Moodeng AI Challenge 2025 – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 14 Jul 2025 13:23:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ AI ระดับนานาชาติ Moodeng AI Challenge 2025 https://thestandard.co/moodeng-ai-challenge-2025-results/ Mon, 14 Jul 2025 13:23:00 +0000 https://thestandard.co/?p=1096358

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ณ งาน Ecological Intelligenc […]

The post เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ AI ระดับนานาชาติ Moodeng AI Challenge 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ณ งาน Ecological Intelligence Symposium ได้ประกาศผลรางวัล Moodeng AI Challenge 2025 นำโดย ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ViaLink ร่วมกับ ผศ.ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร จาก MIT Media Lab, องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยฯ และองค์กรพันธมิตร โดยมีระยะเวลาดำเนินการ เปิดรับผลงาน 21 ม.ค. – 1 พ.ค. 2025

 

การแข่งขันที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การแข่งขันนี้ได้แรงบันดาลใจจาก ‘หมูเด้ง’ ลูกฮิปโปแคระที่โด่งดังไปทั่วโลก เปิดรับนักพัฒนานวัตกรรมจากทั่วโลกในการพัฒนา AI เพื่อเชื่อมโยงมนุษย์ สัตว์โลก และธรรมชาติเข้าด้วยกัน โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัล 3,000 ดอลลาร์ และรางวัลอื่นๆ แต่ละด้าน 500 ดอลลาร์ (ยกเว้นรางวัลชมเชย), ใบ Certificate จาก MIT และเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษฉลองวันเกิดกับหมูเด้ง

 

โดยผู้ชนะเลิศและผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้

 

รางวัล Best Overall Award ได้แก่ ทีม OCTROBRAIN ทีมนักพัฒนาจากเม็กซิโก โดย Brenda Scarleth Gutierrez Torres นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI), Adrián Alemán Zapata นักศึกษาปริญญาเอกด้านประสาทวิทยาศาสตร์, Jose Alejandro Luna Martinez วิศวกร MLOps (MLOps Engineer) และ Ever Solis วิศวกรพัฒนาซอฟต์แวร์ ได้นำเสนอโปรเจกต์ “มังกี้อาย” (MonkeyEye) นวัตกรรม AI ที่จะเข้ามาช่วยผู้ดูแลสัตว์ในสวนสัตว์และศูนย์อนุรักษ์ให้สามารถตรวจจับความผิดปกติและดูแลสุขภาพของสัตว์ตระกูลลิง (Primate) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมจากวิดีโอแบบอัตโนมัติ หวังลดความเสี่ยงจากการป่วยหนักและยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์ อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาเพื่อใช้กับสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ ได้ในอนาคต ไม่จำกัดอยู่แค่สัตว์ตระกูลลิง

 

 

รางวัล AI สำหรับถอดรหัสการสื่อสารของสัตว์ ได้แก่ ทีม MOOMOO AI พัฒนาโดยเยาวชนไทย กันต์ธีร์ วัฒนานันท์, จิรสิน เตชะวุฒิ และ นรมน จินาอิ จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สร้างแชตบอตปัญญาประดิษฐ์ที่ออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจพฤติกรรมของ “หมูเด้ง” ฮิปโปโปเตมัสแห่งสวนสัตว์เปิดเขาเขียวโดยเฉพาะ ใช้เทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุขั้นสูง โดยทีมได้ฝึกฝน AI ด้วยภาพจากกล้องวงจรปิดของหมูเด้งกว่า 1,400 ภาพ เพื่อให้ AI สามารถจดจำและระบุพฤติกรรมหลักๆ ของหมูเด้งได้อย่างแม่นยำแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นการกิน, การนอน, การว่ายน้ำ หรือแม้แต่การเดิน ทั้งยังสามารถสร้างคำบรรยาย (Caption) ใต้ภาพวิดีโอเพื่ออธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เช่น “หมูเด้งกำลังว่ายน้ำ” หรือ “หมูเด้งกำลังนอน” ทำให้ผู้ดูแลและผู้เข้าชมเข้าใจกิจกรรมของหมูเด้งได้ทันที

 

 

รางวัล AI สำหรับส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างมนุษย์และสัตว์ ได้แก่ Haoheng Tang นักออกแบบเชิงคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในโปรเจกต์ MEAWGROUP โดยสร้าง AI “นักแปลภาษาแมว” ที่สามารถวิเคราะห์และจำแนกอารมณ์จากเสียงร้องของแมวได้แม่นยำถึง 85% โดยใช้ฐานข้อมูลเสียงแมวกว่า 6,000 ไฟล์ โปรเจกต์นี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้เจ้าของเข้าใจความรู้สึกของสัตว์เลี้ยง และเป็นเครื่องมือในการติดตามสวัสดิภาพสัตว์เบื้องต้น

 

 

รางวัล AI สำหรับเสริมศักยภาพสัตวแพทย์และผู้ดูแลสัตว์ ได้แก่ ชวภณ เนติสิงหะ นักเรียนจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ในโปรเจกต์ Moodong (หมูด้ง) ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมสัตว์เพื่อจำแนกทั้งท่าทาง, อารมณ์, สัญญาณความหิว และพฤติกรรมเฉพาะตัวของสัตว์ได้พร้อมกัน โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยการเรียนรู้แบบ Self-Supervised ที่ไม่ต้องใช้มนุษย์ติดป้ายกำกับข้อมูล ทำให้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับผู้ดูแลสัตว์ยุคใหม่

 

 

รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม CHANGGPT_HLCLIP และ ทีม CALKEE 

 

โดยทีม CHANGGPT_HLCLIP พัฒนาผู้ช่วย AI อัจฉริยะที่ช่วยแก้ปัญหาให้สวนสัตว์และศูนย์อนุรักษ์ช้าง ซึ่งระบบสามารถคัดกรองและสร้างวิดีโอไฮไลต์ของช้างจากฟุตเทจยาวหลายชั่วโมงได้อัตโนมัติ เพียงแค่ผู้ใช้พิมพ์คำสั่งที่ต้องการ เช่น “ช้างเล่นน้ำ” เทคโนโลยี AI ก็จะค้นหาและตัดต่อช่วงเวลาดังกล่าวออกมาเป็นคลิปสั้นๆ พร้อมใช้งานได้ทันที นวัตกรรมนี้ช่วยลดภาระงานให้ผู้ดูแลและทีมการตลาดได้อย่างมหาศาล ทำให้การสร้างคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการอนุรักษ์ทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

 

และทีม CALKEE โดย ลมินตา จงรักวิทย์ และ กฤษฏิ์ กฤษวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การดูแลของ ผศ. ดร.สุภมาศ สุชาตานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.สพ.เบญจพล หล่อสัญญาลักษณ์ โรงพยาบาลสัตว์พนาลัย และ สพ.ญ.นิจนันท์ ศิริอาชาวัฒนา โรงพยาบาลสัตว์พนาลัย พัฒนาแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เจ้าของกระต่ายสามารถตรวจสอบสุขภาพเบื้องต้นของสัตว์เลี้ยงแสนรักได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 

 

 

จากฮิปโปโปเตมัสตัวน้อยชื่อ ‘หมูเด้ง’ สู่เวที AI ระดับโลก เยาวชนไทยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เทคโนโลยีไม่ได้อยู่แค่ในห้องแล็บหรือบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น แต่สามารถเริ่มต้นได้จากจินตนาการเล็กๆ ใกล้ตัว เมื่อเด็กไทยเรียนรู้ที่จะใช้ AI เพื่อเข้าใจสัตว์และธรรมชาติ พวกเขาก็กำลังเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าใจโลกและดูแลอนาคตร่วมกัน นี่คืออีกหนึ่งก้าวเล็กๆ ของคนรุ่นใหม่ที่อาจเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบได้ในวันข้างหน้า

 

The post เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ AI ระดับนานาชาติ Moodeng AI Challenge 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>