Gizmodo – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 22 May 2019 10:36:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 46 ปีที่ว่างเว้น ใครจะไปถึงดวงจันทร์ได้ก่อนกัน https://thestandard.co/who-will-get-to-the-moon-first-in-this-46-years/ https://thestandard.co/who-will-get-to-the-moon-first-in-this-46-years/#respond Tue, 25 Sep 2018 10:11:31 +0000 https://thestandard.co/?p=124051

สัปดาห์ที่แล้ว (17 ก.ย.) SpaceX นำโดย อีลอน มัสก์ ได้เป […]

The post 46 ปีที่ว่างเว้น ใครจะไปถึงดวงจันทร์ได้ก่อนกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>

สัปดาห์ที่แล้ว (17 ก.ย.) SpaceX นำโดย อีลอน มัสก์ ได้เปิดตัว ยูซากุ มาเอซาวา (Yusaku Maezawa) นักท่องเที่ยวอวกาศเชิงพาณิชย์คนแรกของโครงการที่จะได้เดินทางไปเยี่ยมชมดวงจันทร์ในปี 2023 ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการพามนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง

.

เพื่อให้เห็นภาพรวมของภารกิจท่องเที่ยวอวกาศเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน THE STANDARD ได้สรุปข้อมูลที่น่าสนใจของการทำทัวร์เดินทางไปดวงจันทร์มาให้เปรียบเทียบกันแบบชัดๆ

 

 

ภาพประกอบ: Karin Foxx

The post 46 ปีที่ว่างเว้น ใครจะไปถึงดวงจันทร์ได้ก่อนกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/who-will-get-to-the-moon-first-in-this-46-years/feed/ 0
บาดแผลของ Mark Zuckerberg บนปก Wired Magazine ฉบับมีนาคม https://thestandard.co/mark-zuckerberg-wired-magazine/ https://thestandard.co/mark-zuckerberg-wired-magazine/#respond Wed, 14 Mar 2018 09:56:03 +0000 https://thestandard.co/?p=77165

From the Cover นิตยสาร Wired ฉบับมีนาคม 2561 ‘Move Fast […]

The post บาดแผลของ Mark Zuckerberg บนปก Wired Magazine ฉบับมีนาคม appeared first on THE STANDARD.

]]>

From the Cover

นิตยสาร Wired ฉบับมีนาคม 2561 ‘Move Fast’ โดดเด่นด้วยภาพปกรูป มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผลงานของ Jake Rowland ศิลปินชาวนิวยอร์กที่โด่งดังด้านการถ่ายภาพและรีทัช ซึ่งมีผลงานประจำบนนิตยสาร Wired, Bloomberg และ Time

 

ภาพ: นิทรรศการ Reflections: Constructed Portraits 2004-2014 ของ Jake Rowland จาก jakerowland.com

 

Jake ได้รับโจทย์จากกองบรรณาธิการ Wired ให้สร้างภาพซักเคอร์เบิร์กที่เต็มไปด้วยบาดแผลจากการต่อสู้ที่ยากลำบากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาของ Facebook เพื่อให้เข้ากับคอลัมน์หลักภายในเล่ม

 

หากมองผ่านๆ เราอาจคิดว่าเป็นภาพถ่ายของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กจริงๆ ที่ถูกตกแต่ง หรือเป็นภาพวาดที่วาดขึ้นมาใหม่เลย แต่กระบวนการทำปกนี้กลับซับซ้อนกว่านั้น

 

Wired ต้องการภาพวาดของซักเคอร์เบิร์กที่เต็มไปด้วยแผลฉกรรจ์

 

เทคนิคพิเศษของ Jake Rowland ที่ใช้กับปกนี้นั้นมีความน่าสนใจ เขาใช้วิธีนำภาพทั้งหมด 4 ภาพ มาประกอบและวาดรีทัชทับเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ภาพถ่ายจริงของซักเคอร์เบิร์ก, ภาพของนายแบบที่ถ่ายขึ้นใหม่ให้ดูมีแผลฟกช้ำ และภาพ Stock Photo อีก 2 ภาพ จนออกมาเป็นภาพ Digital Collage ที่ผสมผสานความจริงกับเรื่องแต่งเข้าด้วยกันแล้วแสดงออกมาผ่านทางสีหน้าของซักเคอร์เบิร์กบนปก

 

ซึ่งการเลือกวิธีสร้างปกจากการผสมผสานระหว่างความจริงกับเรื่องแต่งนี้เป็นไอเดียที่ Jake Rowland คิดว่ามันค่อนข้างเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังตรงกับความต้องการของ นิโคลัส ทอมป์สัน (Nicholas Thompson – บรรณาธิการ) ที่ต้องการให้ภาพของปกเชื่อมโยงกับเนื้อหาภายในตัวเล่ม

 

“เรื่องของข้อมูลและภาพต่างๆ บนโซเชียลมีเดียที่ล้วนแล้วแต่แยกความจริงกับเรื่องโกหกได้ยาก ในบางครั้งยังชักนำเราในทางการเมือง ด้วยความเร็วและข้อมูลมหาศาลที่ทำให้เราไม่สามารถแยกแยะการรับรู้ได้อย่างมีสติ” จึงกลายเป็นไอเดียหลักที่มาของปกที่ผ่านการคิดอย่างซับซ้อน

 

Inside the Article

 

 

ภายในเล่ม Wired ฉบับนี้ได้นำเสนอไทม์ไลน์ที่ Facebook โดนโจมตีอย่างหนักจากสื่อและผู้มีอิทธิพล ซึ่งได้สร้างบาดแผลให้กับซักเคอร์เบิร์กตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากการแพร่หลายของ Fake News ที่เกิดขึ้นและควบคุมไม่ได้ หรือแม้แต่การคัดเลือกเนื้อหาบางส่วนที่ไม่สมควรทำ เริ่มตั้งแต่มีนาคม ปี 2016 ที่ Facebook โดน Gizmodo แฉว่าใช้พนักงานในการคัดเลือกข่าวขึ้นมาแสดงบน News Feed เพื่อทดสอบอัลกอริทึมในส่วนของ Trending News โดยมีการสัมภาษณ์พนักงานที่เซ็นสัญญารับผิดชอบในส่วนของการคัดเลือกข่าวนี้หลายคน รวมถึงผู้ดูแลหลักๆ อย่าง Benjamin Fearnow

 

อ่านบทความนี้ของ Gizmodo ได้ที่ gizmodo.com/want-to-know-what-facebook-really-thinks-of-journalists-1773916117

 

 

แม้ Facebook จะออกแถลงการณ์ว่าการคัดเลือกข่าวใน Trending News หรือ Trending Topics ไม่ได้มีการโน้มเอียงหรือชี้นำทางการเมือง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการควบคุมเนื้อหาของ Facebook หรืออัลกอริทึมต่างๆ ในการ Feed บทความก็ยังไม่เป็นที่โปร่งใสและพิสูจน์ได้   

 

ไล่ไปในปีเดียวกัน เดือนกรกฎาคม 2016 Rupert Murdoch เองก็ยังออกมาให้ข่าวว่า Facebook กำลังจะทำให้วงการข่าวเกิดปัญหาและหายนะ จนไปถึงปลายปี 2016 ที่ซักเคอร์เบิร์กให้ความเห็นเรื่องที่มีคนคิดว่าข่าวปลอมทำให้ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะว่า ‘pretty crazy’   

 

 

ซึ่งตัวบทความไม่ได้เล่าถึงแค่การโดนโจมตีเท่านั้น แต่ยังได้เล่าถึงการประกาศสงครามและการโจมตีกลับ ‘Fake News’ ไล่ตั้งแต่ช่วงธันวาคม 2016 เป็นต้นมา  จนมาถึงคำถามปัจจุบันที่ว่า แล้ว Facebook จะต้องวางตัวอย่างไรในฐานะแพลตฟอร์มทั่วไปที่มีอิสระเสรี หรือในฐานะ Publisher ที่ต้องมีความรับผิดชอบในการนำเสนอคอนเทนต์ต่างๆ มากขึ้นกันแน่

 

อ่านบทความฉบับออนไลน์ของ Wired เดือนมีนาคมนี้ได้ที่: www.wired.com/story/inside-facebook-mark-zuckerberg-2-years-of-hell/?mbid=BottomRelatedStories

 

อ้างอิง:

The post บาดแผลของ Mark Zuckerberg บนปก Wired Magazine ฉบับมีนาคม appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/mark-zuckerberg-wired-magazine/feed/ 0
iPhone X ดีจริงไหม? สำรวจภาพรวมรีวิวการใช้งานจริงจากสื่อต่างประเทศ https://thestandard.co/iphone-x-review/ https://thestandard.co/iphone-x-review/#respond Wed, 01 Nov 2017 12:42:59 +0000 https://thestandard.co/?p=39994

     หลังเปิดตัวไปอย่างยิ่งใหญ่ในโอกาสคร […]

The post iPhone X ดีจริงไหม? สำรวจภาพรวมรีวิวการใช้งานจริงจากสื่อต่างประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     หลังเปิดตัวไปอย่างยิ่งใหญ่ในโอกาสครบรอบ 10 ปี iPhone ไปเมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา อีก 2 วันที่จะถึงนี้ (3 พ.ย.) iPhone X ก็จะได้ฤกษ์วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในหลายๆ ประเทศแล้ว

     ส่วนในประเทศไทยก็คงต้องรออย่างมีความหวังกันต่อไป เพราะตอนนี้ทาง Apple ประเทศไทย ยังไม่ได้ประกาศข้อมูลเรื่องวันเวลาวางจำหน่ายออกมาทั้งสิ้น มีเพียงแต่ราคาจำหน่ายที่สูงลิบลิ่ว (รุ่นความจุ 64GB ราคา 40,500 บาท, รุ่นความจุ 256GB ราคา 46,500 บาท) คล้ายว่าประกาศออกมาให้เราได้เตรียมหยอดเงินในกระปุกล่วงหน้า!

     แต่ก่อนจะถึงวันที่ได้สัมผัส iPhone X ด้วยตัวเองแบบเต็มไม้เต็มมือ สื่อต่างประเทศหลายๆ สำนักก็เริ่มได้ทดลองเล่นและรีวิวกันแล้ว วันนี้เราจึงถือโอกาสรวบรวมความเห็นของสื่อที่ได้ทดลองใช้งาน iPhone รุ่นพิเศษนี้มาให้คุณได้ลองอ่านกันเพื่อใช้ประกอบและกระตุ้นการตัดสินใจไปพลางๆ

 

 

ประเดิมด้วย Face ID ฟีเจอร์ที่ใครหลายคนหวั่นใจ

     ถ้าจะบอกว่า Face ID เป็นคุณสมบัติที่เด่นที่สุดของ iPhone X ก็คงไม่ผิดนัก

     แต่ในอีกแง่หนึ่ง Apple เองก็ต้องเผชิญกับความกดดันที่ถาโถมเข้ามาอย่างหนักเช่นกัน หลังระบบการปลดล็อกด้วยการสแกนใบหน้านี้ถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำงานทั้งจากผู้บริโภคและสื่อหลายๆ สำนัก

     ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน Apple เคลมว่า Face ID ของพวกเขาทำงานโดยอาศัยกล้อง TrueDepth, เซนเซอร์ต่างๆ และ Neural Engine ทำให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็ว ทำงานได้ดี และยังจดจำใบหน้าของผู้ใช้ได้แม่นยำ ไม่ว่าลักษณะทางกายภาพและกาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน

     ขณะที่ด้านความปลอดภัย พวกเขาบอกว่าแม้แต่ภาพถ่ายหรือฝาแฝดก็ไม่สามารถหลอก Face ID ได้ ส่วนความผิดพลาดในการประมวลผลจะมีโอกาสเกิดขึ้นเป็นอัตราส่วนแค่ 1:1,000,000 ครั้งเท่านั้น ต่างจาก Touch ID ที่อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นคิดเป็นอัตราส่วน 1:50,000 ครั้ง

 

 

     แล้วเมื่อใช้งานจริง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรล่ะ?

     อเล็กซ์ เครนซ์ (Alex Cranz) นักเขียนจากเว็บไซต์ Gizmodo ได้เขียนบทความรีวิวการใช้งาน iPhone X เบื้องต้นโดยให้ความสำคัญกับการทดสอบระบบ Face ID เป็นหลัก และแสดงทัศนะไว้ว่าบางครั้งเธอก็รู้สึกว่าการใช้งาน Face ID ไม่สะดวกสบายอยู่บ้าง ไม่สามารถปลดล็อกได้ในระหว่างที่อยู่ในกระเป๋า เพราะต้องหยิบมันออกมาเพื่อสแกนด้วยใบหน้า คล้ายกับว่าเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการปลดล็อกโทรศัพท์มากกว่าปกติ

     อย่างไรก็ดี แม้เครนซ์จะตำหนิ iPhone X เรื่องขั้นตอนความยุ่งยากของ Face ID แต่เธอก็กล่าวชมประสิทธิภาพการทำงานที่ยอดเยี่ยมและแทบจะไม่เกิดข้อผิดพลาดขึ้นเลย แม้เธอจะลองถอดแว่นตาออกหรือปลดล็อกในห้องมืดๆ ก็ตาม

     แต่สำหรับการสแกนใบหน้าผู้ใช้งานในครั้งแรกสุด เครนซ์แนะนำว่าควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อให้ระบบจดจำใบหน้าของคุณได้รวดเร็วและแม่นยำที่สุด นอกจากนี้เธอยังบอกอีกด้วยว่ากล้องถ่ายรูปและหน้าจอของ iPhone X คือสองส่วนที่ดีที่สุดของมันเลยก็ว่าได้!

     สอดคล้องกับความเห็นของบิลล์ โรเบอร์สัน (Bill Roberson) นักเขียนจากเว็บไซต์ Digitaltrends ที่บอกว่าระบบการทำงานของ Face ID ค่อนข้างลื่นไหลและประมวลผลได้จนแทบจะไม่มีข้อผิดพลาดเลย หรือหากมีปัญหาก็ยังปลดล็อกเครื่องผ่านรหัส Pin ได้อยู่ดี

     นิโคล เหงียน (Nicole Nguyen) นักเขียนจาก Buzzfeed ดูจะเป็นคนที่ได้ทดสอบความสามารถของ Face ID ได้รอบด้านมากที่สุดคนหนึ่ง เมื่อเธอได้รับ iPhone X มาทดสอบในช่วงที่เธอถูกยุงกัดบริเวณเปลือกตาจนมันบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในช่วงแรกเธอก็แอบกังวลใจเช่นกันว่าระบบ Face ID อาจจะจำเธอไม่ได้ หลังจากที่ผิวหนังบริเวณเปลือกตาคืนสภาพปกติและหายเป็นปลิดทิ้ง

     แต่ผิดคาด! เพราะเธอบอกว่าระบบจดจำใบหน้าของ Apple สามารถทำงานได้เป็นอย่างดีและไม่ยุ่งยากเหมือนระบบเดียวกันบนสมาร์ทโฟนแบรนด์อื่นๆ มีเพียงแค่ช่องโหว่เรื่องการประมวลผลที่เธอบอกว่าไม่ได้เร็วกว่าการสแกนลายนิ้วมือ

     โดยเฉพาะระบบการปลดล็อกด้วยใบหน้าที่เหงียนพบว่าพี่น้องฝาแฝดก็สามารถปลดล็อกเครื่องแทนกันได้ดื้อๆ ซะอย่างนั้น เช่นเดียวกับ Mashable ที่พบข้อผิดพลาดประการนี้เหมือนกัน หลังนำฝาแฝด 2 คู่มาทดสอบปลดล็อกเครื่อง และพบว่าแฝดอีกคนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ iPhone X และทำการสแกนใบหน้าไว้ก็สามารถปลดล็อกแทนแฝดเจ้าของเครื่องอีกคนได้แบบง่ายๆ เลย

 

 

รูปร่างหน้าตาของสมาร์ทโฟนไร้ปุ่มโฮม!

     การตัดปุ่มโฮมออกไปจากตัวเครื่องจนหน้าจอ OLED ขนาด 5.8 นิ้วของ iPhone X ไร้ขอบคือดีไซน์ที่หลายๆ คนต่างก็เทใจตกหลุมรัก แต่การคงเหลือส่วนของกล้องหน้าและระบบเซนเซอร์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้กับระบบ Face ID ที่ขอบด้านบนตัวเครื่องก็กลายเป็นจุดที่สร้างความรำคาญให้กับผู้คนจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

     โดยโรเบอร์สันบอกว่า แม้หน้าจอของตัวเครื่อง iPhone X จะน่าประทับใจมากๆ แต่ในส่วนของกล้องหน้าและเซนเซอร์ Face ID ที่ห้อยลงมาก็ทำให้เขารู้สึกแย่อยู่บ้าง

     ด้านไนเลย์ พาเทล (Nilay Patel) นักข่าวจากเว็บไซต์ The Verge เป็นอีกคนที่ตอกย้ำความเชื่อของโรเบอร์สัน โดยบอกว่าติ่งเซนเซอร์และกล้องด้านหน้าเครื่องเป็นอะไรที่น่าเกลียดมากๆ และขอบตัวเครื่องรวมถึงขอบเลนส์กล้องที่ใช้วัสดุโครเมียมสีเงินมันวาวก็เป็นส่วนที่ผู้ใช้ต้องระวังรอยขีดข่วนเป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พาเทลยอมรับว่าหน้าจอและการแสดงผลของมันยอดเยี่ยมแบบสุดๆ ไปเลย

     และเมื่อมีการตัดปุ่มโฮมออกไปจากตัวเครื่อง การใช้งานปุ่มบังคับก็จะต่างไปจากเดิมพอสมควร เช่น หากต้องการแคปเจอร์หน้าจอก็จะต้องกดปุ่มเพิ่มเสียงและปุ่มเปิด/ปิดเครื่องค้างไว้พร้อมกัน หรือหากต้องการเรียกใช้งาน Siri ก็ต้องกดปุ่มเปิด/ปิดค้างไว้

     มีเพียงแค่แมททิว พานซาริโน (Matthew Panzarino) จาก Techcrunch เท่าน้ันที่มองเรื่องของการใช้งานเป็นหลัก และไม่ได้รู้สึกว่าแถบเซนเซอร์และกล้องหน้าเป็นอุปสรรคในการใช้โทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด ตรงกันข้าม เขารู้สึกว่าประสิทธิภาพของการถ่ายรูปแบบ TrueDepth (Portrait Lighting) และการสแกนใบหน้าเป็นส่ิงที่ทำให้เขาประทับใจมากๆ และก็พอจะทดแทนข้อจำกัดของดีไซน์ดังกล่าวได้อยู่บ้าง

 

 

ประสิทธิภาพของกล้องถ่ายรูป

     สำหรับข้อมูลเบื้องต้นของกล้องถ่ายรูป iPhone X นั้นมาพร้อมกับกล้องหลังเลนส์คู่แบบแนวตั้งที่ 12 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงที่ f 1.8 และ f 2.4 เสริมด้วยแฟลชแบบ Quad-LED True Tone ส่วนกล้องหน้าจะเป็นแบบ TrueDepth ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพเซลฟีแบบ Portrait Lighting ได้ โดยภาพที่ได้ออกมาจะเหมือนกับการจัดแสงถ่ายภาพในสตูดิโอ

     พาเทลบอกว่าเขายังไม่ได้ทดลองเล่นกล้องถ่ายรูปของมันมากนัก แต่ถ้าจะให้นิยามสั้นๆ เขารู้สึกว่าประสิทธิภาพของมันไม่ได้ต่างจากกล้องถ่ายรูปของ iPhone 8 สักเท่าไร ส่วนระบบป้องกันการสั่นไหวและการเซลฟีด้วยโหมด Portrait Lighting ก็ทำงานได้ดีพอสมควร

     ทางฝั่งพานซาริโนที่ได้ลองเปรียบเทียบใช้กล้องถ่ายรูปของ iPhone 8 Plus และ iPhone X พร้อมๆ กันพบว่าเมื่อถ่ายภาพในระยะเดียวกัน ภาพที่ได้จากกล้อง iPhone X จะถูกครอปสัดส่วนลงมาเล็กน้อย แต่หากไม่สังเกตก็จะไม่รู้สึกถึงความต่างมากขนาดนั้น ด้านฟีเจอร์ป้องกันการสั่นไหวถือว่าทำงานได้น่าพอใจเลยทีเดียว เพราะช่วยให้ภาพที่ได้ออกมายังมีรายละเอียดต่างๆ ที่คมชัดและไม่เบลอ

     แลนซ์ อูลานอฟ (Lance Ulanoff) อีกหนึ่งผู้รีวิวจาก Mashable ให้ความเห็นว่า โหมดการถ่ายภาพ Portrait ใน iPhone X นั้นยอดเยี่ยมเลยทีเดียว โดยเฉพาะตอนนี้ที่สามารถใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวได้ทั้งกับกล้องหน้าและกล้องหลัง เช่น เดียวกับการถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมที่แสงสว่างไม่เพียงพอ แต่จะให้ดีที่สุด อูลานอฟแนะนำว่าแสงสว่างที่เหมาะสมจะช่วยให้ภาพเซลฟีในโหมด Portrait สวยงามขึ้นไปอีกระดับ

     ขณะที่การใช้กล้องด้านหลังตัวเครื่องถ่ายภาพ เจ้าตัวได้ลองเปรียบเทียบกับสมาร์ทโฟนคู่แข่งอย่าง Samsung Note 8 และพบว่าทั้งคู่มีประสิทธิภาพที่ดีสูสีกัน เพียงเเต่ภาพที่ได้จากกล้องของ iPhone X จะให้โทนสีที่เป็นธรรมชาติเหมือนภาพที่เรามองจากดวงตามากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล

 

 

บทสรุปเบื้องต้น

     แม้นักรีวิวส่วนใหญ่ดูจะมีความเห็นหลังการทดลองใช้งาน iPhone X ในหลายๆ จุดที่เสียงแตกอยู่บ้าง แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำให้เราสบายใจได้คือการทำงานของระบบ Face ID ที่ไม่ได้แย่อย่างที่หลายคนจินตนาการ เพราะผู้วิจารณ์ต่างฝ่ายต่างก็บอกว่าระบบการสแกนด้วยหน้าของ Apple สามารถประมวลผลและทำงานได้น่าพึงพอใจ เพียงแต่อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้างประปราย เช่น คู่ฝาเเฝดที่สามารถปลดล็อกเครื่องของแฝดอีกคนได้ แม้ตัวเองจะไม่เคยสแกนใบหน้าไว้ก็ตาม

     ส่วนเรื่องของดีไซน์ก็มีข้อตำหนิอยู่บ้าง ในส่วนของแถบเซนเซอร์และกล้องหน้าบนหน้าจอเครื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันจึงทำให้ Apple ยังไม่สามารถ ‘ซ่อน’ แผงดังกล่าวไม่ให้รบกวนสายตาผู้ใช้งานได้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ บางทีทิม คุก อาจจะรู้วิธีจัดการกับมันก็ได้ ใครจะรู้?

     ปิดท้ายด้วยกล้องถ่ายรูป ส่วนที่ผู้วิจารณ์ทั้งหลายเลือกตำหนิน้อยที่สุด เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากิตติศัพท์กล้องถ่ายรูปของ iPhone นั้นให้คุณภาพของรูปที่ถ่ายออกมาได้สมจริงเหมือนโทนสีที่ตามนุษย์มอง กล้องถ่ายรูปของ iPhone X จึงดูจะเป็นฟีเจอร์ที่ลอยลำเข้าเส้นชัยแบบไร้ข้อกังขาใดๆ เลยก็ว่าได้

     สำหรับผู้ใช้งานในประเทศไทยอย่างเราก็คงได้แต่เฝ้ารอคอยวันเวลาที่จะได้ทดลองหยิบจับและสัมผัสเครื่องด้วยตัวเอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ทุกคนก็น่าจะพูดได้เต็มปากว่า iPhone X ดีหรือไม่ดีอย่างไร และเพราะอะไร?

 

Photo: Apple

อ้างอิง:

The post iPhone X ดีจริงไหม? สำรวจภาพรวมรีวิวการใช้งานจริงจากสื่อต่างประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/iphone-x-review/feed/ 0
อวสาน Groove Music ไมโครซอฟท์ดึง Spotify เสียบแทน https://thestandard.co/microsoft-to-bring-spotify-to-groove-music/ https://thestandard.co/microsoft-to-bring-spotify-to-groove-music/#respond Tue, 03 Oct 2017 07:10:17 +0000 https://thestandard.co/?p=32107

     ขยายอำนาจกันแบบไม่หยุดหย่อนเลยทีเดี […]

The post อวสาน Groove Music ไมโครซอฟท์ดึง Spotify เสียบแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ขยายอำนาจกันแบบไม่หยุดหย่อนเลยทีเดียวสำหรับ Spotify โดยล่าสุด เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์เตรียมดึงสตรีมมิงมิวสิกเจ้านี้เข้ามาสู่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เทน (Windows 10) และคอนโซลเกม Xbox One แทนที่ Groove Music สตรีมมิงมิวสิกเจ้าเดิมที่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

     ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลการร่วมงานในครั้งนี้ตามแถลงการณ์ว่า เป็นไปเพื่อต้องการมอบส่ิงที่ดีที่สุดให้กับกลุ่มลูกค้า เช่นเดียวกับ Spotify ที่เป็นบริการสตรีมมิงมิวสิกที่ดีที่สุดในเวลานี้ ทั้งยังมีแค็ตตาล็อกเพลงขนาดใหญ่ให้เลือกฟัง

     “นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงประกาศร่วมงานกับ Spotify นำบริการสตรีมมิงมิวสิกที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาให้กับกลุ่มลูกค้าที่ใช้งาน Groove Music ของเรา และตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปผู้ใช้งาน Groove Music สามารถย้ายข้อมูลเพลย์ลิสต์ของตัวเองไปยัง Spotify ได้ด้วยวิธีง่ายๆ พร้อมรับสิทธิ์ทดลองใช้งาน Spotify Premium ฟรี 60 วัน”

     ทั้งนี้ Groove Music จะยังคงให้บริการต่อไปเรื่อยๆ โดยผู้ใช้สามารถเลือกฟังเพลงและจัดการเพลย์ลิสต์บนระบบได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้ หลังจากนั้น Groove จะปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ

     เว็บไซต์ Gizmodo แสดงทรรศนะถึงความล้มเหลวในครั้งนี้ของ Groove ว่าเป็นเพราะสตรีมมิงมิวสิกรายนี้ไม่มีอำนาจมากพอที่จะต่อกรกับสตรีมมิงมิวสิกระดับท็อปของโลกอย่าง Pandorra (ผู้ใช้งาน 81 ล้านคนทั่วโลก), Spotify (ผู้ใช้งาน 60 ล้านคนทั่วโลก) และ Apple Music (ผู้ใช้งาน 27 ล้านคนทั่วโลก) ท้ายที่สุดจึงต้องเลือกปิดตัวไปอย่างน่าเสียดายแม้บริการจะไม่ได้แย่เลยก็ตาม

อ้างอิง:

The post อวสาน Groove Music ไมโครซอฟท์ดึง Spotify เสียบแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/microsoft-to-bring-spotify-to-groove-music/feed/ 0