรถาม



ครั้งหนึ่งผมเคยได้ดูงานแถลงข่าวหนังเรื่อง The Avengers ซึ่งมี สการ์เล็ตต์ โจแฮนส์สัน เป็นนักแสดงนำหญิงคนเดียวท่ามกลางนักแสดงชายทั้งเรื่อง นักข่าวถามนักแสดงทีละคน และเมื่อถึงคำถามของ สการ์เล็ตต์ โจแฮนส์สัน นักข่าวถามเธอว่า “คุณดูแลรูปร่างอย่างไรเพื่อให้ดูเซ็กซี่และใส่ชุดรัดรูปถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้” สการ์เล็ตต์ตอบกลับนักข่าวคนนั้นว่า “คุณถามคำถามที่ฉลาดกับเพื่อนนักแสดงชายของฉัน และถามฉันด้วยคำถามว่าฉันดูแลรูปร่างอย่างไร…อย่างนั้นน่ะหรือ”



ผมกลับมาดูบ้านเราและพบว่า เรามีดาราเก่งๆ อยู่มากมาย แต่ไม่ว่าเขาหรือเธอจะเก่งแค่ไหน เมื่อนักข่าวยื่นไมค์ไปถาม พวกเขาจะมีค่าเพียงแค่คำถามว่า เลิกกันหรือยัง ขาเตียงยังดีอยู่ไหม ตกลงดราม่าที่เขาเมาท์กันเป็นจริงหรือเปล่า ตกลงใครแย่งใคร ดาราคนนั้นเขาพาดพิงว่าอย่างนี้ ดาราคนนี้ว่าอย่างไร บนพื้นที่สื่อนั้น ความสามารถของพวกเธอไม่มีความหมายเท่าการได้เป็นเมียใครสักคน และมันบอกว่าสื่อให้ความสำคัญกับเรื่องบนเตียงมากกว่าเรื่องอื่นๆ ที่มนุษย์คนหนึ่งทำมาในชีวิต และเราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘การเป็นข่าว’



แต่ผมเชื่อว่าชีวิตคนเรามีอะไรมากกว่านั้น ทุกๆ คนมีเรื่องราวของตัวเอง และชีวิตของพวกเขาน่าจะเป็นบทเรียนให้กับคนอื่นๆ ได้ ผมเชื่อว่าพวกเขามีสิ่งนั้นอยู่ เพียงแต่ยังไม่มีใครเคยถามเขา ไม่มีใครเคยให้ความหมายเขามากไปกว่าเรื่องผู้ชาย



ในฐานะนักสัมภาษณ์ ผมตั้งมั่นว่าผมจะถามคำถามที่เป็นประโยชน์กับคนอ่าน ผมจะถามคำถามที่ให้แรงบันดาลใจกับคนดู ผมจะถามคำถามที่สะท้อนถึงการตกผลึกทางความคิดของคนตอบ และคำตอบนั้นจะเป็นประโยชน์ในการเติบโตของทั้งคนถาม คนตอบ และคนอ่าน และนี่คือสิ่งที่ผมถามและคำตอบที่ผมได้รับ



ผมถาม ปอย ตรีชฎา ว่า คุณคิดอย่างไรกับการที่วงการบันเทิงให้บทบาทกับสาวประเภทสองเป็นเพียงคนตลก บ้าผู้ชาย ตายตอนจบเพราะไม่มีใครรักจริง ปอยตอบว่า จะให้ปอยทำอะไรก็ได้ แต่ปอยจะไม่ยอมทำซ้ำ Stereotype ที่วงการบันเทิงพยายามตอกย้ำภาพลักษณ์ของสาวประเภทสอง และต่อให้มันจะทำให้ปอยไม่มีงาน ปอยก็จะยึดมั่นในการไม่ผลิตซ้ำชุดความคิดแบบ Stereotype นี้



ผมถาม พลอย เฌอมาลย์ ว่า คุณรู้สึกอย่างไรกับ 2 ปีที่หายไปอยู่เงียบๆ จากวงการบันเทิง 2 ปีที่ไม่ต้องโดนตัดสิน และพลอยบอกผมว่า ที่จริงแล้วพลอยเป็นโรคซึมเศร้า และวินาทีนั้น ผมวางบทบาทนักสัมภาษณ์ไว้ข้างๆ แล้วทำหน้าที่เพื่อนมนุษย์คนหนึ่งที่รับฟังเรื่องราวของเพื่อนมนุษย์อีกคน ฟังอย่างไม่มีการตัดสิน เพราะนาทีนั้น เธอเพียงต้องการคนรับฟัง ไม่ใช่คนที่ตัดสินเธอ และนั่นเป็นสัมภาษณ์ครั้งแรกและครั้งเดียวที่พลอยยอมพูดเรื่องโรคซึมเศร้า และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าลุกขึ้นมาอีกครั้ง – อย่างที่พลอยทำ



ผมถาม พี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ว่า ในฐานะการเป็นคนที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ การมีชื่อเสียงจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร และพี่เบิร์ดบอกว่า การมีชื่อเสียงคือการอยู่ในที่โล่ง เราจะได้รับแดดอ่อนๆ ลมเย็นๆ ได้กลิ่นดอกไม้หอมมากกว่าคนอื่น แต่ก็ต้องเผชิญห่าฝนมากกว่าใคร เจอแดดเปรี้ยงมากกว่าใคร ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีความรักเป็นอาภรณ์ รักงานที่เราทำ รักคนดู รักคนที่ทำงานให้เรา และต้องรับผิดชอบ เหล่านี้แหละคือปาร์เกต์ที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จ



ผมถาม ทาทา ยัง ว่า ในฐานะคนที่สูญเสียพ่อแม่ไปแล้ว คุณมีอะไรอยากจะบอกคนที่ยังมีพ่อแม่อยู่ และเธอบอกว่า ดูแลพ่อแม่ให้ดีที่สุดในเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ จะได้ไม่ต้องมาเสียดายในเวลาที่ท่านจากไปแล้ว ผมบอก ทาทา ยัง ว่า ชีวิตคุณช่างมหัศจรรย์เหลือเกิน และเธอบอกผมว่า ชีวิตทุกคนมีความมหัศจรรย์หมด อยู่ที่เราจะมองเห็นความมหัศจรรย์นั้นไหม ถ้าเราเชื่อว่าชีวิตเรามีความมหัศจรรย์ เราก็ทำให้มันมหัศจรรย์ซะสิ



ทุกครั้งที่ผมได้ไปสัมภาษณ์ด้วยคำถามแบบนี้ ผมพบว่าไม่เพียงผมได้รู้จักคนตอบมากขึ้น แต่ทุกคำถามทำให้คนตอบได้กลับมาสำรวจชีวิตตัวเอง เขาได้มีบทสนทนาภายในตัวเองและตกผลึกความคิด ผมได้เรียนรู้จากเขา และเขาเองก็ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นจากการตั้งคำถาม ที่สำคัญและผมคิดอยู่เสมอคือ คนอ่านจะต้องได้ประโยชน์จากคำถาม ผมทำการสัมภาษณ์เพื่อให้ทั้งคนถาม คนตอบ และคนอ่าน ได้เรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งมันเริ่มต้นจากคำถามที่ดีนี่แหละครับ



ดาราทุกคนที่ผมไปสัมภาษณ์บอกกับผมว่า เขาดีใจที่ในที่สุดก็มีคนมาถามเรื่องแบบนี้กับเขาที่มากไปกว่าเรื่องผู้ชาย และเมื่อเราให้ความหมายกับเขาก่อน เขาก็จะให้ความหมายกับเรา



แต่ต่อให้เราไม่ได้เป็นสื่อ ไม่ได้เป็นนักสัมภาษณ์ ผมคิดว่าชีวิตของเราก็ควรมีการตั้งคำถามกับตัวเองและค้นหาคำตอบอยู่เสมอ เพราะกระบวนการค้นหาคำตอบจะทำให้เราได้เรียนรู้ ทำให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้น และทำให้เรามีความหมาย



คำถามสุดท้ายที่ผมมักจะถามทุกคนในทุกการสัมภาษณ์ก็คือ ผมขอให้เขาเล่า 3 บทเรียนที่มีค่าที่สุดที่เขาได้เรียนรู้จากการใช้ชีวิต และคิดว่านี่จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับคนอื่น



ผมคิดว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่สำคัญมาก เพราะมันพาให้คนตอบสำรวจชีวิตที่ผ่านมาทั้งหมดของตัวเอง และเลือกส่งต่อบทเรียนที่มีค่าที่สุดให้กับคนอื่น ที่สุดแล้ว การใช้ชีวิตของเรานั้นก็เพื่อให้เราได้เรียนรู้ และส่งมอบการเรียนรู้นี้ให้กับคนอื่นๆ ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เรากำลังสร้างคนรุ่นใหม่ๆ ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในสมัยของเรา และถ้าจะมีใครมีชีวิตที่ดีขึ้นจากบทเรียนในชีวิตของเรา ผมคิดว่านั่นแหละคือความหมายของการมีชีวิตอยู่



จบจากวันนี้ไปแล้ว ผมอยากฝากให้คำถามนี้ดังอยู่ในใจพวกเราทุกคนอยู่ตลอด คิดใคร่ครวญและตอบคำถามนี้ให้ได้ว่า ‘เราเกิดมาเพื่ออะไร’ และใช้ชีวิตที่เรามีอยู่ทำสิ่งนั้น มอบบทเรียนที่มีค่าที่สุดที่ได้จากการใช้ชีวิตให้เป็นบทเรียนกับคนอื่นๆ เพราะวันที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเราคือวันที่เราเกิดมา และวันที่เรารู้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร



คำถามที่ผมอยากถามทุกคนและหวังว่าวันหนึ่งทุกท่านจะได้พบคำตอบ และส่งต่อบทเรียนที่ได้จากคำตอบนั้นกับคนอื่นๆ ก็คือคำถามว่า ‘เราเกิดมาเพื่ออะไร’



4507610105 ชญาน์ทัต วงศ์มณี ผมเกิดมาเพื่อเป็นสื่อที่ดี และใช้การเป็นสื่อทำให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้น



ขอบพระคุณทุกท่านครับ

 

ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post สิ่งที่พี่ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ อยากบอกเด็กที่กำลังจะเรียนจบคืออะไรคะ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/new-graduates-learn-in-their-first-year-of-employment/feed/ 0
ต้องพยายามอีกแค่ไหนถึงจะประสบความสำเร็จคะ https://thestandard.co/dare-to-fail/ https://thestandard.co/dare-to-fail/#respond Wed, 28 Nov 2018 10:23:44 +0000 https://thestandard.co/?p=155388

Q: เหนื่อยจังเลยค่ะ ทำงานมาหลายปีก็ยังไม่ประสบความสำเร็ […]

The post ต้องพยายามอีกแค่ไหนถึงจะประสบความสำเร็จคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Q: เหนื่อยจังเลยค่ะ ทำงานมาหลายปีก็ยังไม่ประสบความสำเร็จสักที พยายามแล้วนะคะ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องพยายามถึงเมื่อไร ยอดเขามันไกลเหลือเกินค่ะ จะไปต่อไม่ไหวแล้วนะคะ

 

A: ต้องบอกคุณอย่างหนึ่งว่า เออ…บางทีเราก็ไม่ประสบความสำเร็จครับ บางทีเราก็ไปไม่ถึงยอดเขาครับ ผมพูดจริง!

 

ที่ต้องบอกแบบนี้ก็เพราะว่าผมไม่อยากให้คุณกลัวหรือยึดติดกับคำว่าประสบความสำเร็จมาก มีคำหนึ่งที่ผมชอบมาก และคิดว่าโคตรจริงจนอยากแบ่งปันกับคุณก็คือคำว่า ‘Dare to fail’ กล้าที่จะล้มนี่แหละครับ ต่อให้บางทีมันเป็นการล้มหน้าคว่ำแล้วกลิ้งตกลงมาต่อก็เถอะ

 

ใน YouTube มีคนเคยรวมคลิปนางแบบที่ล้มกลางรันเวย์ อาชีพนางแบบเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของคนที่ต้องมีสมาธิสูง ใครว่าเป็นอาชีพง่ายๆ แค่เดินไปเดินมา ที่จริงคนทำอาชีพนี้ต้องพร้อมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างชาญฉลาด เราชอบดูการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเวลาที่พวกเธอล้ม บางคนล้มไม่เป็นท่า และดูทรงแล้วต้องเจ็บมากแน่ๆ แต่ก็สามารถลุกขึ้นมาเดินแบบได้ต่อจนจบ นางแบบระดับโลกก็เคยล้มกันหมด (บางคนส้นสูงพลิกจนกลิ้งเลยก็มี) แต่การลุกและเดินต่ออย่างสง่างามทำให้พวกเธอยังอยู่รอดในอาชีพนี้ได้เต็มภาคภูมิ

 

นางแบบบางคนที่มีประสบการณ์สูงมาก นอกจากจะรู้ว่าวิธีการเดินให้สวยแล้ว ยังรู้ไปถึงว่า ถ้าจะล้ม จะล้มอย่างไรให้ไม่บาดเจ็บ ล้มแบบไหนดูไม่น่าเกลียด ลุกขึ้นแบบไหนถึงจะดูสง่า ต้องจัดระเบียบร่างกายแบบไหน

 

เช่นเดียวกัน เรามักเรียนรู้แต่วิธีการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ จะทะยานอย่างไรให้ไกลที่สุด แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องเรียนรู้ให้มากพอกับเรื่องความสำเร็จคือ การรับมือกับความล้มเหลว เหมือนนางแบบที่ต้องรู้ทั้งการเดินให้สวย และการล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ให้สวย

 

ตอนเป็นเด็ก ก่อนที่เราจะเดินได้ เราเคยล้มลุกคลุกคลานมาหลายต่อหลายครั้ง แต่ถ้าเราหยุดตัวเองตั้งแต่การล้มครั้งแรกๆ บางทีป่านนี้เราอาจจะเดินไม่ได้ วิ่งไม่ได้ กระโดดไม่ได้ ฯลฯ ก็เป็นได้ นั่นขนาดว่าตอนนั้นเราเด็กมากแล้ว และถ้าตอนนี้ที่เป็นผู้ใหญ่แล้วเราไม่ยอมลุกขึ้นใหม่ ก็เท่ากับเรายอมแพ้ตัวเองตอนเด็กด้วยซ้ำ

 

มันอยู่ที่ว่าเราอยากให้โลกจดจำเราในตอนที่ล้มไม่เป็นท่า หรือจำว่าเราลุกขึ้นยืนหยัดอย่างทระนง

 

ในโลกการทำงาน มันจะมีบางครั้งที่เราทำดีที่สุดแล้ว แต่ผลออกมาไม่ดีอย่างที่เราตั้งใจ และเราอาจจะเกิดคำถามว่า ต้องพยายามอีกเท่าไร (วะ) ถึงจะพอ ตามมาด้วยเสียงกรีดร้องว่า ไม่ไหวแล้วโว้ย!

 

ถ้าเราทำเต็มกำลังความสามารถแล้ว แม้ผลออกมาไม่ดีเท่าที่เราหวัง แต่เราอย่าดูถูกตัวเอง เราต้องให้กำลังใจตัวเอง ควรภูมิใจตัวเองว่าเราได้ทำเต็มความสามารถ เต็มศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่เรามี เราไม่ได้ดูถูกตัวเองด้วยการทำงานแบบถีบส่งให้มันเสร็จๆ ไปเสียหน่อยนี่ครับ ถ้าเราไม่เต็มที่สิค่อยน่าเสียใจว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพของเราให้เต็มพลัง แต่นี่เต็มที่ของเราที่สุดแล้ว ณ เวลานั้น ด้วยประสบการณ์แบบนั้น วุฒิภาวะเท่านั้น ถ้าเราทำเต็มที่แล้ว น่าภูมิใจนะครับ

 

ถ้าเราทำเต็มที่ มันมีผลลัพธ์สองทางที่เป็นไปได้คือ สำเร็จอย่างที่ตั้งใจ กับไปไม่ถึงที่หวัง แต่ไม่มีคำว่าล้มเหลว แต่ถ้าเราทำไม่เต็มที่ มันมีผลลัพธ์สองทางที่เป็นไปได้คือ ผ่านพ้นไปได้แบบไม่มีอะไรน่าภูมิใจ กับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า เห็นไหมครับว่ามันก็ยังมีข้อดีของความพยายามอยู่

 

วันนี้อาจไม่ใช่วันของเรา แต่ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่มีวันที่เป็นของเรา มันต้องการการสั่งสมประสบการณ์และเวลา ถ้าทุกอย่างถึงพร้อม มันก็จะถึงวันนั้นเอง ผมว่าอะไรที่มันได้มาง่ายเกินก็อาจทำให้เราไม่เห็นคุณค่าของมันนักก็ได้ครับ พยายามต่อไป

 

อย่างน้อยบนความพยายามอย่างถึงที่สุด เราก็คงได้เรียนรู้ว่าการทุ่มเทให้กับความฝันสักอย่างในชีวิตมันเป็นแบบนี้นี่เอง และถ้าผลมันไม่เหมือนอย่างที่หวัง อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ว่าความผิดหวังมันเป็นอย่างไร ได้รู้อีกว่าทำแบบนี้มันไม่เวิร์ก ลองหาวิธีใหม่ไหม

 

อาจจะไม่ชนะ แต่เราก็ไม่แพ้

 

อาจจะไปไม่ถึงยอดเขา แต่เราก็ไม่ได้อยู่ที่เดิมอีกต่อไป

 

บางทีเวลาที่เรามัวแต่โฟกัสว่า โห…ทำไมฉันยังไม่ถึงยอดเขาสักที ทำไมมันไกลขนาดนี้ ฉันต้องเดินไปอีกเท่าไร มันทำให้เราลืมมองดูว่า เฮ้ย! แต่เมื่อวานเรายังมาไม่เท่านี้เลยนะ วันก่อนนั้นเรายังอยู่ตรงโน้นเลย หรือต่อให้พอก้มลงมาดูแล้ว เราจะก้าวมาจากเดิมได้ไม่กี่ก้าว แต่นั่นไงครับ เรามาไกลกว่าเดิมแล้วนะครับ

 

ผมคิดว่าแทนที่จะไปผูกใจไว้กับยอดเขาอย่างเดียวแล้วมันทำให้เรารู้สึกว่ามันโคตรไกลเลย ลองดูไหมครับว่าในแต่ละวันเรามีความสำเร็จเล็กๆ อะไรบ้าง วันนี้เรายิ้มให้เพื่อนร่วมงานนะ วันนี้โกรธอยากชกหน้าคนมากเลยนะ แต่ดับความโกรธได้ ทำให้ไม่ต้องอาละวาด วันนี้เราทำงานชิ้นนี้เสร็จนะ วันนี้เราทำเรื่องเดิมนะ แต่เราทำได้คล่องขึ้นอีก วันนี้เห็นป้ายเซลแต่ห้ามใจไม่ซื้อได้ เพราะเกินงบแล้ว วันนี้ดื่มน้ำครบ 8 แก้วได้ ฯลฯ ถ้าเรามองเห็นโมเมนต์ความสำเร็จเล็กๆ แบบนี้อยู่เสมอ เราจะพบว่า แต่ละวันเรามีเรื่องดีๆ อยู่ ชีวิตไม่ได้แย่เกินไปนี่ หรือถ้ามันดันแย่มาก แค่เราสามารถเอาตัวกลับไปถึงบ้านได้อย่างปลอดภัย แล้วล้มตัวลงนอนได้อีกวันนี่ก็เป็นความสำเร็จแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นชมตัวเองหน่อย แต่อันไหนเราทำไม่ดี เราก็ต้องสอนตัวเอง แล้ว ให้กำลังใจตัวเองที่จะเริ่มใหม่นะครับ อย่ามัวแต่ชมตัวเองอย่างเดียวนะ ฮ่าๆ

 

อย่ามัวแต่มองยอดเขาอย่างเดียว จนลืมว่าแต่ละก้าวเราไปเจออะไรที่สวยงามอยู่ข้างทางให้ชื่นชมอยู่

 

เอาเข้าจริง ไม่ว่าผลจะออกมาสำเร็จอย่างที่หวังไว้หรือไม่ สุดท้ายเราก็ต้องกลับมาพัฒนาตัวเองต่อไปอยู่ดี สำเร็จอย่างที่หวังก็ยังต้องพัฒนาตัวเองต่อไป ไม่หยุดตัวเองอยู่แค่ชัยชนะเพียงครั้งเดียว ไม่สำเร็จอย่างที่หวังก็ต้องพัฒนาตัวเองต่อไปเช่นกัน ไม่หยุดตัวเองอยู่แค่ความผิดหวังเพียงครั้งเดียวไม่ต่างกัน

 

ที่สุดแล้ว ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ครั้งใดครั้งหนึ่งมันจะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ในชีวิตที่เราไม่ควรต้องยึดติด

 

เราจะดีใจหรือเสียใจกับผลลัพธ์ สุดท้ายเราก็ต้องก้าวต่อไปอยู่ดีว่าไหมครับ?

 

ส่งคำถามดราม่าในที่ทำงานที่คุณสงสัยมาได้ที่อีเมล [email protected] หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post ต้องพยายามอีกแค่ไหนถึงจะประสบความสำเร็จคะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/dare-to-fail/feed/ 0