Magnificent 7 – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 28 Dec 2024 07:07:54 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน https://thestandard.co/5-investment-themes-2025/ Sat, 28 Dec 2024 07:07:54 +0000 https://thestandard.co/?p=1025026 ลงทุน 2025

ปี 2024 กำลังจะผ่านพ้นไป ได้เวลาที่ Thematic Investor ต […]

The post 5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุน 2025

ปี 2024 กำลังจะผ่านพ้นไป ได้เวลาที่ Thematic Investor ต้องทบทวนบทเรียนจากการลงทุนเพื่อมองไปข้างหน้า

 

สำหรับผม วิธีทำความเข้าใจธีมลงทุนของตลาดที่ดีและเร็วที่สุดคือการมองย้อนกลับไปในอดีต จากดัชนีธีมการลงทุนกว่า 200 กลุ่มที่ผมติดตามอยู่ Magnificent 7, Semiconductors, Machine Learning, Thai Tech และ Blockchain คือหัวตารางผลงานโดดเด่น ส่วนธีมที่ทำผลงานย่ำแย่ประกอบด้วย Solar, Clean Tech, China Healthcare, Lithium และ Thai Healthcare

 

ประเด็นที่ทำให้ผมแปลกใจไม่ได้เกิดขึ้นจากธีมไหนทำผลงานได้ดีหรือแย่เกินคาด แต่กลับเป็นธีมที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ธีมลงทุนที่แย่ก็แย่ลงไปอีก ทำให้ตลาดยิ่งกระจุกตัว

 

บทเรียนจากปี 2024 จึงเหมือนกับปี 2023 คือ (1) ถ้าใครไม่มีหุ้นใหญ่สหรัฐฯ ผลตอบแทนจะแพ้ตลาดแน่นอน และ (2) ฟองสบู่ทางการเงินสามารถอยู่ได้นานกว่าที่หลายคนคาด

 

ส่วนบทเรียนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ผมมองว่าเป็น (3) แม้ตลาดจะกระจุกตัว แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเกิดขึ้น การกระจุกตัวจะไม่หายไป บริษัทใหญ่บางบริษัทอาจมีความสำคัญมากกว่าเศรษฐกิจบางประเทศก็เป็นได้

 

สำหรับปี 2025 ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะทรงตัว เงินเฟ้อลดลง ธนาคารกลางลดดอกเบี้ย ความกระจุกตัวทำให้ Valuation แพงผิดปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างกำลังจะเกิดขึ้นจากประธานาธิบดี Donald Trump ในอีก 4ปีข้างหน้า

 

5 ธีมลงทุนในปี 2025 ของผมจึงประกอบด้วยธีมเก่าอย่าง Magnificent 7 และ AI ผสมกับธีมปรับใหม่อย่าง Power Demand, Deregulated Finances และ China Recovery ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงรอบนี้

 

ธีมหนึ่ง Magnificent 7 เป็นธีมที่ทำผลงานดีสม่ำเสมอ มีโอกาสไปต่อ อย่างน้อยจนกว่ากำไรของ S&P 493 จะฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด

 

ตั้งแต่ต้นปีถึงปลายเดือนพฤศจิกายน Bloomberg Magnificent 7 Index ให้ผลตอบแทนถึง 42% จุดแข็งของหุ้นในกลุ่มนี้คือกำไรที่เติบโตสูงกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัด

 

แม้ในปี 2025 ตลาดจะเริ่มมองว่า S&P 493 หรือหุ้นสหรัฐฯ นอก Magnificent 7 จะฟื้นตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นใหญ่จะต้องถูกขายทันที

 

ผมเชื่อว่าหุ้นใหญ่เหล่านี้จะทำผลตอบแทนไม่แพ้ตลาด อย่างน้อยจนกว่าจะมีนโยบายเศรษฐกิจที่กดดันหุ้นในกลุ่มโดยตรง เช่น กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust)

 

ธีมสอง AI ต้องมีติดพอร์ตไว้ต่อตลอดทศวรรษ ปี 2025 เป็นอีกปีที่เราต้องลุ้นว่าจะได้เห็นผู้นำ AI ถือกำเนิดขึ้นในตลาดหุ้นหรือไม่

 

แม้ปี 2024 จะไม่ใช่ปีที่หุ้นกลุ่ม AI ขึ้นนำตลาด แต่ IndexxArtificial Intelligence Index ก็สามารถทำผลตอบแทนถึง 22%เกาะไปกับดัชนี S&P 500

 

ผมคงมุมมองเดิมว่า AI เป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมในอนาคตได้ ธีมนี้จะมีโอกาส Outperform ตลาดไปอย่างน้อยจนกว่าเราจะเห็นผู้นำที่แท้จริงในธีม AI ถือกำเนิดขึ้น

 

ปี 2025 ควรเป็นปีที่ตลาดควรเห็นการนำเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริงมากขึ้นอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือสื่อสาร ซอฟต์แวร์ ค้าปลีก การเงิน และการขนส่ง

 

สำหรับใครที่สนใจลงทุน AIQ หรือ Global X Artificial Intelligence & Technology ETF เป็นตัวเลือกที่กระจายลงทุนในผู้นำกลุ่ม AI ได้อย่างดี

 

อย่างไรก็ดี บทเรียนในปี 2024 สอนว่าถ้าเราต้องรอผู้นำการเติบโตของธีม AI ที่เกิดขึ้นช้า ระหว่างทางควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้ก่อน

 

ธีมลงทุนที่น่าสนใจเมื่อพูดถึงโครงสร้างพื้นฐาน AI คือการลงทุนใน Data Center และโรงไฟฟ้า

 

ด้วยความตื่นตัวของ AI ทำให้เกิดการลงทุนใน Data Center มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมกัน ดัชนี Solactive Data Center REITs & Digital Infrastrcuture Index ทำผลตอบแทนได้ 20% พร้อมกับ MSCI World Utilities ที่ปรับตัวขึ้น 11%

 

Goldman Sachs คาดว่า Data Center ในสหรัฐฯ จะมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นราว 8% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมในปี 2030 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียงราว 3% คิดเป็นการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นราว 2.4% ต่อปี จากที่ไม่เติบโตเลยมากว่า 2 ทศวรรษ

 

แม้จะเป็นการเติบโตที่ไม่สูงมาก แต่เชื่อว่ามีความยั่งยืนและสามารถยืดหยุ่นไปกับกระแส AI ที่กำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่าหุ้น Tech ใหญ่ โดยมี ETF ที่น่าสนใจเป็น VPN หรือ Global X Data Center & Digital Infrastructure ETF

 

ธีมที่สี่เป็นกลุ่มธุรกิจปกติที่คาดว่าจะมีนโยบายหนุนอย่าง Deregulated Finances

 

ผมมองว่ากลุ่มการเงินเป็น Sector ที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนทั้งในภาคการเงินดั้งเดิมและการเงินสมัยใหม่

 

ข้อเสนอยกเลิกกฎ Basel III Endgame จะช่วยลดข้อจำกัดด้านเงินทุนที่ธนาคารขนาดใหญ่เรื่องการตั้งสำรอง เพิ่มอิสระให้ธนาคารขนาดเล็กในกิจกรรมควบรวมกิจการ (M&A) และการลงทุน คาดว่าจะหนุนให้ทั้งธุรกิจการเงินและสินเชื่อกลับมาเติบโต

 

นอกจากนี้ผมเชื่อว่าการเพิ่มความชัดเจนในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคริปโตจะทำให้แพลตฟอร์มทางการเงินปัจจุบันมีโอกาสขยายการเข้าถึงลูกค้าและบริการใหม่ๆ เราสามารถเลือกลงทุนหาโอกาสหรือป้องกันความเสี่ยงไปพร้อมกันได้

 

ธีมการเงินสายเติบโตผมเลือก ARKF หรือ ARK Fintech Innovation ETF ที่มีการผสมผสาน E-Commerce เข้าไปด้วย ส่วนสายป้องกันผมเลือก Amplify Cybersecurity (HACK) เนื่องจากเป็น ETF ที่เน้นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

 

ธีมสุดท้ายสินค้าฟุ่มเฟือยฝั่งยุโรป (EU Consumer Discretionary) ลุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากนโยบายกระตุ้นภาครัฐ

 

สินค้าฟุ่มเฟือยในยุโรปเป็นธีมลงทุนสายกลับตัว (Turnaround) ธีมเดียวที่ผมเลือกในปีนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัว และ Luxury Goods เป็นอุตสาหกรรมที่มักได้รับแรงหนุนมากเป็นพิเศษ

 

ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าปี 2025 เป็นปีที่เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวช้า สนับสนุนการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายจาก ECB กดให้ EUR มีแนวโน้มอ่อนค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าหรูยุโรป

 

ตัวเลือกที่น่าสนใจมีตั้งแต่หุ้นใหญ่ในยุโรปอย่าง LVMH, Hermès, Kering หรือ Richemont ส่วนถ้าใครอยากลงทุนเป็นธีมก็สามารถเลือกลงทุน CD9 หรือ Amundi MSCI Europe Consumer Discretionary ETF และ Amundi S&P Global Luxury UCIT ETF (GLUX) ที่จดทะเบียนในตลาดฝรั่งเศสได้ทั้งคู่

 

ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า Thematic Investor คงมองเห็นโอกาสสำหรับการลงทุนในปีงูเล็ก 2025 บ้างแล้ว

 

ในมุมมองของผม ไม่ว่าพอร์ตปัจจุบันของเราจะเป็นแบบไหน เราสามารถสอดแทรกส่วนประกอบของธีมลงทุนเหล่านี้เข้าไปในพอร์ตได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องเรียนรู้ที่จะผสมผสานให้มีทั้งธีมเติบโต ตั้งรับ และธีมกลับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมตามความเสี่ยงที่รับได้

 

ผมเชื่อว่าธีมเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจตลาด และประสบความสำเร็จในการลงทุนปี 2025 ครับ

The post 5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนัก เหตุผวาภาวะถดถอยสหรัฐฯ ฉุดลงทุน https://thestandard.co/the-us-stock-market-fell-sharply/ Tue, 06 Aug 2024 02:24:22 +0000 https://thestandard.co/?p=967689

ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐฯ ปิดตลาดในแดนลบเมื่อจันทร์ที […]

The post ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนัก เหตุผวาภาวะถดถอยสหรัฐฯ ฉุดลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐฯ ปิดตลาดในแดนลบเมื่อจันทร์ที่ผ่านมา (5 สิงหาคม) ส่งผลให้ 3 ดัชนีสำคัญปรับตัวร่วงลงอย่างต่อเนื่อง และร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2022

 

สาเหตุหลักใหญ่สืบเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ หลังมีรายงานตัวเลขอ่อนแอเกินคาดในตลาดแรงงานและภาคการผลิต

 

โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ที่เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (5 สิงหาคม) ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.0 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 55.3 ในเดือนมิถุนายน

 

ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 114,000 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 177,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 179,000 ตำแหน่งในเดือนมิถุนายน ขณะที่อัตราว่างงานพุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 3 ซ้ำเติมตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐฯ หลังการเปิดเผยภาคการผลิตที่อ่อนแอ และจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาด

 

รายงานระบุว่า นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังสูญเสียโมเมนตัมการเติบโตอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาดไว้ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ตัดสินใจผิดพลาดในการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้คงที่ในการประชุมนโยบายครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมองว่าความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้าเกินไป

 

ทั้งนี้ ดัชนี CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความกลัวของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 65 เมื่อวันจันทร์ (5 สิงหาคม) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2022 หลังจากอยู่ที่ระดับ 23 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 สิงหาคม) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดิ่งลง 1,033.99 จุดหรือ 2.6% ปิดที่ 38,703.27 จุด 

 

ส่วนดัชนี S&P 500 ร่วง 160.23 จุดหรือ 3.00% มาอยู่ที่ 5,186.33 จุด และดัชนี NASDAQ Composite ลดลง 576.08 จุด หรือ 3.43% ปิดที่ 16,200.08 จุด

 

รายงานระบุว่า บรรดานักลงทุนเริ่มเพิ่มน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในการประชุมที่เหลือในปีนี้ ตั้งแต่ที่มีการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่อ่อนแอเมื่อวันศุกร์ (2 สิงหาคม) โดยคาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% จำนวน 2 ครั้ง และ 0.25% จำนวน 1 ครั้ง รวมเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1.25% ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed แตะระดับ 4.00-4.25% ในช่วงสิ้นปี 2024 จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 5.25-5.50%

 

โดย FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 99.5% ที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเดือนกันยายน

 

Austan Goolsbee ประธาน Fed สาขาชิคาโก ยอมรับว่า Fed ควรมีมาตรการตอบรับต่อสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอในเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยไม่ควรที่จะเข้มงวดเกินไปในขณะนี้ พร้อมทั้งย้ำว่า หน้าที่หลักของ Fed ในขณะนี้ก็คือ การทำให้การจ้างงานอยู่ในระดับสูงสุด รวมทั้งรักษาเสถียรภาพของราคาและระบบการเงิน ดังนั้น ถ้าสถานการณ์โดยรวมเริ่มส่งสัญญาณแย่ Fed ก็ไม่ลังเลที่จะทำการแก้ไข พร้อมยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลที่ Fed จะยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด หากว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังอยู่ในภาวะถดถอย

 

ขณะเดียวกัน รายงานระบุว่า การปรับตัวลดลงอย่างหนักของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเมื่อวันจันทร์ (5 สิงหาคม) นอกจากเป็นผลจากการความกังวลเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยแล้ว ยังเป็นผลจากการที่นักลงทุนแห่เทขายหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี นำโดย Apple ที่ร่วงหนักถึง 4.8% หลัง Berkshire Hathaway ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ประกาศขายหุ้นของ Apple ครึ่งหนึ่งที่บริษัทถือครองอยู่ บวกกับรายงานผลประกอบการของบริษัทที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

โดยหุ้นของ Tesla, Alphabet และ Amazon ต่างร่วงลงมากกว่า 4% ส่วนหุ้นของ NVIDIA ร่วงลง 7% ด้าน Microsoft และ Meta Platforms ลดลง 3%

 

หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลงจากการเทขายของบรรดานักลงทุนที่กังวลว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในสหรัฐฯ จะกระทบการใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

 

ข้อมูลจาก LSEG ประเมินว่า หุ้น 7 นางฟ้า (Magnificent 7) กำลังจะสูญเสียมูลค่าตลาดหุ้นประมาณ 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเซสชันนี้

 

ทั้งนี้ การเทขายอย่างหนักต่อเนื่องติดต่อกันเป็นวันที่สาม เป็นผลจากรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สะท้อนความอ่อนแอของสหรัฐฯ ซึ่งผลักดันให้นักลงทุนทั่วโลกแห่เทขายหุ้นและหันเข้าหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัย รวมถึงเพิ่มน้ำหนักที่ Fed จะดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเทขายอย่างหนักในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่เมื่อพิจารณาจากต้นปีพบว่า หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยียังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยหุ้นของ NVIDIA มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในปีนี้ ขณะที่ Microsoft และ Amazon ยังคงเพิ่มขึ้น 5% และ Apple เพิ่มขึ้น 7%

 

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งชี้ว่า การลดลงของหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีเมื่อวันจันทร์ (5 สิงหาคม) อาจถือเป็นโอกาสเข้าซื้อหุ้น Big Tech ในราคาที่น่าสนใจ โดยชี้ให้เห็นถึงผลตอบแทนระยะยาวที่สามารถคาดหวังได้จากการลงทุนด้าน AI รวมถึงตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแกร่งของบริษัทเหล่านี้

 

อ้างอิง:

The post ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนัก เหตุผวาภาวะถดถอยสหรัฐฯ ฉุดลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทคนิคจัดพอร์ตไตรมาส 3 รับมือความไม่แน่นอน https://thestandard.co/q3-portfolio-management-techniques/ Tue, 16 Jul 2024 07:28:21 +0000 https://thestandard.co/?p=958592 เทคนิคจัดพอร์ตไตรมาส 3 รับมือความไม่แน่นอน

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 การ จัดพอร์ต ของนักลงทุนควรจับ […]

The post เทคนิคจัดพอร์ตไตรมาส 3 รับมือความไม่แน่นอน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทคนิคจัดพอร์ตไตรมาส 3 รับมือความไม่แน่นอน

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 การ จัดพอร์ต ของนักลงทุนควรจับตา 3 ประเด็นหลักที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ 

 

  1. การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะการเลือกตั้งยุโรปช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผลการเลือกตั้งที่ออกมาอาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนด้านนโยบายตามมา เช่นเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่ถือเป็นความไม่แน่นอนหลักสำหรับเศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปีนี้เช่นกัน
  2. ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีน ที่แม้จะดีขึ้นในระยะสั้น แต่ระยะปานกลางมีแนวโน้มชะลอตัวจากปัญหาเชิงโครงสร้าง
  3. ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่แม้จะลดลงแต่ยังไม่หมดไป โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้า

 

หากผู้ลงทุนต้องการให้พอร์ตลงทุนรับมือกับความเสี่ยงจากทั้ง 3 ประเด็นหลักนี้ รวมถึงพร้อมรับสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต SCB CIO มองว่า ลำดับแรกเลยคือ ผู้ลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

ในกรณีที่ผู้ลงทุนรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำ เราแนะนำให้ลงทุนบนพอร์ตลงทุนระยะยาว 1 ปีขึ้นไป (Core Portfolio) เพียงอย่างเดียวและภายใต้พอร์ตลงทุนนี้ เน้นที่การลงทุนเพื่อสร้างกระแสเงินสด ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก 

 

ส่วนในกรณีที่ผู้ลงทุนรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง ควร จัดพอร์ต ลงทุนด้วยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วน เงินลงทุนส่วนแรกใช้สำหรับการลงทุนบน Core Portfolio เน้นการลงทุนระยะยาว โดยในพอร์ตลงทุนนี้จะเน้นเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ไม่ต้องปรับพอร์ตลงทุนบ่อยครั้ง เพื่อคาดหวังผล 3 วัตถุประสงค์หลักจากการลงทุน ได้แก่ 

 

  1. สร้างกระแสเงินสดผ่านการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชนคุณภาพสูง (Investment Grade) ระยะสั้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ เนื่องจากตลาดตราสารหนี้ยังมีความเสี่ยงจำกัด หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง และผลตอบแทนยังอยู่ในระดับสูงเทียบกับอดีต
  2. สร้างการเติบโตให้พอร์ตด้วยการลงทุนในหุ้นที่ต้านทานได้ทุกสภาวะ เช่น หุ้นกลุ่ม Quality Growth ที่มีงบการเงินแข็งแกร่ง มีกำไรต่อเนื่อง มีเงินทุนไหลเข้า และราคายังถูก ได้แก่ หุ้นสหรัฐฯ กลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากหุ้นขนาดใหญ่ที่สุด 7 ตัวในตลาด (Magnificent 7) ที่ยังปรับตัวขึ้นตาม Magnificent 7 ไม่ทันในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะหุ้นที่สอดรับกับแนวโน้มการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) รวมถึงหุ้นอินเดีย และหุ้นจีน A-Share  
  3. ป้องกันความเสี่ยงและรักษาสมดุลให้พอร์ตจากเงินเฟ้อ รวมถึงความเสี่ยงประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกในกลุ่ม Private Credit และทองคำ 

 

ขณะที่เงินลงทุนส่วนที่ 2 เป็นการลงทุนผ่านพอร์ตระยะสั้น ลงทุนน้อยกว่า 1 ปี (Opportunistic Portfolio) เพื่อเพิ่มโอกาส โดยปัจจุบันเราแนะนำทยอยลงทุนในตลาดหุ้นจีน H-Share ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ตลาดหุ้นเวียดนาม และตลาดหุ้นยุโรปอยู่

 

สำหรับตัวอย่างกรณีที่ผู้ลงทุนรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้สูง แนะนำให้ลงทุนบน Core Portfolio ไม่น้อยกว่า 80% และลงทุนผ่าน Opportunistic Portfolio ไม่เกิน 20% 

 

โดยภายใต้ Core Portfolio จะมีการจัดสรรสัดส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ใกล้เคียงเงินสด 5%, ตราสารหนี้ 32%, สินทรัพย์ทางเลือก ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือกองทุนผสม 4%, หุ้นไทย 7%, หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว 40%, หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่ 7% และสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ 5%  

 

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง แต่ไม่เชี่ยวชาญหรือไม่มีเวลาในการจัดสรรสัดส่วนในแต่ละสินทรัพย์ลงทุนผ่าน Core Portfolio เอง สามารถลงทุนผ่านกองทุนผสมที่มีผู้จัดการกองทุนคอยปรับพอร์ตตามสถานการณ์แทนได้ เช่น กองทุน SCBGA(A) ซึ่งเป็นตัวแทนของ Core Portfolio ได้ดี เนื่องจากภายในกองทุนแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ

 

  1. ลงทุนกองทุนหลัก (Core Fund) ผ่านกองทุนผสม JB Dynamic Asset Allocation Fund สัดส่วนประมาณ 70% ขณะที่อีกประมาณ 30% ลงทุนกองทุนเสริม (Satellites) เน้นสร้างสมดุลให้กับพอร์ตโดยรวม ซึ่งคัดเลือกกองทุนที่ลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ 

 

นอกจากนี้เรามองว่าในสภาวะตลาดการลงทุนที่ยังมีความผันผวน การลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ (Structured Product) ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับลูกค้ากลุ่ม High Net Worth Individuals โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงรับมือกับความผันผวนได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ Inverse Floater THOR Complex Return ที่มีระยะเวลาลงทุน 1 ปี ระดับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ มีการแบ่งเงินลงทุน 2 ส่วน  

 

ส่วนแรก จะลงทุนผ่านตราสารหนี้และเงินฝากคุณภาพดี เมื่อครบกำหนดอายุกองทุน จะได้รับเงินลงทุนส่วนนี้คืนพร้อมผลตอบแทน ซึ่งเป็นส่วนที่ลดความเสี่ยงจากการขาดทุนเงินต้นได้ 

 

ส่วนที่สอง ผลตอบแทนส่วนเพิ่มลงทุนในสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap: IRS) โดยอ้างอิงแบบผกผันกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนระยะข้ามคืนระหว่างธนาคาร (Thai Overnight Repurchase Rate: THOR) ที่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยส่วนนี้จะให้ผลตอบแทนแบบลอยตัวสวนทางกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง มีการกำหนดอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงของการจ่ายผลตอบแทนไว้ โดยจะพิจารณาระดับเพดานอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ทุก 3 เดือน  

 

หากผู้ลงทุน จัดพอร์ต ลงทุนสอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เน้นการลงทุนระยะยาว กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย รวมถึงปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์แล้ว ไม่ว่าจะมีความเสี่ยงจากการลงทุนอะไรเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ในที่สุดพอร์ตการลงทุนก็จะผ่านพ้นความเสี่ยงและมุ่งหน้าสู่เป้าหมายการลงทุนที่เราวางไว้ได้ 

 

คำเตือน: 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุน SCBGA(A) มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง 
  • การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูง มีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนลงทุน
  • หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเป็นตราสารที่มีความซับซ้อนมากกว่าหุ้นกู้ทั่วไป เนื่องจากเป็นตราสารที่ประกอบด้วยตราสารหนี้และอนุพันธ์แฝง (Embedded Derivatives) โดยการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง จะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น ความเสี่ยงของปัจจัยอ้างอิง และความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสาร 
  • ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน หากหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงชุดใดไม่ได้มีการคุ้มครองเงินต้นในจำนวนร้อยละ 100% ของมูลค่าที่ตราไว้ นอกจากนั้นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงยังเป็นตราสารที่มีสภาพคล่องต่ำและมีตลาดรองที่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • การลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนี้เป็นธุรกรรมที่ไม่ใช่ ‘เงินฝาก’ และธุรกรรมการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างใด 
  • เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน / หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด 
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777

The post เทคนิคจัดพอร์ตไตรมาส 3 รับมือความไม่แน่นอน appeared first on THE STANDARD.

]]>
บรรดาซีอีโอหุ้นกลุ่ม Magnificent 7 แบ่งขายหุ้นท่ามกลางตลาดอันร้อนแรง https://thestandard.co/magnificent-7-tech-ceos-sell-shares-hot-market/ Sun, 19 May 2024 05:34:47 +0000 https://thestandard.co/?p=935313 Magnificent 7

หุ้นกลุ่ม Magnificent 7 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างน่าประทับใจใ […]

The post บรรดาซีอีโอหุ้นกลุ่ม Magnificent 7 แบ่งขายหุ้นท่ามกลางตลาดอันร้อนแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Magnificent 7

หุ้นกลุ่ม Magnificent 7 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างน่าประทับใจในปีที่ผ่านมา โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากถึง 112% และยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับดัชนี S&P 500 อีกด้วย ตลาดกระทิงครั้งนี้เริ่มอ่อนแรงลงแล้วหรือไม่จากการที่นักวิเคราะห์ลดราคาเป้าหมายราคาหุ้นหลายตัวในกลุ่มนี้ลง และผู้บริหารหลายคนก็ทยอยขายหุ้นในกลุ่ม Magnificent 7 ออกไป หลังจากที่ราคาหุ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ตลอดกาลไปก่อนหน้านี้

 

การขายหุ้นของผู้บริหารกำลังบ่งบอกถึงอะไร 

 

ผู้บริหารและกรรมการเกือบสิบคนของบริษัทต่างๆ เพิ่มการขายหุ้นเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากที่ไม่ได้ลดสัดส่วนการลงทุนเป็นเวลา 9 ปี จากข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนกำลังจับตามองการขายหุ้นของ เจฟฟ์ เบโซส์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เป็นอย่างมาก เนื่องจากในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี 2023 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ขายหุ้น Meta Platforms Inc. เกือบ 500 ล้านดอลลาร์ และ เจฟฟ์ เบโซส์ ขายหุ้น Amazon อีก 14 ล้านหุ้น มูลค่าประมาณ 2.4 พันล้านดอลลาร์ ทำให้จำนวนหุ้นที่เบโซส์ขายทั้งหมดคิดเป็นประมาณ 50 ล้านหุ้น นี่อาจมาจากการท่ีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

 

ซันดาร์ พิชัย ผู้บริหารระดับสูงของ Alphabet Inc. ขายหุ้นในบริษัทแม่ของ Google ในปีนี้มากกว่าในปี 2023 ทั้งหมด โดยมีรายได้รวม 30 ล้านดอลลาร์จากการขายเกือบ 20 รายการที่ยื่นในเดือนนี้ การขายครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่หุ้น Alphabet ปรับตัวขึ้นมากกว่า 90% นับตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว นอกจากนี้ มาร์ก เพอร์รี ผู้อำนวยการของ NVIDIA Corp. ก็ขายหุ้นในปีนี้มากกว่าใน 2 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย 

 

ความเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจเป็นการตอกย้ำว่า คนในซิลิคอนแวลลีย์กำลังสร้างรายได้จากการถือครองหุ้นของพวกเขา เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดตลอดกาลครั้งใหม่ โดย NVIDIA เพิ่มขึ้นมากถึง 237% ในปี 2023 และเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีที่สุดในบรรดาหุ้น Magnificent 7

 

โดยทั่วไปหากซีอีโอซื้อหุ้นมันแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในศักยภาพของการเติบโตในอนาคตของบริษัทนั้น อาจเป็นไปได้ว่ามุมมองของมหาเศรษฐีดังกล่าวข้างต้นมีมุมมองที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

 

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า การขายหุ้นของผู้บริหารอาจไม่ใช่สัญญาณที่ดี ท่ามกลางความไม่แน่นอนมากมายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงอยู่ นักวิเคราะห์จาก Hartford Gold มองว่า การขายหุ้นจำนวนมากอาจเป็นสัญญาณของเศรษฐกิจตกต่ำที่กำลังจะเกิดขึ้น หรืออาจเป็นการขายหุ้นออกไปก่อนที่ฟองสบู่เทคโนโลยีจะแตก

 

สรุปผลประกอบการไตรมาสแรกของหุ้นกลุ่ม Magnificent 7

 

ฤดูกาลแห่งการประกาศผลประกอบการใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว โดยบริษัทราวๆ 80% ที่อยู่ในดัชนี S&P 500 ประกาศรายได้ในไตรมาสแรกของปี 2024 ไปแล้ว และดัชนีอยู่ในทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 ขณะที่หุ้นที่อยู่ในกลุ่ม Magnificent 7 เหลือเพียง NVIDIA Corp. ที่จะประกาศผลประกอบการในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ขณะที่หุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มอย่าง Meta, Amazon, Microsoft, Alphabet, Apple และ Tesla ได้เผยแพร่รายงานผลประกอบการไปแล้วเรียบร้อย

 

Meta รายงานรายได้ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบรายปีเป็น 3.64 หมื่นล้านดอลลาร์ และสูงกว่าประมาณการของนักวิเคราะห์ กำไรต่อหุ้น (EPS) ของบริษัทเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเป็น 4.71 ดอลลาร์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 4.32 ดอลลาร์

 

แม้ว่ารายงานทางการเงินจะออกมาดีกว่าที่คาดไว้ในไตรมาสแรกของปี 2024 แต่บริษัทกำลังเผชิญกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta กำลังมุ่งเน้นการขยายธุรกิจไปสู่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Metaverse แต่นักลงทุนดูจะไม่มั่นใจกับอนาคตของบริษัทนัก สิ่งนี้ทำให้หุ้นของ Meta ลดลงเกือบ 7% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา และบริษัทสูญเสียมูลค่าตลาดไป 1.32 แสนล้านดอลลาร์หลังผลประกอบการ ขณะที่นักวิเคราะห์หลายแห่งก็ลดราคาเป้าหมายลง

 

Apple ทำได้เกินความคาดหมายในรายงานผลประกอบการรายไตรมาส โดยมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.53 ดอลลาร์ เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 1.50 ดอลลาร์ บริษัทรายงานรายได้อยู่ที่ 9.08 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 9.032 หมื่นล้านดอลลาร์ การประกาศแผนการซื้อคืนหุ้นมูลค่ามหาศาลมูลค่า 1.1 แสนล้านดอลลาร์ได้รับความสนใจอย่างมาก แม้ว่า Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะขายหุ้น Apple ไป 13% ส่งผลให้การซื้อ-ขายลดลงเล็กน้อย แต่การตอบรับของตลาดโดยรวมต่อรายงานดังกล่าวก็เป็นไปในเชิงบวกอย่างท่วมท้น โดยราคาหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 8.32%

 

Tesla สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุนในไตรมาสนี้ แม้ว่าจะถูกคาดการณ์ว่าการเติบโตของบริษัทเริ่มชะลอตัวลงและผลการดำเนินงานรายไตรมาสจะติดลบก็ตาม หุ้นฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการที่ อีลอน มัสก์ ประกาศจะผลิตรถยนต์ราคาไม่แพงและความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่กับ Baidu ในการผลิตรถยนต์ไร้คนขับในจีน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์เกิดความตื่นตัวกับ ‘Musk Effect’ และนักลงทุนได้ตอบรับรายงานรายไตรมาสอย่างกระตือรือร้น ส่งผลให้หุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 14%

 

Microsoft และ Amazon เปิดเผยรายได้และผลประกอบการที่ดีกว่าคาดเมื่อเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นหลังไตรมาสยังไม่ฟื้นตัวในทางบวก อาจเนื่องมาจากความคาดหวังที่สูงอยู่แล้ว

 

Alphabet รายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง ราคาหุ้นยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย ดูเหมือนว่า Alphabet จะใช้ประโยชน์จากเทรนด์ AI ที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้บริษัทเติบโตอย่างโดดเด่นและหุ้นพุ่งขึ้นเกือบ 8% หลังจากการเปิดเผยรายได้ บริษัทรายงานผลประกอบการที่สูงกว่าประมาณการของนักวิเคราะห์ โดยเห็นถึงผลกำไรที่พุ่งสูงขึ้นในกลุ่มคลาวด์และประกาศการจ่ายเงินปันผลครั้งแรก

 

รายได้ (Revenue) ของ Alphabet เพิ่มขึ้น 15% จาก 6.979 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2022 นอกจากนี้บริษัทรายงานรายรับสุทธิ (Net Income) เพิ่มขึ้น 57% เป็น 2.366 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 1.89 ดอลลาร์ต่อหุ้น จาก 1.505 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 1.17 ดอลลาร์ต่อหุ้นในปีก่อนหน้า การเติบโตที่น่าประทับใจของบริษัททำให้มูลค่าตลาดของ Alphabet ทะลุ 2 ล้านล้านดอลลาร์ไปแล้วเรียบร้อย

 

นอกจากนี้ Alphabet ยังอนุมัติเงินสดปันผล 20 เซนต์ต่อหุ้น ซึ่งจะจ่ายในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ ให้กับผู้ถือหุ้นที่มีประวัติการถือหุ้นจนถึงวันที่ 10 มิถุนายน บริษัทยังเผยด้วยว่า มีความตั้งใจที่จะจ่ายเงินปันผลเงินสดรายไตรมาสในอนาคต

 

NVIDIA เป็นหุ้นตัวสุดท้ายในกลุ่ม Magnificent 7 ที่ยังไม่มีการประกาศรายได้ในไตรมาสนี้ โดยบริษัทจะประกาศในวันที่ 22 พฤษภาคม โดยมีประมาณการกำไรต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่ 5.55 ดอลลาร์ต่อหุ้น และประมาณการรายได้อยู่ที่ 24.4 พันล้านดอลลาร์

 

อ้างอิง:

The post บรรดาซีอีโอหุ้นกลุ่ม Magnificent 7 แบ่งขายหุ้นท่ามกลางตลาดอันร้อนแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>