Mary Poppins – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 17 Feb 2019 03:06:06 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Mary Poppins Returns หนังเพลงที่พาย้อนสู่ยุคทองของฮอลลีวูด พร้อมการแสดงที่ดีที่สุดในชีวิตของ Emily Blunt https://thestandard.co/mary-poppins-returns/ https://thestandard.co/mary-poppins-returns/#respond Tue, 25 Dec 2018 05:48:33 +0000 https://thestandard.co/?p=170202 oscasrs2019

‘Nostalgia’ หรือแปลเป็นไทยว่า ‘การย้อนวันวาน’ ดูเหมือนเ […]

The post Mary Poppins Returns หนังเพลงที่พาย้อนสู่ยุคทองของฮอลลีวูด พร้อมการแสดงที่ดีที่สุดในชีวิตของ Emily Blunt appeared first on THE STANDARD.

]]>
oscasrs2019

‘Nostalgia’ หรือแปลเป็นไทยว่า ‘การย้อนวันวาน’ ดูเหมือนเป็นกลยุทธ์เบอร์หนึ่งของการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ใหม่ค่ายดิสนีย์ที่ทำกันไม่หยุดไม่หย่อน นำการ์ตูนต่างๆ มาทำเวอร์ชันใหม่แบบ Live-Adaption หรือใช้คนเล่นจริงเป็นว่าเล่น โดยแค่ในปีสองปีหน้าก็เตรียมพร้อมกับ The Lion King, Mulan, Aladdin และ Cruella DeVil แห่ง 101 Dalmatians ได้เลย ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ก็การันตีมีแฟนคลับที่ตั้งหน้าตั้งตารอชมและเสียเงิน พร้อมพาลูกๆ หลานๆ กลุ่ม Gen Z เพื่อไปบอกว่าเราเติบโตมากับตัวละครเหล่านี้ ก่อนที่ชีวิตเด็กยุคนี้ดูเหมือนจะมีแต่ซูเปอร์ฮีโร่เต็มไปหมด

 

โดยล่าสุด ค่ายดิสนีย์ตัดสินใจนำภาพยนตร์ Mary Poppins ที่ดัดแปลงจากนิยายของ P.L. Travers มาทำภาคต่อ Mary Poppins Returns หลังภาคแรกฉายในปี 1964 หรือเมื่อ 54 ปีก่อน กับการแสดงของ จูลี แอนดรูว์ส ที่ถือว่าถูกจารึกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ซึ่งในภาคนี้ก็ได้ เอมิลี บลันต์ มาสานต่อบทนำ พร้อมมีนักแสดง ลิน-มานูเอล มิแรนด้า, เบน วิชอว์, จูลี วอลเตอร์ส, โคลิน เฟิร์ธ, แอนเจลา แลนส์บิวรี, ดิก ฟาน ไดค์ และ เมอรีล สตรีป มาร่วมด้วย โดยได้ผู้กำกับมือทองด้านภาพยนตร์เพลงอย่าง ร็อบ มาร์แชล ที่เคยอยู่เบื้องหลัง Chicago, Into The Woods, Nine และ Memoirs of a Geisha มากำกับ

 

 

ภาพยนตร์ Mary Poppins Returns เล่าถึงเหตุการณ์ 30 ปีหลังจากภาคแรกในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของโลก (The Great Depression) ซึ่ง ไมเคิล แบงส์ (แสดงโดย เบน วิชอว์) ที่โตเป็นผู้ใหญ่กับลูกสามก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังเดิมที่ลอนดอน แต่เกิดปัญหาเมื่อสูญเสียภรรยา ซึ่งเธอเป็นคนดูแลทรัพย์สินของครอบครัว และมาวันหนึ่งประธานแบงก์ Fidelity Fiduciary Bank ที่ชื่อ William ‘Weatherall’ Wilkins Jr. (แสดงโดย โคลิน เฟิร์ธ) ก็สั่งให้ทนายมาเตือนไมเคิลว่าบ้านจะโดนแบงก์ยึด หากไม่หาเงินมาคืนภายในห้าวัน ซึ่งไมเคิลพร้อมพี่สาว เจน (แสดงโดย เอมิลี มอร์ติเมอร์) ก็จำได้ว่าคุณพ่อของพวกเขาเคยมอบหุ้นส่วนกิจการ Fidelity Fiduciary Bank ในพินัยกรรม ซึ่งพวกเขาเลยพยายามตามหาใบรับรองการถือหุ้น ก่อนที่ แมรี ป๊อปปินส์ (แสดงโดย เอมิลี บลันต์) จะมาปรากฏตัวอีกครั้งเพื่อช่วยเหลือครอบครัว

 

การแสดงของเอมิลี บลันต์ ในเรื่องนี้ถือว่ายอดเยี่ยม โดดเด่น และจะทำให้เธอเป็นอีกหนึ่งนักแสดงหญิงที่มองข้ามไม่ได้สำหรับเทศกาลช่วงแจกรางวัลในช่วงปีหน้า ถึงแม้เธอต้องมาเล่นบทบาทที่ จูลี แอนดรูว์ส เคยทำไว้อย่างมหัศจรรย์ แต่เวอร์ชัน Mary Poppins ของเธอก็ถูกสร้างสรรค์ให้มีมิติที่แปลกใหม่ และมาพร้อมเปลือกชั้นที่ตรงไปตรงมามากขึ้น สตรองขึ้น สไตล์ลิชขึ้น และมีปากมีเสียง ซึ่งก็เข้ากับบริบทของผู้หญิงสมัยใหม่ โดยหากมองภูมิทัศน์ของบทบาทที่เอมิลีได้แสดงในฮอลลีวูดตั้งแต่ The Devil Wears Prada ที่ทำให้คนทั้งโลกหลงรักจนถึง A Quiet Place ที่ฉายปีนี้ เธอก็กำลังกลายเป็นนักแสดงหญิงที่เป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องการเลือกบทและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

 

อีกหนึ่งไฮไลต์ของ Mary Poppins Returns ก็ต้องยกให้การกำกับของร็อบ มาร์แชล ที่ถือว่าวิเศษและงดงาม เต็มไปด้วยสีสันและกลิ่นอายความเป็นหนังเพลงยุคทองของฮอลลีวูดสมัย MGM Studios กับพวกภาพยนตร์ของ จีน เคลลี หรือ เฟรด แอสแตร์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีที่ร็อบ และดิสนีย์ตัดสินใจที่ไม่พยายามเล่นกับเทคโนโลยีและเพิ่มเติมกลไกต่างๆ มากเกิน จนอาจทำให้เสน่ห์ของสไตล์เรื่องดั้งเดิมหายไป อย่างเช่นใช้การแทรกการ์ตูนแอนิเมชันแบบ 2D ที่ทำโดย  จิม คาโปเบียนโก และ เคน ดันแคน

 

 

ส่วนด้านดนตรีประกอบก็เน้นการใช้สูตรคลาสสิกของภาพยนตร์เพลงเช่นกัน และไม่ได้พยายามทำเพลงป๊อปร่วมสมัยเพื่อเชิงพาณิชย์ โดย มาร์ค ไชแมน และ สกอตต์ วิตต์แมนที่เคยอยู่เบื้องหลังภาพยนตร์เพลงอย่าง Hairspray ก็มาทำให้ ซึ่งสองเพลง The Place Where Lost Things Go และ Trip a Little Light Fantastic ที่ร็อบได้ช่วยกำกับท่าเต้น ก็ได้เข้ารายชื่อรอบแรกของบทเพลงยอดเยี่ยมในการเข้าชิงออสการ์ปีหน้าเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะคัดอีกครั้งเพื่อให้เหลือผู้เข้าชิงรอบสุดท้ายในเดือนหน้า โดยสาขาอื่นที่หนังได้เข้าชิงก็มี Visual Effects ยอดเยี่ยม และเพลงประกอบ (Original Score) ยอดเยี่ยม

 

หากดูภาพรวมของภาพยนตร์ Mary Poppins Returns ก็ถือว่าลงตัว จะสร้างรอยยิ้ม (หรือเสียน้ำตาเพราะความปลื้มปีติ) และเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เพอร์เฟกต์กับช่วงเทศกาล Festive ในตอนนี้ แบบว่าควรหาเวลาช่วงวันหยุดที่แพลนจะอยู่แค่ที่บ้านดู Netflix อย่างเดียว มาหาเวลาดูเรื่องนี้ โดยก็หวังว่าถ้าดิสนีย์จะทำภาคต่อหรือรีเมกเวอร์ชันใหม่ในอนาคต ก็ไม่ให้ต้องรออีกนานถึง 54 ปี

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post Mary Poppins Returns หนังเพลงที่พาย้อนสู่ยุคทองของฮอลลีวูด พร้อมการแสดงที่ดีที่สุดในชีวิตของ Emily Blunt appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/mary-poppins-returns/feed/ 0
ชีวิตและความสำเร็จของ Walt Disney บุคคลที่ได้รับรางวัลออสการ์มากที่สุดในโลก https://thestandard.co/list-of-academy-awards-for-walt-disney/ https://thestandard.co/list-of-academy-awards-for-walt-disney/#respond Mon, 19 Feb 2018 10:06:27 +0000 https://thestandard.co/?p=70854

วอลต์ ดิสนีย์ (Walt Disney) คือบุคคลที่ได้รับรางวัลออสก […]

The post ชีวิตและความสำเร็จของ Walt Disney บุคคลที่ได้รับรางวัลออสการ์มากที่สุดในโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>

วอลต์ ดิสนีย์ (Walt Disney) คือบุคคลที่ได้รับรางวัลออสการ์มากที่สุดในโลกขณะนี้ เขาได้รับรางวัลออสการ์มาทั้งหมด 26 รางวัลในช่วงชีวิต จากการเข้าชิงรางวัลออสการ์ 59 ครั้ง โดยแบ่งเป็นรางวัลจากการชนะ 22 ครั้งจากผลงาน และอีก 4 ครั้งจากรางวัลเกียรติยศ ซึ่งวอลต์เคยชนะรางวัลออสการ์และได้รับรางวัลเกียรติยศในปีเดียวกัน เมื่อปี 1932 โดยรางวัลเกียรติยศมอบให้เขาในการสร้างตัวการ์ตูนมิกกี้เมาส์ ส่วนรางวัลออสการ์ที่เขาชนะนั้นได้จากเรื่อง Flowers and Trees ในสาขาการ์ตูนเรื่องสั้นยอดเยี่ยม

 

Salvador Dali กับ Walt Disney

 

เขาคือใคร? สำคัญอย่างไร?

วอลเตอร์ อีเลียส ดิสนีย์ (Walter Elias Disney) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1901 ที่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1966 ขณะอายุ 65 ปี ที่เมืองเบอร์แบงก์ รัฐแคลิฟอร์เนีย

 

วอลต์ เป็นที่รู้จักในฐานะนักสร้างการ์ตูน นักพากย์เสียง และผู้อำนวยการสร้าง เขาเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชันของอเมริกา เป็นบุคคลแรกที่สร้างภาพยนตร์การ์ตูนแบบสี และเป็นผู้ก่อตั้ง The Walt Disney Company ร่วมกับพี่ชายของเขา รอย ดิสนีย์ (Roy Disney) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทสื่อที่ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาล

 

วอลต์ชื่นชอบและสนใจในการวาดรูปตั้งแต่เด็ก เขาทำงานวาดภาพประกอบโฆษณาเมื่ออายุ 18 ปี จากนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนียช่วงต้นยุค 1920 เพื่อก่อตั้ง Disney Brothers Studio กับ รอย พี่ชายของเขา (ปี 1986 เปลี่ยนชื่อเป็น The Walt Disney Company) โดยในปี 1928 เป็นครั้งแรกที่วอลต์ร่างภาพตัวการ์ตูนมิกกี้เมาส์ขึ้นมา และปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่อง Steamboat Willie ซึ่งถือเป็นการ์ตูนเสียงแบบซิงโครไนซ์เรื่องแรกของโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์ทางการและมาสคอตของดิสนีย์จนถึงทุกวันนี้

 

เมื่อบริษัทเติบโตขึ้นเรื่อยๆ วอลต์ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนแบบยาว โดยใส่เสียงและสีเข้าไป ซึ่งผลงานที่ออกมานั้น เช่น Snow White and the Seven Dwarfs (1937), Pinocchio (1940), Dumbo (1941) และ Bambi (1942)

 

ช่วงต้นยุค 1950 วอลต์ ดิสนีย์ เริ่มวางแผนสร้างสวนสนุก และในปี 1955 เขาได้เปิดตัวสวนสนุกแห่งแรกชื่อ ดิสนีย์แลนด์ ที่อนาไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เขานำรายได้มาใช้เป็นทุนในการสร้างรายการโทรทัศน์อย่าง Walt Disney’s Disneyland และ The Mickey Mouse Club ต่อมาในปี 1965 เขาเริ่มวางแผนสร้างสวนสนุกแห่งใหม่ ในชื่อ Walt Disney World ซึ่งหัวใจหลักคือเมืองแห่งอนาคต ชื่อ Experimental Prototype Community of Tomorrow หรือ เอ็ปคอต (Epcot) แต่น่าเสียดายที่เขาเสียชีวิตก่อนที่สวนสนุกวอลต์ ดิสนีย์ เวิลด์ และ เอ็ปคอต จะสร้างเสร็จ

 

 

วอลต์ได้รางวัลอะไรบ้าง

หลักๆ แล้ว 22 รางวัลออสการ์ที่วอลต์ได้รับส่วนใหญ่ชนะในสาขาการ์ตูนเรื่องสั้นยอดเยี่ยม เช่นเรื่อง The Three Little Pigs (1933), The Tortoise and the Hare (1934), Three Orphan Kittens (1935), Ferdinand the Bull (1938), The Ugly Duckling (1939) และรางวัลออสการ์ที่เขาชนะหลังจากเสียชีวิตคือ Winnie the Pooh and the Blustery Day (1968)

 

วอลต์ ดิสนีย์ เคยมีชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ (Golden Globes) 3 ครั้ง แต่ไม่ชนะ เขากลับได้รางวัล Special Achievement Awards จากเวทีนี้ไปสองรางวัลจากเรื่อง Bambi (1942) และเรื่อง The Living Desert (1953) และยังได้รับรางวัลเกียรติยศ Cecil B. DeMille Award อีกด้วย

 

นอกจากนี้ เขามีชื่อเข้าชิงรางวัล Emmy Awards ถึง 4 ครั้ง ชนะไป 1 ครั้ง ในสาขาผู้อำนวยการสร้างยอดเยี่ยมจากรายการซีรีส์ทางโทรทัศน์ Disneyland

 

รูปปั้นที่ Tokyo Disneyland

 

ทำความรู้จักวอลต์ผ่านหนังที่สร้างจากชีวิตเขา

 

 

ภาพยนตร์ชีวประวัติของ วอลต์ ดิสนีย์ เรื่อง Walt Before Mickey (2015) สร้างขึ้นมาจากหนังสือเรื่อง Walt Before Mickey: Disney’s Early Years, 1919-1928 เขียนโดย ทิโมธี เอส ซูซานิน (Timothy S. Susanin) เนื้อเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ชีวิตในวัยเด็กของเขา สู่ช่วงวัยรุ่น ไปจนถึงช่วงเริ่มลองทำธุรกิจ ที่ก่อตั้งบริษัท Laugh-O-Gram Studio และ The Walt Disney Company ร่วมกับเพื่อนนักสร้างการ์ตูนแอนิเมชันอย่าง อับบ์ ไอเวิร์คส (Ub Iwerks) และพี่ชายของเขา รอย ดิสนีย์

 

 

เรื่อง Saving Mr. Banks (2013) ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับ วอลต์ ดิสนีย์ โดยตรง แต่เนื้อหาในภาพยนตร์เล่าถึง พี. แอล. เทรเวอร์ส (P. L. Travers) นักเขียนเรื่อง แมรี ป๊อปปิ้นส์ (Mary Poppins) หนังสือวรรณกรรมเยาวชนอมตะที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดย วอลต์ ดิสนีย์ ต้องการสร้างภาพยนตร์จากหนังสือเรื่องนี้ของเธอ ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เรียนรู้ถึงลักษณะนิสัยและความตั้งใจของตัวละครทั้งสองฝ่าย เจ้าของบทนำภาพยนตร์เรื่องนี้คือสองเจ้าของรางวัลออสการ์ อย่าง ทอม แฮงส์ รับบทเป็น วอลต์ ดิสนีย์ และ เอ็มมา ทอมป์สัน รับบทเป็น พี. แอล. เทรเวอร์ส

 

Disneyland Paris

Disneyland California ในปี 1977

 

ภาพรวมธุรกิจดิสนีย์ในทุกวันนี้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขณะนี้ บริษัท วอลต์ ดิสนีย์ ได้กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ประกอบกิจการหลากหลายรูปแบบ พร้อมมีบริษัทย่อยหลายหน่วย จากจุดเริ่มต้นของบริษัทเล็กๆ ที่มีพนักงานไม่กี่คน วอลต์ ดิสนีย์ ได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้มีพนักงานเกือบสองแสนคน

 

ปัจจุบันรายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 54,940 ล้านเหรียญสหรัฐ มีทรัพย์สินทั้งหมดรวม 91,580 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำกำไรไป 8,990 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีมูลค่าราคาตลาดอยู่ที่ 178,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

ดิสนีย์มีบริษัทลูกมากมาย ทั้งค่ายหนังอย่าง พิกซาร์ (Pixar Animation Studios) มาร์เวล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Marvel Entertainment) ลูคัสฟิล์ม (Lucasfilm Ltd.) ช่องโทรทัศน์ ABC, ESPN และ Freeform นอกจากนี้ยังมีร้านขายสินค้า Disney Store อยู่ทั่วโลก จำหน่ายทั้งของเล่น เสื้อผ้า หนังสือ และเกมอีกด้วย

 

ที่ขาดไปไม่ได้คือธุรกิจสวนสนุกที่เป็นที่รู้จักอย่าง ดิสนีย์แลนด์ ขณะนี้มีอยู่ทั้งหมด 5 แห่ง แคลิฟอร์เนีย โตเกียว ฮ่องกง ปารีส เซี่ยงไฮ้ และสวนสนุกที่ฟลอริดาในชื่อ วอลต์ ดิสนีย์ เวิลด์ (Walt Disney World) ภายในประกอบไปด้วย 4 สวนสนุก 2 สวนน้ำ และรีสอร์ตถึง 27 แห่ง

 

และล่าสุดที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน ดิสนีย์ได้ซื้อบริษัท 21st Century Fox ไปในมูลค่า 52,400 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

ครบรอบสิบปี Marvel Studios

 

อ้างอิง:

The post ชีวิตและความสำเร็จของ Walt Disney บุคคลที่ได้รับรางวัลออสการ์มากที่สุดในโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/list-of-academy-awards-for-walt-disney/feed/ 0