MSCI Index – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 24 Apr 2024 07:36:50 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ไทยพาณิชย์คาดเดือน พ.ค. นี้ มี Sell in May หลังมีหลายปัจจัยลบกดดัน ทั้งดอกเบี้ยลงช้า-สงครามปะทุ https://thestandard.co/scb-expects-this-may-to-have-sell-in-may/ Wed, 24 Apr 2024 07:36:50 +0000 https://thestandard.co/?p=926156

แบงก์ไทยพาณิชย์ประเมิน 3 ธนาคารกลางหลักของโลกไม่เร่งลดด […]

The post ไทยพาณิชย์คาดเดือน พ.ค. นี้ มี Sell in May หลังมีหลายปัจจัยลบกดดัน ทั้งดอกเบี้ยลงช้า-สงครามปะทุ appeared first on THE STANDARD.

]]>

แบงก์ไทยพาณิชย์ประเมิน 3 ธนาคารกลางหลักของโลกไม่เร่งลดดอกเบี้ย หลังสัญญาณเศรษฐกิจยังดูดี ปัญหาเงินเฟ้อไม่น่าห่วง จับตาเดือนพฤษภาคมนี้ เกิด Sell in May พร้อมแนะนำกลยุทธ์รับมือ

 

รุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ ผู้อำนวยการอาวุโส Investment Product Selection and Partnership ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ Morning Wealth ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณออกมาชัดเจนว่าการลดดอกเบี้ยน่าจะชะลอไปอีก เนื่องจากฝั่งเศรษฐกิจที่ดูดีขึ้นและตัวเลขเงินเฟ้อที่ไม่ได้ปรับขึ้นรุนแรงจนมีผลกระทบให้ต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย แม้จะยังไม่ลงไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในสหรัฐฯ ยังเติบโตดี สะท้อนว่าภาคเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความต้องการแรงงาน แม้จะมีการรายงานข้อมูลออกมาว่า สหรัฐฯ มีการปลดพนักงานลงบ้าง แต่ภาพรวมอัตราการจ้างงานของสหรัฐฯ ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ดังนั้นมีผลให้การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed น่าจะยังชะลออีกสักระยะ ในขณะที่ฝั่งธนาคารกลางยุโรป (ECB) เริ่มเห็นกระแสข่าวว่าอาจลดดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ แต่หากดูข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปแล้ว ตัวเลข GDP ยังสามารถขยายตัวขึ้นมาได้ค่อนข้างดีเป็นลำดับ

 

ส่วนตัวเลขการว่างงานของยุโรปก็ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5-6% ดังนั้นมองว่าหาก ECB เร่งปรับลดดอกเบี้ยเร็วเกินไปอาจมีผลกระทบไปสร้างฟองสบู่ใหม่ในภาคเศรษฐกิจได้ ดังนั้นการเก็งกำไรว่า ECB จะปรับลดดอกเบี้ยเร็วจึงถือเป็นความเสี่ยง

 

สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ปัจจุบันสามารถขยายตัวได้อย่างร้อนแรง ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงหนักสุดในรอบประมาณ 10-20 ปี แต่ประเมินว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ไม่ต้องการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็ว เพราะจะมีผลกระทบกับนักลงทุนต่างประเทศใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Carry Trade โดยนักลงทุนต่างประเทศกู้เงินเยนมาลงทุนหุ้นในตลาดหุ้นญี่ปุ่น หากดอกเบี้ยปรับขึ้นเร็วจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันกำลังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างดี

 

ดังนั้นสรุปมุมมองได้ว่า ทั้งสหรัฐฯ, ยุโรป และญี่ปุ่น มีแนวโน้มจะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ย ประเมินว่าโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้ามีน้อยมาก 

 

เปิด 4 ปัจจัยเกิด Sell in May

 

นอกจากนี้ประเมินภาพการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ ค่อนข้างกังวลว่ามีโอกาสเกิดภาวะ Sell in May การศึกษา MSCI World Index จากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา หรือในช่วง 13 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา พบข้อมูลว่า มีจำนวน 7 ครั้งจากทั้งหมด 13 ครั้งที่ในเดือนพฤษภาคมให้ผลตอบแทนที่ติดลบ อีกทั้งพบว่ามีค่าเฉลี่ยติดลบค่อนข้างเยอะอยู่ที่ระดับประมาณ 3% เฉพาะในเดือนพฤษภาคม ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเห็นการเกิด Sell in May 

 

สำหรับปัจจัยที่จะทำให้เกิด Sell in May มี 4 ปัจจัย ดังนี้ 

 

  1. ดอกเบี้ยนโยบายโลกที่ยังไม่ปรับลด ส่งผลกดดันให้ตลาดหุ้นชะลอตัวลงในช่วงเวลานี้ รวมถึงอาจมีการ Take Profit ออกมาด้วย

 

  1. ดอกเบี้ยพันธบัตรอายุยาวของสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

  1. Valuation ของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ยังแพงมาก

 

  1. ความเชื่อในระยะสั้นต่อการลงทุนในตลาดหุ้นลดลง จากปัญหาความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดการสู้รบในตะวันออกกลาง

 

อย่างไรก็ดี ภาพเศรษฐกิจไม่ได้มีทิศทางที่แย่จนมีผลกระทบให้นักลงทุนต้องเทขายหุ้นออกมา

 

กลยุทธ์รับมือ Sell in May 

 

ทั้งนี้ ยังแนะนำให้ Stay Invest โดยให้ลงทุนต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์การลงทุนเพื่อรับมือสถานการณ์ Sell in May แนะนำกลยุทธ์การลงทุนใน 2 ด้าน ได้แก่

 

  1. การลงทุนในสินทรัพย์ที่ดูแลเงินต้น ได้แก่ ตราสารหนี้ระยะสั้น, กองทุน Structured Product

 

  1. ลงทุนสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment) ได้แก่ ทองคำ, Private Debt 

 

อย่างไรก็ดี แม้ช่วงที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง แต่เริ่มเห็นแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยแนะนำให้ลงทุนในทองคำสัดส่วนประมาณ 5% ของพอร์ต เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ลงทุนเพื่อใช้กระจายความเสี่ยงการลงทุน โดยปัจจุบันทองคำคิดเป็นสินทรัพย์ลงทุนที่มีสัดส่วนประมาณ 5-6% ของสินทรัพย์ลงทุนของทั้งโลก รวมถึงการลงทุนใน Private Debt 

 

ทั้งนี้ ดูข้อมูลของกองทุน Invesco US Senior Loan ซึ่งลงทุนใน Private Debt เปรียบเทียบกับ S&P 500 Index สามารถทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างคงที่ โดยการลงทุนใน Private Debt อ้างอิงกลุ่มสินเชื่อคุณภาพดีของธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่มีหลักประกัน จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงและความผันผวนจากการลงทุนได้ อีกทั้งมีข้อดีที่กองทุนมีสภาพคล่องที่สามารถทำการซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวัน

 

โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ มีแผนจะเสนอขายกองทุนหน่วยลงทุนที่ลงทุนใน Private Debt ดังกล่าว ซึ่งจะเสนอขายเฉพาะลูกค้ากลุ่มนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth)

The post ไทยพาณิชย์คาดเดือน พ.ค. นี้ มี Sell in May หลังมีหลายปัจจัยลบกดดัน ทั้งดอกเบี้ยลงช้า-สงครามปะทุ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ผลตอบแทนดัชนีความยั่งยืน’ กับอีกหนึ่งบทพิสูจน์การลงทุนอย่างยั่งยืน https://thestandard.co/sustainability-index-returns/ Fri, 24 Mar 2023 04:30:30 +0000 https://thestandard.co/?p=767754

ในภาวะเศรษฐกิจผันผวน ทั้งนักลงทุนและธุรกิจจำเป็นต้องแสว […]

The post ‘ผลตอบแทนดัชนีความยั่งยืน’ กับอีกหนึ่งบทพิสูจน์การลงทุนอย่างยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในภาวะเศรษฐกิจผันผวน ทั้งนักลงทุนและธุรกิจจำเป็นต้องแสวงหาหนทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว ‘ความยั่งยืน’ จึงเป็นคำตอบที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ เพราะไม่เป็นเพียงทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุน แต่ยังเป็นทางรอดของธุรกิจอีกด้วย

 

ทำไมธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับ ‘ความยั่งยืน’

 

‘การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน’ เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องคำนึงถึง เพราะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือ ESG กลายเป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือข้อกีดกันทางการค้า การทำธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG จึงกลายเป็นทางรอด ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป หากธุรกิจไม่บริหารจัดการประเด็นด้าน ESG ให้ดีพอ ย่อมส่งผลต่อยอดขาย ความสามารถในการแข่งขัน ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของบริษัท ซึ่งล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าของกิจการ 

 

ในขณะที่ธุรกิจที่สามารถบริหารจัดการประเด็นด้าน ESG ได้เป็นอย่างดี ก็มีโอกาสได้รับเงินลงทุน เป็นที่สนใจของนักลงทุนมากขึ้น เพราะมีโอกาสเติบโตในระยะยาว นักลงทุนทุกวันนี้จึงให้ความสำคัญกับการเลือกลงทุนในธุรกิจที่มี ESG ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถช่วยบริหารความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ด้วย

 

‘การลงทุนอย่างยั่งยืน’ กำลังกลายเป็นกระแสหลักของโลกการลงทุนยุคใหม่

 

นักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยทั่วโลกหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืนมากขึ้น และกำลังกลายเป็นกระแสหลักการลงทุนของโลก แม้ในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน นักลงทุนกลับเพิ่มการลงทุนในธุรกิจที่คำนึงถึง ESG มากขึ้น 

 

จากรายงานของ Morningstar พบว่า ในปี 2021 มีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจยั่งยืนทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์กว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ที่ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์

 

นอกจากนี้ สถาบันการเงินหลายแห่งยังได้ประกาศนโยบายจะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ไม่คำนึงถึง ESG เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ธุรกิจยาสูบ หรือสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 

 

 

แม้ว่าสถิติตัวเลขจะแสดงให้เห็นว่าเทรนด์การลงทุนอย่างยั่งยืนกำลังเป็นที่ยอมรับ แต่ยังมีนักลงทุนหลายรายที่ยังสงสัยและเข้าใจว่าการลงทุนอย่างยั่งยืนคือการรักษ์โลก มุ่งช่วยสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ต้องยอมขาดทุนหรือไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างที่หวัง ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนอย่างยั่งยืนสามารถลดความเสี่ยงและความผันผวนจากการลงทุนได้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง และยังช่วยสร้างโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในระยะยาว

 

ดัชนีความยั่งยืน ผลตอบแทนไม่ได้แย่อย่างที่คิด 

 

กระแสการลงทุนในธุรกิจที่คำนึงถึง ESG มากขึ้น ทำให้ผู้จัดทำดัชนีทั่วโลกพัฒนาดัชนีด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยนักลงทุนคัดเลือกหุ้น และใช้เป็น Benchmark เปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างยั่งยืน เช่น SETTHSI Index โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, MSCI ESG Index โดย MSCI และ DJSI World Index โดย S&P Global เป็นต้น

SETTHSI Index

 

ดัชนีความยั่งยืนที่จัดทำและเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2561 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คัดเลือกหุ้นจากบริษัทจดทะเบียนในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment) ซึ่งผ่านการประเมินความยั่งยืนและมีผลการดำเนินงานด้าน ESG โดดเด่น และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและเกณฑ์การคำนวณดัชนี เช่น มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free-float) ไม่น้อยกว่า 20% เป็นต้น สมาชิกใน SETTHSI Index มีการทบทวนรายชื่อทุกเดือนมิถุนายนและธันวาคมของทุกปี โดยสามารถศึกษาเกณฑ์การคัดเลือกหุ้นและเกณฑ์การคำนวณ SETTHSI Index ได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ 

 

Source: SETSMART (28/02/2023)

 

จะเห็นได้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดัชนี SETTHSI มีผลตอบแทนเฉลี่ย 3% สูงกว่าดัชนีอื่นที่มีผลตอบแทนติดลบ 18-19% สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าดัชนี SETTHSI สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ นอกจากนี้ในช่วงปี 2563 ที่ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทุกดัชนีปรับตัวลดลงอย่างมาก แต่ดัชนี SETTHSI ปรับตัวลงไม่แรงเท่ากับดัชนีอื่นๆ สะท้อนว่าธุรกิจที่ดำเนินงานโดยคำนึงถึง ESG สามารถปรับตัวและรับมือกับความผันผวนในภาวะวิกฤตได้

 

MSCI EM ESG Leaders Index

 

ดัชนีความยั่งยืนที่จัดทำโดย MSCI ซึ่งพิจารณาบริษัททั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินงานด้าน ESG โดดเด่นครอบคลุม 24 ประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) 

 

Source: MSCI (28/02/2023)

 

จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบัน ดัชนี MSCI EM ESG Leaders มีผลตอบแทนมากกว่าดัชนีทั่วไปถึง 64.81% โดยดัชนี MSCI EM ESG Leaders Index มีผลตอบแทน 89.32% ในขณะที่ดัชนี MSCI Emerging Markets ให้ผลตอบแทนเพียง 24.51%

 

Dow Jones Sustainability World Index (DJSI World)

 

ดัชนีความยั่งยืนที่จัดทำโดย S&P Global โดยคัดเลือกจากบริษัทขนาดใหญ่กว่า 2,500 แห่งทั่วโลกที่มีการดำเนินงานด้าน ESG โดดเด่น 

 

Source: DJSI (9/03/2023)

 

จะเห็นได้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดัชนี DJSI World มีผลตอบแทน 4.26% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของ Dow Jones Industrial Average ที่ 5.67% ตัวเลขผลตอบแทนดัชนีด้านความยั่งยืนข้างต้นถือเป็นบทพิสูจน์ว่า การลงทุนอย่างยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่การช่วยเหลือสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียง หรือดีกว่าการลงทุนโดยทั่วไป และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบริหารความเสี่ยงและจัดพอร์ตการลงทุนให้นักลงทุนได้

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง: 

The post ‘ผลตอบแทนดัชนีความยั่งยืน’ กับอีกหนึ่งบทพิสูจน์การลงทุนอย่างยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: แบงก์ชาติจีนกด ‘หยวน’ อ่อนหนัก หวั่นฉุดเงินเอเชียร่วง | Morning Wealth 28 ก.พ. 2566 https://thestandard.co/morning-wealth-28022023/ Tue, 28 Feb 2023 01:36:00 +0000 https://thestandard.co/?p=756370

เกาะติดประเด็นแบงก์ชาติจีนปรับระดับอ้างอิงค่าเงินหยวนอ่ […]

The post ชมคลิป: แบงก์ชาติจีนกด ‘หยวน’ อ่อนหนัก หวั่นฉุดเงินเอเชียร่วง | Morning Wealth 28 ก.พ. 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
  • เกาะติดประเด็นแบงก์ชาติจีนปรับระดับอ้างอิงค่าเงินหยวนอ่อนค่าที่สุดในรอบเกือบ 3 เดือน หวั่นฉุดสกุลเงินในภูมิภาคอ่อนค่าตาม รายละเอียดเป็นอย่างไร
  • ส่องรายชื่อหุ้นเข้า MSCI รอบใหม่ เริ่มมีผล ณ ราคาปิดวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ยังน่าลงทุนหรือไม่ พูดคุยกับ กิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย)

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: แบงก์ชาติจีนกด ‘หยวน’ อ่อนหนัก หวั่นฉุดเงินเอเชียร่วง | Morning Wealth 28 ก.พ. 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักวิเคราะห์คาด ทิศทางตลาดหุ้น ‘เอเชีย’ พาเหรดสู่ขาขึ้น อานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น-ดอลลาร์อ่อนค่า https://thestandard.co/direction-of-asian-stock-market/ Mon, 23 Jan 2023 04:14:13 +0000 https://thestandard.co/?p=740667

บรรดาโบรกเกอร์และนักวิเคราะห์ในตลาดการเงินทั่วโลก ต่างม […]

The post นักวิเคราะห์คาด ทิศทางตลาดหุ้น ‘เอเชีย’ พาเหรดสู่ขาขึ้น อานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น-ดอลลาร์อ่อนค่า appeared first on THE STANDARD.

]]>

บรรดาโบรกเกอร์และนักวิเคราะห์ในตลาดการเงินทั่วโลก ต่างมองเห็นทิศทางที่คึกคักสดใสของการเติบโตในเชิงบวกของตลาดหุ้นทั่วภูมิภาคเอเชียในปี 2023 โดยระบุว่าเป็นการลงทุนที่มีแนวโน้มทำกำไรและอยู่ในช่วงขาขึ้นทั้งหมด พร้อมชูตลาดหุ้นจีนโดดเด่นสุด

 

รายงานระบุว่า แรงซื้อที่ทยอยกลับเข้ามาในตลาดในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้ดันให้ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้นเกือบ 23% ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1993 ขณะเดียวกันก็สามารถแซงหน้าตลาดยุโรปด้วยเช่นกัน

 

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียโดดเด่นเป็นผลมาจากการเปิดประเทศของจีน บวกกับค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ทำให้นักลงทุนต่างมองหาแนวทางป้องกันเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้น

 

Bloomberg เปิดเผยว่า ปี 2023 ถือเป็นการเริ่มต้นปีที่ดีที่สุดของตลาดเอเชียนับตั้งแต่ปี 2012 โดยดัชนี MSCI Asia ได้ไต่ขึ้นถึง 7.2% ในเดือนมกราคม โดยแนวโน้มที่จะขยับปรับตัวเพิ่มขึ้นในปีนี้ยังมีอีกมาก ซึ่งผู้จัดการกองทุนของ Bank of America ให้น้ำหนักไปที่สัญญาณบวกจากแนวโน้มการฟื้นตัวและเติบโตของจีนที่จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสวนทางกับการประมาณการรายได้ที่มีแนวโน้มจะปรับลดลงในตลาดสหรัฐฯ และยุโรป

 

ขณะนี้ตลาดจีนถือเป็นดาวเด่นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในเอเชีย โดยดัชนี MSCI China พุ่งขึ้นมากกว่า 50% ตั้งแต่สิ้นเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดในฟิลิปปินส์และเวียดนามส่งสัญญาณเข้าสู่ช่วงขาขึ้นหรือภาวะกระทิงแล้วในเดือนมกราคม โดยมีตลาดไต้หวันที่กำลังตามมาติดๆ

 

ด้านการสำรวจผู้จัดการกองทุนในเอเชียของ Bank of America พบว่า 95% ของนักลงทุนคาดหวังหุ้นในเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น จะเพิ่มขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า และประมาณครึ่งหนึ่งคาดการณ์ว่าผลกำไรจะเป็นเลขสองหลัก และส่วนใหญ่ไม่กังวลกับความท้าทายที่จีนต้องเผชิญ

 

นอกจากนี้กระแสทุนไหลเข้าตลาดเอเชีย กำลังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ โดยล่าสุดพบว่า เฉพาะเดือนมกราคมเพียงเดือนเดียว ชาวต่างชาติได้เข้าซื้อหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่มูลค่ารวม 16,500 ล้านดอลลาร์ ทำให้หลายฝ่ายคาดว่าหุ้นจีนน่าจะมีภาวะทุนไหลเข้าทุบสถิติสูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนต่างชาติยังมีการเข้าไปลงทุนในเกาหลีใต้มากถึง 3,300 ล้านดอลลาร์ และอีก 4,500 ล้านดอลลาร์ในไต้หวัน

 

แม้จะมีปัจจัยท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาติที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักอย่างเกาหลีใต้ แต่นักวิเคราะห์ยังคงมองในแง่ดี โดยเชื่อว่าการฟื้นตัวของจีนจะทำให้การค้าขายในเอเชียกลับมาคึกคัก ซึ่งความเชื่อมั่นดังกล่าวได้รับการยืนยันจากผลประกอบการของบริษัทเอเชียที่จดทะเบียนในตลาดต่างๆ ซึ่งเป็นไปในทางบวก

 

ข้อมูลจาก Bloomberg Data ชี้ว่า กำไรล่วงหน้าของบริษัทใน MSCI Asia ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นประมาณ 6% เมื่อเทียบกับการลดลงอย่างน้อย 1% สำหรับตลาดในสหรัฐฯ และยุโรป อีกทั้งนักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งยังมองไม่เห็นสัญญาณความเสี่ยงจากภาวะถดถอยในเอเชีย โดยที่แย่ที่สุดก็คือสัญญาณโตที่ชะลอตัวเท่านั้น แต่ก็ยังถือว่ามีการเติบโต


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

อ้างอิง:

The post นักวิเคราะห์คาด ทิศทางตลาดหุ้น ‘เอเชีย’ พาเหรดสู่ขาขึ้น อานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น-ดอลลาร์อ่อนค่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
กำไรตลาดหุ้น ‘เอเชีย’ ส่อเค้าต่ำสุดรอบ 12 ปี เหตุเศรษฐกิจจีนชะลอตัว-ซัพพลายเชนทั่วโลกประสบปัญหา https://thestandard.co/asian-stock-market-profits-lowest-level-in-12-years/ Sun, 24 Oct 2021 06:38:13 +0000 https://thestandard.co/?p=551743 Asian stock

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า จากการรวบรวมข้อมูลจากนักว […]

The post กำไรตลาดหุ้น ‘เอเชีย’ ส่อเค้าต่ำสุดรอบ 12 ปี เหตุเศรษฐกิจจีนชะลอตัว-ซัพพลายเชนทั่วโลกประสบปัญหา appeared first on THE STANDARD.

]]>
Asian stock

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า จากการรวบรวมข้อมูลจากนักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าผลกำไรของบริษัทในเอเชียลดลงจนทำระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปี เมื่อเทียบกับกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นอื่นทั่วโลก โดยสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน และซัพพลานเชนทั่วโลกประสบปัญหา 

 

หลังจากผ่านพ้นข่าวดีเรื่องการกระจายวัคซีนและการเปิดประเทศอีกครั้งไปแล้ว การคาดการณ์กำไรต่อหุ้นในปี 2564 สำหรับกลุ่มดัชนี MSCI Asia Pacific เริ่มลดลงในช่วงกลางเดือนกันยายน นำโดยการปรับลดคาดการณ์ในออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ เช่น มาเลเซีย และจากการรวบรวมข้อมูลของ Bloomberg พบว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเอเชียจะร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปี

  

ทั้งภาคธุรกิจและราคาหุ้นในภูมิภาคนี้ต่างได้รับแรงกดดันจากการที่เศรษฐกิจยังคงปิดตัวนานกว่าประเทศตะวันตก โดยจีนยังคงรักษานโยบาย COVID Zero และเข้มงวดกฎระเบียบด้านการกำกับดูแลภาคธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานที่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น และภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการขาดแคลนพลังงาน 

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า ประมาณการกำไรจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากนั้นจะกลับมาขึ้นในปี 2565 

 

Goldman Sachs ได้ปรับลดประมาณการสำหรับการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของ MSCI Asia Pacific (ไม่รวมสมาชิกดัชนีญี่ปุ่น) เหลือ 32% สำหรับปีนี้และ 9% สำหรับปี 2565 ลดลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 34% และ 11% ตามลำดับ ขณะที่คาดการณ์กำไรสำหรับตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และฟิลิปปินส์นั้นต่ำกว่าที่มุมมองนักวิเคราะห์โดยรวม (Consensus)

 

ปัจจัยหลักที่กดดันกำไรตลาดหุ้นในเอเชีย คือการรื้อกฎเกณฑ์ด้านการกำกับดูแลภาคธุรกิจหลายภาคส่วนในจีนซึ่งยังไม่ถึงจุดสิ้นสุดในปีนี้ และอาจมีการจำกัดการเดินทางเพื่อให้แน่ใจว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งในปี 2565 จะประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ตลาดหุ้นจีนเป็นตลาดหุ้นที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดในภูมิภาคในปีนี้ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หุ้นเอเชียมีประสิทธิภาพต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นทั่วโลก

 

ฌอน เทย์เลอร์ (Sean Taylor) หัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ DWS กล่าวกับ Bloomberg Television ว่า หลายจังหวัดของจีนจะถูกปิดจนกว่าถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2565 ซึ่งจะกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ลดลง

 

ทั้งนี้ดัชนี MSCI Asia Pacific มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพียงในปีนี้ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 18% ขณะที่ดัชนี CSI 300 ของจีนลดลงเกือบ 5%

 

ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้กำลังเผชิญความเสี่ยง เนื่องจากการเติบโตของกำไรบริษัทผู้ผลิตชิปรุ่นใหญ่อย่าง SK Hynix Inc. และ Samsung Electronics Ltd. ถูกคาดกากรณ์ว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากราคาชิปหน่วยความจำดูเหมือนจะพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้เศรษฐกิจเริ่มเปิดใหม่เร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าตัวเลขรายได้ก่อนหน้านี้เริ่มต้นที่ฐานที่สูงขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางมุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้นในเอเชีย ตลาดหุ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนบางกลุ่ม เนื่องจากถูกมองว่าเศรษฐกิจกำลังค่อยๆ พื้นตัวหลังจากมีการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทาง 

 

ทั้งนี้ DWS ชื่นชอบตลาดหุ้นญี่ปุ่นเนื่องจากยกเลิกภาวะฉุกเฉินและมีศักยภาพในการกระตุ้นทางการเงินครั้งใหญ่ ในขณะที่ตลาดที่มีหุ้นเทคโนโลยีสูงอย่างไต้หวันเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ Goldman Sachs, Invesco Ltd. และ Pictet Asset Management ชื่นชอบ

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post กำไรตลาดหุ้น ‘เอเชีย’ ส่อเค้าต่ำสุดรอบ 12 ปี เหตุเศรษฐกิจจีนชะลอตัว-ซัพพลายเชนทั่วโลกประสบปัญหา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดัชนีหุ้นทั่วโลกทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ทำจุดต่ำสุดรอบสามเดือน เหตุนักลงทุนเชื่อ Fed ยังคงดอกเบี้ย https://thestandard.co/global-stock-indices-held-near-record-highs/ Mon, 14 Jun 2021 08:40:01 +0000 https://thestandard.co/?p=500015 ดัชนีหุ้นทั่วโลก

ดัชนีหุ้นทั่วโลกทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ข […]

The post ดัชนีหุ้นทั่วโลกทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ทำจุดต่ำสุดรอบสามเดือน เหตุนักลงทุนเชื่อ Fed ยังคงดอกเบี้ย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดัชนีหุ้นทั่วโลก

ดัชนีหุ้นทั่วโลกทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำสุดรอบสามเดือน หลังนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะคงนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อในการประชุมที่กำลังจะมาถึง

 

โดยดัชนี Nikkei ของญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.35% ส่วนดัชนี MSCI ปรับลดลงเพียงเล็กน้อยที่ 0.1% ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของตลาดที่จำกัด เนื่องจากตลาดหุ้นจีน ฮ่องกง และออสเตรเลีย ปิดทำการเพราะเป็นวันหยุด

 

ในช่วงที่ผ่านมาตลาดตราสารทุนทั่วโลกต่างได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ

 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนี MSCI World, S&P 500 และ STOXX Europe 600 ปิดตลาดด้วยการทำสถิติสูงสุด แม้ว่าการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในวันก่อนหน้าจะออกมาสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้

 

“ปัจจัยสำคัญเรื่องแรกคือการที่ Fed พูดมาตลอดว่าเงินเฟ้อเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว และ Fed จะดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายต่อ อีกหนึ่งปัจจัยคือเงินสดกำลังท่วมตลาด” โนริฮิโระ ฟูจิโตะ หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุนของ Mitsubishi UFJ Morgan Stanley Securities กล่าว

 

ฟูจิโตะระบุว่า เงินจำนวนมากกำลังหาทางไปสู่ตลาดพันธบัตร โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่งจะตกลงสู่จุดต่ำสุดในรอบสามเดือนที่ 1.428% ไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเช่นกัน

 

“ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีอาจลดลงไปถึง 1.25% หรือแม้กระทั่ง 1%” อากิระ ทาเคอิ ผู้จัดการกองทุนของ Asset Management One ระบุ

 

ทาเคอิกล่าวว่า อัตราการจ้างงานของสหรัฐฯ เคยอยู่ที่ 61% ก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาด แม้ว่าตัวเลขล่าสุดจะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 58% แต่คาดว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเริ่มชะลอตัวเช่นกัน

 

ผู้ลงทุนหลายรายเชื่อว่า Fed จะยังคงใช้นโยบายที่ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะเริ่มในวันอังคารนี้

แม้คณะกรรมการบางคนของ Fed จะเคยพูดว่า ธนาคารควรเริ่มพูดคุยถึงการลดเข้าซื้อพันธบัตร แต่นักลงทุนยังเชื่อว่าเสียงส่วนใหญ่ยังอยากที่จะรอต่อไปอีกสักนิดมากกว่า

 

“ผลการประชุมในสัปดาห์นี้ไม่น่าจะมีอะไรที่เซอร์ไพรส์ออกมาจาก Fed แต่ในระยะยาวมันจะมีความเสี่ยงที่ชัดเจนจากการใช้นโยบายกระตุ้นที่มากเกินไปของ Fed มันแทบไม่มีเหตุผลที่จะซื้อ Mortgage Bonds ในช่วงที่ตลาดบ้านกำลังร้อนแรง” ฟูจิโตะกล่าว

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

อ้างอิง:

The post ดัชนีหุ้นทั่วโลกทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ทำจุดต่ำสุดรอบสามเดือน เหตุนักลงทุนเชื่อ Fed ยังคงดอกเบี้ย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: MSCI คืออะไร? https://thestandard.co/msci/ Sun, 18 Apr 2021 11:46:29 +0000 https://thestandard.co/?p=476984 MSCI

THE STANDARD WEALTH ชวนไปทำความรู้จัก บริษัทจัดทำดัชนีอ […]

The post ชมคลิป: MSCI คืออะไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
MSCI

THE STANDARD WEALTH ชวนไปทำความรู้จัก บริษัทจัดทำดัชนีอ้างอิงการลงทุนระดับโลกอย่าง ‘MSCI Inc.’ 

The post ชมคลิป: MSCI คืออะไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ESG: เมื่อความยั่งยืนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยยั่งยืน https://thestandard.co/esg-when-sustainability-is-key/ Tue, 01 Dec 2020 06:13:20 +0000 https://thestandard.co/?p=427173 ESG: เมื่อความยั่งยืนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยยั่งยืน

หากนับตั้งแต่ปี 2558 จะพบว่านักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขา […]

The post ESG: เมื่อความยั่งยืนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ESG: เมื่อความยั่งยืนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยยั่งยืน

หากนับตั้งแต่ปี 2558 จะพบว่านักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 8 แสนล้านบาทอันเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ และมีแนวโน้มสูงขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะ MSCI Index ซึ่งเป็น Index หลักที่นักลงทุนสถาบันต่างประเทศใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเทศได้มีการปรับสัดส่วนในการลงทุนในหุ้นจีนสูงมากขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียที่ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น จึงไม่น่าแปลกใจที่นักลงทุนสถาบันต่างประเทศลดสัดส่วนการลงทุนในประเทศแถบเอเชียอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยลงอย่างมาก ทั้งที่จริงๆ แล้วถ้าไม่รวมประเทศจีน น้ำหนักของหุ้นไทยคิดเป็นสัดส่วนของ MSCI Asia ex Japan Index เพิ่มสูงขึ้นเสียด้วยซ้ำ หากแนวโน้มในการลงทุนของ MSCI ยังเป็นอย่างนี้ต่อไปในอนาคต ประเทศไทยคงอยู่ในฐานะที่น่าเป็นห่วงเลยทีเดียว

 

 

แต่เรื่อง ESG ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในสายตานักลงทุนสถาบัน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ จากข้อมูลล่าสุดของ Morningstar Direct ยอดการลงทุนในหุ้น ESG (Global Sustainable Fund Flows) ทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าสินทรัพย์รวมสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์หรัฐในไตรมาสที่ 3/63 และสถานการณ์โควิด-19 ยิ่งทำให้นักลงทุนให้ความสำคัญกับ ESG สูงขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอีกด้วย

ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือบริษัทลงทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่าง BlackRock ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของ ESG เป็นอย่างมาก และตั้งเป้าที่จะใช้ข้อมูล ESG เข้ามาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจการลงทุนเพิ่มจาก 70% ของหุ้น ณ เดือนเมษายนที่ผ่านมาเป็น 100% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่ง แลร์รี ฟิงก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท BlackRock ได้พูดถึงความสำคัญของ ESG ในงาน Morningstar Investment Conference ว่าเหตุการณ์ในโลกในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า อุทกภัยจากพายุ สภาพอากาศที่ร้อนผิดปกติ ล้วนเป็นตัวอย่างของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกลายเป็นความเสี่ยงในการลงทุนที่ชัดเจน และเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของนักบริหารเงินที่จะต้องสอนให้นักลงทุนเห็นถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศต่อผลตอบแทนในการลงทุนในระยะยาว

สถิติมูลค่าสินทรัพย์หุ้น ESG ทั่วโลกรายไตรมาส (หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

Quarterly Global Sustainable Fund Assets (USD Billions)

 

 

ซึ่งในเรื่องของการลงทุนในหุ้น ESG นั้น DJSI (Dow Jones Sustainability Index) ก็เป็น Index หลักที่นักลงทุนในกลุ่มหุ้น ESG ให้ความสำคัญเช่นกัน ซึ่งจาก 1,386 บริษัทที่เข้าร่วมการประเมินในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนของไทยก็มีผลงานไม่น้อยหน้าประเทศอื่นเลยทีเดียว มีบริษัทไทยถึง 11 บริษัทได้รับการประเมินให้อยู่ใน DJSI World Index และมีบริษัทไทยถึง 7 บริษัทที่ได้รับการประเมินให้ได้คะแนนสูงสุดใน 7 กลุ่มอุตสาหกรรม จากทั้งหมด 61 กลุ่มอุตสาหกรรมเลยทีเดียว เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาที่มีบริษัท 11 บริษัทเป็นผู้นำอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ในส่วนของ DJSI Emerging Markets สำหรับตลาดเกิดใหม่ก็ยังมีบริษัทจดทะเบียนไทยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกถึง 21 บริษัท คิดเป็นสัดส่วนการลงทุนมากกว่า 10% ของ DJSI Emerging Markets เลยทีเดียว ซึ่งผลสำเร็จของบริษัทจดทะเบียนไทยในการเข้าสู่ระดับโลกในเรื่องของความยั่งยืนนี้ก็น่าจะเป็นปัจจัยช่วยส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนในตลาดทุนโลกมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนไทยในระดับโลกอีกด้วย


เพื่อความสะดวกสำหรับนักลงทุนที่สนใจหุ้น ESG ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียนไทยไว้ที่ https://www.settrade.com/settrade/esg-information?select=all นอกจากนี้ทางฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังได้ทำการวิจัยถึงแนวทางการใช้ข้อมูล ESG ในการสร้างพอร์ตการลงทุนและได้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียว คอยติดตามกันได้จาก SET Note Volume 11/2563 ที่จะประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเร็วๆ นี้

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ESG: เมื่อความยั่งยืนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>