Jensen Huang – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 04 Dec 2024 06:06:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: ถอดรหัสแนวคิดพลิกชีวิต Jensen Huang สู่ผู้นำ AI โลก | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-04122024-3/ Wed, 04 Dec 2024 06:06:32 +0000 https://thestandard.co/?p=1015839 NVIDIA

เนื่องในโอกาสที่ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Jensen Huan […]

The post ชมคลิป: ถอดรหัสแนวคิดพลิกชีวิต Jensen Huang สู่ผู้นำ AI โลก | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
NVIDIA
  • เนื่องในโอกาสที่ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Jensen Huang  ซีอีโอ NVIDIA เดินทางมาเยือนไทย THE STANDARD WEALTH จะพาไปย้อนดูแนวคิดการทำงานและการใช้ชีวิตของซีอีโอที่พลิกตัวเองจากเด็กล้างจานสู่ผู้นำที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ถอดรหัสแนวคิดพลิกชีวิต Jensen Huang สู่ผู้นำ AI โลก | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
ถอดรหัส 5 แนวคิดพลิกชีวิต Jensen Huang สู่ผู้นำ AI ที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของโลก https://thestandard.co/5-ideas-that-changed-jensen-huangs-life/ Tue, 03 Dec 2024 14:41:25 +0000 https://thestandard.co/?p=1015674 Jensen Huang

หากพูดถึงผู้นำบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ […]

The post ถอดรหัส 5 แนวคิดพลิกชีวิต Jensen Huang สู่ผู้นำ AI ที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Jensen Huang

หากพูดถึงผู้นำบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ Generative AI กลายเป็นเทรนด์หลักของโลก เชื่อว่าใครหลายคนคงจะรู้จักกับชื่อของ เจนเซน หวง (Jensen Huang) ซีอีโอของบริษัท NVIDIA ผู้ออกแบบชิปเซมิคอนดักเตอร์ โดยเฉพาะหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPUs) รายใหญ่ ซึ่งกลายเป็นสินค้าที่เปรียบได้กับ ‘กระดูกสันหลัง’ ที่ขับเคลื่อนพัฒนาการและการเติบโตที่ AI ขาดไม่ได้

 

เนื่องในโอกาสการเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ เจนเซน หวง THE STANDARD WEALTH อยากพาไปย้อนดู 5 แนวคิดการทำงานและการใช้ชีวิตของซีอีโอที่พลิกผันตัวเองจากเด็กล้างจาน สู่ผู้นำที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

 

  1. “ผมต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้คนเก่งอยากมาทำงานตามฝันของพวกเขา”

 

หวงเชื่อว่าในฐานะผู้นำ การทำให้พนักงานที่เก่งอยากมาทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญในการยกระดับองค์กร โดยปัจจัยที่จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเชิงบวกคือ การสื่อสารอย่างเปิดกว้างที่มีคนหลายคนร่วมฟังและร่วมถกหาทางแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน 

 

  1. “ผมแทบจะไม่ไล่คนออก ในทางกลับกัน ผมพยายามทำให้คนเจ็บปวดที่สุด เพื่อนำเขาไปสู่ความสำเร็จ”

 

หวงกล่าวว่า เขาเคยเป็นแค่เด็กล้างจาน ล้างห้องน้ำ แต่วันนี้เขากลายมาเป็นซีอีโอของหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก เขาเชื่อในการให้โอกาสคนได้เรียนรู้ และเขาก็ไม่ชอบที่จะล้มเลิกกับการทุ่มเทแรงเพื่อพัฒนาคนของเขาให้มีความสามารถมากขึ้นได้ง่ายๆ

 

แทนที่จะไล่พนักงานออก หวงเลือกที่จะใช้เวลาพัฒนาพนักงานต่อไป แม้ว่าการพัฒนานั้นจะเต็มไปด้วยความกดดันและความตึงเครียด แต่นั่นคือหนทางในการผลักดันให้คนประสบความสำเร็จตามแบบฉบับของ เจนเซน หวง

 

  1. “ผมมีผู้ใต้บังคับบัญชา 60 คน แต่ผมไม่เคยประชุมแบบ 1 ต่อ 1 เลย”

 

หวงเล่าว่าเขาไม่เชื่อในระบบการคุยกันแบบ 1 ต่อ 1 เพราะทุกครั้งที่เขาต้องการจะประกาศข่าวหรือข้อมูลสำคัญ ทุกคนจะต้องรับรู้เท่ากัน เขาไม่เชื่อว่าข้อมูลใดๆ ควรจะมีคนที่รู้เรื่องอยู่แค่ 1-2 คน เพราะการที่ทุกคนรับรู้คือการที่ทุกคนช่วยกันร่วมแก้ปัญหาได้

 

  1. “ยอมถอยให้เป็น การรู้ว่าต้องสละอะไรคือกุญแจสู่ความสำเร็จ”

 

เป้าหมายของ NVIDIA คือการสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปทำไม่ได้ ซึ่ง NVIDIA ก็ควรทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดเพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นจริง

 

แม้ว่าตลาดสมาร์ทโฟนจะใหญ่ระดับหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ NVIDIA ก็สามารถบุกเข้าไปเพื่อพยายามแย่งส่วนแบ่งจากบริษัทอื่น แต่หวงมองว่า การยอมละทิ้งตลาดสมาร์ทโฟนไปสร้างตลาดใหม่ที่ยังแทบไม่มีมูลค่าคือตัวเลือกที่ดีกว่า ถึงจะเป็นการตัดสินใจที่เสี่ยง แต่ท้ายที่สุดการเลือกทิ้งและเดิมพันให้ถูกก็นำมาสู่ความสำเร็จของ เจนเซน หวง และ NVIDIA

 

  1. “ผมหวังให้คุณเจอกับความเจ็บปวดและความทุกข์อย่างท่วมท้น”

 

นี่ไม่ใช่คำด่าทอ แต่เป็นวิธีอวยพรความสำเร็จตามตำราของ เจนเซน หวง โดยเขาเล่าถึงวลียอดฮิตที่ถูกกล่าวต่อๆ กันมาว่า “เราควรเลือกงานตามความชอบของตัวเอง” กำลังมีบางอย่างตกหล่นไป เพราะส่วนใหญ่แล้วคนฟังจะเชื่อมโยง ‘ความชอบ’ กับ ‘ความสุข’ ว่าเป็นของคู่กัน

 

แต่ความจริงแล้วเขาเชื่อว่าถ้าต้องการจะสร้างสิ่งใดก็ตามที่ยิ่งใหญ่ สิ่งนั้นมักแลกมาด้วยความลำบาก

 

“หลายคนเข้าใจผิด คิดว่างานที่ดีที่สุดคืองานที่นำมาซึ่งความสุข แต่มันไม่ใช่เลย คุณต้องผ่านความทุกข์ การดิ้นรน และความพยายาม คุณต้องทำสิ่งที่ยากลำบากและฝ่าฟันมัน เพื่อที่จะได้ลิ้มรสความสำเร็จ”

 

หากพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ความลำบากเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้หากเราต้องการสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่และมีความหมายต่อสังคม

 

NVIDIA เตรียมเผยความร่วมมือกับ SIAM.AI CLOUD ผลักไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล

 

ในวันที่ 4 ธันวาคม 2567 เจนเซน หวง จะขึ้นเวทีเสวนาร่วมกับ รัตนพล วงศ์นภาจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SIAM.AI CLOUD เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์และแนวคิดเบื้องหลังความร่วมมือ พร้อมจะมีการฉายภาพโอกาสการสร้าง AI แห่งชาติของไทย (Sovereign AI) ที่จะทำให้ธุรกิจไทยสามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลดการพึ่งพานวัตกรรมของต่างประเทศเพียงอย่างเดียว

 

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดแสดงนวัตกรรมที่พัฒนาโดย SIAM.AI CLOUD เช่น Siam GPT Tourism Chatbot, Siam GPT Emergency Response Solution และนวัตกรรม AI อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

 

การมาเยือนครั้งนี้ของ เจนเซน หวง และการขยับตัวของประเทศไทย ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยกับประเทศอาเซียนอื่นๆ

 

อ้างอิง:

 

 

The post ถอดรหัส 5 แนวคิดพลิกชีวิต Jensen Huang สู่ผู้นำ AI ที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA เข้าพบนายกฯ ลุยหารือลงทุน AI ดันไทยขึ้นแท่นผู้นำในระดับภูมิภาคและโลก https://thestandard.co/jensen-huang-nvidia-ai-investment-thailand/ Tue, 03 Dec 2024 11:45:09 +0000 https://thestandard.co/?p=1015585 Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA เข้าพบนายกฯ

แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบหารือประธานบริษัทยักษ์ใ […]

The post Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA เข้าพบนายกฯ ลุยหารือลงทุน AI ดันไทยขึ้นแท่นผู้นำในระดับภูมิภาคและโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA เข้าพบนายกฯ

แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบหารือประธานบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง NVIDIA ย้ำโอกาสสำคัญของการพัฒนา AI ในไทย ร่วมเสริมสร้างความพร้อมและศักยภาพไทยในการเป็นผู้นำด้าน AI ระดับภูมิภาคและโลก

 

วันนี้ (3 ธันวาคม) เวลา 13.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบ เจนเซน หวง (Jensen Huang) ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท NVIDIA โดย จิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่ได้พบผู้ก่อตั้งบริษัท NVIDIA ซึ่งถือเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การพบหารือในครั้งนี้จะเป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความร่วมมือและแสวงหาความร่วมมือในอนาคต เพื่อบรรลุเป้าหมายของเราร่วมกัน โอกาสนี้นายกรัฐมนตรียังยินดีกับความร่วมมืออย่างเป็นทางการในการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกับ NVIDIA ด้วย

 

ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท NVIDIA กล่าวว่า การเดินทางมาไทยในครั้งนี้ก็เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งนี้ บริษัทมีความร่วมมือและให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพในไทยกว่า 50 ราย และมหาวิทยาลัยไทยอีกกว่า 40 แห่ง โดยหวังว่าจะมีส่วนช่วยจุดประกายและเสริมสร้างศักยภาพของการพัฒนา AI ในไทยมากยิ่งขึ้น

 

ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือในประเด็นต่างๆ ร่วมกัน ดังนี้

 

ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่า AI มีความสำคัญต่อขีดความสามารถในการแข่งขันและความมั่นคงของประเทศ ช่วยให้ประเทศสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างงาน และปกป้องประชาชน ซึ่งบริษัท NVIDIA พร้อมทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ระดับโลก รวมทั้งแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเพื่อสนับสนุนโครงการด้าน AI ของไทย

 

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการบริหาร, ผู้ก่อตั้งบริษัท NVIDIA เห็นถึงความสำคัญของบุคลากรด้าน AI ที่ถือเป็นหัวใจของอุตสาหกรรม AI การลงทุนด้านการศึกษาและการฝึกอบรมด้าน AI จะช่วยให้ไทยพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะให้สามารถขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ได้ โดย NVIDIA พร้อมสำรวจโอกาสความร่วมมือในด้านนี้

 

นายกรัฐมนตรียังกล่าวด้วยว่า ไทยให้ความสำคัญกับด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะเพื่อนำ AI ไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ โดยรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะให้ AI เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี พร้อมหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมืออย่างลึกซึ้งต่อไป

 

ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท NVIDIA เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสามารถของไทยในการพัฒนา AI โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานข้อมูล ทรัพยากรบุคคล และเครือข่ายธุรกิจภายในประเทศ ให้สอดคล้องกับภาษาถิ่น วัฒนธรรม และแนวปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพ เกษตรกรรมอัจฉริยะ สำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และเห็นว่าไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถจำนวนมาก จึงหวังว่าจะใช้โอกาสนี้เดินหน้าความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว 

 

เจนเซน หวง ขึ้นเวทีใหญ่ 4 ธ.ค. นี้ 

 

ล่าสุด SIAM.AI CLOUD ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับพาร์ตเนอร์ระดับโลกอย่าง NVIDIA ในฐานะบริษัทสัญชาติไทยเจ้าแรกที่ได้เป็น NVIDIA Cloud Partner (NCP) เพื่อร่วมขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยบนเวทีโลก

 

โดย SIAM.AI CLOUD จะจัดงานอีเวนต์ ‘AI Vision for Thailand’ ภายใต้ธีม ‘The First Step for Thailand Sovereign AI’ เพื่อฉายภาพอนาคตแห่งการพัฒนา Sovereign AI หรือ ‘AI แห่งชาติของคนไทย’ ที่จะผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรม AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

โดยมีแขกคนสำคัญจากบริษัทชั้นนำของไทย และเปิดโอกาสสำคัญในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรและผลักดัน AI ให้กลายเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาประเทศในอนาคต

 

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก เจนเซน หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ NVIDIA ขึ้นเวทีเสวนาร่วมกับ รัตนพล วงศ์นภาจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SIAM.AI CLOUD เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์และแนวคิดเบื้องหลังความร่วมมือ พร้อมการจัดแสดงนวัตกรรมล้ำสมัยที่พัฒนาโดย SIAM.AI CLOUD เช่น Siam GPT Tourism Chatbot, Siam GPT Emergency Response Solution และนวัตกรรม AI อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

 

งาน AI Vision for Thailand จะจัดขึ้นวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรม Park Hyatt Bangkok เวลา 12.00-17.00 น. (สำหรับแขกผู้ได้รับเชิญเท่านั้น) 

 

ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและไฮไลต์สำคัญหลังจบงานได้ที่ THE STANDARD

 

The post Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA เข้าพบนายกฯ ลุยหารือลงทุน AI ดันไทยขึ้นแท่นผู้นำในระดับภูมิภาคและโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
NVIDIA ร่วมมือกับมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเอเชีย เล็งปฏิวัติโครงสร้างพื้นฐาน-ปั้นอินเดียเป็นผู้ส่งออก AI https://thestandard.co/nvidia-ambani-india-ai/ Fri, 25 Oct 2024 06:42:34 +0000 https://thestandard.co/?p=999986

เจนเซน หวง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท NVIDIA จับมือเ […]

The post NVIDIA ร่วมมือกับมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเอเชีย เล็งปฏิวัติโครงสร้างพื้นฐาน-ปั้นอินเดียเป็นผู้ส่งออก AI appeared first on THE STANDARD.

]]>

เจนเซน หวง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท NVIDIA จับมือเป็นพันธมิตรกับ มูเกช อัมบานี มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชียเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และกระตุ้นการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

 

ผู้บริหารทั้งสองขึ้นเวทีร่วมกันในงานประชุมด้าน AI ของ NVIDIA ที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (24 ตุลาคม) และกล่าวว่าศูนย์ข้อมูลหลักแห่งใหม่ของ Reliance Industries Ltd. ของ มูเกช อัมบานี ในอินเดีย เตรียมจะใช้ชิป Blackwell รุ่นล่าสุดจาก NVIDIA

 

นอกจากนี้ NVIDIA ยังจับมือกับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของอินเดีย เช่น Infosys Ltd. และ Tata Consultancy Services Ltd.

 

อินเดีย ประเทศที่มีประชากร 1.4 พันล้านคน ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้าน AI โดยการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เกษตรกรรม การศึกษา และการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 

แม้ว่าอินเดียจะเป็นเพียงตลาดที่สร้างรายได้ไม่เยอะ ณ ตอนนี้ แต่บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง NVIDIA, Microsoft และ Meta ก็ต่างวางเดิมพันกับอินเดียที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็ว ซึ่งสามารถกลายมาเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ทดแทนจีนได้

 

เจนเซน หวง กล่าวว่า “ในอดีตอินเดียเคยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกซอฟต์แวร์ แต่ในอนาคตอินเดียจะส่งออก AI แทน”

 

นอกจากนี้ NVIDIA ยังกล่าวว่าจะช่วยเหลือ Tech Mahindra Ltd. ของอินเดียในการสร้างโมเดลภาษาฮินดีขนาดใหญ่ และทำงานร่วมกับบริษัท e-Commerce อย่าง Flipkart Private Ltd. ในระบบบริการลูกค้าแบบสนทนา พร้อมทั้งจะร่วมมือกับบริษัท Healthcare ของอินเดียเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยและการวิจัยอีกด้วย

 

NVIDIA ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านการเติบโตของ AI ทั่วโลกโดยจัดหาชิปให้กับบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยี เช่น Microsoft และ Google สำหรับใช้ในการพัฒนา AI เจนเซน หวง เดินทางไปทั่วโลกในปีนี้เพื่อผลักดันให้ประเทศต่างๆ และบริษัทต่างๆ นำเทคโนโลยี AI มาใช้ ซึ่งเขาเรียกมันว่า ‘การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่’

 

อินเดียกลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก เนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีนทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่ง NVIDIA เป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกจำกัดในการทำธุรกิจกับจีน

 

แม้ว่าอินเดียจะมีเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโต แต่โครงสร้างพื้นฐาน AI ของอินเดียยังอยู่ในจุดที่พัฒนาได้ต่อ โดยรัฐบาลอินเดียจัดสรรเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้โครงการ INDIAai เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่อระบบ AI และการนำเทคโนโลยีไปใช้เชิงพาณิชย์

 

นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของอินเดีย กำลังมองหาวิธีดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติรายใหญ่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อเพิ่มการลงทุนในประเทศ ซึ่งอินเดียก็ตั้งเป้าที่จะพาตัวเองให้เป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากอินเดียพยายามพึ่งพาตนเองในการผลิต โดย นเรนทรา โมดี ตั้งเป้าหมายการเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศจากมูลค่าปัจจุบันที่ประมาณ 1.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030

 

อ้างอิง:

The post NVIDIA ร่วมมือกับมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเอเชีย เล็งปฏิวัติโครงสร้างพื้นฐาน-ปั้นอินเดียเป็นผู้ส่งออก AI appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจนเซน หวง ซีอีโอ NVIDIA เตรียมเดินทางมาไทยด้วยตัวเอง พร้อมเผยแผนลงทุนธันวาคมนี้ https://thestandard.co/jensen-huang-nvidia-thailand-travel/ Tue, 22 Oct 2024 11:25:28 +0000 https://thestandard.co/?p=998971 เจนเซน หวง

Bloomberg รายงานว่า NVIDIA บริษัทผู้ออกแบบชิปเซมิคอนดัก […]

The post เจนเซน หวง ซีอีโอ NVIDIA เตรียมเดินทางมาไทยด้วยตัวเอง พร้อมเผยแผนลงทุนธันวาคมนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจนเซน หวง

Bloomberg รายงานว่า NVIDIA บริษัทผู้ออกแบบชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลกเตรียมประกาศแผนลงทุนในประเทศไทยช่วงเดือนธันวาคมนี้ หลังจากการเข้ามาลงทุน Data Center ของ Google และ Microsoft ที่ประกาศไปช่วงก่อนหน้านี้

 

พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผ่าน Bloomberg ว่า เจนเซน หวง ซีอีโอของ NVIDIA จะเดินทางมาเยือนไทยด้วยตัวเอง แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดการลงทุนที่ชัดเจน

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

พิชัยเชื่อว่าการเข้ามาลงทุนครั้งนี้ของ NVIDIA จะทำให้เม็ดเงินจากอุตสาหกรรมในแวดวงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทยอยเพิ่มขึ้นในอนาคต และจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่ดีท่ามกลางการแข่งขันชิงเงินลงทุนจากบริษัทบิ๊กเทคระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน

 

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยได้รับเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากในด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี Cloud และ Data Center โดยเริ่มจาก Amazon ที่ประกาศงบลงทุนราว 1.9 แสนล้านบาทเมื่อปี 2022 และ Google ที่ 3.3 พันล้านบาท รวมถึง Microsoft ที่มีแผนลงทุนเช่นกัน แม้จะยังไม่เปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจน

 

พิชัยกล่าวเพิ่มเติมกับ Bloomberg ว่า ความสนใจจาก NVIDIA และบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ในซัพพลายเชนน่าจะช่วยให้ระดับของเงินลงทุนกลับไปสู่ระดับก่อนการรัฐประหารในปี 2014 และผลักดันให้ประเทศไทยกอบกู้โอกาสที่เสียไปในช่วงเวลานั้นได้ 

 

นอกจากนี้ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐยังเผยว่า การลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของ Data Center และการผลิตแผงวงจรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2024 สัดส่วนการลงทุนเพิ่มขึ้น 42% จากปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 7.23 แสนล้านบาท

 

อ้างอิง:

The post เจนเซน หวง ซีอีโอ NVIDIA เตรียมเดินทางมาไทยด้วยตัวเอง พร้อมเผยแผนลงทุนธันวาคมนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Salesforce ร่วมมือกับ NVIDIA ดันการปฏิวัติ AI ระลอก 3 พัฒนาเอเจนต์อัจฉริยะที่ทำงานด้วยตัวเองได้ https://thestandard.co/salesforce-partners-with-nvidia-to-drive-ai-revolution/ Fri, 20 Sep 2024 07:07:10 +0000 https://thestandard.co/?p=985872

Salesforce และ NVIDIA ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อ […]

The post Salesforce ร่วมมือกับ NVIDIA ดันการปฏิวัติ AI ระลอก 3 พัฒนาเอเจนต์อัจฉริยะที่ทำงานด้วยตัวเองได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Salesforce และ NVIDIA ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ AI สำหรับองค์กร ที่ทั้งสองบริษัทปักธงไว้ว่า AI ดังกล่าวจะกลายเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาปลดล็อกอินไซต์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของ Salesforce

 

ความร่วมมือครั้งนี้ถูกประกาศขึ้นในงาน Dreamforce 2024 ณ ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาจากเอเจนต์ที่ Salesforce ระบุว่าสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์เข้ามาคอยสั่งการ (Autonomous Agents) ผ่านประสบการณ์การมีตัวแทนในรูปแบบอวาตาร์ที่โต้ตอบได้ (Interactive Avatar Experience)

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

การมาของนวัตกรรมเหล่านี้จะทำให้มีบทบาทในการช่วยงานหลายประเภท เช่น การรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน การคาดการณ์และปรับเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งตามข้อมูลสภาพอากาศ และให้แนวทางการแก้ไขปัญหากับลูกค้าได้ทันที ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์เหมือนการโต้ตอบกับมนุษย์มากขึ้น ด้วยการใช้ AI ที่สามารถประมวลผลได้หลายรูปแบบ ทั้งการพูดออกเสียง การแปลงข้อความเป็นคำพูด และการตอบสนองด้วยภาพตามบริบท

 

“ด้วยการร่วมมือกับ NVIDIA เรากำลังนำการปฏิวัติ AI ระลอก 3 ซึ่งกำลังเปลี่ยนจากผู้ช่วย (Copilot) ไปสู่ตัวแทนอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกันกับมนุษย์อย่างราบรื่น และนี่คือสิ่งที่ AI ควรจะเป็น” Marc Benioff ซีอีโอของ Salesforce กล่าว

 

ทางด้าน Jensen Huang ซีอีโอของบริษัทผู้ออกแบบชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลกอย่าง NVIDIA กล่าวว่า “ในอนาคต พนักงานทุกคนในทุกบริษัทจะได้ประโยชน์จากการมาของผู้ช่วยอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของเรา และตอนนี้ NVIDIA กับ Salesforce ตัดสินใจทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนา AI Agents เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

 

ในอนาคตอันใกล้ Salesforce คาดว่าบริษัทจะสามารถเปิดการเข้าถึงให้กับองค์กรต่างๆ ในการใช้งานเอเจนต์อัจฉริยะเหล่านี้ในหลักพันล้านตัว เพื่อสร้างบรรทัดฐานการทำงานรูปแบบใหม่

 

อ้างอิง:

The post Salesforce ร่วมมือกับ NVIDIA ดันการปฏิวัติ AI ระลอก 3 พัฒนาเอเจนต์อัจฉริยะที่ทำงานด้วยตัวเองได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหวั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอหนัก แห่ขายหุ้น NVIDIA กดมูลค่าหายเฉียด 2.8 แสนล้านดอลลาร์ ทั้งยังฉุดหุ้นชิปทั่วโลกร่วงยกแผง https://thestandard.co/nvidia-down-280-billion-usd/ Thu, 05 Sep 2024 02:39:13 +0000 https://thestandard.co/?p=979734 NVIDIA

หุ้นของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั่วโ […]

The post ตลาดหวั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอหนัก แห่ขายหุ้น NVIDIA กดมูลค่าหายเฉียด 2.8 แสนล้านดอลลาร์ ทั้งยังฉุดหุ้นชิปทั่วโลกร่วงยกแผง appeared first on THE STANDARD.

]]>
NVIDIA

หุ้นของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั่วโลกเจอกับแรงเทขายอย่างหนักเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่ราคาหุ้นของ NVIDIA บริษัทผลิตชิปชั้นนำของสหรัฐฯ ร่วงลงมากกว่า 9% ซึ่งเป็นการสูญเสียมูลค่าครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ เมื่อคืนนี้

 

NVIDIA สูญเสียมูลค่าหุ้นไปราว 2.79 แสนล้านดอลลาร์ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นการลดลงในวันเดียวของมูลค่าหุ้นสหรัฐฯ ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ โดยสถิติก่อนหน้านี้เป็นของ Meta ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Facebook ที่มูลค่าหุ้นเคยลดลง 2.32 แสนล้านดอลลาร์ภายในวันเดียว โดยเกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022

 

การร่วงลงของ NVIDIAส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่นๆ ตามกัน หุ้นของ Samsung ปิดตลาดลดลง 3.45% ขณะที่ SK hynix ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาชิปหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูงให้กับ NVIDIAร่วงลง 8%, ADVANTEST ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์อุปกรณ์ทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ ร่วงลงเกือบ 8% รวมถึง SoftBank Group ซึ่งถือหุ้นใน Arm บริษัทออกแบบชิป ร่วงลง 7.7%

 

นักลงทุนต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวก่อนหน้านี้ออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตที่ประกาศเมื่อวันอังคารหดตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีมุมมองเชิงลบต่อรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งอาจสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก ส่งผลให้มีสัญญาณบ่งชี้ถึงโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

 

ราคาหุ้นของ NVIDIAยังคงร่วงลงอย่างต่อเนื่องในการซื้อ-ขายหลังเปิดตลาดในวันอังคาร หลังจากที่ Bloomberg รายงานว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ส่งหมายเรียก NVIDIAสอบสวนการผูกขาดตลาดชิป AI

 

Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIAซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายบุคคลรายใหญ่ที่สุดของ NVIDIAและใหญ่เป็นอันดับ 5 โดยรวม เมื่อนับรวมนักลงทุนสถาบัน เช่น BlackRock ได้สูญเสียความมั่งคั่งมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่วันอังคาร จากการร่วงลงอย่างรุนแรงของNVIDIA 

 

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ Jensen Huang ถือเป็นการร่วงลงของมูลค่าดอลลาร์สหรัฐในวันเดียวที่มากที่สุดสำหรับเขานับตั้งแต่ Bloomberg Billionaires Index เริ่มติดตามความมั่งคั่งของเขาในปี 2016 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าทรัพย์สินของ Jensen Huang จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อวันอังคาร แต่เขายังคงติดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดอันดับที่ 18 ของโลก และทรัพย์สินของเขายังเติบโตขึ้น 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้

 

NVIDIAเจอกับความท้าทายมากมายในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อมูลค่าหุ้นที่สูงลิ่วของNVIDIA, แนวโน้มความนิยมหุ้น AI ที่ลดลง และล่าสุดการสอบสวนเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าเมื่อวันพุธที่ผ่านมา NVIDIAจะออกมาเปิดเผยว่าไม่ได้รับหมายเรียกจากกระทรวงยุติธรรมก็ตาม

 

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนบางส่วนยังคงเชื่อมั่นใน NVIDIAโดยราคาหุ้นยังคงเพิ่มขึ้นมากถึง 118% ในปีนี้ และมีมูลค่าตลาด 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งอยู่อันดับ 3 ของโลกรองจาก Apple และ Microsoft โดย Jensen Huang กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ความต้องการชิป AI ‘Blackwell’ รุ่นล่าสุด เกินกว่าอุปทานที่มีอยู่มาก และแม้ว่าการแข่งขันจะเพิ่มมากขึ้น แต่ความต้องการชิปของ NVIDIAก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

อ้างอิง:

The post ตลาดหวั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอหนัก แห่ขายหุ้น NVIDIA กดมูลค่าหายเฉียด 2.8 แสนล้านดอลลาร์ ทั้งยังฉุดหุ้นชิปทั่วโลกร่วงยกแผง appeared first on THE STANDARD.

]]>
“คอนเทนต์ครีเอเตอร์ในอนาคตจะมีผู้ช่วย AI เป็นของตัวเอง” ถอดวิสัยทัศน์สองผู้นำบิ๊กเทค https://thestandard.co/the-visions-of-two-big-tech-leaders/ Tue, 30 Jul 2024 12:25:08 +0000 https://thestandard.co/?p=965121

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอ Meta และ เจนเซน หวง ซีอีโอ […]

The post “คอนเทนต์ครีเอเตอร์ในอนาคตจะมีผู้ช่วย AI เป็นของตัวเอง” ถอดวิสัยทัศน์สองผู้นำบิ๊กเทค appeared first on THE STANDARD.

]]>

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอ Meta และ เจนเซน หวง ซีอีโอ NVIDIA ได้ร่วมพูดคุยถึงวิสัยทัศน์ของทั้งสองบริษัทที่มีต่ออนาคตของเทคโนโลยี AI โดยการพูดคุยเกิดขึ้นระหว่างอีเวนต์ SIGGRAPH 2024 งานสัมมนาที่รวบรวมคอมพิวเตอร์กราฟิกและเทคโนโลยีที่มีผู้เชี่ยวชาญของวงการเข้าร่วมด้วย

 

มาร์กเปิดหัวข้อสนทนาด้วยการประกาศเปิดตัว AI Studio ฟีเจอร์ใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างตัวละครเสมือนที่เป็น AI ในเวอร์ชันของตัวเองได้ เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการตอบกลับข้อความ DM (Direct Message) หรือตอบกลับสตอรีได้ ซึ่งจะทำให้ AI เข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับคนสร้างคอนเทนต์และธุรกิจขนาดเล็กหลายล้านราย

 

“เหมือนกับที่ทุกธุรกิจมีที่อยู่อีเมล เว็บไซต์ และบัญชีโซเชียลมีเดีย ผมคิดว่าในอนาคตทุกธุรกิจจะมี AI เป็นของตัวเอง” ซักเคอร์เบิร์กกล่าว พร้อมย้ำความสำคัญของการพัฒนา AI แบบเปิดกว้าง (Open Source) โดยเจนเซนก็เห็นด้วยกับวิธีนี้ เพื่อทำให้นวัตกรรมมีทางเลือกมากขึ้น

 

ล่าสุด Meta เปิดตัวโมเดล Llama 3.1 ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยซักเคอร์เบิร์กมองว่าโมเดลนี้ถือเป็น ‘จุดเปลี่ยน’ สำคัญในการนำ Open Source มาใช้ใน AI เนื่องจากมันสามารถสร้างคอนเทนต์ เช่น Digital Avatar และสร้างโลกเสมือนจริงได้ รวมทั้งช่วยให้มนุษย์เข้าถึงโอกาสการมีผู้ช่วยส่วนตัวในโลกดิจิทัล ซึ่งโต้ตอบได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว

 

นอกจากนี้ซีอีโอของ Meta ยังมองไกลออกไปในอนาคตว่าเมื่อ Llama เวอร์ชัน 4.0 ออกมา นวัตกรรมชิ้นนี้จะสามารถเป็นผู้ช่วยทำงานได้อย่างแท้จริง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสั่งงานและ AI จะเป็นฝ่ายไปหาคำตอบ โดยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือกระทั่งหลายเดือน แต่มันจะกลับมาพร้อมกับคำตอบที่ทำการวิจัยและคำนวณมาอย่างดีและถี่ถ้วนแล้ว

 

เจนเซนชื่นชมการทำงานของ Meta ในการสร้างโมเดล AI แบบเปิดกว้าง เพราะเขามองว่า Llama กำลังช่วยให้นักพัฒนาและบริษัทต่างๆ เข้าถึงเทคโนโลยีโมเดล AI ได้มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ภายใต้บรรยากาศที่นั่งคุยกันแบบสบายๆ มาร์กก็เกิดอารมณ์เสียเมื่อถูกชวนคุยเรื่องซอฟต์แวร์ระบบปิด (Closed Source) อย่างเช่นในกรณีของ Apple Store ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ Meta กำลังพัฒนาอยู่

 

“ผมแค่อยากสร้างโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่จะเป็นรากฐานของการสร้างประสบการณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะมันมีหลายครั้งแล้วที่ผมอยากจะสร้างอะไรบางอย่างแต่ถูกสบประมาทว่า ‘ไม่ คุณทำแบบนั้นในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มไม่ได้หรอก’ จนบางครั้งมันถึงจุดที่ผมคิดกับตัวเองว่า ‘ช่างแม่ง’”

 

ภาพ: NVIDIA

อ้างอิง:

The post “คอนเทนต์ครีเอเตอร์ในอนาคตจะมีผู้ช่วย AI เป็นของตัวเอง” ถอดวิสัยทัศน์สองผู้นำบิ๊กเทค appeared first on THE STANDARD.

]]>
“ในช่วงแรกผมยอมรับว่า AI จะมาทำให้ปัญหาความเท่าเทียมห่างขึ้น” คุยกับ Andrew Ng 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพล AI โลก https://thestandard.co/andrew-ng-ai-inequality-interview/ Fri, 26 Jul 2024 10:13:55 +0000 https://thestandard.co/?p=963343 Andrew Ng

เมื่อปี 2023 นิตยสาร TIME ได้เผยรายชื่อ 100 บุคคลที่มีช […]

The post “ในช่วงแรกผมยอมรับว่า AI จะมาทำให้ปัญหาความเท่าเทียมห่างขึ้น” คุยกับ Andrew Ng 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพล AI โลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Andrew Ng

เมื่อปี 2023 นิตยสาร TIME ได้เผยรายชื่อ 100 บุคคลที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยี AI มากที่สุดในโลก ซึ่งถ้าพูดถึงหัวกะทิของวงการนี้ ชื่อที่น่าจะผุดขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น Sam Altman ซีอีโอบริษัท OpenAI หรือ Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA

 

มีอีกคนที่แม้จะไม่โดดเด่นเท่า แต่บทบาทการขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI กลับสำคัญไม่แพ้กัน คนนั้นคือ Dr.Andrew Ng ผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera แพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์ที่มีผู้เรียนแล้วกว่า 8 ล้านคนทั่วโลก และผู้ก่อตั้ง AI Fund กองทุนบ่มเพาะสตาร์ทอัพ AI ที่ไม่เพียงลงทุน แต่ช่วยสร้างธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่มจนไปสู่เป้าหมาย

 

ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน Andrew ถูกแต่งตั้งให้นั่งในบอร์ดบริหารของ Amazon เนื่องจากความเชี่ยวชาญด้าน AI และการศึกษา รวมทั้งอินไซต์ที่จะช่วยให้บริษัทเข้าใจโอกาสและความท้าทายของ AI ต่อสังคมกับธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาที่ Andrew จะสามารถใช้ความเชี่ยวชาญด้านนี้มาเสริมในโครงการของ Amazon Web Services (AWS) ที่ตั้งเป้าจะอัปสกิลและรีสกิลความรู้ด้านเทคโนโลยีทั้งคลาวด์และ AI ให้คนไทย 100,000 คนภายในปี 2026 ซึ่งตอนนี้ฝึกสำเร็จไปมากกว่า 50,000 คนแล้ว

 

Andrew ไม่ใช่แค่ผู้พัฒนาเทคโนโลยี แต่คือหัวหอกที่พยายามผลักดันให้ทุกคนมีโอกาสได้ประโยชน์จากนวัตกรรมชิ้นนี้ร่วมกัน

 

บทสนทนาที่ THE STANDARD ได้คุยกับ Andrew ในโอกาสเยือนประเทศไทยจะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ ทั้งความท้าทายและโอกาสเพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่า AI ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของชีวิตมนุษย์ และอนาคตที่ทุกคนบนโลกล้วนมีบทบาทในการสร้างร่วมกัน โดยเราขอสรุปออกมาทั้งหมด 5 หัวข้อดังนี้

 

AI จะมาทำลายความเท่าเทียม?

 

ประเด็นร้อนในสังคมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้งคือปัญหา ‘ความเท่าเทียม’ แถมงานวิจัยจากหลายแหล่งทั้ง Boston University, MIT, หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังชี้ว่า AI จะยิ่งทำให้ช่องว่างความไม่เท่าเทียมในสังคมห่างและถ่างออกไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ Andrew มองว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาตลอดในประวัติศาสตร์

 

“ทุกครั้งที่เทคโนโลยีใหม่ถูกคิดค้นขึ้น ผลกระทบที่มักจะตามมาคือความเท่าเทียมระหว่างกลุ่มคนที่เข้าถึงและเข้าไม่ถึงจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะแรก โดยคลื่น AI ก็คงให้ภาพที่คล้ายกัน แต่วิธีแก้ไขปัญหาที่ได้ผลมากที่สุดคือการพยายามเพิ่มโอกาสการเข้าถึงและสร้างทักษะใหม่ให้กับทุกคน ตัวอย่างที่เราเห็นในยุคหลังปี 2000 คือเครื่องมือ เช่น สมาร์ทโฟนและเสิร์ชเอนจิน ซึ่งเป็นสองเทคโนโลยีที่เข้ามาปลดล็อกการเข้าถึงความรู้ให้กับคนทั่วโลก” Andrew กล่าว 

 

อย่างไรก็ตาม ความเท่าเทียมจะลดลงหากผู้คนสามารถเข้าถึง AI ได้เท่ากัน ฉะนั้นความต่างของประเด็นนี้อยู่ที่ ‘โอกาส’ ในการเข้าถึง มากกว่าการมีอยู่ของเทคโนโลยีเอง ซึ่ง Andrew ย้ำว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเน้นทั้งพัฒนานวัตกรรมควบคู่ไปกับการให้ความรู้เพื่อลดโอกาสที่ไม่เท่าเทียม

 

พนักงานและองค์กรปรับตัวอย่างไรให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน?

 

ประโยคที่ว่า “AI ไม่ได้จะมาแทนที่คน แต่คนที่ใช้ AI จะแทนที่คนไม่ใช้” เป็นสิ่งที่ผู้นำด้านเทคโนโลยีพูดกันบ่อยในช่วงที่ผ่านมา และ Andrew เองก็มีแนวคิดนั้นเช่นกัน แต่เขามองว่าทางออกเรื่องนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 3 ขั้นตอนหลักๆ ซึ่งจะช่วยให้คนอยู่ร่วมและทำงานกับ AI ได้ โดยทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน

 

  1. เปิดให้พนักงาน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องใช้ทักษะความคิด ทดลองเครื่องมือ Generative AI และอบรมเพิ่มทักษะควบคู่กันไประหว่างใช้งาน

 

  1. จำแนก ‘งาน’ ให้อยู่ในหน่วยย่อยของ ‘หน้าที่’ (Task-Based Analysis of Jobs) เพราะ AI จะเข้ามาแทนที่หน้าที่บางส่วน แต่ไม่ใช่งานทั้งหมด โดย Andrew ยกตัวอย่างอาชีพนักข่าวว่า “งานข่าวมีทั้งค้นหาข้อมูล สัมภาษณ์คน ถอดเสียง และเขียนถ่ายทอด ซึ่ง AI ทำไม่ได้ทุกอย่าง แต่การถอดเสียงเพื่อสรุปใจความเป็นเพียงหน้าที่หนึ่งของงานที่ AI อาจช่วยทำให้รวดเร็วมากขึ้น” งานชิ้นหนึ่งประกอบด้วยหลายหน้าที่ เมื่อมองมุมนี้องค์กรจะเข้าใจได้ว่าหน้าที่ไหนในงานไหนเหมาะที่จะนำ AI เข้ามาช่วย ซึ่งจะทำให้ภาพการนำเทคโนโลยีไปใช้งานชัดขึ้น 

 

  1. ข้อนี้จะยากและท้าทาย แต่เป็นเรื่องที่ธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมต้องตีโจทย์ให้ออก โจทย์คือในแต่ละอุตสาหกรรมที่ต่างกัน มีหน้าที่กี่อย่างในงานหนึ่งชิ้นที่ AI เข้ามาทำแทนได้ เพื่อให้ผู้บริหารมีอินไซต์และรู้ทันสถานการณ์ว่าธุรกิจของเราควรปรับตัวอย่างไรต่อไป

 

ในยุคของ AI มนุษย์จะหันไปพึ่งเทคโนโลยีจนคิดน้อยลงหรือไม่?

 

คำถามนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ถูกตั้งข้อสังเกตมาหลายครั้งว่า เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เข้าถึงเครื่องมือทุ่นแรงที่ทำให้งานสำเร็จได้ง่ายและสบายกว่า คนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกทำสิ่งที่ง่าย ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีคำอธิบายเชิงจิตวิทยา เรียกว่า Principle of Least Effort หรือถ้าอธิบายเป็นภาษาไทยง่ายๆ คือ ‘กฎของความมักง่าย’ ที่ชี้ว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะเลือกทำสิ่งที่ต้องใช้แรงน้อยกว่าสิ่งที่ลำบาก

 

ปัจจุบัน AI เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของหลายคน และเรื่องหลักๆ ที่เข้ามาช่วยเราก็คือการระดมไอเดีย สรุปเนื้อหา หรือค้นหาข้อมูล แต่ภายใต้ความสบายที่ AI ให้กับมนุษย์ อีกด้านของความสะดวกนี้จะทำให้คนส่วนใหญ่เข้าข่ายกฎของความมักง่ายหรือเปล่า

 

Andrew มองว่าไม่จริงเสมอไป “ทักษะการคิดวิเคราะห์จะยิ่งสำคัญมากขึ้น เพราะการใช้งาน AI คือการส่งคำสั่งให้โมเดลประมวลผล ฉะนั้นผู้ใช้งานต้องเข้าใจสิ่งที่ตัวเองมองหาก่อน ซึ่งความเข้าใจนี้จะเกิดขึ้นได้ยากหากไม่มีการตกผลึกและวิเคราะห์ความต้องการของตัวเองมาอย่างถี่ถ้วนแล้ว”

 

แม้ว่า AI จะถูกออกแบบมาให้พยายามอย่างเต็มความสามารถในการตอบคำถาม แต่การตอบก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ใช้งานป้อนให้กับโมเดล ซึ่งหากผู้ใช้งานขาดทักษะการคิดวิเคราะห์และระบุความต้องการของตัวเองได้ไม่ชัดเจน แนวโน้มที่จะได้คำตอบแบบกำกวมและไม่ตอบโจทย์ก็มีสูง ต่อให้โมเดล AI จะเก่งมากก็ตาม

 

นอกจากนี้ Andrew ยังพูดถึงอีกหนึ่งเหตุผลที่ AI จะเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับมนุษย์ นั่นคือการแทนที่งานซ้ำๆ เดิมๆ ที่ใช้ความคิดน้อย ทำให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้นสำหรับประเภทงานที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ หมายความว่าทักษะการคิดจะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เพราะคนต้องคิดมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง

 

‘ความอยากที่ฝัน’ กับ ‘ความจริงที่เป็น’ อุปสรรคการใช้งาน AI ของภาคธุรกิจ 

 

สิ่งที่เราเห็นท่ามกลางความตื่นเต้นกับ AI ในโลกทุกวันนี้คือผู้คนต่างมีไอเดียมากมายว่า ‘อยาก’ จะใช้ AI ไปเสริมธุรกิจของตัวเอง แต่ความจริงที่ต้องยอมรับคือคนที่มี ‘ความรู้เชิงเทคนิคว่า AI ทำอะไรได้และทำอะไรไม่ได้บ้าง’ บนโลกมีไม่พอต่อความต้องการในตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยที่รั้งให้การใช้งาน AI ในองค์กรไม่เกิดในสเกลใหญ่เสียที

 

บางครั้งคนจากหลายบริษัทรวมถึงตัวของ Andrew เองมองโลกในแง่บวกเกินไปว่าเทคโนโลยีจะทำแบบนั้นแบบนี้ได้ เช่น ใช้สร้างรถยนต์ไร้คนขับ, เพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์, ประมวลผลข้อมูลสุขภาพคนไข้ และแนวคิดที่สร้างสรรค์อื่นๆ แต่ความจริงแล้วการจะเปลี่ยนสิ่งที่ฝันให้กลายเป็นจริงต้องอาศัยคนที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาตัดสินว่าอะไรทำได้และอะไรที่ยังทำไม่ได้

 

สิ่งที่ Andrew แนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัวสำหรับการทำให้ AI ถูกใช้งานในบริบทขององค์กรคือต้องเริ่มจากการให้ความรู้พนักงาน จากนั้นหาเวลาระดมไอเดีย (Brainstorm) ด้วยกันระหว่างคนที่เข้าใจธุรกิจกับคนที่มีความรู้เทคนิคเกี่ยวกับ AI เพราะบางคนในฝั่งธุรกิจก็มักจะไม่เข้าใจ AI และประเมินเทคโนโลยีสูงเกินไป ส่วนคนที่รู้เรื่องเทคโนโลยีก็มักขาดความเข้าใจอินไซต์ของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งการนั่งระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเป็นวิธีที่ Andrew มองว่าช่วยอุดความเข้าใจผิดๆ และดึงให้ทุกฝ่ายกลับมาประเมินสถานการณ์ได้บนพื้นฐานความจริงและลำเอียงน้อยลง

 

อย่างไรก็ดี Andrew มองว่าตอนนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่มีผู้เชี่ยวชาญ AI เพียงพอกับตลาด ฉะนั้นการลงทุนพัฒนาทักษะให้กับคนจึงเป็นวาระสำคัญที่ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา ควรเน้นลงทุนเพิ่ม เพื่อเปิดโอกาสใหม่ให้บุคลากรพร้อมรับกับงานในอนาคต ซึ่งจากประสบการณ์ในการมาประเทศไทยครั้งนี้เขามองว่าเรามาถูกทางแล้ว

 

เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างสตาร์ทอัพ / ธุรกิจ AI ให้สำเร็จ

 

สตาร์ทอัพเป็นประเภทธุรกิจที่ได้ชื่อว่า ‘ปราบเซียน’ เพราะสถิติจาก Founders Factory บริษัทบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เผยว่า 90% ของสตาร์ทอัพไปไม่รอด ซึ่งสถานการณ์ในธุรกิจ AI ก็ให้ภาพที่ไม่ต่างกัน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเร่งออกผลิตภัณฑ์ทั้งที่ยังไม่มีตลาดรองรับ ทำตามแผนที่วางไว้ไม่ได้ หรือแม้แต่การประเมินความสามารถเทคโนโลยีสูงเกินไป

 

ในฐานะที่ Andrew เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง AI Fund องค์กรที่ทำงานสตาร์ทอัพสาย AI มาแล้วมากมาย คำแนะนำที่เขาคิดว่าเป็นตัวตัดสินว่าสตาร์ทอัพนั้นจะสำเร็จหรือไม่มีอยู่ 2 อย่างคือ ‘ความเร็ว’ และ ‘ความชัดเจน’

 

“ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเร็ว จากประสบการณ์ที่เราเคยทำงานกับผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพที่สำเร็จ ความรวดเร็วในการตัดสินใจลงมือทำคือส่วนสำคัญ และปัจจัยที่จะทำให้ผู้นำธุรกิจตัดสินใจได้เร็วคือความชัดเจนในเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เมื่อธุรกิจเข้าใจลูกค้าและสภาพตลาดมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงจะต้องชัดเจนและตอบโจทย์ตลาด” Andrew กล่าว

 

โดยสรุปแล้ว เส้นทางการเดินหน้าต่อของไทยรวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลก หากมองผ่านเลนส์ Andrew คือต้องเริ่มต้นจากการเร่งเพิ่มทักษะแรงงานให้มีความสามารถทันเทคโนโลยี รวมทั้งให้โอกาสเข้าถึงเครื่องมือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้น้อยที่สุด และผลิตแรงงานที่พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงของ AI ผ่านการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดสร้างนวัตกรรมให้คนได้ประโยชน์มากที่สุดในอนาคต

 

สำหรับผู้ที่สนใจอัปสกิลตัวเอง ทาง AWS มีเครื่องมือการเรียนรู้กว่า 100 คอร์สให้เลือกเรียนทั้ง AI, คลาวด์ หรือแมชชีนเลิร์นนิง ผ่านเว็บไซต์ AWS Skills Builder, AWS Educate และ AWS Academy ซึ่งครอบคลุมทุกระดับทักษะ โดยมีประมาณ 60 คอร์สที่เป็นภาษาไทย และสามารถเรียนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

The post “ในช่วงแรกผมยอมรับว่า AI จะมาทำให้ปัญหาความเท่าเทียมห่างขึ้น” คุยกับ Andrew Ng 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพล AI โลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ย้ำ ผู้นำที่ดีต้องลงมือทำ ไม่ใช่แค่สั่งการ และไม่ควรกลัวงานหนัก https://thestandard.co/jensen-huang-nvidia-leadership-advice/ Mon, 08 Jul 2024 11:19:24 +0000 https://thestandard.co/?p=955055 NVIDIA

Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA บริษัทผลิตชิปคอมพิวเตอร์ยักษ […]

The post Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ย้ำ ผู้นำที่ดีต้องลงมือทำ ไม่ใช่แค่สั่งการ และไม่ควรกลัวงานหนัก appeared first on THE STANDARD.

]]>
NVIDIA

Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA บริษัทผลิตชิปคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ มูลค่ากว่า 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 112.9 ล้านล้านบาท) เชื่อว่าผู้นำที่ดีต้องไม่กลัวที่จะ ‘ลงมือทำ’

 

ก่อนที่จะร่วมก่อตั้ง NVIDIA Huang เคยทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟที่ร้าน Denny’s หลายปีต่อมาเขาได้ระดมสมองกับผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นๆ ในร้าน Denny’s แห่งเดิมที่เคยทำงาน

 

แม้ว่าปัจจุบัน Huang จะมีทรัพย์สินมูลค่าเกือบ 1.08 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท) แต่เขากล่าวว่า จุดเริ่มต้นที่ต่ำต้อยเหล่านั้นยังคงหล่อหลอมให้เขาเป็นผู้นำธุรกิจอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

 

“สำหรับผม ไม่มีงานใดต่ำต้อยเกินไป เพราะจำไว้ว่าผมเคยเป็นคนล้างจานและทำความสะอาดห้องน้ำ” Huang กล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อเดือนมีนาคมที่ Stanford Graduate School of Business

 

Huang เป็นที่รู้จักในฐานะเจ้านายที่ลงมือทำ โดยพนักงานบางคนกล่าวถึงเขาว่า ‘เข้มงวด’ และ ‘เจ้าระเบียบ’ เขาขอให้พนักงานทั่วทั้งบริษัทส่งอีเมลถึงเขาในแต่ละสัปดาห์ พร้อมระบุ 5 สิ่งที่สำคัญที่สุดที่พวกเขากำลังทำ และบางครั้ง Huang ก็เดินไปที่โต๊ะทำงานของพนักงาน เพื่อถามเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการและให้คำแนะนำ

 

Huang ชอบที่จะแสดงเหตุผลเบื้องหลังคำแนะนำหรือวิธีแก้ปัญหาที่เขาเสนอให้พนักงานเห็น การทำเช่นนี้ช่วยให้บริษัทเติบโตในระยะยาว และ Huang ยังพบว่ามันเป็นรางวัลส่วนตัวและเป็นโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง

 

Huang พยายามที่จะทำงานที่ซับซ้อนที่สุดให้เสร็จในช่วงเช้าของวัน เพื่อที่หากใครต้องการอะไรจากเขาในช่วงเวลาที่เหลือของวัน เขาจะสามารถ “พูดได้เสมอว่า ‘ฉันมีเวลาเหลือเฟือ’ และฉันก็มีจริงๆ”

 

ในขณะที่ซีอีโอหลายคนพยายามจำกัดจำนวนคนที่รายงานตรงต่อพวกเขา Huang กลับชอบที่จะมีลูกน้องโดยตรงประมาณ 50 คน ซึ่งโครงสร้างนี้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของNVIDIA โดยช่วยให้ข้อมูลและกลยุทธ์ไหลเวียนได้โดยตรงระหว่าง Huang และผู้บริหารคนอื่นๆ ของ NVIDIA

 

“ยิ่งซีอีโอมีลูกน้องโดยตรงมากเท่าไร บริษัทก็จะมีชั้นน้อยลงเท่านั้น ซึ่งช่วยให้เราสามารถรักษาข้อมูลให้ลื่นไหลได้” เขากล่าว

 

ทั้งหมดนี้เป็นการวางพนักงานของเขาให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะประสบความสำเร็จและมีส่วนร่วมในความสำเร็จโดยรวมของ NVIDIA

 

โดย Huang กล่าวที่ Stanford ว่า เป็นหน้าที่ของซีอีโอที่ดีที่จะ “นำผู้อื่นไปสู่ความยิ่งใหญ่ สร้างแรงบันดาลใจ ให้อำนาจผู้อื่น สนับสนุนผู้อื่น” เขากล่าวเสริมว่า “นั่นคือเหตุผลที่มีทีมผู้บริหาร คือเพื่อรับใช้คนอื่นๆ ทั้งหมดที่ทำงานในบริษัท”

 

ภาพ: Gene Wang / Getty Images

อ้างอิง:

The post Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ย้ำ ผู้นำที่ดีต้องลงมือทำ ไม่ใช่แค่สั่งการ และไม่ควรกลัวงานหนัก appeared first on THE STANDARD.

]]>