Pan’s Labyrinth – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 23 Jun 2021 09:29:03 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ความฝันวัยเด็ก กับสัตว์ประหลาดในจักรวาลของ กีเยร์โม เดล โตโร https://thestandard.co/guillermo-del-toro-creatures/ https://thestandard.co/guillermo-del-toro-creatures/#respond Sat, 03 Mar 2018 03:43:45 +0000 https://thestandard.co/?p=74626

ยังไม่แน่ใจว่าจาก 13 สาขา ที่ The Shape of Water ได้เข้ […]

The post ความฝันวัยเด็ก กับสัตว์ประหลาดในจักรวาลของ กีเยร์โม เดล โตโร appeared first on THE STANDARD.

]]>

ยังไม่แน่ใจว่าจาก 13 สาขา ที่ The Shape of Water ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในปีนี้ จะสามารถคว้า ‘ตุ๊กตาทอง’ มากอดไว้ได้สักกี่ตัว แต่ที่แน่ๆ คือชื่อของผู้กำกับชาวเม็กซิกันอย่าง กีเยร์โม เดล โตโร จะกลายเป็นชื่อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในการประกาศรางวัลปีนี้

 

จุดเด่นของเดล โตโร อยู่ที่ความลึกลับซับซ้อนของเนื้อเรื่อง ที่มักจะสะท้อนปัญหาทางสังคม และมุมมืดในจิตใจมนุษย์ผ่าน ‘สัตว์ประหลาด’ ต่างๆ ที่เขาจินตนาการขึ้นมา ถ้านับรวมจากผลงานเรื่องแรกอย่าง Mimic ที่เขาเลือกปีศาจแมลงสาบมาเป็นตัวหลักอย่างเต็มตัว จนถึง The Shape of Water เป็นจำนวน 9 เรื่องติดกัน ที่ล้วนมีสัตว์ประหลาดเหล่านี้เป็นตัวดำเนินเรื่อง

 

วันนี้ THE STANDARD ได้รวบรวมผลงานทั้งหมด รวมทั้งสัตว์ประหลาดที่มีส่วนสำคัญกับเรื่อง มาเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องทำความรู้จักตัวตนของผู้ชายคนนี้ ผ่าน ‘สัญญะ’ ประหลาดที่เขาแทรกเอาไว้ในทุกๆ ตัวละคร ที่ไม่เพียงแต่สะท้อนภาพลักษณ์ของหนังและสังคมเท่านั้น ยังสะท้อนไปถึงความคิดและความฝันในวัยเด็กของเขาเองด้วย

 

 

1. Mimic (1997)

ผลงานเรื่องที่สองของเดล โตโร และเป็นเรื่องแรกที่นับว่าเป็นการก้าวเท้าสู่วงการภาพยนตร์ฮอลลีวูดแบบเต็มตัว

 

หลังจากชิมลางบทตัวประหลาดของชายแก่เจ้าของร้านชำผู้ยอมแลกชีวิตอมตะกับการเป็นแวมไพร์กระหายเลือดในเรื่อง Cronos (1993) คราวนี้เขาจัดเต็มด้วยการเอาสิ่งมีชีวิตที่หลายคนเกลียดที่สุดอย่าง ‘แมลงสาบ’ มาเป็นตัวละครหลัก

 

จุดเริ่มต้นของเรื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์ที่เกิดไอเดียกำจัดแมลงสาบที่กำลังแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว ด้วยการตัดต่อพันธุกรรมแมลงสาบสายพันธุ์ใหม่ให้ไปกำจัดแมลงสาบด้วยกันเอง และตั้งชื่อว่า ‘จูดาส’ ซึ่งมันก็ทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม เพียงแต่มันไม่ยอมตายในระยะเวลา 3 เดือนอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งใจไว้ แถมมันยังค่อยๆ เจริญเติบโต แข็งแกร่ง ดุร้าย และเริ่มเบนเป้าหมายมาล่ามนุษย์เป็นเหยื่อแทน เนื้อเรื่องที่เหลือก็เป็นไปตามขนบหนังแนวนี้ทั่วๆ ไปที่คงพอเดากันได้อยู่

 

แต่จุดเด่นของเรื่องนี้อยู่ที่การออกแบบเจ้าจูดาสได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งในแง่ความสมจริงของรายละเอียดในด้านรูปร่างหน้าตา และการเคลื่อนไหวของสัตว์ประหลาดตัวนี้ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นหนังเรื่องนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดหนังสยองขวัญเกรดบีทุนต่ำเท่านั้น

 

ส่วนหนึ่งเชื่อว่ามาจากความชอบในวัยเด็กของตัวเดล โตโร เอง ที่มีความสนใจในเรื่อง ‘แมลง’ ต่างๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาสนใจสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วแทบทุกประเภทถึงขนาดศึกษากายวิภาคของพวกมันอย่างละเอียด จนพบว่าโครงสร้างของแมลงเหล่านี้เป็นการออกแบบที่มหัศจรรย์ของธรรมชาติ และที่สำคัญเขายังเคยฝันอยากเป็นนักชีววิทยามาตั้งแต่เด็กอีกด้วย

 

สุดท้ายการบุกฮอลลีวูดของ เดล โตโร ก็ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้ และยังมีประเด็นที่ทำให้ Mimic กลายเป็นหนังที่เดล โตโร ทั้งรักและเกลียด เพราะตอนแรกเขาวางตอนจบไว้อีกแบบหนึ่งที่น่าจะหม่นและโหดร้ายกว่านี้ แต่โดน บ็อบ ไวน์สตีน แห่ง Miramax ที่เป็นโปรดิวเซอร์ในตอนนั้น บอกให้เปลี่ยนเป็นตอนจบที่แฮปปี้ เอ็นดิ้งมากขึ้นแทน

 

 

2. The Devil’s Backbone (2001)

หลังเจ็บตัวจากเรื่องแรก เดล โตโร ก็กลับไปทำหนังที่เม็กซิโกบ้านเกิดอีกครั้ง ด้วยการหยิบเรื่องราวในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่เต็มไปด้วยความลึกลับท่ามกลางกลิ่นอายของสงครามกลางเมืองที่ประเทศสเปน

 

สำหรับคนที่ไม่เคยดูหนัง ให้คิดง่ายๆ ว่านี่คือ เด็กหอ ของ ทรงยศ สุขมากอนันต์ เวอร์ชันสเปน ที่ตัวเอกต้องเข้าไปอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และได้เป็นเพื่อนกับวิญญาณเด็กชายที่ชื่อ ‘ซานติ’ ที่ถูกฆาตกรรมในสถานที่แห่งนี้ (นี่คือจุดเริ่มต้นของการใช้ ‘เด็ก’ เป็นตัวละครเอก ซึ่งจะกลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญในหนังของเขาในเวลาต่อมา) แต่อัปเกรดความดาร์กและหม่นให้มากยิ่งขึ้น ด้วยความโหดร้ายจากภัยสงครามที่ทุกคนต้องทำทุกอย่างเพื่อให้อยู่รอด แม้จะต้องทำร้ายเด็กคนหนึ่งอย่างโหดเหี้ยมก็ตาม

 

สิ่งที่น่าจดจำของ ‘ซานติ’ คือเขาไม่ใช่แค่ตัวแทนของมิตรภาพระหว่างเพื่อน แต่เขาคือภาพสะท้อนของความโหดร้ายของสงคราม ที่คอยย้ำเตือนคนอื่นๆ อยู่ตลอดเวลาว่าอย่าปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก และคำวิจารณ์ในแง่บวกที่ส่งไปถึงเดล โตโร แบบถล่มทลาย ก็เป็นเครื่องหมายบอกอีกครั้งว่าเขาพร้อมแล้วที่จะกลับมาสู่วงการฮอลลีวูดอีกครั้ง

 

 

3. Blade II (2002)

1 ปีให้หลัง เขาได้รับโอกาสครั้งสำคัญในการกำกับหนังแวมไพร์ซูเปอร์ฮีโร่ในภาคที่ 2 (เขาเป็นแฟนตัวยงของ Blade มาตั้งแต่เวอร์ชันหนังสือการ์ตูน) และเป็นการเดินหน้าสู่งานแบบเมนสตรีมเต็มตัวครั้งแรก พร้อมกับทุนสร้างที่มากถึง 50 ล้านเหรียญ

 

นอกจากความเท่ของพระเอกอย่างเบลดแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้หนังภาคนี้เป็นที่จดจำคือแวมไพร์ตัวร้ายอย่าง The Reapers ที่เดล โตโร เป็นคนออกแบบเองให้มีลักษณะน่าเกลียดและน่ากลัวที่สุด โดยเฉพาะช่องปากที่ฉีกกว้างสำหรับสูบออกจากเหยื่อ ที่ทำให้ The Reapers กลายเป็นสัตว์ประหลาดที่น่าขยะแขยงยิ่งกว่าจูดาสที่เป็นแมลงสาบด้วยซ้ำ

 

พูดได้ว่า Blade II คือหนังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเดล โตโร ในตอนนั้นเพราะทำรายได้ทั่วโลกไปได้ประมาณ 160 ล้านเหรียญ และเป็นโอกาสสำคัญที่ส่งต่อให้เขาได้กำกับหนังที่รอมาทั้งชีวิตอย่าง Hellboy  

 

 

4. Hellboy (2004)

คือโปรเจกต์ในฝัน เดล โตโร มาตั้งแต่สมัยตามสะสมหนังสือการ์ตูนในวัยเด็ก ถึงขนาดทำให้ยอมพลาดโอกาสที่จะกำกับ Blade: Trinity ภาค 3 หลังจากทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในภาคที่ 2 รวมทั้ง Harry Potter and the Prisoner of Azkaban เพราะคิดว่าหากไม่ใช่เขาก็ยังมีคนอื่นที่เหมาะสมกับหนังสองเรื่องนี้รออยู่แล้ว จะมีก็แต่ฮีโร่จากนรกคนนี้เท่านั้นที่เขาจะต้องสร้างขึ้นมาให้ได้

 

เขาตั้งใจอย่างมากในโปรเจกต์นี้ ส่วนหนึ่งเพราะเขารู้สึกว่าซูเปอร์ฮีโร่พันธุ์อสูร ตัวแดง เขาหัก เต็มไปด้วยข้อบกพร่องและด้านมืดตนนี้สะท้อนถึงตัวตนของเขาได้ดีที่สุด

 

 

นอกจากนี้ เดล โตโร ยังทำได้ดีมากๆ ในการออกแบบตัวละครอย่าง ‘โครเน็น’ ตัวร้ายจากการ์ตูนที่เดิมเป็นตัวร้ายที่สุภาพนอบน้อม เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏตัวพร้อมหน้ากากกันก๊าซพิษ ให้กลายเป็นจักรกลสังหารที่เต็มไปด้วยกลไกคล้ายนาฬิกา ซึ่งมาจากความสนใจเรื่องเครื่องจักรกลที่เขามีมาตั้งแต่เด็กๆ

 

แต่ไม่รู้ว่าเขาตั้งใจใส่ทุกอย่างลงไปในหนังเรื่องนี้เกินไปหรือเปล่า ทำให้ Hellboy ออกมาเป็นหนังครึ่งๆ กลางๆ ที่ไม่โดดเด่นสักอย่าง และไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้เท่าที่ควร (แต่ในแง่คำวิจารณ์ยังถือว่าทำได้ดี) แต่ เดล โตโร ไม่ได้สนใจในเรื่องนั้น เพราะเขารู้สึกพอใจกับผลงานที่เป็นคนเลือกทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมดเรื่องนี้ที่สุดแล้ว

 

 

5. Pan’s Labyrinth (2006)

ผลงานมาสเตอร์พีซของเดล โตโร ที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการภาพยนตร์มากที่สุดเรื่องหนึ่ง จากการที่เอานิยายแฟนตาซีที่เล่าเรื่องเด็กน้อยที่หลงอยู่ในโลกแฟรี่เทล แต่สุดท้าย เดล โตโร กลับหลอกคนดูด้วย Genre หนังสยองขวัญที่ผู้ปกครองหลายคนถึงกับออกมาโจมตีอย่างเสียหายหลังจากหลงพาเด็กๆ เข้าไปดูในโรงภาพยนตร์ (แต่จริงๆ หนังบอกเรตของภาพยนตร์ไว้ที่เรต R อยู่แล้ว)

 

Photo: www.openculture.com

 

แน่นอนว่าจุดเด่นของเรื่องนี้อยู่ที่การออกแบบสัตว์ประหลาดให้อยู่ในความทรงจำของคนดูได้ไม่รู้ลืม ซึ่งตัวละครอย่าง Fauno หรือปีศาจแพะที่รวมเอกลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ ทั้งแมว สิงโต กวาง ให้มาอยู่บนร่างกายที่คล้ายมนุษย์ ซึ่งรูปแบบของปีศาจแพะตัวนี้มาจากจินตนาการในวัยเด็กของเดล โตโร ที่มักจะเห็นมนุษย์แพะออกมาจากตู้เสื้อผ้าของเขาอยู่เสมอ จนเขาสเกตช์ภาพมันเอาไว้ในสมุดบันทึกและกลายมาเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่น่าจดจำที่สุดในจักรวาลของเดล โตโร

 

และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ Pale Man ปีศาจสุดหลอนที่มีตาอยู่บนมือ และกลายเป็นสัญลักษณ์ของฝันร้ายสำหรับเด็กๆ หลายคนที่ได้ดูไปชั่วเวลาหนึ่ง และไม่เพียงแค่เด็กๆ เท่านั้น แม้กระทั่งสตีเฟน คิง เจ้าพ่อนิยายสยองขวัญยังถึงขนาดเบียดตัวเข้ามาใกล้ เดล โตโร เมื่อนั่งอยู่ข้างกันในรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องนี้ จากฉากที่ปีศาจตามือไล่ล่าสาวน้อยผู้น่าสงสารในรังของมัน

 

 

6. Hellboy II: The Golden Army (2008)

หลังจากสร้างชื่อได้แบบถล่มทลาย เดล โตโร ก็กลับมาสู่โปรเจกต์ในฝันของเขาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้รับทุนสร้างมากถึง 85 ล้านเหรียญ คราวนี้เดล โตโร พยายามใส่ฉากแอ็กชันให้กับฮีโร่ตัวแดงมากขึ้น แต่ผลที่ได้ก็ยังไม่ต่างจากภาคแรกเท่าไรนัก รายได้จากทั่วโลกก็ถือว่าทำได้ดี จนมีข่าวมาตั้งแต่ช่วงนั้นว่าจะมีภาคที่ 3 ตามมา แต่สุดท้ายโปรเจกต์ในฝันของเดล โตโร ก็เงียบหายไปในที่สุด

 

ในภาพรวมภาคนี้ไม่ค่อยมีอะไรให้จดจำเท่าไร นอกจากวิสัยทัศน์มหัศจรรย์ของกิลเลอร์โม คือการสร้างฉากตลาดโทรล ที่เต็มไปด้วยบรรดาสัตว์ประหลาดหลายสายพันธุ์เดินกันขวักไขว่ แต่ตัวที่เราพูดถึงในหัวข้อนี้คือ ‘มนุษย์หัววิหาร’ เขาเป็นเจ้าของร้านหนึ่งในตลาดโทรล มีลูกตา 2 ข้าง ตั้งแต่หน้าผากขึ้นไปแทนที่จะเป็นผมก็เป็นวิหารที่มีรายละเอียดสวยงาม แม้หัววิหารจะไม่ได้มีบทบาทอะไรมากมายในหนัง แต่ก็แสดงให้เห็นจินตนาการอันหลุดโลกของกิลเลอร์โมในการสร้างสรรค์ตัวประหลาดเช่นนี้ออกมา เดิมทีกิลเลอร์โมต้องการให้มีมนุษย์ตัวเล็กๆ วิ่งไปมารอบๆ วิหารบนหัวด้วย แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัด จึงทำได้เท่าที่เห็น

 

 

7. Pacific Rim (2013)

อีกหนึ่งโปรเจกต์ในฝันของเดล โตโร จากความหลงใหลในเรื่องหุ่นยนต์กลไกและสัตว์ประหลาดมาตั้งแต่เด็ก ที่เขามักจะวาดรูปสิ่งเหล่านี้เอาไว้ในสมุดโน้ตจนเต็มไปหมด แต่สิ่งที่ต่างจากเด็กทั่วไปคือ เขาไม่เพียงแต่วาดหุ่นยนต์ตามจินตนาการที่คิด แต่เขายังคิดละเอียดไปถึงโครงสร้างต่างๆ ในร่างกายหุ่นยนต์ คนขับจะอยู่ตรงไหน ควบคุมอย่างไร ไปจนถึงระบบลำเลียงและกลไกการทำงานของทั้งหุ่นยนต์และสัตว์ประหลาดให้สมจริงที่สุด และเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม เขาก็ได้นำภาพฝันในวัยเด็กสร้างออกมาเป็นความจริงได้ในที่สุด

 

เดล โตโร ได้ทุนสร้างเรื่องนี้มากถึง 190 ล้านเหรียญ และเขาก็ใช้เงินที่ได้มาอย่างคุ้มค่าในการออกแบบ ‘เยเกอร์’ และ ‘ไคจู’ ออกมาให้สมจริงที่สุด รวมทั้งฉากแอ็กชันที่ทำได้เท่จนหลายคนลืมการต่อสู้ของเหล่า ‘ออโต้บอต’ ใน Transformers ไปได้เลย และเขาก็ไม่ทำให้ทีมสร้างผิดหวัง เพราะสุดท้าย Pacific Rim สามารถทำรายได้ทั่วโลกได้ไปมากถึง 411 ล้านเหรียญ กลายเป็นหนังที่ทำเงินได้มากที่สุดในชีวิตของเขาจนถึงทุกวันนี้

 

 

8. Crimson Peak (2015)

อีกหนึ่งหนังเจ็บๆ ของเดล โตโร ที่เลือกกลับไปทำหนังฟอร์มเล็กลงมา (ทุนสร้าง 55 ล้านเหรียญ) และไม่เอาใจตลาดอีกครั้ง โดยคอนเซปต์รวมๆ ของเรื่องที่ทุกคนได้ยินตั้งแต่แรกว่าจะเป็นเรื่องราวในคฤหาสน์ผีสิงยุคโกธิก ที่เต็มไปด้วยปีศาจหลายเผ่าพันธุ์มาอยู่รวมกัน แต่นอกจากภาพที่สวยงามตามท้องเรื่องแล้ว ตัวเนื้อเรื่องกลับเต็มไปด้วยช่องโหว่ที่หลายคนสงสัย และแทบไม่มีอะไรน่าจดจำ

 

รวมทั้งการออกแบบตัวละครสัตว์ประหลาดเท่ๆ แปลกๆ ที่เราอยากเห็น ก็มีเพียง ‘Ghosts’ หรือผีกระโครงกระดูกชุ่มเลือดที่ทำให้เราพอตกใจทุกครั้งที่มันโผล่ขึ้นมาจากพื้นตัวเดียวเท่านั้น ที่พอจะสร้างความตื่นเต้นและน่าจดจำให้กับเราได้

 

 

9. The Shape of Water (2017)

มาถึงผลงานล่าสุด ที่นักวิจารณ์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คือผลงานมาสเตอร์พีซของเดล โตโร รองจาก Pan’s Labyrinth และส่งผลให้หนังเรื่องนี้กลายเป็นหนังที่เข้าชิงรางวัลออสการ์มากที่สุดในปีนี้ด้วยจำนวน 13 รางวัลด้วยกัน (อ่านบทความเกี่ยวกับ The Shape of Water เพิ่มเติมได้ที่ thestandard.co/the-shape-of-water)

 

หลังจากทำหนังที่รวมกับสัตว์ประหลาดต่างสายพันธุ์มารวมไว้ในเรื่องเดียวติดกันหลายๆ เรื่อง คราวนี้เดล โตโร เลือกที่จะใช้แค่สัตว์ประหลาดน้ำจากแอมะซอนเพียงตัวเดียว เพื่อเล่าถึง ‘มนต์รักต่างสายพันธุ์’ ในครั้งนี้

 

นอกจากการทำหนังเพื่อสะท้อนสังคมในเรื่อง ‘ความแตกต่าง’ ที่ซ่อนอยู่ตลอดทั้งเรื่อง สัตว์ประหลาดน้ำ ในเรื่องนี้ยังถูกออกแบบมาเพื่อเป็นการคารวะหนังสัตว์ประหลาดเรื่องโปรดในวัยเด็กของเขาอย่าง Creature from the Black Lagoon (1954) อีกด้วย  

The post ความฝันวัยเด็ก กับสัตว์ประหลาดในจักรวาลของ กีเยร์โม เดล โตโร appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/guillermo-del-toro-creatures/feed/ 0
เจ้าของรางวัล Best Makeup and Hairstyling จากเวทีออสการ์เป็นใครกันบ้าง? https://thestandard.co/oscars-2018-best-makeup-and-hairstyling/ https://thestandard.co/oscars-2018-best-makeup-and-hairstyling/#respond Sat, 24 Feb 2018 02:14:05 +0000 https://thestandard.co/?p=72762 oscasrs2019

รางวัลออสการ์สาขาแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยม เพิ่งมีการจัดให […]

The post เจ้าของรางวัล Best Makeup and Hairstyling จากเวทีออสการ์เป็นใครกันบ้าง? appeared first on THE STANDARD.

]]>
oscasrs2019

รางวัลออสการ์สาขาแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยม เพิ่งมีการจัดให้เป็นหนึ่งรางวัลในพิธีประกาศผลออสการ์เมื่อปี 1981 เป็นต้นมา โดยรางวัลนี้ตั้งขึ้นเพื่อมอบให้กับช่างแต่งหน้าและช่างทำผมที่สร้างผลงานในภาพยนตร์ได้ยอดเยี่ยมที่สุด โดยปกติจะมีภาพยนตร์เพียง 3 เรื่องเท่านั้นที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอันทรงเกียรตินี้ และการประกาศผลรางวัลก็ดำเนินมากว่า 37 ปีแล้ว

 

THE STANDARD พาคุณย้อนรอยไปทำความรู้จักเจ้าของรางวัล Best Makeup and Hairstyling จากเวทีออสการ์ตั้งแต่ปี 2000-2017 ซึ่งเป็นช่วงปีที่หลายคนน่าจะพอจดจำภาพยนตร์เหล่านี้ได้ เพื่อรื้อฟื้นความประทับใจจากตัวละครอันเป็นที่รักซึ่งได้ผ่านการสร้างสรรค์ลุคโดยช่างแต่งหน้าและช่างทำผมระดับโลกที่เราอยากพาไปทำความรู้จัก ทั้งยังเป็นเจ้าของรางวัลอันทรงเกียรติ เชื่อเถอะว่าบางลุคเรามั่นใจว่าคุณจะไม่มีทางลืมได้เลย และเพราะพวกเขาเหล่านี้ทำให้อรรถรสการชมภาพยนตร์น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

 

 

ปี 2000
Winners: ริก เบก, เกล ไรอัน จาก How the Grinch Stole Christmas

 

ผลงานการแต่งหน้าของ ริก เบก และเกล ไรอัน เป็นการเนรมิตตัวละครแนวแฟนซีให้มีชีวิตชีวา ถูกใจคนดู โดยเฉพาะคาแรกเตอร์ของเจ้ากรินช์ตัวเขียวจอมป่วนที่รับบทโดยจิม แคร์รีย์ รูปร่างหน้าตา ขนาด ผิว และเส้นขนที่เป็นฝีมือการสร้างสรรค์ของสองช่างแต่งหน้า โดยร่วมมือกับช่างแต่งหน้าชาวญี่ปุ่น คัตซึฮิโระ สึจิ ร่วมกันวางแผนตั้งแต่ขั้นตอนการสเกตช์โครงหน้าไปจนถึงการทดลองแต่งหน้าจนสมจริง กระทั่งกลายเป็นกรินช์ เจ้าตัวเขียวที่มีเสน่ห์สุดๆ

 

 

 

ปี 2001
Winners: ปีเตอร์ โอเวน, เซอร์ ริชาร์ด เทย์เลอร์ จาก The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring

 

 

ปีเตอร์ โอเวน เป็นช่างแต่งหน้า ส่วนเซอร์ ริชาร์ด เทย์เลอร์ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวเรือใหญ่ของบริษัททำพร็อพชื่อดังในนิวซีแลนด์ที่มีชื่อเสียงด้านการสร้างเอฟเฟกต์ อุปกรณ์ และพร็อพประกอบฉากต่างๆ ทั้งคู่ร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงานอันน่าตื่นตะลึงผ่านการแต่งหน้า-ทำผมของตัวละครในภาพยนตร์ระดับมหากาพย์อย่าง The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring ซึ่งคว้ามาได้ทั้งรางวัลแต่งหน้ายอดเยี่ยมและเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยมในเรื่องเดียวกัน

 

 

 

ปี 2002
Winners: จอห์น อี. แจ็คสัน และเบียทริซ เดอ อัลบา จาก Frida

 



รางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ ครั้งที่ 75 เป็นผลงานของจอห์น อี. แจ็คสัน ช่างแต่งหน้าชาวอเมริกัน และเบียทริซ เดอ อัลบา ช่างแต่งหน้าชาวเม็กซิกัน ที่จับมือกันสร้างสรรค์ผลงานในภาพยนตร์เรื่อง Frida ที่เล่าถึงชีวิตของฟรีดา คาห์โล จิตรกรหญิงชาวเม็กซิกันผู้โด่งดัง นำแสดงโดย ซัลมา ฮาเยก ตีแผ่บทบาทของจิตรกรสาวผู้อินกับลัทธิคอมมิวนิสต์ และเห็นว่าอีกเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตคือเซ็กซ์ ซึ่งทั้งคู่ได้แปลงโฉมนักแสดงให้กลืนไปกับบทบาทของผู้หญิงสไตล์เม็กซิโก แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าพื้นเมืองสีสันฉูดฉาด เครื่องประดับชิ้นโต และการแต่งหน้าที่เนรมิตใบหน้าให้สวย คมเข้ม มีเสน่ห์อย่างบอกไม่ถูก

 

 

 

ปี 2003
Winners: เซอร์ ริชาร์ด เทย์เลอร์, ปีเตอร์ คิง จาก The Lord of the Rings: The Return of the King

 

 

สร้างความฮือฮาตามคาดอีกครั้ง เมื่อทั้งคู่สามารถคว้ารางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมมาครองได้อีกครั้ง (หลังจากเคยร่วมงานกันและคว้ารางวัลสาขานี้ครั้งแรกจากออสการ์ ครั้งที่ 74 มาครอง) โดยเป็นผลงานชิ้นเด็ดจากภาพยนตร์เรื่องเดิม The Lord of the Rings ในภาคของกษัตริย์คืนบัลลังก์

 

 

 

ปี 2004
Winners: วัลลี โอไรลีย์, บิล คอร์โซ จาก Lemony Snicket’s A Series of Unfortunate Events

 

รางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมประจำเวทีออสการ์ ครั้งที่ 77 เป็นการครองรางวัลร่วมกันของสองช่างแต่งหน้า วัลลี โอไรลีย์ และบิล คอร์โซ ที่ครีเอตลุคของจิม แคร์รีย์ (อีกแล้ว) ซึ่งสวมบทบาทเป็นเคาต์โอลาฟใจยักษ์ได้อย่างน่าทึ่ง ฝีมือการแต่งหน้าของบิล คอร์โซ นั้นเป็นที่ยอมรับกันในแวดวงการแต่งหน้าที่ใช้เทคนิคขั้นสูง ต้องอาศัยประสบการณ์และความครีเอทีฟแสนประณีตในการแต่งหน้าทั้งแนวแฟนซี ผี คนแก่ สัตว์ประหลาด ฯลฯ ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

 

 

 

ปี 2005
Winners: ฮาเวิร์ด เบอร์เกอร์, แทมี เลน จาก The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe

 

 

เชื่อว่า Narnia ยังคงเป็นภาพยนตร์ในดวงใจของหลายๆ คนที่มีหัวใจรักการผจญภัย จากคาแรกเตอร์ของพี่น้องที่หลุดผ่านประตูตู้เสื้อผ้าไปสู่อาณาจักรหิมะอันขาวโพลนที่เต็มไปด้วยเรื่องระทึกตื่นเต้นมากมาย การแต่งหน้าเอฟเฟกต์จากนักออกแบบสุดเก๋าทั้งสองคนคือสิ่งที่การันตีถึงความสุดยอดจนคว้ารางวัลนี้มาครองสำเร็จอย่างน่าภูมิใจ

 

 

 

ปี 2006
Winners: เดวิด มาร์ที, มอนต์เซ ริเบ จากภาพยนตร์เรื่อง Pan’s Labyrinth

 

 

รางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ ครั้งที่ 79 ตกเป็นของภาพยนตร์เรื่อง Pan’s Labyrinth จากฝีมือการรังสรรค์ลุคแต่งหน้าสุดมหัศจรรย์ของตัวละครที่เป็นมากกว่าจินตนาการของเด็กหญิงในเรื่อง บอกได้เลยว่าตัวมอนสเตอร์ที่เห็นในเรื่องนั้นสร้างจากเทคนิคสุดพิเศษด้วยการผลิตวัสดุเทียมต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการแต่งหน้าของสัตว์ประหลาดคือคีย์สำคัญที่จะทำให้เรื่องทั้งหมดแลดูน่าเชื่อถือ พวกเขาจึงใช้เครื่องสำอางจำนวนมหาศาล และการเติมแต่งสร้างลุคให้สัตว์ประหลาด 1 หน้านั้น พวกเขาต้องใช้ทีมงานช่วยกันถึง 3 คน

 

 

 


ปี 2007
Winners: ดิดิเยร์ ลาเวิญ, แจน อาร์ชิบาลด์ จาก La Vie en Rose

 

 

จุดเด่นของการแต่งหน้าในภาพยนตร์เรื่องนี้คือการสื่อถึงสไตล์ในแบบฉบับสาวปารีเซียง ทั้งเรื่องการแต่งกายและใบหน้าที่โดดเด่น โดยเฉพาะเส้นคิ้วที่เรียวเล็กเหมือนเส้นดินสอซึ่งเคยเป็นเทรนด์คิ้วสุดฮอตในยุค 80s ก็มาปรากฏในหนังเรื่องนี้ แม้แต่เทรนด์ทาลิปสติกสีแดงแบบสาวฝรั่งเศสก็มีให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง ปฏิเสธไม่ได้ว่าเสื้อผ้า หน้าผมมีส่วนอย่างมากในการเติมเต็มชีวิตให้ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเข้าถึงคำว่าสมบูรณ์แบบได้อย่างแท้จริง

 

 

 

ปี 2008
Winners: เกรก แคนนัม จาก The Curious Case of Benjamin Button

 

 

ชื่อเสียงของ เกรก แคนนัม โด่งดังอยู่แล้วในแง่ของการเป็นศิลปินแต่งหน้าเอฟเฟกต์ให้กับวงการฮอลลีวูด โดยเขาเคยได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้วถึง 9 ครั้งด้วยกัน และในที่สุดเขาก็คว้ารางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมมาครองได้สำเร็จในปี 2008 จากผลงานการแต่งหน้าที่หลายคนอาจจำได้ติดตากับลุคแปลกตาของแบรด พิตต์ ที่รับบท เบนจามิน บัตตัน ชายที่เริ่มต้นใช้ชีวิตด้วยสภาพร่างกายที่เป็นชายแก่หงำเหงือก นับเป็นภาพยนตร์อีกเรื่องที่น่าสนใจทั้งวิธีการเล่าเรื่องและคาแรกเตอร์ของนักแสดงผ่านลุคที่คาดไม่ถึง แต่เป๊ะในทุกรายละเอียดจนกรรมการต้องยอมให้รางวัลนี้กับเขา และเรารู้ว่าคุณเองก็ยังจำไม่ลืม

 

 

 

ปี 2009
Winners: บาร์นีย์ เบอร์แมน, มินดี ฮอลล์ และโจเอล ฮาร์โลว์ จาก Star Trek

 

 

รางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมในจากเวทีออสการ์ ครั้งที่ 82 เป็นผลงานการร่วมมือกันระหว่างสามช่างแต่งหน้าที่ร่วมกันสร้างสรรค์ให้นักแสดงผ่านลุคสุดล้ำเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์การเดินทางสำรวจห้วงอวกาศ ทั้งชุดและการแต่งหน้าของมนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่จึงดูล้ำเทรนด์ไปไกล ขณะที่การแต่งหน้าของเจ้าหน้าที่ทั้งชายและหญิงที่อยู่ในยานเอ็นเตอร์ไพรส์ต่างก็จัดเต็มด้วยลุคที่เมื่อสังเกตให้ดีจะพบว่าช่างเนี้ยบและไร้ที่ติ

 

 

 

ปี 2010
Winners: ริก เบเกอร์, เดฟ เอลซีย์ จาก The Wolfman

 


10 ปีให้หลัง หลังจากที่สองช่างแต่งหน้าเอฟเฟกต์ ทั้งริก เบเกอร์ และเดฟ เอลซีย์ ไปคว้ารางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมจากออสการ์ ครั้งที่ 73 ในที่สุดพวกเขาก็สร้างผลงานสุดว้าวระดับโลกจนคว้ารางวัลมาได้อีกครั้ง กับฝีมือการเนรมิตมนุษย์หมาป่า ผ่านคาแรกเตอร์ฉบับวายร้ายแบบโกธิกเก่าแก่ โดยริกเปิดใจภายหลังได้รับรางวัลว่าเขาสนุกกับงานครั้งนี้เอามากๆ

 

 

 

ปี 2011
Winners: มาร์ค คูลิเยร์, เจ. รอย เฮลแลนด์ จาก The Iron Lady

 

 

เจ้าของรางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยม ประจำปี 2011 จากเวทีออสการ์ ครั้งที่ 74 ตกเป็นของมาร์ค คูลิเยร์ เขาคือช่างแต่งหน้าและผู้เชี่ยวชาญด้านการแต่งหน้าเอฟเฟกต์ชาวอังกฤษที่ผ่านงานใหญ่ระดับโลกมากมาย เช่น ผลงานแต่งหน้าในภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter, X-Men และ The Mummy Returns และครั้งนี้เขารับรางวัลร่วมกับ เจ. รอย เฮลแลนด์ ช่างแต่งหน้าและทำผมคู่บุญของนักแสดงมากฝีมือระดับตัวแม่แห่งวงการฮอลลีวูด อาทิ เมอรีล สตรีป ซึ่งเขาแต่งหน้าให้ในภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เธอแสดง ตั้งแต่ Sophie’s Choice ในปี 1982 ส่วนรางวัลนี้เขากับมาร์คร่วมมือกันเนรมิตลุคให้เมอรีลได้เฉิดฉายสมกับบทบาทสำคัญในการเป็นมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ทั้งการแต่งหน้า ทรงผม และเครื่องแต่งกายในแบบฉบับของสตรีผู้เป็นตำนาน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ปลดแอกเพศและชนชั้นของชาวอังกฤษในยุคนั้น

 

https://www.youtube.com/watch?v=h8cWavne9FU

 

 

ปี 2012
Winners: ลิซ่า เวสต์สก็อตต์, จูลี ดาร์ตเนลล์ จาก Les Misérables

 

 

หนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงวิจารณ์ยอดเยี่ยม ดัดแปลงจากละครเวทีอันโด่งดังมาแล้วหลายครั้ง ผ่านสายตาผู้ชมกว่า 60 ล้านคนทั่วโลก เป็นหนังที่ตีแผ่ให้เห็นถึงความทุกข์ยากของประชาชนที่เหลื่อมล้ำทางสังคมแบบสุดโต่ง เป็นหนังที่มีเนื้อหาหนัก นำเสนอผ่านการเล่าเรื่องแบบมิวสิคัล เสื้อผ้าหน้าผมของตัวละครที่ประณีตทุกมิติ สอดประสานกลมกลืนไปกับหนังได้อย่างไร้ที่ติ

 

 

 

ปี 2013
Winners: อะเดรียธตา ลี, โรบิน แมทธิวส์ จาก Dallas Buyers Club

 

 

รางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมประจำเวทีออสการ์ ครั้งที่ 86 เผยให้เห็นถึงอีกขั้นของฝีมือการแต่งหน้าของโรบิน และทำผมโดยอะเดรียธตา ซึ่งเป็นช่างทำผมฝีมือเยี่ยมอีกคนในแวดวงฮอลลีวูด งานนี้สองอาร์ทิสต์เนรมิตให้ผู้ชมได้เห็นคาแรกเตอร์สุดโทรมของพระเอก แมทธิว แมคคอนาเฮย์ ในบทของผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งเธอแปลงโฉมเขาจากชายผู้มีสุขภาพดีให้กลายเป็นคนป่วยได้อย่างน่าทึ่งสุดๆ

 

 

 

ปี 2014
Winners: ฟรานเซส แฮนนอน และมาร์ค คูลิเยร์ จาก The Grand Budapest Hotel

 

 

ครั้งแรกในชีวิตกับการคว้ารางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยมของฟรานเซส แฮนนอน ช่างทำผมมือทองที่ผ่านงานใหญ่ในการออกแบบทรงผมให้กับนักแสดงในภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง เช่น Captain Phillips, World War Z, X-Men: First Class และ The King’s Speech เธอควงคู่ช่างแต่งหน้าคนดังอย่างมาร์ค คูลิเยร์ ขึ้นรับรางวัลนี้ด้วยกัน จุดเด่นที่ทำให้ทั้งคู่เอาชนะคู่แข่งจากเรื่องอื่นๆ เพราะสุดยอดรายละเอียดบนใบหน้า รวมถึงการแต่งผิวหนังให้เป็นแบบคนแก่ได้เนียนสมจริงเหลือเกิน

 

 

 

ปี 2015
Winners: เดเมียน มาร์ติน, เลสลีย์ ฟานเดอร์วัลต์ และเอลกา วาร์เดกา จาก Mad Max: Fury Road

 

 

เดเมียน มาร์ติน และเอลกา วาร์เดกา เป็นช่างแต่งหน้าชาวออสเตรเลีย แท็กทีมกับเลสลีย์ ฟานเดอร์วัลต์ ที่เป็นทั้งช่างแต่งหน้าและช่างทำผมในคนเดียวกัน ร่วมกันสร้างผลงานสุดว้าวกับการเนรมิตลุคสุดอะเมซิงของเหล่าตัวละครในภาพยนตร์บู๊ระห่ำเรื่อง Mad Max: Fury Road นอกจากทุกอย่างจะสนุกระเบิดระเบ้อแล้ว ฝีมือการแต่งหน้าทำผมก็สุดยอดสมกับรางวัลที่ได้รับจริงๆ

 

 

 

ปี 2016
Winners: อเลสซานโดร เบอร์โตลัซซี, จิออร์จิโอ เกรโกรินี และคริสโตเฟอร์ เนลสัน จาก Suicide Squad

 

 

การแต่งหน้าและทรงผมที่แปลกตาในภาพยนตร์เรื่องนี้พรีเซนต์จุดเด่นของเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ให้ออกมาในแนวการ์ตูนที่มีชีวิตได้น่าสนใจ โดยเฉพาะลุคของตัวละครฮาร์ลีย์ ควินน์ ที่ระดับความฮิตนั้นลุกลามไปทั่วโลกความงาม เพราะเหล่าบิวตี้บล็อกเกอร์ทั่วโลกต่างทำวิดีโอแต่งหน้าตามรอยเธอกันไปพักใหญ่เลยทีเดียว ใครอยากดูลุคแต่งหน้าเหล่านี้ลองเข้ายูทูบแล้วเสิร์ช Harley Quinn Makeup ไปลองกันได้

 

 

 

ปี 2017
Winners: คัตซึฮิโระ สึจิ, เดวิด มาลินาวสกี และลูซี ซิบบิก จาก Darkest Hour

 


รางวัลแต่งหน้า-ทำผมยอดเยี่ยม ปี 2017 เป็นการรวมพลังกันของทีม Special Makeup Artist ที่ทุกคนล้วนมีผลงานในวงการฮอลลีวูดมาแล้วมากมาย พวกเขาร่วมกันเนรมิตตัวละครให้ย้อนยุคกลับไปในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คนดูได้เห็นใบหน้า และทรงผมตามฉบับของคนในยุคสงครามโลกได้อย่างเนียนตา แน่นอนว่ากว่าที่ทั้ง 3 คนจะมาถึงจุดนี้ได้ พวกเขาต้องค้นคว้าและทำการบ้านเพื่อลงลึกถึงรายละเอียดสมัยสงครามโลกอย่างเข้มข้นเลยทีเดียว

 

 

อ้างอิง

The post เจ้าของรางวัล Best Makeup and Hairstyling จากเวทีออสการ์เป็นใครกันบ้าง? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/oscars-2018-best-makeup-and-hairstyling/feed/ 0
The Shape of Water: 13 รางวัลบนเวทีออสการ์กับองค์ประกอบที่ ‘ดีพอ’ ในฐานะผู้เข้าชิง https://thestandard.co/the-shape-of-water/ https://thestandard.co/the-shape-of-water/#respond Thu, 01 Feb 2018 10:15:54 +0000 https://thestandard.co/?p=66820

    คงต้องลุ้นกันว่าสุดท้ายแล้ว The Shape of […]

The post The Shape of Water: 13 รางวัลบนเวทีออสการ์กับองค์ประกอบที่ ‘ดีพอ’ ในฐานะผู้เข้าชิง appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

 

คงต้องลุ้นกันว่าสุดท้ายแล้ว The Shape of Water ผลงานล่าสุดของ กิลเลอร์โม เดล โตโร จะคว้ารางวัลบนเวที ‘ออสการ์ 2018’ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 มีนาคมนี้ ไปได้กี่ตัว หลังจากหนังมีชื่อเข้าชิงมากถึง 13 สาขา แต่เท่าที่พอจะบอกได้คือหนัง ‘มนต์รักต่างสายพันธุ์’ เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กระแสฮอลลีวูดและออสการ์ในยุคนี้แบบเต็มๆ

 

อธิบายแบบเห็นภาพง่ายที่สุด ให้คิดว่านี่คือ Pan’s Labyrinth (2006) หนังขึ้นหิ้งของเดล โตโร ที่นำมาอัพเกรดใหม่เพื่อกลบจุดบกพร่องบางอย่าง ลดความซับซ้อนและโหดร้าย (แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีอยู่เพียบ!) เพิ่มความสนุกชวนติดตาม ทำภาพให้สมบูรณ์ สวยงาม และเพิ่มประเด็นให้ร่วมสมัยมากกว่าเดิม

 

เล่าเรื่องของเอไลซ่า ‘สาวใบ้’ (แต่หูไม่หนวก) พนักงานทำความสะอาด ในห้องทดลองลับของอเมริกา วันหนึ่งเธอได้พบเข้ากับ ‘สัตว์ประหลาดน้ำจากแอมะซอน’ ที่ตกเป็นเหยื่อการทดลองอันแสนโหดร้าย และความรักต่างสายพันธุ์ก็ค่อยๆ เริ่มต้นขึ้น พร้อมกับภารกิจช่วยเหลือ ‘คนรัก’ และรักษาความสัมพันธ์ดั่งเทพนิยายให้ดำรงอยู่ต่อไป

 

 

ว่ากันที่ประเด็นของหนังก่อน ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นความโชคดีของเดล โตโร ที่เริ่มต้นโปรเจกต์นี้เมื่อ 6 ปีที่แล้ว แต่การที่หนังเสร็จสมบูรณ์พร้อมฉายในช่วงเวลาที่แคมเปญ ‘Me Too’ และ ‘Time’s Up’ กลายเป็นประเด็นร้อนที่คนในวงการฮอลลีวูดกำลังให้ความสำคัญ และในหนังก็มีประเด็น Sexual Harassment การล่วงละเมิดหรือกดขี่ทางเพศในที่ทำงานสอดแทรกให้เห็นอยู่เต็มไปหมด โดยเฉพาะการวางให้นางเอกเป็นใบ้ พูดไม่ได้ ได้แต่นิ่งเงียบรับทั้งคำสั่ง คำเย้ยหยัน จาบจ้วงและกดเหยียดสารพัด อย่างไม่มีสิทธิ์ตอบโต้ ซึ่งนำไปสู่ซีนหนึ่งที่ชอบมาก คือตอนที่นางเอก ใช้ภาษามือ ‘ด่า’ หัวหน้า โดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถรับรู้ความหมาย นั่นแสดงให้เห็นว่า Time’s Up! ถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงจะปลดแอกตัวเองออกจากการกดขี่เสียที!

 

อีกเรื่องที่ถือเป็นประเด็น ‘ทองคำ’ สำหรับรางวัลออสการ์ ที่ว่าด้วยการเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ ก็แน่นอนว่าถูกอัดแน่นอยู่ใน 123 นาทีของหนังแบบไม่มีการประนีประนอมใดๆ ทั้งสิ้น เดล โตโร เลือกที่จะจำเสนอประเด็น ‘เหยียด’ ความแตกต่างทุกรูปแบบที่เกิดขึ้น ถึงแม้เนื้อเรื่องจะย้อนไปถึงยุค 60 แต่ทุกประเด็นก็ยังคงวนเวียนให้เห็นมาถึงปัจจุบัน

 

 

ตั้งแต่การกดขี่ทางเพศ การเหยียดเชื้อชาติที่ทำให้คนผิวสีมีบทบาทได้เพียงแค่คน ‘เก็บกวาดสิ่งสกปรก’ ไปจนถึงการปิดโอกาสในสังคมที่แม้แต่คนผิวสีอยากกินแพนเค้กรสชาติห่วยแตกที่สุดก็ยังไม่อาจทำได้

 

อีกหนึ่งซีนที่หนังใช้ซิมโบลิกเล่าถึงประเด็นทางสังคมผ่าน ‘สัตว์ประหลาดน้ำ’ ที่ถูกนำมาทดลอง ที่แตกต่างจากคนทั่วไปอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่หน้าตาที่อัปลักษณ์ พูดไม่ได้ ไร้เครื่องเพศ (ให้เห็น) อาศัยได้เฉพาะพื้นที่จำกัด จะมีก็เพียงหัวใจ ความรักและความต้องการมีชีวิตอยู่เท่านั้นที่แสดงให้เห็นว่าเขาคือ ‘สิ่งมีชีวิต’ เช่นเดียวกับมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐทั่วไป แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาสามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความปกติอันแสนแปลกปลอมนี้ได้อยู่ดี

 

การที่ตัวหนังเลือกเล่าประเด็นการเหยียดทุกอย่างได้แบบครบรส ทั้งเศร้า หม่นหมอง ดาร์ก จิกกัด เสียดสี ตลกร้ายออกมาอย่างพอดิบพอดี ถึงแม้ในแง่ความสะใจ คนดูหนังอย่างเราคงอยากเห็นการโต้กลับที่เจ็บแสบของเหล่า ‘ตัวประหลาด’ ให้มากกว่านี้อีกหน่อย แต่ถึงอย่างนั้นมันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ The Shape of Water มีชื่ออยู่ในทำเนียบผู้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แบบไม่ยากเย็น

 

 

ตัดมาที่สาขานักแสดงที่โดดเด่นมากๆ ใน The Shape of Water โดยเฉพาะ แซลลี ฮอว์กินส์ ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ที่ถึงแม้เรื่องนี้จะเต็มไปด้วยนักแสดงมากฝีมือ แต่เธอเป็นหนึ่งเดียวที่แบกหนังเรื่องนี้เอาไว้ทั้งหมดด้วยตัวเองเกือบ 100%

 

ถ้าว่ากันด้วยบุคลิกทั่วไปของเธอในเรื่องอื่นๆ ต้องบอกว่าเธอคือนักแสดงที่ไม่ได้มีคาแรกเตอร์น่าจับตามองเท่าไรนัก ไม่ได้สวยสง่า ออร่าจับ ไม่ได้ร่าเริงชวนให้ยิ้มและไม่ได้น่ารักพอที่จะดึงดูดให้สายตาเราจับจ้องไปที่เธอ แต่ในเรื่องนี้ทั้งๆ ที่รับบทเป็นคนพิการที่เต็มไปด้วยความบกพร่อง แต่เธอกลับดูสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง อีกทั้งหน้าตาที่ดูสวยขึ้นผิดหูผิดตา เรือนร่างที่น่าสัมผัส ความอึดอัดในการพยายามแสดงออก รวมทั้งการเป็นหญิงสาวที่ตกอยู่ในภวังค์แห่งรักที่เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างของเธอทำให้เราไม่อาจละสายตาไปจากเธอและเอาใจช่วยในทุกๆ อย่างที่เธอตัดสินใจได้ตั้งแต่ต้นจนจบแบบไม่มีข้อสงสัยอะไรแม้แต่น้อย

 

 

หรือจะเป็นสาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยมอย่าง ออคตาเวีย สเปนเซอร์ กับบทบาทเพื่อนผู้คอยช่วยเหลือเอไลซ่าอยู่ตลอดเวลา ที่กลายเป็นเจ้าประจำในสาขานี้ไปเรียบร้อย และคงไม่เกินจริงไปนัก ถ้าเราจะบอกว่าเธอคือนักแสดงที่แสดงถึงบทบาทตัวละครหญิงที่ถูก ‘กดขี่’ ได้ดีที่สุดในยุคนี้ไปแล้ว

 

ส่วนฝ่ายชาย ริชาร์ด เจนกินส์ อีกหนึ่งตัวละครที่คอยช่วยเหลือเอไลซ่าในทุกๆ เรื่อง ในบทบาทศิลปินสูงวัยที่ยังยึดติดอยู่กับงานจิตรกรรมภาพเหมือน ในขณะที่โลกกำลังขับเคลื่อนไปสู่โลกของภาพถ่ายที่สมจริงยิ่งกว่า ซึ่งถือว่าตัวเจนกินส์เองก็ทำได้ดีตามมาตรฐาน ถึงจะมีบทให้แสดงไม่เยอะมากนัก แต่ก็สามารถควบคุมสถานการณ์ในเรื่องได้เป็นอย่างดี

 

เพียงแต่ปัญหาในการชิงรางวัลสาขานี้อยู่ที่กระดูกชิ้นโตอย่าง คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ จากเรื่อง All the Money in the World ที่เข้ามารับบทแทน เควิน สเปซีย์ ซึ่งถูกถอดออกจากประเด็น Sexual Harassment ที่น่าจะติดป้ายจองสาขานี้เอาไว้เรียบร้อย เพื่อเป็นการแสดงออกในการเคลื่อนไหวประเด็นการกดขี่ทางเพศของออสการ์ในปีนี้

 

อีกคนหนึ่งที่น่าเสียดายมากๆ เพราะไม่มีชื่อของ ไมเคิล แชนนอน ติดอยู่ในรายชื่อผู้เข้าชิงสาขานักแสดงนำชาย ในบทเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสุดโหดที่เป็นอุปสรรคสำคัญขัดขวางความรักของเอไลซ่าในเรื่องนี้ เพราะเอาจริงๆ ถ้าไม่นับสาขานักแสดงสบทบยอดเยี่ยมของเจนกินส์ เราคิดว่าด้วยความร้าย โรคจิต ความสับสน ก่อกวน บ้าอำนาจ ที่เขาแสดงออกมานั้นดีพอที่จะมีชื่อเข้าชิงในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมได้ด้วยซ้ำไป

 

 

ส่วนรางวัลสาขาวิชวลที่ The Shape of Water เข้าชิงอย่าง กำกับภาพยอดเยี่ยม ตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ก็ถือว่าทำได้ยอดเยี่ยมตามมาตฐาน ทุกองค์ประกอบศิลป์ในเรื่องสวยงาม สมจริง ชวนติดตาม ทุกฉากที่เกี่ยวกับความรักของเอไลซ่าและคู่รักต่างสายพันธุ์ ที่คุมโทนทุกอย่างออกมาได้อย่างหมดจด มีทั้งความเงียบเชียบ เรียบง่าย โรแมนติกและสวยงามชวนฝัน โดยเฉพาะฉากมีเซ็กซ์กันของทั้งคู่ที่ไม่ได้โฉ่งฉ่าง เร้าอารมณ์ เราเห็นเพียงแค่การกอดอันแสนอบอุ่น แต่ก็ทำให้เห็นว่าเซ็กซ์ของพวกเขามีความหมายกว่าเซ็กซ์ของมนุษย์ปกติในเรื่องด้วยซ้ำ

 

รวมทั้งฉากกอดกันใต้น้ำครั้งสุดท้ายในตอนจบ ที่เห็นในโปสเตอร์ว่าสวยมากๆ แล้ว บอกเลยว่าพอเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวแล้วสวยกว่าที่เห็นไปอีกหลายเท่าตัว เอาง่ายๆ ว่าถึงขนาดสวยจนลืมความโหดร้ายที่ทั้งสองคนเจอมาก่อนหน้านี้ไปได้แทบทั้งหมดเลยทีเดียว

 

Photo: filmmusicreporter.com

 

หมวดสุดท้าย คือรางวัลสาขาเกี่ยวกับเสียงที่ The Shape of Water ก็สามารถเข้าชิงทั้ง บันทึกเสียงยอดเยี่ยม ลำดับเสียงยอดเยี่ยม แต่เราขอโฟกัสเฉพาะสาขาที่โดดเด่นที่สุดคือสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของ อเล็กซองดร์ เดส์ปลาต์ ที่ตอนแรกเราคิดว่า ฮานส์ ซิมเมอร์ ที่อาจหาญใส่เสียงนาฬิกาและสารพัดเสียงสุดหลอนให้ติดอยู่ในโสตประสาทคนดูตลอดการรบในสมรภูมิ ณ หาดดันเคิร์ก จะผูกขาดรางวัลนี้ไว้แน่ๆ แต่ความเรียบง่าย แต่มาถูกที่ถูกเวลาของ ‘เสียง’ ที่เดส์ปลาต์เลือกใช้ในเรื่องนี้อาจทำให้บัลลังก์นั้นต้องสั่นคลอน

 

น่าจะพูดได้ว่าสาขานี้จะเป็นการต่อสู้กันระหว่าง 2 ขั้วตรงข้ามระหว่างการออกแบบเสียงเพื่อเป็น ‘ตัวหลัก’ จนเกือบจะขโมยซีนทุกอย่างในหนังไปได้ใน Dunkirk กับการใช้เสียงเป็นตัว ‘ซัพพอร์ต’ เพื่อส่งให้คนดูตกอยู่ในภวังค์ความรักที่สวยงามใน The Shape of Water ซึ่งในฐานะคนที่แอบเวียนหัว (ไปจนถึงขั้นรำคาญนิดๆ) กับเสียงประกอบที่มาแบบไม่ให้พักของ ฮานส์ ซิมเมอร์ ตอนนี้ทำให้เราแอบเอาใจช่วย อเล็กซองดร์ เดส์ปลาต์ ในหนังรักสัตว์ประหลาดต่างสายพันธุ์มากกว่า

 

ปัญหาอย่างเดียวอยู่ที่ถ้าดูในองค์ประกอบทั้งหมด The Shape of Water คือหนังที่ ‘ดีพอ’ สำหรับเข้าชิงรางวัลทั้งหมดอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าแยกส่วนออกมาทีละองค์ประกอบแล้วเปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ ในแต่ละสาขา The Shape of Water ก็อาจจะยังไม่ถึงขั้นยืนอยู่บนจุดสูงสุดของรางวัลได้ ยกเว้นสาขา นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ที่เราแอบเอาใจช่วยจริงๆ ว่าน่าจะได้ยินชื่อ The Shape of Water ดังขึ้นมาบนเวทีประกาศผลรางวัลออสการ์ในวันที่ 5 มีนาคมนี้   

 

The post The Shape of Water: 13 รางวัลบนเวทีออสการ์กับองค์ประกอบที่ ‘ดีพอ’ ในฐานะผู้เข้าชิง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/the-shape-of-water/feed/ 0