ICU – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 09 Sep 2021 14:00:16 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กลุ่ม ปตท. เปิดโรงพยาบาลสนามครบวงจร ชู ICU สนามใหญ่สุดในประเทศ รวม 120 เตียง https://thestandard.co/ptt-open-full-cycle-field-hospital-with-largest-icu/ Thu, 09 Sep 2021 14:00:16 +0000 https://thestandard.co/?p=535055 โรงพยาบาลสนาม

วันนี้ (9 กันยายน) กลุ่ม ปตท. ร่วมกับ โรงพยาบาลปิยะเวท […]

The post กลุ่ม ปตท. เปิดโรงพยาบาลสนามครบวงจร ชู ICU สนามใหญ่สุดในประเทศ รวม 120 เตียง appeared first on THE STANDARD.

]]>
โรงพยาบาลสนาม

วันนี้ (9 กันยายน) กลุ่ม ปตท. ร่วมกับ โรงพยาบาลปิยะเวท เปิดโครงการ ‘ลมหายใจเดียวกัน’ ตั้งโรงพยาบาลสนามแบบครบวงจร และคัดกรองประชาชนที่เสี่ยงติดเชื้อ วางระบบ Home Isolation โรงพยาบาลสนาม (Hospital) สำหรับผู้ป่วยสีเขียว 1,000 เตียง ผู้ป่วยสีเหลืองอีก 300 เตียง และจัดตั้งโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤต (ICU) โดยตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ถึง 8 กันยายนที่ผ่านมา มีประชาชนเข้าคัดกรองแล้วกว่า 23,000 ราย ให้การรักษาผู้ติดเชื้อกว่า 2,600 ราย และรักษาหายแล้ว 1,100 ราย

 

สำหรับ ICU สนามที่จัดตั้งขึ้นมีทั้งหมด 120 เตียง ซึ่งถือเป็น ICU สนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จัดพื้นที่รองรับผู้ป่วยโควิดที่ต้องฟอกไต จำนวน 24 เตียง เนื่องจากหากคนไข้ไม่สามารถฟอกไตได้ จะทำให้คนไข้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง นอกจากนี้ยังมีเครื่องช่วยหายใจ ระบบออกซิเจนส่งตรงถึงทุกเตียง แต่ละเตียงจะแยกห้องกัน เป็นลักษณะห้องความดันลบ เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงมีเทคโนโลยีในการติดตามสังเกตอาการผู้ป่วยได้ตลอดเวลา และมีระบบกู้ชีพอัตโนมัติ เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ และระบบอื่นๆ ที่จะได้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

 

โดยในวันนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. รวมถึง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท โรงพยาบาลปิยะเวท มาร่วมกันตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโรงพยาบาลในโครงการอีกด้วย

 

ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท. ยืนยันว่า จะเปิดโรงพยาบาลสนามแบบครบวงจรแห่งนี้ ไปจนกระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดในประเทศไทยได้ผ่านพ้นไป เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนที่ต้องเผชิญวิกฤตโรคระบาดโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการรักษา

 

The post กลุ่ม ปตท. เปิดโรงพยาบาลสนามครบวงจร ชู ICU สนามใหญ่สุดในประเทศ รวม 120 เตียง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เปิด ICU สนาม มาตรฐานโรงพยาบาล ภารกิจเพื่อความหวังผู้ป่วยโควิด https://thestandard.co/thg-open-the-icu-field-mission-for-hope-for-covid-patients/ Wed, 08 Sep 2021 10:00:04 +0000 https://thestandard.co/?p=534295 THG

ในภาวะที่โควิดกำลังระบาด มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ทั้งด้วยอ […]

The post ชมคลิป: เปิด ICU สนาม มาตรฐานโรงพยาบาล ภารกิจเพื่อความหวังผู้ป่วยโควิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
THG

ในภาวะที่โควิดกำลังระบาด มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ทั้งด้วยอายุและโรคประจำตัว ที่มีโอกาสเกิดอาการหนักขึ้นในเวลารวดเร็ว ความต้องการเตียง ICU เพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเพิ่มขึ้น เกินกว่าศักยภาพของระบบสาธารณสุขในยามปกติ

 

ด้วยความตั้งใจจริงที่ต้องการมีส่วนช่วยสังคม ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) จึงร่วมมือกับภาครัฐ จัดตั้ง ICU สนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยอาการวิกฤตและอาการปานกลาง ภารกิจครั้งนี้ เกิดได้ด้วยการระดมทรัพยากร และบุคลากร แพทย์ พยาบาล เพื่อเร่งสร้าง ICU สนามทั้ง 3 แห่ง ด้วยมาตรฐานระดับโรงเรียนแพทย์ โดยมีจำนวนเตียงรวมมากที่สุดแห่งหนี่ง

 

ที่นี้ จึงเป็นสถานที่แห่งความหวังที่จะดูแลคนไข้จนหายและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

The post ชมคลิป: เปิด ICU สนาม มาตรฐานโรงพยาบาล ภารกิจเพื่อความหวังผู้ป่วยโควิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เปิดห้อง ICU โควิด และวิกฤตที่โรงพยาบาล https://thestandard.co/thammasat-university-hospital-icu/ Mon, 09 Aug 2021 09:22:09 +0000 https://thestandard.co/?p=523363 ห้อง ICU

สิ่งที่ท้อใจที่สุดของบุคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่การทำงานหน […]

The post ชมคลิป: เปิดห้อง ICU โควิด และวิกฤตที่โรงพยาบาล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ห้อง ICU

สิ่งที่ท้อใจที่สุดของบุคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่การทำงานหนัก แต่คือการต้องปฏิเสธและเลือกช่วยคนไข้

 

THE STANDARD ติดตามการทำงานที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติตลอดวัน บรรยากาศที่โรงพยาบาลเงียบเหงาผิดปกติเพราะต้องรับผู้ป่วยนอกด้วยจำนวนจำกัด แต่เบื้องหลังความเงียบเหงา บุคลากรทางการแพทย์ทำงานอย่างหนัก เพราะมีผู้ป่วยโควิดที่อยู่ในขั้นวิกฤตเต็มศักยภาพโรงพยาบาล

 

นอกจากภาระงานที่หนัก บุคลากรด่านหน้าต้องเผชิญกับสภาวะทางจิตใจจากการปฏิบัติหน้าที่ เพราะพวกเขามาถึงจุดที่ต้องปฏิเสธและเลือกช่วยชีวิตคนไข้ ต้องมีกระบวนการรักษาแบบประคับประคอง (ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ) เพื่อบริหารจัดการเตียงที่เต็ม รวมทั้งความเสี่ยงในการติดเชื้อ ความไม่มั่นใจในวัคซีนที่ได้รับไป

 

ที่สำคัญในสงครามโควิดที่พวกเขากำลังทำหน้าที่อย่างหนักแต่พวกเขายังมองไม่เห็นจุดสิ้นสุดของมัน ไม่เคยเห็นมาตรการจากภาครัฐที่ทำให้มีความหวังว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง

 

เรื่อง: พลวุฒิ สงสกุล, รัตนา นิษุณะรัตน์
ภาพ: ณัฐพงษ์ กุลพันธ์, ธเนศ จึงสุขสันต์
ตัดต่อ: อัศวพล ตุลานนท์

The post ชมคลิป: เปิดห้อง ICU โควิด และวิกฤตที่โรงพยาบาล appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิกฤตที่โรงพยาบาล ห้อง ICU เต็ม ผู้ป่วยโควิดล้นเกินระบบสาธารณสุข 5 เท่า https://thestandard.co/hospital-crisis-full-icu-room-and-overrun-the-health-system/ Fri, 30 Jul 2021 06:22:16 +0000 https://thestandard.co/?p=519278 Hospital Crisis

การระบาดของโควิดในปัจจุบันนี้สามารถพูดได้เต็มปากว่าระบบ […]

The post วิกฤตที่โรงพยาบาล ห้อง ICU เต็ม ผู้ป่วยโควิดล้นเกินระบบสาธารณสุข 5 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
Hospital Crisis

การระบาดของโควิดในปัจจุบันนี้สามารถพูดได้เต็มปากว่าระบบสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจไม่สามารถรองรับได้อีกแล้ว เตียง ICU เต็มทุกโรงพยาบาล ส่วนเตียงที่รองรับผู้ป่วยสีเหลืองในโรงพยาบาลก็เต็มหมด นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยโควิดอาการระดับสีเหลืองต้องนอนรอในห้องฉุกเฉิน นั่นหมายความว่าโรงพยาบาลไม่สามารถรับผู้ป่วยทางบ้านได้อีก เพราะเมื่อเตียงว่าง (ไม่ว่าจะว่างลงเพราะผู้ป่วยหายแล้วหรือเสียชีวิต) ก็ต้องนำผู้ป่วยที่นอนรอในห้องฉุกเฉินเข้าไปรักษาก่อน ทุกวันนี้ทำให้เราเห็นหลายโรงพยาบาลประกาศปิดห้องฉุกเฉินชั่วคราว

 

THE STANDARD มีโอกาสเข้าไปดูห้อง ICU ผู้ป่วยโควิดที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สถานการณ์ที่นี่ไม่แตกต่างจากทุกโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แพทย์ทุกคนที่เราพูดคุยด้วยสะท้อนตรงกันว่าสิ่งที่บั่นทอนจิตใจพวกเขามากที่สุดไม่ใช่ภาระงานที่หนัก แต่คือการต้องปฏิเสธรักษาคนไข้ เพราะไม่สามารถรองรับได้จริงๆ ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤตระดับที่ต้องรีบรักษาทันที

 

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์เตียงรองรับผู้ติดเชื้อโควิดว่า จำนวนเตียงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล บางจังหวัดที่มีการระบาดมากๆ จะเจอปัญหาเตียง ICU หรือกึ่ง ICU ไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วย ตอนนี้ทางออก คือ หากอาการไม่หนัก ต้องให้รักษาที่บ้าน (Home Isolation) ซึ่งในกรุงเทพฯ ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำไปแล้วกว่า 30,000 เตียง ส่วนกรุงเทพฯ ก็ทำไปแล้วหลายพันเตียง รวมถึงแยกกักในชุมชน (Community Isolation) ก็เป็นจุดหนึ่งที่ดำเนินการอยู่

 

“ถ้าผู้ป่วยในกรุงเทพฯ เกินพันก็แย่แล้ว วันนี้ยอดทั่วประเทศ 1.7 หมื่นคน เป็นกรุงเทพฯ 4-5 พันคน เรียนตรงๆ เตียงไม่พอทั้งสีเหลือง สีแดง ตอนนี้เต็มหมด จะมีสีเขียวที่ว่างตาม Hospitel ที่สีเขียวเริ่มว่าง เพราะเราทำ Home Isolation ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องซัพพลายยาซึ่งหลายฝ่ายกำลังช่วยกันอยู่ เตียงในกรุงเทพฯ หากมีผู้ป่วย 3-4 พันราย เกินรองรับมาแล้ว 3 เท่า ตอนนี้เพิ่มเป็น 5 เท่า ก็เกินลิมิตไปแล้ว 5 เท่า เห็นแผนที่สีแดงที่คนกดขอความช่วยเหลือ ต้องขออภัยจริงๆ หน้างานไม่ไหวจริงๆ นำเข้าไปก็ไม่รู้จะให้ไปนอนที่ไหน ER (ห้องฉุกเฉิน) หลายโรงพยาบาลบางครั้งต้องปิดชั่วคราว เพราะไม่มีที่แม้กระทั่งที่ตั้งเตียง” นพ.สมศักดิ์กล่าว

 

นพ.สมศักดิ์บอกกับ THE STANDARD ด้วยว่า Home Isolation และ Community Isolation คือ ทางออกจากวิกฤตระยะสั้น แต่จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งโรงพยาบาลรัฐ คลินิก และโรงพยาบาลเอกชนร่วมกันทำให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ควบคู่กับการเปลี่ยน Hospitel ในกรุงเทพฯ ให้รองรับผู้ป่วยสีเหลืองได้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังขาดเครื่องผลิตออกซิเจนที่เริ่มขาดตลาดและหายากมากขึ้น

 

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

The post วิกฤตที่โรงพยาบาล ห้อง ICU เต็ม ผู้ป่วยโควิดล้นเกินระบบสาธารณสุข 5 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลเร่งขยายห้อง ICU-โรงพยาบาลสนาม หลังผู้ป่วยสีแดงและเหลืองเพิ่ม แก้ปัญหาขาดแคลนเตียงใน กทม. https://thestandard.co/government-expanding-icu-and-field-hospital/ Sat, 03 Jul 2021 04:11:48 +0000 https://thestandard.co/?p=507940 ประยุทธ์ จันทร์โอชา

วันนี้ (3 กรกฎาคม) อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกร […]

The post รัฐบาลเร่งขยายห้อง ICU-โรงพยาบาลสนาม หลังผู้ป่วยสีแดงและเหลืองเพิ่ม แก้ปัญหาขาดแคลนเตียงใน กทม. appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประยุทธ์ จันทร์โอชา

วันนี้ (3 กรกฎาคม) อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในการบริหารจัดการเตียงรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ทั้งกลุ่มผู้ป่วยโควิดสีแดงและสีเหลืองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามข้อสั่งการของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ซึ่งมีความห่วงใยต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิดว่า ขณะนี้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขและทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการจัดเตรียมเตียงไว้สำหรับรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอย่างเต็มที่

 

โดยในส่วนของโรงพยาบาลบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข ได้หารือกับผู้บริหารเมืองทองธานีเพื่อต่อสัญญาใช้สถานที่สำหรับทำโรงพยาบาลบุษราคัมต่อไปอีกจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อรับผู้ป่วยโควิดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงผู้ป่วยจากจังหวัดใกล้เคียง และแบ่งเบาภาระและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเตียงในพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้โรงพยาบาลบุษราคัมขยายเตียงเพิ่มได้อีก 1,500-2,000 เตียง รวมมีเตียงรองรับผู้ป่วยอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีเหลือง) ได้ประมาณ 3,700-4,000 เตียง โดยมีการบูรณาการความร่วมมือกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ในการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์เข้ามาช่วยดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงในกรุงเทพฯ

 

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังได้รับรายงานถึงความร่วมมือจากกระทรวงกลาโหม โดยได้หารือและพิจารณาร่วมกันในแต่ละส่วนของกองทัพ ถึงขีดความสามารถทางการแพทย์ทหารในการร่วมระดมปรับเกลี่ยบุคลากรทางการแพทย์ทหาร เสริมโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เร่งขยายห้องผู้ป่วย ICU ในโรงพยาบาลทหารต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และขยายขีดความสามารถพื้นที่ มทบ.11 สนับสนุนอาคารและสถานที่จัดทำโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม โดยร่วมกับโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ดูแลผู้ป่วยสีแดงและเหลือง จำนวน 178 เตียง และร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ดูแลผู้ป่วยสีเขียว เพิ่มเติมอีก 176 เตียง นอกจากนี้โรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลวชิรพยาบาล จะเปิดเตียงสีแดงเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้า ซึ่งได้มีการขอสนับสนุนกำลังบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในส่วนของแพทย์เฉพาะทาง แพทย์จบใหม่ และพยาบาล มาช่วยดูแลผู้ป่วยโควิดอีกด้วย

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีย้ำว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมสถานพยาบาลเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตามอาการต่างๆ และมีการดูแลอย่างเป็นระบบ โดยสถานะสถานพยาบาล (ณ 30 มิถุนายน 2564) สถานการณ์เตียงของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จาก 9 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลเอกชน มีเตียงทั้งหมด รวมจำนวน 31,505 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 26,069 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 5,436 เตียง ทั้งนี้จำแนกตามระดับเตียง ได้แก่ เตียงระดับ 3 (สีแดง) จำนวน 1,317 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 1,203 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 114 เตียง เตียงระดับ 2 (สีเหลือง) จำนวน 12,782 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 11,090 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 1,692 เตียง และเตียงระดับ 1 (สีเขียว) จำนวน 17,404 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 13,776 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 3,628 เตียง 

 

ส่วนโรงพยาบาลสนาม (ณ 30 มิถุนายน 2564) ได้แก่ 1. การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ปัจจุบันมีทั้งหมด 53 แห่ง พร้อมรับจำนวน 11,104 เตียง ขยายได้เป็น 12,822 เตียง รับผู้ป่วยแล้วจำนวน 3,840 เตียง รองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 7,264 เตียง 2. สถานะการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของกระทรวงกลาโหม สนับสนุนอาคารสถานที่ ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ จำนวน 31 แห่ง พร้อมใช้งานจำนวน 4,770 เตียง รับผู้ป่วยแล้วจำนวน 1,394 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 3,376 เตียง 3. สถานะการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของกรุงเทพฯ ปัจจุบันมีทั้งหมด 10 แห่ง พร้อมรับจำนวน 2,502 เตียง รับผู้ป่วยแล้วจำนวน 2,101 เตียง รองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 401 เตียง รวมสถานะการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามจาก 3 หน่วยงานดังกล่าว ปัจจุบันมีทั้งหมด 94 แห่ง พร้อมรับจำนวน 18,376 เตียง รับผู้ป่วยแล้วจำนวน 7,335 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 11,041 เตียง 

 

สำหรับโรงพยาบาลสนามแบบโรงแรม (Hospitel) รวมทั้งสิ้นจำนวน 77 แห่ง เปิดให้บริการแล้วจำนวน 59 แห่ง พร้อมใช้งานจำนวน 14,559 เตียง รับผู้ป่วยแล้วจำนวน 13,061 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 1,498 เตียง ขณะเดียวกันก็มีการบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยต่างด้าวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย Hospitel ปัจจุบันมีจำนวน 10 แห่ง พร้อมใช้งาน 2,755 เตียง รับผู้ป่วยแล้วจำนวน 2,252 เตียง รองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 503  เตียง โรงพยาบาลสนามจำนวน 9 แห่ง พร้อมใช้งาน 4,542 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 3,589 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 953 เตียง

The post รัฐบาลเร่งขยายห้อง ICU-โรงพยาบาลสนาม หลังผู้ป่วยสีแดงและเหลืองเพิ่ม แก้ปัญหาขาดแคลนเตียงใน กทม. appeared first on THE STANDARD.

]]>
แพทย์จุฬาฯ เผยวิกฤตเตียง ต้องนำเคสหนักออก เลือกเคสหนักกว่าเข้า ICU แทน โควิดเริ่มกระทบผู้ป่วยโรคอื่น https://thestandard.co/cu-physicians-unveiled-hospital-bed-lacking-crisis/ Tue, 29 Jun 2021 05:13:40 +0000 https://thestandard.co/?p=506190 แพทย์จุฬาฯ

ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิ […]

The post แพทย์จุฬาฯ เผยวิกฤตเตียง ต้องนำเคสหนักออก เลือกเคสหนักกว่าเข้า ICU แทน โควิดเริ่มกระทบผู้ป่วยโรคอื่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
แพทย์จุฬาฯ

ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD ว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโควิด-19 เข้ามารักษาในโรงพยาบาลสูงต่อเนื่อง อีกทั้งผู้ป่วยอาการหนักไม่สามารถรักษาให้กลับบ้านได้ง่าย กลายเป็นว่าสัดส่วนของผู้ป่วยอาการหนักก็จะอยู่ที่โรงพยาบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ยอมรับว่าศักยภาพของการรับผู้ป่วยเริ่มตึงตัว เพราะตอนนี้มีเคสที่นอนครองเตียง ICU นานขึ้น ทำให้บางวันเตียง ICU เหลือศูนย์เตียง

 

“เคสที่จะเป็นปัญหาคือสีแดงที่ต้องนอน ICU นอนนานเกินกว่าที่เราคิด เช่น สัปดาห์ถึงสองสัปดาห์นอน ICU ส่วนหนึ่งก็จะดีขึ้นและย้ายออกจาก ICU ได้ ส่วนหนึ่งเพราะเคสหนักขึ้นทำให้นอนครองเตียงนานขึ้น เพราะฉะนั้นเตียง ICU น้อยลง บางวันไม่ได้เปิดเตียง ICU เลย ICU เป็นศูนย์เคส (สีแดง) ก็ต้องนอนรอค้างอยู่ที่ห้องฉุกเฉินจนกว่าเราจะเคลียร์ได้ ซึ่งเป็นปัญหาในปัจจุบันและคิดว่าโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพมหานครจะมีปัญหาคล้ายๆ กัน”

 

เมื่อถามว่าการรอมีผู้ป่วยหนักต้องรอเตียง ICU ส่งผลให้จำนวนการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่

 

ผศ.นพ.โอภาสกล่าวว่า ผลจะตามมาเป็นทอดๆ เพราะเคสที่ต้องรอจะเข้า ICU แต่ยังไม่ได้เข้าก็จะเสียโอกาสในการได้รับการรักษาบางอย่าง เช่น เครื่องช่วยหายใจระดับสูง การใช้ยาบางตัว มันก็จะเป็นทอดๆ ทั้งเคสที่เข้า ICU ไม่ได้ เคสตกค้างที่ห้องฉุกเฉินก็เยอะ มันก็จะเป็นผลเสีย

 

ปัจจุบันเราเห็นว่าเคสที่เข้าโรงพยาบาลมีอาการหนักมาจากบ้านเลยต่างจากการระบาดรอบก่อนหน้านี้ ก็แสดงว่ามีการตกค้างอยู่ในบ้านในชุมชนที่เข้ามาโรงพยาบาลไม่ได้ ขณะที่บางคนที่ไม่ได้ตรวจก็ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ

 

“หน้างานมันตึง เริ่มใกล้จะทำให้ศักยภาพมันไม่พอแล้ว ตอนนี้สิ่งที่ทำอยู่คือการขยายเตียง แต่มันยังทำได้ไม่มากพอ เพราะการขยายเตียงสิ่งที่ต้องการคือเตียง ICU ซึ่งไม่ได้ต้องการแต่เตียง เพราะเตียงมี พื้นที่มี แต่คนไม่มี ถามว่ามันจะล่มไหม ณ วันนี้มันยังไม่ถึงขนาดนั้น แต่จะบอกว่ามันตึงที่สุดเลยเท่าที่เราผ่านการระบาดมา” ผศ.นพ.โอภาสกล่าว

 

ผศ.นพ.โอภาสยอมรับว่าการบริหารจัดการหน้างานตอนนี้ เคสที่หนักซึ่งนอน ICU มานานพอสมควร แต่มีบางเคสเราต้องย้ายออกมาเพราะมีเคสที่หนักกว่า ซึ่งปกติการนำเคสที่ยังต้องอยู่ ICU ออกมาอยู่วอร์ดสามัญก็อาจทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่เราต้องจัดลำดับความสำคัญกับเคสที่ต้องการ ICU มากกว่า ตอนนี้ในโรงพยาบาลจุฬาฯ อัตราการครองเตียง 90% และเตียงเริ่มน้อยลงทุกที มีบางช่วงใกล้ 100% แต่มีการระบายออกได้บ้างทำให้ต่อลมหายใจได้อีกระยะหนึ่ง ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลตอนนี้ใช้หน่วยอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับโควิดมาอบรมมาเสริมกำลังดูแลผู้ป่วยโควิด

 

เมื่อถามว่าการระดมทรัพยากรมาที่โรคโควิดส่งผลถึงการรักษาผู้ป่วยโรคอื่นๆ ในโรงพยาบาลหรือไม่

 

ผศ.นพ.โอภาสกล่าวว่า ส่งผลแน่นอน และมีทุกโรคเลยที่ได้รับผลกระทบซึ่งจะเห็นผลในอีกระยะต่อไปข้างหน้า เพราะโรคบางโรคมันรอไม่ได้เหมือนกัน เช่น คนไข้ที่จะต้องรอผ่าตัด คนไข้มะเร็งที่ต้องรอฉายแสง ซึ่งตอนนี้เริ่มเห็นผลกระทบที่คนไข้ที่ไม่ใช่โควิดเริ่มกลับมานอนโรงพยาบาลด้วยอาการที่หนักขึ้น

 

สำหรับทางแก้ปัญหาแบ่งเป็นระยะสั้นกับระยะยาว ระยะสั้นคือการเพิ่มเตียงรองรับผู้ป่วยสีเขียวและเพิ่มบุคลากรให้พอก่อน ระยะยาวคือการทำให้ไม่มีผู้ป่วยเคสหนักเกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้วัคซีนเป็นตัวช่วย แต่ตอนนี้อัตราการระบาดกับอัตราการฉีดวัคซีนมันไปไม่ทันกัน

 

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้โรงพยาบาลทุกที่เริ่มส่งเสียงออกไปแล้วว่าเตียงไม่พอ คิดว่าผู้กำหนดนโยบายเข้าใจสถานการณ์ แต่ปัญหาอยู่ที่การประสานกันระหว่างหน่วยงานโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะการควบคุมการระบาดเริ่มตั้งแต่การตรวจหาเชื้อที่ยังไม่ครอบคลุม หลังการตรวจเมื่อพบเชื้อจะเอาไปไว้ที่ไหนตามสิทธิ์การรักษาพยาบาล เช่น แรงงานที่ติดโควิดมีทั้งแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย

 

ผศ.นพ.โอภาสยอมรับด้วยว่า เป็นธรรมดาที่บุคลากรทางการแพทย์ช่วงนี้เกิดภาวะเครียดเพราะรับมือมานานเกือบ 2 ปี และการระบาดยังไม่มีท่าทีจะลดลง สิ่งที่ต้องการคือกำลังใจ แต่กำลังใจก็ยังต้องการน้อยกว่าการทำอย่างไรให้การระบาดมันน้อยลงและให้เราได้มีจุดหายใจได้โล่งขึ้น เพราะตอนนี้บุคลากรด่านหน้าเริ่มเหนื่อยล้าและอาจถึงจุดที่ Burnout ได้ถ้ามันยังเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

 

พิสูจน์อักษร: นัฐฐา สอนกลิ่น

The post แพทย์จุฬาฯ เผยวิกฤตเตียง ต้องนำเคสหนักออก เลือกเคสหนักกว่าเข้า ICU แทน โควิดเริ่มกระทบผู้ป่วยโรคอื่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตียง ICU ในกรุงเทพฯ ส่อวิกฤต หลังผู้ป่วยพุ่งหลัก 1,000 คนต่อวัน รองรับได้ถึง 12 พฤษภาคม บนสมมติฐานผู้ป่วยแค่ 400 คน https://thestandard.co/icu-beds-in-bangkok-critical-surge-of-1000-patients-per-day/ Tue, 27 Apr 2021 00:41:12 +0000 https://thestandard.co/?p=480490 เตียง ICU ในกรุงเทพฯ ส่อวิกฤต หลังผู้ป่วยพุ่งหลัก 1,000 คนต่อวัน รองรับได้ถึง 12 พฤษภาคม บนสมมติฐานผู้ป่วยแค่ 400 คน

วานนี้ (26 เมษายน) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพ […]

The post เตียง ICU ในกรุงเทพฯ ส่อวิกฤต หลังผู้ป่วยพุ่งหลัก 1,000 คนต่อวัน รองรับได้ถึง 12 พฤษภาคม บนสมมติฐานผู้ป่วยแค่ 400 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตียง ICU ในกรุงเทพฯ ส่อวิกฤต หลังผู้ป่วยพุ่งหลัก 1,000 คนต่อวัน รองรับได้ถึง 12 พฤษภาคม บนสมมติฐานผู้ป่วยแค่ 400 คน

วานนี้ (26 เมษายน) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ THE STANDARD NOW ดำเนินรายการโดย อ๊อฟ-ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ ว่า สถานการณ์เตียงโดยภาพรวมทั่วประเทศไม่ค่อยมีปัญหายกเว้นกรุงเทพมหานคร เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นมากจากวันละ 200 คน กระโดดขึ้นมาเป็นวันละ 1,000 กว่าคน ซึ่งก่อนหน้านี้ตนพูดมาตลอดในทุกเวทีที่ชี้แจงว่าในกรุงเทพฯ ถ้าคนไข้เกิน 500-600 คน สถานการณ์ก็ถือว่าหนักแล้ว

 

“ตัวชี้วัดที่น่ากลัวคือถ้ามีการใช้งานเตียง ICU เกินครึ่งก็ถือว่าน่ากลัวแล้ว ถ้าขึ้นมาที่ 70-80% ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภัย ซึ่งตัวเลขล่าสุดเมื่อคืนนี้ เพราะคืนนี้ยังไม่มีการสรุปส่งมา เฉพาะกรุงเทพฯ ถ้าเป็นห้องความดันลบเต็มรูปแบบ และห้องความดันลบประยุกต์ (AIIR) มีเกือบ 800 เตียง ครองเตียงไปแล้วประมาณ 600 กว่า ซึ่งเกือบ 80% ถือว่าน่ากลัว ถ้ากรุงเทพฯ คนป่วยเพิ่มไม่เยอะมาก อยู่ที่ไม่เกิน 500 คน เราคิดว่าเตียง ICU จะเต็มภายในสิ้นเดือนเมษายน หรือวันที่ 1-2 พฤษภาคม” นพ.สมศักดิ์กล่าว

 

นพ.สมศักดิ์กล่าวด้วยว่า ตอนนี้เราได้เตรียมพร้อมทำการเตรียมโคฮอร์ตไอซียู  (Cohort COVID-ICU) คือเอาคนไข้มาเรียงกันแต่มีอุปกรณ์รองรับครบหมด โดยโคฮอร์ตเดิมเราจะเอาคนไข้ที่ไม่หนักหรือคนไข้สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อนๆ ออกจากโคฮอร์ต ซึ่งจะขยายไปได้อีกถึงวันที่ 11-12 พฤษภาคม ภายใต้สมมติฐานคนไข้ 400 คน แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็นหลักพันคนต่อวัน อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ได้เห็นว่าผู้ป่วยหลัก 1,000 คนที่เพิ่มขึ้นมาเป็นผู้ป่วยหนักมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อีกที

 

แต่ถามว่ามีกระบวนการหยุดยั้งหรือไม่ คำตอบคือมี ถ้าเราให้ยาฟาวิพิราเวียร์เร็วขึ้น จากเดิมที่ต้องรอให้เชื้อลงปอดก่อน เปลี่ยนเป็นเมื่อมีอาการก็ให้ยาเลยก็จะชะลออาการเชื้อลงปอดได้ 

 

สรุปสิ่งที่ตอนนี้เราทำคือ ลดผู้ป่วยอาการหนักลงให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มเตียง ICU ขึ้นไปอีกคู่กันทั้งสองทาง

 

ส่วนสถานการณ์ยาฟาวิพิราเวียร์แต่เดิมก็ไม่ได้ขาด เดือนเมษายนเหลือยา 600,000 เม็ด ตอนนั้นคนไข้น้อยเราก็ประเมินว่าเหลือยาตั้ง 6 แสนเม็ด แต่พอสถานการณ์เปลี่ยนไป จำนวนยา 600,000 เม็ดเท่าเดิม แต่การประเมินว่าเพียงพอหรือไม่ต้องปรับไปตามจำนวนผู้ป่วย

 

นพ.สมศักดิ์ยังย้ำว่า จำนวนเตียง ICU โดยภาพรวมทั่วประเทศไม่มีปัญหา ที่มีปัญหาคือกรุงเทพฯ เพราะมีผู้ป่วยหลักพันคนต่อวัน ส่วนการย้ายผู้ป่วยในกรุงเทพฯ กระจายไปต่างจังหวัดนั้น ในทางปฏิบัติทำได้ยาก เพราะจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯ ก็สีแดงเกือบทั้งหมด และที่สำคัญเตียงกับยาขยายเพิ่มได้ แต่ที่เพิ่มไม่ได้คือบุคลากร ซึ่งถ้าตัวเลขขึ้นไปเรื่อยๆ แบบนี้ก็พูดตามตรงว่าเป็นห่วง

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post เตียง ICU ในกรุงเทพฯ ส่อวิกฤต หลังผู้ป่วยพุ่งหลัก 1,000 คนต่อวัน รองรับได้ถึง 12 พฤษภาคม บนสมมติฐานผู้ป่วยแค่ 400 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เมื่อดวงตาถูกใช้ช่วยเเทนการสื่อสาร’ รู้จัก SenzE นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพและสื่อสารลำบาก https://thestandard.co/senze-eyetrackingsystem/ https://thestandard.co/senze-eyetrackingsystem/#respond Sat, 12 Aug 2017 12:23:06 +0000 https://thestandard.co/?p=20211

     จากสถิติข้อมูลล่าสุดที่จัดเก็บโดยกร […]

The post ‘เมื่อดวงตาถูกใช้ช่วยเเทนการสื่อสาร’ รู้จัก SenzE นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพและสื่อสารลำบาก appeared first on THE STANDARD.

]]>

     จากสถิติข้อมูลล่าสุดที่จัดเก็บโดยกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี 2557 พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ประมาณ 500,000 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมากถึง 25,000 คน ขณะที่โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ซึ่งแม้จะมีโอกาสเป็นได้น้อยกว่า แต่หนทางการรักษาให้หายเป็นปกติก็ค่อนข้างริบหรี่

     ที่สำคัญผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญสภาวะการสูญเสียความสามารถทางการเคลื่อนไหวร่างกายหรือแม้แต่ ‘การสื่อสาร’ ที่ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูดคุยได้เลย ทำให้พวกเขาไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้เฉกเช่นคนปกติทั่วไป

 

 

     เมื่อเข้าใจถึงปัญหาและอยากเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออก เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว เพียร์-ปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ จึงหันมาพัฒนานวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวด้วยเทคโนโลยี Eye Tracking System จนเกิดเป็น ‘SenzE’ เครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการสื่อสารโดยควบคุมผ่านดวงตา

     THE STANDARD ชวนคุณมาทำความรู้จักกับ SenzE ภายใต้การพัฒนาของปิยะศักดิ์และบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด (Meditech Solution) เพื่อค้นหาที่มา แรงบันดาลใจ และโอกาสของการได้ช่วยเหลือผู้ป่วยหลายๆ รายไปพร้อมๆ กัน

 

จากความต้องการอยากช่วยเหลือคุณพ่อของเพื่อนขยายสู่โอกาสช่วยเหลือผู้ป่วยอีกหลายแสนคน

     เดิมทีปิยะศักดิ์ประกอบธุรกิจในนามบริษัท บางกอก เว็บโซลูชั่น จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการรับออกแบบเว็บไซต์ พัฒนาระบบ e-Learning และซอฟต์แวร์ให้กับหน่วยงานชั้นนำต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ กระทั่งวันหนึ่งในปี 2555 หลังจากที่เพื่อนของเขาได้เข้ามาขอคำปรึกษาเพราะต้องการช่วยเหลือคุณพ่อที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง เขาจึงหันเหความสนใจทั้งหมดมามุ่งเป้าหมายพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยตัวเอง

     ปิยะศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่าคงมีผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายบนโลกใบนี้ที่สามารถใช้กล้ามเนื้อบนใบหน้าถ่ายทอดออกมาเป็นประโยคคำพูดเหมือนที่ สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชื่อดัง ซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถทำได้ และเมื่อผู้ป่วยสูญเสียทักษะการพูดโดยสิ้นเชิง ทักษะการได้ยินและการมองเห็นก็น่าจะยังใช้การได้อยู่ ฉะนั้นแล้วความสามารถในการควบคุมดวงตาที่ยังไม่เสื่อมสภาพก็น่าจะพอต่อยอดสร้างประโยชน์ได้บ้าง

     “ผมค้นพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและสวีเดนมีการนำเทคโนโลยีการตรวจจับความเคลื่อนไหวของดวงตา (Eye Tracking System) มาใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยด้านการสื่อสาร เลยคิดที่จะนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวแล้วเขียนโปรแกรมให้เป็นภาษาไทย แต่ก็แอบรู้สึกว่าบางทีเราอาจจะต่อยอดมันได้มากกว่านั้น ผมจึงนำแนวคิดและเทคโนโลยีนี้ไปปรึกษากับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และได้รับคำแนะนำว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ไม่น้อย ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่เคยมีผู้ประกอบการรายใดในไทยนำโปรเจกต์ที่ใกล้เคียงกันมาปรึกษาเลย ผมจึงอาสาขอลองทำโดยได้งบประมาณในการพัฒนาจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     “เราใช้ระยะเวลาพัฒนาฮาร์ดแวร์ดังกล่าวและการวิจัย-พัฒนา (R&D) นานถึง 8 เดือน ก่อนจะได้เป็น SenzE อุปกรณ์ช่วยสื่อสารทางสายตา (ตาทำหน้าที่เสมือนเมาส์ เมื่อกะพริบตาจะเท่ากับการกดคลิก) ผ่านการเขียนโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องเว็บเเคมที่ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา หลังจากนั้นก็เริ่มนำอุปกรณ์รุ่นโปรโตไทป์เข้าไปขออนุญาตทดลองผลการใช้งานทางคลินิก Clinical Trials ที่สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ผู้ป่วยจริง และผ่านการทดสอบครบถ้วนทุกขั้นตอน”  ปิยะศักดิ์กล่าว

 

 

แพทย์ชี้ช่วยลบข้อจำกัดด้านการสื่อสารของผู้ป่วยซึ่งเดิมทีต้องใช้ ‘บัตรคำ’

     อาจกล่าวได้ว่า SenzE คือการทลาย Pain Point หรือปัญหาด้านการสื่อสารที่เกิดขึ้นเรื้อรังในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยอัมพาต ฯลฯ อย่างเเท้จริง เพราะหลังจากที่เเพทย์จำนวนหนึ่งได้ทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านการใช้งานในห้องปฏิบัติการหรือกับผู้ป่วยจริง พวกเขาก็ลงความเห็นในทิศทางเดียวกันว่านวัตกรรมนี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง และไม่เป็นอันตรายกับตัวผู้ใช้แต่อย่างใด

     ปิยะศักดิ์บอกว่า “ในตอนนั้นคุณหมอหัวหน้าภาควิชาประจำสถาบันประสาทวิทยาได้เข้ามาดูแลการทดสอบด้วยตัวเอง เพราะตื่นเต้นกับตัวเทคโนโลยี เขาบอกว่าเดิมทีเวลาจะรักษาหรือดูแลผู้ป่วยก็ต้องใช้บัตรคำแทนการสื่อสารตลอด ผู้ป่วยจะต้องเปิดบัตรคำจำนวนกว่า 100 ใบเพื่อสื่อสารความต้องการของตนออกมาเช่น อยากเข้าห้องน้ำ, ทานอาหาร, อยากพลิกตัว, เจ็บปวดส่วนใดของร่างกาย ซึ่งทำให้เสียเวลาและไม่รู้ว่าสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะอยู่ที่บัตรเบอร์อะไร และบางทีบัตรคำเองก็อาจจะไม่มีสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการเลยก็ได้

     “เเพทย์หลายท่านลงความเห็นหลังจากที่ทดลองวิจัยและใช้งาน SenzE กับผู้ป่วยจริงว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยกับตัวผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยจำนวนกว่า 70% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุก็สามารถใช้งานได้อย่างไร้ปัญหาตั้งแต่เวอร์ชันโปรโตไทป์ สะท้อนให้เห็นว่านวัตกรรมของเราไม่ได้ถูกต่อต้านจากผู้ที่อาจจะไม่ได้สนใจเทคโนโลยี เพราะเขามองอุปกรณ์ของเราเป็นโอกาสที่จะช่วยให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง หลังจากนั้นเป็นต้นมาผมก็เริ่มนำอุปกรณ์ไปเดินสายประกวดตามเวทีต่างๆ และได้รับการร่วมทุนจากบริษัทหลายๆ แห่ง”

     ให้หลัง 8 เดือน Meditech Solution ก็พัฒนา SenzE เวอร์ชันเเรกสำเร็จจนสามารถวางขายในท้องตลาดได้ในราคาประมาณ 180,000 บาท (ถูกกว่าต่างประเทศที่ขายในราคา 300,000 บาทและยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยเครื่องรองรับภาษาไทยและอังกฤษ และในช่วงระยะเวลา 5 ปีหลังสุด พวกเขาก็สามารถพัฒนา SenzE ออกมาได้มากถึง 4 รุ่นแล้ว

 

 

นวัตกรรมช่วยสานต่อรอยยิ้มและเสริมสร้างกำลังใจที่ดีสู่ผู้ป่วย

     สำหรับ SenzE เวอร์ชัน 4 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดมาพร้อมกับความสามารถที่ครบครันรอบด้าน ทั้งฟีเจอร์ระบบแปลภาษา (ผ่าน Google), ระบบไลฟ์แชตเเละมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์บนตัวแอปพลิเคชันของผู้ดูแลและเเพทย์, ความสามารถในการท่องอินเทอร์เน็ตและโซเชียล (เฟซบุ๊ก, ยูทูบ, เว็บไซต์ทั่วไป), ระบบสัญญาณเตือนฉุกเฉิน, รองรับภาษาในการใช้งานได้ 17 ภาษา

     นอกจากนี้ชุดคำสั่งการสื่อสารทั้งหมด 6 หมวดหมู่ได้แก่ ความรู้สึก, ​ความต้องการ,​ อาหารและเครื่องดื่ม, คีย์บอร์ดสนทนา, ความบันเทิงและกิจกรรม ก็สามารถปรับเพิ่มลดได้ตลอดเวลาตามพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของผู้ใช้งาน (ผู้ป่วย) ในหมวดความรู้สึกสามารถบอกอาการเจ็บปวดในตำแหน่งต่างๆ ตามระดับที่รู้สึกได้, หมวดอาหารสามารถบอกเมนูที่อยากทานและรสชาติที่ต้องการ ด้านการใช้งาน จากเดิมที่ต้องกะพริบตา 2 ครั้ง เพื่อเเทนการกดคลิกก็ถูกเปลี่ยนมาใช้การมองจ้องเป็นระยะเวลา 2 วินาทีแทนเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น (ปรับเพิ่มระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม) สนนราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ 240,000 บาท ส่วนเเท็บเล็ตจะอยู่ที่ 60,000 บาท

     ปิยะศักดิ์บอกกับเราว่า “ส่วนใหญ่แล้วญาติและผู้ดูแลจะเป็นคนฟีดแบ็กผลการใช้งานกลับมาให้เรา และก็มีหลายเคสที่เราได้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเขาอย่างชัดเจน อย่างเคสอาม่ารายหนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่จังหวัดชลบุรี จากเดิมที่ไม่เคยมีความสุขและรอยยิ้ม หรือแม้แต่กำลังใจในการใช้ชีวิต กระทั่งได้ลองใช้อุปกรณ์ของเรา ผู้ดูแลก็เล่าให้เราฟังว่าอาม่าเริ่มพูดคุยกับลูกหลานได้มากขึ้น ส่วนเราก็ได้เห็นรอยยิ้ม ความหวัง และกำลังใจของเขา
     “ส่วนเคสล่าสุดของอาจารย์แพทย์ท่ีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็ใช้อุปกรณ์ของเราในการรักษาและดูผู้ป่วยต่ออีกที ทั้งๆ ที่ตัวเขาป่วยอยู่บนเตียงและไม่สามารถพูดได้เลยด้วยซ้ำ มีผู้ป่วยและแพทย์จำนวนไม่น้อยเลยที่มาขอบคุณนวัตกรรมของเรา เพราะเป็นส่ิงที่พวกเขารอคอยกันมานาน และจนถึงทุกวันนี้ก็ยอมรับว่ามันมาไกลพอสมควรนะครับ ผมเองก็ไม่คิดว่าเราจะพัฒนามาถึงขนาดนี้ได้”

 

 

โจทย์ใหญ่คือการแก้อุปสรรคด้านราคาและการเจาะกลุ่มผู้ใช้งานทางบ้าน (Home Users) ให้มากขึ้น

     ปัจจุบัน SenzE มียอดผู้ใช้งานแบบ Active Users ไม่เกิน 100 ราย แบ่งเป็นสัดส่วนการใช้งานตามโรงพยาบาล 60% และผู้ใช้งานทั่วไป 40% โดยในช่วงระยะเเรกๆ พวกเขาอาศัยการวิ่งเข้าไปตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อแนะนำนวัตกรรมนี้ และยังได้รับโอกาสจากการร่วมงานกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและ ‘Intouch’ ในนาม AIS ทำโปรเจกต์เพื่อซื้ออุปกรณ์เวอร์ชันแรกทั้งหมด 30 เครื่องไปบริจาคให้โรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 10 แห่ง ส่วนเวอร์ชันล่าสุดโรงพยาบาลอย่างบำรุงราษฎร์, กรุงเทพ, ปิยะเวท, พญาไท, เปาโล และวิชัยยุทธ ก็เริ่มนำอุปกรณ์เข้าไปทดลองใช้กับผู้ป่วยจริงแล้ว โดยมีโรงพยาบาลบางแห่งที่อยู่ในขั้นตอนพิจารณาการจัดซื้ออยู่

     อย่างไรก็ดีปัญหาสำคัญคือราคาวางจำหน่ายที่ยังคงสูงเกินไปเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ตัวผู้ป่วยต้องแบกรับ (ราคาเครื่อง 240,000 บาท) ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีโครงการบริจาคอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้ หรือโปรโมชันผ่อน 0% เป็นระยะเวลา 10 เดือน, ให้เช่า 8,500 บาทต่อเดือน และลดราคาตามสเปกที่ไม่ต้องการ กระนั้นอุปสรรคด้านราคาและการไม่สามารถบริจาคเป็นจำนวนมากได้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ SenzE ยังคงเข้าถึงผู้ป่วยตามครัวเรือนได้ยากอยู่

     ต่อประเด็นดังกล่าว ปิยะศักดิ์บอกว่า “เราวางแผนไว้ว่าเครื่อง SenzE เวอร์ชันล่าสุดจะทำงานร่วมกับเว็บไซต์ ‘เทใจ’ ที่ดำเนินการระดมทุนเเบบ Crowdfunding กับโรงพยาบาลรัฐบาล 5 แห่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยอัมพาต, ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง, ผู้ป่วย ICU, ผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลัง รวมถึงผู้ป่วยนอนติดเตียงสามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ของเราได้ นอกจากนี้ก็พยายามพูดคุยกับหน่วยงานหลายๆ แห่งเหมือนกัน เช่น ปลัดกระทรวงคมนาคมและกองทุนความปลอดภัยด้านการใช้รถใช้ถนนเพื่อหาลู่ทางการนำเงินรายได้จากการประมูลทะเบียนเลขสวยมาต่อ
ยอดซื้อ SenzE ไปบริจาคให้กับผู้ป่วย ซึ่งเขาก็โอเคเพราะมองว่ามันเป็นประโยชน์ เราพยายามจะผลักดันนวัตกรรมของเราเข้าไปกับหน่วยงานพวกนี้มากขึ้น

     “หากมองในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี ผมมองว่าเราทำสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว แต่ในแง่ของการขายก็ยังคงต้องทำการบ้านอีกเยอะ โจทย์สำคัญคือการทำให้เทคโนโลยีของเราเป็นที่รู้จักกว้างขวางกับผู้ใช้ทั่วไปจากทางบ้านมากกว่านี้ เพราะก่อนหน้านี้เรามุ่งให้ความสำคัญกับตัวโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่มากกว่า

     “ส่วนในอนาคตเรามองถึงโอกาสการไปบุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากยังไม่ค่อยพบเห็นเทคโนโลยีแบบนี้ในเอเชียมากนัก จะมีก็แค่ในญี่ปุ่นหรือเกาหลีที่ Samsung พัฒนาหลังจากเรา 2 ปีเพื่อการกุศล ส่วนสหรัฐอเมริกา แคนนาดา สวีเดน เยอรมัน เดนมาร์ก ก็มีการใช้นวัตกรรมเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งในอาเซียนน่าจะมีแค่เราเพียงเจ้าเดียว ดังนั้นเวลาที่นำ SenzE ไปออกบูธในสิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย ก็จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนในประเทศเขามาก แต่ก็คงต้องหาตัวแทนจำหน่ายและพาร์ตเนอร์ให้ได้เสียก่อน”

     ในวันที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูดหรือท่าทางการเคลื่อนไหวเพื่อบอกความรู้สึก อารมณ์หรือความต้องการได้อีกต่อไป อย่างน้อยที่สุด SenzE ก็น่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพให้กลับมาสื่อสารและมอบกำลังใจที่งดงามให้กับพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง

     ถ้าคุณสนใจอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง สามารถติดตามโปรเจกต์การระดมทุนเพิ่มเติมได้ที่ taejai.com/en หรือ www.meditechsolution.com

The post ‘เมื่อดวงตาถูกใช้ช่วยเเทนการสื่อสาร’ รู้จัก SenzE นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพและสื่อสารลำบาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/senze-eyetrackingsystem/feed/ 0