Family Office – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 31 Jan 2023 13:09:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เศรษฐีจีนมุ่งสู่สิงคโปร์ หนีนโยบาย ‘Common Prosperity’ ขนเงินลงทุน 62.5 ล้านบาท แลกสัญชาติถาวร https://thestandard.co/chinese-millionaire-common-prosperity/ Tue, 31 Jan 2023 09:16:54 +0000 https://thestandard.co/?p=744252

แม้ประเทศจีนจะยกระดับและพัฒนาประเทศขึ้นมาอย่างรวดเร็วใน […]

The post เศรษฐีจีนมุ่งสู่สิงคโปร์ หนีนโยบาย ‘Common Prosperity’ ขนเงินลงทุน 62.5 ล้านบาท แลกสัญชาติถาวร appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้ประเทศจีนจะยกระดับและพัฒนาประเทศขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีเศรษฐีชาวจีนอีกจำนวนไม่น้อยที่หวังจะออกไปตั้งรกรากที่ประเทศอื่น และหนึ่งในเป้าหมายคือสิงคโปร์

 

อย่างกรณีของ Zayn Zhang ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์ มองว่า “สิงคโปร์นั้นยอดเยี่ยม เป็นประเทศที่มั่นคงและเปิดโอกาสด้านการลงทุนมากมาย” พร้อมกล่าวว่า ครอบครัวของเขาอาจจะตั้งสำนักงานครอบครัว (Family Office) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัวที่สิงคโปร์ในอนาคต

 

ด้วยเรื่องของภาษีที่เป็นมิตรและการเมืองที่ถูกมองว่ามั่นคง สิงคโปร์ถูกมองว่าเป็นดั่งสวรรค์สำหรับมหาเศรษฐีต่างชาติมาโดยตลอด

 

แต่การไหลเข้ามาของเศรษฐีต่างชาติเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2021 หลังจากที่สิงคโปร์เป็นประเทศแรกๆ ที่ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด ซึ่งตรงกันข้ามกับจีนและฮ่องกงที่ยังคงคุมเข้ม

 

จำนวน Family Office ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับประมาณ 700 บริษัท ในปี 2021 จากก่อนหน้านี้ที่มีอยู่ราว 400 บริษัท โดยครอบครัวที่มีชื่อเสียงที่เข้ามาตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ เช่น James Dyson ครอบครัวผู้ผลิตเครื่องดูดฝุ่น Dyson, Ray Dalio ผู้ก่อตั้งเฮดจ์ฟันด์ Bridgewater และ Zhang Yong ผู้ก่อตั้งร้าน Haidilao

 

แม้จะยังไม่มีข้อมูลอัปเดต แต่จำนวน Family Office ถูกประเมินว่าน่าจะเพิ่มขึ้นในปี 2022 และต่อเนื่องในปี 2023 ขณะที่การผ่อนคลายนโยบายควบคุมโควิดของจีนก็ไม่น่าจะทำให้เทรนด์ดังกล่าวเปลี่ยนไป เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลจีนที่ต้องการสนับสนุนเรื่องความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity) เพื่อลดความไม่เท่าเทียม

 

Chung Ting Fai นักกฎหมายที่ช่วยในการจัดตั้ง Family Office กล่าวว่า เขาได้รับการติดต่อจากครอบครัวที่ต้องการตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จากครอบครัวที่ต้องการย้ายทรัพย์สินมูลค่าอย่างน้อย 20 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือเกือบ 500 ล้านบาท ขณะที่ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา จำนวนผู้ที่ติดต่อเข้ามาเพิ่มขึ้นเป็น 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และนอกจากชาวจีนแล้วยังมีชาวญี่ปุ่นและมาเลเซียที่สนใจเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

 

ส่วนหนึ่งของนโยบายที่ช่วยดึงดูดเศรษฐีชาวต่างชาติให้เข้ามาอยู่ในสิงคโปร์ คือการเสนอให้ใครก็ตามที่ลงทุนอย่างน้อย 2.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ กองทุน หรือ Family Office สามารถยื่นขอสัญชาติสิงคโปร์ได้

 

ขณะที่สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 16% เป็น 5.4 ล้านล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อปี 2021 ส่วนปีที่ผ่านมา สินทรัพย์กว่า 3 ใน 4 ของทั้งหมดมาจากนอกสิงคโปร์ ซึ่งส่วนมากเป็นประเทศในแถบเอเชีย

 

ขณะที่จำนวนผู้ได้รับสัญชาติสิงคโปร์เพิ่มขึ้นกว่า 3 หมื่นคน และมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานมากกว่า 9.7 หมื่นคน ทำให้จำนวนประชากรของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.64 ล้านคน

 

ผลกระทบที่ตามมาอย่างหนึ่งคือค่าเช่าบ้านที่เพิ่มขึ้น 21% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 ขณะที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยความต้องการซื้อของชาวจีน

 

อีกหนึ่งสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นถึงการหลั่งไหลเข้ามาของเศรษฐี คือจำนวนสมาชิกของกอล์ฟคลับที่เพิ่มขึ้น โดยค่าสมาชิกของกอล์ฟคลับอย่าง Sentosa Golf Club สูงถึง 8.8 แสนดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับชาวต่างชาติ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2019


บทความที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

The post เศรษฐีจีนมุ่งสู่สิงคโปร์ หนีนโยบาย ‘Common Prosperity’ ขนเงินลงทุน 62.5 ล้านบาท แลกสัญชาติถาวร appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘กสิกรไทย’ เล็งใช้ Family Office ขยายฐานลูกค้าเศรษฐี เผยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 4,000 ราย หรือ 790 ครอบครัว https://thestandard.co/kbank-family-office/ Wed, 23 Nov 2022 09:25:03 +0000 https://thestandard.co/?p=714331

KBank Private Banking ชูบริการ Family Office วางแผนทรัพ […]

The post ‘กสิกรไทย’ เล็งใช้ Family Office ขยายฐานลูกค้าเศรษฐี เผยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 4,000 ราย หรือ 790 ครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

KBank Private Banking ชูบริการ Family Office วางแผนทรัพย์สินครอบครัวให้เศรษฐีไทยกว่า 4,000 ราย หรือประมาณ 790 ครอบครัว ครอบคลุมทรัพย์สินภายใต้การบริหารกว่า 180,000 ล้านบาท ตั้งเป้าขยายบริการให้ครอบคลุม 40% ของลูกค้าเศรษฐีภายในปี 2568 

 

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีหลายปัจจัยกระตุ้นให้การบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัวไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งวิกฤตเงินเฟ้อ ความผันผวนของตลาดลงทุน ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลอดจนนโยบายการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีระหว่าง สรรพากรไทยและรัฐบาลสหรัฐฯ (FATCA) รวมถึงรัฐบาลชาติอื่นๆ ภายใต้ความตกลง Common Reporting Standard หรือ CRS ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มบุคคลสินทรัพย์สูงเกิดความตื่นตัวในการวางแผนทรัพย์สินครอบครัว และต้องการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านภาษีมากยิ่งขึ้น 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


นอกจากนี้ จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีมากขึ้น จากเดิมที่เป็นการส่งต่อจากรุ่นที่ 1 ไปรุ่นที่ 2 ปัจจุบันเป็นการส่งต่อจากรุ่นที่ 2 ไปรุ่นที่ 3 หรือจากรุ่นที่ 3 ไปรุ่นที่ 4 มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การส่งต่อทรัพย์สินมีขั้นตอนและรายละเอียดที่มากขึ้นไปด้วย โดยผลสำรวจของ Lombard Odier พบว่า กว่า 52% ของเจ้าของธุรกิจครอบครัวไทยเริ่มกลับมาพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับครอบครัว แต่มีเพียง 37% เท่านั้นที่เริ่มลงมือวางแผนแล้ว ช่องว่างตรงนี้ทำให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวมีโอกาสดูแลลูกค้าในเรื่องนี้ได้มากขึ้น

 

เพื่อตอบรับกระแสดังกล่าว KBank Private Banking จึงเปิดตัวบริการใหม่ ‘สำนักงานครอบครัว’ (Family Office) ภายใต้ ‘บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว’ (Family Wealth Planning Service) โดยขยายขอบเขตการให้บริการจากการให้คำปรึกษาเพื่อจัดตั้งและจัดระบบสำนักงานครอบครัว สู่ผู้ช่วยดำเนินการกิจธุระของครอบครัวที่เน้นลงมือปฏิบัติภายใต้กรอบการให้บริการครอบคลุมทั้งหมด 6 ด้าน อันได้แก่ 1. งานจดทะเบียนที่ดิน 2. งานเอกสารกฎหมาย 3. งานจดทะเบียนบริษัท 4. งานติดตามทวงถามหนี้ 5. งานติดตามทรัพย์ 6. บริการจัดเก็บเอกสารสำคัญ 

 

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เดิมบริการสำนักงานครอบครัว (Family Office) จะให้คำแนะนำในการจัดตั้งและดำเนินการของสำนักงานครอบครัวสำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะดำเนินการเอง โดยภายหลังทางธนาคารได้เล็งเห็นความต้องการผู้ช่วยในการดำเนินการจัดการกิจธุระของครอบครัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องด้วยการจัดตั้งสำนักงานครอบครับนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งไม่เหมาะกับลูกค้าที่มีครอบครัวขนาดเล็ก หรือลูกค้าที่มีเรื่องต้องจัดการทรัพย์สินครอบครัวเป็นครั้งคราว จึงได้ขยายขอบเขตในการให้บริการ ยกระดับสู่การเป็นผู้ช่วยในการดำเนินการเรื่องต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ตอบทุกโจทย์ความต้องการด้านทรัพย์สินครอบครัวได้อย่างครอบคลุมครบวงจร

 

ปัจจุบันมีลูกค้าที่ไว้วางใจใช้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวกว่า 4,000 ราย หรือประมาณ 790 ครอบครัว โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 10% และมีทรัพย์สินครอบครัวภายใต้การบริหารงานกว่า 180,000 ล้านบาท โดยธนาคารตั้งเป้าว่าจะให้บริการลูกค้าให้ครอบคลุม 40% ของลูกค้าทั้งหมด ภายในปี 2568 จากปัจจุบันที่ให้บริการลูกค้าแล้วประมาณ 36%

The post ‘กสิกรไทย’ เล็งใช้ Family Office ขยายฐานลูกค้าเศรษฐี เผยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 4,000 ราย หรือ 790 ครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
นโยบายลดความเหลื่อมล้ำแดนมังกร บีบเศรษฐีชาวจีนตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ https://thestandard.co/china-difference-decrease-measures-push-millionaire-to-singapore/ Wed, 30 Mar 2022 11:49:25 +0000 https://thestandard.co/?p=612266 นโยบายลดความเหลื่อมล้ำแดนมังกร บีบเศรษฐีชาวจีนตั้ง Family Office ในสิงคโปร์

เศรษฐีจีนลุยตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ต่อเนื่อง หวัง […]

The post นโยบายลดความเหลื่อมล้ำแดนมังกร บีบเศรษฐีชาวจีนตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นโยบายลดความเหลื่อมล้ำแดนมังกร บีบเศรษฐีชาวจีนตั้ง Family Office ในสิงคโปร์

เศรษฐีจีนลุยตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ต่อเนื่อง หวังหาที่หลบความเสี่ยงหลังกรณีจีนเร่งดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความมั่งคั่งให้ชนชั้นกลาง ขณะที่บริษัทผู้บริหาร Family Office คาดปีนี้กระแสแรงต่อเนื่อง 

 

นับตั้งแต่การประท้วงในฮ่องกงปี 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฮ่องกง เศรษฐีจีนจึงมองหาประเทศอื่นๆ เพื่อเป็นที่เก็บและสะสมความมั่งคั่ง โดยสิงคโปร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวเลือกที่ดึงดูดที่สุด เพราะมีชุมชนที่พูดภาษาจีนกลางขนาดใหญ่ และไม่มีภาษีความมั่งคั่งไม่เหมือนหลายๆ ประเทศ

 

นอกจากนั้น การยกระดับกฎเกณฑ์ทางธุรกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจการศึกษา และออกนโยบายส่งเสริมความร่ำรวยอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ผลักดันให้เศรษฐีชาวจีนเข้าไปตั้ง Family Office ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน 

 

โดย Family Office หรือสำนักงานธุรกิจครอบครัว (FO) คือหน่วยงานที่บริหารจัดการและดูแลกิจการ การบริหารความมั่งคั่งหรือสินทรัพย์ของเจ้าของธุรกิจครอบครัว สมาชิกในครอบครัวของธุรกิจครอบครัว

 

สำนักข่าว CNBC จัดทำสัมภาษณ์พิเศษ กรณีศึกษาเศรษฐีจีนนิยมเข้าไปตั้ง Family Office ในประเทศสิงคโปร์ และได้ข้อค้นพบดังนี้ 

 

1. เศรษฐีจีนไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัยหากจะเก็บเงินไว้ในประเทศจีน 

 

Jenga ซึ่งเป็นบริษัทบัญชีและบริการองค์กรที่ก่อตั้งมากว่า 5 ปี ระบุว่า แม้เศรษฐีจีนจะเชื่อว่ามีโอกาสมากมายที่จะเพิ่มความมั่งคั่งในประเทศจีน แต่พวกเขาไม่แน่ใจในเรื่องความปลอดภัย หากว่าจะเก็บเงินไว้ที่นั่น

 

โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีการสืบค้นเกี่ยวกับการตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยผู้ต้องการคำตอบส่วนมากคือชาวจีน

 

ไอริส ซู ผู้ก่อตั้ง บริษัท Jenga ให้ข้อมูลว่า ลูกค้าของเธอประมาณ 50 คน ได้เปิด Family Office ในสิงคโปร์ โดยแต่ละแห่งมีทรัพย์สินอย่างน้อย 10 ล้านดอลลาร์

 

ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของจีนได้สร้างเศรษฐีพันล้านหลายร้อยคนในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ และมีหลายคนติดอันดับมหาเศรษฐีที่จัดอันดับโดยนิตยสารชื่อดังอย่าง Forbes โดยล่าสุด มีจำนวนมหาเศรษฐีทั้งหมดในจีนเพิ่มขึ้นเป็น 626 ราย เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา ที่มีมหาเศรษฐี 724 รายเท่านั้น

 

2. กังวลนโยบาย ‘กระจายความร่ำรวย’ 

 

ไรอัน ลิน ผู้อำนวยการของ Bayfront Law ในสิงคโปร์ กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2019 ที่เริ่มมีเหตุจลาจลในฮ่องกง กระแสการตั้ง Family Office เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มเศรษฐีชาวจีน และความต้องการถูกกระตุ้นอีกครั้งเมื่อปี 2021 ที่จีนมีปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การทำธุรกิจ เช่น ธุรกิจการศึกษา อสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบสนองนโยบายลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน กระจายความร่ำรวยเพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชนชั้นกลางในจีน 

 

ไรอันกล่าวว่า ลูกค้าของ Bayfront Law ไม่ได้มีแค่เศรษฐีจีนเท่านั้น เศรษฐีชาวอินเดีย อินโดนีเซีย และยุโรปก็เพิ่มเช่นกัน 

 

ทั้งนี้ ประเทศจีนมีการควบคุมเงินทุนอย่างเข้มงวด โดยกำหนดวงเงินอย่างเป็นทางการที่ 50,000 ดอลลาร์ต่อปีสำหรับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในต่างประเทศ ซึ่งจะจำกัดความสามารถของมหาเศรษฐีในการเคลื่อนย้ายเงินออกนอกประเทศ

 

แต่แม้จะมีการควบคุมเงินทุน แต่เศรษฐีชาวจีนจำนวนมากยังคงมาเปิด Family Office ด้วยเงินทุนตามที่กำหนด เนื่องจากธุรกิจที่สร้างรายได้ส่วนใหญ่อยู่นอกแผ่นดินใหญ่

 

3. Family Office เป็นหนึ่งในวิธีการย้ายถิ่นฐาน

 

การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านการเดินทางระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยเร่งให้เศรษฐีชาวจีนสนใจการมาตั้ง Family Office ในสิงคโปร์มากขึ้น หนึ่งในความสนใจคือ สิงคโปร์เปิดทางให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่มีเงินลงทุนอย่างน้อย 2.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 1.8 ล้านดอลลาร์) สามารถสมัครเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้

 

ขณะที่ทางฝั่งจีนนั้น นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดเป็นต้นมา รัฐบาลจีนสามารถระงับการออกหนังสือเดินทางและการบริการต่ออายุของประชาชนได้ โดยอ้างเหตุผลในเรื่องการควบคุมการแพร่ระบาด 

 

ธุรกิจบริหาร Family Office เฟื่องฟู 

สำนักข่าว CNBC ระบุว่า มหาเศรษฐีหลายคนจากทั่วโลกใช้ Family Office เพื่อบริหารความมั่งคั่ง และเสน่ห์อีกอย่างของสิงคโปร์ก็คือทำเลที่ตั้งที่ทำให้นักลงทุนได้ใกล้ชิดกับโอกาสการลงทุนอื่นๆ ในเอเชีย

 

ตั้งแต่ปลายปี 2020 เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้ง Bridgewater และ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ได้เปิด Family Office ในสิงคโปร์เพื่อใช้ประโยชน์จากนโยบายภาษีที่เป็นมิตร ทั้งนี้ ตามข้อมูลของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ พบว่าในปี 2020 มี Family Office ประมาณ 400 แห่งในสิงคโปร์ 

 

ทางด้านบริษัทท้องถิ่นที่ทำธุรกิจบริหาร Family Office ในสิงคโปร์ คาดว่าปัจจุบันมีครอบครัวเศรษฐีอีกหลายร้อยรายอยู่ระหว่างพิจารณาจัดตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้บริษัทที่รับจ้างบริหาร Family Office ขยายกิจการ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยบางบริษัทได้เพิ่มพนักงานขึ้น 25% ในปี 2021 ที่ผ่านมา 

 

คาดกระแสแรงต่อเนื่อง

ไอริส ซู ระบุว่า ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน อาจทำให้ลูกค้าบางรายยุติแผนการเปิด Family Office ในสิงคโปร์ไปบ้าง แต่จากการสอบถามลูกค้าเศรษฐีชาวจีน พบว่ายังมีความต้องการเข้ามาตั้ง Family Office อยู่อีกมาก จึงคาดการณ์ว่าธุรกิจบริหาร Family Office ในปีนี้จะเติบโตใกล้เคียงกับปี 2021 ที่ผ่านมา 

 

อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาว่าเสน่ห์ของสิงคโปร์จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้หรือไม่ โดยเฉพาะฮ่องกง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในความเป็นศูนย์กลางทางการเงิน โดยล่าสุด สิงคโปร์กำลังพิจารณาจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงภาษีกำไรจากการลงทุน เงินปันผล และภาษีความมั่งคั่งสุทธิสำหรับบุคคล 

 

ซูกล่าวอีกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินของฮ่องกงมีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่น่าสนใจมาก และตอนนี้ผู้จัดการสินทรัพย์ของฮ่องกงบางคนกำลังเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อขยายฐานลูกค้า 

 

“หากสิงคโปร์ไม่สามารถให้บริการการจัดการความมั่งคั่งได้ ทรัพย์สินของจีนจะยังคงได้รับการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญจากฮ่องกงตามเดิม” ซูกล่าว

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post นโยบายลดความเหลื่อมล้ำแดนมังกร บีบเศรษฐีชาวจีนตั้ง Family Office ในสิงคโปร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>