Salad Factory – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 10 Jun 2025 09:42:28 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘สลัดแฟคทอรี่’ ทลายภาพจำ อาหารสุขภาพไม่จำเป็นต้องราคาแพง พร้อมจับมือเอสเพียวเสิร์ฟอกไก่ฉ่ำดึงลูกค้า https://thestandard.co/salad-factory-healthy-food-affordable-prices/ Tue, 10 Jun 2025 09:42:28 +0000 https://thestandard.co/?p=1083721

ถึงวันนี้ตลาดอาหารสุขภาพยังเติบโตต่อเนื่อง จากแนวโน้มพฤ […]

The post ‘สลัดแฟคทอรี่’ ทลายภาพจำ อาหารสุขภาพไม่จำเป็นต้องราคาแพง พร้อมจับมือเอสเพียวเสิร์ฟอกไก่ฉ่ำดึงลูกค้า appeared first on THE STANDARD.

]]>

ถึงวันนี้ตลาดอาหารสุขภาพยังเติบโตต่อเนื่อง จากแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น แน่นอนว่าส่งผลให้ภาพรวมตลาดร้านอาหารสุขภาพในไทยขยายตัวขึ้น ซึ่งเติบโตไม่ต่ำกว่า 34% หรือมีมูลค่าแตะ 4,500 ล้านบาท และในปีนี้คาดว่าจะเติบโตขึ้นอีก

 

“หลายคนอาจสงสัยว่าในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ผู้บริโภคมีการรัดเข็มขัดค่าใช้จ่าย ร้านอาหารเพื่อสุขภาพจะได้รับผลกระทบตามไปด้วยหรือไม่ เพราะในมุมของคนไทยอาจมองว่าอาหารสุขภาพนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจัยเศรษฐกิจก็มีผลต่อทราฟฟิกร้านอาหารบ้างแต่ไม่ใช่ทั้งหมด” ปิยะ ดั่นคุ้ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรีน ฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด กล่าว

 

จริงๆ แล้วตั้งแต่หลังยุคโควิดมาธุรกิจร้านอาหารหลายรายลำบากมาก มีหลายร้านที่ปรับตัวแล้วกลับมาฟื้นตัวได้ ที่เห็นได้ชัดคือร้านอาหารประเภทชาบู สุกี้เชนใหญ่ๆ มีการเติบโตมากขึ้น ทั้งในแง่ของยอดขายและผู้เล่นในตลาดที่แข่งขันกันอย่างคึกคัก

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

เช่นเดียวกับร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ปัจจุบันมีผู้เล่นในตลาดมากกว่า 20 แบรนด์และมีสาขารวมกันเกิน 100 สาขา จากเดิมที่มีไม่ถึง 5 แบรนด์เมื่อสองปีก่อน จากข้อมูลพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีจ่ายเพิ่ม 10-20% เพื่ออาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ยังมีบางกลุ่มที่มีภาพจำว่าร้านอาหารสุขภาพต้องมีราคาสูง

 

ความเชื่อดังกล่าวเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งภาพลักษณ์พรีเมียมของสินค้า การตลาดที่เน้นคำว่าออร์แกนิกหรือ ซูเปอร์ฟู้ดไปจนถึงราคาจริงของวัตถุดิบบางประเภทที่สูงกว่าอาหารทั่วไปและคนมักเปรียบเทียบระหว่าง ข้าวกล่องสุขภาพ 150 บาทกับข้าวแกงธรรมดา 40 บาท โดยไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของคุณค่าทางโภชนาการ

 

และอีกหนึ่งความท้าทายของธุรกิจอาหารสุขภาพ นอกจากจะโฟกัสสุขภาพแล้วยังต้องมีรสชาติที่อร่อยควบคู่กันไปด้วย เพราะถ้าหากอาหารดีแต่ไม่อร่อย ก็จะไม่สามารถสร้างฐานลูกค้าประจำให้ร้านได้

 

ต่อจากนี้ ‘สลัดแฟคทอรี่’ จึงพยายามเดินหน้าปรับนิยามใหม่ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าอาหารเพื่อสุขภาพเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและมีราคาไม่สูงมาก และหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการจับมือกับพาร์ตเนอร์แบรนด์ เอสเพียว ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ จากเครือเบทาโกร เปิดตัวแคมเปญใหญ่ ‘อกไก่ฉ่ำ So Yummy’ สร้างสรรค์ 5 เมนูสไตล์ Japanese Twist จากอกไก่ ได้แก่ คัตสึอกไก่ซอสนากาโนะมิโซะ, สลัดครันชีอะโวคาโดอกไก่ย่าง, สปาเก็ตตี้เมนไทโกะอกไก่ย่าง, สเต็กอกไก่ย่างซอสเห็ดญี่ปุ่น และชิบูย่าชิกเก้นโทสต์ซอสแบล็กยูซุ เน้นเจาะกลุ่มครอบครัว คนรักสุขภาพ และผู้สูงอายุ

 

ปิยะย้ำว่า แนวคิดของแคมเปญดังกล่าวตั้งใจพัฒนามารับเทรนด์อาหารญี่ปุ่นที่กำลังเป็นที่นิยมในไทย และความร่วมมือกันครั้งนี้นับเป็นปีที่สอง หลังจากปีที่แล้วได้ร่วมกันเปิดตัวแคมเปญเมนูอกไก่ไป ผลตอบรับดีมาก เมนูอกไก่เติบโตถึง 100% เราเห็นแล้วว่าการจัดแคมเปญแต่ละครั้งจะช่วยเพิ่มความถี่และกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากเข้ามาใช้บริการกันมากขึ้น

 

จากปัจจุบันยอดซื้อต่อคนอยู่ที่ 200-300 บาท มั่นใจว่าในสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นแน่นอน พร้อมประเมินภาพรวมธุรกิจอาหารในครึ่งปีหลังยังมีสัญญาณที่ดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาคการท่องเที่ยวด้วยว่าจะสามารถกระตุ้นได้มากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่ธุรกิจต้องทำต่อคือระมัดระวังค่าใช้จ่าย เพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนในอนาคต

 

หากย้อนภาพรวมผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี ของ สลัดแฟคทอรี่ พบว่ามีทิศทางค่อนข้างสดใสขึ้นเรื่อยๆ

 

  • ปี 2564 มีรายได้ 256.3 ล้านบาท ขาดทุน 18.7 ล้านบาท
  • ปี 2565 มีรายได้ 439.1 ล้านบาท กำไร 8.0 ล้านบาท
  • ปี 2566 มีรายได้ 593 ล้านบาท กำไร 20 ล้านบาท

 

จากธุรกิจครอบครัวเล็กๆ ในเมืองทอง หลังจาก CRG เข้ามาเป็นผู้ร่วมทุน (JV) กับสลัดแฟคทอรี่ เมื่อช่วงต้นปี 2020 จากนั้นสลัดแฟคทอรี่เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ CRG ตั้งเป้าเร่งขยายสาขา จนปัจจุบันมีสาขามากกว่า 46 สาขาและมีเป้าหมายผลักดันยอดขายให้แตะ 1,000 ล้านบาทในอีก 5-6 ปีข้างหน้า

 

“ทุกอย่างล้วนเป็นโจทย์ใหญ่และไม่ง่ายเพราะวันนี้ร้านอาหารทั่วไปได้เริ่มเพิ่มเมนูเพื่อสุขภาพเข้ามาเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคเช่นกัน แต่ในปีนี้ตั้งใจสร้างยอดขายให้โตไม่ต่ำกว่า 20%” ปิยะย้ำ

The post ‘สลัดแฟคทอรี่’ ทลายภาพจำ อาหารสุขภาพไม่จำเป็นต้องราคาแพง พร้อมจับมือเอสเพียวเสิร์ฟอกไก่ฉ่ำดึงลูกค้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ร้านอาหารสุขภาพโตแรงแต่แข่งเดือด! สลัดแฟคทอรี่ไม่หวั่น จับมือเอสเพียวเปิดตัวเมนูอกไก่ดึง Gen Z ที่พร้อมจ่ายเพื่อแลกสุขภาพที่ดี https://thestandard.co/salad-factory-health-food-market-growth/ Fri, 30 Aug 2024 05:00:42 +0000 https://thestandard.co/?p=977379 Salad Factory

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ร้านอาหารสุขภาพยังมีไม่ถึง 4 แบร […]

The post ร้านอาหารสุขภาพโตแรงแต่แข่งเดือด! สลัดแฟคทอรี่ไม่หวั่น จับมือเอสเพียวเปิดตัวเมนูอกไก่ดึง Gen Z ที่พร้อมจ่ายเพื่อแลกสุขภาพที่ดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
Salad Factory

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ร้านอาหารสุขภาพยังมีไม่ถึง 4 แบรนด์ แต่ปี 2567 มีผู้เล่นหน้าใหม่กระโดดเข้ามากว่า 20 แบรนด์ แข่งขันกันอย่างดุเดือด สลัดแฟคทอรี่เปิดเกมรุกจับมือเอสเพียว เปิดตัว 5 เมนูจากอกไก่ หวังดึง Gen Z ที่มีกำลังซื้อสูง 

 

“ถึงวันนี้การแข่งขันจะเพิ่มขึ้น แต่ตลาดร้านอาหารสุขภาพนั้นยังมีช่องว่างและมีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก สะท้อนจากตัวเลขในปี 2566 มูลค่าตลาดสูงถึง 4.5 พันล้านบาท และคาดว่าปี 2567 จะเติบโตขึ้น 30% ต่อปี เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้มากขึ้น จนทำให้เทรนด์สุขภาพมาแรงมาก โดยเฉพาะการให้ความสนใจกับอาหารที่มีน้ำตาลและโซเดียมน้อย ที่สำคัญแพ็กเกจจิ้งก็ต้องดีต่อโลกด้วย” ปิยะ ดั่นคุ้ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรีน ฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด กล่าว

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

 

เมื่อตลาดอาหารสุขภาพสดใส สิ่งที่ตามมาคือการแข่งขัน ส่วนใหญ่เชนร้านอาหารจะเน้นแข่งขันเรื่องวัตถุดิบและรสชาติเป็นหลัก เช่นเดียวกับสลัดแฟคทอรี่ ที่ผ่านมาไม่เคยหยุดพัฒนาเมนูและสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค จนปัจจุบันฐานลูกค้าส่วนใหญ่คือกลุ่มครอบครัว ซึ่งมียอดใช้จ่ายต่อบิลประมาณ 500 บาท 

 

แต่จากนี้สลัดแฟคทอรี่ต้องการเพิ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือ Gen Z เพราะผู้บริโภคกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูงและพร้อมจ่ายเพื่อได้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย โดยปัจจุบันลูกค้ากลุ่มนี้มียอดใช้จ่ายต่อคนอยู่ที่ประมาณ 250-300 บาท แม้จะน้อยแต่ส่วนใหญ่มักมากินกันเป็นกลุ่มใหญ่ 

 

ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราดึงคนรุ่นใหม่ได้ต้องสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ออกมาส่งเสริมการขาย ล่าสุดสลัดแฟคทอรี่จับมือเอสเพียว จัดแคมเปญ ‘สุข ฉ่ำ เต็มอก’ เปิดตัว 5 เมนูใหม่จากอกไก่ และนำความเชี่ยวชาญของทั้ง 2 แบรนด์มาต่อยอดพัฒนาสร้างความแตกต่างด้วยรสชาติที่ไม่จำเจ 

 

และยังสามารถรองรับกระแสของผู้คนที่บริโภคผลิตภัณฑ์อกไก่เพื่อรับโปรตีนให้ร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย เราเชื่อว่าแคมเปญดังกล่าวจะช่วยดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่มีความสนใจในอาหารสุขภาพได้เป็นอย่างดี

 

นอกจากนี้ ในครึ่งปีหลังบริษัทเตรียมขยายสาขาเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง โดยจะเน้นเปิดในโรงพยาบาล เริ่มตั้งแต่โรงพยาบาลพระรามเก้าและโรงพยาบาลวิภาวดี เราเชื่อว่าการเปิดในโรงพยาบาลจะได้รับกลุ่มลูกค้าผู้ป่วยและผู้มาเยี่ยมที่มีความต้องการอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง

 

ส่วนต้นปี 2568 วางแผนขยายไปในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยในแต่ละพื้นที่ รูปแบบร้านจะแตกต่างกัน ทั้งร้านขนาดใหญ่ มีพื้นที่นั่งกิน 60 ที่นั่ง ตามด้วย Compact มีพื้นที่ 100-120 ตารางเมตร มีเมนูอาหารน้อยกว่าร้านขนาดใหญ่ประมาณ 70-80% ซึ่งโมเดลนี้จะเน้นเปิดในโรงพยาบาล แต่ก็ต้องยอมรับว่าตลาดต่างจังหวัดมีความท้าทายเรื่องกำลังซื้อและการควบคุมมาตรฐานการให้บริการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

ปิยะกล่าวปิดท้ายว่า กลยุทธ์ทั้งหมดจะช่วยผลักดันรายได้ในปี 2567 โตต่อเนื่อง หรือทำรายได้กว่า 750 ล้านบาท จากปี 2566 มีรายได้อยู่ที่ 593 ล้านบาท และยังมองไกลไปถึง 3 ปีข้างหน้า การทำรายได้ 1 พันล้านบาทก็ไม่ไกลเกินเอื้อม 

 

The post ร้านอาหารสุขภาพโตแรงแต่แข่งเดือด! สลัดแฟคทอรี่ไม่หวั่น จับมือเอสเพียวเปิดตัวเมนูอกไก่ดึง Gen Z ที่พร้อมจ่ายเพื่อแลกสุขภาพที่ดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ขอเพียงสัปดาห์ละ 1 มื้อ’ เจาะกลยุทธ์ ‘สลัดแฟคทอรี่’ หลัง CRG ดึงร่วมพอร์ต หวังเจาะตลาดอาหารสุขภาพ 8 หมื่นล้านบาท https://thestandard.co/salad-factory-2/ Wed, 04 Mar 2020 12:39:39 +0000 https://thestandard.co/?p=337997

การมี Brand Portfolio ที่ครบครัน ถือเป็นอาวุธชิ้นสำคัญข […]

The post ‘ขอเพียงสัปดาห์ละ 1 มื้อ’ เจาะกลยุทธ์ ‘สลัดแฟคทอรี่’ หลัง CRG ดึงร่วมพอร์ต หวังเจาะตลาดอาหารสุขภาพ 8 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

การมี Brand Portfolio ที่ครบครัน ถือเป็นอาวุธชิ้นสำคัญของเชนร้านอาหาร (Food Chain Industry) ในการต่อสู้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง มีร้านอาหารใหม่ๆ เกิดขึ้นมาทุกวัน ตลอดจนพฤติกรรมอันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของผู้บริโภค

 

‘สุขภาพ’ เทรนด์อาหารที่ CRG ต้องเจาะ

สำหรับ CRG หรือ ‘เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป’ แม้จะมีแบรนด์ร้านอาหารที่หลากหลายอยู่ในมือ ทั้ง มิสเตอร์ โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้ แอนส์, เปปเปอร์ ลันช์, ชาบูตง, โคล สโตน ครีมเมอรี่, เดอะ เทอเรส, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ, คัตสึยะ, อร่อยดี, สุกี้เฮ้าส์, ซอฟท์แอร์ และ เกาลูน

 

 

รวมกันทั้งหมด 15 แบรนด์ 1,045 สาขาที่ขยายไปทั่วประเทศ โดยปี 2562 เอกสารที่บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ CRG ระบุธุรกิจอาหารมีรายได้รวม 12,294.5 ล้านบาท เติบโต 2.4% และสามารถทำกำไรสุทธิ 650.9 ล้านบาท ลดลง 12.7%

 

และแม้จะมีร้านอาหารครบครันอยู่ในกลุ่มของร้านอาหารจานด่วน (Fast Food), ร้านอาหารไทย, ร้านอาหารญี่ปุ่น และเบเกอรี แต่หมวดหนึ่งที่ CRG ยังไม่มีอย่างจริงจังคือ ‘อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ’ ซึ่งปี 2562 ที่ผ่านมามีมูลค่า 88,731 ล้านบาท เติบโต 2.4% และยังมีโอกาสเติบโตได้อีก เพราะ ‘เทรนด์สุขภาพ’ เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคกำลังหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจัง

 

ถึงที่ผ่านมาการเติบโตใน Brand Portfolio ของ CRG จะเลือกใช้วิธีซื้อแบรนด์ธุรกิจ ซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ หรือปั้นแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาเอง แต่สำหรับการเข้าสู่ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ CRG กลับเลือกใช้วิธี ‘ร่วมทุน’ แทน 

 

โดยได้ตัดสินใจเข้าร่วมทุนใน ‘สลัดแฟคทอรี่’ ร้านสลัดเพื่อสุขภาพในสัดส่วน 51% ด้วยเงินลงทุนราว 140 ล้านบาท และก่อตั้ง บริษัท กรีน ฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด ซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทย่อยใน CRG และให้ ‘ปิยะ ดั่นคุ้ม’ ผู้ต่อตั้งแบรนด์นั่งตำแหน่งแม่ทัพต่อไป

 

 

ทำไมต้องเป็น ‘สลัดแฟคทอรี่’

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ CRG เลือกที่จะร่วมทุนกับ ‘สลัดแฟคทอรี่’ แทนที่จะซื้อทั้งหมด หรือ ปั้นแบรนด์ใหม่เข้ามา ปิยะพงศ์ จิตต์จำนงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด อธิบายว่า CRG เลือกพาร์ตเนอร์เหมือนคนแต่งงาน เลือกคนที่จริงจัง และมีเป้าหมายธุรกิจ

 

“เราจะเลือกคนที่มีแพสชันในการทำร้านอาหาร เพราะเมื่อเทียบกับคนอื่นจะเป็นคนที่พร้อม เหมือนคนที่วิ่งเก่งอยู่แล้ว หารองเท้าดีๆ ให้ใส่ก็จะวิ่งไปได้อย่างสบายๆ และระยะยาว”

 

แต่เหตุผลที่ซ่อนอยู่ในนั้น คือการที่ ‘ร้านสลัด’ มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะการดีลกับบรรดาฟาร์มผักต่างๆ ซึ่งผักสลัด คือพืชผลทางการเกษตรที่ไม่สามารถคุมฟ้าคุมฝนได้เลย ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาจึงต้องการคนที่ใกล้ชิดในการดูแล

 

 

ความสำเร็จมาจาก ‘เมนู’ และ ‘การจัดจาน’

ปิยะ ดั่นคุ้ม ผู้ก่อตั้งแบรนด์สลัดแฟคทอรี่ ที่ CRG ให้รับหน้าที่แม่ทัพ ก็เป็นคนที่ดูแลแบรนด์ตั้งแต่แรก ล้มลุกคลุกคลานจนสามารถขยายออกไปได้ 7 สาขา (หลังร่วมทุนกับ CRG เปิดเพิ่มอีก 1 สาขา รวมเป็น 8 สาขา) กับระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา และมีรายได้กว่า 167 ล้านบาท โดยแต่ละสาขามียอดขายเฉลี่ย 200-300 บาทต่อบิล มียอดขายเฉลี่ย 3 ล้านบาทต่อสาขาต่อเดือน

 

ก่อนจะมาทำร้านอาหาร ปิยะ มีประสบการณ์ทำร้านอาหารในอเมริกามาก่อน ตั้งแต่ซื้อวัตถุดิบ ทำอาหาร เสิร์ฟ ล้างจาน ตลอดจนทำบัญชี จึงมีความเข้าใจในการทำร้านอาหารเป็นอย่างดี

 

ปิยะ ดั่นคุ้ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรีน ฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด

 

“สิ่งที่ทำให้สลัดแฟคทอรี่ประสบความสำเร็จ คือการที่ตั้งโจทย์ว่า ไม่ใช่ทุกคนจะชื่นชอบการกินผัก ดังนั้นจึงต้องทำให้เมนูดูสนุก และมีความสุขกับการได้กินผักทุกวัน รวมถึงทำให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขกับมื้ออาหารร่วมกัน”

 

ทำให้เมนูในร้านมีกว่า 200 เมนู มีทั้งสลัดราคาเริ่มต้น 79 บาท และสเต๊กในราคาเริ่มต้น 200 บาท ไปถึง 500 บาท นอกจากนี้อีกสิ่งที่สำคัญ คือการจัดจานให้มีมูลค่ามากกว่าที่จ่าย

 

 

 

ขอเพียงสัปดาห์ละ 1 มื้อ

จริงๆ แล้วก่อนจะตัดสินใจร่วมทุนกับ CRG มีรายใหญ่เข้ามาจีบ 2-3 ราย แต่ที่เลือก CRG เป็นเพราะให้เกียรติตั้งแต่แรกที่คุย และชัดเจน โดยหลังจากที่เข้าร่วมทุนแล้ว CRG ได้เข้ามาปรับปรุงระบบภายในร้าน และช่วยวางแผนเรื่องการตลาด

 

สำหรับในปี 2563 วางแผนที่จะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา ใช้งบลงทุนสาขาละ 5-6 ล้าน โดยจะขยายบริเวณกรุงเทพฯ ชั้นนอกก่อน เนื่องจากปิยะดูแลร้านทุกสาขาด้วยตัวเอง การขับรถเข้ามาผจญรถติดในเมืองจึงยังไม่สะดวก ที่สำคัญค่าเช่าพื้นที่จะไม่สูงมาก ช่วยลดต้นทุน ทำให้ราคาอาหารไม่สูงเกินไป 

 

“ถ้าถามว่าคู่แข่งตรงๆ ของเราเป็นใคร น่าจะไม่มี แต่ที่เรามองเป็นคู่แข่งคือการทำอาหารในบ้าน สิ่งที่เราต้องการคือแบ่งมากินสลัดแฟคทอรี่เพียงสัปดาห์ละมื้อ จากทั้งหมด 21 มื้อก็พอแล้ว”

 

 

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการขยายสาขาแล้ว ‘เดลิเวอรี’ จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ให้ความสำคัญมากขึ้น โดยต้องการขยับสัดส่วนยอดขายจาก 10% เป็น 20-30% ในปีนี้ อีกทั้งยังวางแผนพัฒนาสินค้าพร้อมทาน (Ready to Eat) อีกด้วย

 

ทั้งนี้ ภายใน 5 ปี ‘สลัดแฟคทอรี่’ วางแผนขยายสาขาให้ครบ 50 สาขา และมียอดขายมากกว่า 1,000 ล้านบาท 

 

 

 

ที่มาภาพปก: Salad Factory Thailand / Facebook

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ‘ขอเพียงสัปดาห์ละ 1 มื้อ’ เจาะกลยุทธ์ ‘สลัดแฟคทอรี่’ หลัง CRG ดึงร่วมพอร์ต หวังเจาะตลาดอาหารสุขภาพ 8 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘Salad Factory’ ติด Top 3 ร้านสลัดที่คนไทยรู้จัก CRG ไม่รอช้าทุ่ม 137 ล้าน ถือหุ้น 51% https://thestandard.co/salad-factory/ Tue, 03 Dec 2019 10:57:57 +0000 https://thestandard.co/?p=309336 Salad Factory

หนึ่งในกลยุทธ์ในการสร้างความเติบโต บริษัท เซ็นทรัล เรสต […]

The post ‘Salad Factory’ ติด Top 3 ร้านสลัดที่คนไทยรู้จัก CRG ไม่รอช้าทุ่ม 137 ล้าน ถือหุ้น 51% appeared first on THE STANDARD.

]]>
Salad Factory

หนึ่งในกลยุทธ์ในการสร้างความเติบโต บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ซึ่งอยู่ภายใต้ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL คือเน้นการเพิ่มแบรนด์ร้านอาหารใหม่ๆ ทั้งการซื้อแบรนด์ธุรกิจ ซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ และร่วมทุน ตลอดจนการพัฒนาแบรนด์ใหม่ๆ ขึ้นมาเอง เพื่อเข้าถึงและขยายฐานกลุ่มผู้บริโภค 

 

เนื่องจากยังมีธุรกิจอาหารอีกหลายตัวที่มีช่องว่าง ที่จะสามารถช่วยขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ขณะเดียวกันด้วยเทรนด์สุขภาพกำลังมาแรง ทำให้ภาพรวมตลาดอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ ปี 2562 มีมูลค่าประมาณ 88,731 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเทรนด์อาหารปี 2563 ผู้บริโภคจะเน้นอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น จึงมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก 

 

CRG เห็นว่า ตัวเองนั้นยังไม่มีร้านอาหารสุขภาพอยู่ในพอร์ต จึงตัดสินใจใช้เงิน 137 ล้านบาท กับระยะเวลาพูดคุยไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนเข้าถือหุ้น 51% ในบริษัท กรีน ฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจร้านอาหารไทยภายใต้แบรนด์ ‘Salad Factory’ ซึ่งเป็นร้านสลัดเพื่อสุขภาพที่ติด Top 3 ที่คนไทยรู้จัก

 

ตัวร้านเปิดให้บริการมาแล้ว 6 ปี โดยมีเมนูที่หลากหลายที่ไม่ได้จำกัดแค่ผักสลัดเท่านั้น เช่น เมนูข้าว, สเต๊ก, สปาเกตตี ฯลฯ จึงทำให้เป็นร้านสลัดที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเจเนอเรชัน ทุกเพศทุกวัย ทานได้ทั้งครอบครัว ในราคาคุ้มค่า ปัจจุบันมีจำนวนสาขา 6 สาขา (ปลายเดือนธันวาคม เปิดเพิ่ม 1 สาขา รวมเป็น 7 สาขา) 

 

หลังการเข้าถือหุ้นแล้ว CRG ตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะเปิดอีก 50 สาขา ซึ่งจะสามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท

 

ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2562 CRG มีแบรนด์ในพอร์ตทั้งหมด 16 แบรนด์ 1,056 สาขา ได้แก่ Mister Donut 336 สาขา, KFC 227 สาขา, Auntie Anne’s 181 สาขา, Pepper Lunch 44 สาขา, Chabuton 19 สาขา, Cold Stone Creamery 17 สาขา, Thai Terrace 16 สาขา, Yoshinoya 19 สาขา, OOTOYA 48 สาขา, Tenya 14 สาขา, Katsuya 32 สาขา, อร่อยดี 12 สาขา, Suki House 2 สาขา, Soft Air 1 สาขา, เกาลูน 1 สาขา และ Salad Factory 7 สาขา 

 

ภาพ: www.facebook.com/saladfactoryofthailand

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ‘Salad Factory’ ติด Top 3 ร้านสลัดที่คนไทยรู้จัก CRG ไม่รอช้าทุ่ม 137 ล้าน ถือหุ้น 51% appeared first on THE STANDARD.

]]>