ICO – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 29 Jan 2024 07:16:25 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 หุ้น IPO vs. เหรียญ ICO: ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่าง https://thestandard.co/ipo-stocks-vs-ico-coins/ Mon, 29 Jan 2024 07:16:52 +0000 https://thestandard.co/?p=893324

ในโลกการเงินที่เต็มไปด้วยช่องทางการลงทุนที่หลากหลาย นัก […]

The post หุ้น IPO vs. เหรียญ ICO: ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่าง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในโลกการเงินที่เต็มไปด้วยช่องทางการลงทุนที่หลากหลาย นักลงทุนบางกลุ่มมักจะมองหาช่องทางลงทุนที่จะได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาที่รวดเร็ว ตัวเลือกที่โดดเด่นคือการลงทุนในหุ้น IPO ซึ่งมักจะมีราคาผันผวนที่สูงมากในช่วงแรก ถ้าตลาดหุ้นมีกระแสที่ดี โอกาสสร้างผลตอบแทนสูงในระยะสั้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ทว่าในโลก Web 3.0 การลงทุนที่เหมือนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือการลงทุนในเหรียญ ICO ทั้งสองคือการลงทุนในสิ่งที่มีโอกาสเติบโตสูง โดยสองสิ่งนี้มาพร้อมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจความแตกต่างระหว่างสองทางเลือกนี้

 

 

เข้าใจหุ้น IPO

 

เมื่อบริษัทมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพียงพอและมีการกำกับดูแลที่ดี บริษัทเหล่านั้นจะสามารถเสนอหุ้นให้กับประชาชนผ่านการเสนอขายหุ้น IPO โดยนักลงทุนจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ต่างๆ เช่น สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียง การรับปันผลและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของบริษัท

 

การเสนอขายหุ้น IPO มีประวัติการควบคุมกำกับดูแลที่ยาวนานและมีเกณฑ์ในการขอ Listing ที่เข้มงวด ทั้งในด้านกำไรขั้นต่ำ ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ การควบคุมภายใน มีหน่วยงานกำกับดูแลรับรองความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินตามมาตรฐานบัญชีสากล และอื่นๆ อีกมากมาย จึงสามารถให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนได้ว่าหุ้น IPO ที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลจะต้องมาจากบริษัทที่ผ่านมาตรฐานอันเข้มงวดมาแล้ว ทำให้เป็นตัวเลือกการลงทุนที่มีตัวช่วยปิดความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน อย่างไรก็ตาม หุ้น IPO โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงแล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้นโอกาสในการเติบโตอย่างรวดเร็วอาจไม่สูงเท่าบริษัทที่เป็นลักษณะ Start-up ในช่วงแรก หรือเหรียญต่างๆ ในโลกคริปโตที่ระดมทุนตั้งแต่ยังไม่มีผลงานหรือพื้นฐานใดๆ มายืนยันศักยภาพของโปรเจกต์

(#NotAFinancialAdvice)

 

เหรียญคริปโต ICO

 

ในโลก Web 3.0 ของการลงทุน การเสนอขายเหรียญคริปโต ICO ได้สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากในช่วงตลาดกระทิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในเทคโนโลยีและชอบความท้าทาย การเสนอขายเหรียญ ICO เกี่ยวข้องกับโครงการ Blockchain ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการเสนอขายแต่เหรียญดิจิทัลโดยไม่ให้หุ้นของบริษัทเลย เหรียญเหล่านี้มักมีคุณสมบัติพิเศษในระบบนิเวศของโครงการ เช่น การเข้าถึงบริการหรือสิทธิ์ในการกำหนดนโยบายบางอย่าง เป็นต้น แต่จะไม่มีกฎตายตัว และในหลายครั้งก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้กับความต้องการของผู้ออกเหรียญ

 

ความน่าสนใจของการเสนอขายเหรียญ ICO อยู่ที่ศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่สูงมากในเวลาที่รวดเร็วมากๆ โครงการเริ่มต้นที่มีไอเดียที่ทรงพลังสามารถระดมทุนได้เร็วจากนักลงทุนทั่วโลก และโอกาสกลายเป็นบริษัทยูนิคอร์น (บริษัทที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์) ในระยะเวลาอันสั้น ด้วยการเสนอขายเหรียญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 

ทางเดินที่เสี่ยงของการเสนอขายเหรียญคริปโต ICO

 

 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเสนอขายเหรียญ ICO ไม่ควรถูกมองข้าม การขาดการควบคุมที่เข้มงวดทำให้นักลงทุนเสี่ยงต่อการฉ้อโกง และโครงการที่อาจไม่เป็นจริง โครงการ ICO หลายโครงการเป็นเพียงแผน เพิ่มราคาและขายทิ้ง หรือที่เรียกกันว่า ‘Rug Pull’ ซึ่งทำให้นักลงทุนในเหรียญเหล่านี้ต้องขาดทุนเกือบ 100% ในชั่วข้ามคืนโดยไร้ซึ่งความหวังที่เหรียญจะกลับมาสู่ราคาเดิมได้อีก

 

นอกจากนี้ ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีมีชื่อเสียงในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงราคาที่รุนแรง เหรียญที่ซื้อในช่วง ICO อาจประสบกับความผันผวนสูง ทำให้การคาดการณ์ผลตอบแทนยาก นักลงทุนหน้าใหม่ควรทำการศึกษาอย่างละเอียดและระมัดระวังในการเลือกโครงการที่ถูกต้อง เช่น การตรวจสอบทีมผู้ก่อตั้งและฝ่ายบริหารว่ามีความน่าเชื่อถือและมีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสมหรือไม่ และโปรเจกต์ที่สนใจลงทุนมีนักลงทุน VC ที่มีชื่อเสียงที่ดีร่วมลงทุนเพื่อช่วย Due Diligence และ Monitor Project ให้เราแล้วหรือไม่

 

การสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน

 

ในท้ายที่สุด การเลือกระหว่างการเสนอขายหุ้น IPO และการเสนอขายเหรียญคริปโต ICO ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยง เป้าหมายการลงทุน และศักยภาพในการศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหุ้น IPO และเหรียญ ICO

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Brook Digital Asset

Facebook: https://www.facebook.com/BrookDigitalAsset  

X: https://twitter.com/BrookerGroupPLC

Website: https://www.brookergroup.com

 

Brook

The post หุ้น IPO vs. เหรียญ ICO: ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่าง appeared first on THE STANDARD.

]]>
อ่านแนวคิด Kubix โดย KBTG ผู้ให้บริการการลงทุนผ่านโทเคนดิจิทัล ก่อนก้าวเท้าสู่สังเวียน ICO เต็มตัว [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/kubix-kbtg/ Tue, 12 Oct 2021 00:10:18 +0000 https://thestandard.co/?p=547035 Kubix KBTG

นาทีนี้คงไม่มีนักลงทุนรายใดที่กล้าเบือนหน้าหนี ไม่สนใจ […]

The post อ่านแนวคิด Kubix โดย KBTG ผู้ให้บริการการลงทุนผ่านโทเคนดิจิทัล ก่อนก้าวเท้าสู่สังเวียน ICO เต็มตัว [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
Kubix KBTG

นาทีนี้คงไม่มีนักลงทุนรายใดที่กล้าเบือนหน้าหนี ไม่สนใจ หรือใคร่จะศึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) อีกต่อไปแล้ว เพราะหลายรายแม้จะยังชั่งใจไม่กล้าเข้าไปลงทุน แต่ทุกคนต่างก็ทราบถึงความสำคัญ โอกาส และความท้าทายอีกมหาศาลที่จะเกิดขึ้นจากสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายเป็นอย่างดี

 

ในแวดวงการลงทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล นอกเหนือจากการเทรดคริปโตเคอร์เรนซีสกุลต่างๆ หรือแม้แต่งานศิลปะบนโลกดิจิทัล NFT ก็ยังมีทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก และเข้ามาจับกระแสความสนใจของผู้คน นักลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจได้อย่างอยู่หมัด หนึ่งในนั้นคือ การทำ ‘ICO (Initial Coin Offering)’

 

ICO คือการแปลงสินทรัพย์ที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล หรือที่เรียกว่าโทเคนดิจิทัล ก่อนที่จะเปิดให้ระดมทุน เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านั้น ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นก็เช่น การนำที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จับต้องได้มาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อทำ ICO 

 

ซึ่งประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับนั้นไม่ได้ผูกติดอยู่แค่การเก็งกำไรจากการลงทุนเหมือนการลงทุนในแบบอดีต ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ กองทุน พันธบัตร ฯลฯ หรือแม้แต่การเทรดคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อหวังได้กำไรจากมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น เนื่องจากการลงทุนในรูปแบบ ICO จะทำให้นักลงทุน ผู้ถือโทเคนได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมบางอย่างตามเงื่อนไขของผู้ออก ICO โทเคนดิจิทัลนั้นๆ ที่ได้ระบุไว้ในเอกสารเสนอการระดมทุน เช่น ส่วนลดค่าใช้บริการ การซื้อสินค้า หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ ตามแต่ผู้ออก ICO จะสามารถพลิกแพลงหาสิทธิประโยชน์ต่างๆ มาเพิ่มความน่าสนใจให้กับโทเคนของตัวเอง

 

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นับตั้งแต่ที่ เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป ได้ประกาศจัดตั้ง KASIKORN X (KX) ขึ้นมาเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างฟินเทคยูนิคอร์นของไทย พร้อมๆ กับการสถาปนาบริษัทลูกอย่าง ‘Kubix’ เพื่อเตรียมให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านบล็อกเชน (กสิกรยังคงถือหุ้นในสัดส่วน 100%) เราก็ได้เห็นบิ๊กมูฟที่น่าสนใจตามมาอีกอย่างต่อเนื่อง

 

กระทั่งล่าสุด ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา KBTG เพิ่งจะออกมาประกาศข่าวดีว่า Kubix ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ในการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอ Activate ใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการเสนอขายโทเคนดิจิทัลในตลาดแรกผ่านบล็อกเชน ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาการลงทุนและให้ความรู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยเต็มรูปแบบภายในสิ้นปีนี้

 

นั่นหมายความว่า ภาพฝันใหญ่ของการสร้างตลาด ICO ในประเทศไทย เพื่อต่อยอดโอกาสการลงทุนให้กับเหล่านักลงทุน เพิ่มช่องทางใหม่ๆ ในการเสริมแกร่งด้านธุรกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ แบรนด์ต่างๆ ไปจนถึงสตาร์ทอัพ ผ่านการทำ ICO Portal เสนอขายโทเคนดิจิทัล กำลังจะเปิดศักราขขึ้นในอีกไม่กี่อึดใจแล้ว

 

เพื่อบอกเล่าถึงทิศทางการดำเนินงานของ Kubix เป้าหมาย และแผนการต่อจากนี้ THE STANDARD ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจจากการร่วมพูดคุยกับทีมผู้บริหาร Kubix ประกอบด้วย ญาณวิทย์ รักษ์ศรี กรรมการผู้จัดการ Kubix, อภิญญา เรืองทวีคูณ Head of Sales and Structuring Kubix และ ภาคย์ อรัญวัฒน์ Head of Product and Business Development ให้ผู้อ่าน นักลงทุน และเจ้าของธุรกิจกิจการทุกคนที่สนใจการทำ ICO ได้ศึกษาข้อมูลไปพลางๆ ก่อนที่ Kubix จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้

 

ญาณวิทย์ รักษ์ศรี  กรรมการผู้จัดการ Kubix 

 

Kubix กับจุดมุ่งหมายเปลี่ยนสินทรัพย์ใน ‘โลกแห่งความเป็นจริง’ สู่ ‘โลกดิจิทัล’ เพิ่มโอกาสการลงทุน การเติบโตธุรกิจ

ญาณวิทย์ รักษ์ศรี แม่ทัพใหญ่ของ Kubix เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงความตั้งใจของ KBTG และการจัดทัพ Kubix ลงมาสู่สังเวียน ICO Portal ไว้ว่ามาจากโจทย์ของ KBTG ที่อยากจะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Physical Assets) หรือสินค้าทั่วๆ ไปที่มีอยู่ในตลาดให้เข้าสู่โลกดิจิทัล เพื่อเชื่อมช่องว่างโลกปัจจุบันและโลกอนาคตที่จะกลายเป็นโลกดิจิทัลเต็มตัวในระดับ Pure Digital Native

 

“เรายังมองอีกด้วยว่าในอนาคตจะมีผู้เล่นหลากหลาย ทั้งในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี หรือในตลาดโทเคนดิจิทัล ซึ่งในส่วนของคริปโตเคอร์เรนซี เรามองว่ายังมีความเสี่ยงสูงสำหรับกลุ่มนักลงทุนอยู่ ดังนั้น เพื่อให้ตอบโจทย์กับนักลงทุนในปัจจุบัน เราจึงอยากนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนในโลกดิจิทัลที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมๆ ไปกับการหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์พวกเขา ให้ผลตอบแทนที่ดี และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของพวกเขา” ญาณวิทย์บอกถึงหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนา Kubix

 

ญาณวิทย์ย้ำเสริมว่า Kubix ไม่ได้มองแค่ว่า การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลจะช่วยให้พวกเขาได้ผลตอบแทนกลับคืนมามากน้อยแค่ไหน แต่มองไปไกลถึงขั้นที่ว่า บรรดานักลงทุนจะต้องได้ ‘อะไรมากกว่า’ ผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลในกลุ่มโทเคนดิจิทัลเหล่านี้

 

“นี่คือสิ่งที่เรามอง เรามองว่ายุคดิจิทัล (Digital Era) จะเปลี่ยนไปอย่างไร และเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) กำลังจะเคลื่อนไปยังทิศทางใด เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญคือเราจะต้องพยายามปิดช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างความเป็นดิจิทัลกับโลกการลงทุนแบบดั้งเดิม (Traditional) ให้ได้”

 

ขณะที่การเป็นบริษัทเทคโนโลยีลูกที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของพ่อและต้นตระกูลอย่าง KBTG และธนาคารกสิกรไทย ก็ยังถือเป็นแต้มต่อที่ช่วยเพิ่มความได้เปรียบให้กับ Kubix ในการดำเนินธุรกิจ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ไปจนถึงการต่อยอดความครบเครื่องผ่านธุรกิจและบริการต่างๆ ในระบบนิเวศของโลกการเงินและฟินเทค

 

“เราเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือของกสิกรไทย และอยู่ภายใต้ KBTG เราจึงมีความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคนิค เทคโนโลยี และการเงิน รวมถึงมีความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้ Kubix มีแนวทางที่จะดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้

 

“ในเชิงเทคนิค เราอาจจะมองว่า ICO Portal คล้ายกับธุรกิจวาณิชธนกิจ (Investment Banking) แต่จริงๆ แล้วมันเป็นมากกว่านั้น เป็นฟินเทครูปแบบใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย (Technology Driven) เข้ามาช่วย โดยที่เรายังมีความรู้ด้านบล็อกเชนที่ทำมาหลายปีแล้ว มีโปรเจกต์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย ทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนผสมที่ดีในตัว Kubix”

 

กรรมการผู้จัดการ Kubix ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วยว่า การที่ Kubix เป็นพาร์ตเนอร์ที่ทำงานให้ชิดกับฝั่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์แบบเพื่อให้ตลาดสินทัรพย์ดิจิทัลเกิดขึ้นมาได้นั้น จะถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยให้เติบโตได้อีกมหาศาล โดยเฉพาะการเร่งขยายอุตสาหกรรมสินทัรพย์ดิจิทัลนี้ออกไปไกลสู่ระดับภูมิภาค (Regional)

 

“เราไม่ได้มองว่าจะสร้างระบบนิเวศนี้ขึ้นมาเพื่อเราเท่านั้น แต่มองว่าต้องทำให้ระบบนิเวศนี้โตขึ้นและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ ตรงนี้เป็นเป้าหมายของเราในระยะยาว เราต้องการสร้างระบบนิเวศของแพลตฟอร์มกลางขึ้นมา และให้คนอื่นๆ เข้าร่วมเพื่อให้มันเกิดการแข่งขัน ซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าสำหรับประเทศ

 

“อุตสาหกรรมนี้จะไม่ได้อยู่แค่ในประเทศไทย ถ้าเราดูในประเทศไทยจะเห็นว่า ก.ล.ต. ออกเกณฑ์มาค่อนข้างรวดเร็ว ถ้าย้อนไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบัน มีบริษัทที่ได้ใบอนุญาตมา 2 บริษัทนับรวมเรา โดยที่ยังมีผู้เล่นคนอื่นๆ ที่กำลังขอใบอนุญาตนี้อยู่เหมือนกัน ฉะนั้น มันจึงมีความเป็นไปได้ที่ต่างประเทศจะเห็นศักยภาพของไทยในการทำ ICO ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะทำให้นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นรายย่อยหรือสถาบันก็สามารถเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ผ่านโทเคนดิจิทัลในประเทศเราได้ ดังนั้น ถ้าเราวางจุดยืนตัวเองให้ดี และเริ่มต้นอุตสาหกรรมนี้ได้สวย ผมเชื่อว่ามันจะไปได้ไกลมากกว่าในประเทศ ไปสู่ระดับภูมิภาคได้เลย”

 

อภิญญา เรืองทวีคูณ Head of Sales and Structuring Kubix

 

Kubix = พาร์ตเนอร์ที่ไว้วางใจได้ (Trusted Partner) ในโลก ICO ของทุก Stakeholders

อภิญญา เรืองทวีคูณ ขยายความเพิ่มเติมถึง Brand Value ของ Kubix ที่มุ่งหวังจะเป็น Trusted Partner หรือพาร์ตเนอร์ที่ไว้วางใจได้ มีความน่าเชื่อถือในโลกของ ICO ว่า นอกเหนือจากการเป็นบริษัทที่อยู่ใต้ร่มของธนาคารเบอร์ต้นๆ ของประเทศไทยอย่างกสิกรไทย สารตั้งต้นของ Kubix คือความตั้งใจที่อยากจะช่วยให้พาร์ตเนอร์ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักลงทุน Token Issuer ผู้ออกโทเคนดิจิทัล หรือแม้กระทั่งฝ่าย Regulator ผู้ออกกฎเกณฑ์ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ไร้ปัญหา

 

“เราวางจุดยืนตัวเองไว้ว่าอยากจะเป็น Trusted Partner ในทุกๆ ด้าน ทุก Stakeholders ทั้งนักลงทุน, Issuer และ Regulator เพื่อทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกระบวนการทุกขั้นตอน แล้วลูกค้าก็จะสามารถไว้วางใจกับการที่จะมาเป็นพาร์ตเนอร์กับทาง Kubix หรือมาใช้บริการของ ICO Portal 

 

“โดยที่ในมุมของกฎเกณฑ์ Regulation เราจะดูแลรายละเอียดทุกด้านให้ครอบคลุม ครบถ้วน เสริมในด้านความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและเทคโนโลยี ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนอยู่ในองค์กร ที่สามารถให้คำแนะนำกับลูกค้าทั้งกลุ่มนักลงทุนและ Issuer ได้ในทุกมิติ ทั้งขาของธุรกิจ หรือการสร้างประโยชน์ในระยะยาว เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกฝ่ายมากที่สุด ซึ่งประเด็นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยความที่เราอยู่ในเครือของ KBTG Group อยู่แล้ว ลูกค้าก็จะมั่นใจในมุมนี้ของเราด้วย ดังนั้น ด้วยหลักทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จึงทำให้ไม่ว่าเราจะเข้าไปคุยกับลูกค้าเจ้าไหน ความมั่นใจและความเชื่อใจในจุดแข็งของ Kubix ก็จะปรากฏออกมาชัดเจน”

 

สำหรับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของ Kubix ในระยะแรก อภิญญาบอกว่าจะเน้นการเปิดรับ Issuer ที่หลากหลายในทุกๆ กลุ่มอุตสาหกรรม โดยจะยึดเกณฑ์จากการมองหาโปรดักต์ ผลิตภัณฑ์ บริการ ของกลุ่ม Issuer ที่เข้าใจง่ายสำหรับนักลงทุนทุกราย

 

ในมุมองความท้าทายของการดึงดูดกลุ่ม Issuer และการนำสินทรัพย์มาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อทำ ICO นั้น ญาณวิทย์ขยายความเพิ่มว่า โจทย์หลักเรี่องความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ณ ตอนนี้ของ Kubix คือประเด็นความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากทีมจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีความเซ็กซี่ (น่าดึงดูดกลุ่มนักลงทุนมากพอ) ที่จะนำมาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล

 

โทเคนดิจิทัล คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้ประโยชน์นักลงทุนมากกว่าแค่กำไรและมูลค่าที่เพิ่มขึ้น

เมื่อถามถึงประโยชน์ที่นักลงทุนในโทเคนดิจิทัล และ ICO จะได้รับ นอกเหนือจากการเก็งกำไรและมูลค่าในสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบนี้ และเป็นจุดต่างที่ไม่เหมือนกับการลงทุนรูปแบบอื่นๆ รวมถึงจุดต่างของการลงทุนในโทเคนดิจิทัลกับ Kubix ที่มีเหนือคู่แข่งในตลาด ภาคย์ อรัญวัฒน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า 

 

“ธุรกิจ ICO Portal เป็นธุรกิจที่มีความใหม่มาก และเมื่อดูผู้เล่นในตลาด แต่ละคนก็มีธุรกิจที่แตกต่างกัน อย่างที่เราเห็นในข่าวล่าสุดก็คือเขามีบริษัทลูกที่มาจากต่างประเทศ และมีแพลนที่จะขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศ เราก็มองว่าเขามีโมเดลธุรกิจรูปแบบหนึ่ง เราก็กลับมาดูของเราว่าเป็นอย่างไร ฉะนั้น เราจะนำเสนอพาร์ตเนอร์ของเราว่าสิ่งที่เรามีมันดีกว่าได้อย่างไร เราจะนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือโทเคนที่เป็น Utility Token ผสมกับ Investment Token แล้วไปตอบโจทย์ธุรกิจของเขาในรูปแบบไหนได้บ้าง”

 

ภาคย์ อรัญวัฒน์ Head of Product and Business Development Kubix

 

ด้านอภิญญากล่าวเสริมว่า “สิ่งที่เราโฟกัสตอนที่เราออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับทำโทเคน คือการที่เราจะเริ่มสวมหมวกการเป็นนักลงทุน เพราะปลายทางของเราอยากที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับการลงทุนที่มีความหลากหลายและแตกต่างจากการลงทุนในรูปแบบอื่น ซึ่งฟีเจอร์หนึ่งที่โดดเด่นมากของโทเคนก็คือ การสามารถดึงสิทธิประโยชน์ของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) มาเป็นรูปแบบสิทธิประโยชน์ให้นักลงทุนได้ด้วย 

 

“เราอยากทำให้การรับรู้ของนักลงทุนเป็นไปในแนวทางที่ว่า การลงทุนไม่ใช่แค่การดูแต่ตัวเลข ผลประกอบการของบริษัท แต่ต้องเป็นไปในแนวทางที่ว่า เขาจะต้องเข้าใจ และเข้าไปเป็นเจ้าของ ได้รับสิทธิ์ในสิ่งที่ตัวเองลงทุนจริงๆ ทำให้การลงทุนมันดูเหมือนเป็นไปในเชิงไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Investment) มากกว่า ตรงนี้เป็นมุมที่เราค่อนข้างเน้น และมองว่าจุดนี้จะเป็นการผนึกกำลังร่วมกันครั้งใหญ่ (Synergy) ของ Issuer กับพาร์ตเนอร์อื่นๆ เพราะมันเป็นอะไรที่มากกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 

 

“ส่วนในมุมของ Investor สิ่งที่เขาไม่เคยได้จากการลงทุนรูปแบบอื่นๆ เขาจะได้ใน Utility Token เหล่านี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นจุดที่เราเน้นและโฟกัสให้ความสำคัญ”

 

อภิญญายกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นว่า ยูสเคสของการนำสินทรัพย์อย่าง ‘โรงแรม’ มาทำ ICO ก็ทำให้ Issuer สามารถวางเงื่อนไขได้ว่า ผู้ที่เข้ามาลงทุนซื้อโทเคนอาจได้รับสิทธิพิเศษในฐานะนักลงทุน เช่น สิทธิ์เข้าพักฟรี (Free Stay) หรือการใช้สิทธิประโยชน์ในโรงแรม เช่น การใช้ฟิตเนส สปา เป็นต้น 

 

“มันก็จะทำให้นักลงทุนที่ถือโทเคนนั้นๆ ได้ความรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ ไปด้วย นอกเหนือจากนี้ เราก็ยังสามารถประยุกต์ประโยชน์ไปสู่อุตสาหกรรมความบันเทิงได้อีก ตัวอย่างเช่น การทำ ICO กับแพลตฟอร์มสตรีมมิง ที่อาจจะให้สิทธิ์นักลงทุนในการเข้าถึงอีเวนต์พิเศษ รัมชมคอนเทนต์พิเศษที่คนทั่วไปหาซื้อไม่ได้ เพราะฉะนั้น สิทธิประโยชน์หรือสิทธิพิเศษต่างๆ ที่จะมาพร้อมกับตัวโทเคนและการทำ ICO มันสามารถดีไซน์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่หลากหลายได้” 

 

ขณะที่ในมุมมองการพัฒนาแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มสำหรับนักลงทุนนั้น ภาคย์ ในฐานะหัวเรือใหญ่ผู้ดูแลแผนก Product and Business Development ของ Kubix บอกว่า ทีมงานของเขาจะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย

 

  1. Functionality – หรือ Features ที่แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มควรจะต้องมี
  2. Usability – ต้องใช้ง่าย ประสิทธิภาพต้องดี 
  3. Regulation – ถูกหลักเกณฑ์ทุกขั้นตอน

 

“หลักๆ เรามองอยู่ 3 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทั้งในด้านความสะดวกในการใช้งานของกลุ่มนักลงทุน การตอบโจทย์กลุ่ม Issuers,​ การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ของ ก.ล.ต. ดังนั้น ความยากในการทำงานของทีมพัฒนาก็คือ การที่เราจะต้องบาลานซ์ 3 เรื่องนี้เข้าด้วยกัน แม้ว่าเราจะอยากให้มันง่ายและตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ด้วย ตรงนี้คือ 3 เรื่องหลักๆ ที่เราจะนำมาดูว่าจะขับเคลื่อนแอปพลิเคชันไปยังทิศทางใด”

 

ขณะที่เป้าหมายในอนาคตนั้น Kubix ยืนยันว่าเจตนารมณ์และความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจของพวกเขาในระยะยาว จะไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเป็น ICO Portal เพียงอย่างเดียว เพราะในอนาคตยังมีแผนที่จะขยายธุรกิจออกไปอยู่ในบทบาทที่เกี่ยวข้องที่สามารถตอบโจทย์ให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น Issuer หรือนักลงทุน 

 

ตลอดจนการทำให้ ICO Portal และการออกโทเคนดิจิทัล สามารถเจาะไปถึงในทุกอุตสาหกรรมให้ได้ เพื่อเพิ่มตัวเลือกในการลงทุนให้กับนักลงทุนให้ได้มากที่สุด และการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ

 

จับตาดูให้ดี ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังจะมาถึง และไม่แน่ว่าผู้ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ว่าอาจจะไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น Kubix นี่เอง!

The post อ่านแนวคิด Kubix โดย KBTG ผู้ให้บริการการลงทุนผ่านโทเคนดิจิทัล ก่อนก้าวเท้าสู่สังเวียน ICO เต็มตัว [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
10 บาทก็ซื้อได้! XSpring จ่อเปิดขาย ‘โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ’ หลัง ก.ล.ต. เคาะอนุญาตแล้ว https://thestandard.co/xspring-sirihub-investment-token/ Wed, 04 Aug 2021 07:32:14 +0000 https://thestandard.co/?p=521313 XSpring

ต้องบอกว่าการเป็น ICO (Initial Coin Offering) ซึ่งเป็นก […]

The post 10 บาทก็ซื้อได้! XSpring จ่อเปิดขาย ‘โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ’ หลัง ก.ล.ต. เคาะอนุญาตแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
XSpring

ต้องบอกว่าการเป็น ICO (Initial Coin Offering) ซึ่งเป็นการระดมทุนแบบดิจิทัลด้วยการเสนอขายดิจิทัลโทเคน (Digital Token) ผ่านระบบบล็อกเชนต่อสาธารณชนตัวแรกของไทย ทำให้ ‘โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ’ (SiriHub Investment Token) นั้น ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

 

ล่าสุดในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้อนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนอย่างเป็นทางการแล้ว ทำให้ XSpring ซึ่งเป็นเจ้าของ ICO ดังกล่าวเตรียมที่จะเปิดขายเร็วๆ นี้

 

อัฏฐ์ ทองใหญ่ อัศวานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด ระบุว่า เป้าหมายสำคัญของการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ (SiriHub Investment Token) คือการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงได้ และสามารถเริ่มต้นจากเงินลงทุนจำนวนน้อยด้วยมูลค่าจองซื้อขั้นต่ำเพียง 10 บาท (1 โทเคน) 

 

โดยสามารถเลือกได้จากโทเคนดิจิทัล 2 กลุ่ม คือ 1. สิริฮับ A (SiriHubA) เสนอขายจำนวน 160 ล้านโทเคน มูลค่า 1,600 ล้านบาท และ 2. สิริฮับ B (SiriHubB) เสนอขาย 80 ล้านโทเคน มูลค่า 800 ล้านบาท รวมมูลค่าการเสนอขาย 2,400 ล้านบาท

 

“โทเคนดิจิทัลสิริฮับ เป็นการลงทุนในกระแสรายรับจากค่าเช่าของกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส โครงการที่มีศักยภาพซึ่งตั้งอยู่ภายใน T77 คอมมูนิตี้แห่งการอยู่อาศัยยุคใหม่ใจกลางอ่อนนุช โดยมี บมจ.แสนสิริ เป็นผู้เช่าอาคารสำนักงานสิริ แคมปัส เต็มพื้นที่ 100% เพียงรายเดียว และเป็นสัญญาเช่ายาวถึง 12 ปี โดยจ่ายค่าเช่าปีละ 149.4 ล้านบาท ในขณะที่โครงการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ มีอายุโครงการ 4 ปี ดังนั้นนักลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าโครงการนี้จะมีรายรับที่ต่อเนื่อง”

 

ผู้ถือสิริฮับ A จะได้รับส่วนแบ่งรายได้รายไตรมาส 4.5% ต่อปี และได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการจำนวนไม่เกิน 1,600 ล้านบาท ขณะที่ผู้ถือสิริฮับ B จะได้รับส่วนแบ่งรายได้สูงถึง 8% ต่อปี และยังได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการเฉพาะส่วนเกิน 1,600 ล้านบาทเป็นต้นไป 

 

อัฏฐ์ระบุว่า จากการวิเคราะห์มูลค่าตลาดทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของสิริ แคมปัส โดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. จำนวน 2 ราย คาดการณ์ว่าในอนาคตอีก 4 ปีข้างหน้า มูลค่าตลาดของโครงการนี้จะมีมูลค่าประมาณ 2,600 ล้านบาท 

 

นอกจากนี้ จากรายงานการวิเคราะห์ราคาที่ดินของศูนย์วิจัยและประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้สรุปข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสถานีอ่อนนุช ซึ่งเป็นสถานีรถไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียง โดยในปี 2564 มีราคาอยู่ที่ 1.1 ล้านบาทต่อตารางวา และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปี 2564 อยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทำเลที่ตั้งของทรัพย์สินโครงการมีศักยภาพที่ดี และมีโอกาสเติบโตค่อนข้างสูง

 

เบื้องต้นยังไม่ได้มีการกำหนดวันที่จะเปิดขาย โดยบอกแต่เพียงว่าจะเปิดให้ซื้อผ่านแอปพลิเคชัน XSpring เท่านั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

The post 10 บาทก็ซื้อได้! XSpring จ่อเปิดขาย ‘โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ’ หลัง ก.ล.ต. เคาะอนุญาตแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เอสพีวี 77’ ระดมทุนด้วย ICO รายแรก มูลค่ารวม 2.4 พันล้านบาท นำเงินเข้าลงทุนในอาคารสำนักงานสิริ​ แคมปัส https://thestandard.co/spv77-first-ico-investor/ Fri, 21 May 2021 06:53:50 +0000 https://thestandard.co/?p=491535 ‘เอสพีวี 77’ ระดมทุนด้วย ICO รายแรก มูลค่ารวม 2.4 พันล้านบาท นำเงินเข้าลงทุนในอาคารสำนักงานสิริ​ แคมปัส

‘เอสพีวี 77’ ยื่นไฟลิ่งเสนอขาย ICO รายแรก มูลค่าระดมทุน […]

The post ‘เอสพีวี 77’ ระดมทุนด้วย ICO รายแรก มูลค่ารวม 2.4 พันล้านบาท นำเงินเข้าลงทุนในอาคารสำนักงานสิริ​ แคมปัส appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เอสพีวี 77’ ระดมทุนด้วย ICO รายแรก มูลค่ารวม 2.4 พันล้านบาท นำเงินเข้าลงทุนในอาคารสำนักงานสิริ​ แคมปัส

‘เอสพีวี 77’ ยื่นไฟลิ่งเสนอขาย ICO รายแรก มูลค่าระดมทุนรวม 2.4 พันล้านบาท โดยเสนอขายโทเคน 240 ล้านโทเคน ราคา 10 บาทต่อโทเคน นำเงินลงทุนในอาคารสำนักงานสิริ​ แคมปัส

 

บริษัท เอสพีวี 77 จำกัด ยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุญาตเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก โดยจะเสนอขายโทเคนชื่อ ‘โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน สิริ ฮับ’ หรือชื่อย่อ SIRIHUB-A / SIRIHUB-B รวมจำนวน 240 ล้านโทเคน ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อโทเคน รวมมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 2,400 พันล้านบาท แบ่งเป็น

 

  1. มูลค่าเสนอขายโทเคนดิจิทลั สิริฮับ -A จำนวน 1,600 ล้านบาท
  2. มูลค่าเสนอขายโทเคนดิจิทลั สิริฮับ -B จำนวน 800 ล้านบาท

 

โดยมีผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลคือบริษัท เอสอี ดิจิทัล (ซึ่งเป็นลูกของ XPG) 

 

หนังสือชี้ชวนระบุว่า การเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริ ฮับ เป็นการระดมทุนซึ่งดำเนินการผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) โดยผู้ออกโทเคนดิจิทัลจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนใน 2 ส่วน ประกอบด้วย 

 

  1. การลงทุนในสัญญา RSTA จำนวน 1,568 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลได้มาซึ่งกระแสรายรับจากกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส จากสิริพัฒน์ โฟร์ ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ิในกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส โดยท่ีสิริพัฒน์ โฟร์จะนำเงินท่ีได้รับจากผู้ออกโทเคนดิจิทัลตามสัญญา RSTA ไปชำระแก่เจ้าหนี้ของตน และดำเนินการให้กลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส และหุ้นสามัญของสิริพัฒน์ โฟร์ ปลอดจากภาระผูกพันที่มีอยู่ รวมถึงการชำระต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมและชำระคืนเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทผู้อออกโทเคนดิจิทัล

 

  1. เข้าลงทุน 100% ในหุ้นของสิริพัฒน์ โฟร์ จำนวน 832 ล้านบาท​ โดย สิริพัฒน์ โฟร์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส และโอนเข้ามาเป็นทรัพย์สินของกองทรัสต์ เพื่อการคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือโทเคนดิจิทัล และเพื่อมิให้ทรัพย์สินของกองทรัสต์และกลุ่มอาคารสำนักงานสิริแคมปัสถูกจำหน่ายจ่ายโอน หรือก่อภาระผูกพันโดยไม่เป็นไปตามหนังสือชี้ชวนสัญญาก่อตั้งทรัสต์และ/หรือมติของผู้ถือโทเคนดิจิทัล โดยทรัสตีในฐานะผู้ถือหุ้นของสิริพัฒน์ โฟร์ จะทำหน้าที่จัดการดูแลสิริพัฒน์ โฟร์ และกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส ให้เป็นไปตามท่ีกาหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และหนังสือชี้ชวน

 

ท้ังน้ีภายหลังจากท่ีสิริพัฒน์ โฟร์ ได้โอนขายกระแสรายรับจากกลุ่มอาคารสำนักงานสิริ แคมปัสทั้งหมดภายใต้สัญญา RSTA ให้แก่ผู้ออกโทเคนดิจิทัล และหลังจากที่ทรัสตีถือหุ้นทั้งหมดในสิริพัฒน์ โฟร์แล้ว จะไม่มีการจ่ายเงินปันผลจากสิริพัฒน์ โฟร์ ไปให้แก่กองทรัสต์หรือทรัสตีในฐานะผู้ถือหุ้นทั้งหมดในสิริพัฒน์ โฟร์แต่อย่างใด เนื่องจากประโยชน์ทั้งหลายท่ีโครงการจะได้รับเกือบทั้งหมดจะถูกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นโทเคนดิจิทัลทุกราย

 

ผู้ออกโทเคนดิจิทัลจะนำโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริ ฮับ เข้าจดทะเบียนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อความสะดวกของผู้ลงทุนในการซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองต่อไป

 

โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับมีอายุโครงการ 4 ปี นับแต่วันที่กองทรัสต์ก่อต้ังข้ึน เว้นแต่มีการต่ออายุโครงการเนื่องจากมีเหตุจำเป็นและสมควรตามท่ีกำหนดในหนังสือชี้ชวน 

 

โดยในปีสุดท้ายของโครงการ ผู้ออกโทเคนดิจิทัลจะดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการเพื่อนำมาจ่ายมูลค่าไถ่ถอนให้แก่ผู้ถือโทเคนดิจิทัล และไถ่ถอนโทเคน ดิจิทัลจากผู้ถือโทเคนดิจิทัลทุกราย

 

ทั้งนี้ เอสพีวี 77 กำหนดมูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำต่อครั้งที่ 10,000 บาท โดยผู้ลงทุนทุกประเภทสามารถลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนรายย่อยที่มิใช่นิติบุคคลร่วมลงทุน กิจการเงิน ร่วมทุน ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษสามารถลงทุนได้รายละไม่เกิน 300,000 บาท 

 

และกำหนดสัดส่วนเสนอขาย ‘โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน สิริ ฮับ’ ให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยไม่เกิน 70% ของมูลค่าการเสนอขายทั้งหมด หรือไม่เกิน 1,680 ล้านบาท

 

โดยจะจัดสรรโทเคนดิจิทัลแต่ละกลุ่มให้แก่ผู้ลงทุนตามลำดับการชำระเงินสำเร็จของผู้ลงทุนแต่ละราย (ชำระเงินสำเร็จก่อนได้รับจัดสรรก่อน) โดยจะพิจารณาจากจำนวนโทเคนดิจิทัลทั้งหมดของแต่ละกลุ่มโทเคนดิจิทัลที่ผู้ลงทุนได้จองซื้อ และอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่ร่างหนังสือชี้ชวน

 

ทั้งนี้บริษัท เอสพีวี 77 จำกัด ซึ่งเป็นผู้ออกโทเคน เป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนภายใต้หลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีบริษัท แอมเพิล เวนเจอร์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้น 100% ซึ่งแอมเพิลมี กรวิชญ์ สวาทยานนท์ เป็นผู้ถือหุ้น 100% 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ‘เอสพีวี 77’ ระดมทุนด้วย ICO รายแรก มูลค่ารวม 2.4 พันล้านบาท นำเงินเข้าลงทุนในอาคารสำนักงานสิริ​ แคมปัส appeared first on THE STANDARD.

]]>
บิตคอยน์ดิ่งหนัก ราคาหลุด 3,800 ดอลลาร์แล้ว มูลค่าตลาดเงินดิจิทัลลด 80% https://thestandard.co/bitcoin-drops-to-kick-off-december/ https://thestandard.co/bitcoin-drops-to-kick-off-december/#respond Thu, 06 Dec 2018 05:36:24 +0000 https://thestandard.co/?p=160124

ราคาของเงินดิจิทัลบิตคอยน์วันนี้ (6 ธ.ค.) อยู่ที่ 3,716 […]

The post บิตคอยน์ดิ่งหนัก ราคาหลุด 3,800 ดอลลาร์แล้ว มูลค่าตลาดเงินดิจิทัลลด 80% appeared first on THE STANDARD.

]]>

ราคาของเงินดิจิทัลบิตคอยน์วันนี้ (6 ธ.ค.) อยู่ที่ 3,716.09 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 122,000 บาท ต่อ 1 บิตคอยน์ ยังตกต่อเนื่องนับจากเดือน พ.ย. ที่ร่วงลงถึง 37% ขณะที่มูลค่าตลาดของเงินดิจิทัลทั้งโลกลดลงถึง 80%

 

เป็นไปตามที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ไว้สำหรับทิศทางขาลงของคริปโตเคอร์เรนซีนี้ว่า จะหลุด 3,800 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 บิตคอยน์ในที่สุด ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบหน้ามือเป็นหลังมือจาก 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วงคริสต์มาสปี 2017 ราคาของบิตคอยน์ร้อนแรงทะยานจนเกือบแตะ 2 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 6 แสนบาท ต่อ 1 บิตคอยน์ ก่อนที่จะร่วงลงหนักไม่นานหลังจากขึ้นศักราชใหม่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญยังเป็นเรื่องการกวดขันของรัฐบาลแต่ละประเทศที่เฝ้าระวังอย่างเข้มข้นเรื่องทรัพย์สินดิจิทัลนี้ และล่าสุดทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาก็กำหนดมาตรการที่เข้มงวดในการคืนเงินลงทุนสำหรับนักลงทุนที่ซื้อ ICO (Initial Coin Offerings) ยิ่งทำให้บิตคอยน์เจอกับแรงกดดันที่มากขึ้นอีก  

 

ความเห็นต่อทิศทางเงินดิจิทัลบิตคอยน์ยังแบ่งเป็น 2 ส่วน และดูเหมือนจะแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ บางส่วนประเมินว่า ราคาบิตคอยน์อาจดิ่งลงไปแตะถึง 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 บิตคอยน์ ขณะที่นักลงทุนที่ยังหวังในคริปโตเคอร์เรนซีคาดว่า บิตคอยน์จะปรับมาร้อนแรงและสร้างสถิติราคาสูงสุดอีกครั้งภายในปี 2019

 

จากข้อมูลของ Investing.com ราคาของบิตคอยน์เมื่อต้นปี 2015 ยังอยู่ที่ระดับ 200 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 บิตคอยน์ จากนั้นราคาขยับขึ้นเรื่อยๆ จนแตะ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 บิตคอยน์ เมื่อต้นปี 2017 นี้ ก่อนที่ราคาจะปรับตัวขึ้นอย่างบ้าคลั่งจนสั่นสะเทือนวงการการเงินและการลงทุนโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจนว่าราคาของบิตคอยน์อยู่ในจุดที่มีเสถียรภาพแล้วหรือไม่ ขณะที่รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกต่างพร้อมใจตั้งการ์ดระวังเรื่องนี้อย่างเต็มที่

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

The post บิตคอยน์ดิ่งหนัก ราคาหลุด 3,800 ดอลลาร์แล้ว มูลค่าตลาดเงินดิจิทัลลด 80% appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/bitcoin-drops-to-kick-off-december/feed/ 0
ปิดกั้น ICO เท่ากับตัดโอกาสบล็อกเชน ถามตรงตอบตรงกับ กรณ์ จาติกวณิช – ดร.การดี เลียวไพโรจน์ https://thestandard.co/ico-blockchain-q-a-korn-chatikavanij-karndee-icora/ https://thestandard.co/ico-blockchain-q-a-korn-chatikavanij-karndee-icora/#respond Mon, 25 Jun 2018 02:19:55 +0000 https://thestandard.co/?p=100534

หลังจากที่เนื้อหาของกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ […]

The post ปิดกั้น ICO เท่ากับตัดโอกาสบล็อกเชน ถามตรงตอบตรงกับ กรณ์ จาติกวณิช – ดร.การดี เลียวไพโรจน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากที่เนื้อหาของกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำกับดูแลเรื่องคริปโตเคอเรนซีและการระดมทุนผ่าน ICO เผยแพร่ออกไป ก็เกิดเสียงวิจารณ์ดังลั่นไปทั้งวงการการเงินและการลงทุน

 

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่เคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวผ่านตัวบทกฎหมาย

 

สำนักข่าว THE STANDARD ร่วมพูดคุยกับ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ ICORA และ กรณ์ จาติกวณิช ในฐานะประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย เพื่อหาคำตอบเรื่องผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตีกรอบครั้งใหญ่ของภาครัฐในวันที่คนจำนวนมากเชื่อว่าไม่มีใครหยุดพลังของบล็อกเชนได้กับบทสัมภาษณ์พิเศษนี้

 

คุม ICO ใครได้เปรียบ-เสียเปรียบ หรือไม่มีใครได้อะไรเลย

 

 

THE STANDARD: มองบทบาทของภาครัฐผู้กำกับดูแลในขณะนี้อย่างไร กฎหมาย 2 ฉบับที่ออกมานี้จะกระทบกับใครบ้าง

 

กรณ์: ท่าทีของฝ่ายกำกับมีส่วนสำคัญต่อคำตอบว่าอนาคตแนวโน้มการลงทุนจะเป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าทางฝ่ายกำกับมีท่าทีกังวลเรื่องคริปโตเคอเรนซี ประเด็นหลักคงเป็นเรื่องความหวือหวาทางด้านราคา ภาวะไร้การกำกับดูแล โอกาสที่มิจฉาชีพจะเข้ามาหาผลประโยชน์จากตรงนี้ ซึ่งรวมถึงการฟอกเงินด้วย ไม่มีรัฐบาลหรือฝ่ายกำกับไหนที่ไม่มีความกังวลกับเรื่องที่เขาควบคุมหรือดูแลไม่ได้

 

ทางสมาคมฟินเทคฯ เองก็พยายามชักชวนฝ่ายกำกับให้เข้ามามีส่วนดูแลตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะเราอยากเห็นการกำกับดูแล มีกฎกติกาที่ชัดเจน ประเทศไทยเราเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายควบคุมเรื่องนี้อย่างชัดเจนเป็นประเทศแรกๆ ในโลกเลย ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่เราต้องเข้าใจว่าเราออกกฎมาในสภาพแวดล้อมที่ยังไม่ค่อยมีกฎเกณฑ์ มันก็เลยเป็นข้อจำกัดเมื่อเทียบกับประเทศที่ไม่มีเลย

 

ล่าสุดเราออกกฎหมายมา 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งคือการกำกับดูแลการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เป็นผู้ดูแล ไม่ได้มีอะไรที่เหนือความคาดหมาย เพราะที่ผ่านมาก็ปรึกษากับทาง กลต. อย่างใกล้ชิด กลต. ก็รับฟังความคิดเห็นกัน ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าจะเอาไปปฏิบัติได้จริงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นเรื่องคริปโตเคอเรนซีและการระดมทุนผ่านการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น หรือ ICO

 

ที่เป็นประเด็นคือกฎหมายอีกฉบับหนึ่งซึ่งแก้ไขประมวลรัษฎากรในประเด็นที่เกี่ยวกับภาษีมันมีเรื่องที่ยังไม่ลงตัวสองประเด็น หนึ่งคือการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ซึ่งกระทรวงการคลังมองว่าคริปโตเคอเรนซีไม่ใช่สกุลเงิน แต่เป็นสินทรัพย์ ดังนั้นควรเสียภาษี VAT ถ้าเป็นแบบนี้ก็คือจบเลย ผมเชื่อว่าจะไม่มีการซื้อขายคริปโตเคอเรนซีในระบบของประเทศไทย นักลงทุนจะไปซื้อขายในตลาดต่างประเทศแทน

 

THE STANDARD: ทำไมต้องไปทำ ICO ที่ต่างประเทศ ข้อจำกัดคืออะไร

 

กรณ์: ถ้าเก็บภาษี VAT 7% ทุกๆ ครั้งที่ซื้อขาย มันก็จะเป็นต้นทุนที่สูงมากถ้าเทียบกับการซื้อขายหุ้นซึ่งไม่มีภาษีตรงนี้ และจะไปเก็บกับค่าคอมมิชชันที่จ่ายให้กับโบรกเกอร์แทน กรณีนี้คือซื้อขายคริปโตเคอเรนซี 1 ล้านบาทก็จะเก็บ 7% จาก 1 ล้านบาท คือ 7 หมื่นบาท

 

ส่วนการเก็บภาษี 15% จากกำไรการซื้อขายคริปโตเคอเรนซีที่เกิดขึ้น ผมไม่ค่อยกังวลส่วนนี้ แต่ที่เป็นปัญหาคือความตั้งใจที่จะเก็บภาษีจากการประเมินเงินที่สตาร์ทอัพระดมได้ผ่าน ICO ซึ่งจะเก็บภาษีเสมือนรายได้ที่ 15% ตรงนี้ผมว่าเป็นปัญหา เพราะ ICO ไม่ใช่รายได้ แต่เป็นทุน เหมือนเวลาที่หุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ตอนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก หรือ IPO เงินก็เข้าบริษัทโดยไม่ต้องเสียภาษี เพราะนั่นคือทุน จะเก็บไว้ใช้ทันทีหรือใช้เมื่อไรก็ได้ ไม่ได้เป็นภาระทางด้านภาษี ซึ่งมอง ICO ต่างออกไป ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงไม่มีใครออก ICO ในประเทศไทย แต่อาจจะหันไปออกในประเทศใกล้ๆ อย่างสิงคโปร์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของ ICO นี่เอง

 

ถ้าไปออก ICO ที่สิงคโปร์หรือประเทศอื่น ข้อจำกัดจะมีอย่างเดียวคือประชาสัมพันธ์ขายในประเทศไทยไม่ได้อย่างเป็นทางการ แต่นักลงทุนก็สามารถไปซื้อคริปโตเคอเรนซีหรือเหรียญของบริษัทไทยที่ไปจดทะเบียนที่ต่างประเทศได้

 

ถ้าทางการเราตั้งเป้าหมายจากกฎหมายนี้เป็นเรื่องการสร้างรายได้ มันจะไม่มีรายได้เข้ามา เพราะไม่เกิดธุรกรรมในประเทศ บรรดาสตาร์ทอัพก็จะไปออกเหรียญในต่างประเทศแทน แต่ถ้าบอกว่าเป้าหมายคือการควบคุมดูแล มันจะทำได้เพียงแค่ผลักความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่น เพราะธุรกรรมไปเกิดที่อื่น ผู้ที่กำกับดูแลหรือทางการก็ไม่ต้องมารับผิดชอบ

 

THE STANDARD: มันไม่สมเหตุสมผลกับสถานการณ์ที่เป็นจริงและกระทบกับการลงทุนอย่างไร

 

 

กรณ์: เรื่องภาษี ถ้าเก็บส่วนของเงินที่ระดมทุนได้โดยตีความว่าเป็นรายได้แล้วเก็บภาษี ผมคิดว่านั่นคือเกินไป เช่นเดียวกันกับการเก็บภาษี VAT จากมูลค่าของคริปโตเคอเรนซีที่ซื้อขายผ่านตลาดในประเทศไทยก็เป็นต้นทุนที่สูงเกินไปเช่นกัน

 

ดร.การดี: ถึงเวลาที่เราต้องเข้าใจว่าการทำ ICO เป็นการระดมทุนที่ได้เร็ว ยืดหยุ่น เข้าถึงโอกาสได้ง่ายสำหรับสตาร์ทอัพและบริษัทที่ต้องการทุน แต่กระบวนการออก ICO ในขณะนี้มีต้นทุนที่สูง ปัจจัยด้านราคาที่ออก กำลังคน และทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็น มันไม่ใช่โอกาสสำหรับสตาร์ทอัพแล้ว แต่กลายเป็นโอกาสของบริษัทขนาดกลางหรือขนาดใหญ่มากกว่า

 

THE STANDARD: มองบทบาทเรื่อง ICO ต่อไปอย่างไรในอนาคต เป็นไปได้หรือไม่ที่องค์กรต่างๆ จะพากันหนีจากตลาดทุนแบบเดิมๆ มาที่การระดมทุนรูปแบบใหม่นี้

 

กรณ์: ไม่ครับ ตรงกันข้ามกันเลย ในขั้นแรกสตาร์ทอัพจะระดมทุนผ่าน ICO แต่สุดท้ายก็เหมือนเฟซบุ๊กหรือแบรนด์เทคโนโลยีใหญ่ๆ เขาต้องเข้าสู่ตลาดหุ้นเพื่อทำ IPO อยู่ดี

 

THE STANDARD: ถ้าเป็นแบบนั้นเราจะเสียโอกาสอะไร

 

กรณ์: คริปโตเคอเรนซีและ ICO มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะกับการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่ง ICO กับบล็อกเชนเป็นเรื่องที่ไปด้วยกัน บล็อกเชนมีประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกๆ เรื่อง ลดความจำเป็นในการพึ่งพาคนกลาง ช่วยยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้มีต้นทุนทั้งสิ้นไม่ว่าจะสำหรับธนาคาร รัฐบาล หน่วยงานราชการ บริษัทประกัน หรือใครก็แล้วแต่ที่มีหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการร่วมกัน หรือผู้ซื้อกับผู้ขาย บล็อกเชนจะเข้ามาช่วยตรงนี้

 

ถ้าสมมติว่าเราไปปิดทางโดยการเพิ่มต้นทุนของกระบวนการเข้าไปก็จะเหลือแต่บริษัทขนาดใหญ่หรือองค์กรรัฐเองที่มีต้นทุนในการพัฒนาบล็อกเชนได้ ทุกๆ การเปลี่ยนแปลงจะมีผู้ที่เสียผลประโยชน์ ในกรณีนี้ก็คือคนที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในปัจจุบัน

 

THE STANDARD: ใครที่น่าจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้และอาจจะเสียผลประโยชน์ที่เคยมีได้

 

ดร.การดี: สถาบันการเงินอย่างธนาคารและโบรกเกอร์ต่างๆ คือผู้เล่นรายใหญ่ในตอนนี้ ในมุมของการออก ICO ผู้ที่จะกระทบชัดเจนก็หนีไม่พ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพราะพื้นที่ในการระดมทุนไม่ใช่แค่บน SET อีกต่อไป แต่กฎหมายที่ออกมานี้กลายเป็นว่าไปเอื้อต่อการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมฐานเดิม

 

กฎหมายสำหรับเรื่องนี้ควรที่จะปรับเพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของบล็อกเชนว่าคืออะไร มันคือเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ทำให้คนตัวเล็กๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ บล็อกเชนมีผลอย่างมากต่อรูปแบบการทำธุรกิจ ระบบเดิมที่มีคือระบบปิด บล็อกเชนมันจะทำให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับบริษัทหรือไม่ได้เป็นเจ้าของเข้ามาเป็นกลไกในธุรกิจด้วย เป็นกลไกที่ทำให้เรื่อง Crowdsource และ Crowd Participation เกิดขึ้น ทำให้เกิดระบบที่น่าเชื่อถือ

 

กรณ์: สำหรับสตาร์ทอัพ การจะเข้าถึงแหล่งเงินได้ด้วยตัวเองก็คือการระดมทุนผ่าน ICO นี่ล่ะ เพราะเขาไม่มีทุนหรือสินทรัพย์อะไร จะไปกู้จากธนาคารก็ไม่เข้าเกณฑ์ เพราะยังไม่เกิดรายได้ หลักประกันหรือทุนบริษัทก็ไม่มี ดังนั้นถ้าเราไปปิดกั้นเรื่อง ICO โดยสร้างต้นทุนผ่านกฎหมายที่เป็นอยู่นี้ นวัตกรรมด้านนี้ก็จะมีข้อจำกัด

 

THE STANDARD: วงการธุรกิจ การเงินการลงทุน พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะไม่มีใครหยุดการเข้ามาของเทคโนโลยีบล็อกเชนได้ ในเมื่อเกิดข้อจำกัดแบบนี้จะทำอย่างไรต่อดี

 

 

ดร.การดี: ถึงเวลาที่เราต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ชัดเจน เราจึงจัดหลักสูตร Crypto Asset Revolution หรือ CAR ขึ้นมา หลักสูตรนี้เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจด้านการลงทุน ICO และคริปโตเคอเรนซีแก่นักลงทุน ผู้ประกอบการ และบุคลากรในสถาบันต่างๆ ให้ถูกต้อง โดยมีวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรงด้านนี้ ซึ่งคอร์สนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิถุนายนถึง 14 สิงหาคม 2561 ค่ะ

 

กรณ์: สมาคมฟินเทคฯ ของเราก็จะเข้ามาให้ความรู้ด้วย ความกลัวเกิดจากความไม่รู้ หนึ่งในหน้าที่ของสมาคมฟินเทคฯ คือการให้ความรู้ แลกเปลี่ยนมุมมอง ลดความหวาดกลัวและความกังวลกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นในอนาคต แม้แต่ประเทศจีนที่อำนาจรัฐของเขาเด็ดขาดมากก็ยังห้ามซื้อขายคริปโตเคอเรนซีในบางช่วงเท่านั้นเพื่อทำให้เขาได้มีเวลาปรับตัวสู่เทคโนโลยีใหม่ จากนั้นจึงจะกำหนดกฎเกณฑ์ได้

 

THE STANDARD: ถ้าบอกว่าต้องการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง แสดงว่าทุกวันนี้ก็ยังเข้าใจกันผิด

 

ดร.การดี: ไม่เชิงค่ะ แต่คิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่มันยึดติดกับอดีตมากเกินไป อย่างเรื่องภาษี เราไม่สามารถตีความสถานการณ์ปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่โดยใช้ทฤษฎีเดิมๆ ที่มีมานานแล้วได้ มันเป็นการพูดกันคนละเรื่อง ไม่ใช่ว่าเขาผิดหรือเราถูก แต่อยากบอกว่านี่คือสิ่งใหม่ที่เราน่าจะศึกษาร่วมกันมากกว่า เจ้าหน้าที่จากภาครัฐให้ความสนใจหลักสูตร CAR นี้เยอะมาก มีคนจากทั้ง กลต. กรมสรรพากร ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกระทั่งธนาคารแห่งประเทศไทยค่ะ

 

THE STANDARD: ฟังดูเหมือนนี่จะไม่ใช่หลักสูตรเรียนเสียทีเดียว เหมือนเป็นเวทีอะไรบางอย่าง ทั้งสองท่านคาดหวังไหมว่าจบหลักสูตร CAR ไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวบทกฎหมายเพื่อทำให้ผลักดันเรื่องพวกนี้ง่ายขึ้น

 

ดร.การดี: หวังไว้ค่ะ เราจะมี CAR White Paper ออกไป นี่คือความคาดหวังส่วนหนึ่งของ CAR ค่ะ

 

กรณ์: ทางสมาคมฟินเทคฯ ก็จะมีเอกสารไปเสนอทางการ เราก็จะนำมาแลกเปลี่ยนในหลักสูตรนี้ด้วย บอกอย่างชัดเจนว่าทำไมเราจึงเสนอแบบนี้ และทางผู้ที่เกี่ยวข้องคิดเห็นอย่างไร

 

THE STANDARD: สิ่งที่น่าสนใจของหลักสูตรนี้คืออะไร

 

ดร.การดี: เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จากทั่วโลกทั้งจากอเมริกาหรือในเอเชียมาถ่ายทอดและทำเวิร์กช็อปด้วยกัน นี่จะเป็นหลักสูตที่เราจะทำภาพใหญ่ของบล็อกเชน คริปโตเคอเรนซี และ ICO ให้ชัดเจน นี่เป็นการปรับจูนมุมมองให้ตรงกันในทุกระดับ เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และนักลงทุน

 

กรณ์: ตอนนี้เรามีบริษัทเล็กบริษัทน้อยหรือสตาร์ทอัพมากมายที่อยากจะสร้างธุรกิจในประเทศไทย แต่ถ้าเราจะเก็บภาษีพวกเขาตั้งแต่วันแรกๆ เลย มันก็เท่ากับดันให้เขาไปอยู่ต่างประเทศแทน มันเป็นตรรกะที่แปลกมาก แทนที่จะให้เขาแจ้งเกิดที่นี่ ในอนาคตเขาอาจจะเป็นแบบเฟซบุ๊กหรือเป็นแอมะซอนขึ้นมาก็ได้ ภาษีจากรายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมหาศาล แต่ถ้าเราดันเขาไปสำเร็จที่ต่างประเทศ เราก็ไม่ได้รายได้จากภาษีตรงนั้น

 

ถือเป็นหลักสูตรที่น่าจับตาอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่พื้นที่ที่ ‘ใครก็ได้’ จะเข้าเรียนได้ การรวมตัวกันของผู้มีอำนาจด้านนโยบาย ผู้กำกับดูแล นักลงทุน และผู้ประกอบการครั้งนี้จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง หรือกระทั่ง ‘ผ่อนปรน’ บางข้อจำกัดสำหรับ ICO และคริปโตเคอเรนซีได้จริงหรือไม่ คงต้องติดตามต่อไป

 

ไม่มีใครต้านทานการเปลี่ยนแปลงได้


ที่เป็นปัญหาก็คือผู้ที่ไม่รู้ว่าจะต้องเปลี่ยนและผู้ที่ไม่เต็มใจจะเปลี่ยนเท่านั้น

The post ปิดกั้น ICO เท่ากับตัดโอกาสบล็อกเชน ถามตรงตอบตรงกับ กรณ์ จาติกวณิช – ดร.การดี เลียวไพโรจน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/ico-blockchain-q-a-korn-chatikavanij-karndee-icora/feed/ 0
ประกาศใช้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล คุมซื้อขายเงินดิจิทัล ตั้ง ก.ล.ต. ควบคุม https://thestandard.co/ratchakitcha-cryptocurrency/ https://thestandard.co/ratchakitcha-cryptocurrency/#respond Mon, 14 May 2018 03:00:04 +0000 https://thestandard.co/?p=90380

เทรนด์การเทรดเงินสกุลดิจิทัลคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocur […]

The post ประกาศใช้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล คุมซื้อขายเงินดิจิทัล ตั้ง ก.ล.ต. ควบคุม appeared first on THE STANDARD.

]]>

เทรนด์การเทรดเงินสกุลดิจิทัลคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) อย่างบิตคอยน์กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่หน่วยงานหลายแห่งเริ่มหันมาศึกษาและทำความเข้าใจกับมันอย่างจริงจัง ขณะที่ผู้ประกอบการบางเจ้าก็รุดหน้านำร่องเปิดให้ระดมทุนด้วยเงินดิจิทัล ICO (Initial Coin Offering) ไปก่อนแล้ว

 

เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ล่าสุด (13 พ.ค.) ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศใช้พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และมีเป้าหมายให้เกิดการกำกับและควบคุมการทำธุรกรรมและดำเนินกิจกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลภายในประเทศให้โปร่งใส รักษาความมั่นคงทางเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ คุ้มครองผู้ลงทุน ตลอดจนประชาชนที่เกี่ยวข้อง หลีกเลี่ยงกรณีการหลอกหลวงประชาชนหรือการกระทำอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม

 

พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ฉบับ พ.ศ. 2561 นี้ประกอบไปด้วยมาตราทั้งหมด 100 มาตรา สาระสำคัญส่วนใหญ่เน้นไปที่การกำหนดกฎหมายควบคุมการทำธุรกรรมดิจิทัลด้วยคริปโทเคอร์เรนซี หรือโทเคนต่างๆ เป็นหลัก รวมถึงยังมีการแต่งตั้ง ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ขึ้นมาเป็นหน่วยงานกลางรับหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ประกอบการเจ้าต่างๆ ภายในประเทศ

 

พระราชกำหนดฉบับนี้ได้ให้นิยามของคริปโทเคอร์เรนซีว่าเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล

 

ส่วนโทเคนดิจิทัลถูกนิยามไว้ว่าเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใดๆ และกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง

 

ที่น่าสนใจคือหมวด 3 ว่าด้วยเรื่องการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน มาตรา 17 ระบุไว้ว่า การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อประชาชนนั้น ผู้ออกโทเคนที่ประสงค์จะเสนอขายโทเคนดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. และให้กระทําได้เฉพาะ ‘นิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด’ และต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อ ก.ล.ต. โดยมีรายละเอียดตามที่ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อได้รับการอนุญาตจาก ก.ล.ต. แล้ว การเสนอขายจะต้องเสนอผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เท่านั้น

 

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 17 นี้จะมีโทษตามมาตรา 57 ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของราคาขายของโทเคนดิจิทัลทั้งหมดซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่า 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

ขณะที่หมวด 6 ว่าด้วยการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มาตรา 41 ยังห้ามมิให้บุคคลใดวิเคราะห์หรือคาดการณ์ฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงาน ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล ‘โดยนำข้อมูลที่รู้ว่าเป็นเท็จหรือไม่ครบถ้วน’ อันอาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญมาใช้วิเคราะห์ คาดการณ์ หรือละเลยที่จะพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวที่น่าจะทําให้มีผลกระทบต่อ ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลหรือต่อการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

 

ผู้ฝ่าฝืนความตามมาตรา 41 นี้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 500,000 บาทถึง 2,000,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับตามมาตรา 70

 

ศึกษาพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ฉบับเต็มได้ที่ www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/033/43.PDF

 

อ้างอิง:

The post ประกาศใช้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล คุมซื้อขายเงินดิจิทัล ตั้ง ก.ล.ต. ควบคุม appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/ratchakitcha-cryptocurrency/feed/ 0
เปิดใจซีอีโอ StockRadars หลังเปิด ICO ระดมทุน 33 ล้านบาทใน 1 ชั่วโมง https://thestandard.co/talk-with-stockradars-ceo/ https://thestandard.co/talk-with-stockradars-ceo/#respond Fri, 09 Mar 2018 12:11:20 +0000 https://thestandard.co/?p=76185

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.) THE STANDARD มีโอกาสเข้าไปเยือนออ […]

The post เปิดใจซีอีโอ StockRadars หลังเปิด ICO ระดมทุน 33 ล้านบาทใน 1 ชั่วโมง appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.) THE STANDARD มีโอกาสเข้าไปเยือนออฟฟิศ StockRadars ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันตัวช่วยสำหรับการลงทุนและซื้อ-ขายหุ้น เนื่องในโอกาสเปิดระดมทุนด้วยเงินดิจิทัล หรือ ICO (Initial Coin Offering) เป็นวันแรก

 

ก่อนหน้านี้ถ้าใครยังจำกันได้ พวกเขาเพิ่งจะเปิด Bitcoin Center Thailand ศูนย์เรียนรู้เงินดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนไปเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมานี้เอง

 

เราไปถึงออฟฟิศของ StockRadars ช่วงเวลาประมาณ 11.00 น. บรรยากาศภายในห้องทำงานดูวุ่นวายพอสมควร ทีมงานหลายคนต่างช่วยกันมอนิเตอร์ระบบตรวจสอบการทำธุรกรรมซื้อโทเคนจากผู้ที่สนใจอย่างขะมักเขม้น

 

มาทราบทีหลังว่าภายใต้พื้นที่ทำงานกว่า 200 ตารางเมตรแห่งนี้เพิ่งจะปิดการขายโทเคนของ Carboneum รอบพรีเซลไปไม่ต่ำกว่า 33 ล้านบาท (ประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งๆ ที่เพิ่งเปิดขายได้ไม่ถึง 1 ชั่วโมง! ถึงขนาดที่หนึ่งในบุคลากรของบริษัทยังแอบโอดครวญกับเราว่าเขายังไม่มีเวลาหยุดพักซื้อโทเคนเป็นของตัวเองเลยด้วยซ้ำ

 

เพื่อสำรวจที่มาที่ไปความตั้งใจของการเปิด ICO ในครั้งแรก เราได้คุยกับ แม็กซ์-ธีระชาติ ก่อตระกูล ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท StockRadars เพื่อให้เจ้าตัวอธิบายโปรเจกต์ Carboneum และฉายภาพเทรนด์ Cryptocurrency ทั่วโลกในปัจจุบัน ตลอดจนความเข้าใจที่ผิดๆ บางส่วนของคนไทยที่มีต่อสกุลเงินดิจิทัล

 

ICO คืออะไร แล้วต่างจาก IPO อย่างไร

สารภาพตามตรงว่าเราเองก็ไม่ใช่หนึ่งในนักขุดบิตคอยน์ตัวยง เพราะฉะนั้นจึงอาจจะเข้าใจแค่ความรู้ภาคทฤษฎีเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้เข้าใจกระบวนการปฏิบัติของการสร้างมูลค่าเงินดิจิทัลประเภทนี้ รวมถึงการเปิดระดมทุนซื้อโทเคนแบบ ICO เชิงลึก

 

แต่ถ้าจะให้จำกัดความง่ายๆ ที่สุดของ ICO ธีระชาติบอกว่ามันเหมือนการเปิดขายเหรียญโทเคนเพื่อให้คนที่เข้ามาซื้อได้รับสิทธิพิเศษบางประการ สิทธิ์ในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ ก็ตามของบริษัทเป็นกลุ่มแรกๆ มีความคล้ายคลึงกับการระดมทุนแบบ crowd funding ของฝั่งสตาร์ทอัพ ตัวอย่างเช่น การเปิดขายโทเคนของสนามกอล์ฟเพื่อให้ผู้ซื้อได้รับสิทธิ์ใช้สนามฟรี

 

“เหมือนที่ BNK เขาขายบัตร Founder Member เพื่อขายสิทธิ์เข้าเธียเตอร์แหละครับ โมเดลเขาคล้ายๆ กับ ICO ของเราเลย ไม่ใช่การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ แต่หมายถึงการเป็น ‘เจ้าของสิทธิ์’ เข้าใช้สินค้าหรือบริการ ข้อดีของบัตรสนามกอล์ฟโทเคนนี้คือผู้ถือสามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนมือเพื่อให้มันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นระหว่างทางได้”

 

มูลค่าที่เพิ่มขึ้นระหว่างทางคือหนึ่งในความต่างระหว่าง ICO และ IPO (Initial Public Offering) หรือการเสนอขายหุ้นบริษัทใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ธีระชาติอธิบายความต่างอื่นๆ เพิ่มว่า อย่าง IPO จะมีเงินปันผลจากผลประกอบการบริษัท แต่ ICO จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและโมเดลของผู้เปิดให้ซื้อโทเคนแต่ละเจ้า

 

“ICO จะใช้ต้นทุนต่ำกว่ามาก เพราะไม่ต้องมี FA, ID หรือผู้เชี่ยวชาญทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อดีคือทำได้ง่าย รวดเร็ว ถ้ามีคนเชื่อว่าสิ่งที่เราทำ (คนเปิดขายโทเคน) มันใช่ก็จะเกิดขึ้นได้เร็วมาก ข้อเสียคือไม่มีมืออาชีพมาคอยกั้นหรือตรวจสอบว่าอะไรดีไม่ดี ต้องศึกษาด้วยตัวเองและรับผิดชอบความเสี่ยงของการลงทุนทั้งหมด มันเลยมีความเสี่ยงสูงกว่ามากๆ ต้องศึกษาให้ดีก่อนคิดลงทุน”

 

 

จากโทเคน Carboneum สู่ Coin Radar แพลตฟอร์มวิเคราะห์ Cryptocurrency

StockRadars เปิดขายโทเคน C8 ของ Carboneum รอบพรีเซลครั้งแรกผ่านหน้าเว็บไซต์และ LINE ID: @CarboneumKYC เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ก่อนจะเปิดขายอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เมษายนนี้ โดยเงินของผู้ที่นำมาซื้อโทเคนทั้งหมดจะถูกนำไปลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มวิเคราะห์และให้ข้อมูลเงินคริปโตในชื่อ ‘Coin Radar’ ซึ่งประมาณการว่าจะเปิดตัวในช่วงเดือนตุลาคมนี้ และผู้ถือเหรียญ C8 ทุกคนก็มีสิทธิ์เข้าใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวโดยได้รับส่วนลดตามเงื่อนไข เช่นคนปกติจะเสียค่าธรรมเนียม 20% แต่ถ้ามีเหรียญ C8 ในมือก็เหมือนมีบัตรสมาชิก จ่ายด้วยเหรียญปีแรกก็จะได้รับส่วนลด 50% ปีที่ 2 ลดอีก25% ปีที่ 3 ลด 12% ส่วนปีที่ 4 เป็นต้นไปลด 8% และคงที่ไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้เหรียญมี Value เหมือนเป็นบัตรสมาชิกรับส่วนลดเสมอ

 

ธีระชาติบอกว่า “ปกติเราทำระบบเทรดสำหรับหุ้นและวิเคราะห์อยู่แล้ว (StockRadars) ครั้งนี้เราจึงตั้งใจจะขยายไปตลาดใหม่ๆ ผ่านการออกแอปฯ ลูก ‘Coin Radar’ หรือ StockRadars เวอร์ชัน Cryptocurrency สำหรับสกุลเงินดิจิทัลโดยเฉพาะ ที่สำคัญคือเราจะนำมาทำ social trading นำความรู้ของผู้คนมาแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับความรู้ที่ถูกต้อง สมมติว่าผมรู้ว่าคุณเป็นนักเทรดที่เก่ง ความฝันสูงสุดของผมคือการสร้างอาชีพ เราจะทำพื้นที่นี้ให้เกิด sharing economy ของนักเทรดคริปโตฯ

 

“ตลาดคริปโตฯ มันไร้พรมแดน ผมระดมทุนทั่วโลก ไม่ใช่แค่เฉพาะไทย ฉะนั้นผู้ใช้บริการในอนาคตของเราก็ไม่ใช่แค่คนไทย เราต้องการสร้างเวทีให้นักเทรดได้เป็นที่รู้จัก แล้วถ้ามีคนมาตามเขา เช่น คุณนำให้ผมได้กำไร 1 ล้านบาท ผมก็จะแบ่งส่วนกำไรให้เขาเลย 10% อีก 1% จะเข้าบริษัท แต่ถ้าไม่ทำให้กำไร คนลงทุน (คนตาม) ก็ต้องรับผิดชอบและขาดทุนเอง แสดงว่าทุกกำไรที่เกิดขึ้นในระบบจะมี 1% เข้าบริษัทเสมอ ถ้าไม่กำไร คนลงทุนต้องรับผิดชอบเอง เมื่อคนลงทุนรับผิดชอบเอง คนนำไม่ได้เงิน ระบบก็ไม่ได้เงิน นี่เป็นสิ่งที่แฟร์มากๆ”

 

ธีระชาติมองว่าโมเดลแบบนี้แฟร์กว่าการลงทุนแบบอื่นๆ ที่มีในปัจจุบันพอสมควร เพราะอย่างการซื้อกองทุน ไม่ว่าคุณจะได้หรือเสีย คุณก็ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการจัดการตลอดเวลา ซึ่งต่างจาก ICO ที่เป็นการนำบล็อกเชนมาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างงานและโอกาสให้นักเทรดที่มีศักยภาพด้วย เพราะในอนาคตพวกเขาวางแผนจะออกใบรับรองให้คนกลุ่มนี้ได้เป็นโบรกเกอร์

 

“ที่สำคัญคือพอรายได้เข้ามาบริษัทในปีแรก 20% ของกำไร เราก็จะนำมาซื้อเหรียญคืนออกจากตลาด ปีที่ 2 ซื้อคืน 2 รอบ ปีที่ 3 เป็นต้นไปซื้อคืนไตรมาสละครั้ง นั่นแสดงว่าคนที่มีเหรียญอยู่ก็จะได้รับประโยชน์จากกรณีที่ supply ลดลง ทำให้ value ของเหรียญโทเคนมันเพิ่มขึ้น เพราะเราให้เงินปันผลไม่ได้ แต่เราให้ capital gain (การเพิ่มทุน) ได้ ด้วยโมเดลแบบนี้มันก็มีความเป็นไปได้ที่ตัวเหรียญมันจะมีราคาเพิ่มขึ้น”

 

 

ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรส่งออกเทคโนโลยี

ธีระชาติให้เหตุผลในการลุกขึ้นมาเปิด ICO เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มผู้ช่วยทาง

การเงินดิจิทัลในครั้งนี้ว่า เขาต้องการให้ประเทศไทยได้กลายเป็นประเทศส่งออกเทคโนโลยีเสียที ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่าเราปล่อยให้โอกาสงามๆ หลุดลอยไป ทั้งๆ ที่มันมาหยุดอยู่ตรงหน้า

 

“ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องเป็นคนส่งออกเทคโนโลยีบ้าง โลกมันหมุนมาทางนี้ (เทรนด์ Cryptocurrency) บริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในทุกประเทศและของโลกก็เป็นบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีกันหมด แต่ตลาดหุ้นไทยยังไม่มีบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ เลย มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศเรา แปลว่าเรายังถูกนำด้วยคนอายุมากๆ ที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโลก เหตุผลสำคัญคือโลกเราเปลี่ยนแปลงมาก เราอาจจะต้องเห็นความสำคัญของการส่งออกเทคโนโลยีมากขึ้น

 

“การทำครั้งนี้คือการขออาสาขอเป็นทีมชาติไทยไปแข่งกับประเทศอื่น เราเคยชนะรางวัล Finance Software ดีเด่นที่ 1 ของไทย และได้โอกาสออกไปแข่งกับบริษัทอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกและได้ที่ 1 มาแล้ว รอบนี้มันคือการขอโอกาส ซึ่งเวลาจะเป็นตัวพิสูจน์ว่าคนไทยก็ทำสินค้าเทคโนโลยีได้ มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนไทยจะทำแอปฯ เจ๋งๆ ให้คนทั้งโลกได้ใช้ ไม่ใช่แค่เรานะ แต่หมายถึงคนไทยคนอื่นๆ ด้วย มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะสนับสนุนให้คนไทยด้วยกันได้สร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มีคุณค่า ไม่อย่างนั้นมันก็จะไม่เกิดการ up size ประเทศ”

 

ธีระชาติสารภาพกับเราตามตรงว่า การเปิด ICO ครั้งนี้ทำให้พวกเขาต้องแบกรับความเสี่ยงมหาศาลและความกดดันขนาดยักษ์ที่ถาโถมเข้ามาด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีความคาดหวังของผู้คนทั่วโลกท่ีฝากเข้ามาให้กับ StockRadars ผ่านจำนวนโทเคน C8 ที่ถูกขายออกไป

 

“ครั้งนี้เราเสี่ยงเอาหน้าตัวเองมาหาเรื่องมากๆ นะ (หัวเราะ) มันเหมือนการอาสามาทำ ขอแรงสนับสนุนจากคน ถ้าทำไม่ได้มันก็ไม่มีที่ยืนในสังคม อีกมุมหนึ่งของ ICO คนชอบมองว่าคนออก (ระดมทุนขายเหรียญ) มันสบาย หาเงินง่าย แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าผมมีเพื่อน พ่อแม่ ครอบครัว ถ้าเราทำไม่สำเร็จรอบนี้ก็พังเหมือนกันนะ เพราะเหมือนเราประกาศตัวว่าจะไปรบแล้วขอเสบียงจากทุกคน ถ้าตีสำเร็จได้ก็จะนำรางวัลกลับมาแบ่งกัน แต่ถ้าพลาดนี่ซวยเลย เราต้องมั่นใจมากๆ ถึงจะกล้าออกมาอาสา ไม่ฉะนั้นมันคือการขุดหลุมฝังตัวเอง ผมเลยรู้สึกว่านี่คือก้าวกระโดดที่สำคัญของบริษัทจริงๆ”  

 

ความเชื่อและเข้าใจคริปโตฯ แบบผิดๆ ของคนไทย

ถ้านับตั้งแต่ที่สกุลเงินดิจิทัลหรือแม้แต่บิตคอยน์ถือกำเนิดขึ้นและเริ่มแพร่หลายเข้ามายังประเทศไทยจวบจนถึงปัจจุบัน ต้องบอกว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่เปิดรับกับ Cryptocurrency เท่าที่ควร เพราะด้วยความเชื่อแบบผิดๆ ที่เข้าใจและมองมันมันไปในทางลบ มองภาพว่าเป็นช่องทางของคนโลภที่ไม่ควรเข้าไปยุ่ง ทั้งๆ ที่หลายคนยังไม่เคยทำความรู้จักแบบจริงๆ จังๆ

 

ในประเด็นนี้ ธีระชาติบอกว่า “ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มองมัน (เงินดิจิทัล) เป็นลบนะครับ เอาง่ายๆ คุณแม่ผมเองก็เตือนตลอดว่าอย่าไปทำอะไรไม่ดีหรือผิดกฎหมาย ความยากที่สุดคือเรามีทัศนคติและมองมันลบ ทั้งๆ ที่เรายังไม่รู้จักมันเลย สมมติว่าในอดีตที่เรารบกันด้วยดาบ พอมีปืนเข้ามา เรากลับบอกว่ามันอันตราย แทนที่จะถือโอกาสเรียนรู้วิธีใช้ปืนไปรบก่อนคู่แข่ง

 

“จริงๆ อย่าไปมีทัศนคติลบหรือปิดกั้นสิ เราต้องพยายามเรียนรู้มันก่อน ถ้าสมมติเรายังไม่รู้ว่ามันคืออะไรก็ต้องเปิดใจ ยิ่งเราเปิดใจก็จะยิ่งได้รับโอกาส อย่าเพิ่งปฏิเสธทุกอย่าง ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีที่ยืน โลกใบใหม่มันไม่มีที่ว่างให้กับคนหัวปิดและทัศนคติลบหรอกนะครับ”

 

กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งจะออกประกาศเตือนให้ธนาคารและสถาบันการเงินทุกแห่งห้ามลงมาทำธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลด้วยตัวเองไปหมาดๆ ซึ่งซีอีโอจาก StockRadars มองว่าคนไทยบางส่วนเข้าใจสารในครั้งนี้ผิดไปเยอะ “เรื่องนี้เป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดมาก เพราะความเป็นจริง ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งแบงก์ว่าอย่าไปทำเอง แต่คนส่วนใหญ่กลับเข้าใจว่า ‘แบงก์ชาติห้ามทำแล้วนะ เงินดิจิทัล’ ทั้งๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้หมายความเช่นนั้นเลย

 

“ชีวิตคนมันต้องลงทุน ถ้าไม่ลงทุน เราก็มีแค่ 24 ชั่วโมง 7 วันเท่ากัน ความฉลาดทางการเงินมันช่วยให้คนได้ลงทุนแล้วต่อยอดมูลค่าที่เขาสร้างได้ เขารู้ว่าเขาจะใช้ใครทำงานให้เขาได้ รู้ว่าจะเอาเงินไปงอกเงยอย่างไร ที่สำคัญคือความเชื่อผิดๆ ที่ว่า ‘คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น’ ผมมองว่ามันเป็นทัศนคติที่ผิดและเสี่ยง เพราะว่าเราจะไม่มีโอกาสเข้าถึงตลาดทุน ในขณะที่โลกมีเครื่องมือช่วยให้คนเติบโตได้เต็มไปหมดทั้งฝั่งบริษัทและนักลงทุน”

 

นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่า ผู้ที่มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายในประเทศจะเป็นตัวละครสำคัญที่จะกำหนดอนาคตประเทศไทยกับเทรนด์เงินคริปโตฯ ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจในขณะนี้  “กฎระเบียบของบ้านเราต้องเปิดโอกาสให้เราได้โต คนที่มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายอาจจะต้องเป็นคนเปิดโอกาสให้นวัตกรรมมันเกิดได้ก่อน เพราะว่าตอนนี้ทุกประเทศเขาวิ่งเข้าหาโอกาส ถ้าเราปิดกั้น มันก็จบ ทุกการเปลี่ยนแปลงจะมีแค่สองสิ่งที่เราเลือกได้ ถ้าเชื่อว่าโลกมันเปลี่ยน เราก็เลือกได้แค่เปลี่ยนตัวเองหรือให้คนอื่นมาเปลี่ยนเรา ผมเลือกที่จะเปลี่ยนให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นเวลาที่คนอื่นมาเปลี่ยนเรา มันจะเดือดร้อนมากๆ นี่คือเรื่องจุดยืนของประเทศที่จะทำให้เราเสียโอกาสอีกเยอะ ถ้าเราไม่เข้าใจมันอย่างดีแล้วรีบจัดการมัน

 

“ความภูมิใจน่าจะอยู่ที่ถ้าเราเปลี่ยนความเข้าใจบางอย่างของคนไทยให้เขาอินกับเราได้ (เงินดิจิทัล) แค่นี้ผมชนะเลย” ธีระชาติบอกกับเรา

 

ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ การขุดบิตคอยน์หรือการเก็งกำไรจากสกุลเงินดิจิทัลก็เช่นกัน ซึ่งเผลอๆ อาจจะเสี่ยงมากกว่าการซื้อหุ้นบริษัททั่วไปเสียด้วยซ้ำ แม้แต่ธีระชาติเองก็ยังยอมรับกับเราแบบไม่อ้อมค้อมว่าการทำ ICO ตัวผู้ลงทุนเองก็มีความเสี่ยง ดังนั้นแล้วคนที่สนใจควรจะศึกษาการทำงานของบริษัทที่เปิดระดมทุนดิจิทัลให้ดีเสียก่อน เช่นเดียวกับคนในวงการที่จะต้องช่วยกันสื่อสาร เป็นหูเป็นตาให้กันและกัน เพราะทุกๆ วงการย่อมมีผู้ไม่หวังดีแฝงตัวฉวยโอกาสอยู่เสมอ

The post เปิดใจซีอีโอ StockRadars หลังเปิด ICO ระดมทุน 33 ล้านบาทใน 1 ชั่วโมง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/talk-with-stockradars-ceo/feed/ 0
รู้จัก JFin Coin และเหตุผลที่ว่า ทำไม Jaymart ต้องระดมทุนผ่านระบบ Blockchain? https://thestandard.co/jfin-coin-jaymart/ https://thestandard.co/jfin-coin-jaymart/#respond Mon, 05 Feb 2018 09:37:47 +0000 https://thestandard.co/?p=67606

JFin Coin คืออะไร? เพื่อหาคำตอบ คุณอาจจะพิมพ์คำว่า ‘JFi […]

The post รู้จัก JFin Coin และเหตุผลที่ว่า ทำไม Jaymart ต้องระดมทุนผ่านระบบ Blockchain? appeared first on THE STANDARD.

]]>

JFin Coin คืออะไร?

เพื่อหาคำตอบ คุณอาจจะพิมพ์คำว่า ‘JFin Coin’ ในกูเกิล แต่ผมคิดว่าวิธีการที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด คือการกลับไปดูที่จุดประสงค์ตั้งต้นว่า JFin Coin เกิดมาเพื่ออะไร?

 

JFin Coin เกิดจากบริษัทในกลุ่ม Jaymart ที่ต้องการระดมทุนผ่าน ICO (คนที่ไม่รู้ว่า ICO คืออะไร มีอธิบายในหัวข้อต่อไปครับ) เพื่อนำไปพัฒนา Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) หรือการให้คนกู้เงิน ‘ดิจิทัล’ ผ่านมือถือ โดยมีบริษัทที่เกี่ยวข้อง 3 บริษัท ได้แก่

     1. Jaymart เมื่อก่อนเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทขายมือถือและอุปกรณ์เสริม แต่ตอนนี้แปลงสภาพเป็น Holding Company ที่มีบริษัทลูกในเครือหลายบริษัท

     2. JFintech บริษัทลูกที่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย ซึ่งต้องการทุนที่ได้จาก JFin Coin มาพัฒนา Decentralized Digital Lending Platform (DDLP)

     3. JVentures หรือ JVC บริษัทลูกที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2560 เกิดมาเพื่อสร้างกระบวนการ Digital Transformation ให้กับบริษัทในเครือ และเป็นบริษัทที่กำลังระดมทุนด้วยวิธี ICO โดยออก Digital Token ชื่อ ‘JFin Coin’

 

Jaymart Group

 

แล้ว ICO คืออะไร?

ICO (Initial Coin Offering) คือการระดมทุนรูปแบบหนึ่งผ่านการเสนอขาย ‘เหรียญดิจิทัล’ หรือ ‘Digital Token’ ที่สร้างบนระบบ Blockchain โดยแต่ละ Digital Token จะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกันตามจุดประสงค์ของผู้ออกเหรียญ

 

 

โดยปัจจุบันตลาดได้แบ่ง Digital Token ออกเป็น 5 ประเภท

     1. Currency Token: เสมือนสกุลเงินออนไลน์ที่สามารถใช้ในการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ และมีมูลค่าของมันเอง

     2. Utility Token: เป็น Token ที่สามารถให้การเข้าถึงหรือใช้บริการในแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท (Utility Token นั้นไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้ลงทุน)

     3. Asset Token: เสมือนสินทรัพย์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่จริง

     4. Reward Token: เสมือนรางวัลที่ให้แก่ผู้ใช้บนแพลตฟอร์มนั้นๆ

     5. Security Token: เสมือนหลักทรัพย์ที่มีตัวตน มีความคล้ายคลึงกับหุ้น และแสดงถึงความเป็นเจ้าของ

 

ทั้งนี้ ข้างต้นเป็นเพียงการแบ่งโดยวัตถุประสงค์ของ Token เท่านั้น เนื่องจาก Token หนึ่งอาจมีได้มากกว่าหนึ่งวัตถุประสงค์

 

ทำไมต้อง ICO?

อย่างที่บอกว่าบริษัท JVentures หรือ JVC ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2560 (หรือปีที่แล้วนี่เอง) เพื่อทำการ Digital Transformation หรือการวางกลยุทธ์แบบดิจิทัลในทุกภาคส่วน โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ Digital Drive Data และนำ Data Drive Customer Experience ให้กับทุกบริษัทในเครือของ Jaymart (หนึ่งในนั้นคือบริษัท JFintech ที่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อเป็นหลัก)

 

โดย JVC บอกว่าจะทำการ Digital Transformation สำเร็จได้ต้องทำ 5 สิ่งนี้ให้เกิดขึ้น ได้แก่

     1. Credit Scoring ระบบเครดิตส่วนบุคคลออนไลน์ ที่สามารถเช็ก score / rating เรื่องการเงินของคนคนนั้นได้ทันที

     2. Big Data

     3. E-Wallet หรือระบบชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งทาง JVC ได้ไปถือหุ้น 10%ในบริษัท T2P เจ้าของแอปพลิเคชัน E-Wallet ที่มีชื่อว่า ‘Deep Pocket’

     4. Blockchain Technology

     5. Artificial Intelligence

 

จะเห็นว่า Blockchain Technology คือ 1 ใน 5 เสาหลักของ JVC และเป็นเทคโนโลยีที่ JVC ใช้ในการระดมทุน ICO โดยออกเหรียญ JFin Coin

 

ส่วนเหตุผลที่ใช้วิธี ICO ก็เพราะนี่คือการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในแง่ของการรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นหรือ Stakeholders ทุกคนของ Jaymart

 

เนื่องจาก ICO เป็นการระดมทุนที่ไม่ Dilute หุ้น (การให้สิทธิ์นักลงทุนคนอื่นมาถือหุ้น) ของบริษัท และไม่เสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่จะให้ Digital Token แก่ผู้ลงทุน โดยบริษัทจะเอา Digital Token นี้ไปทำให้เกิดมูลค่าและประโยชน์ในอนาคต

 

ดังนั้น ICO จึงเป็นการระดมทุน ‘แห่งอนาคต’ อย่างแท้จริง
(เปรียบเสมือนการ Crowdfunding รูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับ Kickstarter หรือ Indiegogo)

 

แต่ประโยชน์ของ Blockchain ไม่ใช่แค่การทำ ICO หรือเสนอขายเหรียญนะครับ และ JVC ก็ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ในการออกเหรียญ JFin Coin มากกว่านั้น

 

ถึงตรงนี้ ผมขอแวะไปพูดถึง Blockchain นิดหนึ่งนะครับ แล้วจะวกกลับมาอธิบาย JFin Coin ต่อ…

 

###

Blockchain เทคโนโลยีที่ทำให้โลกของธุรกรรมไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง เพราะข้อมูลจะถูกส่งต่อให้กับทุกคนในระบบ

 

Blockchain คือเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บข้อมูล Transaction ต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางและไม่มีศูนย์กลาง

 

ถ้าอธิบายให้ง่ายที่สุด ในระบบ Blockchain ทุกๆ คนจะมีสมุดบัญชีเล่มเดียวกัน ทุกๆ ครั้งที่มีคนทำ Transaction ระบบจะอัพเดตข้อมูลให้กับทุกๆ คนที่อยู่ในระบบเป็นทอดๆ คล้ายเป็นลูกโซ่ ทำให้ทุกคนมีข้อมูลที่เหมือนกัน ถ้าคนใดคนหนึ่งคิดฉ้อฉล อยากจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูล Transaction ของตัวเองต้องบอกว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ เพราะทุกคนได้ข้อมูลนั้นไปแล้ว

 

ด้วยเหตุนี้ Blockchain จึงเป็นระบบที่ ‘ปลอดภัย-โปร่งใส’ เพราะธุรกรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ ประมวลผลและทำงานผ่านฟีเจอร์ที่อยู่บนระบบแพลตฟอร์ม Blockchain ที่เรียกว่า ‘Smart Contract’

 

###

 

แล้ว JFin Coin เอา Blockchain มาใช้อย่างไร?

 

หนึ่ง ระดมทุนด้วยวิธี ICO โดย JVC เป็นคนขาย Digital Token หรือ JFIN Coin ให้กับผู้ลงทุน แล้วเอาเงินจากการระดมทุนไปให้ลูกค้า (JFintech) ใช้ในการพัฒนา Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) หรือการให้คนกู้เงินผ่านมือถือ

 

สอง นำ JFin Coin มาใช้เป็น ‘Utility Token’ ในการทำ ‘Proof of Stake’ เพื่อที่จะประมวลผลและ Validate Transaction นั้นๆ ในระบบ DDLP ว่าข้อมูลถูกต้อง โดยคนประมวลผลจะได้ JFin Coin จำนวนหนึ่งเป็นผลตอบแทน

 

แผนภาพนำระบบ Blockchain มาใช้งานของ JFIN Coin

 

1. Proof of Work คือ การให้คนมาแข่งกันแก้โจทย์สมการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้พลังการประมวลผลมายืนยัน Transaction เพื่อจะได้สิทธิ์การ Validate Transaction ดังนั้น เครื่องยิ่งแรงก็จะยิ่งมีโอกาสแก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้เร็วกว่าคนอื่น เพื่อจะได้ Token จำนวนหนึ่งเป็นผลตอบแทน แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือใช้พลังงานเปลืองมาก

 

2. Proof of Stake คือ การใช้หลักประกันหรือ Token ในการ Validate Transaction ยิ่งใส่ Token เข้ามาในระบบมากเท่าไร ก็ยิ่งมีสิทธิ์จะได้รับเลือกทำการประมวลผลมากเท่านั้น โดยจะได้ Token จำนวนหนึ่งเป็นผลตอบแทนเช่นกัน]

 

###

 

 

ทำไม ​JFin Coin ถึงน่าสนใจ?

 

ตอบในเบื้องต้น เพราะนี่เป็น Digital Token ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รายแรกที่ทำการระดมทุนแบบ ICO เพื่อนำไปสร้างเทคโนโลยี

 

ส่วนในเชิงลึกจะน่าสนใจแค่ไหน แนะนำให้อ่านรายละเอียดใน White Paper ของ JFin Coin

###

ไทม์ไลน์และโร้ดแมพของ JFIN Coin

 

อ่านมาถึงตรงนี้ สรุปแล้ว JFin Coin คืออะไร?

ตอบ… JFin Coin คือ Digital Token ที่ใช้เป็นพื้นฐานของระบบให้คนกู้เงินผ่านระบบมือถือหรือ Decentralized Digital Lending Platform (DDLP)

 

โดยคนที่ลงทุน (ทุนในที่นี้คือ ‘เงิน’) จะได้รับ JFin Coin จาก JVC บริษัทที่ระดมทุนเป็นผลตอบแทน ซึ่งบริษัทจะจูงใจให้คนมาลงทุนด้วยการบอกว่า จะนำเงินไปพัฒนาระบบ DDLP ของ JFintech แน่นอน ถ้าระบบไปได้ดี มูลค่าเหรียญก็จะเพิ่มขึ้น (ในทางกลับกัน ถ้าไม่เวิร์ก มูลค่าก็จะลดลง)

 

ที่สำคัญมูลค่าของเหรียญจะไม่ถูกกร่อนจากการซื้อ ขาย และแลกเปลี่ยน เหมือนการทำธุรกรรมผ่านธนาคารหรือตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะถูกหักค่าธรรมเนียม เนื่องจากธุรกรรมเกิดขึ้นบนระบบ Blockchain

 

ในโลกที่ไม่มีตัวกลาง แต่ให้สิทธิ์คนทุกคนตรวจสอบกันและกัน การเกิดขึ้นของ JFin Coin จึงเปรียบเหมือนภาพตัวแทนของโลกใหม่ที่เดินทางมาถึงเมืองไทย

 

แม้ว่าจะไม่อยากเจอ แต่ถึงที่สุดการเปลี่ยนแปลงย่อมมาถึง

 

และไม่แน่ว่า JFin Coin อาจเป็น…ก้าวสำคัญของการยกระดับ Fintech Ecosystem ของไทย

 

นับถอยหลัง 14 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 10:00 น. จะเริ่ม PRE-SALE เหรียญ JFIN Coin

The post รู้จัก JFin Coin และเหตุผลที่ว่า ทำไม Jaymart ต้องระดมทุนผ่านระบบ Blockchain? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/jfin-coin-jaymart/feed/ 0