High Yield Bond – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 14 Aug 2024 02:33:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ผลการประชุมธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ชี้ชะตาตลาดหุ้นโลก https://thestandard.co/central-bank-meetings-results-global-stock-market/ Tue, 30 Jul 2024 11:09:50 +0000 https://thestandard.co/?p=965046 ประเทศเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นโลก

The post ผลการประชุมธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ชี้ชะตาตลาดหุ้นโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประเทศเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นโลก

The post ผลการประชุมธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ชี้ชะตาตลาดหุ้นโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตา! ปี 2567 มีหุ้นกู้ High Yield มูลค่าเฉียด 1 แสนล้านบาทครบกำหนด ส่วนใหญ่อยู่ใน ‘ภาคอสังหา’ https://thestandard.co/100-billion-baht-high-yield-bond-2567/ Thu, 11 Jan 2024 01:40:14 +0000 https://thestandard.co/?p=886322

วานนี้ (10 มกราคม) อริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดกา […]

The post จับตา! ปี 2567 มีหุ้นกู้ High Yield มูลค่าเฉียด 1 แสนล้านบาทครบกำหนด ส่วนใหญ่อยู่ใน ‘ภาคอสังหา’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (10 มกราคม) อริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยในงานสรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยปี 2566 ว่าในปี 2567 มีหุ้นกู้ระยะยาว (1 ปีขึ้นไป) ครบกำหนดทั้งสิ้น 890,908 ล้านบาท โดยจำนวนนี้ 90% เป็น Investment Grade 7.91 แสนล้านบาท และ 10% เป็น High Yield ซึ่งรวมถึงหุ้นกู้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ 9.95 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกู้ High Yield ที่จะครบกำหนดส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาคือพลังงาน

 

อริยากล่าวอีกว่า หุ้นกู้ 90% ที่ครบกำหนดในปีนี้ ‘ไม่น่ามีปัญหา’ เพราะว่าเป็น Investment Grade แต่ส่วนที่ต่ำกว่า Investment Grade นั้น ThaiBMA ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าตัวไหนจะมีปัญหาหรือไม่ ต้องดูเป็นรายๆ ไป แต่ก็ไม่คิดว่า 10% ที่เป็น High Yield น่าเป็นห่วงทั้งหมด เพราะว่ามีหลายบริษัทที่ออก High Yield Bond และไม่ได้มีปัญหาอะไร จึงจะต้องดูเป็นกรณีไป

 

นอกจากนี้อริยายังตอบผู้คำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับภาคส่วน (Sector) ที่น่าห่วงที่สุด โดยระบุว่าหลายคนห่วงกลุ่มอสังหา แต่จริงๆ แล้วต้องบอกว่าที่สัดส่วน High Yield ในกลุ่มอสังหาสูง เพราะมีการออกเยอะ รวมไปถึงกลุ่มพลังงานและการเงิน

 

“ถ้าเห็นจากปีที่แล้ว STARK และ JKN ที่ผิดนัดชำระก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอสังหา โดยส่วนตัวยังมองว่าหากเกิดปัญหา บริษัทอสังหายังมีสินทรัพย์ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างไปขอสินเชื่อจากธนาคารได้ ยังมีโอกาสได้มากกว่าภาคส่วนอื่นๆ” อริยากล่าว

 

 

สำหรับประมาณการการออกหุ้นกู้ระยะยาวปี 2024 คาดว่าอยู่ที่ 9 แสน – 1 ล้านล้านบาท นับว่าทรงตัวหรือต่ำกว่าปี 2566 ซึ่งมีการออกหุ้นกู้ใหม่ที่ 1,018,690 ล้านบาท ‘เล็กน้อย’ โดยจำนวนนี้ 60% เป็นการต่ออายุหุ้นกู้ (Roll Over) ราว 5-5.5 แสนล้านบาท ขณะที่ New Issue คาดว่าจะอยู่ที่ราว 4-4.5 แสนล้านบาท

 

 

ขณะที่มูลค่าคงค้างหุ้นกู้ที่มีปัญหา ณ สิ้นปี 2566 รวม 39,412 ล้านบาท (ไม่รวมหุ้นกู้ที่อยู่ในการฟื้นฟูกิจการ เช่น การบินไทย) โดยจำนวนนี้ 16,363 ล้านบาท เป็นหุ้นกู้ที่ผิดนัดชำระในปี 2566 ตัวอย่างเช่น

 

  • หุ้นกู้ ALL จำนวน 7 รุ่น 2,334 ล้านบาท
  • หุ้นกู้ STARK จำนวน 5 รุ่น 9,198 ล้านบาท
  • หุ้นกู้ CHO จำนวน 4 รุ่น 409 ล้านบาท
  • หุ้นกู้ DR จำนวน 2 รุ่น 1,210 ล้านบาท
  • หุ้นกู้ JKN จำนวน 7 รุ่น 3,212 ล้านบาท

 

สำหรับเริ่มปี 2567 มีหุ้นกู้ที่ผิดนัดชำระแล้ว 1 รุ่น คือบริษัท พี พี ฮอลิเดย์ จำกัด (PPH) มูลค่า 392 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีหุ้นกู้หลายรุ่นหลายบริษัทที่ได้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอพิจารณาอนุมัติการขยายวันครบกำหนดไถ่ถอนออกไป เช่น บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง และ บจก.สยามนุวัตร (SNW) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวสูง

 

The post จับตา! ปี 2567 มีหุ้นกู้ High Yield มูลค่าเฉียด 1 แสนล้านบาทครบกำหนด ส่วนใหญ่อยู่ใน ‘ภาคอสังหา’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นกู้จีนวุ่น หุ้นกู้ไทยก็ลุ้นๆ นักลงทุนกังวลกันขนาดไหน https://thestandard.co/chinese-bond-market-fluctuate/ Tue, 12 Sep 2023 02:29:43 +0000 https://thestandard.co/?p=840523 ตลาดหุ้นกู้จีน

หากพิจารณาสถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High […]

The post ตลาดหุ้นกู้จีนวุ่น หุ้นกู้ไทยก็ลุ้นๆ นักลงทุนกังวลกันขนาดไหน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นกู้จีน

หากพิจารณาสถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield) ในเอเชียเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้ของบริษัทในประเทศจีนหรือประเทศไทยก็มีความวุ่นวายไม่แพ้กัน  

 

เริ่มที่หุ้นกู้จีน จากข้อมูลใน Bloomberg Asia Ex-Japan USD Credit High Yield Breakdown ซึ่งรวบรวมข้อมูลหุ้นกู้ High Yield ในเอเชียที่ไม่นับรวมญี่ปุ่น พบว่า หุ้นกู้จีนมีสัดส่วนอยู่ในดัชนีสูงประมาณ 20% 

 

แต่สิ่งที่นักลงทุนกังวลคือ หุ้นกู้ High Yield จีน เป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่มากประมาณ 20% แม้ว่าสัดส่วนจะน้อยลงเมื่อเทียบกับในอดีตที่เคยมีสัดส่วนหุ้นกู้กลุ่มอสังหา 50% แต่เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาคอสังหาของจีนมีความอ่อนแอค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ของบริษัทคันทรีการ์เดนท์ ที่เป็นข่าวอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งครบกำหนดชำระในปีนี้ 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแม้ว่าจะจ่ายคืนหนี้สำเร็จไปแล้ว แต่ยังเป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับหุ้นกู้ที่ยังเหลืออยู่ และจะครบกำหนดไถ่ถอนใน 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 11,152 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  

 

ขณะที่เมื่อดูตลาดหุ้นกู้จีนโดยรวมจะพบว่า ช่วงปี 2567-2568 มีจำนวนหุ้นกู้ High Yield จีน ที่ครบกำหนดไถ่ถอนสูงถึง 37,808 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของหุ้นกู้ที่ออกมาแล้ว และจะครบกำหนดชำระนับตั้งแต่ปี 2566-2586 โดยเมื่อดูผลตอบแทนของหุ้นกู้ High Yield ในเอเชีย จะพบว่า ปรับตัวลดลงมา -4.94% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 2565 ขณะที่หุ้นกู้ IG ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด โดยถ้าเป็นหุ้นกู้ High Yield จีน ผลตอบแทนปรับลดลง -14.64% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 2565 สะท้อนถึงกลุ่มอสังหาว่ายังมีอะไรน่ากลัวอยู่ 

 

ดังนั้นในจังหวะที่เศรษฐกิจยังไม่ดีนัก ขณะที่ปริมาณความต้องการที่อยู่อาศัยลดลง ส่วนทิศทางดอกเบี้ยโลกก็ยังสูง ถือว่ามีความท้าทายมากพอสมควร อาจทำให้ผู้ออกหุ้นกู้จีนมีความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดลงได้ จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าไปก่อนจนกว่าสถานการณ์ความต้องการอสังหาในจีนจะดีขึ้นและดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวลดลง 

 

เมื่อกลับมาดูที่ตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนไทยพบว่า มีมูลค่าประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท โดยเป็นหุ้นกู้ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) ประมาณ 95% เป็นหุ้นกู้ High Yield เพียง 5% หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ซึ่งหุ้นกู้ Investment Grade ไม่ใช่กลุ่มที่น่ากังวลอยู่แล้ว เนื่องจากยังจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยได้สม่ำเสมอ มีเพียงหุ้นกู้กลุ่ม High Yield บางบริษัทที่มีปัญหามากขึ้น โดยในช่วงก่อนโควิดหุ้นกู้ที่มีปัญหามีประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่ขณะนี้เพิ่มเป็นกว่า 1 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมา 6 เท่าแล้ว 

 

อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้ที่มีปัญหายังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดรวม และส่วนใหญ่ของหุ้นกู้ที่มีปัญหาประมาณ 7 หมื่นล้านบาทมาจากการบินไทย ซึ่งขณะนี้ก็มีสัญญาณที่ดี เนื่องจากที่ผ่านมาผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทยได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคงค้าง ขณะที่ผลการดำเนินงานทั้งในด้านรายได้และกำไรก็ดีขึ้นต่อเนื่อง และคงจะออกจากแผนฟื้นฟูฯ ได้ในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปี 2567 หรืออาจเร็วกว่านั้น หากความสามารถทำกำไรยังมีต่อเนื่องหลังโควิด 

 

ในส่วนของหุ้นกู้ที่ออกในปีนี้มีกว่า 6 แสนล้านบาทแล้ว ส่วนช่วงที่เหลือของปีนี้คงจะมีการออกหุ้นกู้อีก 2-3 แสนล้านบาท ทำให้โดยรวมแล้วหุ้นกู้ที่ออกทั้งหมดในปีนี้มีประมาณ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่ม Investment Grade มีน้อยมากที่เป็น High Yield ฉะนั้นเมื่อดูจากสภาวะเช่นนี้ก็ไม่น่าเป็นกังวลเท่าไรนัก โดยหุ้นกู้ Investment Grade ยังมีความต้องการจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของหุ้นกู้ High Yield เราแนะนำให้ต้องระมัดระวังการลงทุน  

 

เรามองว่าหุ้นกู้ Investment Grade มีงบดุลที่แข็งแรงมากกว่า ทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจในอนาคตที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ดอกเบี้ยแพง เพิ่มภาระต้นทุนให้กับบริษัท ทำให้บริษัทที่อ่อนแออาจได้รับผลกระทบ แต่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ Investment Grade จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า 

 

นอกเหนือจากการเลือกลงทุนที่ควรมุ่งเน้นไปยังกลุ่มหุ้นกู้ Investment Grade ซึ่งยืนหนึ่งเรื่องความแข็งแกร่งแล้ว หากพิจารณาเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ของแต่ละประเทศ เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในหุ้นกู้ของประเทศไหน โดยเลือกประเทศที่ Yield Curve ปรับขึ้นไปอยู่ในระดับที่น่าสนใจ ก็พบว่า ปัจจุบัน Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สูงกว่าไทย อีกทั้งผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นก็สูงกว่าพันธบัตรระยะยาว ทำให้ช่องว่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในสหรัฐฯ และไทยมากขึ้น และสูงกว่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสในการลงทุน 

 

เช่น ถ้าไปลงทุนในกลุ่มตราสารตลาดเงิน (Money Market) ที่จัดเป็นตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำ หากเป็นการลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 5% ต่อปี ขณะที่ลงทุนสกุลเงินบาทในไทย ผลตอบแทนประมาณ 1.68% ต่อปีเท่านั้น หรือหากลงทุนในหุ้นกู้ IG สกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูง 

 

อย่างเช่น ถ้านักลงทุนมีประสบการณ์ลงทุนหรือรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วเลือกลงทุนผ่าน Capped Floored Floater Note ที่ออกโดยสถาบันการเงินในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำและสูงที่จะได้รับ ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนประมาณ 4.6% ต่อปี หรือกรณีลงทุนใน Callable Note ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารสามารถไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อายุการลงทุนประมาณ 1 ปี ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนประมาณ 5.25% ต่อปี 

 

ส่วนกรณีที่ต้องการลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ผ่านกองทุนรวม ก็มีหลายกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ Investment Grade เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเรามองว่าจังหวะนี้คือจังหวะที่เข้าไปลงทุนได้ ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวลดลงในปีหน้า

 

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในต่างประเทศเองด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หากกังวลเรื่องค่าเงิน สามารถทยอยแลกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือใช้ธุรกรรมประเภท Dual Currency Investment (DCI) ซึ่งเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงที่ใช้บริหารจัดการความประสงค์จะใช้สกุลเงินต่างประเทศในอนาคต ซึ่งจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป้าหมายเอาไว้ล่วงหน้า กรณีที่ลงทุนจนครบอายุแล้ว อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามที่ตกลงไว้ ก็จะแปลงหุ้นกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามอัตราที่ตกลง แต่ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่า ก็จะได้รับเงินคืนเป็นเงินต้นสกุลเงินบาทพร้อมผลตอบแทน 

 

สำหรับ SCB CIO มองว่า ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หยุดขึ้นหรือขึ้นน้อยลงมากๆ อัตราแลกเปลี่ยนน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่แคบลง โดยปัจจุบันมีทั้งปัจจัยบวกและลบที่มีผลต่อค่าเงินบาทสลับกันไป เช่น มีประเด็นดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลมากขึ้นทำให้บาทแข็ง แต่ก็มีประเด็นที่เงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินหยวนมากขึ้น แล้วเศรษฐกิจจีนชะลอตัว เงินหยวนก็น่าจะอ่อนค่าลง อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าตามอยู่ ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ลงทุนบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทยอยแลกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือใช้ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วนด้วย DCI ดังที่อธิบายไว้ข้างต้น 

 

โดยรวมแล้วท่ามกลางตลาดหุ้นกู้ที่ยังมีความว้าวุ่น ก็ยังมีส่วนเนื้อดีของตลาดที่ยังลงทุนได้อยู่ แต่ผู้ลงทุนต้องโฟกัสให้ถูกตลาด เลือกหุ้นกู้ที่มีคุณภาพสูง เพียงเท่านี้ก็สามารถสู้ต่อเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจได้แล้ว 

 

คำเตือน 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • หุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง และ/หรือ มีความซับซ้อน เสนอขายแก่นักลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth Investors) เท่านั้น 
  • หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเป็นตราสารที่มีความซับซ้อนมากกว่าหุ้นกู้ทั่วไป เนื่องจากเป็นตราสารที่ประกอบด้วยตราสารหนี้และอนุพันธ์แฝง (Embedded Derivatives) โดยการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น ความเสี่ยงของปัจจัยอ้างอิง หรือความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสาร เป็นต้น 
  • ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน หากหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงชุดใดไม่ได้มีการคุ้มครองเงินต้นในจำนวนร้อยละ 100% ของมูลค่าที่ตราไว้ นอกจากนั้นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงยังเป็นตราสารที่มีสภาพคล่องต่ำและมีตลาดรองที่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • การลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนี้เป็นธุรกรรมที่ไม่ใช่เงินฝาก และธุรกรรมการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างใด 
  • การลงทุนในผลิตภัณฑ์ตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน
  • ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777

The post ตลาดหุ้นกู้จีนวุ่น หุ้นกู้ไทยก็ลุ้นๆ นักลงทุนกังวลกันขนาดไหน appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCB CIO แนะเลี่ยงลงทุนหุ้นกู้ ‘ดอกเบี้ยสูง-เรตติ้งต่ำ’ ทั้งเอเชีย เหตุเศรษฐกิจชะลอเสี่ยงเบี้ยวหนี้ พร้อมเปิดเทคนิคสแกนหุ้นกู้เพื่อลดความเสี่ยง https://thestandard.co/scb-cio-high-interest-low-rating/ Wed, 06 Sep 2023 09:26:25 +0000 https://thestandard.co/?p=838247

SCB CIO เผย นักลงทุนผวาเลิกลงทุนหุ้นกู้ High Yield Bond […]

The post SCB CIO แนะเลี่ยงลงทุนหุ้นกู้ ‘ดอกเบี้ยสูง-เรตติ้งต่ำ’ ทั้งเอเชีย เหตุเศรษฐกิจชะลอเสี่ยงเบี้ยวหนี้ พร้อมเปิดเทคนิคสแกนหุ้นกู้เพื่อลดความเสี่ยง appeared first on THE STANDARD.

]]>

SCB CIO เผย นักลงทุนผวาเลิกลงทุนหุ้นกู้ High Yield Bond หลังเจอปัญหาเบี้ยวหนี้ไปแล้วหลายราย พร้อมแนะนำให้หลีกเลี่ยงลงทุนหุ้นกู้ ‘ดอกเบี้ยสูง-เรตติ้งต่ำ’ ทั้งเอเชีย เศรษฐกิจชะลอเสี่ยงเบี้ยวหนี้ 

 

ศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยผ่านรายการ Morning Wealth ว่า ปัจจุบันตลาดหุ้นเอกชนของไทยมีมูลค่าประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนราว 95% จัดอยู่ในกลุ่มระดับลงทุน (Investment Grade) และอีกสัดส่วนที่ประมาณ 5% เป็นกลุ่มหุ้นกู้ดอกเบี้ยสูง (High Yield Bond) หรือ Low Investment Grade หรือมีมูลค่ารวมเพียง 2.2 แสนล้านบาทเท่านั้น 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

ทั้งนี้ จากสัญญาณพบว่านักลงทุนยังไม่กังวลการลงทุนในหุ้นประเภท Investment Grade เพราะผู้ออกหุ้นยังสามารถจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยได้เป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ และมีงบดุลที่แข็งแกร่ง ยกเว้นหุ้นกู้ประเภท High Yield Bond หรือ Low Investment Grade ที่นักลงทุนมีความกังวล หลังจากเริ่มเห็นปัญหาการทยอยผิดชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น 

 

ทั้งนี้ หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด พบว่ามีหุ้นที่มีปัญหามูลค่ารวมประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท  แต่ปัจจุบันมีหุ้นกู้ที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว 

 

โดยหุ้นส่วนใหญ่ที่มีปัญหามาจากกรณีของ บมจ.การบินไทย หรือ THAI ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ มูลค่าประมาณ 7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม​ ในส่วนของการบินไทยเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากมีสัญญาณกลับมามีกำไรต่อเนื่อง และสามารถชำระคืนหนี้ได้ ส่งผลให้มีโอกาสที่จะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ในปี 2567 

 

“แม้ว่าสัดส่วนหุ้นกู้ที่มีปัญหาเพียง 1 แสนล้านบาทจะเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบหุ้นกู้ทั้งตลาดมูลค่า 4.4 ล้านล้านบาท แต่ทำให้ Sentiment ของหุ้นกู้ High Yield Bond หรือ Low Investment Grade คนมีความกังวล อย่างในปีนี้มี 6 บริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ไปแล้วเป็นเงินรวมประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท” ศรชัยกล่าว

 

ขณะที่จากช่วงต้นปี 2566 ถึงปัจจุบัน หรือช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ภาพรวมตลาดหุ้นกู้เอกชนมีการออกมาแล้วมูลค่ารวมประมาณ 6.17 แสนล้านบาท และช่วงที่เหลือของปีนี้น่าจะเห็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อเนื่อง ส่งผลให้ทั้งปีนี้น่าจะมีมูลค่าการออกหุ้นกู้รวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งสัดส่วนประมาณ 90% จะเป็นหุ้นกู้กลุ่ม Investment Grade ส่วนที่เหลือจะเป็น High Yield Bond หรือ Low Investment Grade ซึ่งมีความเสี่ยงที่ดีมานด์การลงทุนจะหายไป จากผลกระทบของความกังวลปัญหาที่เกิดขึ้น

 

แนะเลี่ยงลงทุน High Yield Bond ในเอเชีย

 

สำหรับการลงทุนตลาดหุ้นกู้ในต่างประเทศโดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งหุ้นกู้ High Yield Bond กระจุกตัวอยู่ในประเทศจีนค่อนข้างมากนั้น ประเมินว่าตลาดมีความกังวล เพราะหุ้นกู้ High Yield Bond ของจีนกระจุกตัวอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของทั้งหมด จากอดีตที่เคยมีสัดส่วนสูงถึง 50% 

 

ขณะที่ในปีนี้ Country Garden จะมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระคืนรวมประมาณ 850 ล้านดอลลาร์ และในปี 2024 จะมีหนี้ครบกำหนดชำระอีกจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ จากนั้นในปี 2025 จะมีหนี้ครบกำหนดชำระอีกจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนหนี้ที่มีจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงจังหวะที่เศรษฐกิจกำลังมีปัญหาการชะลอตัว ขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มลดลง และยังเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในระดับที่สูง ส่งผลกระทบให้ความสามารถในการชำระหนี้ดอลลาร์ลดลงด้วย

 

นอกจากนี้ จีนยังมีหนี้หุ้นกู้ High Yield Bond มูลค่ารวมราว 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่กำลังจะครบกำหนดชำระกระจุกตัวในช่วงปี 2024-2025 ในสัดส่วนที่สูง ดังนั้น ในระยะข้างหน้าจึงยังมีความท้าทายมากพอสมควรจากประเด็นปัญหาของหนี้ High Yield Bond ในจีน จึงมีคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ High Yield Bond โดยเฉพาะในเอเชียและจีนไปก่อน   

 

และหากดูอัตราผลตอบแทนของตลาด High Yield Bond จากต้นปี 2023 ถึงปัจจุบัน พบว่าให้ผลตอบแทนติดลบ 4-5% แต่หากเป็นหุ้นกู้ High Yield Bond ของจีนให้ผลตอบแทนติดลบมากถึง 15% สะท้อนถึงปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์จีนที่ยังน่ากังวลในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า สวนทางกับภาพรวมของหุ้นกู้ Investment Grade ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด   

 

เปิดเทคนิคลดความเสี่ยงเลือกซื้อหุ้นกู้

 

ศรชัยยังแนะนำวิธีการพิจารณาการลงทุนในหุ้นกู้เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้พิจารณาดังนี้

 

  1. เครดิตเรตติ้งของหุ้นกู้ เพื่อให้เห็นว่ามีความเสี่ยงในการจะผิดนัดชำระหนี้มีสูงหรือต่ำอย่างไร ซึ่งแนะนำให้ลงทุนในหุ้นกู้ที่มีเครดิตเรตติ้งสูงกว่า Investment Grade ไปอีก 1 ระดับ เพราะจากสถิติพบว่าจะมีความเสี่ยงในการชำระหนี้ที่ต่ำกว่าหุ้นกู้ High Yield Bond หรือ Low Investment Grade ค่อนข้างมาก  

 

  1. ประเภทของหุ้นกู้ หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ที่มีหลักประกัน

 

  1. จรรยาบรรณหรือบรรษัทภิบาลของบริษัทผู้ออก เนื่องจากในระยะหลังเริ่มพบการทุจริตของผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) บางแห่ง

 

  1. ศึกษางบการเงินและงบกระแสเงินสดของบริษัท ซึ่งมีความสำคัญที่สะท้อนความสามารถในการชำระหนี้

 

  1. ศึกษาหมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement) ว่ามีประเด็นความน่าสงสัยหรือไม่ รวมถึงกรณีที่ผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงินแบบมีเงื่อนไขควรหลีกเลี่ยงการลงทุน

 

แนะลงทุนตราสารหนี้ดอลลาร์ Investment Grade 

 

ขณะเดียวกัน แนะนำให้นักลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ หรือหุ้นกู้ Investment Grade ซึ่งออกโดยบริษัทที่มีงบดุลที่แข็งแรง สามารถต้านทานภาวะกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวในอนาคตและภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงได้ อีกทั้ง ตลาดหุ้นกู้สหรัฐฯ มี Yield curve ที่สูงกว่าไทย จึงมองเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน 

 

ทั้งนี้ แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส แอกกริเกท บอนด์ ฟันด์ (MUBOND-D) ที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ Investment Grade ระยะยาวของสหรัฐฯ ที่จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่มีโอกาสลดลงในอนาคต

 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในต่างประเทศจะมีประเด็นความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนักลงทุนต้องบริหารจัดการด้วยการทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

The post SCB CIO แนะเลี่ยงลงทุนหุ้นกู้ ‘ดอกเบี้ยสูง-เรตติ้งต่ำ’ ทั้งเอเชีย เหตุเศรษฐกิจชะลอเสี่ยงเบี้ยวหนี้ พร้อมเปิดเทคนิคสแกนหุ้นกู้เพื่อลดความเสี่ยง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ถอดบทเรียนจาก 5 บริษัท ‘เบี้ยวหนี้หุ้นกู้’ ทำนักลงทุนขยาด High Yield Bond | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-050866-3/ Tue, 05 Sep 2023 07:39:05 +0000 https://thestandard.co/?p=837673

ตั้งแต่ต้นปี 2566 มีบริษัทจดทะเบียนไทยหลายรายที่ประสบปั […]

The post ชมคลิป: ถอดบทเรียนจาก 5 บริษัท ‘เบี้ยวหนี้หุ้นกู้’ ทำนักลงทุนขยาด High Yield Bond | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตั้งแต่ต้นปี 2566 มีบริษัทจดทะเบียนไทยหลายรายที่ประสบปัญหาชำระคืนหนี้ จากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ลงทุนในหุ้นกู้เหล่านี้ THE STANDARD WEALTH จะพาไปถอดบทเรียนความผิดพลาดที่บริษัทต่างๆ ควรหาวิธีป้องกัน ในขณะที่นักลงทุนก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงในลักษณะเหล่านี้ ติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดอ่านหนังสือชี้ชวน และศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ถอดบทเรียนจาก 5 บริษัท ‘เบี้ยวหนี้หุ้นกู้’ ทำนักลงทุนขยาด High Yield Bond | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
EXCLUSIVE: ถอดบทเรียนจาก 5 บริษัท ‘เบี้ยวหนี้หุ้นกู้’ ทำนักลงทุนขยาด High Yield Bond https://thestandard.co/5-companies-default-of-debt-payment/ Mon, 04 Sep 2023 06:37:53 +0000 https://thestandard.co/?p=837184 เบี้ยวหนี้หุ้นกู้

หลายคนน่าจะพอได้ยินเรื่องราวของการผิดนัดชำระหนี้ของบริษ […]

The post EXCLUSIVE: ถอดบทเรียนจาก 5 บริษัท ‘เบี้ยวหนี้หุ้นกู้’ ทำนักลงทุนขยาด High Yield Bond appeared first on THE STANDARD.

]]>
เบี้ยวหนี้หุ้นกู้

หลายคนน่าจะพอได้ยินเรื่องราวของการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยหลายแห่ง ล่าสุดคือกรณีของ บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป (JKN) ที่ไม่สามารถจ่ายคืนหนี้จำนวน 609 ล้านบาท ซึ่งครบกำหนดจ่ายคืนเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา 

 

ไม่เพียงแค่ JKN เท่านั้น ตั้งแต่ต้นปี 2566 ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีกหลายรายที่ประสบปัญหาขาดแคลนกระแสเงินสดที่จะนำมาชำระคืนหนี้ได้ตามที่ตกลงกันไว้แต่ต้น ทำให้แต่ละบริษัทต้องพยายามเจรจาเพื่อขอแบ่งชำระหนี้ หรือยืดการชำระหนี้ออกไป 

 

ทั้งกรณีของ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) จำนวนเกือบ 9.2 พันล้านบาท, บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (ALL) จำนวน 2.4 พันล้านบาท, บมจ.ช ทวี (CHO) จำนวน 416 ล้านบาท รวมทั้ง บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) จำนวน 669 ล้านบาท 

 

สำหรับเหตุผลของการผิดนัดชำระหนี้ของแต่ละบริษัทมักจะถูกสรุปออกมาด้วยประโยคที่ว่า “บริษัทขาดสภาพคล่อง กระแสเงินสดหมุนเวียนไม่เพียงพอ” แต่สาเหตุเบื้องหลังที่นำไปสู่การขาดสภาพคล่องที่ว่านี้ แต่ละบริษัทอาจมีเรื่องราวที่แตกต่างกันไป 

 

จากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ลงทุนในหุ้นกู้เหล่านี้ THE STANDARD WEALTH อยากพาไปถอดบทเรียนความผิดพลาดที่บริษัทต่างๆ ควรหาวิธีป้องกัน ขณะที่นักลงทุนก็อาจหลีกเลี่ยงหากกำลังพิจารณาที่จะลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงในลักษณะเหล่านี้

 

ลงทุนเกินตัว

 

เรื่องราวของการ ‘ลงทุนเกินตัว’ เป็นหนึ่งในกรณีที่เรามักพบเจอกันอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงปัจจุบัน อย่างกรณีของ JKN หากเราลองไปดูในรายละเอียดของงบการเงินปี 2565 

 

แม้ว่าบริษัทจะมีเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาถึง 1.11 พันล้านบาท แต่ขณะเดียวกันบริษัทก็ใช้เงินเพื่อลงทุนในด้านต่างๆ ไปเกือบ 3 พันล้านบาท ทั้งการซื้อลิขสิทธิ์รายการไปกว่า 2.1 พันล้านบาท ซื้อลิขสิทธิ์ Miss Universe ราว 550 ล้านบาท รวมทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์ การลงทุนในที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ อีกกว่า 100 ล้านบาท 

 

เมื่อเงินที่หามาได้กับเงินที่ใช้เพื่อลงทุนไม่สอดคล้องกัน บริษัทย่อมต้องอาศัยการก่อหนี้เพิ่ม อย่างปี 2565 บริษัทต้องออกหุ้นกู้ใหม่กว่า 2 พันล้านบาท ยังไม่รวมการกู้ยืมจากธนาคารเพิ่มเติม 

 

การใช้จ่ายที่ดูเหมือนจะเกินกำลังของ JKN ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้หรือปีก่อน แต่เริ่มมีเค้าลางมาตั้งแต่ปี 2564 ในปีนั้นบริษัททำงานหาเงินมาได้สุทธิ 511 ล้านบาท แต่กลับมีการลงทุนก้อนใหญ่กว่าเป็นจำนวน 2.1 พันล้านบาท ทั้งการซื้อลิขสิทธิ์รายการต่างๆ จำนวน 1.2 พันล้านบาท รวมทั้งซื้อกิจการและลงทุนในบริษัทย่อย 983 ล้านบาท 

 

แล้วถามว่าบริษัทนำเงินจากไหนมาลงทุน แน่นอนว่าย่อมมาจากการก่อหนี้ ทั้งในส่วนของการกู้ธนาคารและการขายหุ้นกู้ ทำให้หนี้สินของ JKN โดยภาพรวมตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 3.1 พันล้านบาท มาเป็น 7.3 พันล้านบาท

 

อีกกรณีที่คล้ายกันคือ การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของ ALL เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณในทางลบมาตั้งแต่ปี 2565 หลังจากบริษัทวางเป้าที่จะกระโดดไปเป็น 1 ใน 10 ผู้นำของวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย จนเร่งลงทุนซื้อที่ดินและเปิดโครงการจำนวนมาก แต่กลับไม่สามารถบริหารสภาพคล่องให้เพียงพอต่อความต้องการ 

 

เงินสดที่ขาดมือนำไปสู่โครงการที่ไม่สามารถสร้างเสร็จได้ตามแผน อย่างโครงการ Impression เอกมัย ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2562 หรือโครงการ The Excel ลาซาล 17 จนมีลูกค้าที่จ่ายเงินผ่อนชำระไปแล้วออกมาแสดงความไม่พอใจ หรือแม้แต่ที่ดินที่ซื้อมาบางแห่งก็ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ตามแผน เนื่องจากไม่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 

 

ขณะที่แนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้บริหารที่ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ กลับเป็นความพยายามที่จะมุ่งไปสู่ธุรกิจใหม่ ทั้งบริหารสินทรัพย์ บริหารหนี้ และคาร์บอนเครดิต ในระหว่างที่ธุรกิจหลักอย่างอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ได้แข็งแรงเพียงพอ  

 

ทุจริตภายใน

 

อีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อบริษัทและผู้ลงทุนคือ การทุจริตของบริษัท ซึ่งเราได้รับรู้เรื่องราวกันมาพอสมควรจากกรณีของ STARK 

 

เมื่อเป็นกรณีของการทุจริต หลายครั้งมักมีเรื่องของการตกแต่งบัญชีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ตัวเลขการเงินที่เราได้เห็นในแต่ละไตรมาสอาจไม่สามารถสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงได้ทั้งหมด แต่ก็อาจมีบางอย่างที่พอจะช่วยให้เราตั้งคำถามได้ว่ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

 

ถ้าย้อนกลับไปดูผลประกอบการของ STARK ช่วงปี 2563-2564 หรือแม้กระทั่ง 9 เดือนแรกของปี 2565 (ก่อนที่จะมีการแก้ไขตัวเลขทางบัญชีให้ถูกต้อง) จะเห็นว่ากำไรสุทธิของ STARK เติบโตแบบก้าวกระโดด แต่ความผิดปกติที่ชวนให้ตั้งคำถามอย่างหนึ่งคือ ทำไมเงินสดของบริษัทถึงติดลบอยู่ตลอด

 

อย่างในงบการเงิน ณ สิ้นไตรมาส 3/65 STARK มีกำไร 2.96 พันล้านบาท แต่กลับมีเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ 1.79 พันล้านบาท 

 

คำตอบของคำถามดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเรื่องราวการทุจริตของ STARK ถูกตีแผ่ออกมาเรื่อยๆ ทั้งการสร้างยอดขายและลูกหนี้การค้าเทียม การบันทึกมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง 

 

ซึ่งในท้ายที่สุดจากการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) ปรากฏว่าในปี 2565 แทนที่บริษัทจะมีกำไรในระดับ 2-3 พันล้านบาทอย่างที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้ แท้จริงแล้วกลับมีผลขาดทุนสุทธิมากถึง 6.65 พันล้านบาท, มีขาดทุนสะสมจำนวน 1.03 หมื่นล้านบาท และยังมีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จนทำให้ส่วนของเจ้าของติดลบ 4.4 พันล้านบาท 

 

กำไรไม่พอจ่ายหนี้

 

กรณีของ CHO ดูเหมือนว่าความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้อาจจะสะท้อนออกมาผ่านผลขาดทุนสุทธิของบริษัทที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา จากขาดทุน 238 ล้านบาท ในปี 2563 ขยับมาเป็น 475 ล้านบาท และ 642 ล้านบาท ในปี 2564-2565 

 

และหากลองดูในรายละเอียดของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ก็จะเห็นว่ายังไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายคืนหนี้ปีละกว่า 200 ล้านบาท ทำให้บริษัทต้องพึ่งพิงการกู้ยืมมาโดยตลอด

 

ส่วนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับ CGD ซึ่งล่าสุดบริษัทได้ขอยืดเวลาไถ่ถอนหุ้นกู้ไปอีก 1 ปี และขอแบ่งชำระคืนเงินต้น คงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าบริษัทจะเร่งสร้างกระแสเงินสดได้เพียงพอหรือไม่ 

 

แม้ว่าปี 2565 CGD จะพลิกกลับมามีกำไรสุทธิ 229 ล้านบาท แต่กระแสเงินสดที่หามาได้ยังคงไม่เพียงพอต่อภาระดอกเบี้ย ก่อนที่สถานการณ์จะเริ่มดูดีขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา 

 

หุ้นกู้ไม่มีเรตติ้ง

 

สำหรับการลงทุน หากเลือกได้ทุกคนก็คงอยากได้ผลตอบแทนสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ผลตอบแทนย่อมมาคู่กับความเสี่ยง สำหรับหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่ในแวดวงการเงินมักจะเรียกกันว่า High Yield Bond คือหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) หรือมีเรตติ้งต่ำกว่า BBB หรือเป็นตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) 

 

หากเราดูหุ้นกู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ในปีนี้ของทั้ง 5 หุ้นดังกล่าว จะเห็นว่าหุ้นกู้ของ 4 ใน 5 บริษัทข้างต้น ได้แก่ JKN, ALL, CHO และ CGD ต่างไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ขณะที่ STARK ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจาก BBB+ ไปเหลือ D 

 

แม้ว่าหุ้นกู้ทุกตัวที่เป็น High Yield Bond จะไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ไปเสียหมด แต่เมื่อได้ชื่อว่าเป็นหุ้นกู้ที่เรตติ้งต่ำกว่า Investment Grade ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่บริษัทอาจผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับเหล่านี้จะเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ให้กับกลุ่มนักลงทุนสถาบันและบุคคลที่มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

 

เจาะลึกงบการเงิน

 

“ในมุมของผู้ลงทุนคงไม่สามารถที่จะดูงบการเงินแค่ผิวเผินอีกแล้ว ไม่สามารถที่จะพิจารณาเพียงตัวเลขกำไรหรือขาดทุน แต่ต้องเจาะลึกดูว่าฐานะการเงินของบริษัทแข็งแรงหรือไม่ มีกระแสเงินสดเพียงพอกับภาระดอกเบี้ยหรือไม่ บางบริษัทที่พึ่งพิงการออกหุ้นกู้ชุดใหม่มาชำระแทนชุดเก่า (Rollover) ไปเรื่อยๆ อาจมีปัญหาได้เมื่อตลาดติดขัด” อริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าว

 

อริยากล่าวต่อว่า การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของหลายบริษัทส่งผลให้หุ้นกู้ประเภท High Yield Bond บางส่วนไม่สามารถขายได้หมดตามที่ต้องการ หรือบางบริษัทอาจต้องนำสินทรัพย์บางส่วนมาวางค้ำประกัน จากเดิมที่หุ้นกู้เกือบทั้งหมดในตลาดไม่จำเป็นจะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน 

 

ขณะที่นักลงทุนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) บางส่วนเริ่มชะลอการลงทุน เพราะได้รับความเสียหาย หรือเปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นกู้ที่เรตติ้งสูงแทน 

 

“ก่อนหน้านี้ผู้ที่ลงทุนในหุ้นกู้ที่เป็น High Yield Bond เกือบ 100% คือกลุ่ม High Net Worth ทำให้ผู้ออกหุ้นกู้เหล่านี้ทำได้ยากขึ้น แต่กลับกันหุ้นกู้ที่เรตติ้งสูงก็มีความต้องการสูงขึ้น” 

 

ในมุมของหน่วยงานกำกับอาจต้องทบทวนความเข้มข้นในการควบคุมเกี่ยวกับการออกขายหุ้นกู้ เพราะหากเทียบกับการกู้ยืมเงินรูปแบบอื่นแล้ว การออกหุ้นกู้อาจผ่อนปรนกว่ามาก ทำให้บางบริษัทเลือกเข้ามาหาประโยชน์จากช่องว่างนี้ เช่น การที่ไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เริ่มเห็นมากขึ้นทั่วโลก หรือการกำหนดเงื่อนไขทางการเงินเพิ่มเติมสำหรับที่ผู้ออกหุ้นกู้จะต้องปฏิบัติตาม

 

ทั้งนี้ ต้นทุนของการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 0.56% แต่สำหรับหุ้นกู้อายุ 10 ปี ต้นทุนยังเพิ่มขึ้นน้อยกว่าในระดับประมาณ 0.15% 

The post EXCLUSIVE: ถอดบทเรียนจาก 5 บริษัท ‘เบี้ยวหนี้หุ้นกู้’ ทำนักลงทุนขยาด High Yield Bond appeared first on THE STANDARD.

]]>