Face Shield – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 25 Mar 2021 09:15:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 หมอเลี้ยบ แนะใส่ Face Shield ควบคู่หน้ากากในชีวิตประจำวัน เตือนหน้ากากมีวาล์วของ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่กันโควิด-19 https://thestandard.co/sooraphong-suggests-wearing-face-shield-together-with-mask/ Tue, 05 Jan 2021 13:30:19 +0000 https://thestandard.co/?p=439618 หมอเลี๊ยบ แนะใส่ Face Shield ควบคู่หน้ากากในชีวิตประจำวัน เตือนหน้ากากมีวาล์วของ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่กันโควิด-19

หมอเลี้ยบ-นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอ […]

The post หมอเลี้ยบ แนะใส่ Face Shield ควบคู่หน้ากากในชีวิตประจำวัน เตือนหน้ากากมีวาล์วของ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่กันโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมอเลี๊ยบ แนะใส่ Face Shield ควบคู่หน้ากากในชีวิตประจำวัน เตือนหน้ากากมีวาล์วของ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่กันโควิด-19

หมอเลี้ยบ-นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD เกี่ยวกับสาเหตุการระบาดที่ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร โดยได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการระบาดของโรคซาร์สเมื่อปี 2546 ที่เกิดขึ้นที่ฮ่องกง โดยรายแรกๆ พบการระบาดที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ซึ่งพบการติดเชื้อของผู้ที่อาศัยอยู่ที่ชั้น 6 เพียงชั้นเดียว ภายหลังมีการสรุปว่าสาเหตุที่มีการติดเชื้อเพียงชั้นเดียวเกิดจากการสัมผัสเชื้อที่ติดอยู่ที่ปุ่มกดชั้นที่ 6 ที่ลิฟต์โดยสาร และไม่มีการล้างมือ จึงการเกิดการระบาดขึ้น 

 

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า จากกรณีศึกษาดังกล่าวอาจใกล้เคียงกับตลาดกลางกุ้ง ทั้งที่เป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่น่าจะมีการสะสมของละอองต่างๆ แต่อาจจะมีแรงงานต่างชาติติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยมีเชื้อติดอยู่ที่มือ และได้ไปจับปลาหรือกุ้ง จากนั้นคนที่จับต่อก็รับเชื้อต่อไปด้วย เมื่อไม่ได้ล้างมือและมีการขยี้ตา สัมผัสใบหน้า หยิบอาหารรับประทาน จึงเป็นช่องทางหนึ่งในการติดเชื้อโควิด-19

 

“เช่นเดียวกับการระบาดที่บ่อนซึ่งเป็นสถานที่สำคัญที่จะเกิด Super Spreader เนื่องจากผู้เล่นมีการสัมผัสตู้เล่นต่างๆ จากนั้นไม่มีการล้างมือ มีการสัมผัสใบหน้า และหยิบอาหารมารับประทานต่อ จึงเกิดการติดเชื้อ”

 

นพ.สุรพงษ์ กล่าวต่อว่า การสัมผัสเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นช่องทางหนึ่งที่นำมาสู่การติดเชื้อแบบควบคุมไม่ได้ เช่น ฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วมีการบังคับให้ใส่หน้ากากเพื่อป้องกันโรค แต่พบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ได้ลดลง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์จึงออกประกาศให้ประชาชนที่ออกนอกบ้านต้องใส่ Face Shield ควบคู่กับการใส่หน้ากาก

 

นพ.สุรพงษ์ อธิบายว่า หากมีเชื้อติดอยู่ตามสิ่งต่างๆ แล้วมีการไปสัมผัส โดยไม่ได้ล้างมือหรือฉีดแอลกอฮอล์ และมีการสัมผัสใบหน้าหรือตาต่อ แม้ว่าจะใส่หน้ากากก็รับเชื้อโควิด-19 ได้ แต่ถ้าใส่ Face Shield จะมีการป้องกันใบหน้าและตา ไม่ให้เอามือไปสัมผัสใบหน้าโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานสังเกตพฤติกรรมพบว่า คนทั่วไปมีการสัมผัสใบหน้าวันละ 90 ครั้งโดยไม่ได้ตั้งใจ

 

“ผมคิดว่าทุกคนควรใส่หน้ากากเพื่อป้องกันคนอื่น ใส่ Face Shield เพื่อป้องกันตัวเอง ในทุกจุดที่มีความแออัด ทั้งรถไฟฟ้า ศูนย์การค้า และร้านอาหาร ซึ่งขณะนี้ Face Shield หาซื้อไม่ยาก ราคาไม่แพง เช็ดด้วยแอลกอฮอล์แล้วใช้ซ้ำได้หลายครั้ง” นพ.สุรพงษ์ ให้คำแนะนำ

 

นพ.สุรพงษ์ ยังฝากถึงสิ่งที่ต้องระวังเรื่องหน้ากากด้วยว่า หน้ากากที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมใส่ที่มีวาล์วสีดำ ไม่สามารถป้องกันทั้งตัวเองและคนอื่นได้ เนื่องจากวาล์วดังกล่าวช่วยในเรื่องของการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากหน้ากาก ถ้า พล.อ. ประยุทธ์ มีเชื้ออยู่ในตัว ก็สามารถแพร่เชื้อไปหาคนอื่นได้ ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ เนื่องจากมือยังสามารถสัมผัสใบหน้าและตาได้อยู่

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post หมอเลี้ยบ แนะใส่ Face Shield ควบคู่หน้ากากในชีวิตประจำวัน เตือนหน้ากากมีวาล์วของ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่กันโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เฟซชิลด์ใช้สวมแทนหน้ากากผ้าได้หรือไม่? เปิดเบื้องลึกของไอเท็มใหม่ในยุคโควิด-19 https://thestandard.co/new-coronavirus-item-in-depth-review/ Wed, 10 Jun 2020 15:09:38 +0000 https://thestandard.co/?p=370956

ใครเคยนึกอยากถอดหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าออกบ้างครับ […]

The post เฟซชิลด์ใช้สวมแทนหน้ากากผ้าได้หรือไม่? เปิดเบื้องลึกของไอเท็มใหม่ในยุคโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ใครเคยนึกอยากถอดหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าออกบ้างครับ? 

 

เพราะเวลาสวมหน้ากากรู้สึกหายใจลำบาก ยิ่งเวลาพูดไปสักพักหน้ากากก็มักจะเลื่อนหลุดลงมาอยู่ด้านล่างจนต้องจับหน้ากากขึ้นไปตรงตำแหน่งเดิมอยู่หลายครั้ง (ทั้งที่ไม่ควรจับหน้ากากด้วยมือที่ไม่สะอาด หรือไม่ควรจับด้านหน้าของหน้ากากเลย เพราะเป็นส่วนที่สกปรกที่สุด) ส่วนคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าก็มักถูกหน้ากากเช็ดเครื่องสำอางออก หรือรู้สึกไม่สวยเท่ากับตอนปกติ เลยนึกอยากถอดหน้ากากออกแล้วสวม ‘เฟซชิลด์’ แทน เหมือนกับดาราหลายคน

 

แต่ความจริงแล้วเฟซชิลด์สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่?

 

เฟซชิลด์คือ 1 ใน 4 อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ

หลายคนน่าจะเพิ่งรู้จักกับเฟซชิลด์ (Face Shield) เป็นครั้งแรกตอนที่มีกระแสการทำเฟซชิลด์บริจาคให้กับโรงพยาบาลช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2563 (จะว่าไปแล้วเฟซชิลด์ก็คล้ายกับ ‘หน้ากากกันสเปรย์’ เวลาจัดแต่งทรงผมอยู่เหมือนกัน ส่วน ‘หมวกชาวประมง’ ที่มีพลาสติกใสยื่นออกมาคลุมด้านหน้า น่าจะเริ่มวางขายก่อนหน้านั้นราวเดือนกุมภาพันธ์) เพราะเฟซชิลด์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ส่วนบุคคลป้องกันการติดเชื้อ (Personal Protective Equipment: PPE) หลัก 4 ชิ้นของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย

 

  1. หน้ากากอนามัย หรือ N-95
  2. แว่นครอบตาหรือเฟซชิลด์
  3. กาวน์
  4. ถุงมือ

 

แต่จะสังเกตว่าเฟซชิลด์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแว่นครอบตา คือสวมเพื่อป้องกันสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา แต่เฟซชิลด์สามารถคลุมใบหน้าได้มากกว่า โดยมาตรฐานของเฟซชิลด์คือ ด้านยาวจะต้องคลุมตั้งแต่หน้าผากลงมาจนถึงใต้คาง และด้านกว้างจะต้องคลุมทั้ง 2 ข้างของใบหน้า ตรงกันข้ามกับหน้ากากอนามัย หรือ N-95 ซึ่งสวมเพื่อปกป้องจมูกและปาก โดยหน้ากากอนามัยใช้ป้องกันละอองขนาดใหญ่ เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ ส่วนหน้ากากชนิด N-95 ใช้ป้องกันละอองขนาดเล็ก ซึ่งทั้งคู่จะต้องมีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของของเหลวด้วย

 

การสวม PPE ที่เหมาะสมของบุคลากรทางการแพทย์ (อ้างอิง: CDC)

 

นอกจากนี้ขณะสวมยังไม่ควรมีช่องว่างระหว่างหน้ากากกับใบหน้า เช่น สำหรับหน้ากากอนามัย อาจใช้เทปกาวปิดตรงสันจมูก (สำหรับคนสวมแว่นตา ถ้าหายใจแล้วเกิดฝ้าที่แว่นก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ได้) การกดลวดบริเวณสันจมูกด้วยมือทั้งสองข้าง และสำหรับหน้ากากชนิด N-95 จะต้องทดสอบการแนบสนิท (Fit Check) หลังสวมหน้ากากแล้วทุกครั้ง ด้วยการใช้มือโอบรอบหน้ากากแล้วหายใจออกแรงกว่าปกติว่าไม่มีการรั่วของลมหายใจ เพราะไม่อย่างนั้นหน้ากากก็จะไม่สามารถป้องกันได้ 95% อย่างที่ต้องการ

 

ดังนั้นเราจึงเห็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตรสวมทั้งหน้ากากอนามัย + เฟซชิลด์ = 2 ชิ้นพร้อมกัน โดยเฉพาะตอนเก็บตัวอย่างจากโพรงหลังจมูก ดูดเสมหะ หรือใส่ท่อช่วยหายใจ (เดิมเราก็ไม่เคยเห็นแพทย์/พยาบาลสวมเฟซชิลด์กันเท่าไรนัก ทั้งที่เชื้อก่อโรคทางเดินหายใจอื่นก็สามารถติดต่อผ่านละอองแบบเดียวกัน ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะโรงพยาบาลไม่ได้จัดเตรียมไว้ หรือเพราะหลายคนสวมแว่นสายตา แต่พอมีการระบาดของโควิด-19 ต่างก็เปลี่ยนสวมกันเกือบทุกคนจนน่าจะเป็น ‘ชีวิตวิถีใหม่’ หรือ New Normal ในโรงพยาบาลเลยก็ว่าได้)

 

เฟซชิลด์ไม่สามารถใช้แทนหน้ากากได้

คำแนะนำให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนออกจากบ้านทุกครั้งเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ทั้ง ‘ขาเข้า’ และ ‘ขาออก’ กล่าวคือ ถ้าเราเป็นคนปกติ (ยังไม่ติดเชื้อ) การสวมหน้ากากจะป้องกันไม่เราสูดละอองน้ำมูกน้ำลายที่ผู้ป่วยไอจามออกมาเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ 

 

แต่ถ้าเราเป็นผู้ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการ (ถ้ามีอาการแล้ว ก็ไม่ควรออกไปในที่สาธารณะ) การสวมหน้ากากจะป้องกันไม่ให้เราแพร่เชื้อต่อ ตอนพูดที่อาจมีน้ำลายกระเด็น แต่ก็จะถูกหน้ากากดักไว้เหมือนเวลาไอจามปิดปากด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือแขนเสื้อ

 

ในขณะที่การสวมเฟซชิลด์ถึงแม้จะคลุมทั้งใบหน้า แต่ก็ไม่แนบชิดเหมือนหน้ากาก ทำให้ผู้สวมยังสามารถหายใจเอาละอองสารคัดหลั่งเข้าไปได้ 

 

จากการวิจัยประสิทธิภาพของเฟซชิลด์ด้วยเครื่องจำลองการไอและการหายใจเมื่อปี 2557 พบว่า ในช่วงแรกของการไอ เฟซชิลด์สามารถป้องกันการสูดหายใจและการเปื้อนของหน้ากากได้ 96% และ 97% ตามลำดับ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 1-30 นาทีละอองจากการไอฟุ้งอยู่ภายในกล่องทดลอง (เปรียบเสมือนการนั่งพูดคุยในรถหรือห้องที่อากาศถ่ายเทได้น้อย) ความสามารถในการป้องกันการสูดหายใจลดลงเหลือเพียง 23%

 

ดังนั้นเฟซชิลด์จึงไม่สามารถใช้แทนหน้ากากได้ แต่อาจใช้เป็นอุปกรณ์เสริมเหมือนบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล หรืออย่างที่ ศบค. แนะนำพนักงานในห้างสรรพสินค้าที่ต้องใกล้ชิดกับลูกค้าควรสวมเฟซชิลด์ร่วมด้วย (ส่วนคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะสามารถเว้นระยะห่างจากผู้อื่นได้) 

 

และถึงแม้การสวมเฟซชิลด์จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สวมยกมือขึ้นมาสัมผัสใบหน้า เช่น ขยี้ตา แคะจมูก แต่ช่องทางนี้ไม่ใช่ช่องทางหลักในการติดเชื้อ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าจึงสามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่า

 

อย่างไรก็ตาม หากโรงพยาบาลขาดแคลนหน้ากากอนามัย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็เสนอทางเลือกว่า อย่างน้อยควรสวมเฟซชิลด์ หรือใช้หน้ากากผ้าแล้วสวมเฟซชิลด์ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้เฟซชิลด์ก็อาจใช้ ‘ลดความเสี่ยง’ ในการติดเชื้อได้ 

 

ฉะนั้นผู้ที่ถอดหน้ากากออกแล้วสวมเฟซชิลด์แทนก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่ เปรียบเทียบกับผู้ที่ขี่บิ๊กไบค์ด้วยความเร็ว มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ แต่เขาก็สวมหมวกกันน็อกเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุรุนแรง เป็นต้น

 

การสวมเฟซชิลด์ในสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 สิงคโปร์เปิดเมืองระยะที่ 1 ไล่เลี่ยกับการผ่อนปรนระยะที่ 3 ของประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้านเหมือนบ้านเรา แต่ในประกาศยังระบุด้วยว่า มีบางสถานการณ์ที่ไม่อาจสวมหน้ากากได้ จึงอนุญาตให้ประชาชน 3 กลุ่มต่อไปนี้สวมเฟซชิลด์แทน

 

  1. เด็กอายุน้อยกว่า 12 ปีที่มีปัญหาการสวมหรือไม่สามารถสวมหน้ากากเป็นเวลานาน
  2. ผู้มีโรคประจำตัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือปัญหาสุขภาพอื่นจากการสวมหน้ากากเป็นเวลานาน
  3. ผู้สอนในห้องเรียนหรือห้องบรรยาย ซึ่งยืนประจำอยู่จุดเดียวและสามารถเว้นระยะห่างจากผู้อื่น

 

โดยเฟซชิลด์จะต้องมีคุณสมบัติตามที่ผมกล่าวไปในหัวข้อแรก และมีข้อยกเว้นการสวมหน้ากากสำหรับการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ที่มีการเว้นระยะห่างและการดูแลความปลอดภัยตลอดการถ่ายทำ นับว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่ยืดหยุ่นกับมาตรการสวมหน้ากาก 

 

เราจึงต้องติดตามต่อว่ามาตรการนี้จะเป็นผลดี คืออย่างน้อยเด็กก็สามารถสวมอุปกรณ์ป้องกันได้ตลอดและไม่หยิบจับหน้ากากบ่อย (ทั้งนี้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรสวมหน้ากากอยู่แล้ว) หรือเป็นผลเสียทำให้เกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในโรงเรียนกันแน่

 

ภาพที่ 2 คำแนะนำการสวมเฟซชิลด์ในสิงคโปร์ (อ้างอิง: CNA)

 

โดยสรุปในประเทศไทยยังไม่มีคำแนะนำให้สวมเฟซชิลด์ ‘เพียงชิ้นเดียว’ ในการป้องกันโควิด-19 เพราะเชื้อแพร่ผ่านทางละอองขนาดใหญ่ เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ ที่สูดหายใจเข้าไปเป็นหลัก และเฟซชิลด์ก็มีช่องว่างให้ละอองเหล่านี้ผ่านเข้ามาถึงจมูกและปากของเราได้ 

 

การป้องกันตัวที่เหมาะสมคือการสวมหน้ากาก หากไม่ได้สวม เช่น ตอนรับประทานอาหาร ก็ควรพูดให้น้อยที่สุด ร่วมกับการล้างมือบ่อยๆ และการเว้นระยะห่างจากผู้อื่น 1-2 เมตร ทั้งนี้เฟซชิลด์สามารถป้องกันไม่ให้ละอองกระเด็นโดนใบหน้าโดยตรงได้มากกว่า 90% จึงอาจใช้เป็นอุปกรณ์เสริมได้

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

The post เฟซชิลด์ใช้สวมแทนหน้ากากผ้าได้หรือไม่? เปิดเบื้องลึกของไอเท็มใหม่ในยุคโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตรวจความพร้อมห้องประชุมพระสุริยัน เข้มมาตรการกันโควิด-19 ให้ ส.ส. ใส่เฟซชิลด์ในห้องประชุม https://thestandard.co/safety-checkup-inside-suriyan-conference-room/ Fri, 22 May 2020 08:04:06 +0000 https://thestandard.co/?p=365976

วันนี้ (22 พฤษภาคม) ที่รัฐสภา ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แ […]

The post ตรวจความพร้อมห้องประชุมพระสุริยัน เข้มมาตรการกันโควิด-19 ให้ ส.ส. ใส่เฟซชิลด์ในห้องประชุม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (22 พฤษภาคม) ที่รัฐสภา ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคการเมืองทั้ง 26 พรรค รวมทั้งวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้าน ถึงการเตรียมความพร้อมในการเปิดประชุมสภาในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ จากนั้นได้นำคณะทั้งหมดเข้าตรวจความพร้อมของห้องประชุมพระสุริยัน ที่จะใช้ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

ชวนกล่าวว่า วันนี้เป็นการเชิญตัวแทนมาดูห้องประชุมใหม่ เพื่อรับทราบกระบวนการที่จะใช้ในห้องประชุมว่าเป็นอย่างไร ภายใต้การระบาดของโควิด-19 โดยเราต้องจัดที่นั่งในลักษณะพิเศษ ให้ห่างกันกว่าเดิม และพยายามให้ภายในห้องประชุมมีคนไม่มากเกินไป โดยขอความร่วมมือสมาชิกให้มีผู้ติดตามได้ไม่เกิน 2 คน 

 

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ารัฐสภาได้เตรียมการป้องกันอย่างเต็มที่ตามที่แพทย์ได้ให้คำแนะนำมา ซึ่งที่แพทย์ได้ยืนยันมาตรฐานของการป้องกันโควิด-19 เราทำได้ทั้งหมด ขณะที่ในห้องประชุมให้สมาชิกสามารถใส่เฟซชิลด์ได้ โดยระหว่างการอภิปรายสมาชิกสามารถถอดออกได้เพื่อให้การอภิปรายชัดเจน 

 

ขณะที่หากบุคคลใดไม่สวมหน้ากากอนามัย จะไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่รัฐสภาโดยเด็ดขาด และหากตรวจพบว่าบุคคลใดมีไข้ ได้มีการประสานวชิรพยาบาลไว้แล้ว เพื่อเข้ารับการตรวจและรักษาทันที ส่วนระยะเวลาในการใช้พิจารณา พ.ร.ก. กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาทนั้น ชวนกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุยกัน

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

 


 

ห้ามพลาด! ฟอรัมที่เจาะลึก New Normal ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากวิทยากรระดับประเทศ 40 คน ซื้อบัตรงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ที่ https://www.eventpop.me/e/8705-economic-forum

 

The post ตรวจความพร้อมห้องประชุมพระสุริยัน เข้มมาตรการกันโควิด-19 ให้ ส.ส. ใส่เฟซชิลด์ในห้องประชุม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป ไขปมใส่ Face Shield กับเด็กแรกเกิด และคนทั่วไปใส่ได้หรือไม่ https://thestandard.co/can-new-born-baby-wear-face-shield/ Mon, 13 Apr 2020 13:40:51 +0000 https://thestandard.co/?p=353641

The post ชมคลิป ไขปมใส่ Face Shield กับเด็กแรกเกิด และคนทั่วไปใส่ได้หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

The post ชมคลิป ไขปมใส่ Face Shield กับเด็กแรกเกิด และคนทั่วไปใส่ได้หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รพ.พระรามเก้า สาธิตสวม Face Shield ให้เด็กแรกเกิด ย้ำโดยปกติไม่ควรสวมให้เด็ก แต่กรณีที่เป็นข่าวถือเป็นเคสพิเศษ https://thestandard.co/praram-9-hospital-wearing-a-face-shield-for-the-newborn/ Mon, 13 Apr 2020 10:35:40 +0000 https://thestandard.co/?p=353523

วันนี้ (13 เมษายน) พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ ผู้ช่ว […]

The post รพ.พระรามเก้า สาธิตสวม Face Shield ให้เด็กแรกเกิด ย้ำโดยปกติไม่ควรสวมให้เด็ก แต่กรณีที่เป็นข่าวถือเป็นเคสพิเศษ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (13 เมษายน) พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดพื้นที่ให้ THE STANDARD ได้ถ่ายภาพขั้นตอนการสวมหน้ากาก Face Shield ให้กับเด็กแรกเกิด ซึ่งได้รับการสาธิตโดยเจ้าหน้าที่ทีมแพทย์ที่ดูแลเด็กแรกเกิดเฉพาะทางเป็นอย่างดี และได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของเด็กที่ปรากฏในภาพแล้ว

 

โดย พญ.ปิยะรัตน์ อธิบายถึงการสวมหน้ากาก Face Shield ให้กับเด็กแรกเกิดที่เป็นตกเป็นกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่า “กรณีที่มีภาพของเด็กสวมหน้ากาก Face Shield ที่โรงพยาบาลพระรามเก้านั้นเป็นการทำเพื่อเคสหนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากปกติทางโรงพยาบาลไม่ได้มีการสวม Face Shield ให้กับเด็กแรกเกิดทุกราย 

 

“ซึ่งในส่วนของเคสดังกล่าว พบว่าคุณแม่ของเด็กบอกกับทีมพยาบาลว่าไม่มีรถส่วนตัวในการพาเด็กกลับบ้านพัก โดยทีมพยาบาลที่ทราบข้อมูลก็เกิดความเป็นห่วงที่จะมีความเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทาง เพราะคุณแม่และเด็กต้องกลับโดยรถแท็กซี่”

 

สำหรับ Face Shield ดังกล่าวผลิตขึ้นมาจากทีมพยาบาลห้องเด็กอ่อน ผ่านการออกแบบมาสำหรับเด็กแรกเกิดโดยเฉพาะ ซึ่งมีการดัดแปลงมาจากของผู้ใหญ่ ตัวพลาสติกได้รับการหุ้มกรอบเรียบร้อย ส่วนฟองน้ำที่ใช้ก็มีขนาดที่หนามาก ทำให้เว้นระยะห่างระหว่างตัวหน้ากากกับเด็กพอสมควร ซึ่งทีมแพทย์ตรวจดูแล้วพบว่าปลอดภัย พร้อมแนะนำให้คุณแม่ของเด็กสวมใส่เฉพาะตอนที่อยู่ในรถ และถอดออกเมื่อถึงบ้านแล้ว ไม่แนะนำให้ใส่เวลาอยู่ในบ้าน แต่ให้ใส่ในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีเหตุอันควรเท่านั้น

 

“สำหรับหน้ากาก Face Shield ทีมแพทย์ได้ให้คำแนะนำไปตั้งแต่แรกแล้วว่าไม่ได้ให้ใส่ในทุกเคส เพราะปกติไม่ควรสวมใส่ แต่เคสที่เป็นข่าว สำหรับทีมแพทย์ถือว่าเป็นเคสที่พิเศษจริงๆ” พญ.ปิยะรัตน์กล่าว

 

ส่วนประเด็นที่ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทยออกประกาศไม่สนับสนุนให้มีการใส่ Face Shield หรือ Face Mask แก่เด็กแรกเกิด เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารก

 

พญ.ปิยะรัตน์ กล่าวเสริมว่า “ในส่วนของเรื่องหน้ากากผ้าที่อาจทำอันตรายต่อเด็กถือเป็นเรื่องจริง แต่ในกรณีของ Face Shield ถ้าบุคคลทั่วไปทำกันเองอาจจะไม่ทราบเรื่องของการใช้พลาสติกที่ไม่เหมาะสม หรือเรื่องของระยะห่างระหว่างหน้ากากกับหน้าของเด็กที่อาจแคบเกินไปจนเสี่ยงเกิดอันตรายก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งคำแนะนำของชมรมเวชศาสตร์ฯ ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะถ้าไปทำ Face Shield กันเองโดยไม่ใช่แบบที่บุคลากรทางการแพทย์ทำให้ มันมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อเด็กได้” พญ.ปิยะรัตน์กล่าว

 

หมายเหตุ: ภาพถ่ายที่ปรากฏได้รับการอนุญาตจากโรงพยาบาลพระรามเก้าในฐานะเจ้าของสถานที่ ส่วนกรณีเด็กทั้งสองคนที่อยู่ในภาพ ได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองหรือพ่อและแม่เด็กเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 

 

The post รพ.พระรามเก้า สาธิตสวม Face Shield ให้เด็กแรกเกิด ย้ำโดยปกติไม่ควรสวมให้เด็ก แต่กรณีที่เป็นข่าวถือเป็นเคสพิเศษ appeared first on THE STANDARD.

]]>
COVID-19 Fact: การใช้ Face Shield กับทารกแรกเกิดอาจทำอันตรายแก่ระบบประสาท https://thestandard.co/covid-19-fact-face-shield-with-newborns/ Sun, 12 Apr 2020 02:25:35 +0000 https://thestandard.co/?p=353047

จากประเด็นที่มีภาพโรงพยาบาลและผู้ปกครองหลายคนใส่ Face S […]

The post COVID-19 Fact: การใช้ Face Shield กับทารกแรกเกิดอาจทำอันตรายแก่ระบบประสาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากประเด็นที่มีภาพโรงพยาบาลและผู้ปกครองหลายคนใส่ Face Shield หรือ Face Mask ให้แก่ทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทยกลับออกประกาศว่าไม่สนับสนุนให้มีการใส่ Face Shield หรือ Face Mask แก่ทารกแรกเกิด เพราะอาจทำอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้

 

ทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นหลัก (Obligate nasal breather) ยังไม่มีความสามารถหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากหายใจได้เมื่อมีการขาดอากาศหรือออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่างๆ ที่นำมาผลิตเป็น Surgical Mask หรือ Non-surgical Mask หากมีคุณสมบัติ Breathability (แรงต้านต่อการไหลของอากาศเข้าออก) สูงเกินไป อาจทำให้ทารกหายใจได้ไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารก ขณะเดียวกัน วัสดุพลาสติกที่ใช้บังหน้าอาจมีความคมจนบาดใบหน้าหรือดวงตาได้

 

ทางที่ดี หากต้องดูแลเด็กแรกเกิดในช่วงนี้ไม่ว่าจะที่บ้านหรือโรงพยาบาล แนะนำให้ผู้ดูแลอาบน้ำล้างมือให้สะอาดก่อนจับตัวเด็ก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง งดนำเด็กทารกออกจากบ้าน และงดบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมเพื่อความปลอดภัย หากต้องการแสดงความยินดี แนะนำให้วิดีโอคอลออนไลน์แทน

 

 

The post COVID-19 Fact: การใช้ Face Shield กับทารกแรกเกิดอาจทำอันตรายแก่ระบบประสาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมรมเวชศาสตร์ทารกไม่สนับสนุนใส่ Face Shield ให้เด็กแรกเกิด อาจเกิดอันตรายต่อระบบประสาท https://thestandard.co/infant-medicine-club-is-not-agree-with-putting-face-shield-on-infant/ Fri, 10 Apr 2020 05:52:02 +0000 https://thestandard.co/?p=352596

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ออกประกาศไม่สนับส […]

The post ชมรมเวชศาสตร์ทารกไม่สนับสนุนใส่ Face Shield ให้เด็กแรกเกิด อาจเกิดอันตรายต่อระบบประสาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ออกประกาศไม่สนับสนุนให้มีการใส่ Face Shield หรือ Face Mask แก่ทารกแรกเกิด เนื่องจาก

 

  1. ทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นหลัก (Obligate nasal breather) ยังไม่มีความสามารถหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากหายใจได้เมื่อมีการขาดอากาศหรือออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่างๆ ที่นำมาผลิตเป็น Surgical Mask หรือ Non-surgical Mask หากมีคุณสมบัติ Breathability (แรงต้านต่อการไหลของอากาศเข้าออก) สูงเกินไป อาจทำให้ทารกหายใจได้ไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารก

 

  1. วัสดุพลาสติกที่ใช้บังหน้าทารกอาจมีความคมจนบาดใบหน้าหรือดวงตาของทารกได้

 

ทางชมรมฯ จึงไม่สนับสนุนให้มีการใส่ Face Shield หรือ Face Mask แก่ทารกแรกเกิด

 

สำหรับการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ทารกที่ดีที่สุด อ้างอิงจากมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 สู่ทารกแรกเกิดที่สำคัญที่สุดคือการกระจายจากผู้เลี้ยงดูทารก โดยวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ

 

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสทารก และผู้เลี้ยงดูควรใส่หน้ากากอนามัย หากไม่แน่ใจในอาการของตัวเอง
  2. ผู้มีอาการไม่สบาย โดยเฉพาะมีอาการทางระบบหายใจ งดเข้าใกล้ทารก
  3. งดนำทารกแรกเกิดออกจากบ้าน ยกเว้นพาไปฉีดวัคซีนตามกำหนด หรือไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่สบาย
  4. หากจำเป็นต้องพาทารกไปในที่ชุมชน ควรอยู่ห่างจากผู้อื่น 2 เมตรอย่างเคร่งครัด
  5. งดการเยี่ยมทารกจากบุคคลภายนอกทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน และใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงความยินดีแก่ครอบครัวแทน

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ชมรมเวชศาสตร์ทารกไม่สนับสนุนใส่ Face Shield ให้เด็กแรกเกิด อาจเกิดอันตรายต่อระบบประสาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
Apple แจกแบบสาธิตการใช้งาน Face Shield ที่ผลิตเอง ปรับแต่งระดับความกระชับได้ https://thestandard.co/apple-giveaway-face-shield-manual/ Wed, 08 Apr 2020 07:04:32 +0000 https://thestandard.co/?p=351744

หลังจากที่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา Apple และ ทิม คุก ซี […]

The post Apple แจกแบบสาธิตการใช้งาน Face Shield ที่ผลิตเอง ปรับแต่งระดับความกระชับได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากที่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา Apple และ ทิม คุก ซีอีโอบริษัท ได้ประกาศไว้ว่าพวกเขาจะร่วมกันออกแบบและผลิต Face Shield อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าเพื่อส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 จำนวน 1 ล้านชิ้น

 

ล่าสุดเว็บไซต์ของ Apple (https://support.apple.com/) ก็ได้เปิดเผยข้อมูลการใช้งานและการประกอบหน้ากาก Face Shield ที่บริษัทได้ออกแบบแล้ว พร้อมเผยให้เห็นรูปแบบการใช้งานที่สามารถปรับได้ทั้งแบบ Regular Fit เพื่อให้กระชับรับกับใบหน้า หรือแบบ Extra Space เพื่อให้เหลือพื้นที่ว่างระหว่างใบหน้าและแผ่น Face Shield มากขึ้น

 

พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำวิดีโอสาธิตการประกอบ Face Shield เบื้องต้น พร้อมคำแนะนำการดูแลและวิธีทำความสะอาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ป้องกันใบหน้าที่พวกเขาผลิตขึ้นมาเองอีกด้วย โดยในอนาคต Apple ตั้งเป้าจะส่งมอบ Face Shield ให้กับโรงพยาบาลในประเทศอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ให้ได้

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

The post Apple แจกแบบสาธิตการใช้งาน Face Shield ที่ผลิตเอง ปรับแต่งระดับความกระชับได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พร้อมจิตอาสา ส่งมอบ Face Shield (DIY) ให้กับเจ้าหน้าที่ หลังจากร่วมกันผลิตได้กว่า 1 แสนชิ้น https://thestandard.co/buriram-united-covid-19-face-shield-diy/ Tue, 07 Apr 2020 09:44:45 +0000 https://thestandard.co/?p=351378

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จากศึกไทยลีก ซึ่งก่อนหน้า […]

The post บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พร้อมจิตอาสา ส่งมอบ Face Shield (DIY) ให้กับเจ้าหน้าที่ หลังจากร่วมกันผลิตได้กว่า 1 แสนชิ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จากศึกไทยลีก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ระดมกำลังกายจิตอาสาจากหลายภาคส่วน พร้อมด้วย GU12 มาช่วยกันทำ COVID-19 Face Shield (DIY) จำนวน 1 แสนชิ้น

 

ล่าสุดสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ทำการส่งมอบหน้ากาก Face Shield รวม 100,610 ชิ้น ที่จัดทำขึ้นโดยจิตอาสาจากหลายส่วน ทั้งนักฟุตบอล ผู้ฝึกสอน เจ้าหน้าที่ประจำทีม แม่บ้านสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, เจ้าหน้าที่บุรีรัมย์ คาสเซิล, พนักงานโรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, พนักงานโรงแรมโมเดน่า และแฟนฟุตบอล GU12

 

โดย Face Shield (DIY) ที่เริ่มจัดทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม ถึง 6 เมษายน 2563 ได้ส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ อสม. ในจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ดังนี้ หน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาล จำนวน 53,000 ชิ้น, จังหวัดบุรีรัมย์ 10,100 ชิ้น, ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ 5,000 ชิ้น และสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ 85,510 ชิ้น

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พร้อมจิตอาสา ส่งมอบ Face Shield (DIY) ให้กับเจ้าหน้าที่ หลังจากร่วมกันผลิตได้กว่า 1 แสนชิ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘Bauer’ ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาฮอกกี้ชื่อดัง ทำหน้ากาก Face Shield ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมแชร์วิธีการทำ https://thestandard.co/bauer-sports-equipment-brands-making-face-shield-for-hospital-physicians/ Tue, 31 Mar 2020 10:48:56 +0000 https://thestandard.co/?p=348678

Bauer บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ฮอกกี้ชื่อดัง ซึ่งก่อนหน้านี้ […]

The post ‘Bauer’ ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาฮอกกี้ชื่อดัง ทำหน้ากาก Face Shield ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมแชร์วิธีการทำ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Bauer บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ฮอกกี้ชื่อดัง ซึ่งก่อนหน้านี้ผลิตกะบัง (Visors) สำหรับหมวกกันน็อกฮอกกี้ ได้ปรับโรงงานมาผลิตหน้ากาก Face Shield สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพื่อช่วยต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 

 

การแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งก็เช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาอื่นๆ ทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ส่งผลให้การแข่งขันทุกอย่างถูกระงับ ทางฝ่ายผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ของกีฬาได้เริ่มออกมาให้การสนับสนุนอุปกรณ์ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 

 

โดยทาง Bauer ซึ่งก่อนหน้านี้อาจต้องปิดโรงงานเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 แต่ทางวิศวกรของโรงงานได้ร่วมกันระดมสมองผลิตหน้ากาก Face Shield ทางการแพทย์ขึ้นมา ซึ่งหลังจากที่สามารถสร้างต้นแบบขึ้นมาได้ ทางบริษัทเชื่อว่าจะสามารถผลิตออกมาได้ประมาณ 100,000 ชิ้น โดยทางบริษัทตั้งเป้าจะส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก 

 

“ครั้งหนึ่งการป้องกันเคยเป็นสิ่งที่มอบความมั่นใจให้กับนักกีฬาในการทุ่มเทอย่างเต็มที่ เป็นสิ่งที่เราสืบทอดกันมา” Bauer โพสต์ข้อความบน Twitter

 

“ตอนนี้เราอยู่ทีมเดียวกัน เราปรับแผนการผลิตมาทำหน้ากาก Face Shield แทน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์มีความปลอดภัยในการต่อสู้กับโควิด-19 รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย” 

 

นอกจากนี้ทาง Bauer ได้โพสต์ต้นแบบการผลิต และวิธีการผลิตหน้ากาก Face Shield ด้วยความหวังที่จะให้โรงงานอื่นๆ เริ่มต้นหันมาผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือและป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ในวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ 

 

สำหรับผู้ใดที่สนใจดูต้นแบบและวิธีการผลิต หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากลิงก์ https://bauer.a.bigcontent.io/v1/static/Bauer_FaceShield_Spec-Art_r1 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

The post ‘Bauer’ ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาฮอกกี้ชื่อดัง ทำหน้ากาก Face Shield ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมแชร์วิธีการทำ appeared first on THE STANDARD.

]]>