Saab – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 16 Jul 2024 12:19:30 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Saab vs. Lockheed Martin สองค่ายดันข้อเสนอ Offset ก่อน ทอ. เคาะ Gripen หรือ F-16 https://thestandard.co/key-messages-saab-vs-lockheed/ Tue, 16 Jul 2024 12:19:30 +0000 https://thestandard.co/?p=958782

การพิจารณางบประมาณของกระทรวงกลาโหมในวาระที่ 2 มูลค่ากว่ […]

The post Saab vs. Lockheed Martin สองค่ายดันข้อเสนอ Offset ก่อน ทอ. เคาะ Gripen หรือ F-16 appeared first on THE STANDARD.

]]>

การพิจารณางบประมาณของกระทรวงกลาโหมในวาระที่ 2 มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทกำลังดำเนินอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรขณะนี้ สิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจก็น่าจะเป็นโครงการจัดหาอาวุธ ซึ่งปีนี้มีไฮไลต์คือโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ F-16 ของกองทัพอากาศในระยะที่ 1 จำนวน 4 ลำ มูลค่า 1.95 หมื่นล้านบาท เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ในฝูงบิน 102 และ 103 กองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งมีอายุใช้งานเกือบ 40 ปี และกำลังต้องปลดประจำการในเร็ววันนี้

 

นอกจากงบประมาณที่ต้องใช้เป็นจำนวนมากแล้ว สิ่งที่ทำให้หลายคนสนใจคงหนีไม่พ้นการที่โครงการนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่สหรัฐอเมริกาปฏิเสธการขาย F-35 ให้กับกองทัพอากาศไทยด้วยความไม่พร้อมหลายประการของประเทศไทย และเสนอให้กองทัพอากาศไทยจัดหา F-16 Block 72 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่กว่า F-16 Block 15 ที่กองทัพอากาศมีประจำการ ซึ่งกองทัพอากาศไทยมี F-16 ใช้งาน 3 ฝูงที่ฝูงบิน 102, 103 และ 403 จำนวนสูงสุดรวมกว่า 50 ลำ

 

แต่ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อราวสิบกว่าปีก่อน กองทัพอากาศไทยตัดสินใจจัดหา Gripen C/D จากประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าสัญชาติยุโรปแบบแรกนับตั้งแต่ Spitfire ที่จัดหาจากสหราชอาณาจักรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และถือเป็น Gripen ฝูงเดียวในเอเชียที่มาพร้อมเครื่องบินแจ้งเตือนล่วงหน้าแบบ Saab 340 AEW ที่ทำให้ไทยเป็น 1 ใน 2 ชาติในอาเซียนที่มีเครื่องบินประเภทนี้เข้าประจำการ การเสนอให้ไทยจัดหา Gripen E/F รุ่นใหม่จึงเป็นการสร้างความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน

 

โครงการแรกที่ซื้ออาวุธแล้วได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้กับประเทศด้วย

 

ดังนั้นเมื่อกองทัพอากาศต้องปลดประจำการเครื่องบินฝูงเดิมออกไป การแข่งขันจึงเข้มข้น เพราะจะเป็นการชี้วัดว่ากองทัพอากาศจะยังไว้ใจเครื่องบินจากสวีเดนอย่าง Gripen E/F ให้เป็นเครื่องบินรบที่ดีที่สุดของกองทัพอากาศไทยต่อไป หรือจะกลับไปหาเครื่องบินรบจากสหรัฐอเมริกาอย่าง F-16 Block 72 ให้กลับมาเป็นเครื่องบินที่ดีที่สุดอีกครั้ง

 

แต่ไม่ใช่ประสิทธิภาพของเครื่องบินที่เป็นตัวตัดสินเท่านั้น ในครั้งนี้กองทัพอากาศกำหนดให้การชดเชยงบประมาณหรือ Offset จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยตัดสิน ซึ่ง Offset คือเครื่องมือที่หลายประเทศนำมาใช้เพื่อชดเชยงบประมาณที่เสียไปในการจัดหาอาวุธ โดยกำหนดให้ประเทศผู้ขายต้องทำการลงทุนในประเทศผู้ซื้อ จัดหาสินค้าจากประเทศผู้ซื้อ หรือร่วมมือกับภาคเอกชนของประเทศผู้ซื้อเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเกิดตัวคูณหรือ Multiplier ที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถคำนวณมาเป็นมูลค่าการชดเชยหรือ Offset Value ได้

 

วิธีนี้นอกจากจะเป็นการลดผลกระทบของการสูญเสียงบประมาณจำนวนมากไปกับการจัดหาอาวุธ เพราะเมื่อเศรษฐกิจเติบโตจาก Offset รัฐก็จะมีรายได้กลับคืนมาในรูปของภาษี เป็นการช่วยให้ประเทศผู้ซื้อสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาได้ 

 

การที่กองทัพอากาศเลือกกำหนดให้ผู้ผลิตเสนอ Offset ซึ่งเป็นแพ็กเกจการตอบแทนทางเศรษฐกิจจึงเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดกว่า เพราะภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการซื้ออาวุธดูจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่ฉลาดนัก แต่ถ้าใช้เงินซื้ออาวุธแล้วสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์พร้อมกัน

 

ซึ่งนโยบายนี้ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ก็ร่วมขับเคลื่อนด้วย โดยนายกรัฐมนตรีได้เข้าพบพูดคุยกับทั้งเอกอัครราชทูตและบริษัทผู้ผลิตจากทั้งสหรัฐอเมริกาและสวีเดนหลายครั้งเพื่อพูดคุยถึง Offset ที่ประเทศไทยจะต้องได้รับ โดยล่าสุดเศรษฐาได้ให้สัมภาษณ์ในวันนี้ว่ายังไม่สรุปว่าจะเลือกแบบเครื่องบินใดให้เป็นผู้ชนะ เพราะไม่ได้ตัดสินกันแค่คะแนนประเมิน แต่ต้องดูข้อเสนอ Offset ด้วย และย้ำว่าทั้งสองบริษัทผู้ผลิตต้องเต็มที่ เพราะโครงการนี้ใช้งบประมาณจำนวนมาก ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด 

 

สส. ชยพล สท้อนดี จากพรรคก้าวไกล โฆษกกรรมาธิการการทหาร และประธานอนุกรรมาธิการศึกษาและแก้ไขกฎหมายอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กล่าวว่า ทางกรรมาธิการได้พบปะพูดคุยกับทั้งสองประเทศ ทั้งในส่วนของระดับเอกอัครราชทูตและทางบริษัทผู้ผลิต และได้ให้ความคิดเห็นและข้อคิดเห็นกับทั้งสองฝ่ายว่า ความต้องการของประเทศไทยเป็นอย่างไร และสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตจะทำให้ประเทศไทยเพื่อสร้างความมั่นคงทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ และเปิดประตูสู่ความร่วมมือทางด้านอื่นๆ ว่าต่อไปจะต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดี และส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายพยายามแข่งขันกันปรับปรุงและพัฒนาข้อเสนอจนมีความน่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่จะเกิดกับเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนโดยตรง เช่น การสร้างงาน การสร้างอุตสาหกรรม และทุนการศึกษา ซึ่งกรรมาธิการการทหารกำลังดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อให้ประเทศไทยมี Offset อย่างยั่งยืนต่อไป

 

เปรียบเทียบข้อเสนอสหรัฐฯ vs. สวีเดน

 

ในระดับรัฐบาล สหรัฐฯ และสวีเดนมีนโยบายที่แตกต่างกันคนละด้านในแง่ของ Offset 

 

กล่าวคือรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สนับสนุนอย่างเป็นทางการในการให้ Offset กับประเทศผู้ซื้อ และมีกฎระเบียบจำนวนมากที่ในหลายครั้งก็ขัดขวางการที่ผู้ซื้อจะเรียกร้อง Offset แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของตลาดการค้ายุทโธปกรณ์ในปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ก็เข้าใจความเป็นไปมากพอที่จะไม่ขัดขวางถ้าผู้ผลิตจะแสวงหา Offset ให้กับลูกค้า แต่ก็ต้องดำเนินการเอง

 

กลับกันรัฐบาลสวีเดนสนับสนุน Offset อย่างเต็มที่ โดยชูการได้รับ Offset เป็นจุดขายสำคัญสำหรับชาติลูกค้าที่ถ้าจัดซื้ออาวุธจากสวีเดนจะมีแพ็กเกจ Offset รัฐบาลพร้อมอุตสาหกรรมในประเทศที่มาลงทุนในประเทศลูกค้า

 

ข้อเสนอของ Lockheed Martin จากสหรัฐฯ ผู้ผลิต F-16 Block 72 ประกอบไปด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในด้านต่างๆ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงด้านการผลิตและการเกษตร การฝึกอบรมด้านวิศวกรรมอากาศยานกับบริษัทด้านการบินในประเทศไทยและกองทัพอากาศไทย การพัฒนาทักษะแรงงานในภาคการผลิต การสนับสนุนทางเทคนิคต่อประเทศไทยในการปรับปรุงระบบ Datalink ของกองทัพอากาศไทย การเปิดโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ซึ่งหมายถึงการซื้อชิ้นส่วนที่ผลิตโดยบริษัทในประเทศไทย และการพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงในประเทศ

 

ข้อเสนอของ Saab จากประเทศสวีเดน ผู้ผลิต Gripen E/F ประกอบไปด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมในประเทศไทย การลงทุนด้านอาหารและเกษตรกรรม การลงทุนด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและพลังงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน Datalink และเรดาร์ Erieye ที่ติดตั้งบน Saab 340 โดย Saab คาดหวังที่จะส่งมอบมูลค่าการชดเชยหรือ Offset Value ให้กับไทยได้ 130% ของมูลค่าสัญญา นั่นหมายถึงในเฟสแรกที่มีสัญญามูลค่า 1.95 หมื่นล้านบาท Saab และพันธมิตรมั่นใจว่าจะสร้างเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจและธุรกิจของไทยให้ได้อย่างน้อย 2.53 หมื่นล้านบาท

 

ถือว่าทั้งสองข้อเสนอเป็นข้อเสนอที่ได้ประโยชน์กับประเทศไทยทั้งคู่ ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าถ้าไทยออกแบบโครงการและเจรจาให้ดี งบซื้ออาวุธก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับไทยได้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งกองทัพที่ได้เสริมสร้างแสนยานุภาพ รัฐบาลที่ได้เงินภาษีกลับคืนมา และสุดท้ายคือประชาชนและประเทศที่จะได้ประโยชน์โดยตรงจากทั้งโอกาสการจ้างงานจากการลงทุนใหม่ๆ หรือโอกาสในการขายสินค้าจากการเข้าเป็นไปส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

 

อีกไม่นานเราก็จะทราบผู้ชนะกันแล้ว

 

ภาพ: Saab, Lockheed Martin

The post Saab vs. Lockheed Martin สองค่ายดันข้อเสนอ Offset ก่อน ทอ. เคาะ Gripen หรือ F-16 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผบ.ทอ. ขอให้นายกฯ และ รมว.กลาโหม ตัดสินใจเลือกเครื่องบินรบ Gripen หรือ F-16 หลังสวีเดน-สหรัฐฯ ยื่นเงื่อนไขเพิ่มให้ไทยได้ประโยชน์ https://thestandard.co/thai-air-force-gripen-f16-decision/ Fri, 12 Jul 2024 08:57:43 +0000 https://thestandard.co/?p=956910 F-16

วันนี้ (12 กรกฎาคม) พล.อ.อ. พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชา […]

The post ผบ.ทอ. ขอให้นายกฯ และ รมว.กลาโหม ตัดสินใจเลือกเครื่องบินรบ Gripen หรือ F-16 หลังสวีเดน-สหรัฐฯ ยื่นเงื่อนไขเพิ่มให้ไทยได้ประโยชน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
F-16

วันนี้ (12 กรกฎาคม) พล.อ.อ. พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินรบฝูงใหม่ ภายหลังกองทัพอากาศได้สรุปข้อมูลของทั้งสองแบบ ได้แก่ F-16 Block 70 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐ​อเมริกา และ Gripen E บริษัท Saab สวีเดน ผ่าน สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อนำเรียนไปยัง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้รับทราบ ซึ่งยังไม่มีการสรุปว่าเป็นแบบใด แต่พร้อมที่จะเปิดเผยคะแนน

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากท่าทีของสหรัฐฯ ที่อาจไม่แฮปปี้กับผล ผบ.ทอ. กล่าวว่า “ไม่หรอกครับ เพราะตอนนี้มีการเสนอข้อมูลที่ดีกว่าเข้ามา ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี”

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

และเมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า คะแนนหลายข้อที่ Gripen ได้ที่ 1 นั้นมาจากคณะกรรมการคัดเลือกแบบฯ ใช่หรือไม่ ผบ.ทอ. กล่าวว่า มีการเปรียบเทียบหลายอย่าง เป็นผลจากคณะกรรมการของ พล.อ.ท. วชิรพล เมืองน้อย เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ซึ่งไม่ใช่ว่าชนะทั้งหมด เพราะมีในเรื่องข้อดีและข้อเสียทั้งหมด

 

ผบ.ทบ. กล่าวว่า การเลือกจริงๆ อยู่ที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่วนภาพรวมนั้นอยู่ที่กองทัพอากาศ คงมีปัจจัยอื่นอีกหลายอย่าง ทางกองทัพอากาศยังไม่ได้เลือก แต่เป็นเพียงผลคะแนน

 

“ยังมีการเสนอเงื่อนไขเข้ามา ซึ่งอาจได้ประโยชน์มากขึ้น แต่จะต้องมาอย่างเป็นทางการผ่านเอกสาร ถือว่าโชคดีที่เขาให้ประโยชน์เราเพิ่มขึ้น” ผบ.ทอ. กล่าว

The post ผบ.ทอ. ขอให้นายกฯ และ รมว.กลาโหม ตัดสินใจเลือกเครื่องบินรบ Gripen หรือ F-16 หลังสวีเดน-สหรัฐฯ ยื่นเงื่อนไขเพิ่มให้ไทยได้ประโยชน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>