MBK – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 29 Aug 2024 02:39:20 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 DSI บุกค้นร้านค้า-โกดังในห้าง MBK พบสินค้าละเมิดแบรนด์ดังกว่า 20,000 ชิ้น เสียหายรวม 20 ล้านบาท https://thestandard.co/dsi-raid-mbk-mall-counterfeit-goods/ Thu, 29 Aug 2024 02:39:20 +0000 https://thestandard.co/?p=976779 MBK สินค้าละเมิดแบรนด์

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา พ.ต.ท. พเยาว์ ทองเสน รอ […]

The post DSI บุกค้นร้านค้า-โกดังในห้าง MBK พบสินค้าละเมิดแบรนด์ดังกว่า 20,000 ชิ้น เสียหายรวม 20 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
MBK สินค้าละเมิดแบรนด์

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา พ.ต.ท. พเยาว์ ทองเสน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สั่งการให้ ร.ต.อ. พลสัณห์ เทิดสงวน ผู้อำนวยการกองคดีทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ร่วมกันนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำนวน 11 หมายค้น เข้าตรวจค้นสถานที่เป้าหมายต้องสงสัยที่ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

 

หลังจากสืบทราบว่าร้านค้าบางแห่งลักลอบจำหน่ายและเก็บสินค้าประเภทกระเป๋า แว่นตา น้ำหอม นาฬิกา หมวก และสินค้าอื่นๆ ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าของบริษัทชั้นนำจำนวนมาก โดยมีตัวแทนของผู้เสียหายเข้าร่วมสังเกตการณ์และตรวจสอบสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า

 

กรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษที่ 91/2567 ของกองคดีทรัพย์สินทางปัญญา ผลการตรวจค้นร้านค้าและโกดังเก็บสินค้าทั้ง 11 แห่ง พบสินค้าประเภทกระเป๋า แว่นตา นาฬิกา หมวก และสินค้าอื่นๆ ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าของบริษัทชั้นนำต่างๆ เช่น Louis Vuitton, CHANEL, Gucci, Dior และเครื่องหมายการค้าอื่นๆ เบื้องต้นกว่า 20,000 ชิ้น คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 20 ล้านบาท

 

อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษจึงได้ยึดสินค้าดังกล่าว เพื่อมาตรวจสอบและเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินการสอบสวนเป็นคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป

 

การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ให้กองคดีทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการป้องกันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีสถานะการจัดอันดับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่ดีขึ้น โดยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญานอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ยังเป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย หากพบเห็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ โทร. 1202

 

MBK สินค้าละเมิดแบรนด์ MBK สินค้าละเมิดแบรนด์

The post DSI บุกค้นร้านค้า-โกดังในห้าง MBK พบสินค้าละเมิดแบรนด์ดังกว่า 20,000 ชิ้น เสียหายรวม 20 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘MBK’ ภายใต้การนำทัพของซีอีโอคนใหม่ สานต่อธุรกิจหาโอกาสสร้างการเติบโต เผยปี 2566 ทุ่มงบ 2,000 ล้าน ขยายธุรกิจในเครือ https://thestandard.co/mbk-new-ceo-2566/ Tue, 24 Jan 2023 13:18:36 +0000 https://thestandard.co/?p=741417

‘MBK’ ภายใต้การนำทัพของซีอีโอคนใหม่ สานต่อธุรกิจหาโอกาส […]

The post ‘MBK’ ภายใต้การนำทัพของซีอีโอคนใหม่ สานต่อธุรกิจหาโอกาสสร้างการเติบโต เผยปี 2566 ทุ่มงบ 2,000 ล้าน ขยายธุรกิจในเครือ appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘MBK’ ภายใต้การนำทัพของซีอีโอคนใหม่ สานต่อธุรกิจหาโอกาสสร้างการเติบโต เผยปี 2566 ทุ่มงบ 2,000 ล้าน ขยายธุรกิจในเครือ ย้ำยังต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง-รักษาสภาพคล่อง พร้อมดันบริษัทในเครือเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

สุเวทย์ ธีรวชิรกุล กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร บมจ.เอ็ม บี เค หรือ MBK กล่าวว่า องค์กรได้รับบทเรียนจากวิกฤตโควิดอย่างมาก โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจที่อยู่บนความไม่แน่นอน และไม่สามารถคาดการณ์เป้าหมายระยะยาวได้

 

และแม้โควิดคลี่คลายลง แต่ต้องปรับตัวและดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง ที่สำคัญต้องรักษาสภาพคล่องทางการเงินเพื่อให้บริษัทเดินหน้าไปต่อได้

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

หากย้อนไปในช่วง 2-3 ปีที่โควิดระบาดหนัก ศูนย์การค้า MBK ได้ปรับกลยุทธ์หันมาเน้นจับกลุ่มลูกค้าคนไทย จากเดิมที่มีลูกค้าต่างชาติเป็นหลัก โดยได้ปรับโฉมศูนย์ เติมร้านอาหารและกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์กลุ่มคนไทย พร้อมหามาตรการช่วยเหลือผู้เช่า กระทั่งปัจจุบันเมื่อทุกอย่างดีขึ้น ลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติเริ่มกลับมา มีทราฟฟิกอยู่ราวๆ 8 หมื่นคนต่อวัน โดยสัดส่วนคนไทยมากกว่า 15% 

 

ขณะที่ธุรกิจโรงแรมใช้โอกาสรีโนเวตโรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ทั้ง 3 เฟส เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เริ่มเข้ามาตั้งแต่กลางปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียกับตะวันออกกลาง มีอัตราเข้าพักประมาณ 90%

 

MBK ภายใต้การนำทัพของซีอีโอคนใหม่

สุเวทย์เล่าต่อไปว่า ตัวเองดำรงตำแหน่งซีอีโอของ MBK มากว่า 20 ปี ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กร สิ่งสำคัญที่สุดคือการบริหารคน เพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจค่อยๆ เติบโตขึ้น จากจุดเริ่มต้นที่มีทรัพย์สินมูลค่า 2,000 ล้านบาท ขึ้นมาถึง 5.6 หมื่นล้านบาท

 

ต่อจากนี้มีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ภายใต้การนำทัพของ ‘วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช’ ที่บริษัทได้ประกาศแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ 1 กลุ่มบริษัทเอ็ม บี เค 

 

โดยซีอีโอคนใหม่จะเข้ามาสานต่อยุทธศาสตร์ของ MBK ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการสานต่อวิสัยทัศน์ของกลุ่มธุรกิจในเครือ ผ่านการมองหาโอกาสใหม่ๆ ท่ามกลางการแข่งขันและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง

 

ปรับโครงสร้างธุรกิจ นำบริษัทลูกเข้าตลาดหลักทรัพย์ 

รวมถึงการวางแผนปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยจัดตั้งบริษัทย่อยตามกลุ่มธุรกิจและให้ MBK เป็นโฮลดิ้งคอมพานี โดยปัจจุบันบริษัทมี 8 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ศูนย์การค้า โรงแรมและการท่องเที่ยว กอล์ฟ อสังหาริมทรัพย์ อาหาร การเงิน การประมูล และศูนย์สนับสนุนองค์กร

 

และในอนาคตอาจนำบริษัทในเครือเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

 

ทุ่ม 2,000 ล้าน ขยายธุรกิจในเครือ

ด้าน วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ กล่าวต่อถึงกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานในปี 2566 โดยปัจจุบันบริษัทมีเงินลงทุนที่ได้มาจากกระแสเงินสดหมุนเวียนอยู่ 4,000 ล้านบาท

 

ในปี 2566 ได้วางงบประมาณไว้ที่ 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนขยายธุรกิจในเครือ เริ่มจากกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า ได้วางแผนปรับโฉมพาราไดซ์ พาร์ค ครั้งใหญ่ในรอบ 13 ปี หลังจากต่อสัญญาเช่าที่ดินยาวไปถึง 20 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 โดยได้เพิ่มการให้บริการด้านสุขภาพเข้ามารองรับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะสูงวัย ส่วนศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ได้ปรับพื้นที่และเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ และปีนี้ยังคงเดินหน้าเปิดตัวพันธมิตรรายใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติม

 

พร้อมกับลงทุนซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายประมาณ 500 ล้านบาท ส่วนธุรกิจโรงแรม บริษัทมองหาโอกาสการขยายธุรกิจ ทั้งรูปแบบของ Business Partner และการรับบริหารโรงแรม เช่น โรงแรมทินิดี โฮเต็ล บางกอก กอล์ฟ คลับ และโรงแรมทินิดี กอล์ฟ รีสอร์ท ภูเก็ต โดยได้หันมาให้ความสำคัญกับการจับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักระยะยาวมากขึ้น

 

แต่ธุรกิจโรงแรมยังต้องเจอปัญหาขาดแคลนพนักงาน ทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ต จากเดิมปกติแล้วโรงแรมจะใช้พนักงานประมาณ 300 คน แต่ปทุมวัน ปริ๊นเซส ขณะนี้มี 200 คน จึงต้องหันมาใช้เอาต์ซอร์ซ และเปลี่ยนมาจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น

 

สานต่อ Big Project กวาดลูกค้ารอบทิศ

เช่นเดียวกับ Big Project บนพื้นที่ 1,500 ไร่ในโครงการ Riverdale District ในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมธุรกิจในเครือไว้ในที่เดียว ซึ่งภายในประกอบด้วย โครงการที่พักอาศัย รวมถึงสนามกอล์ฟและโรงแรม ล่าสุดที่เพิ่งลงทุนไปในปีที่ผ่านมา ริเวอร์เดล มารีน่า ท่าเรือระดับ A-Class โดยมีเป้าหมายเจาะกลุ่มที่มีกำลังซื้อ

 

ตามด้วยธุรกิจข้าวถุงแบรนด์มาบุญครอง ได้วางแผนขยายตลาดส่งออกในประเทศใหม่ๆ เช่น ซาอุดีอาระเบีย ออสเตรเลีย และยุโรป

 

ในส่วนของธุรกิจผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ อย่าง ที ลีสซิ่ง ได้เร่งขยายตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โฟกัสจังหวัดที่มีขนาดใหญ่และกำลังซื้อสูง พร้อมนำดาต้าเข้ามาพิจารณาการให้สินเชื่อมากขึ้น และภายในปี 2566 เตรียมขยายธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเข้ามาเพิ่มพอร์ตธุรกิจ

 

การลงทุนใหม่จะค่อยเป็นค่อยไป

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 กลับมาใกล้เคียงกับปี 2562 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 11,431 ล้านบาท จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว

 

ทั้งนี้แม้จะเริ่มเห็นสัญญาณบวกของธุรกิจที่กลับมาฟื้นตัว แต่หลังจากนี้การขยายการลงทุนใหม่ๆ จะต้องเป็นไปอย่างช้าๆ เพราะธุรกิจยังอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอน

The post ‘MBK’ ภายใต้การนำทัพของซีอีโอคนใหม่ สานต่อธุรกิจหาโอกาสสร้างการเติบโต เผยปี 2566 ทุ่มงบ 2,000 ล้าน ขยายธุรกิจในเครือ appeared first on THE STANDARD.

]]>
MBK มีนโยบายตรึงส่วนลดค่าเช่า 30-70% ช่วยร้านค้า ส่วนร้านแฟชั่นไม่เก็บเลย ด้านเดอะมอลล์ชี้การ ‘ล็อกดาวน์’ จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น https://thestandard.co/mbk-discount-rent-fee-30-70-percents-the-mall-group-see-positive-on-lockdown/ Fri, 09 Jul 2021 13:20:40 +0000 https://thestandard.co/?p=510743 MBK

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิดระลอก 3 ในประเทศไทยเลวร้ายล […]

The post MBK มีนโยบายตรึงส่วนลดค่าเช่า 30-70% ช่วยร้านค้า ส่วนร้านแฟชั่นไม่เก็บเลย ด้านเดอะมอลล์ชี้การ ‘ล็อกดาวน์’ จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
MBK

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิดระลอก 3 ในประเทศไทยเลวร้ายลงด้วยจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในแต่ละวันที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ในวันนี้ (9 กรกฎาคม) ศูนย์บริหารสถานการณ์การโควิด-19 (ศบค.) ได้มีมติพิจารณายกระดับมาตรการการแพร่ระบาดโควิดตั้งแต่ 12 กรกฎาคมเป็นต้นไป

 

หนึ่งในมาตรการการสำคัญที่ถูกประกาศใช้ใน 6 จังหวัด กรุงเทพฯ​ และปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร คือ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันทางการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านอุปกรณ์สื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. แน่นอนเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

 

สมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์, พาราไดซ์ พาร์ค, เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9, เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ โดยยังคงเปิดให้บริการตามปกติ แต่มีการปรับเวลาปิดให้บริการและเปิดให้บริการเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ได้รับอนุญาต โดยจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. 

 

“ในส่วนของร้านค้าที่ต้องปิดให้บริการ ได้แก่ กลุ่มร้านค้าแฟชั่น มีนโยบายไม่เก็บค่าเช่า ทั้งนี้ตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของโควิดจนถึงปัจจุบัน ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค มีนโยบายตรึงมาตรการลดภาระค่าเช่าให้ร้านค้าเฉลี่ย 30-70% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าที่ได้รับผลกระทบ”

 

ขณะเดียวกัน สมพล กล่าวว่า บริษัทมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและได้วางแผนให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมีความยืดหยุ่น สามารถปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพตลาดและสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ 

 

บรรยาย: สมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)

ภาพ: วรรษมน ไตรยศักดา / THE STANDARD 

 

นอกจากนี้ในส่วนของศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ยังเดินหน้าการปรับปรุงพื้นที่วางผังร้านค้าใหม่ (Store Layout) เพิ่มเติมร้านค้าและบริการใหม่ๆ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีมามีร้านค้าใหม่ๆ ทยอยเปิดให้บริการอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงครึ่งปีหลังนี้ 

 

ส่วนเรื่องของมาตรการที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ ได้เสนอผ่านสภาหอการค้าและสมาคมศูนย์การค้าไทย ให้ทางสมาคมเป็นตัวแทนในการยื่นข้อเรียกร้องต่อทางรัฐบาล

 

“เราปรับกลยุทธล่วงหน้า ตั้งแต่ก่อนจะมีการระบาดรอบใหม่ และมีความร่วมมือกับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นจุดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด ทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1,000 กว่าคน ช่วยเพิ่มทราฟฟิก ในส่วนมาตรการล่าสุดของ ศบค. ศูนย์การค้ายังเปิดให้บริการตามปกติ ยกเว้นสินค้าแฟชั่นที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีมาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ต้องปิดร้านตามนโยบาย ศบค. โดยไม่เก็บค่าเช่า” สมพลกล่าว

 

ด้าน วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า เดอะมอลล์ กรุ๊ป พร้อมให้ความร่วมมือและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะสนับสนุนทุกมาตรการที่จะช่วยให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น

 

“การล็อกดาวน์ 14 วัน เป็นเหมือนการตั้งหลักใหม่ ลดการเคลื่อนไหวของคนให้มากที่สุด คาดว่าจะทำให้สถานการณ์น่าจะดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อย”

 

ในส่วนของการรับมือนั้น วรลักษณ์ระบุว่า ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อตอบรับมาตรการล็อกดาวน์ ด้วยการเสริมช่องทางการขายเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าในช่วงล็อกดาวน์ 14 วันนี้ ผ่านช่องทาง Omni-Channel ของห้างเอง

 

ขณะที่ CPN หรือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 15 สาขา จะเปิดให้บริการตามปกติ ทุกวัน เวลา 11.00-20.00 น. โดยให้ความร่วมมือเปิดเฉพาะบริการที่จำเป็นตามประกาศภาครัฐ 

 

นอกจากนี้ทางศูนย์การค้าเซ็นทรัลได้เตรียมช่องทางการสั่งซื้ออาหาร รวมทั้งสินค้า-บริการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเป็นทางเลือก โดยมีบริการใหม่ล่าสุด คือ Food Concierge Service สั่งอาหารกลับบ้านที่จุดเดียว ซึ่งสามารถสั่งได้ครบทุกร้านที่เซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัล บางนา

The post MBK มีนโยบายตรึงส่วนลดค่าเช่า 30-70% ช่วยร้านค้า ส่วนร้านแฟชั่นไม่เก็บเลย ด้านเดอะมอลล์ชี้การ ‘ล็อกดาวน์’ จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดเบื้องหลังการ ‘ปิดฉาก 35 ปี’ ของห้างโตคิว MBK และการเข้ามาของ ‘ดองกิ’ สาขาใหญ่สุดในไทย เป็นแห่งแรกที่ติด BTS https://thestandard.co/tokyu-department-store-story-behind-35-years-closing/ Mon, 01 Feb 2021 11:16:36 +0000 https://thestandard.co/?p=449601

ปิดฉากไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ ‘ห้างสรรพสินค้าโตคิว’ สาขาศ […]

The post เปิดเบื้องหลังการ ‘ปิดฉาก 35 ปี’ ของห้างโตคิว MBK และการเข้ามาของ ‘ดองกิ’ สาขาใหญ่สุดในไทย เป็นแห่งแรกที่ติด BTS appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปิดฉากไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ ‘ห้างสรรพสินค้าโตคิว’ สาขาศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ หลังเปิดดำเนินการผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤตการเงินในเอเชีย และความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ามา 35 ปีด้วยกัน 

 

การปิดตำนานในครั้งนี้ถูกมองว่าเกิดจากเงินบาทที่แข็งค่า ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ตลอดจนการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ จากการพัฒนาศูนย์การค้าต่างๆ ได้เข้ามากดดันธุรกิจของโตคิว กระทั่งเกิดวิกฤติโควิด-19 ทำให้ห้างที่อยู่มาตั้งแต่เอ็ม บี เค เปิดดำเนินการเป็นวันแรกไม่สามารถเดินไปต่อได้

 

แต่แท้จริงแล้วนั้นไม่ใช่ ‘สาเหตุ’ เดียวที่ทำให้ ‘ห้างโตคิว’ ตัดสินใจปิดตำนานของตัวเอง ทั้งๆ ที่เพิ่งต่อสัญญาการเช่าไปหมาดๆ 

 

โควิด-19 ไม่ใช่สาเหตุเดียว

 

จริงอยู่ที่ผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้จำนวนลูกค้าที่มาเดินเอ็ม บี เค ลดลงมากกว่าครึ่ง จากเฉลี่ย 80,000 คนต่อวัน เหลือเพียง 20,000-30,000 คนต่อวัน ซึ่งทั้งหมดเป็น ‘คนไทย’ ส่วนที่หายไป 100% คือ ‘นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ’ ที่ถือเป็นฐานลูกค้าหลักกว่าวันละ 50,000 คนด้วยกัน 

 

วิกฤตโควิด-19 กระทบก็จริง ทว่าเมื่อรวมกับเหตุผลอื่นๆ แล้วน้ำหนักกลับมีมากกว่า หนึ่งในนั้นคือการต้องใส่ ‘เม็ดเงินลงทุน’ เข้าไปอีก 

 

การต่อสัญญาที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2563 ต่อไปอีก 9 ปี (สัญญาเบื้องต้น 3 ปี แต่ต่อได้อีก 2 รอบ) จะเริ่มนับอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2564 หนึ่งในสัญญาที่พูดคุยกันไว้ทั้ง 2 ฝ่ายคือ การที่ห้างโตคิวต้องใส่เงินเพิ่มอีก 120 ล้านบาท เพื่อรีโนเวตให้สมกับเป็น ‘ห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น’

 

เพราะการมีอยู่ของห้างโตคิว ทางเอ็ม บี เค ก็หมายมั่นว่าจะกลายเป็นอีกหนึ่ง ‘แม่เหล็ก’ ในการดึงดูดลูกค้าให้เดินเข้ามา ทว่าแท้จริงแล้ว ความเป็นญี่ปุ่นอย่างแท้จริงมีแค่ชั้น 4 ที่เป็นโซนซูเปอร์มาร์เก็ตเท่านั้น (โซนนี้มีร้านอาหารญี่ปุ่นตั้งอยู่ด้วย) ในขณะพื้นที่อีก 3 ชั้น ได้จัดสรรให้กับร้านค้าอื่นๆ เข้ามาเช่าแทน และสินค้าก็ไม่ได้แตกต่างจากศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่อยู่รายรอบเท่าไรนัก

 

 

โดยส่วนหนึ่งที่ทำให้เสน่ห์ของห้างโตคิวหายไปคือ หนึ่งในสินค้าขึ้นชื่อของญี่ปุ่นอย่าง ‘ยาและอาหารเสริม’ ที่หากใครได้บินลัดไปเยือนด้วยตัวเองก็มักจะขนกลับมาด้วยทุกครั้ง แต่ในแง่ของการนำเข้าต้องใช้เวลาและขั้นตอนจำนวนมาก ทำให้ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่นำเข้ามา แม่เหล็กส่วนนี้จึงหายไป 

 

ดังนั้นหากมีการรีโรเวตใหม่ (ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการรีโนเวตเอ็ม บี เค ทั้งศูนย์) ก็จะทำให้ภาพของความเป็น ‘ห้างญี่ปุ่น’ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เมื่อมองไปยังสถานการณ์การแข่งขั้น ผลประกอบการที่แม้จะมีรายได้ ‘หลักพันล้าน’ ก็จริง แต่เป็นตัวเลขที่ลดลงทุกปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 

 

ยิ่งกำไรไม่ต้องพูดถึง จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ของ ‘บริษัท กรุงเทพ-โตคิว สรรพสินค้า จำกัด’ พบว่า ขาดทุนทุกปีตั้งแต่ตัวเลขเกือบ 100 ล้าน ไปจนถึงเกือบ 300 ล้านบาท รวมๆ แล้วตัวเลขขาดทุนสะสม 5 ปี กว่า 670 ล้านบาทแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ ‘โตคิว กรุ๊ป’ จะตัดสินใจถอนตัวจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เพราะเมื่อมองเข้าไปลึกๆ แล้ว ‘ธุรกิจห้างสรรพสินค้า’ ก็ไม่ได้เป็นธุรกิจหลักอีกแล้วของ ‘โตคิว กรุ๊ป’ ที่บ้านเกิดเองก็เหลือเพียง 4-5 สาขาเท่านั้น 

 

ขณะเดียวกัน การปิดฉาก 35 ปีของห้างโตคิวจึงถือเป็นเส้นทางที่เรียกว่า ‘Win-Win’ ของทั้ง 2 ฝ่ายเลยก็ว่าได้ เพราะห้างโตคิวเองก็ไม่ต้องแบกตัวเลขขาดทุนและการลงทุนใหม่หลัก 100 ล้านบาท  

 

ฝั่งเอ็ม บี เค เองก็ได้พื้นที่กลับมาพัฒนาใหม่ให้ตรงตามคอนเซปต์ที่ตัวเองต้องการ ด้วยพื้นที่ของห้างโตคิวไม่ใช่น้อยๆ รวม 4 ชั้นกว่า 12,000 ตารางเมตร ถือเป็นผู้เช่าพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากโรงภาพยนตร์ SF ซึ่งการปิดตัวของห้างโตคิวในครั้งนี้ ทางฝั่งเอ็ม บี เค ก็ใจดีให้ออกก่อนเวลาหมดสัญญา 3 เดือน ในขณะที่การยกเลิกสัญญาเช่าใหม่ก็เสียค่าธรรมเนียมไม่มากนัก

 

 

การมาของ ‘ดองกิ’

 

สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปคือ ‘ใคร’ จะเข้ามาเช่าพื้นที่นี้ต่อจากห้างโตคิว โดยทันทีที่มีข่าวว่าจะมีการปิดตัว ‘Don Don Donki’ หรือที่คนไทยคุ้นเคยอยู่แล้วในชื่อ ‘ดองกิ’ ได้เป็นรายแรกที่ติดต่อเข้ามาโดยสนใจที่จะเช่าพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ทางดองกิสนใจที่จะมาเช่าพื้นที่ของเอ็ม บี เค ตั้งแต่สาขาแรกแล้ว แต่ด้วยความไม่ลงตัว หลายๆ อย่างจึงยังไม่เกิดขึ้น

 

เดิม ‘ดองกิ’ จะขอเช่าพื้นที่เพียงครึ่งเดียวของชั้น 2 ซึ่งเป็นชั้นที่เชื่อมต่อกับสถานีบีทีเอส หรือราว 1,500 ตารางเมตร แต่หลังจากคุยกันไปมา ในที่สุดจึงตกลงที่จะเช่า ‘ทั้งชั้น’ ขนาด 3,000 ตารางเมตร โดยมีสัญญาเช่าทั้งหมด 9 ปีด้วยกัน

 

เบื้องต้นสาขานี้ถูกระบุว่าจะเป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดของไทยและเป็นแฟลกชิปสโตร์ อีกทั้งยังเป็นสาขาแรกที่อยู่ติดรถไฟฟ้าบีทีเอสอย่างแท้จริง โดยนอกเหนือจากซูเปอร์ที่จะเต็มไปด้วยสินค้า ‘Made in Japan’ ภายในจะมีร้านอาหารญี่ปุ่นอีกหลายๆ ร้านที่จะเข้ามาเปิด และสาขานี้จะยังเปิด 24 ชั่วโมง โดยทางเอ็ม บี เค เองก็จะได้ปรับปรุงลานจอดรถด้านข้างเพื่อรองรับในเรื่องนี้ด้วย 

 

แน่นอนว่าการเข้ามาของดองกิจะช่วยเติมเต็มความเป็น ‘ญี่ปุ่น’ และสร้างแม่เหล็กดึงดูดที่จะช่วยเพิ่มคนไทยให้เดินเข้าเอ็ม บี เค เป็นอย่างดี โดยมีการประเมินว่า หากเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงปลายไตรมาส 3/64 จะมีทราฟฟิกกว่าวันละ 20,000 คนด้วยกัน

 

โยซูเกะ ชิมานุกิ ประธานกรรมการ บริษัท ดองกิ (ประเทศไทย) จำกัด เคยให้ข่าวไว้เมื่อตอนต้นเดือนตุลาคม 2564 ว่า ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกและมองหาสถานที่ที่ตอบโจทย์กับการเปิดสาขาใหม่ เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ และระยอง รวมถึงในส่วนของพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร 

 

“หากมีห้างสรรพสินค้าใดที่ตอบโจทย์ในการขยายสาขา ทางเราก็จะพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป ซึ่งปัจจุบันคาดว่าจะขยายสาขาใหม่ 2 สาขาภายในปีหน้า (2564) ”

 

โดยได้มีการวางเป้าหมายในอีก 5 ปี หรือปี 2568 จะขยายสาขาไว้ที่จำนวน 20 สาขา โดยคาดการณ์ว่าจะเป็นการขยายสาขาในนามของ Don Don Donki จำนวน 15 สาขา และเปิดธุรกิจรูปแบบใหม่อีกจำนวน 5 สาขา ซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยว่าธุรกิจใหม่นี้จะเป็นแบบใด 

 

พื้นที่อื่นก็มีคนจองแล้ว

 

สมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)

 

นอกเหนือจากการเข้ามาของ ‘ดองกิ’ แล้ว สมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ระบุว่า พื้นที่อื่นๆ ของห้างโตคิวก็มีการจับจองไปหมดแล้ว โดยที่ชั้น 1 ทางเครือสหพัฒน์ขอเหมาทั้งชั้น 3,000 ตารางเมตร โดยจะมี ‘ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล’ เป็นแกนนำมาเปิด ซึ่งจะมีทั้งแบรนด์แฟชั่นและร้านร้านซูรูฮะ

 

ชั้น 2 เป็น Don Don Donki ส่วนชั้น 3 มีรายใหญ่ 2 รายที่ขอพื้นที่ แต่ยังไม่ได้ตกลงว่าจะเป็นอะไร โดยเบื้องต้นถูกระบุว่าจะเป็นร้านที่ทำแบบ O2O ขายสินค้าครบครัน ส่วนชั้น 4 ก็จะเป็นโซนไอที 

 

นอกจากการรีโนเวตพื้นที่ห้างโตคิวเก่าแล้ว ภายในศูนย์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 36 ปี โดยจะจัดร้านให้เป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น ชั้น 1 กำลังเจรจาให้ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตขยายพื้นที่ จะมีโซนร้านอาหารที่จะเติมร้านใหม่ๆ และมีร้านที่เปิด 24 ชั่วโมงด้วย โดยจับกลุ่มนักเรียนนักศึกษาโดยเฉพาะ

 

สำหรับชั้น 2 จับกลุ่มวัยทำงาน จึงจะมีร้านสำหรับแฮงก์เอาต์ มีร้านสไตล์ญี่ปุ่นด้วย ชั้น 3 จะเน้นจับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยจะเป็นร้านของฝาก ร้านทอง ร้านเพชร ชั้นไอทีจะปรับใหม่ทั้งหมด โดยร้านตู้จะลดลง 50% และไปรวมกันเป็นร้านใหญ่แทน ด้วยส่วนใหญ่เจ้าของ 1 รายจะมีร้านหลายตู้อยู่แล้ว การลดจำนานลงจะทำให้พื้นที่ดูโล่ง น่าเดินมากขึ้น 

 

“การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เรียกว่า ไม้ผลัดใบอย่างแท้จริง แต่เป็นการผลัดใบที่ทำให้ดีขึ้น สวยงามขึ้น”

 

คาดว่าการปรับปรุงทั้งหมด 80% จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ส่วนไตรมาส 4 จะเสร็จ 100% คาดว่าอาจต้องใช้เงินหลัก ‘พันล้านบาท’ ซึ่งการปรับปรุงใหญ่ครั้งนี้จะอยู่ยาวไปอีก 13 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สัญญาพื้นที่เช่าจะหมด 

 

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post เปิดเบื้องหลังการ ‘ปิดฉาก 35 ปี’ ของห้างโตคิว MBK และการเข้ามาของ ‘ดองกิ’ สาขาใหญ่สุดในไทย เป็นแห่งแรกที่ติด BTS appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลับบ้านอีกราย! ‘ห้างโตคิว’ สาขา MBK เตรียมปิดตัวถาวรในเดือนมกราคม 2021 หลังสู้วิกฤตโควิด-19 ไม่ไหว https://thestandard.co/tokyu-mbk-closed-permanently/ Wed, 28 Oct 2020 06:11:07 +0000 https://thestandard.co/?p=413402 ห้างโตคิว’ สาขา MBK เตรียมปิดตัวถาวร

คล้อยหลังจากที่ ‘ห้างสรรพสินค้าอิเซตันประเทศไทย’ เพิ่งป […]

The post กลับบ้านอีกราย! ‘ห้างโตคิว’ สาขา MBK เตรียมปิดตัวถาวรในเดือนมกราคม 2021 หลังสู้วิกฤตโควิด-19 ไม่ไหว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ห้างโตคิว’ สาขา MBK เตรียมปิดตัวถาวร

คล้อยหลังจากที่ ‘ห้างสรรพสินค้าอิเซตันประเทศไทย’ เพิ่งปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2020 หลังดำเนินธุรกิจมาเกือบสามทศวรรษในย่านใจกลางกรุงเทพฯ ล่าสุดกำลังจะมีห้างสรรพสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นที่กำลังจะม้วนเสื่อกลับบ้านไปอีกราย นั่นคือ ‘ห้างโตคิว’ สาขา MBK

 

Nikkei Asia รายงานโดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวที่ระบุว่า ห้างสรรพสินค้าโตคิวของญี่ปุ่นมีแผนจะปิดสาขาในกรุงเทพฯ ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2021 โดยการขาดนักท่องเที่ยวเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ตัดสินใจปิดสาขาที่เปิดดำเนินการมากว่า 30 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ในวันที่ 31 มกราคม 2019 เพิ่งปิดสาขาที่ศูนย์การค้า พาราไดซ์ พาร์ค 

 

แม้ ‘ห้างโตคิว’ สาขา MBK ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1985 สามารถเอาชนะวิกฤตการเงินในเอเชีย และความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทว่า เงินบาทที่แข็งค่าในปีที่แล้วส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียง ในขณะเดียวกันการแข่งขันได้เพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ จากการพัฒนาศูนย์การค้าต่างๆ

 

ตะปูตัวสุดท้ายที่ตอกฝาโลง มาจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวที่ถือเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ MBK ไม่สามารถเดินทางเข้าสู่เมืองไทยได้

 

หาก ‘ห้างโตคิว’ ปิดในช่วงต้นปีหน้าจะทำให้ในเมืองไทยเหลือห้างสรรพสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นยังคงเปิดให้บริการอยู่คือ ห้างสรรพสินค้าทาคาชิมายะที่ไอคอนสยามเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

อ้างอิง:

The post กลับบ้านอีกราย! ‘ห้างโตคิว’ สาขา MBK เตรียมปิดตัวถาวรในเดือนมกราคม 2021 หลังสู้วิกฤตโควิด-19 ไม่ไหว appeared first on THE STANDARD.

]]>
MBK Center เปิดวันแรกพร้อมมาตรการเว้นระยะห่าง พบต่างชาติเริ่มกลับมาเข้าศูนย์การค้า https://thestandard.co/mbk-center-reopen/ Sun, 17 May 2020 11:59:41 +0000 https://thestandard.co/?p=364350

วันนี้ (17 พฤษภาคม) ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค กลับมาเป […]

The post MBK Center เปิดวันแรกพร้อมมาตรการเว้นระยะห่าง พบต่างชาติเริ่มกลับมาเข้าศูนย์การค้า appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (17 พฤษภาคม) ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค กลับมาเปิดให้บริการเป็นวันแรก หลังรัฐบาลไฟเขียวประกาศผ่อนคลายมาตรการระยะ 2 โดยมีมาตรการคัดกรอง ป้องกัน ปลอดภัย สำหรับเป็นแนวทางให้ร้านค้าปฏิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

อย่างที่ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง ทางเข้าทุกช่องทางจะมีจุดคัดกรองให้ประชาชนสแกนคิวอาร์โค้ดทั้งทางเข้าและออก โดยมีเครื่องวัดอุณหภูมิ และจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ตามทางเข้า 

 

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่พบว่า มีลูกค้ามารอใช้บริการที่เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการซ่อมโทรศัพท์มือถือ ซึ่งชั้นที่มีร้านซ่อมและขายอุปกรณ์โทรศัพท์เป็นชั้นที่พบเห็นผู้คนมากที่สุด 

 

ทาง เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ยังได้จัดวางพรมเช็ดเท้าฆ่าเชื้อ และติดตั้งเจลแอลกอฮอล์ทุกประตูทางเข้า ตีเส้นหรือทำสัญลักษณ์กำหนดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างชัดเจนบริเวณต่างๆ อาทิ บันไดเลื่อน ในลิฟต์ ห้องน้ำ พื้นที่นั่งส่วนกลาง นอกจากนี้บริเวณบันไดเลื่อนมีการเว้นระยะห่าง 2 ขั้น การกำหนดผู้โดยสารเข้าลิฟต์ไม่เกิน 5 คน ร้านค้ามีการตั้งเจลแอลกอฮอล์ไว้ประจำร้าน ซึ่งมาตรการต่างๆ เป็นไปตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กำหนด 

 

ด้านพื้นที่ของศูนย์อาหารมีการจัดเว้นที่ว่างระหว่างที่นั่งสำหรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ โดยกำหนดให้นั่งได้ 1 คนต่อ 1 โต๊ะ ขณะที่ในร้านอาหารได้นำเอาที่กั้นมาใช้ระหว่างลูกค้า 

 

โดยภาพรวมพบเห็นลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างชาติเดินทางมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีหลายร้านที่เลือกปิดบริการต่อจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทำให้นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นลูกค้าหลักของ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ลดน้อยลงเป็นจำนวนมาก 

 

สำหรับเวลาเปิดทำการของแต่ละศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค มีดังนี้ ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการเวลา 10.00-20.00 น. ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค และศูนย์การค้าพาราไดซ์ เพลส เปิดให้บริการเวลา 10.30-20.00 น. ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 เปิดให้บริการเวลา 07.00-20.00 น. 

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ 

 


ห้ามพลาด! ฟอรัมที่เจาะลึก New Normal ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากวิทยากรระดับประเทศ 40 คน ซื้อบัตรงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ที่ https://www.eventpop.me/e/8705-economic-forum

The post MBK Center เปิดวันแรกพร้อมมาตรการเว้นระยะห่าง พบต่างชาติเริ่มกลับมาเข้าศูนย์การค้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ พร้อมเปิดบริการ ให้ร้านค้าขายฟรี งดเก็บค่าเช่า ส่วนลดยิงยาวต่อเนื่อง 3 เดือน จัดบิ๊กคลีนนิ่งเข้ม https://thestandard.co/mbk-center-ready-for-service/ Fri, 15 May 2020 09:45:16 +0000 https://thestandard.co/?p=363766

วันนี้ (15 พฤษภาคม) สมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรก […]

The post เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ พร้อมเปิดบริการ ให้ร้านค้าขายฟรี งดเก็บค่าเช่า ส่วนลดยิงยาวต่อเนื่อง 3 เดือน จัดบิ๊กคลีนนิ่งเข้ม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (15 พฤษภาคม) สมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์, พาราไดซ์ พาร์ค, พาราไดซ์ เพลส, เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 กล่าวว่า เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าที่เตรียมจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หากรัฐบาลประกาศให้เปิดได้ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 ดังนี้

 

  1. งดเก็บค่าเช่าร้านค้าที่เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม 2563 

 

  1. ส่วนลดค่าเช่าเป็นสัดส่วน 30-50% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2563 รวมระยะเวลา 3 เดือน

 

  1. เปิดพื้นที่ลานโปรโมชันฟรี 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2563 ให้ร้านค้าในศูนย์การค้าสลับกันนำสินค้ามาจำหน่ายในราคาพิเศษเพื่อสร้างบรรยากาศคึกคักในการจับจ่าย 

 

“ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกคนจะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน สามารถนำพาธุรกิจและเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ตามแคมเปญ MBK Let’s move on” สมพลกล่าว

 

นอกจากนี้สมพลยังกล่าวถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคยุค New Normal ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยมากขึ้น ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ จึงร่วมกับผู้ประกอบการร้านค้า จัดกิจกรรม Big Cleaning ทำความสะอาดพื้นที่ทั่วทั้งศูนย์การค้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง หากรัฐบาลประกาศให้เปิดได้ในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ หรือจนกว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการจากภาครัฐ 

 

สำหรับกิจกรรม Big Cleaning ศูนย์การค้าในเครือเอ็มบีเควางแผนจะร่วมกับผู้ประกอบการร้านค้าดำเนินการทำความสะอาดทั่วทั้งศูนย์เป็นประจำในทุกสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากที่เตรียมไว้ทั้งหมด 129 ข้อปฏิบัติสำหรับกิจการทุกประเภท เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ร้านเสื้อผ้า ร้านทั่วไป ร้านเสริมสวย ภายใต้ 3 แนวคิดหลักของศูนย์การค้าคือ คัดกรอง ป้องกัน ปลอดภัย เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการดูแลลูกค้า พนักงานร้านค้า และพนักงานศูนย์การค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ เช่น การจำกัดจำนวนคนเข้าศูนย์การค้าตามอัตราส่วนพื้นที่ใช้สอย 5 ตารางเมตรต่อผู้ใช้บริการ 1 คน เพื่อลดความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ โดยใช้วิธีการนับจำนวนผู้ใช้บริการแบบเรียลไทม์ผ่านระบบตรวจจับผ่านกล้อง Artificial Intelligence (AI CCTV) ที่ติดตั้งไว้ที่ประตูทางเข้าศูนย์การค้า โดยจะควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการไม่ให้เกิน 28,000 คนจากพื้นที่ 140,000 ตารางเมตรทั้งหมดในศูนย์การค้า การจัดวางพรมเช็ดเท้าฆ่าเชื้อและติดตั้งเจลแอลกอฮอล์ทุกประตูทางเข้า การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกค้าและพนักงานทุกคนที่เข้ามาในศูนย์การค้า การบันทึกประวัติของผู้ที่มาติดต่อ ทั้งชื่อ เบอร์ติดต่อ เพื่อการติดตามในภายหลัง การเช็ดทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางและจุดสัมผัสสาธารณะ การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณพื้นที่ส่วนกลางและทำความสะอาดพื้นที่ทั้งศูนย์การค้าทุกสัปดาห์ การทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชิ้นและห้องให้บริการต่างๆ เช่น ห้องละหมาด เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ การทำสัญลักษณ์ระยะห่างอย่างชัดเจนในลิฟต์ บริเวณบันไดเลื่อน ห้องน้ำ พื้นที่นั่งส่วนกลาง และที่นั่งในโซนศูนย์อาหาร การกำหนดจุดบริเวณบันไดเลื่อนให้มีการเว้นระยะห่าง 2 ขั้น กำหนดผู้โดยสารเข้าลิฟต์ไม่เกิน 5 คน เป็นต้น 

 

“เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ มีการบริหารจัดการระบบปรับอากาศภายในศูนย์การค้ามาโดยตลอด โดยจัดให้มีการทำความสะอาดระบบปรับอากาศ รวมถึงการระบายอากาศ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอากาศภายในอาคารอย่างเหมาะสม ตลอดจนมีการฆ่าเชื้อในระบบปรับอากาศส่วนกลาง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอากาศที่ออกมามีความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้มาใช้บริการ” สมพลกล่าว

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

 


 

ห้ามพลาด! ฟอรัมที่เจาะลึก New Normal ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากวิทยากรระดับประเทศ 40 คน ซื้อบัตรงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ที่ https://www.eventpop.me/e/8705-economic-forum

 

The post เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ พร้อมเปิดบริการ ให้ร้านค้าขายฟรี งดเก็บค่าเช่า ส่วนลดยิงยาวต่อเนื่อง 3 เดือน จัดบิ๊กคลีนนิ่งเข้ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศูนย์การค้าเครือเอ็มบีเค ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ให้ผู้เช่า หลังจากต้องปิดเพื่อป้องกันโควิด-19 https://thestandard.co/mbk-group-shopping-center-except-rental-fees-for-tenants/ Thu, 02 Apr 2020 10:03:54 +0000 https://thestandard.co/?p=349567

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กรุงเทพมหาน […]

The post ศูนย์การค้าเครือเอ็มบีเค ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ให้ผู้เช่า หลังจากต้องปิดเพื่อป้องกันโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กรุงเทพมหานครมีประกาศขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการควบคุมไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้าง

 

ศูนย์การค้าในเครือเอ็มบีเค ได้แก่ ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์, ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค, ศูนย์การค้าพาราไดซ์ เพลส และศูนย์การค้าเดอะ ไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ได้ตอบรับนโยบายดังกล่าวโดยปิดให้บริการเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม – 30 เมษายน 2563

 

ในการนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าที่ต้องปิดบริการ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจในช่วงที่ศูนย์การค้าฯ ปิดชั่วคราวตามประกาศของกรุงเทพมหานคร ทางศูนย์การค้าจะยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ให้ร้านค้าที่เข้าหลักเกณฑ์ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม – 30 เมษายน 2563 เพื่อให้สามารถผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยกันอย่างดีที่สุด

The post ศูนย์การค้าเครือเอ็มบีเค ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ให้ผู้เช่า หลังจากต้องปิดเพื่อป้องกันโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
MBK ติดตั้งอุโมงค์สเปรย์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโควิด-19 https://thestandard.co/mbk-installed-sanitizer-spray-tunnel-kill-coronavirus-bacteria/ Fri, 20 Mar 2020 12:19:33 +0000 https://thestandard.co/?p=344342

ศูนย์การค้าหลายแห่งได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเชื […]

The post MBK ติดตั้งอุโมงค์สเปรย์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ศูนย์การค้าหลายแห่งได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดในไทย ล่าสุดศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ได้ติดตั้งอุโมงค์ป้องกันเชื้อโควิด-19 (MBK Sanitizer Tunnel) ใช้ระบบ ‘โมชันเซนเซอร์’ ตรวจจับสัญญาณเมื่อมีลูกค้าเดินเข้าใกล้ประมาณ 1.5 เมตร จากนั้นเครื่องจะพ่นละอองสเปรย์น้ำยาฆ่าเชื้อตลอดการเดินผ่านช่องทางอุโมงค์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 วินาที

 

ทั้งนี้คุณสมบัติของน้ำยาฆ่าเชื้อที่นำมาใช้พ่นภายในอุโมงค์ดังกล่าวเป็นน้ำยาออร์แกนิกที่ประกอบด้วยสารสกัดจากพืช ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมั่นใจได้ว่าไม่ระคายเคืองผิวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

โดยหลังจากเดินผ่านอุโมงค์ป้องกันเชื้อโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการก็จะพบกับจุดเฝ้าระวังตั้งแต่ประตูเข้าออกที่มีการตรวจวิเคราะห์ความร้อนของร่างกายโดยกล้องเทอร์โมสแกน หรือกล้องจับภาพความร้อน ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ในสนามบิน

 

หากพบว่าลูกค้ามีอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส จะมีสัญญาณเตือนส่งไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตรวจซ้ำด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด และเมื่อทราบแน่ชัดว่าลูกค้ามีอาการตัวร้อน เป็นไข้ เจ้าหน้าที่จะให้บริการเจลล้างมือและมอบหน้ากากอนามัยให้สวมใส่ พร้อมอำนวยความสะดวกในการประสานหน่วยแพทย์ หากลูกค้ามีความประสงค์จะตรวจร่างกายโดยละเอียด 

 

นอกจากนี้ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ได้จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการกดลิฟต์แก่ลูกค้าทุกชั้นเพื่อลดการสัมผัสในจุดสาธารณะ,ให้บริการเจลล้างมือสำหรับลูกค้าในบริเวณทางเข้าออกเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์และด้านหน้าลิฟต์, เพิ่มความถี่ในการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณจุดสัมผัสสาธารณะ เช่น ปุ่มกดลิฟต์ ที่จับบันไดเลื่อน ที่จับประตูห้องน้ำ ที่จับประตูเข้าออกอาคารทุกชั้น ฯลฯ

 

เพิ่มการดูแลด้านระบบปรับอากาศเป็นกรณีพิเศษ เช่น เพิ่มระบบฆ่าเชื้อโรคและการอบโอโซน ทำความสะอาดบัตรจอดรถของศูนย์การค้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนนำไปใช้หมุนเวียนให้กับลูกค้าคนต่อไป, เตรียมความพร้อมด้านบริการฉุกเฉินในการนำส่งโรงพยาบาลเมื่อตรวจพบหรือมีการร้องขอ, ประกาศเสียงตามสายและติดตั้งป้ายข้อความประชาสัมพันธ์ภายในศูนย์การค้าและบริเวณหน้าร้านค้าต่างๆ เพื่อแนะนำวิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post MBK ติดตั้งอุโมงค์สเปรย์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ในวิกฤต สร้างโอกาส’ 36 ปี MBK Center ภาพสะท้อนห้างไทยฝ่ามรสุมโควิด-19 https://thestandard.co/36-years-mbk-center/ Mon, 16 Mar 2020 13:24:20 +0000 https://thestandard.co/?p=342287

เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพม […]

The post ‘ในวิกฤต สร้างโอกาส’ 36 ปี MBK Center ภาพสะท้อนห้างไทยฝ่ามรสุมโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร นับเนื่องจนถึงเวลานี้ ห้างดังกล่าวได้เปิดให้บริการมากว่า 36 ปีแล้ว เชื่อว่าคนไทยรู้จักดีในชื่อ ‘มาบุญครอง’ ที่ครองใจผู้คนมาอย่างยาวนาน

 

ตลอดระยะเวลาดังกล่าว เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ต้องเผชิญกับวิกฤตในหลากหลายรูปแบบ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กระทั่งครั้งนี้คือโรคระบาด ที่ต้องยอมรับว่ากระทบต่อผู้เช่าพื้นที่และผู้ประกอบการ

 

แต่ทว่าด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ได้ออกมาตรการที่พร้อมจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการและผู้ประกอบการที่เช่าพื้นที่ เพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้

 

THE STANDARD พาสำรวจเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ตัวแทนห้างสรรพสินค้าไทย กับมาตรการสร้างความมั่นใจให้ทั้งลูกค้าและผู้เช่า

The post ‘ในวิกฤต สร้างโอกาส’ 36 ปี MBK Center ภาพสะท้อนห้างไทยฝ่ามรสุมโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>