MGM – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 16 Nov 2021 03:51:42 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Leonardo DiCaprio จะแสดงเป็น Jim Jones ผู้นำลัทธินอกรีตที่ก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายหมู่สุดสะเทือนขวัญในภาพยนตร์เรื่องใหม่ https://thestandard.co/leonardo-dicaprio-act-as-jim-jones/ Tue, 16 Nov 2021 03:51:42 +0000 https://thestandard.co/?p=560224 Leonardo DiCaprio

Leonardo DiCaprio (ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ) กำลังจะมีอีกหน […]

The post Leonardo DiCaprio จะแสดงเป็น Jim Jones ผู้นำลัทธินอกรีตที่ก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายหมู่สุดสะเทือนขวัญในภาพยนตร์เรื่องใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Leonardo DiCaprio

Leonardo DiCaprio (ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ) กำลังจะมีอีกหนึ่งผลงานภาพยนตร์เรื่องใหม่กับทางค่าย MGM โดยเขาจะรับบทเป็น Jim Jones ผู้นำลัทธิศาสนานอกรีตที่นำพาให้เหล่าสาวกพากันฆ่าตัวตายหมู่มากกว่า 900 ชีวิตในปี 1978 

 

สำหรับโปรเจกต์ใหม่นี้ยังไม่มีทั้งชื่อภาพยนตร์และยังไม่ได้วางตัวผู้กำกับอย่างเป็นทางการ แต่นักเขียนบทมือฉมังที่เคยฝากผลงานเรื่อง Venom เอาไว้อย่าง Scott Rosenberg จะมารับหน้าที่เขียนบทและควบตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายการผลิตไปด้วย ส่วน Leonardo DiCaprio เองก็จะโปรดิวซ์ภาพยนตร์เรื่องนี้ภายใต้บริษัทโปรดักชัน Appian Way ของเขาร่วมกับ Jennifer Davisson เช่นกัน

 

การที่จะได้เห็นนักแสดงเจ้าบทบาทที่พิสูจน์ฝีมือมาตลอดหลายสิบปีอย่าง Leonardo DiCaprio มารับบทเป็นบุคคลที่มีชีวิตแสนจะซับซ้อนและน่าพิศวงอย่าง Jim Jones นับว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามเป็นอย่างมาก เพราะเรื่องราวของ Jim Jones ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงจุดจบของเขาที่กลายเป็นโศกนาฏกรรมก็ยังคงเป็นที่หยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันอยู่เรื่อยมา

 

Jim Jones หรือชื่อเต็มคือ James Warren Jones ในวัยเด็กมีคุณพ่อจอมเหยียดผิวที่เป็นสมาชิกกลุ่ม Ku Klux Klan ซึ่งทำให้เขาเติบโตมากับความคิดที่อยากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความเชื่อในศาสนาอันแรงกล้าของตัวเอง เขากลายเป็นนักเทศน์ที่น่าเลื่อมใสด้วยแนวคิดและการเทศน์ที่เน้นย้ำถึงความเท่าเทียมเรื่องสีผิว การต่อต้านสงคราม รวมไปถึงรณรงค์สิทธิเสรีภาพ และก่อตั้งลัทธิโบสถ์มวลชน (People Temple) ขึ้นมาในปี 1957 

 

แต่หลังจากนั้น Jim Jones ก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เขาหันหลังให้พระเจ้า ไม่เชื่อในนรกสวรรค์ อีกทั้งยังต่อต้านรัฐบาลอย่างสุดกู่ และตั้งตัวเองเป็น ‘บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์’ แทน ความเพี้ยนของเขาบานปลายไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเขาได้พาสาวกกว่าหนึ่งพันคนไปตั้งรกรากกันที่เมืองใหม่นาม Jonestown ในปี 1977 ที่ซึ่งเขาปกครองเหล่าสาวกในเมืองอย่างประหลาดด้วยระบบแบบคอมมิวนิสต์ และก่อนที่จะถูกเปิดโปงเบื้องหลังอันน่าสะพรึงกลัวของเมือง Jonestown เขาก็พาสาวกฆ่าตัวตายหมู่ในพิธีกรรม ‘White Night’ เพื่อสังเวยความเชื่อว่าวิญญาณของทุกคนจะได้เป็นหนึ่งเดียวในดาวดวงใหม่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 900 คน และกว่า 300 คนในนั้นเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี แน่นอนว่าเหตุการณ์นี้สร้างความเศร้าใจและสะเทือนขวัญคนทั้งโลกจนถึงปัจจุบันนี้

 

อ้างอิง:

The post Leonardo DiCaprio จะแสดงเป็น Jim Jones ผู้นำลัทธินอกรีตที่ก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายหมู่สุดสะเทือนขวัญในภาพยนตร์เรื่องใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Amazon ปิดดีลซื้อค่ายหนังยักษ์ใหญ่ MGM เคาะราคาที่ 8,450 ล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าสยายปีกรุกธุรกิจบันเทิง https://thestandard.co/amazon-closes-deal-to-buy-mgm-movie/ Thu, 27 May 2021 07:26:08 +0000 https://thestandard.co/?p=493368 Amazon MGM

Amazon บริษัทค้าปลีกออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เผยความสำ […]

The post Amazon ปิดดีลซื้อค่ายหนังยักษ์ใหญ่ MGM เคาะราคาที่ 8,450 ล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าสยายปีกรุกธุรกิจบันเทิง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Amazon MGM

Amazon บริษัทค้าปลีกออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เผยความสำเร็จในการเจรจาซื้อ MGM สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชั้นนำระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนต์ James Bond 007

 

โดยสถานีโทรทัศน์ CNN รายงานว่า Amazon จ่ายเงินเข้าซื้อธุรกิจผลิตภาพยนตร์และความบันเทิงดังกล่าวด้วยมูลค่า 8,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 264,231 ล้านบาท นอกจากจะซื้อสตูดิโอผลิตภาพยนตร์แล้ว Amazon ยังได้ซื้อรายการโทรทัศน์ของทางค่ายไปด้วย ซึ่งแผนการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นการเข้าซื้อกิจการที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 นับตั้งแต่ที่อีคอมเมิร์ซแห่งนี้ดำเนินธุรกิจมา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Amazon ได้ทุ่มเงินเกือบ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 438,000 ล้านบาท) เพื่อเข้าซื้อ Whole Foods กิจการซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของสหรัฐฯ ไปในปี 2017

 

รายงานระบุว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้สะท้อนให้เห็นความพยายามของ Amazon ที่ต้องการสยายปีกรุกคืบไปยังธุรกิจคอนเทนต์และสตรีมมิง เพื่อแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ของตลาดอย่าง Netflix, Disney+ และ AT&T กับ Discovery ที่เพิ่งจะประกาศควบรวมกิจการสื่อเข้าด้วยกันเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา

 

ความสำเร็จในครั้งนี้ส่งผลให้ Amazon สามารถเพิ่มรายการภาพยนตร์และรายการโชว์ทางโทรทัศน์ลงในแพลตฟอร์ม Prime Video ของทางบริษัท โดย MGM มีลิขสิทธิ์รายการภาพยนตร์ในการครอบครองดูแลมากกว่า 4,000 เรื่อง และรายการทีวีโชว์อีก 17,000 รายการ

 

ไมค์ ฮอปกินส์ หัวหน้า Prime Video และ Amazon Studios กล่าวว่า มูลค่าที่แท้จริงของการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ก็คือ ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์มากมายที่ทาง Amazon มีแผนจะร่วมมือทำงานกับ MGM เพื่อพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์คอนเทนต์คุณภาพต่อไป

 

ขณะที่ เจฟฟ์ เบโซส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Amazon กล่าวระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า เหตุผลของการเข้าซื้อกิจการ MGM ครั้งนี้มีเพียงเหตุผลเดียวง่ายๆ ก็คือ MGM มีแคตตาล็อก ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ซึ่งเป็นขวัญใจของคนทั่วโลกมหาศาล ยิ่งเมื่อบวกกับทีมงานคุณภาพของทั้ง MGM และ Amazon Studios ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะนำ IP เหล่านั้นมาพัฒนาให้เหมาะกับศตวรรษที่ 21 ต่อไป

 

ทั้งนี้ Amazon และ MGM เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังรอคำอนุมัติจากหน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการ ซึ่งหากได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ Amazon จะกลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม จากปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทที่ทรงอิทธิพลและมีมูลค่าสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอยู่แล้ว

 

แม้จะไม่มีการเปิดเผยจากทาง Amazon ว่ามีผู้ใช้บริการ Prime Video อยู่เท่าไร แต่อิงจากข้อมูลธุรกิจของ Amazon ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมีสมาชิกกว่า 200 ล้านราย ขณะที่ MGM ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของฮอลลีวูด ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1924 หรือประมาณ 97 ปีที่แล้ว และมีการขยายงานมาผลิตรายการโทรทัศน์ที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการเรียลิตี้โชว์อย่าง Shark Tank และ The Real Housewives of Beverly Hills

 

ข่าวการปิดดีลซื้อกิจการ MGM ของ Amazon ในครั้งนี้ ยังมีขึ้นในวันเดียวกันกับที่ทาง เจฟฟ์ เบโซส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) และผู้ก่อตั้ง Amazon ประกาศกำหนดวันอำลาตำแหน่งซีอีโอของตนเอง พร้อมส่งมอบหน้าที่บริหารให้แก่ แอนดี้ แจสซี ในวันที่ 5 กรกฎาคมนี้

 

สำนักข่าว AP รายงานว่า เบโซส์ในวัย 57 ปี จะไม่ได้หลีกหนีไปไกลจาก Amazon เพราะเจ้าตัวจะเข้าไปนั่งในตำแหน่งทีมบอร์ดบริหารของบริษัท และรับหน้าที่ดูแลด้านผลิตภัณฑ์ใหม่และโครงการริเริ่มต่างๆ รวมถึงทุ่มเทความสนใจไปกับบริษัทอื่นๆ ที่ได้ลงทุนไป เช่น บริษัทผลิตยานอวกาศ Blue Origin และหนังสือพิมพ์ The Washington Post ตลอดจนเดินหน้าทำงานในด้านการกุศล

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

The post Amazon ปิดดีลซื้อค่ายหนังยักษ์ใหญ่ MGM เคาะราคาที่ 8,450 ล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าสยายปีกรุกธุรกิจบันเทิง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เม็ดเงินหลายพันล้านหลังเวทีออสการ์และมนต์ขลังของตุ๊กตาทองคำ https://thestandard.co/oscars-2018-revenue/ https://thestandard.co/oscars-2018-revenue/#respond Tue, 27 Feb 2018 04:56:38 +0000 https://thestandard.co/?p=73424

‘And the Oscar goes to…’   ประโยคอันทรงพลังนี้มาพร […]

The post เม็ดเงินหลายพันล้านหลังเวทีออสการ์และมนต์ขลังของตุ๊กตาทองคำ appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘And the Oscar goes to…’

 

ประโยคอันทรงพลังนี้มาพร้อมกับวินาทีที่ทั่วโลกจับจ้องและรอฟัง ทุกปีจะมีทั้งคำชื่นชม เสียงวิพากษ์วิจารณ์ การตั้งข้อสังเกต และมุมมองที่แตกต่างของเวที Academy Awards หรือการประกาศรางวัลออสการ์ที่เรารู้จักกันอยู่เสมอ

 

ผู้คนนับล้านต่างใจจดใจจ่อกับการประกาศรางวัลที่ศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการภาพยนตร์ ไม่ว่าแต่ละปีเวทีออสการ์จะมีสีสัน ดราม่า ความตึงเครียดทางการเมืองหรือการเรียกร้องสิทธิใดๆ ก็ตาม นี่คือโอกาสทองทางธุรกิจของแบรนด์ต่างๆ ที่เต็มใจควักเงินมหาศาลจ่ายให้กับแอร์ไทม์ที่แพงที่สุดงานหนึ่งของโลก

 

เบื้องหลังเวทีตุ๊กตาทองก็คือเงินโฆษณาหลายพันล้านบาทที่สำนักข่าว THE STANDARD หยิบยกมาเล่าในวันนี้

 

เวทีสำคัญของการโฆษณาเพื่อแย่งชิงคนดูทั้งออฟไลน์และออนไลน์

เวทีออสการ์เขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการรับชมทางโทรทัศน์ด้วยยอดคนดูถึง 55 ล้านคนในปี 1998 ปีที่หนังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่าง ‘Titanic’ เข้าชิงรางวัล แต่เมื่อพิจารณายอดผู้ชมการถ่ายทอดสดงานออสการ์ในสหรัฐอเมริกาในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนผู้ชมที่ผันผวนอยู่ในช่วง 30-40 ล้านคน ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง

 

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ยอดผู้ชมในปี 2014 อยู่ที่ 43.7 ล้านคน ต่อมาในปี 2015 ยอดผู้ชมลดลงเป็น 36.6 ล้านคน หรือหายไปกว่า 16% จากนั้นก็ค่อยๆ ลดลงต่อเนื่อง และปีล่าสุด 2017 มีผู้ชมจำนวน 32.9 ล้านคน เป็นคอนเทนต์ที่มีผู้ชมติดอันดับ 8 ของปี ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย เพราะยุคที่เกิด Digital Disruption ปั่นป่วนไปทุกมิติแบบนี้ ทุกคนสามารถชมคอนเทนต์ที่ต้องการเมื่อไรก็ได้ไม่ต้องเกาะขอบจอทีวีหรือจอไหนๆ อีกต่อไป

 

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนผู้ชมที่ยังสูงระดับนี้ งานประกาศผลรางวัลออสการ์ก็ยังถือเป็นเวทีสำคัญที่บรรดาแบรนด์ต่างๆ อยากจะช่วงชิงพื้นที่เพื่อการโฆษณา เพราะครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 20-28% จะติดตามการประกาศรางวัลนี้ ล่าสุดทีมของ ABC ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดสดงานออสการ์ประกาศขายแอร์ไทม์โฆษณา 30 วินาทีหมดเกลี้ยงด้วยราคา 2.6-2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 82-88 ล้านบาทต่อชิ้น โดยเฉลี่ยในช่วง 3 ปีหลังมานี้จะมีโฆษณาในช่วงประกาศรางวัลแต่ละปี 80 ชิ้น นั่นคือปีนี้เวทีออสการ์จะมีรายได้จากการโฆษณาสูงกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 6.5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการปิดดีลที่เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย

 

ริตา เฟอร์โร (Rita Ferro) ประธานฝ่ายเซลของ ABC ซึ่งอยู่ภายใต้ Walt Disney เผยว่า โฆษณาในช่วงการประกาศรางวัลจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีที่กำลังเป็นกระแสในตอนนี้ชนิดที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ขณะนี้มีแบรนด์ใหญ่ที่ซื้อโฆษณาสูงสุดคือ AT&T, Cadillac, Google, Rolex, Samsung และ Walmart

 

ขณะที่แบรนด์ผู้สนับสนุนอื่นได้แก่ AARP, Bubly, Discover Card, Disney Parks, Ferrero, General Electric, Johnson & Johnson, McDonald’s, MGM, Microsoft, Nest, Netflix, Nike, T-Mobile, Twitter, Verizon และเครือ Walt Disney

 

 

Kantar Media ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลการตลาดระดับโลกคาดการณ์ว่า งานออสการ์แต่ละปีไม่เพียงดึงดูดผู้ชมที่ดูการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์จำนวนมากเท่านั้น หากแต่ยังสร้างความเคลื่อนไหวที่ดีเยี่ยมในโลกออนไลน์ด้วย ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไม่น้อยกว่า 25 ล้านบัญชีจะกดไลก์ คอมเมนต์ และโพสต์ถึงงานออสการ์รวมสูงกว่า 70 ล้านโพสต์ ขณะที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ไม่น้อยกว่า 24 ล้านบัญชีจะทวีตถึงงานประกาศรางวัลใหญ่นี้เช่นเดียวกัน จึงไม่แปลกที่ราคาขายโฆษณาของงานออสการ์จึงราคาสูงสุดระดับโลก เป็นรองเพียงศึกอเมริกันฟุตบอลซูเปอร์โบว์ลเท่านั้น นอกจากสื่อสารการตลาดไปยังผู้ชมทุกแพลตฟอร์ม ทั้งโทรทัศน์และช่องทางออนไลน์ กลยุทธ์ Real Time Ads ยังเป็นหัวใจสำคัญในการสื่อสารการตลาดผ่านมนต์ขลังของงานนี้

 

และไม่เพียงแต่แบรนด์สินค้าจะได้ผลประโยชน์จากงานออสการ์เท่านั้น แน่นอน บรรดาผู้ชนะรางวัลและผู้เข้าชิงรางวัลก็ได้โอกาสทางธุรกิจในการสร้างรายได้จากเวทีนี้ด้วย

 

ไม่ใช่แค่กล่อง ต้องได้เงินด้วย

จากข้อมูลของ IBISWorld ผู้ให้บริการข้อมูลธุรกิจระดับโลก ได้ศึกษาค่าเฉลี่ยรายได้ของหนังที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงรางวัล โดยพบว่า รายได้ของหนังที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตั้งแต่ถูกเสนอชื่อจนถึงได้รับรางวัล มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกกว่า 57% ไม่เพียงแต่ผู้ชนะเท่านั้น หนังที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แม้จะไม่ได้รางวัลแต่ก็ได้อานิสงส์จากเวทีออสการ์ไปด้วย โดยพบว่ารายได้ของหนังที่ตั้งแต่ถูกเสนอชื่อจนถึงประกาศรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกกว่า 40% หากหนังเรื่องใดถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ยอดขายตั๋วชมภาพยนตร์จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และช่วยกระตุ้นยอดขาย DVD หรือค่าบริการสตรีมมิง แม้หนังเรื่องนั้นๆ จะออกจากโรงภาพยนตร์ไปแล้วก็ตาม

 

 

แม้หนังที่ได้รับรางวัลจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากงานออสการ์ แต่เราก็ทราบกันดีว่าบ่อยครั้งที่หนังทำเงินกับหนังยอดเยี่ยมเป็นคนละเรื่องกัน ในช่วงเกือบ 20 ปีมานี้ สุดยอดหนังทำเงินที่ได้รางวัล Best Picture หนีไม่พ้น The Lord of the Rings: Return of the King ตอนจบของอภิมหาภาพยนตร์ไตรภาคจากบทประพันธ์ของ  J. R. R. Tolkien ที่ทำรายได้รวมกว่า 377 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากนั้นก็ไม่มีภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่วัดรอยเท้าของ The Lord of the Rings ได้อีก มีเพียงแค่หนังรายได้เกิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาแบบปีเว้นปีได้แก่ The Departed (2007), Slumdog Millionaire (2009), The King’s Speech (2011) และ Argo (2013) ขณะที่ Moonlight (2017) ทำรายได้เพียง 27.85 ล้านเหรียญเท่านั้น  

 

ไม่เพียงแต่รายได้จากตัวภาพยนตร์เท่านั้น สิ่งที่นักการตลาดใช้จังหวะสำคัญเป็นกลยุทธ์ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจนี้ ยังมีทั้งรายได้จากเพลงประกอบภาพยนตร์ สินค้าที่ระลึก หรือการสร้างการรับรู้ (Awareness) ของแบรนด์ระดับไฮเอนด์ที่ใช้นักแสดงระดับโลกเป็นตัวแทนช่วงเดินพรมแดง ที่นับวันจะขยายระยะเวลาให้นานยิ่งขึ้น

 

เวที Academy Awards จึงไม่สำคัญเพียงแค่คนทำหนังเท่านั้น หากแต่สำคัญกับมนุษยชาติ เพราะเป็นการมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติแก่ที่สุดของงานศิลปะแขนงหนึ่ง ศิลปะที่หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ยังทำไม่ได้ และอารมณ์ของคนไม่ว่าจะดีใจ เศร้าโศก เสียดสี ดราม่า คลุ้มคลั่ง หรือปลื้มปีติจากการดูหนัง ล้วนมีมูลค่าทางธุรกิจที่ทุกองค์กรต่างต้องการเชื่อมโยงกับแบรนด์ของตนให้ได้ ออสการ์จึงไม่ได้ขายแค่งานประกาศรางวัล แต่ออสการ์คือออสการ์ หนึ่งในแบรนด์ที่ทรงพลังที่สุด

 

นี่คือคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมคนดูน้อยลง แต่ทำรายได้มากขึ้น

 

อ้างอิง:

The post เม็ดเงินหลายพันล้านหลังเวทีออสการ์และมนต์ขลังของตุ๊กตาทองคำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/oscars-2018-revenue/feed/ 0