GDP – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 18 Jul 2025 06:00:08 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Top 10 ประเทศในเอเชีย ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดครึ่งปี 2025 https://thestandard.co/top-10-asian-countries-tourists-2025/ Fri, 18 Jul 2025 04:38:04 +0000 https://thestandard.co/?p=1097691 กราฟแสดงอันดับ 10 ประเทศในเอเชียที่มี นักท่องเที่ยว มากที่สุดครึ่งปี 2025

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ […]

The post Top 10 ประเทศในเอเชีย ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดครึ่งปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
กราฟแสดงอันดับ 10 ประเทศในเอเชียที่มี นักท่องเที่ยว มากที่สุดครึ่งปี 2025

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยปี 2024 ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวอยู่ที่ราว 1.7 – 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจากตัวเลข GDP ของไทยในปี 2024 จะอยู่ที่ราว 18 ล้านล้านบาท ทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนราว 10% 

 

จากตัวเลขคาดการณ์ของครึ่งปี 2025 ที่ผ่านมา ประเทศไทยก็ยังเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นักท่องเที่ยวมาพักผ่อนกันมากเป็นอันดับ 3 ของเอเชียอยู่เช่นกัน เป็นรองเพียงประเทศจีนและญี่ปุ่นเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังเริ่มมีความกังวลว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศไทยดูเหมือนจะชะลอลงไปมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่เคยเป็นกลุ่มที่นิยมมาไทยมากที่สุด ถือเป็นสัญญาณเตือนถึงช่องว่างที่ไทยต้องพัฒนาอีกหลายด้าน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้นในอนาคต และเพิ่มการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว

 

ในบทความนี้ทางทีมงาน THE STANDARD WEALTH จะพาไปสำรวจ 10 ประเทศในเอเชียที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดประจำครึ่งปี 2025 และไปดูจุดเด่นของประเทศเหล่านี้กัน

 

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

The post Top 10 ประเทศในเอเชีย ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดครึ่งปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาสแรกปี 2025 ลดลงครั้งแรกในประวัติการณ์! ดีจริงหรือไม่? https://thestandard.co/thai-household-debt-q1-2025-deleveraging/ Wed, 16 Jul 2025 03:30:25 +0000 https://thestandard.co/?p=1096816 กราฟหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ไตรมาส 1/2025 – แสดงการลดลงของสัดส่วนหนี้ครั้งแรกในประวัติการณ์

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ในไตรมาสแรกปี 2025 ปรับล […]

The post หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาสแรกปี 2025 ลดลงครั้งแรกในประวัติการณ์! ดีจริงหรือไม่? appeared first on THE STANDARD.

]]>
กราฟหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ไตรมาส 1/2025 – แสดงการลดลงของสัดส่วนหนี้ครั้งแรกในประวัติการณ์

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ในไตรมาสแรกปี 2025 ปรับลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 87.4% จากการหดตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือน โดย SCB EIC ประเมินภาคครัวเรือนไทยจะยังมีแนวโน้มอยู่ในช่วง Deleveraging ต่อเนื่องซึ่งจะกดดันการใช้จ่ายภาคเอกชนในระยะข้างหน้า

 

กราฟหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ไตรมาส 1/2025 – แสดงการลดลงของสัดส่วนหนี้ครั้งแรกในประวัติการณ์

 

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยไตรมาส 1 ปี 2025 ลดลงต่อเนื่องตามวัฏจักร Deleveraging โดยมูลค่ายอดคงค้างหนี้ครัวเรือนหดตัวครั้งแรกตั้งแต่มีการเปิดเผยข้อมูล

 

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ Nominal GDP ของไทยไตรมาสแรกปี 2025 ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 87.4% ซึ่งเป็นผลจากยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยายตัวต่ำในช่วงที่ผ่านมา จนหดตัวในไตรมาส 1 ปี 2025 ที่ -0.1%YOY นับเป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่มีการเปิดเผยข้อมูลหนี้ครัวเรือนไทยตามความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ท่ามกลางคุณภาพสินเชื่อครัวเรือนที่ทยอยปรับด้อยลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 

 

 

มาตรการแก้หนี้ที่ออกมาเพิ่มเติมโดยเฉพาะ ‘คุณสู้ เราช่วย’ อาจช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการชำระหนี้ในระยะสั้น และอาจทำให้ NPL ชะลอตัวลงบ้าง แต่ในระยะข้างหน้าต้องติดตามการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริง

 

โครงการ ‘คุณสู้ เราช่วย’ เฟส 2 ที่ออกมาอาจช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนได้เพิ่มเติม จากเงื่อนไขที่ผ่อนปรนขึ้นกว่าเดิม และมาตรการที่เพิ่มความครอบคลุมลูกหนี้ที่มีปัญหาทางการเงินได้มากขึ้น รวมทั้งการขยายระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ดี ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการในระยะต่อไปยังต้องขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาคครัวเรือน ซึ่งสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าอาจไม่ได้สนับสนุนการฟื้นตัวของครัวเรือนมากนัก

 

 

SCB EIC มองว่า ครัวเรือนไทยจะอยู่ในช่วง Deleveraging ต่อไปในระยะข้างหน้า โดยสินเชื่อรายย่อยที่โตต่ำ และความระมัดระวังในการใช้จ่ายและก่อหนี้ใหม่ของครัวเรือนจะสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่ออุปสงค์ในประเทศ

 

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ไทยมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง จากยอดคงค้างสินเชื่อที่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่ำตามปัจจัยภายนอกที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ 

 

และจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจจากแผลเป็น COVID-19 การเข้าถึงสินเชื่อจะยังเผชิญความเข้มงวดของสถาบันการเงินอยู่ โดยประเมินสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ณ สิ้นปี 2025 จะลดลงต่อเนื่องไปอยู่ที่ช่วง 85.5-86.5% อย่างไรก็ดี กระบวนการลดหนี้ที่เห็นในลักษณะนี้อาจสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านการบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจ

 

อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่: https://www.scbeic.com/th/detail/product/Household-Debt-150725?utm_source=Influencer&utm_medium=Link&utm_campaign=INFOCUS_Household_Debt_JUL_2025

The post หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาสแรกปี 2025 ลดลงครั้งแรกในประวัติการณ์! ดีจริงหรือไม่? appeared first on THE STANDARD.

]]>
แรงกดดันรอบใหม่! สหรัฐฯ คงภาษีนำเข้า 36% บีบไทยสู่ 2 ทางเลือก ลดภาษี 0% แลก GDP โต หรือเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย? https://thestandard.co/us-tariff-thailand-trade-negotiation-impact/ Mon, 14 Jul 2025 05:02:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1096108 ไทยเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐฯ คงภาษีนำเข้า 36% ต้องเร่งตัดสินใจเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกทรงตัว แม้จะมีแรงขายเข้ามาช […]

The post แรงกดดันรอบใหม่! สหรัฐฯ คงภาษีนำเข้า 36% บีบไทยสู่ 2 ทางเลือก ลดภาษี 0% แลก GDP โต หรือเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐฯ คงภาษีนำเข้า 36% ต้องเร่งตัดสินใจเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกทรงตัว แม้จะมีแรงขายเข้ามาช่วงต้นสัปดาห์ภายหลังจากสหรัฐเริ่มกลับมาใช้มาตรการภาษีนำเข้ากดดันคู่ค้าเพิ่มเติม โดยได้ประกาศอัตราภาษีศุลกากรใหม่ต่อเนื่องในวันที่ 7 – 9 ก.ค. 

 

อีกทั้ง ปธน. ทรัมป์ ยังประกาศแผนเก็บภาษีนำเข้าทองแดง 50% เป็นส่วนหนึ่งของชุดภาษีตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเริ่มในช่วงสิ้นเดือน ก.ค. 

 

ขณะเดียวกัน ทรัมป์ยังระบุว่า ภาษีนำเข้ายาและเวชภัณฑ์อาจสูงถึง 200% แต่จะให้เวลาผู้ผลิตยาต่างชาติอย่างน้อย 1 – 1.5 ปี เพื่อย้ายฐานการผลิตเข้ามาในสหรัฐฯ  รวมถึงประเทศกลุ่ม BRICS จะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มอีก 10% 

 

รวมทั้งล่าสุดทรัมป์ขู่เก็บภาษีสินค้าจากบราซิล 50% กดดันตลาดหุ้น EM อ่อนตัวลง 0.5% 

 

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดหุ้นโลกถือว่าฟื้นตัวกลับมาได้ดีในช่วงปลายสัปดาห์ จากการรอผลเจรจา โดยสหรัฐฯ กำหนดเส้นตายภาษีศุลกากรเป็นวันที่ 1 ส.ค. เพื่อให้มีโอกาสในการเจรจาต่อรอง ส่วนตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นแรงท้ายสัปดาห์จากความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดจะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ 

 

รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Minutes) เดือน มิ.ย. เผยเจ้าหน้าที่มีความเห็นแตกต่างเรื่องนโยบายภาษีของทรัมป์กับเงินเฟ้อ โดยกรรมการ ‘ส่วนใหญ่’ มองว่าภาษีอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรรมการ ‘บางส่วน’ เห็นว่าเป็นเพียงการเร่งราคาชั่วคราวเท่านั้น Fed ยังประเมินว่าเศรษฐกิจโดยรวม ‘ยังแข็งแกร่ง’ ทำให้มีเวลารอดูข้อมูลเพิ่มเติม 

 

ด้านตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงหลังสหรัฐคงภาษีนำเข้า 36% แต่เริ่มทยอยฟื้นตัวขึ้นจากความหวังการเจรจา ราคาน้ำมันอ่อนตัวเพียงเล็กน้อย แม้ OPEC+ จะเร่งเพิ่มการผลิตต่อเนื่อง

 

2 ทางเลือก เจรจาการค้ากับสหรัฐฯ 

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ สหรัฐฯ ประกาศคงอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยไว้ที่ระดับ 36% ขณะที่มีการปรับลดอัตราภาษีให้กับหลายประเทศ เราประเมินว่าความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ได้ยกระดับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

 

ทั้งนี้ มองว่า ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-เวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2025 อาจเป็นฐานสำหรับการเจรจาการค้าของไทย โดยมีความเป็นไปได้ดังนี้ 

 

  1. ไทยอาจต้องลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 0% เช่นเดียวกับเวียดนาม 
  2. ไทยจะต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้นอีกมาก 

 

หากการเจรจาสำเร็จ และทำให้ภาษีลดลงเหลือ 15-20% GDP จะเติบโต 1.1-1.4% ในปี 2025 (ความน่าจะเป็น 30%) แต่หากภาษี 21-28% GDP จะขยายตัว 1.0-0.0% (ความน่าจะเป็น 50%) 

 

ส่วนในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากต้องเผชิญภาษี 29-36% GDP อาจหดตัวที่ (-0.1%)-(-1.1%) (ความน่าจะเป็น 20%) ไทยมีการนำเข้าสินค้าเกษตร ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ อยู่แล้วในระดับหนึ่ง จึงมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเพิ่มการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้เพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้า 

 

นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเปิดนำเข้าสินค้าใหม่ๆ ที่เคยถูกจำกัดด้วยภาษีนำเข้าสูง เช่น เนื้อสัตว์ รถยนต์ และ เครื่องจักร

 

ด้านข้อมูลจาก Fed Minutes ระบุว่าเจ้าหน้าที่มีความเห็นแตกต่างเรื่องผลกระทบของนโยบายภาษีของทรัมป์ต่อเงินเฟ้อ โดยกรรมการ ‘ส่วนใหญ่’ มองว่าภาษีอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Fed ยังประเมินว่าเศรษฐกิจโดยรวม ‘ยังแข็งแกร่ง’ ทำให้มีเวลารอดูข้อมูลเพิ่มเติม 

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า ในปัจจุบันความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้องจับตาความเสี่ยงเงินเฟ้อ โดยหากเงินเฟ้อ CPI ไม่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 2 – 3 เดือนข้างหน้า อาจเปิดทางให้ Fed เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยได้ตั้งแต่เดือน ก.ย. ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ Fed จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปีนี้ 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้น Earning Play โมเมนตัมกำไรยังเติบโตแข็งแกร่ง โดย 2Q68 คาดกำไรปกติจะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ ขณะที่ 3Q68 คาดกำไรยังเติบโต YoY แนะนำ ADVANC BCH CBG CPALL SCCC 
  2. หุ้น Defensive ที่ผันผวนต่ำและผลการดำเนินงานต้านทานความเสี่ยงภายนอกได้ (ผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายในและภายนอก) อีกทั้งยังมีศักยภาพจ่ายปันผลสม่ำเสมอ แนะนำ ADVANC BCH DIF 
  3. หุ้นปันผลที่มีคุณภาพดี (SET50 ที่มี SETESG Rating A ขึ้นไป) เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้แก่พอร์ตลงทุนในระยะสั้น โดยคาดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H68 และให้ Div. Yield เกิน 2% แนะนำ ADVANC BBL PTT 
  4. Trading Idea :สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและต้องการเก็งกำไร แนะนำ 1) หุ้น Undervalue (PER และ PBV < -1SD) และเราแนะนำ Outperform อีกทั้งคาดให้ Div. Yield ไม่ต่ำกว่าปีละ 3% แนะนำ BBL BCPG BDMS CPALL DIF PTT SIRI TIDLOR 2) หุ้นที่มีโอกาสได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวไทย แนะนำ ERW CENTEL AAV และ 3) หุ้นที่คาดฟื้นตัวเร็วหากเชื่อว่าการเจรจาจะทำให้สหรัฐพิจารณาปรับลดภาษีไทยลงมาอยู่ที่ระดับ 20% หรือต่ำกว่า แนะนำ AMATA GPSC WHA

 

“ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัวผันผวน เนื่องจากยังกังวลอัตราภาษีศุลกากรใหม่ของสหรัฐฯ ที่ประกาศเรียกเก็บจากประเทศคู่ค้าซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. โดยสำหรับไทยถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 36% สูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญในกลุ่มอาเซียน ซึ่งทำให้ไทยมีโอกาสสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและกดดันให้ GDP อาจเติบโตชะลอตัวได้ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามความคืบหน้าการเจรจาระหว่างสหรัฐกับไทยอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี เราประเมิน SET ที่บริเวณต่ำกว่า 1,100 จุด คิดเป็น PER ปี 2568 ต่ำกว่า 12 เท่า ยังเป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว โดยกลยุทธ์ลงทุนคงแนะนำให้ ‘Selective Buy’” ทีมวิจัย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุ

 

สัปดาห์นี้ต้องติดตาม

 

  1. GDP ของจีน ไตรมาส 2 ตลาดคาด 5.10% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 5.40% YoY ในวันที่ 15 ก.ค. 
  2. Core CPI ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. ตลาดคาด 3.00% เพิ่มจากเดือนก่อนที่ 2.80% YoY ในวันที่ 15 ก.ค. 
  3. ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. ตลาดคาด 0.00% เพิ่มจากเดือนก่อนที่ -0.90% MoM ในวันที่ 17 ก.ค.
  4. ความคืบหน้าการเจรจาต่อรองทางการค้าเพิ่มเติมระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า รวมทั้งประเทศไทย

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CBG – Undervalued ซึ่ง 2Q25 คาดโตเด่น

 

แนะนำ บมจ. คาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังรายใหญ่อันดับ 2 ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดราว 25% ซึ่งมีแรงหนุนจากเครือข่ายจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง อีกทั้งมีผลิตภัณฑ์อื่นภายใต้ตราสินค้าคาราบาว ได้แก่ น้ำดื่ม กาแฟ และเครื่องดื่มเกลือแร่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์กลุ่ม functional drink (WOODY C+ Lock) 
  • 2Q25 คาดกำไรสุทธิจะอยู่ที่ 820-840 ล้านบาท เติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก YoY และเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว QoQ แรงหนุนหลักมาจากยอดขายเครื่องดื่มชูกำลังที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยน่าจะยังอยู่ที่ระดับ 26.7% ซึ่งทรงตัวทั้ง YoY และ QoQ 
  • มองน่าสนใจลงทุนในฐานะเป็นทั้งหุ้น Earning Play (2Q25 คาดกำไรเติบโตเด่นราว 30%YoY) และหุ้น Undervalued ซึ่งราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขาย PER 2025F ที่ 15.4 เท่า คิดเป็นระดับ -2SD สวนทางกำไรปี 2025 ที่คาดยังเติบโตดี 15%YoY    
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 70 บาท (อ้างอิง -1.5SD PER ที่ 21 เท่า) และคาดมีเงินปันผลจ่ายปี 2025 หุ้นละ 1.49 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละราว 3%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ทรัมป์เผยแผนขึ้นอัตราภาษีนำเข้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ โดยภาษีใหม่นี้ถูกเลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 1 สิงหาคม ขณะที่เตรียมประกาศรายละเอียดภาษีอุตสาหกรรมยาและเซมิฯในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ภาพนี้ทำให้ความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรามองว่าหุ้นกลุ่ม Defensive และกลุ่มที่พึ่งพาการส่งออกนำเข้าที่น้อย เช่น PM NFLX Feihe ยังคงจำเป็นในสถานการณ์แบบนี้

 

  • หากเทียบกับภาษีตอบโต้ ณ วัน Liberation Day ประเทศที่ได้รับข้อเสนอภาษีลดลง ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา บังคลาเทศ เซอร์เบีย บอสเนีย ตูนิเซีย ในทางตรงกันข้ามประเทศที่ได้รับข้อเสนอภาษีนำเข้าเพิ่ม ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ขณะที่ประเทศที่ได้รับข้อเสนอภาษีเท่าเดิม ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ คาซัคสถาน เกาหลีใต้ 
  • นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเพิ่มคือ 1. ปธน. ทรัมป์ ขู่ที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% สำหรับประเทศใดๆ ที่เข้าร่วมต่อต้านนโยบายอเมริกา ของกลุ่ม BRICS และ  2. ประธานาธิบดีทรัมป์เตรียมเผยรายละเอียด Tariff ในส่วนยาและเซมิฯในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีสูงถึง 200% สำหรับยาเวชภัณฑ์ แต่ตัวเลขสุดท้ายยังไม่แน่นอน
  • เราประเมินว่าความเสี่ยงจาก Tariff ยังคงเป็นกดดันทำให้ 1. ความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น 2. แนวโน้มการดำเนินงานของอุตฯทั่วโลกมีความไม่แน่นอนทั้งในด้านคำสั่งซื้อ, ต้นทุน และกำไร 3. ประเมินว่าผลกระทบจาก Tariff จะเห็นได้ชัดในผลประกอบการช่วง 2H25 มากกว่า ซึ่งทำให้หุ้น Defensive หรือหุ้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีทางการค้าก็ยังเหมาะต่อสถานการณ์แบบนี้เช่น Philip Morris, Netflix, Feihe
  • นอกจากนี้ ในด้านอุตสาหกรรมยา เราประเมินว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดคือ บริษัทยุโรป โดยเกือบหนึ่งในสามของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ คือ AstraZeneca (43%), Novo Nordisk (61.4%) และ Roche  (49%)  
  • ส่วนอุตฯ เซมิฯยังมีความเสี่ยงจาก Tariff ซึ่งเรายังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้หลังตัวเลขภาษียังไม่แน่ชัด 
  • หุ้น Defensive หรือกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีทางการค้าเหมาะกับสถานการณ์แบบนี้เช่น PM NFLX Feihe 

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด / สภาพคล่อง

 

ให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ที่ยังสูง และได้อานิสงส์จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และความไม่แน่นอนนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่ยังมีอยู่ หลังสหรัฐฯ เลื่อนเส้นตายเก็บภาษีนำเข้าคู่ค้าเป็น 1 ส.ค.

 

ตราสารหนี้ / เงินฝากระยะยาว

 

ความไม่แน่นอนเงินเฟ้อสหรัฐฯ จากกำแพงภาษี และความกังวลหนี้สาธารณะ มีแนวโน้มหนุน UST Yield ตัวยาว เพิ่มขึ้นต่อ ด้านตราสารหนี้ไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลาง-ยาว น่าจะยังปรับลดลงได้ จากผลกระทบเศรษฐกิจที่มาจากภาษีสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนทางการเมือง

 

U.S. Treasury & IG

 

US term premium มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความกังวลขาดดุลการคลังสหรัฐฯ ตามการบังคับใช้ร่าง OBBBA ขณะที่ ดัชนี US IG bond ยังมีปัจจัยพื้นฐานดี แนะนำลงทุน UST และ US IG bonds โดยเน้น duration สั้นถึงกลาง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงพอร์ต ท่ามกลางความไม่แน่นอน

 

High Yield Bond

 

ความไม่แน่นอนของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-คู่ค้า อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ US HY default rate จะสูงขึ้น จากระดับในปัจจุบันที่ยังต่ำ ประกอบกับ UST Yield ตัวยาว มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อ และ US credit spread ที่ยังค่อนข้างแพง อาจจำกัด upside ของ US HY

 

สินทรัพย์ผสมกึ่งหนี้กึ่งทุนและ REITs

 

กองทุนสินทรัพย์ผสม ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตลงทุน โดยลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดและสถานการณ์ภายนอก  อีกทั้ง บริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญที่สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้อย่างยืดหยุ่นตามภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยง

 

US REITs

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง จากการผ่านร่างกฎหมายลดภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลให้ Yield Spread ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีและอัตราเงินปันผลของ REIT ยังติดลบที่ -0.2% อย่างไรก็ดี ตลาดคาดว่า Fed จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. นี้ ทำให้ US REIT เริ่มกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้น

 

Private Credit *สำหรับนักลงทุน Ultra High Net Worth เท่านั้น

 

เรามีมุมมองเป็นบวกต่อ Private Credit จากโมเมนตัมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดี หลังแบบจำลอง GDPNow ชี้ GDP ในปี 2568 จะเติบโต 2.6%QoQ ต่อปี ทั้งนี้ แนะนำเน้นลงทุนใน Private credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก

 

หุ้นไทย

 

ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น เพิ่มความเสี่ยงการผ่านร่างงบประมาณปี 2569 และการปรับลด GDP ในปีนี้ ทั้งนี้ ติดตามความคืบหน้าการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ หลังเข้าใกล้เส้นตาย 9 ก.ค. และสหรัฐฯ ประกาศลดภาษีนำเข้าจากเวียดนามจาก 46% เป็น 20% สะท้อนโอกาสที่ไทยจะถูกเก็บภาษีมากกว่า 10%

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

การบังคับใช้ร่างกระตุ้นการคลัง และการผ่อนคลายกฎระเบียบของสหรัฐฯ อาจประคอง sentiment หุ้นสหรัฐฯ / เศรษฐกิจยุโรปได้แรงหนุนจากนโยบายการคลัง และ EPS ของ บจ.มีแนวโน้มออกมาดี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม / หุ้นญี่ปุ่น มีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากค่าจ้างญี่ปุ่นที่เติบโตต่อ และการปฏิรูปธรรมาภิบาลที่คืบหน้า

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

ความไม่แน่นอนในการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อคู่ค้าต่างๆ ในวันที่ 1 ส.ค. ทำให้นักลงทุนบางส่วนยังระมัดระวังการลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ส่วนในระยะกลาง เรามอง กำไรบจ.สหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มเติบโตดี และเป็นวงกว้างขึ้น จากกระแส AI ทั่วโลก กฎหมายลดภาษีเงินได้-เพิ่มการใช้จ่าย และการผ่อนคลายกฎระเบียบเพิ่มเติม

 

หุ้นยุโรป

 

แม้ตลาดยุโรปอาจปรับลดลง หลังถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า อยู่ที่ 30% เริ่มวันที่ 1 ส.ค.นี้ แต่คณะกรรมาธิการยังคงมุ่งมั่นที่จะเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ก่อนเส้นตาย ด้านดัชนี PMI ภาคการผลิตส่งสัญญาณการฟื้นตัว และ คาดว่ากำไรของบจ.จะเติบโตได้ในช่วง 2H2568-2569 จากแรงหนุนด้านนโยบายการคลัง

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

ความไม่แน่นอนการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ และประเด็นการเมืองในญี่ปุ่น อาจเพิ่มความผันผวนต่อหุ้นญี่ปุ่นในระยะสั้น แต่ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการปฏิรูปบรรษัทภิบาลในญี่ปุ่นที่คืบหน้าขึ้น และค่าจ้างในญี่ปุ่นที่เติบโตดี และ BoJ ที่มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

หุ้นตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS ที่เติบโตดี สอดรับกับโมเมนตัม GFP ตามแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค โดยเฉพาะอินเดีย และการลดดอกเบี้ยกับออกมาตรการกระตุ้นของที่ต่างๆ รวมทั้ง เงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลดีต่อทุนไหลเข้า ขณะที่ P/E ยังต่ำกว่าตลาดพัฒนาแล้ว

 

หุ้นอินเดีย

 

ตลาดหุ้นอินเดีย ได้ปัจจัยหนุนจาก RBI ที่แนวโน้มลดดอกเบี้ยเพิ่ม และเสริมสภาพคล่องในระบบ เพื่อช่วยหนุนอุปสงค์ภายในประเทศ ประกอบกับ EPS ใน 2Q2568 ที่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น ตามฐานที่ต่ำปีก่อน และผลดีจากการลดภาษีเงินได้ ขณะที่ ตลาดฯ มีแนวโน้มถูกกระทบจำกัดจากนโยบายภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น จากความไม่แน่นอนด้านอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่มีการเรียกเก็บภาษีหลายประเทศ ในอัตรา 20% ถึง 50% รวมทั้ง จากเงินไหลเข้ากองทุน Gold ETF อย่างต่อเนื่อง และแรงซื้อทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะจีน

 

หุ้นจีน H-Share

 

ดัชนีหุ้นจีน H-Share ได้อานิสงส์จากความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มดีขึ้น การกีดกันเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ ที่เริ่มลดลง และกระแส AI ในจีนที่ยังคืบหน้า นอกจากนี้ เราคาดว่า บริษัทในดัชนีฯ ยังสามารถเพิ่มผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ผ่านการเพิ่มอัตราเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนมากขึ้น

 

ดัชนีหุ้น Nasdaq 100

 

ดัชนี Nasdaq 100 ได้แรงหนุนจากผลการเจรจาที่ดีระหว่างสหรัฐฯ-จีน และ Nvidia ที่พยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาดในจีน ประกอบกับกระแส AI จะช่วยหนุนแนวโน้ม EPS ดัชนีฯ ขณะที่บริษัทในดัชนีฯ มีความสามารถในการทำกำไรสูง และมีงบดุลแข็งแกร่ง ท่ามกลางความไม่แน่นอนนโยบายสหรัฐฯ ที่ยังมีอยู่

 

ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้

 

ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ ได้แรงหนุนจากการขยายเวลาเก็บภาษีนำเข้า 25% ของสหรัฐฯ ทำให้มีโอกาสในการเจรจาต่อรองมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการแจกเงินช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นการบริโภค และแผนการปฏิรูปตลาดทุนเป็นปัจจัยบวกในระยะยาว

 

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

 

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังได้อานิสงส์จากกระแสการเติบโตของ AI โดยเฉพาะกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ที่ได้แรงหนุนจากความต้องการชิปประมวลผลและหน่วยความจำสำหรับ AI ที่ยังเร่งตัวขึ้น และกลุ่มซอฟต์แวร์ ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโต ตามการนำ AI มาผสาน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงาน และการวิเคราะห์ข้อมูล

 

ภาพ: thitivong/Getty Images, CGinspiration/Getty Images, SimpleImages/Getty Images

The post แรงกดดันรอบใหม่! สหรัฐฯ คงภาษีนำเข้า 36% บีบไทยสู่ 2 ทางเลือก ลดภาษี 0% แลก GDP โต หรือเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย? appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติประเมิน ‘ภาษีทรัมป์’ จ่อกระทบเศรษฐกิจยาวและรุนแรงระดับโครงสร้าง ฉุด GDP ไทยระยะต่อไปแผ่ว-โตต่ำกว่าศักยภาพ https://thestandard.co/thailand-gdp-impact-trump-tariffs-structure-risk/ Wed, 09 Jul 2025 08:47:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1094839 ธปท. แถลงผลกระทบภาษีทรัมป์ต่อ GDP ไทย ชี้โครงสร้างการค้าต้องปรับตัว

แบงก์ชาติประเมิน ‘ภาษีทรัมป์’ จ่อกระทบเศรษฐกิจไทยในลักษ […]

The post แบงก์ชาติประเมิน ‘ภาษีทรัมป์’ จ่อกระทบเศรษฐกิจยาวและรุนแรงระดับโครงสร้าง ฉุด GDP ไทยระยะต่อไปแผ่ว-โตต่ำกว่าศักยภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. แถลงผลกระทบภาษีทรัมป์ต่อ GDP ไทย ชี้โครงสร้างการค้าต้องปรับตัว

แบงก์ชาติประเมิน ‘ภาษีทรัมป์’ จ่อกระทบเศรษฐกิจไทยในลักษณะทอดยาวและรุนแรงถึงระดับโครงสร้าง เตือนไม่ว่าไทยโดนภาษีที่เท่าไร 18% หรือ 36% เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังก็จ่อแผ่ว โตต่ำกว่าระดับศักยภาพ 

 

วันนี้ (9 กรกฎาคม) สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 2 ปี 2568 โดยเตือนว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 และในปี 2569 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง เนื่องจากการส่งออกสินค้าจะได้รับผลกระทบจาก ‘นโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ’ มากขึ้น หลังการเร่งส่งออกสินค้าหมดไป ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ตามแนวโน้มรายได้และความเชื่อมั่นที่ลดลง

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงเหลือเพียง 1.6% YoY จากครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2.9% YoY ทำให้คาดการณ์ว่า ทั้งปี 2568 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2.3% ก่อนที่จะแผ่วลงอีกเหลือโตเพียง 1.7% ในปี 2569

 

ขณะที่รายงานนโยบายการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2568 ระบุอีกว่า ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยโดยรวมเบ้ไปทางด้านต่ำ ได้แก่ สงครามทางการค้า (Trade war) และความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงกว่าคาด ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกและไทยชะลอตัว ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ และความตึงตัวของสินเชื่อในบางจุดที่อาจกระทบกลุ่มเปราะบางและ SMEs มากกว่าคาด อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านสูงคือ การส่งออกกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจสูงกว่าคาด

 

‘ภาษีทรัมป์’ กระทบเศรษฐกิจทอดยาว รุนแรงถึงระดับโครงสร้าง

 

โดยปิติ ดิษยทัต รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อธิบายเพิ่มเติมว่า ช็อกจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ (Tariff) แตกต่างจากช็อกที่เกิดในช่วงโควิดและช่วง Global Financial Crisis (GFC) เมื่อปี 2551 

 

โดยช็อกที่เกิดในช่วงโควิดและ GFC มีลักษณะรุนแรงและกะทันหัน แต่ช็อกที่เกิดขึ้นจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ มีลักษณะเป็นผลกระทบที่ใหญ่ ทอดยาว และรุนแรงถึงระดับโครงสร้าง

 

“Shock เรื่อง Tariff มีผลระยะยาวมากกว่า ทำให้โครงสร้างการค้าโลกต้องเปลี่ยน ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ต้องเปลี่ยน ต้องมีการปรับตัว และหาตลาดใหม่ ทำให้ตอนนี้ ทุกประเทศต้องพูดถึงเรื่องการปรับโครงสร้าง (Restructuring)” ปิติกล่าว

 

ไม่ว่าไทยโดนภาษีที่เท่าไร 18% หรือ 36% เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังก็แผ่ว

 

ปิติ กล่าวอีกว่า ในประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ของธปท. ภายใต้สมมติฐานว่าไทยโดนภาษีในอัตรา 18% มีความครอบคลุมแล้ว (Robust) ส่วนฉากทัศน์ (Scenario) อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบไปจากเส้นกลางนี้ ทิศทางโดยรวมก็ยังเหมือนกัน คือ ครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นไป เศรษฐกิจไทยจะแผ่วลงค่อนข้างมาก และโตต่ำกว่าศักยภาพ เนื่องจาก Shock จากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ มีลักษณะทอดยาว 

 

ปิติ อธิบายอีกว่า ปัจจุบันในตะกร้าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ มีโดน Sectoral Tariff ในสัดส่วนราว 40% เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน ส่วนภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ซึ่งไทยมีความเสี่ยงที่จะเสียเปรียบได้เปรียบกับประเทศอื่น ครอบคลุม 60% สินค้าในตะกร้าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ

The post แบงก์ชาติประเมิน ‘ภาษีทรัมป์’ จ่อกระทบเศรษฐกิจยาวและรุนแรงระดับโครงสร้าง ฉุด GDP ไทยระยะต่อไปแผ่ว-โตต่ำกว่าศักยภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยเสี่ยงหนัก! หลังสหรัฐฯ- เวียดนามดีลภาษีการค้าลงตัว คาดฉุด GDP และภาคเกษตรไทย https://thestandard.co/us-vietnam-trade-deal-thailand-gdp-risk/ Mon, 07 Jul 2025 10:48:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1093892 GDP

The post ไทยเสี่ยงหนัก! หลังสหรัฐฯ- เวียดนามดีลภาษีการค้าลงตัว คาดฉุด GDP และภาคเกษตรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
GDP

The post ไทยเสี่ยงหนัก! หลังสหรัฐฯ- เวียดนามดีลภาษีการค้าลงตัว คาดฉุด GDP และภาคเกษตรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
World Bank ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เป็น 1.8% มอง ‘ความไม่แน่นอนการเมือง’ เป็นความเสี่ยงขาลง https://thestandard.co/thailand-gdp-forecast-2025-world-bank/ Thu, 03 Jul 2025 10:37:35 +0000 https://thestandard.co/?p=1092596 กราฟแสดงแนวโน้ม GDP ไทยปี 2568 ที่จัดทำโดยธนาคารโลก (World Bank)

World Bank คาดปรับเพิ่ม GDP ไทยปีนี้โต 1.8% ชี้ยังไม่ได […]

The post World Bank ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เป็น 1.8% มอง ‘ความไม่แน่นอนการเมือง’ เป็นความเสี่ยงขาลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
กราฟแสดงแนวโน้ม GDP ไทยปี 2568 ที่จัดทำโดยธนาคารโลก (World Bank)

World Bank คาดปรับเพิ่ม GDP ไทยปีนี้โต 1.8% ชี้ยังไม่ได้รวม ‘การเมือง’ ในกรณีฐาน แต่เตือน ‘ความไม่แน่นอนการเมือง’ อาจส่งผลให้งบประมาณ-การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานล่าช้า ซึ่งอาจฉุดการลงทุนภาคเอกชนและเศรษฐกิจโดยรวมอีกที

 

วันนี้ (3 กรกฎาคม) ธนาคารโลก (World Bank) เปิดตัวรายงาน Thailand Economic Monitor ฉบับกรกฎาคม 2025 โดยคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของ GDP ของไทยจะชะลอลงมาอยู่ที่ 1.8% ในปี 2568 และ 1.7% ในปี 2569 สะท้อนถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกที่อ่อนแอการบริโภคที่ชะลอตัว และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในระดับปานกลาง

 

ทั้งนี้ ในประมาณการที่ 1.8% ของธนาคารโลก มีสมมุติฐานว่า สหรัฐฯ จะเก็บภาษีไทยในระดับมากกว่า 10% แต่ไม่ถึง 18% โดยประมาณการล่าสุดนี้ นับว่า ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 1.6% ในรายงาน East Asia and Pacific Economic Update ของธนาคารโลก ฉบับเดือนเมษายน 2025

 

 

หากงบประมาณล่าช้า อาจฉุด GDP ลงอีกได้

 

ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลกประจำประเทศไทย ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า ประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่โต 1.8% ยังไม่ได้รวมความไม่แน่นอนทางการเมืองลงไปในกรณีฐาน (Baseline)

 

โดยในกรณีฐานนี้ World Bank มองว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2569 จะสามารถผ่านได้ ทำให้นโยบายการคลังยังสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งโครงการใหญ่และเล็ก เช่น ถนน น้ำ และรถไฟ เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม ดร.เกียรติพงศ์ มองว่า หากกระบวนการงบประมาณปี 2569 ล่าช้าไป การเติบโตทางเศรษฐกิจก็อาจลดลงอีกได้ อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วง 2 ปีก่อน

 

อย่างไรก็ตาม ในรายงานระบุว่า ประมาณการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงขาบวก (Upside)และขาลบ (Downside) โดย GDP อาจเติบโตได้เป็น 2.2% ในปี 2568 และ 1.8% ในปี 2569 หากความตึงเครียดด้านการค้าคลี่คลายลง ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนปรับตัวดีขึ้น การดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผล และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีคุณภาพสูง

 

ชี้ ‘การเมืองไทย’ เป็นความเสี่ยงขาลง

 

ส่วนความเสี่ยงขาลบ (Downside) มีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน โดยปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความตึงเครียดด้านการค้าโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น การฟื้นตัวที่ช้ากว่าที่คาดไว้ของการท่องเที่ยว การส่งออกและการบริการที่ชะลอตัวลง 

 

ส่วนปัจจัยในประเทศ ได้แก่ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งอาจส่งผลให้งบประมาณและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะเกิดความล่าช้าได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนและการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมด้วย

 

World Bank แนะวิธีเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจ

 

ดร.เกียรติพงศ์ กล่าวอีกว่า ศักยภาพเศรษฐกิจไทยปัจจุบันอยู่ที่ราว 2.6-2.7% เท่านับว่าลดลงจากช่วง 10  ปีก่อนที่ระดับราว 3% อย่างไรก็ตาม ศักยภาพเศรษฐกิจไทยสามารถเพิ่มขึ้นได้ไปอยู่ประมาณ 3-4 % หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงการศึกษาและระบบสาธารณสุข การปฏิรูปตลาดแรงงานและสังคม และการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้าง

 

ไทยควรคว้าโอกาสโชว์ศักยภาพดิจิทัลในงาน Annual Meeting 2025

 

เมลินดา กู้ด  ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยและเมียนมา กล่าวว่า “ขณะที่ประเทศไทยเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของกลุ่มธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2569 การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลจะเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการหารือ การประชุมระดับโลกครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญในการนำเสนอศักยภาพอุตสาหกรรมหลักต่างๆ อาทิ บริการดิจิทัล การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ธุรกิจการเกษตร และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งล้วนมีส่วนกำหนดอนาคตของประเทศไทย”

 

เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยคาดว่ามีมูลค่าราว 6% ของ GDP และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคอาเซียน อุตสาหกรรมบริการการเงิน การชำระเงินดิจิทัล ฟินเทค ซอฟต์แวร์ และวิศวกรรม ถือเป็นกลุ่มที่มีอัตราการจ้างงานเติบโตเร็วที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ รายงานยังชี้ว่า เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเป็นตัวเร่งการเติบโตและสร้างงาน ยกระดับคุณภาพการให้บริการ และเพิ่มผลิตภาพของประเทศได้ ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน

 

โดยประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตบนมือถือที่ครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะด้านดิจิทัล ที่นับว่าทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค การใช้ดิจิทัล ID และระบบการชำระเงินดิจิทัลอย่างแพร่หลาย (เช่น ThaID และ PromptPay ) ได้วางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงินและการขยายตัวของรัฐบาลดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ โดยอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปีตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19

 

จีอึน ชอย นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสด้านดิจิทัลของธนาคารโลก กล่าวว่า เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเปิดประตูสู่ตลาดใหม่ ขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการกระจายตัวทางเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยสามารถปลดล็อกศักยภาพนี้ได้ โดยการปิดช่องว่างด้านข้อมูลคุณภาพสูงและโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผล ตลอดจนการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล

 

รายงานฉบับนี้นำเสนอแนวทางการดำเนินการที่สำคัญเพื่อเร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) และอีคอมเมิร์ซ ไปจนถึงด้านสุขภาพและการเงิน พร้อมเน้นย้ำถึงความจำเป็นของนโยบายที่มีความสอดประสานกัน เพื่อขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ คุ้มครองข้อมูล และส่งเสริมนวัตกรรม

The post World Bank ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เป็น 1.8% มอง ‘ความไม่แน่นอนการเมือง’ เป็นความเสี่ยงขาลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
กับดักการเมืองไทยซ้ำเติมเศรษฐกิจแค่ไหน? เอกชนห่วงสารพัดปัจจัยรุมเร้า ฉุด GDP 1.5-2.0% https://thestandard.co/political-trap-and-thai-economy/ Wed, 02 Jul 2025 11:20:55 +0000 https://thestandard.co/?p=1092092

ภาคเอกชนห่วงเสถียรภาพทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจ แนะ ครม […]

The post กับดักการเมืองไทยซ้ำเติมเศรษฐกิจแค่ไหน? เอกชนห่วงสารพัดปัจจัยรุมเร้า ฉุด GDP 1.5-2.0% appeared first on THE STANDARD.

]]>

ภาคเอกชนห่วงเสถียรภาพทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจ แนะ ครม.ชุดใหม่ทำงานชัดเจน-ฟังเสียงเอกชน เดินหน้านโยบายเร่งด่วน ย้ำรัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นธุรกิจทั้งไทยและต่างประเทศ เตือนเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งภาษีสหรัฐ ปัญหาค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางอาจรุนแรงขึ้น

 

วันที่ 2 ก.ค. ผยง ศรีวณิช ประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่าเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ยังคงเผชิญความไม่แน่นอนสูง 

 

“แม้การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ จะมีความคืบหน้า โดยเฉพาะกับจีนและสหราชอาณาจักรแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ก่อนวันที่ 9 ก.ค.  ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเรียกเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้นหากไม่ขยายเวลา ขณะที่เศรษฐกิจประเทศหลักที่มีแนวโน้มแผ่วลง และความขัดแย้งตะวันออกกลาง อาจมีความรุนแรงขึ้นได้อีก“

 

โดยเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังมีแนวโน้มอ่อนแรงลง คาดทั้งปี 2568 ขยายตัวในระดับต่ำราว 1.5-2.0% โดยจะเติบโตใกล้เคียง 2.0% หากอัตราภาษีที่ไทยโดนเรียกเก็บยังอยู่ที่ 10% ในครึ่งปีหลัง แต่จะลดลงมาใกล้ 1.5% หากโดนเรียกเก็บที่ 18% หรือครึ่งหนึ่งของอัตรา Reciprocal Tariff ท่ามกลางอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลง จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งยังไม่สามารถทดแทนด้วย Long haul ได้ 

 

รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2568 ที่เหลืออยู่ และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ 

 

เศรษฐกิจไทยอ่อนแรง ลุ้นผลเจรจาภาษี หวั่นการเมืองซ้ำเติม

 

ผยง กล่าวอีกว่า จากปัจจัยข้างต้น บวกกับการเมืองขาดเสถียรภาพยิ่งซ้ำเติม ส่งผลให้ กกร. ได้คงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 2568 ที่กรอบ 1.5-2.0% โดยระบุว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มอ่อนแรงลงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการประเมินที่สวนทางกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ยังคงคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ถึง 2.3%

 

“ ปัจจัยลบสำคัญมาจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว นักท่องเที่ยวจีนต่ำกว่าที่คาด และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจกระทบต่อการเบิกจ่ายงบเสถียรภาพการเมืองมีผลกระทบต่อเครื่องยนต์เศรษฐกิจในประเทศ ทั้งเรื่องการส่งออก การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐตามแผน”

 

ห่วงส่งออกแผ่ว-บาทแข็ง วอน ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

แม้ตัวเลขการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปีจะขยายตัวถึง 14.9% แต่ กกร. ชี้ว่าเป็นผลจากการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนที่ช่วงชะลอการบังคับใช้มาตรการภาษีของสหรัฐฯ 90 วัน จะสิ้นสุดลง และคาดการณ์ว่า การส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มจะหดตัวกว่า 10% ส่งผลให้ทั้งปี 2568 การส่งออกอาจขยายตัวใกล้เคียง 0% ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อภาคการผลิตและการจ้างงาน

 

อีกทั้งยังซ้ำเติมด้วยสถานการณ์ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค และไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 

 

ทั้งนี้ กกร. จึงมีข้อเสนอเร่งด่วนถึง ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท ให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง

 

นอกจากนี้ กกร. ยังชี้ถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่บั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น ปัญหาการสวมสิทธิ์ส่งออก (Transshipment) การนำเข้าสินค้าคุณภาพต่ำ และนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ เช่น การจ้างงานในประเทศ 

 

โดย กกร. เตรียมที่จะขอเข้าพบหน่วยงานเศรษฐกิจภาครัฐ ทั้ง ธปท., สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเร่งด่วนต่อไป

 

“กกร. ในฐานะตัวแทนภาคเอกชน เตรียมเสนอหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เพื่อให้มีการจัดลำดับและให้ความสำคัญในภาคส่วนที่น่าเป็นห่วง ช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปีข้างหน้า และเพื่อให้เข้าใจปัญหารวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางเดียวกัน และเรียกความเชื่อมั่น”

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ห่วงเสถียรภาพการเมือง-ค้ากัมพูชา สารพัดปัจจัยรุมเร้า ซ้ำเติม GDP ครึ่งปีหลัง

 

พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “เรากำลังเผชิญความท้าทายหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจโลกและเสถียรภาพการเมือง เป็นเรื่องที่ควรขับเคลื่อนโดยเร็ว แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ขอให้ทำงานก่อน สำคัญคือ อยากให้รับฟังเสียงเอกชน”

 

ขณะที่ เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการ ภาคการผลิต ห่วงเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งต้องจับตาว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ​มากแค่ไหน

 

“เรายังเฝ้าติดตามอยู่ว่าภายใน 15 วัน นายกรัฐมนตรีจะได้กลับมาไหม หรือจะเป็นอย่างไรต่อเพราะเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล เป็นเรื่องของความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน และต้องดูว่าโครงการตามแผนงบกระตุ้นเศรษฐกิจ​ 157,000 ล้านบาท จะเลื่อนออกไปหรือไม่ หากล่าช้าจะยิ่งซ้ำเติมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง”

 

ส่วนการเจรจากับสหรัฐฯ ขณะนี้ก็ต้องเอาใจช่วย พิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการเจรจา ถือเป็นตัวจริงและเป็นตัวแทนทีมไทยแลนด์ที่ทำงานต่อเนื่องตามเงื่อนไขของสหรัฐฯ  

 

“สถานการณ์ความผันผวนทางเมืองตอนนี้ ถือว่ามาเกิดในช่วงที่ประเทศเปราะบางที่สุด เรียกได้ว่าจังหวะไม่ดี และมาเกิดในช่วงที่ทีมไทยแลนด์กำลังเดินทางไปเจรจากับทางสหรัฐอเมริกาเรื่องภาษีซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดระดับประเทศเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจมีความกังวลว่า น้ำหนักการเจรจาจะลดลงหรือไม่ เพราะการเจรจาด้านภาษีไทยกับสหรัฐฯจะมีผล ต่อการแข่งขันถ้าหากเทียบกับคู่แข่ง โดยเฉพาะเวียดนามอินโดนีเซียและมาเลเซีย”

 

ดังนั้น จึงต้องดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด กกร.จะไม่ทน ซึ่งไม่อยากให้เป็นเพียงแค่เสียงสะท้อน เราต้องทำงานเชิงรุกให้มากกว่านี้ เพราะตอนนี้เอกชนเองก็ยอมรับว่า เป็นห่วงการเมืองไทย

 

ส่วนประเด็นการค้าขายกับกัมพูชานั้นก็น่าห่วงเพราะมีทั้งมิติความมั่นคงและมิติทางการค้า แต่นักลงทุนที่ไปลงทุนเวียดนาม ไปลงทุนแล้วเก็บเงินไม่ได้ ตรงนี้ใครจะช่วยผู้ประกอบการไทยที่ไปลงทุนหรือปล่อยเครดิตที่นั่น ไม่มีใครช่วยเหลือ

 

รวมถึงสินค้าที่ผลิตออกมาก็ส่งผ่านชายแดนไม่ได้ รวมแล้วเสียหายเกือบถึง 500 ล้านบาท เพราะไทยส่งออกสินค้าไปกัมพูชา 390 ล้านบาทต่อวัน และนำเข้าสินค้ามาจากกัมพูชา 100 ล้านบาทต่อวัน เช่น มันสำปะหลัง สินค้าภาคการเกษตรที่เราจะนำไปแปรรูปเพื่อส่งไปขายยังประเทศอื่น ส่วนนี้ก็ได้รับผลกระทบ จึงต้องติดตามใกล้ชิด

 

“เรื่องการลดดอกเบี้ย ถึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกข้อ โดยส่วนตัวมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย​ หรือ ธปท. มีโอกาสลดดอกเบี้ยลงถึง 2-3 ครั้ง ครั้งละ 0.25  แต่จะให้ดีต้องลด 3 ครั้งถึง 0.75 เนื่องจากตอนนี้กังวลค่าเงินบาทแข็งค่ามาก และประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออก 60% ต่อจีดีพี และภาคการท่องเที่ยว  20% ทำให้รายได้ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ”

 

ทั้งนี้ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าจึงเป็นอุปสรรค เพราะขายของยากขึ้น ของแพง นักท่องเที่ยวหนีไปเที่ยวประเทศเวียดนามและญี่ปุ่น ซึ่งค่าเงินอ่อนกว่าไทย ดังนั้น ไทยควรทำให้ค่าเงินอ่อนกว่านี้ เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาคส่วนเชิงรุกให้มากกว่านี้

The post กับดักการเมืองไทยซ้ำเติมเศรษฐกิจแค่ไหน? เอกชนห่วงสารพัดปัจจัยรุมเร้า ฉุด GDP 1.5-2.0% appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ กระทบต่อเศรษฐกิจไทยและการเจรจาภาษีสหรัฐฯ แค่ไหน? https://thestandard.co/thai-pm-suspension-economic-us-tariff-impact/ Tue, 01 Jul 2025 11:01:25 +0000 https://thestandard.co/?p=1091581 นักวิเคราะห์เศรษฐกิจประเมินผลกระทบจากกรณีนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ต่อเศรษฐกิจไทยและการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ

นักเศรษฐศาสตร์ห่วง ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัต […]

The post นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ กระทบต่อเศรษฐกิจไทยและการเจรจาภาษีสหรัฐฯ แค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจประเมินผลกระทบจากกรณีนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ต่อเศรษฐกิจไทยและการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ

นักเศรษฐศาสตร์ห่วง ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่อาจจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจ ผ่านความเชื่อมั่นนักลงทุนและผู้บริโภค จับตาร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2569 หากติดขัดอาจฉุดเศรษฐกิจลงอีก ห่วงสหรัฐฯ ใช้ประเด็นการเมืองไทยต่อรองเพิ่ม หวั่นสถานการณ์ลุกลามยืดเยื้อจนกระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะทำให้อันดับเครดิตเรตติ้งไทยเสี่ยงมากขึ้น

 

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB Thai) กล่าวว่า จากเหตุศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้ ‘เพิ่ม’ ความไม่แน่นอนทางการเมืองขึ้นมา ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อไปยังความเชื่อมั่นนักลงทุนและผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ก็อาจจะรอดูความชัดเจนทางการเมืองก่อน (Wait and See) ว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือไม่

 

ดร.อมรเทพ ประเมินอีกว่า ปัญหานี้อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรง จนทำให้เศรษฐกิจถดถอย (Technical Recession) เนื่องจากรัฐบาลก็ยังมีอำนาจเต็มในการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจ และยังสามารถผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายได้อยู่ รวมทั้งยังสามารถดำเนินการต่างๆ ได้ รวมถึงการส่งตัวแทนไปเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ 

 

“ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เรายังมองว่ามีในด้านลบ แต่ว่าไม่รุนแรงถึงขั้นเศรษฐกิจถดถอย” ดร.อมรเทพ กล่าว

 

โดยวันนี้ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ยังคงคาดการณ์ GDP ปี 2568 ไว้ที่ 1.8% แม้การเมืองกดดันเศรษฐกิจ หลังนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว

 

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองสามารถกระทบเศรษฐกิจไทยได้ในหลายมิติ โดยเฉพาะต่อการขับเคลื่อนนโยบาย เนื่องจากหากคนเริ่มสงสัยในเสถียรภาพของรัฐบาล ข้าราชการก็อาจจะเข้าเกียร์ว่างได้ เป็นต้น ขณะที่ในฝั่งนักลงทุนก็คงเข้าสู่โหมดรอดูสถานการณ์ (Wait and See) ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของนโยบายรัฐบาล

 

จับตางบประมาณปี 2569 สะดุดจ่อฉุดเศรษฐกิจ

 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) ระบุว่า สิ่งที่ต้องจับตาจากเหตุการณ์วันนี้คือ ความต่อเนื่องและประสิทธิภาพของการเบิกจ่ายงบประมาณ และการผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2569 

 

“ต้องติดตามดูว่าหลังจากนี้จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เนื่องจากตามปฏิทินการเมืองยังมีคดีความและประเด็นอื่นๆ อีกในระยะข้างหน้า แม้ว่ารัฐบาลจะยังคงบริหารต่อไปได้ แต่เสถียรภาพของรัฐบาลก็ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตาดูต่อไป” ณัฐพรกล่าว

 

ขณะที่ ดร.พิพัฒน์ ก็มองว่า ถ้ารัฐบาลสามารถอยู่ต่อไปได้ในช่วงอีกสัก 2 เดือน ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2569 ก็น่าจะผ่านได้ อย่างไรก็ตาม ดร.พิพัฒน์ เตือนว่า ในระหว่างนี้ รัฐบาลยังมีบททดสอบอีกหลายเรื่อง เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการผ่านกฎหมายต่างๆ ที่เสนอโดยรัฐบาล เนื่องจากปัจจุบัน รัฐบาลเสียงเกินอยู่เล็กน้อยเท่านั้น

 

ดร.พิพัฒน์กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้หวังว่า จะไม่นำไปสู่การปรับลดประมาณการ GDP อีก ท่ามกลางความไม่แน่นอนมากมาย “ตัวอย่างเช่น ถ้าสมมุติว่า เกิดการยุบสภาจริงๆ ก่อน พ.ร.บ. งบประมาณจะผ่าน รับรอง GDP ลงไปได้อีกเยอะเลย”

 

ทั้งนี้ KKP Research เพิ่งปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 เหลือ 1.6% จาก 1.7% และปี 2026 เหลือ 1.5% เหตุจากการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจีน การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีโอกาสกลับมาชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี การบริโภคในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามสินเชื่อที่หดตัว ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น

 

ประเมินผลกระทบต่อการเจรจาภาษีสหรัฐฯ

 

ดร.อมรเทพ และณัฐพร มองตรงกันว่า ผลกระทบต่อการเจรจากับสหรัฐฯ จากเหตุการณ์วันนี้ ‘น่าจะมีน้อย’ เนื่องจาก ประเด็นหลักของการเจรจาน่าจะอยู่ที่ข้อเสนอทางการค้ามากกว่า โดยเสถียรภาพทางการเมืองไม่น่าใช่ประเด็นหลักที่ถูกโฟกัสในการเจรจานี้ นอกจากนี้ตัวแทนที่ไทยส่งไปเจรจายังเป็น พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเช่นเดิม

 

“ก็หวังว่า สหรัฐฯ จะไม่ใช้ประเด็นนี้ในการต่อรองเพิ่มเติม เพราะว่า เป็นเหตุการณ์การเมืองภายใน นอกจากนี้ การเจรจาน่าจะเป็นลักษณะ Win-Win ก็คือให้ทั้งพลเมืองทั้งสหรัฐฯ และไทยได้ประโยชน์สูงสุด” ดร.อมรเทพกล่าว

 

ดร.พิพัฒน์ ก็มองว่า เหตุการณ์วันนี้ ไม่น่าจะกระทบต่อการเจรจา เนื่องจากใกล้จะถึงเส้นตาย (วันที่ 8 กรกฎาคม) อยู่แล้ว พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็เตรียมเดินทางไปเจรจาแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ไทยจะกล้าเสนออะไรให้สหรัฐฯ หรือไม่ เช่น เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตร 

 

ดังนั้น “การเจรจาภายในจะยากกว่าเจรจาภายนอกอีก” ดร.พิพัฒน์กล่าว

 

เสถียรภาพทางการเมืองไทยที่ลดลงจะกระทบเครดิตเรตติ้งหรือไม่

 

ดร.พิพัฒน์กล่าวว่า เหตุการณ์วันนี้ ไม่น่าส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทย (Credit Rating)  อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ที่เครดิตเรตติ้งจะได้รับผลกระทบก็ยังมีอยู่ เนื่องจากประเด็นที่สำคัญหน่วยงานจัดอันดับต่างๆ ห่วงที่สุดก็คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (Growth)

 

ณัฐพร มองว่า ตราบใดที่เหตุการณ์นี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาล ในลักษณะที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือไม่เกิดการชุมนุมประท้วงใหญ่อย่างที่เคยเกิดในปี 2557-2558 ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเครดิตเรทติ้ง โดยปัจจุบัน ประเด็นที่หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ความสำคัญมากกว่าคือ ฐานะทางการคลัง

The post นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ กระทบต่อเศรษฐกิจไทยและการเจรจาภาษีสหรัฐฯ แค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
KKP Research หั่น GDP ไทยปีนี้ลงเหลือขยายตัว 1.6% หลังเจอปัจจัยเสี่ยงรุมกดดันรอบด้าน https://thestandard.co/kkp-cuts-thailand-gdp-forecast/ Tue, 01 Jul 2025 09:40:15 +0000 https://thestandard.co/?p=1091451 กราฟคาดการณ์ GDP ไทยโดย KKP Research แสดงแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2025-2026

KKP Research ยังคงประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ได้รับประโย […]

The post KKP Research หั่น GDP ไทยปีนี้ลงเหลือขยายตัว 1.6% หลังเจอปัจจัยเสี่ยงรุมกดดันรอบด้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
กราฟคาดการณ์ GDP ไทยโดย KKP Research แสดงแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2025-2026

KKP Research ยังคงประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ปรับตัวดีขึ้นมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังคงเผชิญแรงกดดันหลายด้านทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างระยะยาว และปัจจัยลบในปี 2025 ที่สำคัญ คือ การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 

 

โดยเฉพาะจีน การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีโอกาสกลับมาชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี การบริโภคในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามสินเชื่อที่หดตัว ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ KKP Research ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 เหลือขยายตัว 1.6% จากขยายตัว 1.7% และปี 2026 เหลือขยายตัว 1.5%

 

กราฟคาดการณ์ GDP ไทยโดย KKP Research แสดงแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2025-2026

ภาพ: KKP Research ประมาณการ GDP ของไทยใน 2025-2026

 

KKP ประเมินเศรษฐกิจไทยยังเผชิญแรงกดดันด้านลบ

 

KKP ประเมินว่า 3 ปัจจัยที่สำคัญที่จะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังจากนี้ คือ

 

  1. ทิศทางการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีน โดยในช่วงที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจีนหดตัวลงอย่างรวดเร็วเหลือเพียงประมาณ 30-40% ของระดับก่อนโควิด-19 เป็นผลจากความกังวลด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวจีนหลังเกิดกรณีลักพาตัว และการเข้ามาของคู่แข่งใหม่ ๆ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินหยวนส่งผลให้การมาเที่ยวไทยแพงกว่าที่อื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ KKP ประเมินนักท่องเที่ยวทั้งปีที่ 33.6 ล้านคนหดตัวลงจากปีก่อนเป็นครั้งแรกตั้งแต่หลังโควิด-19

 

 

ภาพ: KKP Research ประเมินจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยว

 

  1. การเร่งตัวของการส่งออกที่มากผิดปกติก่อนการขึ้นภาษีในช่วงต้นปี ส่งผลต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการส่งออกที่ผ่านมา ไม่ส่งผลบวกมากนักต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจไทย และมีโอกาสสูงที่ครึ่งหลังของปีจะเห็นการชะลอตัวลง โดยเกิดจาก

 

2.1 การส่งออกบางส่วนใช้สินค้าคงคลังที่เหลืออยู่เพื่อการส่งออกแต่ไม่ได้มีการผลิตใหม่เพิ่มเติม

2.2 การส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มเป็นสินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศอื่นเพื่อส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ แต่ไม่มีผลมากต่อการผลิตในประเทศ KKP Research ประเมินว่าภาคอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น แต่อาจจะกลับมาชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี

 

 

ภาพ: KKP Research ให้ข้อมูลการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม

 

  1. การบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัวตามการชะลอตัวของสินเชื่อ สินเชื่อในระบบการ

เงินยังคงหดตัวต่อเนื่อง ทั้งในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ SME และครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเช่าซื้อและอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงและระดับหนี้เสียที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจน การบริโภคในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว

 

เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังยังท้าทาย มีโอกาสเข้าสู่ Technical Recession

จากหลายปัจจัยลบที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ในครึ่งปีหลังของปี 2025 ไทยกำลังจะต้องเผชิญแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจทำให้ไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิคได้ โดยปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะทยอยหมดไป คือ

 

3.1 แรงส่งจากฐานต่ำของการลงทุนภาครัฐในปีก่อน

 

3.2 การเร่งการส่งออกที่สูงผิดปกติในช่วงต้นปีก่อนการขึ้นภาษี

 

3.3 การท่องเที่ยวที่จะทยอยชะลอตัวลงโดยจำนวนนักท่องเที่ยวอาจเริ่มติดลบในช่วงครึ่งหลัง ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศเดิมของไทยที่อ่อนแออยู่ก่อนแล้ว

 

 

ภาพ: KKP Research ประเมินเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังเสี่ยงเกิด Technical Recession

 

3 ความไม่แน่นอนอาจทำให้ไทยชะลอกว่าคาด

 

สถานการณ์ปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูงมาก ทำให้การประเมินเศรษฐกิจทำได้ยากมากขึ้น KKP Research ประเมินว่าทิศทางของเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอลงในช่วงครึ่งหลัง และยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 3 เรื่องที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้

 

  1. ความไม่แน่นอนทางการเมืองและข้อจำกัดของภาครัฐ ความเปราะบางทางการเมืองทวีความรุนแรงขึ้นหลังพรรคภูมิใจไทยถอนตัวจากรัฐบาล ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ มีความเสี่ยงที่การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 อาจจะล่าช้าหรือไม่สามารถผ่านได้ โดยในอดีตการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าตัวเป็นฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากถึง 1.0 – 1.5ppt ต่อไตรมาส หรือประมาณ 0.3ppt – 0.5ppt ต่อการเติบโตของ GDP ทั้งปี
  2. สงครามการค้าและการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ การเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงโดยอัตราภาษีแรกที่ไทยถูกเรียกเก็บจากสหรัฐฯ คือ 36% ก่อนจะมีการลดลงชั่วคราวมาที่ระดับ 10% KKP Research ประเมินว่าในกรณีของการเก็บภาษีกลับไปที่ 36% จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจทั้งปีประมาณ 0.8ppt เทียบกับกรณีที่ไม่มีการเก็บภาษีเลย
  3. สงครามระหว่างอิหร่าน อิสราเอล และผลต่อราคาน้ำมัน ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงต่อเนื่องอาจผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะที่คล้าย “stagflation” หรือภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวควบคู่กับการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไทยมีดุลการค้าพลังงานขาดดุลในระดับประมาณ 8% ของ GDP สูงที่สุดในภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 10% ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอาจลดลงราว 0.5% ของ GDP และ GDP ของไทยลดลงราว 0.3%

 

 

ภาพ: KKP Research ประเมินความเสี่ยงของผลกระทบของภาษีนำเข้าที่สูงกว่าคาด

 

KKP มองนโยบายการเงินต้องมีบทบาทมากขึ้น

 

ในสภาวะที่นโยบายการคลังมีข้อจำกัดจากระดับหนี้สาธารณะเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 70% ต่อ GDP ขาดดุลการคลังที่อยู่ในระดับสูง และภาวะการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น KKP Research เชื่อว่านโยบายการเงินจะต้องมีบทบาทมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้ง หรืออีก 0.75% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้ายลดลงเหลือ 1.0% จาก 1.25% ภายในไตรมาสแรกของปี 2026 และอาจต้องพิจารณาทางเลือกเชิงนโยบายในการแก้ไขข้อจำกัดของการส่งผ่านของนโยบายการเงิน โดยเฉพาะช่องทางสินเชื่อของธนาคาร

 

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 เผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้านและยังมีความไม่แน่นอนสูงที่อาจทำให้เศรษฐกิจโตได้ต่ำกว่าคาด การรับมือสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้จะต้องใช้การประสานนโยบายอย่างรอบด้าน ระหว่างนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย นโยบายการคลังที่แม่นยำ และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในระยะยาว

The post KKP Research หั่น GDP ไทยปีนี้ลงเหลือขยายตัว 1.6% หลังเจอปัจจัยเสี่ยงรุมกดดันรอบด้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาษีสหรัฐฯ ปมตะวันออกกลาง ค้าชายแดนกัมพูชา การเมืองป่วน ซ้ำเติมเศรษฐกิจ ‘หอการค้า’ หั่น GDP ไทยเหลือแค่ 1.7% https://thestandard.co/thai-gdp-cut-to-1-7-amid-crises/ Fri, 27 Jun 2025 00:45:43 +0000 https://thestandard.co/?p=1089770

เศรษฐกิจโลกและไทยยังไม่แน่นอนสูง ทั้งสงครามตะวันออกกลาง […]

The post ภาษีสหรัฐฯ ปมตะวันออกกลาง ค้าชายแดนกัมพูชา การเมืองป่วน ซ้ำเติมเศรษฐกิจ ‘หอการค้า’ หั่น GDP ไทยเหลือแค่ 1.7% appeared first on THE STANDARD.

]]>

เศรษฐกิจโลกและไทยยังไม่แน่นอนสูง ทั้งสงครามตะวันออกกลาง กรอบเวลาที่กระชั้นชิดของการเจรจาภาษีสหรัฐฯ ‘ม.หอการค้าไทย’ หั่น GDP ปีนี้ 2568 โตต่ำ 1.7% ชี้ภาพรวมเศรษฐกิจเผชิญแรงกดดันรุนแรง สินค้าจีนทะลัก หนี้ครัวเรือนสูง แนะรัฐเร่งเจรจาการค้า เบิกจ่ายงบรัฐ

 

 

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทย ในปี 2568 ลงเหลือ 1.7% จากคาดการณ์เดิมที่เคยประเมินไว้ล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ระดับ 3%

 

เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2568 เผชิญแรงกดดันรุนแรง การเติบโตเศรษฐกิจปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่แนวโน้ม GDP สามารถผันผวนได้ในช่วง 0.9-2.3% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

 

เจรจาภาษีกับสหรัฐฯ-ปมตะวันออกกลาง-ค้าชายแดนกัมพูชา-เสถียรภาพรัฐบาล ซ้ำเติม GDP ไทย

 

โดยมองว่า มาตรการภาษีของสหรัฐฯ กระทบการส่งออกหนัก คาดว่าการส่งออกลดลง 1.26-1.93% ขึ้นอยู่กับผลการเจรจา ขณะที่สินค้าจีนไหลทะลักเข้าไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ทั้งนี้ การลงทุนเอกชนหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 คาดหดตัว -1.2% ใน 2568 สะท้อนความเชื่อมั่นที่อ่อนแอและปัญหาโครงสร้างที่ลึกซึ้ง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.1% เท่านั้น

 

ขณะที่การผลิตฟื้นตัวช้ากว่าการส่งออก การบริโภคเอกชนชะลอเหลือ 2.4% จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงถึง 87.4% ต่อ GDP กดดันกำลังซื้อในช่วงที่เหลือของปี และภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวล่าช้า นักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวเพียง 40.3% เทียบก่อนโควิด-19 จากปัญหาความปลอดภัยและการแข่งขันในภูมิภาคที่รุนแรงขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ (กรกฎาคม 2568), ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่าน, ความตึงเครียดไทย-กัมพูชาและเสถียรภาพรัฐบาล ขณะที่การปรับเปลี่ยนจากโครงการแจกเงินฯ ไปสู่โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้านบาท มี Fiscal Multiplier สูงกว่า (1.3 เท่า) แต่ประสิทธิผลขึ้นอยู่กับความสามารถในการเบิกจ่าย

 

ทั้งนี้ ประเมินว่าการเติบโตเศรษฐกิจปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยให้กรอบ 1.5-2.0% ค่ากลางที่ 1.7% ลดลงจากประมาณการเดิม 3.0% โดยอยู่ในกรณีฐานที่ไทยถูกเรียกเก็บภาษี (Tariff) ในอัตรา 15-20% ความขัดแย้งอิหร่าน-อิสราเอล และความตึงเครียดไทย-กัมพูชา สามารถคลี่คลายได้เร็ว งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้านบาท สามารถเบิกจ่ายได้ 50% และ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งจนถึงสิ้นปี 2568

 

จับตาในวันที่ 1 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคลิปเสียงนายกรัฐมนตรี

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม GDP สามารถผันผวนได้ในช่วง 0.9-2.3% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ พร้อมเสนอให้รัฐเร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ, เร่งรัดการเบิกจ่าย, ดูแลกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ, แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน, กระตุ้นการลงทุนเอกชน และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของระบบเศรษฐกิจเพื่อรับมือความไม่แน่นอน

 

 

รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า ประมาณการเศรษฐกิจไทยครั้งนี้ เป็นการประเมินที่อยู่บนพื้นฐานความไม่แน่นอน หากการเมืองมีเสถียรภาพ และสามารถเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้านบาท ได้ถึง 70% มีโอกาสที่จีดีพีจะขยับขึ้นไปแตะ 2-2.3%

 

“หากการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่ทันภายในกรอบระยะเวลา 90 วัน หรือวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ขณะนี้ก็เชื่อว่าสหรัฐฯ มีโอกาสที่จะขยายเวลาออกไป”

 

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องกรณีคลิปเสียง และมีคำสั่งให้ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

 

ส่วนกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับประมาณการเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 2.3% มองว่าอาจจะเห็นโอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัว จึงยังไม่ลดดอกเบี้ย ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวานนี้ (25 มิ.ย.) อย่างไรก็ตาม มองว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง ในปีนี้ เหลือ 1.25%

 

สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ เร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ, เร่งรัดการเบิกจ่าย, ดูแลกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ, แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน, กระตุ้นการลงทุนเอกชน และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของระบบเศรษฐกิจเพื่อรับมือความไม่แน่นอน

 

เร่งแก้ 7 ข้อ ระยะเร่งด่วน (1-6 เดือน)

 

  • เร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ก่อนครบกำหนด 9 กรกฎาคม 2568 เพื่อลดอัตราภาษีลงจากระดับสูงสุดที่ 36%

 

  •  เร่งเบิกจ่ายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้านบาท โดยเน้นกลุ่มลดผลกระทบส่งออก/เพิ่มผลิตภาพ

 

  • เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 70%

 

  • ฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวจีนแบบเร่งด่วน พร้อมขยายตลาดทดแทน

 

  • ดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการค้า ทั้งผู้ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ และผู้ผลิตที่กระทบจากสินค้าทะลักเข้าไทย

 

  • ดูแลผู้ค้าชายแดนที่สูญเสียรายได้ 100% และธุรกิจส่งออก เพื่อรักษาสภาพคล่องระหว่างรอสถานการณ์คลี่คลาย

 

  • กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศแบบมีเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ปานกลาง

 

ห่วงกัมพูชาห้ามนำเข้าสินค้าไทย-ภาษีสหรัฐฯ กระทบคำสั่งซื้อปลายปี

 

ด้าน พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยมีเห็นถึงความตั้งใจของหน่วยงานภาครัฐที่กำลังเร่งทำงานอย่างเต็มที่สำหรับการเจรจาการค้ากับสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางกรอบเวลาที่กระชั้นชิด

 

“ด้วยข้อจำกัดของเวลาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลรับคำสั่งซื้อปลายปี หอการค้าฯจึงขอให้ทุกฝ่ายเร่งสร้างความชัดเจนในแนวทางการดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเตรียมตัวและปรับแผนได้ทันที ซึ่งสัญญาณยอดคำสั่งซื้อชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม และต้นเดือนมิถุนายน หากไม่มีความชัดเจนก็จะกระทบยอดส่งออกครึ่งปีหลังอย่างมาก”

 

นอกจากนี้ หอการค้าไทยยังติดตามสถานการณ์ด้านการค้าการลงทุนกับประเทศกัมพูชาอย่างใกล้ชิด โดยกัมพูชาออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าบางประเภทจากประเทศไทย

 

“เชื่อว่ายังมีแนวทางในการบริหารจัดการสินค้าเหล่านี้ให้สามารถกระจายไปยังตลาดอื่นได้ ล่าสุดหอการค้าไทยได้ร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำในการกระจายสินค้าที่ได้รับผลกระทบ เช่น ผักและผลไม้”

The post ภาษีสหรัฐฯ ปมตะวันออกกลาง ค้าชายแดนกัมพูชา การเมืองป่วน ซ้ำเติมเศรษฐกิจ ‘หอการค้า’ หั่น GDP ไทยเหลือแค่ 1.7% appeared first on THE STANDARD.

]]>