Internet Banking – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 01 Jul 2023 11:20:53 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 พร้อมเพย์-แอปธนาคารหลายแห่งล่ม โอนเงินข้ามธนาคารไม่ได้ หากโอนแล้วเงินไม่เข้า ให้รอไม่เกิน 19.00 น. ของวันพรุ่งนี้ https://thestandard.co/promptpay-mobile-banking-crash/ Sat, 01 Jul 2023 11:20:53 +0000 https://thestandard.co/?p=810447 พร้อมเพย์-แอปธนาคาร

ช่วงบ่ายวันนี้ (1 กรกฎาคม) แอปพลิเคชันของหลายธนาคารไม่ส […]

The post พร้อมเพย์-แอปธนาคารหลายแห่งล่ม โอนเงินข้ามธนาคารไม่ได้ หากโอนแล้วเงินไม่เข้า ให้รอไม่เกิน 19.00 น. ของวันพรุ่งนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พร้อมเพย์-แอปธนาคาร

ช่วงบ่ายวันนี้ (1 กรกฎาคม) แอปพลิเคชันของหลายธนาคารไม่สามารถใช้บริการได้หลายบริการ เช่น การโอนเงินข้ามธนาคาร ชำระบิล หรือบริการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ กระทั่งผู้ใช้หลายคนรายงานผ่านทวิตเตอร์ โดยใช้แฮชแท็ก #ธนาคารล่ม จนกระทั่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ต่อเนื่องหลายชั่วโมง

 

ต่อมาสมาคมธนาคารไทยชี้แจงว่า พบปัญหาข้อขัดข้องในระบบบริการโอนเงินไปต่างธนาคาร ซึ่งส่งผลให้การทำธุรกรรมโอนเงินไปต่างธนาคารผ่านช่องทาง Mobile Banking และ Internet Banking ทำธุรกรรมไม่ได้ โดยขอแนะนำให้ลูกค้าเว้นระยะการทำรายการ

 

ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถใช้บริการโอนเงินผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ATM และสาขาของธนาคารได้ตามปกติ ลูกค้าสามารถสอบถามหรือแจ้งปัญหาไปที่สาขา หรือที่คอลเซ็นเตอร์ของธนาคารที่ท่านมีบัญชีอยู่

 

นอกจากนี้ในเวลา 15.35 น. สมาคมธนาคารไทยยังรายงานด้วยว่า ระบบพร้อมเพย์มีปัญหาชั่วคราว ส่งผลให้ไม่สามารถโอนเงินหรือชำระเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ได้

 

สมาคมธนาคารไทยระบุว่า ลูกค้าที่ทำการโอนเงินไปยังต่างธนาคาร วันนี้ (1 กรกฎาคม) ตั้งแต่ 14.00 น. และเงินยังไม่เข้าปลายทาง ธนาคารปลายทางจะนำเงินเข้าบัญชีภายใน 19.00 น. ของวันพรุ่งนี้ (2 กรกฎาคม)

 

ล่าสุดเวลา 18.00 น. พบว่าหลายธนาคารสามารถกลับมาใช้บริการต่างๆ ของแอปธนาคารได้ตามปกติแล้ว

The post พร้อมเพย์-แอปธนาคารหลายแห่งล่ม โอนเงินข้ามธนาคารไม่ได้ หากโอนแล้วเงินไม่เข้า ให้รอไม่เกิน 19.00 น. ของวันพรุ่งนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ย้อนดูสถิติ ‘ระบบธนาคารขัดข้อง’ ปี 65 แอปไหนล่มน้อยสุดและบ่อยสุด https://thestandard.co/bank-system-failure-65/ Fri, 03 Feb 2023 05:34:32 +0000 https://thestandard.co/?p=745637 ระบบแบงก์ขัดข้อง

เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่สถิ […]

The post ย้อนดูสถิติ ‘ระบบธนาคารขัดข้อง’ ปี 65 แอปไหนล่มน้อยสุดและบ่อยสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ระบบแบงก์ขัดข้อง

เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่สถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้อง ที่กระทบต่อการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ใน 4 ช่องทาง ประกอบด้วย โมบายล์แบงกิ้ง อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง เอทีเอ็ม และสาขา ในรอบปี 2565 

 

จากการรวบรวมข้อมูลของ THE STANDARD WEALTH พบว่า ในภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์มีการขัดข้องรวมกันทั้งสิ้น 89 ครั้ง คิดเป็นระยะเวลารวมกัน 204 ชั่วโมง แบ่งเป็นระบบโมบายล์แบงกิ้งขัดข้อง 65 ครั้ง นาน 158 ชั่วโมง, อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง 4 ครั้ง นาน 11 ชั่วโมง, เอทีเอ็ม 11 ครั้ง นาน 13 ชั่วโมง และสาขา 12 ครั้ง นาน 22 ชั่วโมง

 

โดยเมื่อแยกเป็นรายธนาคารพบว่า ธนาคารที่มีปัญหาระบบขัดข้องมากที่สุดคือ ธนาคารทหารไทยธนชาต รวมตลอดปี 2565 ขัดข้อง 30 ครั้ง รวมระยะเวลาขัดข้องสูงถึง 96 ชั่วโมง แบ่งเป็นระบบโมบายล์แบงกิ้งขัดข้อง 22 ครั้ง นาน 87 ชั่วโมง, อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง 2 ครั้ง นาน 5 ชั่วโมง, เอทีเอ็ม 3 ครั้ง นาน 2 ชั่วโมง และสาขา 3 ครั้ง นานรวม 2 ชั่วโมง

 

ตามมาเป็นอันดับ 2 คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีปัญหาระบบล่มรวม 18 ครั้ง รวมเป็นระยะเวลา 16 ชั่วโมง โดยทั้งหมดเป็นการขัดข้องของระบบโมบายล์แบงกิ้ง ขณะที่อันดับ 3 ตกเป็นของธนาคารกรุงไทย ที่ตลอดทั้งปีเกิดระบบขัดข้องรวม 13 ครั้ง คิดเป็นระยะเวลา 19 ชั่วโมง แบ่งเป็น ระบบโมบายล์แบงกิ้ง 9 ครั้ง นาน 13 ชั่วโมง, ตู้เอทีเอ็ม 2 ครั้ง นาน 3 ชั่วโมง และสาขา 2 ครั้ง นาน 3 ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่งก็มีธนาคารที่ดูแลระบบได้ค่อนข้างดี มีปัญหาน้อยเช่นกัน โดยพบว่าในปีที่ผ่านมา ธนาคารเกียรตินาคินภัทรไม่มีปัญหาระบบล่มเลยแม้แต่ครั้งเดียว ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยมีปัญหาระบบโมบายล์แบงกิ้งขัดข้องเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในช่วงต้นปี

 

หากนำตัวเลขของปี 2565 ไปเทียบกับสถิติในปี 2564 ที่ THE STANDARD WEALTH ได้เคยรวบรวมไว้ จะพบว่าปัญหาระบบโมบายล์แบงกิ้งขัดข้องมีความถี่และระยะเวลาเพิ่มขึ้นจาก 59 ครั้งต่อ 112 ชั่วโมง เป็น 65 ครั้งต่อ 158 ชั่วโมง ขณะที่ปัญหาระบบขัดข้องในด้านอื่นปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน โดยปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งลดลงจาก 17 ครั้งต่อ 43 ชั่วโมง เหลือ 4 ครั้งต่อ 11 ชั่วโมง ส่วนปัญหาเอทีเอ็มขัดข้องลดลงจาก 18 ครั้งต่อ 31 ชั่วโมง เหลือ 11 ครั้งต่อ 13 ชั่วโมง

 

ทั้งหมดนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการทำธุรกรรมการเงินที่เปลี่ยนไปของคนไทย ซึ่งนิยมหันมาทำธุรกรรมบนมือถือมากขึ้น และใช้เงินสดลดน้อยลงนั่นเอง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

ระบบแบงก์ขัดข้อง

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

The post ย้อนดูสถิติ ‘ระบบธนาคารขัดข้อง’ ปี 65 แอปไหนล่มน้อยสุดและบ่อยสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดสถิติ 9 เดือนแรกปี 65 ธนาคาร ไหนครองแชมป์แอปล่มมากที่สุด https://thestandard.co/mobile-internet-banking-most-crash-bank/ Mon, 31 Oct 2022 08:28:03 +0000 https://thestandard.co/?p=702375 ธนาคารไหนครองแชมป์แอปล่มมากที่สุด

ปัญหาแอปพลิเคชัน ธนาคาร ล่มใช้การไม่ได้ในช่วงรอยต่อสิ้น […]

The post เปิดสถิติ 9 เดือนแรกปี 65 ธนาคาร ไหนครองแชมป์แอปล่มมากที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธนาคารไหนครองแชมป์แอปล่มมากที่สุด

ปัญหาแอปพลิเคชัน ธนาคาร ล่มใช้การไม่ได้ในช่วงรอยต่อสิ้นเดือน-ต้นเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีปริมาณธุรกรรมเกิดขึ้นหนาแน่น ถือเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการทางการเงินจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในยุคที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมไร้เงินสด 

 

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งาน Mobile Banking และ Internet Banking ในไทยปรับเพิ่มขึ้นจาก 36 ล้านบัญชี เป็น 121 ล้านบัญชี ขณะที่ปริมาณการโอนเงินเพิ่มสูงขึ้นถึง 18 เท่า โดยมีการโอน 300 ครั้งต่อคนต่อปี และมีปริมาณการโอนเงินผ่าน Mobile Banking และ Internet Banking เพิ่มเป็น 1.44 หมื่นล้านรายการ จาก 800 ล้านรายการ 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ด้วยปริมาณธุรกรรมที่มากขนาดนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่แทบทุกครั้งเวลาเกิดปัญหาแอปธนาคารล่มจะตามมาด้วยเสียงตำหนิของลูกค้า ที่เรียกร้องให้ธนาคารเร่งแก้ไขและปรับปรุงระบบจนเกิดเป็นเทรนด์ทวิตเตอร์

 

ล่าสุด ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ของ ธปท. ได้เผยแพร่สถิติระบบแบงก์ขัดข้องในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2565 โดยพบว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี คนไทยต้องเจอกับปัญหาระบบ Mobile Banking ขัดข้องไปแล้วถึง 46 ครั้ง รวมเป็นเวลาราว 137 ชั่วโมง 

 

หากเทียบกับสถิติของทั้งปี 2564 ที่เกิดปัญหาระบบ Mobile Banking ขัดข้อง 59 ครั้ง รวมเป็นเวลาราว 112 ชั่วโมง จะพบว่าภายใน 9 เดือนแรกของปีนี้ ระยะเวลาที่เกิดปัญหาระบบ Mobile Banking ขัดข้องก็แซงหน้าภาพรวมของทั้งปีที่ผ่านมาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สะท้อนว่าสถานการณ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาแต่อย่างใด

 

THE STANDARD WEALTH ได้เข้าไปแกะรอยข้อมูลสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้อง ที่กระทบต่อการให้บริการผ่าน 3 ช่องทางสำคัญของธนาคารในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ซึ่งเผยแพร่โดยศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของ ธปท. เราลองไปดูกันว่าธนาคารใดที่เกิดปัญหาแอปล่มบ่อยครั้งที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

 

ธนาคารไหนครองแชมป์แอปล่มมากที่สุด

 

ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

The post เปิดสถิติ 9 เดือนแรกปี 65 ธนาคาร ไหนครองแชมป์แอปล่มมากที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมื่อทุกคนทำธุรกรรมได้เพียงปลายนิ้ว แล้วการไปธนาคารยังสำคัญอยู่ไหม? [Advertorial] https://thestandard.co/uob-internet-banking/ https://thestandard.co/uob-internet-banking/#respond Wed, 09 Jan 2019 08:40:08 +0000 https://thestandard.co/?p=175904

“โอนเงินให้หน่อย ใช้เบอร์โทรศัพท์ก็ได้”   หลังจากป […]

The post เมื่อทุกคนทำธุรกรรมได้เพียงปลายนิ้ว แล้วการไปธนาคารยังสำคัญอยู่ไหม? [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>

“โอนเงินให้หน่อย ใช้เบอร์โทรศัพท์ก็ได้”

 

หลังจากประโยคคุ้นหูนั้นไม่กี่นาที เราก็สามารถโอนเงินให้เพื่อน ให้ครอบครัวอย่างรวดเร็วเพียงปลายนิ้ว เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า ในปัจจุบันคนไทยทุกคนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เพียงแค่ปาดปลายนิ้วไปมาบนหน้าจอโทรศัพท์ แล้วเรายังจำเป็นจะต้องฝ่าฟันและเสียเวลาไปทำธุรกรรมที่ธนาคารอยู่อีกทำไม?

 

ตัวเลขของผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เพื่อทำธุรกรรมจะมีจำนวนสูงขึ้นมาก จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ณ สิ้นไตรมาส 2 ปีพุทธศักราช 2561 มีการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการธนาคารมือถือ หรือ Mobile Banking และธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Banking เพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัว ทั้งสิ้นกว่า 23 ล้านบัญชี

 

เมื่อถึงจุดที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ก่อให้เกิดกระแสการปิดสาขา และความคิดที่เปลี่ยนไปต่อการให้บริการสาขารูปแบบเดิม ด้วยการตั้งถามที่ว่า สาขาของธนาคารยังจำเป็นอยู่หรือไม่? พนักงานธนาคารไม่จำเป็นอีกต่อไป?   

 

แต่คำตอบของคำถามอาจไม่เป็นเช่นนั้น จากข้อมูลวิจัยจากสถาบันที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง McKinsey ในเรื่องของพฤติกรรมการใช้บริการสาขาในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และอังกฤษ พบว่า เกินกว่า 50% ของลูกค้ายังคงมีความต้องการใช้บริการที่สาขาของธนาคาร โดยเฉพาะการบริการวางแผนทางการเงินที่ผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อน เพราะนับว่าเป็นช่องทางที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด หรือที่เรียกว่าเป็น Branch Lover ตัวเลขข้อมูลวิจัยระบุ สหรัฐอเมริกามีลูกค้าที่เป็น Branch Lover 54% อังกฤษ 50% และมีความนิยมสูงมากที่เยอรมนี 62% และข้อมูลนี้อาจยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่า แม้ประเทศที่มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีกว่าประเทศไทย แต่ความต้องการการใช้สาขายังคงมีอยู่  

 

นั่นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า สาขาของธนาคารยังคงมีความสำคัญและยังเป็นจุดเชื่อมโยงอันเป็นรูปธรรมระหว่างลูกค้าและธนาคาร  

 

แต่จะทำอย่างไรให้สาขาธนาคารได้ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เมื่อโลกการแข่งขันทางธุรกิจในทุกวันนี้เรียกได้เลยว่าเป็นโลกของลูกค้า ลูกค้ามีโอกาสเลือกสินค้าและบริการ การรู้จักและเข้าใจความรู้สึกของลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องศึกษาให้ถ่องแท้ สร้างคุณค่า และตอบสนองให้ตรงตามความต้องการที่แท้จริง  

 

แล้วสาขาที่ลูกค้าอย่างเราๆ ต้องการสาขาเป็นแบบไหนกัน?

สาขาที่ตอบโจทย์วันนี้ไม่ใช่เป็นเพียงเคาน์เตอร์สูงที่รองรับการทำธุรกรรมอีกต่อไป ถ้าการไปสาขาคือการตอบสนองอารมณ์ความรู้สึก (Emotion) เช่นเดียวกับการไปร้านกาแฟสักแห่ง หรือให้อารมณ์ผ่อนคลายเหมือนอยู่บ้าน หรือจะยิ่งดีไปกว่า ถ้าสาขานั้นสามารถตอบฟังก์ชันบางอย่างที่ไม่ใช่แค่เรื่องการเงิน ตัวอย่างสาขาใกล้เคียงกับบริบทที่เรากำลังพูดถึงอย่าง ธนาคารยูโอบี สาขาเซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ ที่มีพื้นที่ Kids Zone ให้เด็กๆ เขาได้ทำกิจกรรม เล่นรอผู้ปกครอง การทำธุรกรรมต่างๆ ของคุณพ่อคุณแม่ก็ราบรื่นขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลเจ้าตัวน้อย

 

เพราะหากจินตนาการภาพลูกค้าที่เข้ามาทำธุรกรรมหรือมารับบริการคำปรึกษาด้านการเงินสัก 20 คนพร้อมๆ กัน บวกพ่วงมาพร้อมเด็กๆ ลูกๆ อีก 20 คน แน่นอนว่าความโกลาหลของเด็กๆ จะทำให้คุณปวดหัวไม่น้อย

 

 

การมาซึ่งคอนเซปต์เหล่านี้ เชื่อว่าผ่านกระบวนการคิดและการทำการบ้านมาเป็นอย่างดี มีรายละเอียดถึงขนาดแม่บ้านที่คอยเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอยู่ตลอดเวลา นับว่าเป็นการปรับเปลี่ยนการจัดสรรพื้นที่ของธนาคาร สร้างสรรค์บริการรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจ ด้วยพื้นที่ตั้งสาขาในย่านเลียบทางด่วนรามอินทรา ซึ่งมีหมู่บ้านเกิดขึ้นมากมาย ย่อมมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครอบครัวรุ่นใหม่ แถมยังเน้นให้เจ้าหน้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ มีความรู้ในเรื่องการลงทุน และการให้คำปรึกษาด้านการเงินด้วยความเข้าใจอย่างง่าย ย่อมตอบโจทย์คนที่กำลังเริ่มสร้างครอบครัว ให้สามารถวางแผนทางการเงินเพื่อการศึกษาของบุตร หรือการซื้อบ้านขยายครอบครัว เชื่อว่าหลายคนก็คงถูกใจอยู่ไม่น้อย  

 

 

การตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า แม้ในตลาดที่ธนาคารต่างต้องการรุกพื้นที่อย่างกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง ธนาคารยูโอบี สาขา ICONSIAM ตอบโจทย์เช่นกัน ไม่เพียงตกแต่งสาขาให้หรูหราเท่านั้น แต่ยังนำผลงานศิลปะเชื่อมโยงกับคอนเซปต์การออกแบบของ ICONSIAM ที่ผสานเอกลักษณ์ของไทยเข้าสู่ไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน ผ่านผลงานจิตรกรรมจากจิตรกรระดับศิลปินแห่งชาติ อาทิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) 2541 และ  ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2552 ภายในได้กลิ่นอโรมา Rainforest ที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจในรายละเอียดถึงสัมผัส ทั้งการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น เป็นอย่างดี

 

 

ทั้งยังจัดห้องให้คำปรึกษาด้านการลงทุนแบบเอ็กซ์คลูซีฟ มีความเป็นส่วนตัวเพื่อให้รู้สึกไม่เกร็งหรืออึดอัดจนเกินไปเมื่อต้องใช้เวลานั่งปรึกษาเรื่องการลงทุน เพื่อรองรับลูกค้าในกลุ่ม UOB Privilege Banking โดยมีผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ ทำงานร่วมกับ Investment Consultant ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน เพื่อวางแผนและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะกับสถานการณ์ ตอบสนองฟังก์ชันการดูแลด้านการเงินที่ก็ไม่ได้บกพร่องแต่อย่างใด   

 

แล้วเมื่อเวลาที่ธนาคารต่างพากันปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า นับเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดให้กับวงการธนาคารที่มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแน่นอนว่าประโยชน์ย่อมตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่ได้แต่เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงอย่างตื่นตาตื่นใจ

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post เมื่อทุกคนทำธุรกรรมได้เพียงปลายนิ้ว แล้วการไปธนาคารยังสำคัญอยู่ไหม? [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/uob-internet-banking/feed/ 0
ขยายวงเงินโอนออนไลน์จาก 50,000 เป็น 699,999 เริ่มเดือน ต.ค. 2561 https://thestandard.co/extend-online-transfer-limit-to-699999/ https://thestandard.co/extend-online-transfer-limit-to-699999/#respond Thu, 27 Sep 2018 07:12:05 +0000 https://thestandard.co/?p=124646

ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศเรื่อง การขยายวงเงินการโอนผ […]

The post ขยายวงเงินโอนออนไลน์จาก 50,000 เป็น 699,999 เริ่มเดือน ต.ค. 2561 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศเรื่อง การขยายวงเงินการโอนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ทำธุรกรรมผ่าน Internet Banking และ Mobile Banking จากวงเงินเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายการ เป็นไม่เกิน 699,999 บาทต่อรายการ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นไป

 

สำหรับการขยายวงเงินดังกล่าวเป็นผลมาจากการทำธุรกรรมโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก โดยธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่นิยมใช้โทรศัพท์มือถือในการโอนเงิน โดยคิดเป็นสัดส่วนมูลค่ากว่า 81% ของมูลค่าธุรกรรมทั้งหมด และมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 31% ต่อเดือน

 

ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้หารือกับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จนได้ข้อสรุปเป็นการขยายวงเงินดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชนให้สามารถโอนเงินในแต่ละรายการได้สูงขึ้น ไม่ต้องแยกทำรายการหลายครั้ง

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ขยายวงเงินโอนออนไลน์จาก 50,000 เป็น 699,999 เริ่มเดือน ต.ค. 2561 appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/extend-online-transfer-limit-to-699999/feed/ 0
Cashless Society เมื่อการใช้เงิน(สด)ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป [Advertorial] https://thestandard.co/cashless-society/ https://thestandard.co/cashless-society/#respond Tue, 15 May 2018 03:25:44 +0000 https://thestandard.co/?p=88994

Cashless Society ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หลายคนอาจจะยังสงสัย […]

The post Cashless Society เมื่อการใช้เงิน(สด)ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>

Cashless Society ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

หลายคนอาจจะยังสงสัยกับคำว่า Cashless Society หรือ Cashless Economy (สังคมไร้เงินสด) คืออะไร หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือสังคมเศรษฐกิจที่มองว่าเงินสดที่จับต้องได้ในรูปแบบธนบัตรหรือเหรียญนั้นจะมีความสำคัญน้อยลง ซึ่งในปัจจุบันการใช้เงินในรูปแบบดังกล่าวนับเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานภายใต้นโยบาย National e-Payment ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่ขยายตัวมากขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งการที่เราโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารต่างๆ โอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) หรือการจองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วหนังผ่านระบบออนไลน์แล้วชำระผ่านบัตรเดบิตหรือเครดิตก็คือส่วนหนึ่งของ Cashless Society นั่นเอง ยังไม่นับไปถึงการจ่ายเงินผ่าน QR Code หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ รวมไปถึง e-Wallet ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

 

สังคมไร้เงิน(สด)ดีอย่างไร

แน่นอนว่าทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เพราะการทำธุรกรรมของเรานั้นไร้ข้อจำกัด เรียกว่าทำธุรกรรมได้แบบ Anywhere, Anytime and Anybody เพราะไม่ว่าใครก็สามารถโอน จ่าย เติม ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านการทำธุรกรรมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือหรือเว็บไซต์ ไม่ต้องกังวลเรื่องการถือเงินสดเป็นจำนวนมากๆ ไว้กับตัว ไม่ต้องรอเงินทอน รวมถึงตัดปัญหาเรื่องธนบัตรปลอมที่มีข่าวออกมาเป็นระยะๆ ยิ่งในปัจจุบันการทำธุรกรรมออนไลน์นั้นง่ายขึ้นไปอีกขั้น เพราะธนาคารหลายแห่งได้พร้อมใจกันประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมในการโอน จ่าย เติม เมื่อทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านระบบของธนาคารต่างๆ และเมื่อความนิยมในการใช้ e-Payment สูงขึ้น จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตและเพิ่มช่องทางการทำธุรกิจต่างๆ ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศในอนาคตอีกด้วย

 

ประเทศพี่ใหญ่อย่างจีนนั้น ประชากรแทบทุกคนในประเทศแทบจะไม่แตะเงินสดกันแล้ว ทุกคนมีสมาร์ทโฟนเพื่อใช้จ่ายผ่านระบบ Mobile Payments ยอดฮิตอย่าง WeChat หรือ Alipay เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีแอปพลิเคชันชำระเงินก็สามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการตามร้านค้าปลีกเล็กๆ ริมถนนไปจนถึงห้างสรรพสินค้า รวมทั้งการจ่ายค่าตั๋วรถโดยสาร รถไฟระหว่างเมือง และขนส่งมวลชนรูปแบบต่างๆ ผ่าน QR Code ของร้านค้าที่มีไว้รับชำระเงินโดยเฉพาะ หากใครเดินทางไปประเทศจีน คุณจะรู้ทันทีว่าการใช้เงินสดนั้นลำบากกว่าการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันชำระเงินหลายเท่าตัว

 

การรองรับ Cashless Society ของสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆ

สถาบันการเงินต่างๆ ก็เร่งปรับรูปแบบเพื่อรองรับ Cashless Society กันหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าเป็นการให้บริการในรูปแบบธุรกรรมออนไลน์ของ Internet Banking หรือ Mobile Application ต่างๆ ซึ่งเข้ามามีบทบาทในธุรกิจของ e-Commerce เป็นอย่างมาก ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกจำกัดไว้เฉพาะในภาคเอกชนเท่านั้น เพราะในปีนี้ส่วนราชการต่างๆ ก็มีการเริ่มปรับรูปแบบของการรับชำระเงินต่างๆ มาเพื่อรองรับ Cashless Society เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระค่าภาษีต่างๆ การชำระค่าธรรมเนียมการต่อใบขับขี่ ชำระภาษีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ชำระค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดิน การทำหนังสือเดินทาง (Passport) หรืออื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดไป เพราะสามารถใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือใช้ Mobile Application ของธนาคารผ่านการสแกน QR Code เพื่อชำระค่าบริการต่างๆ ได้ทันที

 

บัตร ‘พร้อมจ่าย’ แม้ไม่มีบัญชีธนาคารก็พร้อมจ่ายได้ทันที

หลายคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือกังวลเรื่องความยุ่งยากในการไปเปิดบัญชีที่ธนาคารก็สามารถใช้งานบัตรอิเล็กทรอนิกส์แบบเติมเงินที่ชื่อว่า ‘บัตรพร้อมจ่าย’ ของธนาคารกรุงไทย ถือบัตรใบเดียวก็สามารถรูดใช้จ่ายกับหน่วยงานภาครัฐหรือราชการต่างๆ ได้แล้ว ซึ่งข้อดีของบัตรพร้อมจ่ายใบนี้ ได้แก่

 

 

 

เมื่อโลกเปลี่ยน เทรนด์ของรูปแบบการใช้เงินก็เปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งการก้าวเข้าสู่ Cashless Society อย่างสมบูรณ์แบบได้นั้นต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงธุรกิจรายใหญ่และรายย่อย ข้อดีของ Cashless Society มีมากมายขนาดนี้แล้ว คุณล่ะเตรียมพร้อมกับสังคมไร้เงิน(สด)แล้วหรือยัง

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ktb.co.th/th/personal/cards/ktb-debit-card-privileges/308

The post Cashless Society เมื่อการใช้เงิน(สด)ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/cashless-society/feed/ 0
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปีนี้รายได้แบงก์ลด 9 พันล้าน เหตุเพราะยกเลิกค่าธรรมเนียม https://thestandard.co/kasikornresearch-free-mobile-banking-fee/ https://thestandard.co/kasikornresearch-free-mobile-banking-fee/#respond Fri, 30 Mar 2018 08:35:51 +0000 https://thestandard.co/?p=81013

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมิน แบงก์แข่งขันดุ รายได้ค่าธรรมเ […]

The post ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปีนี้รายได้แบงก์ลด 9 พันล้าน เหตุเพราะยกเลิกค่าธรรมเนียม appeared first on THE STANDARD.

]]>

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมิน แบงก์แข่งขันดุ รายได้ค่าธรรมเนียมทั้งระบบลดลง 9 พันล้านบาท โต 2-3% เท่านั้น

 

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะส่งผลต่อกำไรของกลุ่มธนาคารในระยะสั้น โดยรายได้จากค่าธรรมเนียมในปีนี้จะลดลงประมาณ 9 พันล้านบาท ในภาพรวมจะยังเติบโต 2-3% แต่ก็ถือว่าลดไปมากเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่โตกว่า 7%

 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ยังมีรายได้ค่าจากธรรมเนียมประเภทอื่นทั้งจากการขายประกัน ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต และอื่นๆ อยู่ สิ่งที่ธนาคารต้องปรับตัวคือการลดต้นทุนในส่วนอื่นๆ เพื่อรักษาระดับตัวเลขผลประกอบการ ขณะที่การทำธุรกิจในระยะยาว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเชื่อว่าธนาคารจะได้ประโยชน์ เพราะจะมีลูกค้ารายย่อยใหม่เพิ่มขึ้นจากช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปล่อยสินเชื่อบุคคลต่อไปในอนาคต

 

ปี 2560 ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีกำไรสุทธิรวม 1.74 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ค่าธรรมเนียม 1.9 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% ของรายได้ทั้งหมด และถ้าพิจารณาเฉพาะค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และพร้อมเพย์จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7-10% เท่านั้น โดยตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเกิดธุรกรรมผ่าน Mobile Banking และ Internet Banking แบบก้าวกระโดดทุกปี คาดว่าอีก 10 ปีต่อจากนี้ การใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะแตะ 50% เพิ่มจากปัจจุบันซึ่งสัดส่วนอยู่ที่ 30%

 

อ้างอิง:

The post ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปีนี้รายได้แบงก์ลด 9 พันล้าน เหตุเพราะยกเลิกค่าธรรมเนียม appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/kasikornresearch-free-mobile-banking-fee/feed/ 0
เกมฟรีค่าธรรมเนียม ศึกแลกหมัดชิงลูกค้าครั้งใหญ่ของไทยพาณิชย์และกสิกรไทย https://thestandard.co/fee-free-banking-strategy/ https://thestandard.co/fee-free-banking-strategy/#respond Wed, 28 Mar 2018 11:21:17 +0000 https://thestandard.co/?p=80521

“มาช้ายังดีกว่าไม่มา” เป็นท่อนหนึ่งของเพลงที่ติดหูคนวัย […]

The post เกมฟรีค่าธรรมเนียม ศึกแลกหมัดชิงลูกค้าครั้งใหญ่ของไทยพาณิชย์และกสิกรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

“มาช้ายังดีกว่าไม่มา” เป็นท่อนหนึ่งของเพลงที่ติดหูคนวัยมิลเลนเนียลส์ที่สื่อความหมายได้ดีทีเดียว ถึงเรื่องบางเรื่องถึงทำช้าหน่อยแต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำ เหมือนกับการเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ถือเป็นเรื่องยุ่งยากลำบากใจหรือ ‘Pain Point’ ของผู้บริโภคมานาน วันนี้บรรดาธนาคารพาณิชย์ (จำต้อง) แก้ไขปัญหานี้แล้ว เราอาจนึกขอบคุณ Digital Disruption ที่บังคับให้อุตสาหกรรมบริการทางการเงินต้องปรับตัว ก่อนที่จะไม่มีโอกาสให้เปลี่ยน

 

แบงก์ที่มีฐานลูกค้ามหาศาลและแข่งขันกันในทุกมิติอย่างธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกสิกรไทย ช่วงชิงการรับรู้เรื่องบริการฟรีค่าธรรมเนียมในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างดุเดือด เป็นเกมที่ต่างรู้ดีว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำจะหายไป เพียงแต่ว่าใครจะทิ้งไพ่ก่อนเท่านั้น

 

และนี่คือเกมการตลาดที่ต้องลุ้นกันชนิดชั่วโมงต่อชั่วโมง

 

กสิกรเล่นเกมชิงพื้นที่สื่อ ไทยพาณิชย์ดึง ‘เบลล่า มานี’ เรียกกระแส   

 

วันที่ 26 มีนาคม 2561

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ชิงปล่อยภาพทุ่งลาเวนเดอร์พร้อมข้อความ “ฟรีทุกค่าธรรมเนียม โอน จ่าย เติม กด” ระบุโอนเงินข้ามเขตข้ามธนาคาร จ่ายบิลสินค้าและบริการเติมเงินมือถือและกดเงินไม่ใช่บัตรทั่วไทยฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม ระบุ 2 ช่องทางสำคัญคือ Easy Net สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ Online Banking และ Easy App สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในภารกิจ ‘ตีลังกากลับหัว’ ของธนาคาร ที่จะรุกตลาดรายย่อยผ่านแพลตฟอร์มอย่างเต็มรูปแบบ

 

 

ตลอดทั้งวัน สื่อออนไลน์เริ่มนำเสนอประเด็นนี้ในวงกว้างและเริ่มก่อตัวเตรียมเป็น Talk of the Town จนเมื่อคู่แข่งอย่างธนาคารกสิกรไทยแก้เกมในอีกไม่ถึง 24 ชั่วโมงต่อมา

 

วันที่ 27 มีนาคม 2561

 

ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งราษฎร์บูรณะเปิดตัวแคมเปญ ‘ฟรีค่าธรรมเนียม’ โดยใช้ภาพของแม่ทัพใหญ่การตลาด ‘พัชร สมะลาภา’ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทยเรียกความมั่นใจ

 

 

พัชร กล่าวว่าธนาคารกสิกรไทยยังคงเป็นผู้นำทางด้าน Mobile Banking และ Internet Banking ประกาศทำธุรกรรมฟรีค่าธรรมเนียมให้กับลูกค้ารายย่อยและลูกค้า SMEs ที่ใช้บริการดิจิทัล 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber และ K-Cyber for SME โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมการโอนข้ามเขต โอนต่างธนาคาร จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ และเติมเงินมือถือ เริ่มต้นวันที่ 28 มีนาคม จนถึงสิ้นปี 2561 และแบงก์กสิกรไทยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 6 พันล้านรายการภายในกลางปีนี้ ซึ่งรวมทั้ง Financial Transaction และ Non-Financial Transaction

 

ปัจจุบันผู้ใช้งาน K PLUS ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญจำนวน 8.1 ล้านราย ขณะที่ผู้ใช้งาน K-Cyber Banking จำนวน 1.7 ล้านราย ซึ่งยังถือเป็นแบงก์ที่มีฐานลูกค้าที่ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มากที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่สื่อได้รับวันที่ 27 มีนาคม ยังมีข้อความระบุเป็นหมายเหตุว่า “ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า”

 

วันที่ 28 มีนาคม 2561

 

“อันนี้ไม่ใช่แคมเปญนะครับ เป็นการยกเลิกค่าธรรมเนียมออกไปเลย” ธนา เธียรอัจฉริยะ กล่าว

 

10.30 น. ธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer และ ธนา โพธิกำจร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสาย Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ขึ้นเวทีแถลงความสำเร็จของ SCB Easy App หลังจากที่เปิดตัวเมื่อกลางปี 2560 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 6.5 ล้านราย เติบโตถึง 40% และธุรกรรมที่ไม่เกี่ยวกับเงินสด (Non-Cash Transaction) ทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์ 80% ทำบนระบบออนไลน์ทั้ง Easy Net และ Easy App ขณะที่เหลือธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม 11% และผ่านสาขา 9% เท่านั้น

 

ปัจจุบันมีธุรกรรมเกิดขึ้นบน SCB Easy กว่า 150 ล้านครั้งต่อเดือน โดยรายการที่ทำมากที่สุดคือ โอนเงิน เติมเงิน และจ่ายบิล สิ่งที่น่าจับตาคือขณะนี้มีลูกค้าที่ใช้บริการกู้ยืมผ่านระบบ SCB Easy แล้วกว่า 7.5 หมื่นราย ซึ่งธนาคารให้ข้อมูลว่าสามารถยื่นสมัครและรับเงินจบกระบวนการใน 5 นาทีเท่านั้น

 

แบงก์ไทยพาณิชย์จึงประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมบริการที่เคยเป็นภาระของผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้ารายย่อยคือ โอนเงินข้ามเขต โอนเงินข้ามธนาคาร จ่ายบิลสินค้าและบริการ รวมถึงกดเงินสดจากตู้โดยไม่ใช้บัตร ซึ่งธนามองว่า บัตรเอทีเอ็มที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมรายปีก็ถือเป็นอีกภาระหนึ่งของลูกค้าด้วย

 

นอกจากนี้ยังจับกระแสแม่การะเกดจากละครดัง บุพเพสันนิวาส โดยดึง ‘เบลล่า-ราณี’ ดาราสาวที่กำลังฮอตมาเป็นพรีเซนเตอร์แคมเปญใหม่ ใช้ลูกเล่นของ ‘มานี’ ซึ่งเป็นตัวละครในแบบเรียนที่คนเจนวายคุ้นเคยมาใช้สื่อสารการตลาดในมุมของความเป็นเพื่อน เข้าใจง่าย และคอยนำเสนอแต่สิ่งดีๆ งบประมาณสำหรับกิจกรรมทางการตลาดนี้ประมาณ 40 ล้านบาท โดยมีกระแสข่าวว่าไทยพาณิชย์ทุ่มทุนจ่ายค่าตัวให้นางเอกสาวถึง 8 ล้านบาท ซึ่งยังไม่มีการยืนยันข้อมูลนี้

 

หลังแถลงข่าวจบ ยังมีกิจกรรมพากองทัพมานีและทีมไทยพาณิชย์โปรโมตการยกเลิกค่าธรรมเนียมของ SCB Easy โดยใช้รถบัส 8 คันและรถตู้ 10 คันขนทีมนับร้อยชีวิตลงพื้นที่สำคัญอย่าง ดิ เอ็มควอเทียร์, สยามสแควร์, เดอะพาลาเดียม ประตูน้ำ และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

 

ถือเป็นการเปิดเกมรุกที่เล่นใหญ่และลงทุนที่ไทยพาณิชย์หมายมั่นปั้นมือจะรุกฆาตตลาดรายย่อยให้ได้

 

จนเมื่อช่วงบ่ายของวันนี้

 

16.00 น. ธนาคารกสิกรไทยประกาศ ‘ยกเลิกค่าธรรมเนียม’ ของแคมเปญที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า

 

ธนาคารกสิกรไทย สนับสนุนลดการใช้เงินสดทั่วไทย ประกาศยกเลิก ‘ค่าธรรมเนียม’ สำหรับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการที่ใช้บริการช่องทางดิจิทัล 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber, K-Cyber for SME ฟรีค่าธรรมเนียมบริการยอดนิยมที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ โอนข้ามเขต/ข้ามธนาคาร จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ เติมเงิน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 

 

นั่นคือกสิกรไทยทิ้งไพ่อีกใบชนกับไทยพาณิชย์ ไม่ใช่แค่แคมเปญ แต่เป็นการยกเลิกค่าธรรมเนียมออกไปเช่นเดียวกัน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ 28 มีนาคม ตามกำหนดเดิม มีข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า นี่เป็นการตัดสินใจแบบทันท่วงทีของ ‘นายใหญ่’ คนสำคัญ เพื่อปรับเกมและรักษาความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง

 

 

ไม่ถึง 72 ชั่วโมง นับจากอรุณรุ่งของวันจันทร์ที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่และรวดเร็วกับวงการธนาคารไทย ซึ่งชิงไหวชิงพริบและแข่งขันกันรุนแรงที่สุด ธนาคารกสิกรไทยประกาศให้ K Plus เป็น Lifestyle Platform ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ยก SCB Easy เป็น Lifestyle Banking ค่อนข้างชัดเจนว่าเกมธุรกิจของวงการนี้จะเข้มข้นขึ้นอีกอย่างแน่อน

 

ล่าสุดกระทั่งธนาคารกรุงไทยก็เพิ่งประกาศไม่คิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต หรือโอนต่างธนาคารแบบทันที จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ บริการเติมเงิน ผ่าน KTB netbank จนถึงสิ้นปีนี้ตามมาด้วย จึงต้องจับตาว่าธนาคารอื่นๆ จะกระโดดลงมาเล่นเกม ‘ฟรีค่าธรรมเนียม’ นี้อีกกี่ราย

 

ธนา ให้ความเห็นว่า Mobile Banking ถือเป็นแพลตฟอร์มเดียวที่ยังเป็นพื้นที่ของคนไทย นอกนั้นล้วนเป็นแพลตฟอร์มของต่างประเทศที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทั้งสิ้น จึงถือเป็นหลักยึดที่จะต้องสร้างให้แข็งแกร่ง โดยวันข้างหน้าเชื่อว่าจะมีผู้นำในแพลตฟอร์มนี้เพียงสองราย และฐานลูกค้าไม่ต่างกันนัก

 

สิ่งที่ธนาคารกังวลใจไม่ใช่การแข่งกับธนาคารด้วยกัน แต่เป็นการุกคืบของกลุ่ม Non-Bank ที่มีแพลตฟอร์มใหญ่ ทันสมัยและแข็งแรง ที่จะเข้ามาช่วงชิงพื้นที่การให้บริการทางการเงิน

 

แล้วธนาคารไหนควรจะชนะ? ธนา ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจน เพียงแต่บอกว่านี่เป็นชัยชนะของลูกค้าที่จะได้ทำธุรกรรมโดยไม่มีค่าธรรมเนียมจุกจิกอีกต่อไป

 

ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าวันพรุ่งนี้จะมีหมัดเด็ดทางการตลาดอะไรออกมาอีก รู้แต่ตอนนี้ Game On! ไปแล้ว

 

และในเมื่อเกมยังไม่จบ ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปอะไรทั้งนั้น

 

อ้างอิง:

The post เกมฟรีค่าธรรมเนียม ศึกแลกหมัดชิงลูกค้าครั้งใหญ่ของไทยพาณิชย์และกสิกรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/fee-free-banking-strategy/feed/ 0
มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยโตต่อเนื่อง 14% ETDA คาดจบปีนี้ทะลุ 2.8 ล้านล้านบาท https://thestandard.co/thai-ecommerce-growing-continuously/ https://thestandard.co/thai-ecommerce-growing-continuously/#respond Wed, 04 Oct 2017 12:27:45 +0000 https://thestandard.co/?p=32305

     ผลการสำรวจมูลค่าธุรกิจพาณิชย์อิเล็ก […]

The post มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยโตต่อเนื่อง 14% ETDA คาดจบปีนี้ทะลุ 2.8 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ผลการสำรวจมูลค่าธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2560 ชี้อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ไทยโตต่อเนื่องจากปีที่แล้ว 14% อุตสาหกรรมค้าปลีก-ค้าส่ง บริการที่พักและการผลิตทำเงินสูงสุด ด้าน ETDA คาดจบปีนี้อีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าทะลุ 2.8 ล้านล้านบาท

     ปีนี้สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำรายงานผลการสำรวจมูลค่าธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยปี 2560 ขึ้นมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากการรวบรวมและเก็บข้อมูลกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซเมื่อปี 2559 พร้อมคาดการณ์ล่วงหน้าทิศทางการเติบโตปี 2560

     ETDA ให้เหตุผลการสำรวจข้อมูลกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซในครั้งนี้ว่าเพื่อนำมาใช้อ้างอิงหรือเปรียบเทียบกับอีคอมเมิร์ซต่างประเทศ และเพื่อให้หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้วางนโยบาย บริหารจัดการกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพของตลาดที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้อีคอมเมิร์ซไทยพัฒนาได้อย่างถูกจุด มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

 

อีคอมเมิร์ซไทยปีที่ผ่านมามีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านบาท ส่วนอุตสาหกรรมฟันเงินสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ค้าปลีก-ค้าส่ง ให้บริการที่พัก และการผลิต

     การสำรวจครั้งนี้จำแนกเป็นการสำรวจมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยปี 2559 และคาดการณ์มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยปี 2560 ซึ่ง ETDA ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการทั้งหมด 592,996 รายที่อ้างอิงรายชื่อจากสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ

 


     กลุ่มตัวอย่างที่ว่าแบ่งเป็นตัวแทนผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ อีคอมเมิร์ซน้อยกว่า 50 ล้านบาท ต่อปี (SMEs) จำนวน 2,810 รายและตัวแทนผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการอีคอมเมิร์ซมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาทต่อปี (Enterprises) จำนวน 100 ราย และทำการสำรวจใน 3 ด้านได้แก่

      1. สำรวจมูลค่าตามลักษณะธุรกิจ ได้แก่ B2B (Business to Business), B2C (Business to Customers) และ B2G (Business to Government) ได้ข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเป็นมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ประกอบด้วยการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market: e-Market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e-Bidding) เท่านั้น

      2. สำรวจโดยแบ่งมูลค่าตามรายได้ผู้ประกอบการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการ Enterprises

      3. สำรวจโดยแบ่งมูลค่าตามการแบ่งประเภทอุตสาหกรรม ISIC Rev.4 (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities Rev.4) แบ่งเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรม การค้าปลีกและการค้าส่ง, อุตสาหกรรมการขนส่ง, อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก, อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร, อุตสาหกรรมการประกันภัย, อุตสาหกรรม ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ และอุตสาหกรรมการบริการด้านอื่นๆ

     และจากการสำรวจพบว่าในปี 2559 ที่ผ่านมาอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่ามากถึง 2,560,103.36 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 14.03% (มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยปี 2558 คือ 2,245,147.02 ล้านบาท)

     ในจำนวนนี้จำแนกได้เป็นอีคอมเมิร์ซแบบ B2B ที่มีมูลค่ามากถึง 1,542,167.50 ล้านบาท (60.24%) รองลงมาคือ B2C มีมูลค่า 703,331.91 ล้านบาท (27.47%) และสุดท้ายคือ B2G มูลค่า 314,603.95 ล้านบาท (12.29%)

 

 

โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าอีคอมเมิร์ซสูงสุดทั้ง 8 หมวดได้แก่

  • อันดับ 1 : อุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง มูลค่า 713,690.11 ล้านบาท (31.78%) – จำแนกเป็น Enterprises 367,993.58 ล้านบาท และ SMEs 345,696.54 ล้านบาท
  • อันดับ 2 : อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก มูลค่า 607,904.89 ล้านบาท (27.07%)
  • อันดับ 3 : อุตสาหกรรมการผลิต มูลค่า 428,084.73 ล้านบาท (19.06%) – จำแนกเป็น Enterprises 413,977.36 ล้านบาท และ SMEs 14,107.36
  • อันดับ 4 : อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร มูลค่า 384,407.71 ล้านบาท (17.12%) – จำแนกเป็น Enterprises 380,815.76 ล้านบาท และ SMEs 3,591.95 ล้านบาท
  • อันดับ 5 : อุตสาหกรรมการขนส่ง มูลค่า 83,929.05 ล้านบาท (3.74%)
  • อันดับ 6 : อุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ มูลค่า 15,463.46 ล้านบาท (0.69%) – จำแนกเป็น Enterprises 11.854.90 ล้านบาท และ SMEs 3,608.56 ล้านบาท
  • อันดับ 7 : อุตสาหกรรมธุรกิจบริการอื่นๆ มูลค่า 9,622.77 ล้านบาท (0.43%) – จำแนกเป็น Enterprises 543.59 ล้านบาท และ SMEs 9,079.18 ล้านบาท
  • อันดับ 8 : อุตสาหกรรมการประกันภัย มูลค่า 2,396.69 ล้านบาท (0.11%)

 

 

คนไทยยังนิยมใช้บัตรเครดิต/เดบิต อีคอมเมิร์ซ SMEs ยังวางใจไปรษณีย์ไทย

     จากการเก็บข้อมูลยังพบอีกด้วยว่า ช่องทางการชำระเงินทางออนไลน์ที่ผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs นิยมใช้มากที่สุดประจำปี 2559 คือ การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิต และเพย์เมนต์เกตเวย์ของธนาคารต่างๆ (59.86%)

     ส่วนช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมที่ลดหลั่นรองลงมาได้แก่ e-Banking ครอบคลุมรวม Internet Banking, Mobile Banking (23.00%), การชำระเงินผ่านธุรกรรมบนมือถือหรือตัวแทน (Third Party) เช่น m-Pay, True Money, Airpay, Linepay (13.33%) และการชำระเงินผ่านระบบต่างประเทศ เช่น Paypal, Alipay (3.81%)

 

 

     ด้านการใช้ช่องทางการขนส่งสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการนิยมมากที่สุดแบ่งตามขนาดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซพบว่า

     กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ Enterprises นิยมใช้บริการบริษัทโลจิสติกส์ Outsource (Third Party) มากที่สุด 39.13% รองลงมาได้แก่การใช้บริการไปรษณีย์ไทย 34.78% และการใช้บริการโลจิสติกส์เป็นของตนเอง (Own Transportation) 26.09%

     ด้านกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ SMEs นิยมใช้บริการไปรษณีย์ไทยมากที่สุดถึง 84.38% รองลงมาได้แก่ การใช้บริการบริษัทจัดส่งสินค้า (47.76%), การใช้บริการส่งโดยบริษัทตัวกลางในการจัดส่งสินค้า (8.40%),​ การใช้บริการจัดส่งสินค้าของตัวเอง (8.15%), การส่งข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (6.23%), การกำหนดจุดรับสินค้าระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้า (5.37%) และรูปแบบอื่นๆ (1.89%)

     ทั้งนี้ผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีช่องทางในการกระจายสินค้าและบริการมากกว่า 1 ช่องทางเสมอ

 

ผลสำรวจชี้อีคอมเมิร์ซไทยโตต่อเนื่องทุกปีด้วยปัจจัยส่งเสริม 4 ประการ

     ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาที่ ETDA เก็บข้อมูลของอีคอมเมิร์ซประเทศไทยและรายงานสรุปเบ็ดเสร็จแต่ละปีพบว่า ภาพรวมอีคอมเมิร์ซไทยกำลังอยู่ในทิศทางการเติบโตที่ดี มีอัตราการเพิ่มขึ้นของมูลค่าในทุกๆ ปี เนื่องจากจำนวนของผู้ประกอบการที่เพิ่มมากขึ้น การปรับตัวเข้าสู่ช่องทางการค้าขายสินค้าออนไลน์และการกระจายสินค้าไปยังต่างประเทศ

     โดยอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2557 มีมูลค่า 2,033,493.35 ล้านบาท ส่วนในปี 2558 มีมูลค่า 2,245,147.02 ล้านบาท และปีที่ผ่านมานี้อีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากถึง 2,560,103.36 ล้านบาทเลยทีเดียว และมีอัตราการเติบโตระหว่างปีอยู่ที่ 10.41% (ปี 2557-2558) และ 14.03% (ปี 2558-2559) ตามลำดับ

     ETDA คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2560 นี้ อีคอมเมิร์ซไทยจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 2,812,592.03 ล้านบาท เทียบเป็นอัตราส่วนการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 9.86% (ปี 2559-2560) โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่าอีคอมเมิร์ซแบบ B2B จำนวน 1,675,182.23 ล้านบาท (59.56%), มูลค่าอีคอมเมิร์ซแบบ B2C จำนวน 812,612.68 ล้านบาท (28.89%) และมูลค่าอีคอมเมิร์ซแบบ B2G จำนวน 324,797.12 ล้านบาท (11.55%)

 

     นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้อีคอมเมิร์ซไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วออกเป็น 4 ประการได้แก่

      1. การสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐบาล

     ภาครัฐผลักดันธุรกิจอีคอมเมิร์ซภายในประเทศ โดยมุ่งสนับสนุนและเร่งพัฒนาผู้ประกอบการระดับฐานราก ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการท้องถิ่นให้สามารถค้าขายออนไลน์ได้จริง รวมถึงพัฒนาผู้ประกอบการรายเดิมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ทั้งยังส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ให้เข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

      2. ผู้ประกอบการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าและบริการผ่านออนไลน์มากขึ้น

     การซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขยายช่องทางการสร้างรายได้ของธุรกิจ

      3. ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีแนวโน้มและศักยภาพโตได้อีกมากในอนาคต

     เนื่องจากพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์ก็เป็นเรื่องง่าย ประหยัดเวลาและการเดินทาง สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีแนวโน้มและศักยภาพเติบโตได้อีกมากในอนาคต

     นอกจากนี้ยังมีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่จะช่วยผู้ประกอบการดูแลลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยี AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ประวัติการซื้อสินค้าและบริการ, พฤติกรรมของผู้บริโภค ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลลูกค้าหลังการขายได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นแนวโน้มและบทบาทของปัญญา ประดิษฐ์ต่ออีคอมเมิร์ซในอนาคต

     4. นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

     นักลงทุนด้าน e-Marketplace, e-Logistics, e-Payment ชื่อดังจากจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, สิงคโปร์ และมาเลเซีย ทยอยเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการสร้างบรรยากาศในการแข่งขันและพัฒนาตัวเองของผู้ประกอบการไทยให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ และยังสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้อีกด้วย

 

ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

อ้างอิง:

  • รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2560 (Value of e-Commerce Survey in Thailand 2017) โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

The post มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยโตต่อเนื่อง 14% ETDA คาดจบปีนี้ทะลุ 2.8 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thai-ecommerce-growing-continuously/feed/ 0
Refinn ครบ 1 ปี รีไฟแนนซ์ปลดล็อกหนี้บ้านกว่า 1,300 ล้านบาท เตรียมดึง AI ช่วยปลดหนี้ https://thestandard.co/refinn/ https://thestandard.co/refinn/#respond Tue, 05 Sep 2017 08:43:09 +0000 https://thestandard.co/?p=24585

     Refinn เป็นสตาร์ทอัพด้านฟินเทค (Fin […]

The post Refinn ครบ 1 ปี รีไฟแนนซ์ปลดล็อกหนี้บ้านกว่า 1,300 ล้านบาท เตรียมดึง AI ช่วยปลดหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     Refinn เป็นสตาร์ทอัพด้านฟินเทค (FinTech) ที่เราแอบจับตามองตั้งแต่ตอนเปิดตัวเดือนกันยายนปีที่แล้ว ด้วยการหยิบเรื่องการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งถูกมองว่า ‘ไกลตัว’ และ ‘ยุ่งยาก’ มาจับคู่กับนวัตกรรมและให้บริการทางออนไลน์ โดยรวบรวมโปรโมชันจากธนาคารชั้นนำ มาคำนวณเปรียบเทียบเพื่อนำเสนอโปรโมชันที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการแต่ละราย หวังช่วยคนไทยลดภาระหนี้และประหยัดเงินจากดอกเบี้ย โดยมี กรณ์ จาติกวณิช ประธานชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย เป็นหัวเรือใหญ่ของบริษัท

     ที่ผ่านมาเราเห็นสตาร์ทอัพรายนี้ไปปรากฏตัวตามโครงการและงานชุมนุมของเหล่าสตาร์ทอัพระดับสากล ขณะที่กระแสรีไฟแนนซ์ออนไลน์เริ่มขยายสู่วงกว้างยิ่งขึ้น จนกระทั่งเมื่อวานนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับทีมผู้บริหาร Refinn ในงานแถลงข่าวครบรอบ 1 ปี ถึงความก้าวหน้าของธุรกิจ กระแสตอบรับ และโจทย์ที่รออยู่เบื้องหน้า ภายใต้การนำของซีอีโอคนใหม่ พรพิมล ปฐมศักดิ์ ที่มีประสบการณ์การทำงานธนาคารกว่า 10 ปี

 

กรณ์ จาติกวณิช ประธาน บริษัท รีฟินน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดอทคอม จำกัด

 

1 ปี กับการรีไฟแนนซ์ 600 ครัวเรือน วงเงินสินเชื่อรวม 1,300 ล้านบาท

     กรณ์ จาติกวณิช ประธาน บริษัท รีฟินน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดอทคอม จำกัด เปิดเผยผลการดำเนินงานในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาพบว่า คนไทยสนใจและตื่นตัวเรื่องการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น จากยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 4 แสนราย มีผู้ยื่นขอรีไฟแนนซ์ผ่านเว็บไซต์ www.refinn.com คิดเป็นวงเงินกว่า 32,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา Refinn ได้เข้ามาช่วยลูกค้ารีไฟแนนซ์ไปแล้ว 600 ครัวเรือน คิดเป็นวงเงินรวม 1,300 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อยทีเดียว โดยชี้ว่าแต่ละครอบครัวจะสามารถลดภาระเงินผ่อนจากดอกเบี้ยได้เดือนละประมาณ 6,000 บาท และคาดว่าภายในสิ้นปี 2560 จะมียอดอนุมัติไม่ต่ำกว่า 3,400 ล้านบาท

     กรณ์ชี้ว่า ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนไทยปรับเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนักวิชาการมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

     “Refinn ตั้งเป้าตั้งแต่แรกว่าเราอยากช่วยลดภาระหนี้สินให้กับคนไทย เริ่มต้นจากเงินกู้ซื้อบ้าน ซึ่งถือเป็นภาระก้อนใหญ่ที่สุดของคนไทยที่เป็นหนี้ หนี้โดยรวมในระบบการเงินไทยที่กู้ยืมมาเพื่อซื้อบ้านเป็นวงเงินถึง 3 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด

     “พอหนี้เยอะ กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง” กรณ์กล่าว

     “หัวใจของฟินเทคคือ ทำอย่างไรที่จะนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวก เป็นธรรม มีต้นทุนน้อยลง ถ้าตอบโจทย์นี้ได้ ฟินเทคก็จะไปได้ไกล หากไม่ได้ก็จะเป็นแค่กระแสที่ผ่านไปไม่มีการพัฒนา”

 

 

     ทีม Refinn ตั้งข้อสังเกตว่า ในเมื่อประชาชนไทยกู้เงินมาซื้อบ้านค่อนข้างมาก แล้วทำไมมูลค่าของการรีไฟแนนซ์ต่อปีจึงค่อนข้างน้อย ก่อนการก่อตั้ง Refinn มีเม็ดเงินจากการรีไฟแนนซ์ต่อปีประมาณ 6 หมื่นล้านบาท เทียบกับหนี้โดยรวมในระบบ 3 ล้านล้านบาท

     นั่นเพราะคนเข้าไม่ถึงข้อมูลส่วนของการกู้เงิน และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์ แค่จะไล่ศึกษาข้อเสนอสินเชื่อบ้านจากธนาคารแต่ละเจ้าเพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุดก็อาจทำให้หลายคนถอดใจไปก่อน สิ่งที่ Refinn ทำก็คือ เป็นศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลโปรโมชันของธนาคารแต่ละเจ้าไว้ที่เดียว เพื่อคำนวณเปรียบเทียบโปรโมชันที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการแต่ละเคส และช่วยตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากซับซ้อน นอกจากนี้ ทีมงานยังดึงผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยให้คำปรึกษา วิเคราะห์ และประเมินโอกาสที่ผู้ใช้บริการจะยื่นขอรีไฟแนนซ์ผ่านอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกวางใจ และประหยัดเวลาการศึกษาข้อมูลเอง ซึ่งนับว่าตอบโจทย์ Pain Point ได้ตรงจุด

     ปัจจุบัน ตลาดสินเชื่อบ้านมีมูลค่ากว่า 3.4 ล้านล้านบาท ภาพรวมของธุรกิจสินเชื่อบ้านในปีนี้มีการเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ มีการขยายตัวสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่เพิ่มขึ้น 3-5% บ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการรีไฟแนนซ์ในอนาคต จากการสำรวจปัจจุบัน มีผู้สนใจรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจากผู้กู้สินเชื่อบ้านตื่นตัวและให้ความสนใจในการลดดอกเบี้ย และเห็นประโยชน์อื่นๆ มากขึ้น ซึ่งประมาณการขนาดของตลาดอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท

     ด้าน พรพิมล ปฐมศักดิ์ ซีอีโอคนใหม่ของ Refinn กล่าวถึงภาพรวมควาสำเร็จที่ผ่านมาว่าเป็นที่น่าพอใจ คนไทยตื่นตัวเรื่องการรีไฟแนนซ์มากขึ้น ธุรกิจเติบโตถึง 30% เมื่อเทียบแบบเดือนต่อเดือน (MoM)

     “ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมามีประชาชนสนใจเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์ผ่านเว็บไซต์โดยรวมประมาณกว่า 4 แสนคน ในส่วนนี้เป็นประชาชนที่มีภาระหนี้ในปัจจุบัน มีผู้เสนอขอรีไฟแนนซ์ผ่าน Refinn คิดเป็นวงเงิน 32,000 ล้านบาท สังเกตได้ว่าเป็นมูลค่ากว่าครึ่งของการรีไฟแนนซ์ในปีปกติก่อนหน้าที่จะมี Refinn”

 

พรพิมล ปฐมศักดิ์ ซีอีโอคนใหม่ของ Refinn

 

ดึง Big Data และ Machine Learning ช่วยคนไทยปลดหนี้

     สำหรับเป้าหมายในปีนี้ของ Refinn พรพิมลเปิดเผยว่า จะมุ่งพัฒนาเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายขึ้น และเริ่มนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ เพื่อที่จะกระตุ้นให้ธุรกิจเติบโตในแนวดิ่ง (Hockey Stick Growth) ตามเป้าหมายของบริษัท และขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดในอนาคต โดยเน้นการพัฒนา 3 มิติด้วยกัน คือ

  • ผลิตภัณฑ์: เพิ่มบริการสินเชื่อลดภาระหนี้ หรือ บ้านแลกเงิน (Home for Cash)
  • พาร์ตเนอร์: เตรียมเจรจาขยายพันธมิตรกับธนาคารและกลุ่ม non-bank
  • เทคโนโลยี: นำ Machine Leaning และ Big Data เข้ามาใช้ศึกษากลุ่มลูกค้าและพัฒนาบริการ เช่น คัดกรองข้อเสนอจากธนาคารให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ประเมินโอกาสเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธ พัฒนาระบบให้แจ้งผลแบบเรียลไทม์ และลดขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

 

     ด้าน นพ-พงศธร ธนบดีภัทร ผู้ร่วมก่อตั้งและ Chief Operation Officer บอกกับเราว่า ในอนาคตมีแผนจะพัฒนาแอปพลิเคชันที่รองรับการคำนวณสำหรับคนที่ต้องการวางแผนการเงินด้วย

     “การรีไฟแนนซ์ 3-5 ปี คนใช้บริการแค่ 1 ครั้ง อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แอปฯ ดูข้อมูลเสร็จลบแอปฯ ทิ้ง มันไม่เหมือนกับ Internet Banking ที่จะต้องเข้าใช้ทุกวัน ดังนั้น เว็บไซต์ก็ค่อนข้างที่จะตอบโจทย์ แต่เรากำลังมีแผนจะพัฒนาแอปฯ ตัวนี้ด้วย จะเป็นเครื่องมือแอดวานซ์มากขึ้นให้กับคนที่ต้องการคำนวณวางแผนทางการเงิน การบริหารหนี้ ผมว่าคนไทยยังขาดเรื่องการวางแผนเยอะ”

     พงศธรกล่าวว่า การใช้ Machine Learning และ Big Data เข้ามาต่อยอดกับข้อมูลของลูกค้าจะช่วยพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อคัดกรองข้อเสนอที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของลูกค้า เช่น ประวัติการทำงาน รายได้ รวมทั้งวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง ขณะที่ Chatbot ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองใช้เท่านั้น

     “เราเอาข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสยื่นรีไฟแนนซ์ผ่านมากขึ้น ตอนนี้ยอมรับว่าเรายังใช้ specialist ตอบคำถาม และให้คำปรึกษาในบางเคสอยู่ แต่พอเรามีข้อมูลมากขึ้น บอต, Machine Learning และ Big Data มันคงฉลาดมากพอที่จะสามารถแนะนำลูกค้าแต่ละประเภทได้ บางคนเขาแค่อยากจะวางแผนการเงิน สมมติว่ายังไม่ครบ 3 ปี แต่จะรีไฟแนนซ์ บอตจะแนะนำเขาได้ว่าเขาต้องเตรียม statement อย่างไร เขาต้องดูแลวิธีการชำระบัตรเครดิตอย่างไรเพื่อให้รีไฟแนนซ์ผ่านและลดภาระหนี้ได้ ผมว่ามันคงประโยชน์ตรงนั้น”

 

 

ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดสินเชื่อบ้าน กระตุ้นการเติบโตในแนวดิ่ง

     จุดที่น่าสนใจอีกประการคือ ทำไม Refinn จึงเลือกคนในวงการแบงก์โดยตรงอย่าง พรพิมล ปฐมศักดิ์ ซึ่งเคยเป็นผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อเพื่อบุคคลทั่วไป ธนาคารแบงค์ออฟไชน่า เข้ามาดำรงตำแหน่งซีอีโอต่อจาก นิลทิตา เลิศเรืองศุภกุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท (ปัจจุบันเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหาร) เพราะไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นตำแหน่งซีอีโอสตาร์ทอัพไทยเปลี่ยนมือเร็วในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ

     หรือนี่จะเป็นสัญญาณสะท้อนให้เห็นว่าฟินเทคนี้มีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็วชนิด ‘พุ่งทะยาน?’

     พรพิมล กล่าวกับ THE STANDARD ว่า “จริงๆ แล้วฟินเทคหรือสตาร์ทอัพ ผู้ก่อตั้ง (founder) อาจจะไม่ใช่คนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (expertise) แต่มีความมุ่งมั่นที่จะทำธุรกิจที่ดี เมื่อถึงจุดหนึ่งที่จะไปต่อ ก็อาจจะต้องมี domain expert หรือมีคนที่รู้เรื่องการทำธุรกิจเฉพาะทางเข้ามา add value ตรงนี้ ดังนั้น เขาก็เลยชวนมาทำด้านนี้ เพื่อที่จะผลักดันให้ไปถึง wave ต่อไป

     “เราเข้ามาร่วมกับบริษัทนี้ได้ประมาณ 3 เดือน performance expertise เป็นตัวที่เห็นได้ชัดมากกว่าหลายๆ อย่าง ประสิทธิภาพ (efficiency) มันสูงขึ้น เพราะว่างานพวกนี้เป็นงานที่เราทำอยู่แล้วในแบงก์ ปรับเปลี่ยนกระบวนการ คัดเลือกลูกค้าให้ตรง ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง แล้วก็ติดต่อกับแบงก์ที่เรารู้จัก ให้มีผู้ประสานงาน ตามงานได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรานำมาประยุกต์ใช้ จะเห็นได้ทันทีเลยว่าช่วงเวลาของการทราบผลอนุมัติมันสั้นลงอย่างเห็นได้ชัด (จากเดิมระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อ 118 วัน) การติดตามเคส จากเมื่อก่อนเขาไม่รู้ว่าเขาจะต้องถามใครที่ธนาคาร เราก็จะมีคอนเน็กชัน พูดคร่าวๆ คือ เราจัดโครงสร้างการทำงานใหม่ และสร้าง dashboard กำหนด KPI กำหนดเป้าหมายของแต่ละทีมงาน พวกนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้รวดเร็วขึ้น”

     เมื่อถามว่ารายได้ของ Refinn มาจากที่ไหนในเมื่อไม่ได้เก็บค่าใช้บริการ พรพิมลชี้ว่า ปัจจุบันรายได้หลักของ Refinn มาจากค่าคอมมิชชันจากธนาคาร โดยที่ธนาคารเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ เพราะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลและข้อเสนอต่างๆ ของธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมย้ำว่าไม่ใช่คู่แข่งธนาคาร ปัจจุบัน Refinn เป็นพันธมิตรกับ 1 ใน 3 ของธนาคารในตลาด และเผยว่าไม่มีแผนจะคิดค่าบริการกับลูกค้า แต่ในอนาคตอาจมองเรื่องรายได้เสริมในมุมอื่นๆ

     “เราต้องการให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจที่จะเข้ามาใช้ข้อมูลได้อย่างที่ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ แล้วเราก็จะใช้กับแบงก์ในแต่ละเคสด้วย ถ้าสมมติไม่สำเร็จ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าสำเร็จ แบงก์ถึงจะจ่ายค่าคอมมิชชันให้กับเรา”

     เมื่อถามว่าอะไรคือปัจจัยสู่ความสำเร็จของการยืนธุรกิจในระยะยาวของ Refinn พรพิมลกล่าวทิ้งท้ายว่า “ตลาดมันใหญ่มากค่ะ ถ้าเราเพิ่มจำนวนอนุมัติได้ ค่าธรรมเนียมรายรับเราค่อนข้างมหาศาลนะ แต่ตอนนี้เราอยากจะเกาะกลุ่มที่เกี่ยวกับสินเชื่อบ้าน แค่อย่างเดียวมันก็มหาศาลแล้วนะ”

     น่าจับตามองต่อไปว่าฟินเทคไทยรายนี้จะช่วยปลดล็อกหนี้คนไทยได้สำเร็จจริงหรือไม่

 

อ้างอิง:

The post Refinn ครบ 1 ปี รีไฟแนนซ์ปลดล็อกหนี้บ้านกว่า 1,300 ล้านบาท เตรียมดึง AI ช่วยปลดหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/refinn/feed/ 0