Rocket Media Lab – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 28 Jan 2025 12:40:34 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 10 จังหวัดที่ใช้งบประมาณรวมในการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2568 มากที่สุด https://thestandard.co/top-10-provinces-election-spending-2568/ Tue, 28 Jan 2025 12:38:35 +0000 https://thestandard.co/?p=1035495

THE STANDARD ชวนพิจารณา 10 จังหวัดที่ใช้งบประมาณไปกับกา […]

The post 10 จังหวัดที่ใช้งบประมาณรวมในการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2568 มากที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

THE STANDARD ชวนพิจารณา 10 จังหวัดที่ใช้งบประมาณไปกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 มากที่สุด

 

โดยงบประมาณดังกล่าวเป็นประมาณการรายจ่าย ไม่ใช่รายจ่ายจริง ซึ่ง Rocket Media Lab รวบรวมจากรายงานประมาณการรายจ่ายในข้อบัญญัติงบประมาณปี 2568 ของ อบจ. ทั่วประเทศ 

 

ไม่รวม อบจ.แม่ฮ่องสอน ที่ไม่ตั้งงบในการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2568 และ อบจ.กำแพงเพชร บึงกาฬ เลย และสมุทรสาคร ที่ไม่ตั้งค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการเลือกตั้ง

 

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

The post 10 จังหวัดที่ใช้งบประมาณรวมในการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2568 มากที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ปรับปรุงห้องน้ำ-ลดงานเอกสาร-งดนอนเวร’ เปิดผลสำรวจที่สุดปัญหาครูไทย https://thestandard.co/thai-teacher-issue-survey-result/ Tue, 16 Jan 2024 12:22:46 +0000 https://thestandard.co/?p=888465 ปัญหาครูไทย

เนื่องในวันครูแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 16 มกราคมของทุก […]

The post ‘ปรับปรุงห้องน้ำ-ลดงานเอกสาร-งดนอนเวร’ เปิดผลสำรวจที่สุดปัญหาครูไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปัญหาครูไทย

เนื่องในวันครูแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 16 มกราคมของทุกปี Rocket Media Lab ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ จัดทำแบบสอบถามครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ ในช่วงวันที่ 9-15 มกราคม 2567 เพื่อสำรวจความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์ในโรงเรียน การเรียนการสอน หรือนักเรียน

 

จำนวนครูที่ตอบแบบสอบถามออนไลน์ทั่วประเทศทั้งหมด 303 คน แยกเป็น

 

  • เพศชาย 71 คน 
  • หญิง 220 คน 
  • LGBTQIA+ 7 คน
  • ไม่ต้องการระบุเพศ 5 คน 

 

แยกตามลำดับชั้น

 

  • ครูระดับชั้นประถมศึกษา 118 คน 
  • ครูระดับชั้นมัธยมศึกษา 171 คน 
  • ปวช. 14 คน

 

แยกตามพื้นที่ของครูที่ตอบแบบสอบถาม

 

  • ครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด 114 คน คิดเป็น 37.62% 
  • ภาคกลาง 74 คน คิดเป็น 24.42% 
  • ภาคเหนือ 70 คน คิดเป็น 23.10% 
  • ภาคใต้ 36 คน คิดเป็น 11.88% 
  • ภาคตะวันตก 5 คน คิดเป็น 1.65%
  • ภาคตะวันออก 4 คน คิดเป็น 1.32%

 

สถานที่ใดในโรงเรียนที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุด

 

  • ครูอยากให้โรงเรียนปรับปรุง ‘ห้องน้ำ’ มากที่สุด 134 คน คิดเป็น 44.22% 
  • ห้องเรียน 70 คน คิดเป็น 23.10% 
  • ห้องสมุด 23 คน คิดเป็น 7.59% 
  • โรงอาหาร 22 คน คิดเป็น 7.26% 
  • สนามกีฬา 19 คน คิดเป็น 6.27% 
  • ห้องพยาบาล 14 คน คิดเป็น 4.62% 
  • ห้องพักครู 11 คน คิดเป็น 3.63%
  • อื่นๆ 10 คน คิดเป็น 3.30% เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ที่จอดรถ อาคารเรียน และบางส่วนก็เขียนตอบว่าทุกข้อ

 

นอกจากนี้ยังพบว่า ไม่ว่าจะเป็นครูชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือ ปวช. ต่างก็เลือกให้ห้องน้ำเป็นสถานที่ที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาคก็พบว่า ครูทุกภาคต่างลงความเห็นเหมือนกันว่าอยากให้โรงเรียนปรับปรุงห้องน้ำมากที่สุด 

 

กฎที่ครูไม่ชอบที่สุด

 

  • ครูไม่ชอบการแต่งกายประจำวันมากที่สุด 74 คน คิดเป็น 24.42% 
  • การเช็กชื่อก่อนเข้าแถวและการใส่กระโปรง (ยกเว้นครูพละ) 63 คน คิดเป็น 20.79% 
  • การแต่งกายผ้าไทย 47 คน คิดเป็น 15.51% 
  • อื่นๆ 56 คน คิดเป็น 18.48% เช่น การเข้าเวรเสาร์-อาทิตย์ การสแกนนิ้วหลังเลิกเรียน และมีจำนวนหนึ่งที่ตอบว่า ไม่มีปัญหากับกฎระเบียบ

 

หากมองรายภาคพบว่า การต้องใส่กระโปรง (ยกเว้นครูพละ) เป็นกฎที่ครูในภาคกลางไม่ชอบที่สุด ส่วนการเช็กชื่อก่อนเข้าแถวเป็นกฎที่ครูภาคเหนือไม่ชอบมากที่สุด ส่วนการแต่งกายผ้าไทยเป็นกฎที่ครูภาคใต้ไม่ชอบมากที่สุด 

 

หากมองในรายสังกัดของโรงเรียน ทั้งครูโรงเรียนรัฐและเอกชนไม่ชอบการแต่งกายประจำวันมากที่สุด นอกจากนี้หากมองครูประถมและมัธยมพบว่า ครูประถมไม่ชอบการเช็กชื่อก่อนเข้าแถวเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนครูมัธยมยังคงยกให้การแต่งกายประจำวันเป็นกฎที่ไม่ชอบมากที่สุด

 

หมายเหตุ: การแต่งกายประจำวันคือการกำหนดชุดการแต่งกายของครูในแต่ละวัน เช่น วันจันทร์ – ชุดข้าราชการ (สีกากี), วันอังคาร – ชุดเสื้อกีฬา, วันพุธ – ชุดสุภาพ และวันพฤหัส – ชุดลูกเสือ เป็นต้น 

 

สิ่งที่ไม่อยากให้นักเรียนทำมากที่สุด

 

  • ครูไม่อยากให้นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในเวลาเรียนมากที่สุด 101 คน คิดเป็น 33.33% 
  • พูดจาหยาบคาย 88 คน คิดเป็น 29.04% 
  • ล้อเลียนเรื่องกายภาพ เพศ ชาติพันธุ์ และสำเนียง 54 คน คิดเป็น 17.82% 
  • นินทาครูลงโซเชียลมีเดีย 17 คน คิดเป็น 5.61%
  • โพสต์คลิป / ภาพถ่าย ของครูลงโซเชียลมีเดีย 15 คน คิดเป็น 4.95% 
  • การถึงเนื้อถึงตัว 15 คน คิดเป็น 4.95%
  • อื่นๆ 13 คน คิดเป็น 4.29% เช่น นักเรียนมาสาย การไม่ตั้งใจเรียน และบางส่วนก็เขียนตอบว่าทุกข้อ 

 

หากพิจารณารายภาคพบว่า ครูภาคเหนือและภาคใต้ไม่อยากให้นักเรียนพูดจาหยาบคายมากที่สุด เช่นเดียวกับการจำแนกตามสังกัดของโรงเรียน ครูโรงเรียนเอกชนไม่อยากให้นักเรียนพูดจาหยาบคายมากที่สุด นอกจากนี้ครูประถมให้การพูดจาหยาบคายเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้นักเรียนทำมากที่สุด

 

สิ่งที่ครูอยากได้มากที่สุด

 

  • ครูอยากให้เพิ่มเงินเดือน / ค่าวิทยฐานะ มากที่สุด 149 คน คิดเป็น 49.17% 
  • มาตรฐานการขึ้นเงิน 45 คน คิดเป็น 14.85% 
  • ค่าสื่อการสอน 32 คน คิดเป็น 10.56% 
  • ค่าทำงานล่วงเวลา 25 คน คิดเป็น 8.25% 
  • รถโรงเรียนอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมนอกสถานที่ 13 คน คิดเป็น 4.29% 
  • ค่าอยู่เวร 10 คน คิดเป็น 3.30% 
  • เพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยง 6 คน คิดเป็น 1.98% 
  • ค่าอินเทอร์เน็ต 5 คน คิดเป็น 1.65% 
  • อื่นๆ 18 คน คิดเป็น 5.94% เช่น ขอให้มีเจ้าหน้าที่การเงินและพัสดุโดยตรง ขอขวัญและกำลังใจ การลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน และการบรรจุข้าราชการเมื่ออายุงานถึงเกณฑ์

 

นอกจากนี้พบว่า ไม่ว่าจะครูประถม-มัธยม ครูโรงเรียนรัฐ-เอกชน ครูทุกภาค หรือทุกเพศ ต่างก็เลือกให้การเพิ่มเงินเดือน / ค่าวิทยฐานะ เป็นสิ่งที่ครูอยากได้มากที่สุด

 

สิ่งที่ครูไม่อยากให้มีมากที่สุด

 

  • ครูไม่อยากอยู่เวรนอกเวลาเรียนมากที่สุด 124 คน คิดเป็น 40.92%
  • งานการเงิน 37 คน คิดเป็น 12.21% 
  • งานพัสดุ 33 คน คิดเป็น 10.89% 
  • งานประกันคุณภาพ 19 คน คิดเป็น 6.27% 
  • งานธุรการ 17 คน คิดเป็น 5.61% 
  • งานอบรม 15 คน คิดเป็น 4.95% 
  • งานพิธีการ 12 คน คิดเป็น 3.96% 
  • งานวัดผลประเมินผล 3 คน คิดเป็น 0.99% 
  • งานทะเบียน 2 คน คิดเป็น 0.66% 
  • งานทะเบียนนักเรียน 2 คน คิดเป็น 0.66% 
  • งานโภชนาการ 2 คน คิดเป็น 0.66% 
  • งานสารสนเทศ 2 คน คิดเป็น 0.66% 
  • งานอนามัย 2 คน คิดเป็น 0.66% 
  • งานอาคารสถานที่ 1 คน คิดเป็น 0.33%
  • อื่นๆ 32 คน คิดเป็น 10.56% เช่น งาน PLC (การทำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) และส่วนใหญ่ตอบว่า ทุกงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

 

นอกจากนี้ยังพบว่า ครูทุกภาค ทุกระดับชั้น เลือกไม่อยากอยู่เวรนอกเวลามากที่สุด ในขณะที่อันดับ 2 นั้นหากดูรายภาคจะพบว่า ภาคเหนือเป็นเรื่องงานพัสดุ ส่วนภาคใต้เป็นเรื่องงานการเงินกับงานการประกันคุณภาพที่มีการเลือกในจำนวนเท่ากัน

 

กิจกรรมที่ครูไม่อยากให้มีที่สุด

 

  • พานักเรียนไปแข่งขันนอกสถานที่เป็นกิจกรรมที่ครูไม่อยากให้มีที่สุด 80 คน คิดเป็น 26.40%
  • เข้าค่ายลูกเสือ 48 คน คิดเป็น 15.84% 
  • สมุดบันทึกความดี 42 คน คิดเป็น 13.86% 
  • กิจกรรมวันพ่อวันแม่ 37 คน คิดเป็น 12.21% 
  • กิจกรรมค่ายธรรมะ 30 คน คิดเป็น 9.90% 
  • กิจกรรมหน้าเสาธง 12 คน คิดเป็น 3.96% 
  • กิจกรรมสวดมนต์ 11 คน คิดเป็น 3.63% 
  • กิจกรรมจิตอาสา 5 คน คิดเป็น 1.65%
  • อื่นๆ 38 คน คิดเป็น 12.54% เช่น กีฬาสี และกิจกรรม PLC (การทำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) กิจกรรมแนะแนว งานประเมิน และบางส่วนตอบว่า ไม่มีกิจกรรมไหนที่ไม่อยากให้มี

 

เมื่อพิจารณาสัดส่วนผู้เลือกกิจกรรมพานักเรียนไปแข่งขันนอกสถานที่พบว่า เป็นครูที่ทำงานมากกว่า 20 ปีมากที่สุด 25 คน คิดเป็น 31.25% สัดส่วนน้อยที่สุดคือ ครูที่ทำงานน้อยกว่า 1 ปี มี 1 คน คิดเป็น 1.25% โดยที่อันดับ 2 เป็นครูซึ่งทำงานมาแล้ว 5-10 ปี มี 17 คน คิดเป็น 21.25% และอันดับ 3 เป็นครูที่ทำงานมาแล้ว 15-20 ปี 16 คน คิดเป็น 20% ของผู้ที่เลือกคำตอบนี้

 

วิชาที่ครูอยากให้ยกเลิกที่สุด

 

  • วิชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และบำเพ็ญประโยชน์ เป็นวิชาที่ครูอยากยกเลิกมากที่สุด 114 คน คิดเป็น 37.62% 
  • วิชาชุมนุม / ชมรม 57 คน คิดเป็น 18.81% 
  • วิชาหน้าที่พลเมือง 46 คน คิดเป็น 15.18% 
  • วิชานาฏศิลป์ 18 คน คิดเป็น 5.94% 
  • วิชาพุทธศาสนา 12 คน คิดเป็น 3.96% 
  • วิชาพลศึกษา 4 คน คิดเป็น 1.32%
  • อื่นๆ 52 คน คิดเป็น 17.16% เช่น สุขศึกษา ศิลปะ และส่วนใหญ่เขียนตอบว่า ไม่มีวิชาที่อยากยกเลิก

 

เมื่อพิจารณาครูที่อยากให้ยกเลิกวิชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และบำเพ็ญประโยชน์ พบว่า ทุกช่วงอายุการทำงานเลือกตอบข้อนี้เป็นสัดส่วนมากที่สุด ครูที่ทำงานมากกว่า 20 ปี มีสัดส่วน 29.76% ของจำนวนครูในกลุ่มนี้ ครูที่ทำงาน 15-20 ปี มี 39.02% ของจำนวนครูในกลุ่มนี้ ครูที่ทำงาน 10-15 ปี มี 37.25% ของจำนวนครูในกลุ่มนี้ ครูที่ทำงาน 5-10 ปี มี 40.48% ของจำนวนครูในกลุ่มนี้ 1-5 ปี มี 42.55% ของจำนวนครูในกลุ่มนี้ น้อยกว่า 1 ปี มี 44.74% ของจำนวนครูในกลุ่มนี้

 

สิ่งที่อยากเห็นผู้บริหารโรงเรียนทำที่สุด

 

  • ครูอยากให้ยกเลิกนโยบายการประกันเกรด ปลอด 0, ร, มส ของนักเรียนมากที่สุด 123 คน คิดเป็น 40.59% 
  • ไม่เลือกปฏิบัติ 100 คน คิดเป็น 33% 
  • ยกเลิกการส่งไปอบรมที่ไม่จำเป็น 34 คน คิดเป็น 11.22%
  • ไม่ใช้ให้ทำงานส่วนตัว 32 คน คิดเป็น 10.56% 
  • อื่นๆ 14 คน คิดเป็น 4.62% เช่น รับฟังความคิดเห็นของครู มีแผนในการทำงาน บางคนเขียนตอบว่า ทุกข้อรวมกัน 

 

เมื่อพิจารณาครูที่ตอบว่า ต้องการให้ยกเลิกนโยบายประกันเกรดพบว่า จากผู้ตอบ 123 คน เป็นครูมัธยมมากที่สุด 87 คน หรือคิดเป็น 50.29% ของครูมัธยมทั้งหมด 171 คน ครูประถม 30 คน หรือคิดเป็น 25.42% ของครูประถมทั้งหมด 118 คน ครู ปวช. 6 คน หรือคิดเป็น 42.85% ของครู ปวช. ทั้งหมด 14 คน 

 

หากจำแนกผู้ที่เลือกข้อนี้ตามระยะเวลาในการทำงานพบว่า ครูที่ทำงานมานานมากกว่า 20 ปี มีสัดส่วนมากที่สุด 30 คน คิดเป็น 24.59% ของครูที่เลือกข้อนี้ รองลงมา ครูที่ทำงาน 1-5 ปี 24 คน คิดเป็น 19.67% และอันดับ 3 ครูที่ทำงาน 15-20 ปี 19 คน คิดเป็น 15.57% 

 

สิ่งที่อยากเห็นผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการทำที่สุด

 

  • ครูอยากให้ลดภาระงานเอกสารที่ต้องทำส่งกระทรวงมากที่สุด 146 คน คิดเป็น 48.18% 
  • เพิ่มค่าตอบแทนครู 62 คน คิดเป็น 20.46% 
  • ปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ 38 คน 12.54% 
  • เพิ่มจำนวนครูให้เหมาะสมกับนักเรียน 35 คน 11.55% 
  • มีระบบรับเรื่องร้องเรียนตรงถึงรัฐมนตรี 9 คน 2.97%
  • อื่นๆ เช่น เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน เพื่อจัดการเอกสารที่ไม่จำเป็นกับการสอน

 

เมื่อพิจารณาเฉพาะการลดภาระงานเอกสารที่ต้องทำส่งกระทรวงพบว่า เป็นครูที่ทำงานมานานกว่า 20 ปี มากที่สุด 37 คน คิดเป็น 25.34% รองลงมา ครูที่ทำงานมาแล้ว 10-15 ปี 28 คน คิดเป็น 19.17% อันดับ 3 ครูที่ทำงานน้อยกว่า 1 ปี 23 คน คิดเป็น 15.75% 

 

ดูข้อมูลฉบับเต็มได้ที่: https://rocketmedialab.co/database-teacher-q1-2024

The post ‘ปรับปรุงห้องน้ำ-ลดงานเอกสาร-งดนอนเวร’ เปิดผลสำรวจที่สุดปัญหาครูไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ห้องน้ำ-ยกเลิกลูกเสือ’ เปิดที่สุดปัญหาโรงเรียนไทย https://thestandard.co/thai-school-issues/ Mon, 15 Jan 2024 08:31:46 +0000 https://thestandard.co/?p=887902 ปัญหาโรงเรียนไทย

Rocket Media Lab ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ จัดทำแบบสอบถา […]

The post ‘ห้องน้ำ-ยกเลิกลูกเสือ’ เปิดที่สุดปัญหาโรงเรียนไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปัญหาโรงเรียนไทย

Rocket Media Lab ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ จัดทำแบบสอบถามนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ ในช่วงวันที่ 9-11 มกราคม 2567 จากจำนวนนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั่วประเทศทั้งหมด 1,985 คน พบว่า เป็นเพศชาย 488 คน, เพศหญิง 1,247 คน, LGBTQIA+ 199 คน และไม่ต้องการระบุเพศ 51 คน

 

เป้าหมายการสำรวจครั้งนี้เพื่อสำรวจความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์ในโรงเรียน การเรียนการสอน หรือครู เพื่อนำเสนอในวาระวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี โดยมีผลการสำรวจที่น่าสนใจดังนี้

 

คลิกอ่านผลสำรวจฉบับเต็มที่ https://rocketmedialab.co/database-student-q1-2024/

 

ปัญหาโรงเรียนไทย

 

ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

The post ‘ห้องน้ำ-ยกเลิกลูกเสือ’ เปิดที่สุดปัญหาโรงเรียนไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผลสำรวจ ‘เด็กไทย’ อยากยกเลิกกิจกรรมหน้าเสาธง-วิชาลูกเสือ เพิ่มวิชาการเงิน การลงทุน https://thestandard.co/mathayom-1-6-poll-9-11-01-2567/ Sat, 13 Jan 2024 02:42:30 +0000 https://thestandard.co/?p=887233

วันนี้ (13 มกราคม) Rocket Media Lab ร่วมกับมูลนิธิแพธทู […]

The post ผลสำรวจ ‘เด็กไทย’ อยากยกเลิกกิจกรรมหน้าเสาธง-วิชาลูกเสือ เพิ่มวิชาการเงิน การลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (13 มกราคม) Rocket Media Lab ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ได้จัดทำแบบสอบถามนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ ในช่วงวันที่ 9-11 มกราคม 2567 เพื่อสำรวจความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์ในโรงเรียน การเรียนการสอน ครู 

 

จากจำนวนนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั่วประเทศทั้งหมด 1,985 คน พบว่า เป็นเพศชาย 488 คน หญิง 1,247 คน LGBTQIA+ 199 คน และไม่ต้องการระบุเพศ 51 คน ในจำนวนนี้แยกเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 163 คน ระดับชั้นมัธยมศึกษา 1,772 คน และ ปวช. 50 คน 

 

เมื่อแยกพื้นที่ของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามตามภาคจะพบว่า เป็นนักเรียนในภาคกลางมากที่สุด 746 คน คิดเป็น 37.58% รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 709 คน คิดเป็น 35.72.% ภาคเหนือ 248 คน คิดเป็น 12.49% ภาคใต้ 194 คน คิดเป็น 9.77% ภาคตะวันออก 49 คน คิดเป็น 2.47% และภาคตะวันตก 39 คน คิดเป็น 1.9%

 

สถานที่ใดในโรงเรียนที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุด

 

จากคำถามข้อแรกที่ถามว่าสถานที่ใดที่อยากให้ปรับปรุงมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า ‘ห้องน้ำ’ เป็นสถานที่ที่นักเรียนอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด โดยตอบสูงถึง 1,388 คน คิดเป็น 96.92% รองลงมาคือ ห้องเรียน 187 คน คิดเป็น 9.42% โรงอาหาร 156 คน คิดเป็น 7.86% สนามกีฬา 142 คน คิดเป็น 7.15% ห้องพยาบาล 31 คน คิดเป็น 1.56% ห้องสมุด 27 คน คิดเป็น 1.36% 

 

อื่นๆ 54 คน คิดเป็น 2.72% เช่น ห้องพักครู โดม หอประชุม โรงรถ ห้องเก็บของ และบางส่วนก็เขียนตอบว่าทุกข้อ

 

กฎที่ไม่ชอบที่สุด

 

สำหรับคำถามว่ากฎเกณฑ์ของโรงเรียนเรื่องใดที่นักเรียนไม่ชอบมากที่สุดนั้น พบว่านักเรียนไม่ชอบให้โรงเรียนกำหนด ‘ทรงผม’ มากที่สุด โดยมีนักเรียนตอบข้อนี้ 990 คน คิดเป็น 49.87% รองลงมาคือ ยึดโทรศัพท์ก่อนเข้าเรียน เป็นจำนวน 209 คน คิดเป็น 10.5% ถัดมาห้ามแต่งหน้า จำนวน 195 คน คิดเป็น 9.82% บังคับใช้กระเป๋าของโรงเรียน 150 คน คิดเป็น 7.56% ห้ามทำสีผม 121 คน คิดเป็น 6.10% เล็บต้องสั้น 100 คน คิดเป็น 5.04% กำหนดรูปแบบถุงเท้า 59 คน คิดเป็น 2.97% กำหนดความยาวกางเกง/กระโปรง 29 คน คิดเป็น 1.46% บังคับใส่เสื้อซับใน 16 คน คิดเป็น 0.81% อื่นๆ 116 คน คิดเป็น 5.84% เช่น ห้ามใส่เสื้อแขนยาว เสื้อกันหนาวในฤดูร้อน ห้ามใส่เครื่องประดับ   

 

การลงโทษของครูที่ไม่ชอบที่สุด

 

ส่วนคำถามที่ว่าการลงโทษแบบไหนของครูที่นักเรียนไม่ชอบที่สุด พบว่า การประจานต่อหน้าเพื่อน เป็นสิ่งที่นักเรียนไม่ชอบมากที่สุด โดยมีนักเรียนเลือกตอบในข้อนี้ 777 คน คิดเป็น 39.14% รองลงมาคือการด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย จำนวน 356 คน คิดเป็น 17.93% อันดับสามคือ กล้อนผม/ตัดผม จำนวน 248 คน คิดเป็น 12.49% ยึดโทรศัพท์ 182 คน คิดเป็น 9.17% สควอตจัมป์/วิ่งรอบสนาม 130 คน คิดเป็น 6.55% การตี 107 คน คิดเป็น 5.39% ให้นั่งตากแดด 66 คน คิดเป็น 3.32% อื่นๆ 119 คน คิดเป็น 5.99% เช่น หักคะแนนความประพฤติ เก็บเงิน/โดนปรับด้วยเงิน ยึดของ 

 

เรื่องที่อยากให้ครูเข้าใจและช่วยเหลือมากที่สุด

 

ส่วนคำถามที่ว่าเรื่องที่นักเรียนอยากให้ครูเข้าใจและช่วยเหลือมากที่สุดคือเรื่องใดนั้น พบว่า เรื่องที่นักเรียนตอบมากที่สุดก็คือ อยากให้ครูเข้าใจเงื่อนไขที่ต่างกันของนักเรียนแต่ละคน เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาส่วนตัว โดยมีจำนวน 807 คน คิดเป็น 40.65% 

 

รองลงมาคือ อยากให้เข้าใจเรื่องสุขภาพจิตของนักเรียน เช่น อาการซึมเศร้า วิตกกังวล จำนวน 421 คน คิดเป็น 21.21% อันดับสามคือ ความแตกต่างทางกายภาพ เช่น รูปร่าง ความสูง สีผิว จำนวน 382 คน คิดเป็น 19.24% ความหลากหลายทางเพศ จำนวน 282 คน คิดเป็น 14.21% และอื่นๆ จำนวน 93 คน คิดเป็น 4.69% เช่น ความสามารถที่แตกต่างกันของนักเรียน การโดนบูลลี่ 

 

สิ่งที่ไม่อยากให้ครูทำมากที่สุด

 

คำถามที่ว่าอะไรคือสิ่งที่นักเรียนไม่อยากให้ครูทำมากที่สุด พบว่าอันดับหนึ่งคือการล้อเลียนนักเรียนด้วยเรื่องกายภาพ เพศ ชาติพันธุ์ สำเนียง จำนวน 447 คน คิดเป็น 22.52% รองลงมาคือ สั่งการบ้าน 400 คน คิดเป็น 20.15% พูดจาหยาบคาย จำนวน 290 คน คิดเป็น 14.61% 

 

เลือกที่รักมักที่ชัง จำนวน 280 คน คิดเป็น 14.11% สั่งงานที่ทำให้เกิดภาระทางการเงิน 239 คน คิดเป็น 12.04% ถึงเนื้อถึงตัว 63 คน คิดเป็น 3.17% นินทานักเรียนลงโซเชียลมีเดีย 59 คน คิดเป็น 2.97% ใช้ให้ทำงานในเรื่องส่วนตัว 54 คน คิดเป็น 2.72% รับสอนพิเศษแล้วออกข้อสอบ 42 คน คิดเป็น 2.12% โพสต์คลิป/ภาพถ่ายของนักเรียนลงโซเชียลมีเดีย 32 คน คิดเป็น 1.61% และอื่นๆ 79 คน คิดเป็น 3.98% เช่น นินทานักเรียนให้ครูคนอื่นหรือห้องอื่นฟัง สั่งงานในช่วงก่อนสอบหรือสั่งงานมากเกินไป 

 

สิ่งที่นักเรียนอยากให้มีมากที่สุด

 

ส่วนคำถามเรื่องสิ่งที่นักเรียนอยากให้มีมากที่สุด พบว่านักเรียนอยากให้ชั่วโมงเรียนน้อยลงมากที่สุด จำนวน 757 คน คิดเป็น 38.14% รองลงมาคือนักเรียนอยากใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียน จำนวน 386 คน คิดเป็น 19.45% อันดับสามคือ อยากให้มีกิจกรรมประเมินครู จำนวน 231 คน คิดเป็น 11.64% แต่งชุดนักเรียนตามเพศสภาพ 189 คน คิดเป็น 9.52% มีนักจิตวิทยาในโรงเรียน 185 คน คิดเป็น 8.32% อินเทอร์เน็ตฟรี 157 คน คิดเป็น 7.91% และอื่นๆ 80 คน คิดเป็น 4.03% เช่น ยกเลิกกฎระเบียบทรงผม คาบว่าง 

 

กิจกรรมที่นักเรียนไม่อยากให้มีที่สุด

 

สำหรับคำถามที่ว่ากิจกรรมใดที่นักเรียนไม่อยากให้มีมากที่สุด พบว่านักเรียนอยากให้ยกเลิกกิจกรรมหน้าเสาธง มากที่สุด จำนวน 532 คน คิดเป็น 26.8% รองลงมาคือ สมุดบันทึกความดี จำนวน 328 คน คิดเป็น 16.52% อันดับสามคือ กิจกรรมค่ายธรรมะ จำนวน 276 คน คิดเป็น 13.9% กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ จำนวน 267 คน คิดเป็น 13.45% กิจกรรมสวดมนต์ จำนวน 220 คน คิดเป็น 11.08% กิจกรรมวันพ่อวันแม่ จำนวน 106 คน คิดเป็น 5.34% เวรทำความสะอาด จำนวน 98 คน คิดเป็น 4.94% กิจกรรมจิตอาสา จำนวน 82 คน คิดเป็น 4.13% อื่นๆ 76 คน คิดเป็น 3.83% เช่น กิจกรรมกีฬาสี บันทึกรักการอ่าน กิจกรรม 5 ส. 

 

วิชาที่อยากให้ยกเลิกที่สุด

 

ในคำถามที่ว่าวิชาใดที่นักเรียนอยากให้ยกเลิกที่สุด พบว่าวิชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด บำเพ็ญประโยชน์ เป็นวิชาที่นักเรียนอยากให้ยกเลิกมากที่สุด จำนวน 1,216 คน คิดเป็น 61.26% รองลงมาคือ วิชาพุทธศาสนา จำนวน 225 คน คิดเป็น 11.34% อันดับสามก็คือ วิชาหน้าที่พลเมือง จำนวน 128 คน คิดเป็น 6.45% วิชาชุมนุม/ชมรม จำนวน 127 คน คิดเป็น 6.40% นาฏศิลป์ จำนวน 122 คน คิดเป็น 6.15% พลศึกษา จำนวน 40 คน คิดเป็น 2.02% อื่นๆ 127 คน คิดเป็น 6.4% เช่น แนะแนว คณิตศาสตร์ กระบี่กระบอง 

 

วิชาที่อยากให้มีที่สุด

 

เมื่อถามว่า วิชาใดที่นักเรียนอยากให้มีมากที่สุดคือ การเงิน การลงทุน โดยมีนักเรียนที่เลือกตอบข้อนี้ 788 คน คิดเป็น 39.7% รองลงมาคือ วิชาว่าด้วยการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย จำนวน 416 คน คิดเป็น 20.96% อันดับสามคือ วิชาอีสปอร์ต จำนวน 396 คน คิดเป็น 19.95% แดนซ์ จำนวน 268 คน คิดเป็น 13.5% อื่นๆ จำนวน 117 คน คิดเป็น 5.89% เช่น ปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชาการป้องกันตัว แต่งหน้าทำผม ทำอาหาร 

 

อ่านข้อมูลทั้งหมดที่ rocketmedialab.co/database-student-q1-2024 

The post ผลสำรวจ ‘เด็กไทย’ อยากยกเลิกกิจกรรมหน้าเสาธง-วิชาลูกเสือ เพิ่มวิชาการเงิน การลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : Vote62 สรุปผลงานการจับตา-รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง 66 แนะเร่งประกาศรับรองผลเลือกตั้ง เปิดทางจัดตั้งรัฐบาลใหม่ https://thestandard.co/vote62-on-election-2566/ Sat, 20 May 2023 12:10:03 +0000 https://thestandard.co/?p=793176

วันนี้ (20 พฤษภาคม) ที่สำนักงาน iLaw มีการจัดแถลงสรุปผล […]

The post เลือกตั้ง 2566 : Vote62 สรุปผลงานการจับตา-รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง 66 แนะเร่งประกาศรับรองผลเลือกตั้ง เปิดทางจัดตั้งรัฐบาลใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (20 พฤษภาคม) ที่สำนักงาน iLaw มีการจัดแถลงสรุปผลการจับตาและรายงานผลการนับคะแนนในการเลือกตั้ง 2566 โดย Vote62 ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง iLaw, Rocket Media Lab, Opendream และองค์กรพันธมิตรอีกมากมายที่ร่วม 

 

ยุคลธรณ์ ช้อยเครือ กลุ่มทะลุฟ้า กล่าวว่า เราเริ่มแคมเปญรณรงค์หาอาสาสมัครก่อนจะมีการเลือกตั้งประมาณ 3-4 เดือน ทั่วประเทศไทย เราทำค่ายอาสาสมัคร นอกจากนั้นยังมีการลงพื้นที่ไปรณรงค์ตามที่ต่างๆ ทำให้เห็นความตื่นตัวอย่างมากกับการเลือกตั้ง ทำให้มีอาสาสมัครกว่า 39,000 หน่วย 

 

ด้าน ปฏิพัทธ์ สุสำเภา จาก Opendream กล่าวว่า รัฐต้องอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะการเปิดข้อมูล อย่างการเปิดข้อมูลหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่มี ทำให้ต้องใช้ระบบ Crowdsourcing ให้ประชาชนมาช่วยกันกรอกข้อมูลหน่วยเลือกตั้งของตัวเอง โดยในอนาคตเราต้องรณรงค์ให้ทำ Open Election Data เพื่อการเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ดีกว่านี้

 

ด้าน อานนท์ ชวาลาวัณย์ จาก iLaw กล่าวว่า ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีการรายงานปัญหาการเลือกตั้งจากทุกช่องทาง ทั้งทาง iLaw เอง และ Vote62 สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมในการจัดการการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และการอบรมเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งที่มีปัญหา 

 

ส่วน ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw กล่าวว่า ต่อจากนี้ Vote62 จะเปิดข้อมูลผลคะแนนรายเขตที่อาสาสมัครรายงานเข้ามาทั่วประเทศ และข้อมูลรายหน่วย นอกจากนั้นจะดำเนินการสื่อสารและจัดกิจกรรมกับอาสาสมัครที่มีส่วนร่วมมากกว่า 40,000 คน เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการจับตาทางประชาธิปไตยโดยภาคประชาชนต่อไปในอนาคต

 

อย่างไรก็ตาม ในการแถลงครั้งนี้มีข้อเสนอต่อ กกต. เพื่ออนาคต โดยข้อเสนอในระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 

 

  1. กกต. ควรเร่งรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยเร็วที่สุด แม้ในระเบียบข้อ 215 จะให้เวลา กกต. 60 วัน แต่ควรประกาศรับรองในวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2566 เพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลใหม่สามารถเดินหน้าไปได้โดยไม่เปิดช่องว่างให้เกิดการเจรจาต่อรอง เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลให้แตกต่างไปจากที่ประชาชนได้ออกเสียงมา 

 

  1. สำหรับเขตเลือกตั้งที่มีข้อร้องเรียนว่าผลคะแนนรวมไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ระเบียบข้อ 177 (4) และข้อ 223 ให้อำนาจ กกต. สั่ง ‘นับคะแนนใหม่’ ได้ และควรสั่งโดยเร็ว เพื่อสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส ไม่ใช่การเพิ่มภาระ และไม่ใช่การเสียหน้าสำหรับ กกต. 

 

  1. สำหรับเขตเลือกตั้งที่ยังมีข้อสงสัยและมีข้อร้องเรียน กกต. ควรเร่งตรวจสอบและชี้แจงต่อสาธารณะให้เร็วที่สุด

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไป

 

  1. กกต. ควรเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นอย่างเป็นระบบและเป็นกิจจะลักษณะ เช่น ข้อมูลสถานที่ตั้งหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ ข้อมูลจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแต่ละพื้นที่ ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการหาเสียง ข้อมูลเรื่องร้องเรียนและผลการพิจารณา ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนตรวจสอบและสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งได้สะดวกขึ้น และเกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางมากขึ้น 

 

  1. กกต. ควรให้ความรู้และจัดอบรมให้กับกรรมการประจำหน่วย (กปน.) ให้เข้าใจระบบการจัดการเลือกตั้งภาพรวมให้มากขึ้น ให้มีความรู้เรื่องขั้นตอนการปฏิบัติและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเปิดให้ประชาชนตรวจสอบ สอบถาม ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพื่อลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพของ กปน. ด้วย 

 

  1. กกต. ควรถอดบทเรียนจากระบบการรายงานผลคะแนนในปี 2566 และพัฒนาระบบที่ดีขึ้น โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบกฎหมาย ระเบียบ และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการรายงานผลคะแนนที่รวดเร็ว ถูกต้อง และโปร่งใสกว่าเดิม

The post เลือกตั้ง 2566 : Vote62 สรุปผลงานการจับตา-รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง 66 แนะเร่งประกาศรับรองผลเลือกตั้ง เปิดทางจัดตั้งรัฐบาลใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เช็กจำนวนกลุ่ม First Voter – ผู้สูงวัย คะแนนเสียงกลุ่มใหม่และกลุ่มใหญ่ในสนามเลือกตั้ง 66 https://thestandard.co/2023-election-first-voter-elder/ Fri, 24 Feb 2023 13:04:31 +0000 https://thestandard.co/?p=755181 เลือกตั้ง 66

ทีมข่าว THE STANDARD ชวนสำรวจจำนวนประชากรที่มีสิทธิ มีเ […]

The post เช็กจำนวนกลุ่ม First Voter – ผู้สูงวัย คะแนนเสียงกลุ่มใหม่และกลุ่มใหญ่ในสนามเลือกตั้ง 66 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 66

ทีมข่าว THE STANDARD ชวนสำรวจจำนวนประชากรที่มีสิทธิ มีเสียงในการเลือกตั้งปี 2566 ที่กำลังจะถึงนี้ ผ่านการรวบรวมข้อมูลของ Rocket Media Lab ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลจำนวนประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง

 

พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป มีทั้งหมด 52,322,824 คน ประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในสนามเลือกตั้งครั้งนี้คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 14,378,037 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 27.48 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 

 

ขณะที่กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกหรือ First Voter มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 4,012,803 คน คิดเป็นร้อยละ 7.67 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

 

เลือกตั้ง 66

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

The post เช็กจำนวนกลุ่ม First Voter – ผู้สูงวัย คะแนนเสียงกลุ่มใหม่และกลุ่มใหญ่ในสนามเลือกตั้ง 66 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘แก้ฝุ่นจิ๋วด้วยงบจิ๋ว’ ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้สัมผัสอากาศดีแค่ 49 วัน https://thestandard.co/bangkok-air-quality-problem/ Fri, 27 Jan 2023 10:30:46 +0000 https://thestandard.co/?p=742899 PM2.5

ทีมข่าว THE STANDARD อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาสถิติเว็บไ […]

The post ‘แก้ฝุ่นจิ๋วด้วยงบจิ๋ว’ ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้สัมผัสอากาศดีแค่ 49 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
PM2.5

ทีมข่าว THE STANDARD อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาสถิติเว็บไซต์ The World Air Quality Index Project และค่าระดับคุณภาพอากาศของค่า PM2.5 จากข้อเสนอของ Greenpeace ของ Rocket Media Lab พบว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครมีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์สีเขียว (คุณภาพอากาศดี) ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทุกคนสามารถประกอบกิจกรรมได้ตามปกติ จำนวน 49 วัน คิดเป็น 13.42% ของทั้งปี 

 

เกณฑ์สีเหลือง (คุณภาพอากาศปานกลาง) อาจมีผลกระทบต่อคนที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษและอาจต้องพิจารณาจำกัดกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 261 วัน หรือคิดเป็น 71.51% ของทั้งปี

 

เกณฑ์สีส้ม (คุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ) เด็ก ผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคปอด ต้องจำกัดการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย มีจำนวน 52 วัน หรือคิดเป็น 14.25% ของทั้งปี

 

และเกณฑ์สีแดง (คุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ) มี 3 วัน หรือคิดเป็น 0.82% ของทั้งปี

 

ในปี 2565 พบว่า เดือนที่กรุงเทพฯ อากาศแย่มากที่สุดคือเดือนเมษายน อากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ 3 วัน, อากาศดี 2 วัน, อากาศปานกลาง 19 วัน และอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ 6 วัน

 

📍 อุปมา ‘ฝุ่น PM2.5 ปริมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร’ เท่ากับ ‘บุหรี่ 1 มวน’ 

อ้างอิงงานของ ริชาร์ด เอ. มุลเลอร์ นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้คำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ปริมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน 

 

ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้รับฝุ่นละออง PM2.5 เท่ากับบุหรี่ 1,224.77 มวน เดือนเมษายนที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุด ฝุ่น PM2.5 ปริมาณเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 127.77 มวนเฉลี่ยวันละ 4.26 มวน

 

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่มีส่วนดูแลแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 จำนวน 78,979,446,500 บาท แบ่งไว้แก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 ภายใต้การทำงานของสำนักสิ่งแวดล้อม จำนวน 6,845,454,756 บาท คิดเป็น 8.67% 

 

โดยสำนักสิ่งแวดล้อมมีรายการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยตรง 2 รายการ รวม 58,726,956 คิดเป็น 0.74% คือโครงการจ้างเหมาเอกชนเดินระบบและซ่อมบำรุงเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและระบบข้อมูลคุณภาพอากาศ 58,647,556 บาท และค่าใช้จ่ายในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนจากรถราชการในสังกัด กทม. 79,400 บาท 

 

สำหรับโครงการการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 อื่นๆ ที่ไม่ใช้งบประมาณในการดำเนินการ เช่น

 

  • โครงการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศและเสียงจากการก่อสร้าง
  • โครงการด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 
  • โครงการตรวจวัดรถยนต์ควันดำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
  • โครงการอากาศสะอาดเพื่อเราทุกคน 
  • โครงการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกรุงเทพมหานคร 
  • โครงการศึกษาการจัดการปัญหาการเผาในที่โล่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

 

📍 ‘แผนระดับชาติ’ ในการจัดการ ‘ฝุ่นระดับจิ๋ว’

ย้อนกลับไปวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.)  มีมติให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองเป็น ‘วาระแห่งชาติ’ มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2567 

 

  • ภาคการขนส่งทางถนน มีการออกประกาศกำหนดมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 13 เมษายน 2565, มาตรการการตรวจควันดำ และมาตรการนําน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกํามะถันไม่เกิน 10 มิลลิลิตรต่อลูกบาศก์เมตร (ppm) (มีกำมะถันน้อยกว่า 5 เท่า) มาใช้ หรือการปรับปรุงน้ำมันให้มีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 

 

  • ภาคอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ปรับปรุงประกาศกระทรวงฯ ให้โรงงานประเภทต่างๆ ติดตั้งระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศอัตโนมัติ ครอบคลุมโรงงานที่เข้าข่ายทั่วประเทศ โดยสั่งติดเครื่องตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่องฯ แบบอัตโนมัติ พร้อมรายงานผล 24 ชั่วโมง

 

  • ภาคการเกษตรออกระเบียบกำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบในฤดูการผลิตปี 2564/65 ไม่เกิน 10% ฤดูการผลิตปี 2565/66 ไม่เกิน 5% และฤดูการผลิตปี 2566/67 เป็นศูนย์ เพื่อลดการเผาในที่โล่งแจ้ง และออกมาตรการส่งเสริมการตัดอ้อยสดผ่านการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย เพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสดโดยไม่ต้องเผาอ้อยสำหรับฤดูการผลิต 2565/66 

 

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 ที่ประชุม ครม. เห็นชอบแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 โดยเป็นการถอดบทเรียนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง จากปี 2565 นำมาปรับปรุงและยกระดับความเข้มงวดมาตรการต่างๆ เป็น 7 แนวทาง ภายใต้กรอบ ‘สื่อสารเชิงรุก ยกระดับปฏิบัติการ สร้างการมีส่วนร่วม’ ประกอบด้วย

 

  1. เร่งรัดประชาสัมพันธ์เชิงรุกและแจ้งเตือนล่วงหน้า 7 วันทุกพื้นที่ สร้างความเชื่อมั่นและลดความสับสนของประชาชน รวมทั้งสื่อสารผ่านสื่อใหม่มากขึ้น เช่น Tiktok เพื่อเข้าถึงกลุ่มเยาวชน

 

  1. ยกระดับมาตรการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ‘การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง’ และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เพิ่มความเข้มงวด ควบคุมฝุ่นละอองในช่วงวิกฤตในพื้นที่ป่า เตรียมความพร้อมบุคลากรและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ควบคุมฝุ่นละอองจากยานพาหนะและภาคอุตสาหกรรม นำน้ำมันกำมะถันต่ำมาจำหน่ายในช่วงวิกฤต เป็นต้น

 

  1. ยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร (ชิงเก็บ ลดเผา และระบบบริการการเผาในที่โล่ง) เช่น จัดเก็บเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรนำตอซัง ฟางข้าว และใบอ้อย ไปใช้ประโยชน์หรือเพิ่มมูลค่า เพื่อลดการเผา

 

  1. กำกับดูแลการดำเนินการในทุกระดับ ติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงจัดให้มีแพลตฟอร์มหรือช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือแจ้งเหตุด้านมลพิษ และติดตามการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

 

  1. ลดจุดความร้อน ป้องกันและควบคุมการเกิดไฟในทุกพื้นที่ พัฒนาระบบพยากรณ์ความรุนแรงและอันตรายของไฟ จัดทำฐานข้อมูลสำหรับการป้องกัน และควบคุมการเกิดไฟ

 

  1. ผลักดันกลไกระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจัดทำโรดแมปและกำหนดเป้าหมายลดจำนวนจุดความร้อน / พื้นที่เผาไหม้ในภูมิภาคอาเซียน

 

  1. ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการป้องกัน แก้ไข ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละออง

 

อ้างอิง: 

The post ‘แก้ฝุ่นจิ๋วด้วยงบจิ๋ว’ ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้สัมผัสอากาศดีแค่ 49 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เจาะข้อมูลฝุ่นพิษ PM2.5 ฆ่าคนไทยหลายหมื่น แต่เรารู้จักมันน้อยมาก https://thestandard.co/pm2-5-poisoned-that-we-dont-know/ Tue, 31 May 2022 08:47:45 +0000 https://thestandard.co/?p=636066 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ข้อมูลจาก Rocket Media Lab พบว่ากรุงเทพฯ เมื่อปี 2020 ใ […]

The post ชมคลิป: เจาะข้อมูลฝุ่นพิษ PM2.5 ฆ่าคนไทยหลายหมื่น แต่เรารู้จักมันน้อยมาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ข้อมูลจาก Rocket Media Lab พบว่ากรุงเทพฯ เมื่อปี 2020 ใน 1 ปีที่มี 365 วัน คนกรุงเทพฯ ใช้ชีวิตในวันที่ค่าฝุ่นน้อย และจัดว่าอากาศดีเพียง 71 วัน และหากคำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือ PM2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่าในปี 2020 คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ทั้งหมด 1,270 มวน

 

THE STANDARD จะขอเปิดข้อมูลการสำรวจอย่างต่อเนื่องของ Rocket Media Lab ว่า ปี 2021 คนกรุงเทพฯ ได้สูดอากาศดีๆ เพิ่มขึ้นบ้างไหม ขณะที่ปัญหา PM2.5 เป็นเรื่องใหญ่มาก แต่เชื่อไหมว่าเรารู้จักมันน้อยมาก นักข่าว Data Journalism ของ THE STANDARD เจาะลึกฝุ่น PM2.5 ด้วยข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ฝุ่นมาจากไหน เรารู้อะไรบ้าง รวมถึงมุมมองของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ว่าเขามองปัญหานี้อย่างไร และจะทำอะไรกับปัญหานี้ได้บ้างภายใต้อำนาจที่จำกัดของผู้ว่าฯ กทม.

The post ชมคลิป: เจาะข้อมูลฝุ่นพิษ PM2.5 ฆ่าคนไทยหลายหมื่น แต่เรารู้จักมันน้อยมาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เขตบ้านเราน่าอยู่แค่ไหน ชวนรู้จัก ‘กรุงเทพฯ’ ในเชิงลึกผ่าน Bangkok Index ของ Rocket Media Lab https://thestandard.co/bangkok-index-by-rocket-media-lab/ Mon, 23 May 2022 06:08:53 +0000 https://thestandard.co/?p=632561 Bangkok Index

น้ำท่วม รถติด สายไฟฟ้าพันรุงรัง ฟุตปาธเดินยาก อากาศแย่ […]

The post เขตบ้านเราน่าอยู่แค่ไหน ชวนรู้จัก ‘กรุงเทพฯ’ ในเชิงลึกผ่าน Bangkok Index ของ Rocket Media Lab appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bangkok Index

น้ำท่วม รถติด สายไฟฟ้าพันรุงรัง ฟุตปาธเดินยาก อากาศแย่ สูดเข้าไปทีไม่ต้องสูบบุหรี่มะเร็งปอดก็โบกมือเรียกหา คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ล้วนรู้ปัญหา แต่เคยทราบไหมว่าเมื่อนำ 50 เขตมาจัดอันดับความน่าอยู่ เขตที่เราอาศัยนั้นอยู่อันดับที่เท่าไรกัน?

 

Bangkok Index ดัชนีความน่าอยู่ของกรุงเทพฯ จัดทำโดย Rocket Media Lab องค์กรด้านข้อมูลเพื่อการสื่อสารมวลชน พาทุกคนสำรวจดัชนีความน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร ผ่านประเด็นปัญหาพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร 4 หมวดหลัก ได้แก่ 1. สิ่งแวดล้อม 2. โครงสร้างพื้นฐาน 3. การเข้าถึงการบริการสาธารณะ 4. ปัญหาอื่นๆ ซึ่งแต่ละหมวดแตกเป็นประเด็นแยกย่อยอีก 3 ประเด็น 

 

โดยแต่ละหัวข้อจะมีการให้คะแนนตั้งแต่ดีมากที่สุด 50 คะแนน ไปจนถึงดีน้อยที่สุด 1 คะแนน หลังจากนั้นจึงนำคะแนนเหล่านั้นมาจัดอันดับความน่าอยู่จากมากไปน้อย เพื่อแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติงานของแต่ละเขตเป็นอย่างไร รวมไปถึงทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เพื่อร่วมกันพัฒนากรุงเทพมหานคร

 

การจัดทำในครั้งนี้ เขตที่ได้รับคะแนนสูงสุด ครองตำแหน่งพื้นที่น่าอยู่อาศัยที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือ เขตพระนคร คะแนนรวม 417 คะแนน ตามด้วยป้อมปราบศัตรูพ่าย 413 คะแนน และราชเทวี 412 คะแนน เป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ ส่วน 3 เขตรั้งท้าย ได้แก่ ดินแดง อันดับที่ 50, วังทองหลางและลาดกระบัง อันดับ 48 ร่วม ด้วยคะแนนเท่ากัน 242 คะแนน 

 

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าเขตที่ตนอาศัยนั้นอยู่อันดับใด สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ https://rocketmedialab.co/bangkok-index

 

ภาพ: Getty Images

อ้างอิง:

The post เขตบ้านเราน่าอยู่แค่ไหน ชวนรู้จัก ‘กรุงเทพฯ’ ในเชิงลึกผ่าน Bangkok Index ของ Rocket Media Lab appeared first on THE STANDARD.

]]>