Oishi – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 11 Mar 2023 10:24:30 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘ไทยเบฟ’ แจ้งทำ Tender Offer ‘โออิชิ’ ในราคา 59.00 บาทต่อหุ้น ก่อนเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ https://thestandard.co/thaibev-tender-offer-oishi/ Sat, 11 Mar 2023 03:22:09 +0000 https://thestandard.co/?p=761318

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI ได้ทำหนังส […]

The post ‘ไทยเบฟ’ แจ้งทำ Tender Offer ‘โออิชิ’ ในราคา 59.00 บาทต่อหุ้น ก่อนเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงการที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เตรียมทำ Tender Offer ในราคา 59.00 บาทต่อหุ้น ก่อนเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

เอกสารระบุว่า ไทยเบฟ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ไทยเบฟถือหุ้นจำนวนทั้งสิ้น 298,720,398 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.66 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด) โดยไทยเบฟมีความประสงค์ที่จะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมดจำนวน 76,279,602 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.34 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ไทยเบฟให้เหตุผลที่ทำ Tender Offer ว่า ปัจจุบันปริมาณการซื้อขายหุ้นของโออิชิในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีไม่มากนัก ไทยเบฟจึงเห็นว่าทำ Tender Offer จะเป็นการเพิ่มทางเลือกและโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถขายหุ้นได้

 

นอกจากนี้กลุ่มไทยเบฟอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานและการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจอาหาร และกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ภายในกลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

 

สำหรับโออิชินั้นได้เริ่มต้นธุรกิจในปี 2542 เมื่อมีการเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นโออิชิแห่งแรกในไทย ต่อมาในปี 2546 ได้เปิดตัวชาเขียวญี่ปุ่นพร้อมดื่ม ‘โออิชิ กรีนที’ ก่อนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2547 และในปี 2551 ไทยเบฟได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

 

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI มีรายได้จากการขายทั้งสิ้นจำนวน 12,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,878 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตสูงถึงร้อยละ 29.3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 

 

โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มจำนวน 7,292 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,042 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และรายได้จากธุรกิจอาหารจำนวน 5,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,836 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 51.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 

 

ในส่วนของกำไรสุทธิรวมของบริษัท คิดเป็นจำนวน 1,199 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 654 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตที่ระดับร้อยละ 120 จากปีที่ผ่านมา

 

ทิศทางในปีงบประมาณ 2566 (1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566) โออิชิเตรียมใช้แบรนด์ ‘โออิชิ บิซโทโระ’ ซึ่งเป็นร้านอาหารบริการด่วนที่เพิ่งเริ่มเปิดขายแฟรนไชส์ ซึ่งการขายแฟรนไชส์จะส่งผลให้การเร่งขยายสาขาเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยคาดใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 675 ล้านบาท

 

บล.พาย คาดว่ารายได้ปี 2566 จะยังขยายตัวได้ดีจากผลดีของการเปิดร้านอาหารเพิ่ม โดยคาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น 10%YoY มาอยู่ที่ 13,927 ล้านบาท แต่ปรับกำไรสุทธิในปี 2566 ลงเล็กน้อย 4% มาอยู่ที่ 1,253 ล้านบาท (+5%YoY) เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

The post ‘ไทยเบฟ’ แจ้งทำ Tender Offer ‘โออิชิ’ ในราคา 59.00 บาทต่อหุ้น ก่อนเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กางแผน ‘โออิชิ’ บุกรอบด้าน! ปูทางขายแฟรนไชส์ ‘โออิชิ บิซโทโระ’ เป็นครั้งแรก ส่วนชาเขียวยังเป็นเจ้าตลาด เดินหน้าขยายฐานลูกค้าใหม่ต่อเนื่อง https://thestandard.co/sell-franchise-oishi-biztoro/ Fri, 03 Feb 2023 01:36:29 +0000 https://thestandard.co/?p=745530 โออิชิ บิซโทโระ

การระบาดของโควิดที่เริ่มผ่านพ้นไปทำให้ธุรกิจต่างๆ มีผลป […]

The post กางแผน ‘โออิชิ’ บุกรอบด้าน! ปูทางขายแฟรนไชส์ ‘โออิชิ บิซโทโระ’ เป็นครั้งแรก ส่วนชาเขียวยังเป็นเจ้าตลาด เดินหน้าขยายฐานลูกค้าใหม่ต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
โออิชิ บิซโทโระ

การระบาดของโควิดที่เริ่มผ่านพ้นไปทำให้ธุรกิจต่างๆ มีผลประกอบการที่เป็นบวกอีกครั้ง รวมไปถึง ‘โออิชิ’ เจ้าแห่งร้านอาหารและชาเขียวสไตล์ญี่ปุ่น ที่สามารถกลับมาแข็งแกร่งได้แล้วในปีงบประมาณที่ผ่านมา 

 

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI มีรายได้จากการขายทั้งสิ้นจำนวน 12,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,878 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตสูงถึงร้อยละ 29.3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 

 

โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มจำนวน 7,292 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,042 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และรายได้จากธุรกิจอาหารจำนวน 5,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,836 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 51.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ในส่วนของกำไรสุทธิรวมของบริษัท คิดเป็นจำนวน 1,199 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 654 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตที่ระดับร้อยละ 120 จากปีที่ผ่านมา

 

“ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นมากเป็นหลัก และจากการฟื้นตัวของธุรกิจอาหารที่ทำให้มีผู้บริโภคกลับมาใช้บริการที่ร้านมากขึ้น ประกอบกับมีการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง” นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

 

ร้านอาหารต้องเป็นหนึ่งในตัวเลือกของลูกค้า

เมื่อเจาะลงไปแต่ละธุรกิจจะพบว่า ผลจากการผ่อนคลายมาตรการโควิด ประกอบกับแคมเปญการตลาดที่ตอบโจทย์และได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค รวมทั้งการควบคุมการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ธุรกิจอาหารมียอดขายเติบโต 51.5% และมีกำไรสุทธิเติบโต 121% (เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564) 

 

“เราต้องการเป็นหนึ่งในตัวเลือกลำดับต้นๆ ของลูกค้าเมื่อนึกถึงการกลับมารับประทานอาหารในร้านอีกครั้ง” นงนุชกล่าว “ดังนั้นเราจึงต้องตอบโจทย์ลูกค้าในทุกๆ ด้าน รวมไปถึงการออกเมนูใหม่ๆ ในจังหวะที่พอดี กลยุทธ์หลายด้านทำให้ลูกค้าที่เดินเข้าร้านเติบโตกว่า 128%”

 

อีกหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ดึงลูกค้าให้กลับมาที่ร้านมากขึ้นคือระบบ CRM ผ่านแอป BevFood ที่มีฐานผู้ใช้กว่า 1.2 ล้านคน สถิติชี้ว่าตัวแอปสามารถดึงลูกค้าให้กลับมาที่ร้านได้มากถึง 28% ในขณะที่การสื่อสารอื่นๆ มีตัวเลขในระดับ 1 ดิจิเท่านั้น

 

ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 โออิชิมีร้านอาหารในเครือดังนี้

 

  • ร้านอาหารระดับพรีเมียม ได้แก่ โออิชิแกรนด์ จำนวน 1 สาขา, โฮว ยู จำนวน 4 สาขา และ ซาคาเอะ จำนวน 1 สาขา
  • ร้านอาหารระดับพรีเมียม แมส ได้แก่ โออิชิ อีทเทอเรียม จำนวน 9 สาขา, โออิชิ บุฟเฟต์ จำนวน 7 สาขา, นิกุยะ จำนวน 5 สาขา และ ชาบู บาย โออิชิ จำนวน 2 สาขา
  • ร้านอาหารระดับแมส ได้แก่ ชาบูชิ จำนวน 162 สาขา, โออิชิ ราเมน จำนวน 52 สาขา, คาคาชิ จำนวน 16 สาขา และ โออิชิ บิซโทโระ จำนวน 8 สาขา

 

 

เปิดขาย ‘แฟรนไชส์’ เป็นครั้งแรก

อ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ SBITO ระบุว่า ปี 2566 ‘ธุรกิจอาหาร’ จะเป็นหัวใจสำคัญของการเติบโต เพราะจะมีการเร่งเปิดสาขาใหม่อีก 30 สาขา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีการเปิดสาขาใหม่ไป 20 สาขา โดยเฉพาะแบรนด์ ‘โออิชิ บิซโทโระ’ ซึ่งเป็นร้านอาหารบริการด่วนที่เพิ่งเริ่มเปิดขายแฟรนไชส์

 

การขายแฟรนไชส์จะส่งผลให้การเร่งขยายสาขาเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยคาดใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 675 ล้านบาท

 

“ร้านอาหารญี่ปุ่นยังไม่ถึงทางตัน” นงนุชกล่าว โดยข้อมูลจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ระบุว่า ในปี 2565 ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีจำนวน 5,325 ร้าน เพิ่มขึ้นจาก 4,370 ร้านในปี 2564 หรือมีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 955 ร้าน คิดเป็น 21.9% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550

 

ถึงจะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น แต่แม่ทัพของโออิชิแสดงความเห็นว่า เนื่องจากอาหารญี่ปุ่นสะท้อนเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสนใจ ดังนั้นตลาดนี้จึงมีโอกาสเติบโตขึ้น อยู่กับว่าสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากน้อยแค่ไหน

 

สำหรับโออิชิสิ่งที่ต้องจับตาในปีนี้คือการนำ ‘โออิชิ บิซโทโระ’ มาทำเป็นแฟรนไชส์ครั้งแรก ซึ่งเบื้องต้นจะมีการใช้งบลงทุนราว 3 ล้านบาท ในพื้นที่ 50-60 ตารางเมตร ตอนนี้มีทั้งคุยแบบมาสเตอร์แฟรนไชส์และแฟรนไชส์ทั่วไป

 

“เราต้องการบาลานซ์พอร์ตที่ไม่ใช่บุฟเฟต์ อย่าง โออิชิ บิซโทโระ เป็นร้านอาหารที่สามารถเดินเข้าได้ง่ายๆ มียอดจ่ายต่อบิลไม่เกิน 200 บาท ซึ่งเรามองว่าเข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้”

 

 

การขยับตัวมาขายแฟรนไชส์นั้นเกิดจากการที่นงนุชมีประสบการณ์จากการทำแฟรนไชส์อยู่แล้ว เนื่องจากนงนุชเองได้นั่งตำแหน่ง ‘ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจอาหาร ประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ’ ซึ่งมีธุรกิจร้านอาหารในเครือกว่า 725 สาขา และส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ KFC 412 สาขา 

 

สำหรับในภาพรวมของพอร์ตร้านอาหารญี่ปุ่นนงนุชระบุว่า จะมีการรีเฟรชแบรนด์เพื่อสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภคมากขึ้น

 

ชาเขียวยังเติบโตได้ดี

ด้านธุรกิจเครื่องดื่มพบว่า ‘โออิชิ กรีนที’ ยังคงครองแชมป์เจ้าตลาดชาพร้อมดื่มมูลค่า 13,228 ล้านบาท หลังกวาดส่วนแบ่งตลาด 48% (อ้างอิง: NielsenIQ (ประเทศไทย) ตั้งแต่เดือนตุลาคม-กันยายน 2565)

 

รายได้จากเครื่องดื่มเติบโตจนใกล้จะเท่ากับช่วงก่อนโควิดแล้ว โดยการเติบโตนั้นมาจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพ โดยเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และขยายฐานผู้ดื่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่รักสุขภาพ ล่าสุดได้สร้างเซ็กเมนต์ใหม่ ชาเขียวน้ำตาล 0% ตอบรับเทรนด์สุขภาพที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

 

“การเปิดเซ็กเมนต์ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ และไม่กระทบกับฐานลูกค้าเดิม ด้วยกลุ่มคนที่หันมาดื่มชาเขียวน้ำตาล 0% มาจากกลุ่มที่ดื่มน้ำเปล่า”

 

ทิศทางในปี 2566 จะเน้นสื่อสารประโยชน์ของชาเขียว สร้างการรับรู้คุณประโยชน์ของคาเทชินที่มีในชาเขียวโออิชิทุกขวด ตลอดจนขยายฐานกลุ่มวัยรุ่น และขยายเซ็กเมนต์น้ำตาล 0% สร้างการเติบโตให้กับสินค้ากลุ่มน้ำตาล 0% เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพ โดยจะมีการทำรสชาติใหม่ๆ ออกมาอีก

 

 

“ที่ผ่านมาความท้าทายของตลาดชาพร้อมดื่มอยู่ที่ราคาและขนาดที่วางขาย แต่เราจะไม่มุ่งเน้นด้านนั้น โดยจะเน้นทำแคมเปญที่สร้างสรรค์เพื่อมองหาฐานลูกค้าใหม่ๆ รวมไปถึงการคิดค้นนวัตกรรมที่ให้ฟังก์ชันนัลมากขึ้นด้วย”

 

นอกจากนี้โออิชิต้องการขยายตลาดส่งออก ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 33 ประเทศ โดยเพิ่มความแข็งแกร่งในตลาดหลัก คือ กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ซึ่งวันนี้โออิชิเป็นเบอร์ 1 อยู่แล้ว ตลอดจนสร้างโอกาสการเติบโตในตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศอาเซียน

 

“เราหวังว่าในภาพรวมจะสามารถขยับส่วนแบ่งให้เพิ่มไปถึง 50%” แม่ทัพโออิชิประเมิน

 

คาดรายได้เพิ่ม 10%

บทวิเคราะห์จาก บล.พาย ระบุว่า นอกจากจะเปิดสาขาใหม่แล้ว โออิชิยังคงมีการปรับรูปแบบร้านใหม่เพื่อให้มีจุดขายที่ต่างจากคู่แข่งในอุตสาหกรรมเพิ่ม และให้ความสำคัญกับธุรกิจอาหารพร้อมรับประทาน (Package Food) ที่มีสัดส่วนประมาณ 10% ของรายได้ธุรกิจอาหาร

 

เรื่องนี้โออิชิได้วางแผนที่จะเสริมความแข็งแกร่งของฐานตลาดผู้บริโภคและยอดขาย ผ่านการพัฒนาสินค้าทั้งกลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนตามกระแสความต้องการของผู้บริโภค เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มและซอสปรุงรส (รวมทั้งน้ำซุปสุกียากี้เข้มข้น), กลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน (ข้าวกล่องพร้อมรับประทาน) และกลุ่มหมูปรุงรส (หมูสับผสมข้าวโพดปรุงรส-แช่แข็ง) 

 

โดยวางจุดขายให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานสไตล์ญี่ปุ่น ที่มอบความสะดวก ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ชื่นชอบอาหารญี่ปุ่นและรักการทำอาหารกินเองที่บ้าน นอกจากนั้นยังเล็งเห็นโอกาสทางการตลาดจากเทรนด์สุขภาพมาแรง จึงพัฒนาสินค้า/อาหารสำเร็จรูป ที่มีคุณประโยชน์และดีต่อสุขภาพให้มากขึ้นอีกด้วย

 

บล.พาย คาดว่ารายได้ปี 2566 จะยังขยายตัวได้ดีจากผลดีของการเปิดร้านอาหารเพิ่ม โดยคาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น 10%YoY มาอยู่ที่ 13,927 ล้านบาท แต่ปรับกำไรสุทธิในปี 2566 ลงเล็กน้อย 4% มาอยู่ที่ 1,253 ล้านบาท (+5%YoY) เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

The post กางแผน ‘โออิชิ’ บุกรอบด้าน! ปูทางขายแฟรนไชส์ ‘โออิชิ บิซโทโระ’ เป็นครั้งแรก ส่วนชาเขียวยังเป็นเจ้าตลาด เดินหน้าขยายฐานลูกค้าใหม่ต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
โออิชิเสริมแกร่งพอร์ตธุรกิจ ‘ชาบู บาย โออิชิ’ เจาะชาบูพรีเมียม สร้างจุดต่างด้วยการเสิร์ฟผ่านสายพานรถไฟ https://thestandard.co/shabu-by-oishi/ Tue, 21 Jun 2022 04:04:00 +0000 https://thestandard.co/?p=644271 SHABU By OISHI

อาหารญี่ปุ่นอย่างชาบูชาบูและสุกี้ยากี้ ยังถือเป็นเมนูยอ […]

The post โออิชิเสริมแกร่งพอร์ตธุรกิจ ‘ชาบู บาย โออิชิ’ เจาะชาบูพรีเมียม สร้างจุดต่างด้วยการเสิร์ฟผ่านสายพานรถไฟ appeared first on THE STANDARD.

]]>
SHABU By OISHI

อาหารญี่ปุ่นอย่างชาบูชาบูและสุกี้ยากี้ ยังถือเป็นเมนูยอดนิยมสำหรับคนไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้โออิชิตัดสินใจเสริมแกร่งพอร์ตธุรกิจกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น เปิดตัว ‘ชาบู บาย โออิชิ’ (SHABU By OISHI) เจาะคนรักชาบูพรีเมียม

 

เบื้องต้นปักหมุดเปิดให้บริการ ประเดิม 2 สาขาแรก แฟชั่นไอส์แลนด์ (รามอินทรา) – เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9

 

“หลังเปิดให้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นไฮบริด โออิชิ บิซโทโระ (OISHI BIZTORO) ไปเมื่อไม่นานมานี้ ล่าสุดโออิชิยังคงมุ่งสร้างโอกาสเติบโต และปรับรูปแบบธุรกิจให้มีความหลากหลาย ครอบคลุม เพื่อเติมเต็มช่องว่างตลาดและความต้องการของผู้บริโภคในทุกสถานการณ์ โดยเดินหน้าเสริมแกร่งพอร์ตฯ อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดตัวร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ใหม่ ภายใต้ชื่อ ชาบู บาย โออิชิ (SHABU By OISHI)” นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ โออิชิ กล่าว

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

แบรนด์ใหม่นี้มีทั้งอะลาคาร์ต (A la carte Menu) และแบบเซ็ต (Set Menu) พร้อมสร้างความแตกต่าง น่าตื่นเต้น ไฮไลต์อยู่ที่การจัดเสิร์ฟอาหารด้วยระบบส่งอาหารด่วนอัตโนมัติหรือสายพานรถไฟ

 

เท่ากับว่าตอนนี้อาหารญี่ปุ่นประเภทชาบูชาบูและสุกี้ยากี้ภายใต้เครือโออิชิ มีครอบคลุมตั้งแต่

 

  • กลุ่ม Premium คือ ซาคาเอะ (SAKAE) บริการแบบอะลาคาร์ต 1 สาขา,
  • กลุ่ม Premium Mass คือ ชาบู บาย โออิชิ (SHABU By OISHI) บริการแบบอะลาคาร์ต 2 สาขา
  • และกลุ่ม Mass คือ ชาบูชิ (Shabushi By OISHI) บริการแบบบุฟเฟต์ 162 สาขา

 

โออิชิเพิ่งเปิดเผยผลประกอบการในไตรมาสที่ 2/64-65 รายได้รวม 3,011 ล้านบาท เติบโต 27.1% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม 1,749 ล้านบาท เติบโต 23.5% และรายได้จากธุรกิจอาหาร 1,262 ล้านบาท เติบโต 32.4% 

 

ขณะที่กำไรสุทธิรวม 265 ล้านบาท เติบโตสูงถึง 89.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post โออิชิเสริมแกร่งพอร์ตธุรกิจ ‘ชาบู บาย โออิชิ’ เจาะชาบูพรีเมียม สร้างจุดต่างด้วยการเสิร์ฟผ่านสายพานรถไฟ appeared first on THE STANDARD.

]]>
มองการปรับตัวของ ‘โออิชิ’ ท่ามกลางกระแสโควิด ด้วยการปล่อย ‘ร้านอาหารเคลื่อนที่’ เข้าถึงลูกค้า เริ่มประเดิมก่อนในปั๊มน้ำมัน https://thestandard.co/oishi-cloud-kitchen/ Thu, 19 Aug 2021 12:55:29 +0000 https://thestandard.co/?p=527018 โออิชิ

‘ธุรกิจร้านอาหาร’ กลายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องปรับตัวมา […]

The post มองการปรับตัวของ ‘โออิชิ’ ท่ามกลางกระแสโควิด ด้วยการปล่อย ‘ร้านอาหารเคลื่อนที่’ เข้าถึงลูกค้า เริ่มประเดิมก่อนในปั๊มน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
โออิชิ

‘ธุรกิจร้านอาหาร’ กลายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องปรับตัวมากที่สุดธุรกิจหนึ่ง เพราะการระบาดของโรคโควิดได้เข้ามาส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้หลักอย่าง ‘การนั่งกินในร้าน’ ที่ไม่สามารถเปิดรับลูกค้าได้อย่างปกติ

 

สำหรับ ‘โออิชิ’ หนึ่งในเชนร้านอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่ของไทย นอกเหนือจากการเปิดโมเดล Cloud Kitchen เพื่อรุกช่องทางเดลิเวอรีอันเป็นพฤติกรรมใหม่ของลูกค้าแล้ว ล่าสุดยังได้เพิ่มโมเดลใหม่นั่นคือ ‘ร้านอาหารเคลื่อนที่’ หรือ ‘โออิชิ ฟู้ดทรัก’

 

“ที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาช่องทางขายแบบซื้อกลับบ้าน (Take Home) และจัดส่ง (Delivery) มากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการปรับรูปแบบร้านให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในปัจจุบัน โดยเน้นเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว ผ่านการเปิดตัวและขยายธุรกิจสู่ร้านอาหารประเภทฟู้ดทรักหรือรถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่” ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจร้านอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

โออิชิ ฟู้ดทรัก นั้นจะมีเมนูอาหารจากร้านในเครือ โดยมีทั้งเมนูกลุ่มเบนโตะ เมนูกลุ่มดงบุริ และเมนูกลุ่มอาหารว่างและของทานเล่น ราคาเริ่มต้นที่ 69 บาท เบื้องต้นมีทั้งหมด 10 กว่าคัน โดยให้บริการภายในสถานีบริการน้ำมันซึ่งเป็นแหล่งที่มีผู้คนสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ก่อน หลังจากนี้จะขยายไปพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา โออิชิได้รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2563-2564 พบว่ามีรายได้รวม 2,602 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 448 ล้านบาท หรือ 20.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีกำไรสุทธิ 162 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79 ล้านบาท หรือ 95.8% จาก 83 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน

 

เจาะเข้าไปธุรกิจเครื่องดื่ม มีรายได้ 1,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.1% ขณะที่ธุรกิจอาหารมีรายได้ 787 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 157 ล้านบาท หรือ 24.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าสถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศที่ยังไม่คลี่คลายจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งคาดว่ามูลค่ารวมของรายได้ธุรกิจร้านอาหารทั้งปี 2564 จะหายไปไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท

 

แต่ด้วยปัจจัยและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในปี 2564 จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 5.31-5.58 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัวสูงถึง 18.4-24.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

The post มองการปรับตัวของ ‘โออิชิ’ ท่ามกลางกระแสโควิด ด้วยการปล่อย ‘ร้านอาหารเคลื่อนที่’ เข้าถึงลูกค้า เริ่มประเดิมก่อนในปั๊มน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ซาคาเอะ’ แบรนด์ร้านอาหารพรีเมียมร้านใหม่ในรอบ 20 ปี ของ ‘โออิชิ’ https://thestandard.co/sakae-oishi-premium-restuarant/ Tue, 03 Nov 2020 10:00:22 +0000 https://thestandard.co/?p=416322 ซาคาเอะ oishi ร้านอาหารญี่ปุ่น premium

ย้อนกลับไปเมื่อ 2-3 ปี ก่อน ในครั้งนั้น ‘โออิชิ’ ได้เผย […]

The post ‘ซาคาเอะ’ แบรนด์ร้านอาหารพรีเมียมร้านใหม่ในรอบ 20 ปี ของ ‘โออิชิ’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซาคาเอะ oishi ร้านอาหารญี่ปุ่น premium

ย้อนกลับไปเมื่อ 2-3 ปี ก่อน ในครั้งนั้น ‘โออิชิ’ ได้เผยทิศทางธุรกิจว่า วางแผนที่จะเปิดร้านอาหารในเซกเมนต์พรีเมียมขึ้นมาเป็นแบรนด์ใหม่ เพื่อเป็นการขยายพอร์ตร้านอาหารของตัวเอง ด้วย ณ ช่วงเวลานั้น ร้านอาหารในกลุ่มพรีเมียมยังมีเพียง ‘โออิชิ แกรนด์’ เพียงสาขาเดียวที่สยามพารากอน 

 

แต่ด้วยสถานการณ์ต่างๆ ที่ยังไม่เอื้ออำนวย ทำให้แผนดังกล่าวต้องถูกเลื่อนออกมา ด้วยโออิชิอยากใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทุ่มไปกับแบรนด์หลักที่สร้างรายได้เข้ามาก่อน นั่นคือ ‘ชาบูชิ’ ทั้งการยกเครื่องภายใน โดยเฉพาะ ‘ทรัพยากรบุคคล’ โดยพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาสำหรับส่งแบบเดลิเวอรี และการพัฒนาโมเดลคลาวด์คิทเชน

 

ถึงจะถูกเลื่อน แต่โปรเจกต์ดังกล่าวยังอยู่ใน Pipeline จนเมื่อ 1 ปีก่อนได้ถูกหยิบมาปัดฝุ่นอีกครั้งและพัฒนาอย่างจริงจัง จนในที่สุดก็มาเป็น ‘ซาคาเอะ’ แบรนด์ร้านอาหารพรีเมียมร้านใหม่ในรอบ 20 ปี ของ ‘โออิชิ’

 

‘ซาคาเอะ’ เป็นชาบู-ชาบู และสุกี้ญี่ปุ่น วัตถุดิบคัดสรรและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เนื้อวากิว ระดับ A4, เนื้อวากิว ระดับ F1 และเนื้อซาคาเอะ ซิกเนเจอร์ โดยวางขายเป็นแบบเซ็ต ราคา 490-1,400 บาท และอะลาคาร์ต ราคา 220-1,100 บาท ที่น่าสนใจคือ ซาคาเอะนั้นไม่ได้เป็นบุฟเฟต์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของโออิชิ

 

“การเปิดตัวซาคาเอะเป็นไปตามทิศทางในการเสริมแกร่งพอร์ตโฟลิโอกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น และขยายธุรกิจให้กว้างขึ้น ภายใต้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก แกนสำคัญหนึ่งคือสปินออฟแบรนด์ (Spin-Off Brands) เพื่อเพิ่มโอกาสการขาย และเข้าถึงผู้บริโภคหลากหลายกลุ่ม ซึ่งเน้นที่การสร้างแบรนด์ใหม่ เจาะตลาดใหม่ เซกเมนต์ใหม่ และจับกลุ่มเป้าหมายใหม่” ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI กล่าว

 

ลึกลงไป สาเหตุที่ทำให้โออิชิเลือกเปิดร้านชาบู-ชาบู และสุกี้ญี่ปุ่น เป็นเพราะอาหารประเภทนี้ยังมีทิศทางเติบโตได้ดี ขณะเดียวกันการเปิดเป็นพรีเมียมนั้น โออิชิมองแล้วว่า กำลังซื้อระดับบนยังเป็นกลุ่มเดียวที่มีกำลังซื้ออยู่ ในขณะที่กลุ่มแมสนั้นซึมลงจากภาวะเศรษฐกิจ และแม้จะเป็นพรีเมียมก็จริง แต่โออิชิก็ทำให้ผู้บริโภคมองว่า คุ้มค่าคุ้มราคากับสิ่งที่จ่ายลงไป

 

ขณะเดียวกันการเปิดตัวของซาคาเอะทำให้ภายใต้พอร์ตของโออิชินั้น ซาคาเอะได้ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ที่พรีเมียมที่สุด เพราะเมื่อเทียบกับราคานั้น ซาคาเอะมีราคาสูงสุดที่ 1,400 บาท ขณะที่โออิชิ แกรนด์มีราคาอยู่ที่ 995 บาท

 

พอร์ต โออิชิ สาขา ธุรกิจย่อย

 

นอกจากนี้ยังส่งผลให้ธุรกิจอาหารกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่นโออิชิ โดยภาพรวมในวันนี้มีความหลากหลาย ตั้งแต่ประเภทร้านอาหารบริการด่วน (QSR), ร้านอาหารระดับกลาง (Casual Dining) ไปจนถึงร้านอาหารระดับบน (Fine-Dining) และมีความครอบคลุมมากขึ้น ตั้งแต่เซกเมนต์ตลาดแมส ตลาดพรีเมียมแมส ไปจนถึงตลาดพรีเมียม และยังสร้างความได้เปรียบในการนำเสนขายมากขึ้น และเข้าถึงทุกช่วงเวลาของการรับประทานอาหารของผู้บริโภค ทั้งมื้อหลัก (Meal) และมื้อรอง (Light Meal) ในแต่ละวัน เพราะมีครบทั้งอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม

 

สำหรับสาขาแรกของซาคาเอะได้ปักหมุดอยู่ที่ชั้น 2 โครงการ เดอะ ปาร์ก ไลฟ์ ถนนพระรามที่ 4 (แยกคลองเตย) อันเป็นที่ตั้งของโครงการมิกซ์ยูสของ ‘ตระกูลสิริวัฒนภักดี’ ซึ่งสาเหตุที่เลือกที่นี่เป็นเพราะมีกลุ่มกำลังซื้ออยู่ นอกจากผู้บริโภคที่มาเดินแล้ว ยังได้กลุ่มพนักงานออฟฟิศอีกด้วย 

 

ในปีหน้าโออิชิวางแผนเปิดซาคาเอะอีก 5 สาขา ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นความท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะการเป็นร้านอาหารพรีเมียม ทำให้ต้องเลือกทำเลที่มีกำลังซื้อรองรับ ไม่สามารถขยายเหมือนร้านอาหารแบบแมสได้ เบื้องต้นการขยายจะเลือกไปกับโครงการมิกซ์ยูสภายในกลุ่มก่อน เพราะอย่างที่บอก ไม่เพียงได้กำลังซื้อจากกลุ่มลูกค้าทั่วไป แต่ยังมีกลุ่มพนักงานออฟฟิศซึ่งมีกำลังซื้อสูง

 

อย่างไรก็ตามการขยายพอร์ตร้านอาหารพรีเมียมของโออิชิไม่ได้มีแค่ซาคาเอะเท่านั้น ในปีนี้ได้มีการขยายสาขาที่ 2 ของร้าน ‘โฮว ยู’ โดยเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กันยายน 2563 ที่ เดอะ ปาร์ก ไลฟ์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ในปีหน้าโออิชิได้วางแผนที่จะยกเครื่อง ‘โออิชิ แกรนด์’ ใหม่ จากที่มีแต่บุฟเฟต์อย่างเดียว จะมีการเพิ่มเมนูแบบอะลาคาร์ตเข้ามา

 

ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 (ตุลาคม 2562-มิถุนายน 2563) ธุรกิจร้านอาหารของโออิชิมีรายได้ 3,766 ล้านบาท ลดลง 1,621 ล้านบาท หรือ 30.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากได้ผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ยังไม่สามารถให้บริการสำหรับการรับประทานอาหารภายในร้าน (Dine-in) ได้ 

The post ‘ซาคาเอะ’ แบรนด์ร้านอาหารพรีเมียมร้านใหม่ในรอบ 20 ปี ของ ‘โออิชิ’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
โออิชิเอาด้วย ‘Cloud Kitchen’ รวม 4 แบรนด์ในหนึ่งเดียว วางเป้าขยาย 5-10 สาขาภายในปี 2564 https://thestandard.co/oishi-joined-cloud-kitchen/ Mon, 24 Aug 2020 07:35:43 +0000 https://thestandard.co/?p=391132 โออิชิเอาด้วย ‘Cloud Kitchen’ รวม 4 แบรนด์ในหนึ่งเดียว วางเป้าขยาย 5-10 สาขาภายในปี 2564

กลายเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงที่บรรดาธุรกิจร้านอาหารต่างสนใจก […]

The post โออิชิเอาด้วย ‘Cloud Kitchen’ รวม 4 แบรนด์ในหนึ่งเดียว วางเป้าขยาย 5-10 สาขาภายในปี 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>
โออิชิเอาด้วย ‘Cloud Kitchen’ รวม 4 แบรนด์ในหนึ่งเดียว วางเป้าขยาย 5-10 สาขาภายในปี 2564

กลายเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงที่บรรดาธุรกิจร้านอาหารต่างสนใจกันอย่างคึกคักเสียแล้ว สำหรับ ‘Cloud Kitchen’ ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป, ไมเนอร์ ฟู้ด และ เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป ที่ต่างเปิดหน้าลุยเรื่องนี้อย่างจริงจัง 

 

ล่าสุดเป็นคิวเชนร้านอาหารญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่อย่าง ‘โออิชิ’ ที่หันมาลุย ‘Cloud Kitchen’ ด้วย โดย ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ระบุว่า Cloud Kitchen หรือบ้างก็เรียกว่า Ghost Kitchen เป็นรูปแบบโมเดลธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมและมาแรงมากๆ ในแวดวงธุรกิจอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง 

 

“ที่เป็นเช่นนั้นเพราะตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงรักษาระยะห่างทางสังคม พบว่าไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ผู้บริโภครับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง (หรือไม่รับประทานอาหารนอกบ้านเลย) แต่สั่งอาหารออนไลน์และใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรีมากขึ้น”

 

จากเทรนด์ดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับโอกาสทางการตลาดที่เปิดกว้างนี้ ทำให้โออิชิเดินหน้าพัฒนาต่อยอดรูปแบบการให้บริการ และสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจใหม่ภายใต้ชื่อ ‘Oishi Kitchen’ ขึ้น โดยเน้นทำการขายผ่านช่องทางออนไลน์อย่างแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรีเป็นหลัก ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกสั่งเมนูอาหารจากร้านต่างๆ ได้มากกว่า 1 ร้านแบบรวมออร์เดอร์ได้ด้วยการสั่งเพียงครั้งเดียว

 

เบื้องต้น Oishi Kitchen ประกอบไปด้วยร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ ได้แก่ โออิชิ บุฟเฟต์, โออิชิ ราเมน คาคาชิ และโออิชิ เดลิเวอรี รวมทั้งอาหารเพื่อสุขภาพ มีทั้งหมด 100 เมนู บางส่วนจะเป็นเมนูสำหรับ Oishi Kitchen อย่างเดียว ปักหมุดสาขาแรกบนถนนพระราม 4 ณ Big C Extra พระราม 4 (ในพื้นที่ครัวของโออิชิ บุฟเฟต์) ซึ่งถือว่าเป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่รายล้อมไปด้วยอาคารสำนักงานสำคัญๆ สถานศึกษา และที่อยู่อาศัย 

 

ทั้งนี้โออิชิได้ตั้งเป้าขยายพื้นที่ให้บริการและสาขาของ Cloud Kitchen อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเขตกรุงเทพฯ และแหล่งชุมชนเพิ่มเติมอีก 5-10 สาขาภายในปี 2564

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post โออิชิเอาด้วย ‘Cloud Kitchen’ รวม 4 แบรนด์ในหนึ่งเดียว วางเป้าขยาย 5-10 สาขาภายในปี 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจากนมฮอกไกโด ชาบูพรีเมียมสูตรต้นตำรับ ชาเขียวดับอาการหัวร้อน เหล่านี้คือสิ่งที่ไม่ควรพลาดในปีนี้ https://thestandard.co/oyoki-by-oishi/ Wed, 22 Jan 2020 03:01:32 +0000 https://thestandard.co/?p=323115 Oishi

หลังประสบความสำเร็จในแง่ยอดขายและกำไรในปีที่ผ่านมา ปี 2 […]

The post ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจากนมฮอกไกโด ชาบูพรีเมียมสูตรต้นตำรับ ชาเขียวดับอาการหัวร้อน เหล่านี้คือสิ่งที่ไม่ควรพลาดในปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Oishi

หลังประสบความสำเร็จในแง่ยอดขายและกำไรในปีที่ผ่านมา ปี 2020 โออิชิจึงขอรุกตลาดในเมืองไทยอย่างต่อเนื่องด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงเปิดตัวร้านอาหารและร้านขนมที่จะทำให้ปีนี้บ้านเราจะมีของอร่อยๆ ให้กินอีกเยอะ 

 

ล่าสุดโออิชิได้ตอกย้ำการเป็นเจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่นด้วยการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือใหม่ รวมถึงเปิดตัวร้านอาหารและร้านขนมเป็นครั้งแรกเพื่อเอาใจคนที่ชื่นชอบอาหารญี่ปุ่นทั้งสายคาวและสายหวาน เริ่มจาก Shabushi สาขาสามย่านมิตรทาวน์ ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงเป็นสาขาแรก เพื่อแก้ปัญหาคนที่เลิกงานดึกๆ แล้วไม่รู้จะหาของอร่อยที่ไหนกินดี หรือคนที่ต้องการของอุ่นๆ กินรองท้องในช่วงอาฟเตอร์ปาร์ตี้ รับรองว่ามาที่นี่ไม่มีคำว่าร้านปิดหรือของหมด 

 

ต่อด้วยห้องอาหารน้องใหม่อย่าง Sakae ที่นำเสนออาหารสไตล์ชาบูเช่นกัน แต่ยกระดับเป็นชาบูพรีเมียม กินแยกหม้อ ไม่ใช่สายพาน ถอดสูตรมาจากชาบูต้นตำรับแท้ๆ วัตถุดิบส่วนใหญ่จึงนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงเนื้อวัวที่ใช้เป็นวัวสายพันธุ์ดีของญี่ปุ่นที่นุ่มละลายในปาก เสิร์ฟมาเป็นเซตพร้อมข้าวและของหวาน แน่นอนว่าคุณภาพขนาดนี้ ราคาย่อมโดดไปไกลจาก Shabushi แต่ในแง่ความคุ้มค่าก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนอยากกินชาบูดีๆ ที่ไม่ใช่บุฟเฟต์ แต่มีเนื้อดีๆ และเครื่องเคียงสดสะอาดไว้บริการ โดยสาขาแรกจะเปิดในช่วงไตรมาสที่ 2 ณ The PARQ พระรามสี่

 

นอกจากนี้ยังมีร้านขนมหวานอย่าง Oyoki ที่ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟรสเข้มข้นที่ได้มาจากความหอมมันของนมฮอกไกโด ซึ่งทางโออิชิเคลมว่าเป็นที่แรกในไทยที่ใช้นมฮอกไกโดแท้ 100% มาเป็นเบสในการทำไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ก่อนแต่งรสชาติให้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น รสชาเขียว หรือรสผลไม้ต่างๆ สาขาแรกเปิดแล้วที่ชั้น B อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ แต่หากใครไม่สะดวกไปย่านนั้น รอกินสาขา 2 ที่กำลังเปิดเร็วๆ นี้ได้ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ส่วนแฟนขาประจำของร้านอาหารญี่ปุ่นที่เปิดมากว่าสิบปีในตึกแกรมมี่อย่าง Hou Yuu เตรียมตัวดีใจกันได้ เพราะทางโออิชิมีแผนที่จะขยายสาขาไปยังย่านไลฟ์สไตล์ต่างๆ ในเมือง โดยดึงเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการออกแบบร้านให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ควบคู่กับรสชาติของอาหารที่หลายคนคุ้นเคย 

 

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเครือใหญ่อย่างโออิชิยังต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์โลกที่พฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยการอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์สินค้าให้โดนใจผู้บริโภคยิ่งขึ้น ซึ่งหมายรวมไปถึงในส่วนของ Oishi Eato ซึ่งเป็นอาหารสำเร็จรูปที่วางขายในร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่ต้องตอบโจทย์ทั้งความอร่อย คุณค่าทางโภชนาการ และแพ็กเกจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หรือกลุ่มเครื่องดื่มที่นอกจากจะปล่อยชาเขียวพรีเมียม โออิชิ โกลด์ เกียวคุโระ แล้ว ปีนี้ยังตั้งใจเจาะตลาดกลุ่มวัยทีนด้วยแคมเปญ Oishi x ROV กับการดื่มชาเขียวรสแอปเปิ้ลฮันนี่ดับอาการหัวร้อน ซึ่งตอนนี้กลายเป็นสินค้าขายดีที่ต่อให้ไม่ใช่วัยทีนก็อยากหาซื้อมาดื่ม

 

น่าติดตามกันดูว่าในช่วงครึ่งปีหลัง วงการอาหารในบ้านเราจะปรับตัวกันอย่างไร เมื่อธุรกิจอาหารถูก Disrupt จากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย การให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพฤติกรรมของคนยุคปัจจุบันที่มองหาความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นที่ตั้ง ในยุคสมัยที่ทุกอย่างสามารถสั่งการได้พริบตาเดียวผ่านทางโทรศัพท์มือถือ

 

 

 

ภาพ: Courtesy of OYOKI
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจากนมฮอกไกโด ชาบูพรีเมียมสูตรต้นตำรับ ชาเขียวดับอาการหัวร้อน เหล่านี้คือสิ่งที่ไม่ควรพลาดในปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจชะลอตัวไม่สะเทือน! ‘โออิชิ’ เผยปี 2562 รายได้โต 8.2% กำไรเพิ่ม 21.9% เตรียมปันผล 2.90 บาทต่อหุ้น https://thestandard.co/oishi-2019/ Fri, 22 Nov 2019 03:46:48 +0000 https://thestandard.co/?p=306253 OISHI

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI รายงานผลปร […]

The post เศรษฐกิจชะลอตัวไม่สะเทือน! ‘โออิชิ’ เผยปี 2562 รายได้โต 8.2% กำไรเพิ่ม 21.9% เตรียมปันผล 2.90 บาทต่อหุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
OISHI

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI รายงานผลประกอบการปี 2562 (1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562) พบมีรายได้จากการขายและให้บริการรวมทั้งสิ้น 13,631 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,035 ล้านบาท หรือ 8.2% จากปีก่อน ซึ่งมีรายได้จากการขายและให้บริการรวม 12,596 ล้านบาท

 

มองลึกลงไปพบว่า ‘ธุรกิจเครื่องดื่ม’ มีรายได้ 6,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 515 ล้านบาท หรือเติบโต 8.6% จากปีก่อน ซึ่งมีรายได้ 5,986 ล้านบาท โดยเติบโตจากเครื่องดื่มที่ส่งออกไปต่างประเทศ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ส่งผลให้สามารถรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดชาพร้อมดื่มในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากได้กลับมารับรู้รายได้จากการให้บริการรับจ้างผลิต (OEM) 

 

ส่วน ‘ธุรกิจอาหาร’ มีรายได้ 7,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9% หรือ 520 ล้านบาทจากปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากการเปิดสาขาใหม่ของธุรกิจร้านอาหา รและการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม แม้ในสถาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวก็ยังเติบโตได้ดี 

 

โออิชิมีต้นทุนขาย 8,816 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 706 ล้านบาท หรือ 8.7% โดยธุรกิจเครื่องดื่มมีต้นทุนขายและให้บริการ 4,902 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 459 ล้านบาท หรือ 10.3% ซึ่งมาจากการเติบโตของยอดขาย และบางส่วนจากการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนผลิตภัณฑ์การขาย ประกอบกับต้นทุนเบื้องต้นในช่วงเริ่มเดินเครื่องสายการผลิต UHT ที่ได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้ และธุรกิจอาหาร 3,914 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 247 ล้านบาท หรือ 6.7% เนื่องจากบริษัทสามารถควบคุมราคาวัตถุดิบหลักในหลายรายการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง 

 

มีค่าใช้จ่ายในการขายรวมเท่ากับ 1,497 ล้านบาท ลดลง 94 ล้านบาท หรือ 5.9% เป็นผลมาจากการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสะท้อนให้เห็นว่ามีกลยุทธ์ที่ถูกต้องในการลงทุนด้านตราสินค้า อีกทั้งมีการทำกิจกรรมทางการตลาดร่วมกันระหว่างธุรกิจเครื่องดื่มและอาหาร ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้ และยังคงสามารถสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารรวมเท่ากับ 2,083 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 85 ล้านบาท หรือ 4.2%

 

ทั้งหมดนี้ทำให้โออิชิมีกำไรสุทธิ 1,229 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 221 ล้านบาท หรือ 21.9% จากรอบปีบัญชี 2561 ที่มีกำไรสุทธิ 1,008 ล้านบาท 

 

ในการนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล สำหรับผลประกอบการประจำปี 2562 และกำไรสะสมในอัตราหุ้นละ 4.00 บาท เนื่องจากได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 1.10 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นแล้วเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 ดังนั้น คงเหลือเงินปันผลที่จ่ายคราวนี้อีกจำนวนหุ้นละ 2.90 บาท ซึ่งจะจ่ายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ทั้งนี้การให้สิทธิดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2563 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม 2563 เวลา 14.00 น. 

 

นอกจากนี้ยังเตรียมเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Split Par) จากมูลค่าที่ตราไว้ (Par) เดิมหุ้นละ 2 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 1 บาท เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่หุ้น ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจาก 187 ล้าน 5 แสนหุ้น มูลค่าหุ้นละ 2 บาท เป็น 375 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post เศรษฐกิจชะลอตัวไม่สะเทือน! ‘โออิชิ’ เผยปี 2562 รายได้โต 8.2% กำไรเพิ่ม 21.9% เตรียมปันผล 2.90 บาทต่อหุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ญี่ปุ่นในความทรงจำของลูกครึ่งไทย – ญี่ปุ่น Akina Suzuki [Advertorial] https://thestandard.co/oishi-gold-genmaicha-akina-suzuki/ Fri, 20 Sep 2019 11:30:53 +0000 https://thestandard.co/?p=289049 Akina Suzuki

AKINA SUZUKI สาวลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ผู้คุ้นเคยกับเรื่อง […]

The post ญี่ปุ่นในความทรงจำของลูกครึ่งไทย – ญี่ปุ่น Akina Suzuki [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
Akina Suzuki

AKINA SUZUKI สาวลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ผู้คุ้นเคยกับเรื่องราวความเป็นญี่ปุ่น มาเล่าประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่ทำให้เธอคิดถึงญี่ปุ่นในทุกๆ วัน

The post ญี่ปุ่นในความทรงจำของลูกครึ่งไทย – ญี่ปุ่น Akina Suzuki [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เก็นไมฉะ’ แตกต่างจากชาเขียวทั่วไปอย่างไร และทำไมคุณถึงควรดื่มชาพรีเมียมหอมกรุ่นในทุกวัน [Advertorial] https://thestandard.co/oishi-gold-genmaicha/ Wed, 11 Sep 2019 04:55:33 +0000 https://thestandard.co/?p=286072 Oishi Gold Genmaicha

ไม่มีใครไม่รู้จักชาเขียว เพราะชาเขียวกลายเป็นเครื่องดื่ […]

The post ‘เก็นไมฉะ’ แตกต่างจากชาเขียวทั่วไปอย่างไร และทำไมคุณถึงควรดื่มชาพรีเมียมหอมกรุ่นในทุกวัน [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
Oishi Gold Genmaicha

ไม่มีใครไม่รู้จักชาเขียว เพราะชาเขียวกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในหมวดชาที่แพร่หลายไปทั่วโลก แทบทุกประเทศต้องมีชาเขียวบรรจุขวดวางขายตามร้านสะดวกซื้อ ไม่เว้นแม้แต่ในบ้านเราที่ชาเขียวกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มแบบป๊อปๆ ของวัยรุ่น และถูกนำไปประยุกต์เข้าสู่อาหารการกินหมวดอื่นๆ ที่มากกว่าเครื่องดื่มไปแล้ว

 

ชาเขียวญี่ปุ่นมีหลายประเภท ที่เป็นที่นิยมกันในไทย เช่น ‘มัทฉะ’ มัทฉะถือเป็นชาเขียวชั้นดีที่นิยมใช้ในพิธีชงชาของชนชั้นสูงในญี่ปุ่น ด้วยกรรมวิธีการบดยอดอ่อนใบชาอย่างพิถีพิถันจนได้ผงมัทฉะสีเขียวนวล ในขณะที่ชาเขียวอีกประเภทหนึ่งอย่าง ‘เซนฉะ’ จัดเป็นตัวแทนรสชาติชาเขียวของชาวญี่ปุ่น และยังเป็นประเภทของชาเขียวที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันมากที่สุด ด้วยรสชาติที่สดชื่น ดื่มง่าย

 

แต่มีชาเขียวพรีเมียมอีกหนึ่งประเภทที่คุณอาจยังไม่เคยรู้จักหรือได้ยินมาก่อน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของชาวญี่ปุ่นและในเมืองไทย กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความพรีเมียมที่ไล่มาตั้งแต่ต้นทางของมัน มาจนถึงคุณประโยชน์ที่มากกว่าอย่างคาดไม่ถึง

 

Oishi Gold Genmaicha

 

รู้จัก ‘เก็นไมฉะ’

Genmaicha ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง ‘ชาข้าวคั่ว’ อธิบายอย่างง่ายที่สุด เก็นไมฉะคือการเบลนด์เข้าด้วยกันระหว่าง ‘ชาเขียว’ กับ ‘ข้าวคั่ว’

 

ต้นทางของเก็นไมฉะเกิดขึ้นที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น อดีตเมืองหลวงเก่าก่อนโตเกียวที่งดงามด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เมื่อพ่อค้าใบชาเขียวผู้มั่งคั่ง และเต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ในการจับเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมผสานเข้ากับใบชาเขียว เพื่อให้ได้ความพรีเมียมที่แปลกใหม่ วันหนึ่งพ่อค้าใบชาเขียวนึกสนุก จึงทดลองนำข้าวคั่วและใบชาเขียวมาลองชงดื่มดู จนได้มาซึ่งเก็นไมฉะที่มีทั้งกลิ่นและรสชาติไม่เหมือนใคร

ต่อมาชาวญี่ปุ่นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา ก็มองเห็นช่องทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับชาเขียวดั้งเดิม เก็นไมฉะจึงถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการคัดสรรพันธุ์ข้าวคั่วชั้นเลิศเกรดดี ให้กลิ่นหอมกรุ่นทุกครั้งที่ได้ลิ้มรส และใบชาเขียวที่คัดสรรจากแหล่งปลูกชั้นดีเช่นเดียวกัน

 

Oishi Gold Genmaicha

Oishi Gold Genmaicha

 

‘เก็นไมฉะ’ ดีอย่างไร

สำหรับคนกลัวคาเฟอีน เราขอแสดงความยินดีด้วยที่จะบอกกับคุณว่า เก็นไมฉะนั้นถือเป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่น้อยมาก น้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่นๆ ด้วยเพราะการเบลนด์ร่วมกับข้าวคั่วนั่นเอง

 

นอกจากนั้นแล้ว เมื่อคาเฟอีนน้อย คุณจึงสามารถดื่มได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องห่วงว่าดื่มแล้วจะทำให้ตาสว่างจนพานไม่ได้หลับไม่ได้นอนไป

 

สีของเก็นไมฉะไม่ได้มีสีน้ำตาลอย่างสีข้าวคั่ว และก็ไม่ได้เขียวจนเท่ากับสีใบชาเขียว แต่เก็นไมฉะเมื่อชงแล้วจะได้มาซึ่งสีเหลืองทองสุกปลั่ง ชาวญี่ปุ่นจึงมักเรียกเก็นไมฉะด้วยชื่อเล่นว่า ‘ชาสีทอง’ ซึ่งสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่นั้นมากมายอยู่ในระดับเข้มข้น

 

ไล่มาตั้งแต่เก็นไมฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง พร้อมทั้งยังช่วยในเรื่องปรับสมดุลระบบความดันโลหิต นอกจากนั้นยังมีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นกล่าวว่า การบริโภคเก็นไมฉะ ยังช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งและโรคหัวใจอีกด้วย 

 

ส่วนความดีงามของเก็นไมฉะสำหรับสายรื่นรมย์ก็คือ ด้วยรสชาติที่ฝาดกำลังดี หวานน้อย และกลิ่นหอมแบบคลาสสิกที่หาไม่ได้จากชาเขียวประเภทอื่น ทำให้หลายบาร์ทั้งในญี่ปุ่น และฝั่งยุโรปรวมถึงอเมริกา นิยมใช้เก็นไมฉะมามิกซ์เข้ากับแอลกอฮอล์ประเภทต่างๆ เกิดเป็นค็อกเทลที่สร้างมิติใหม่ทางรสชาติเป็นที่สุด แต่ถ้าใครไม่ใช่สายแอลกอฮอล์ การทานเก็นไมฉะคู่กับของคาวและของหวาน ก็นับเป็นตัวเลือกที่เข้ากันได้ดีทีเดียว

 

Oishi Gold Genmaicha

Oishi Gold Genmaicha

 

กว่าจะได้มาซึ่ง ‘เก็นไมฉะ’

จะว่าไป กว่าจะได้มาซึ่งเก็นไมฉะนั้น ต้องผ่านกระบวนการที่ถือเป็นภูมิปัญญาของคนญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้

 

หลายคนน่าจะทราบกันดี ว่ากรรมวิธีในการปลูกและเก็บใบชานั้นแสนยากลำบาก ไล่มาตั้งแต่สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ทำให้ได้มาซึ่งรสชาติหรือแม้แต่กลิ่นหอมที่แตกต่างกันออกไป

 

เช่นกันกับข้าวคั่วที่นำมาผสมผสานกันในเก็นไมฉะ ข้าวที่ต้องคัดสรรสายพันธุ์ดีงามของญี่ปุ่น ผ่านกรรมวิธีการคั่วด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม ก่อนที่จะทำมาตากแห้งและอบเข้ากับตัวใบชา เพื่อให้ความสุดยอดทั้งสอง ผสมผสานกันออกมาเป็นที่สุดของที่สุดแห่งเก็นไมฉะ ก่อนถึงมือคุณ

 

Oishi Gold Genmaicha

Oishi Gold Genmaicha

 

จากแหล่งผลิตสุดพรีเมียม ถึงมือคุณแล้ววันนี้
– ‘โออิชิ โกลด์ เก็นไมฉะ’

 

ฟังเรื่องราวของเก็นไมฉะแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนก็อยากเดินไปยังซูเปอร์มาร์เก็ต ตามหาเก็นไมฉะสุดพรีเมียมนี้แล้ว และก็ขอแสดงความดีใจกับทุกคน ที่ไม่ต้องลำบากลำบนตามหาถึงเชลฟ์สินค้าหมวดอิมพอร์ตอีกต่อไป เพราะเก็นไมฉะพร้อมบรรจุขวด ส่งตรงจากแหล่งผลิตสุดพรีเมียม ถึงมือคุณแล้ววันนี้

 

โออิชิ โกลด์ เก็นไมฉะ-ชาข้าวคั่วญี่ปุ่นระดับพรีเมียม การันตีด้วยรางวัลจักรพรรดิญี่ปุ่น คัดสรรเฉพาะยอดอ่อนใบชา 3 ใบ นำเข้า 100% จากไร่มัตสึดะ แหล่งกำเนิดชาคุณภาพ ที่พรีเมียมในทุกกรรมวิธีการผลิต

 

ผสานความหอมละมุนของข้าวคั่ว ที่คั่วด้วยสูตรดั้งเดิมมาตั้งแต่ปี 1930 ได้มาซึ่งความหอมกรุ่นตั้งแต่เปิดฝา พร้อมความหวานกำลังดี ทั้งสูตรไม่มีน้ำตาล และสูตรหวานน้อย เติมความสดชื่นได้ในทุกเวลาที่คุณต้องการ

 

พร้อมด้วยแพ็กเกจสุดพรีเมียม ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากกระบอกปล้องไม้ไผ่ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมใช้ใส่ชาสำหรับดื่มเติมความสดชื่นกระชุ่มกระชวยระหว่างการเดินทาง พร้อมด้วยปากขวดที่กว้างขึ้น เพื่อให้คุณได้จิบไปได้กลิ่นหอมไป นี่แหละ ความพรีเมียมที่แท้จริง

 

สัมผัสความพรีเมียมแบบญี่ปุ่นแท้ๆ หอม อร่อย สดชื่น พร้อมรสชาติแสนกลมกล่อม พบโออิชิ โกลด์ เก็นไมฉะ ทั้ง 2 สูตร สูตรหวานน้อย และสูตรไม่มีน้ำตาล ได้แล้ววันนี้ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ‘เก็นไมฉะ’ แตกต่างจากชาเขียวทั่วไปอย่างไร และทำไมคุณถึงควรดื่มชาพรีเมียมหอมกรุ่นในทุกวัน [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>