Executive Order – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 05 Feb 2025 01:19:57 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชาวอเมริกันหมดยุคช้อปของถูก? ทรัมป์สั่งยุติกฎ de minimis อีคอมเมิร์ซจีน SHEIN-Temu อ่วม https://thestandard.co/shein-temu-impact/ Wed, 05 Feb 2025 01:19:57 +0000 https://thestandard.co/?p=1038166 shein-temu-impact

แม้กฎหมายบังคับใช้ภาษีในอัตรา 25% กับสินค้าจากเม็กซิโกแ […]

The post ชาวอเมริกันหมดยุคช้อปของถูก? ทรัมป์สั่งยุติกฎ de minimis อีคอมเมิร์ซจีน SHEIN-Temu อ่วม appeared first on THE STANDARD.

]]>
shein-temu-impact

แม้กฎหมายบังคับใช้ภาษีในอัตรา 25% กับสินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดาจะถูกระงับชั่วคราว แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ยังยืนยันจะใช้มาตรการภาษี 10% กับสินค้าจีน โดยอาศัยคำสั่งพิเศษประธานาธิบดี (Executive Order) ซึ่งในรายละเอียดของคำสั่งดังกล่าวมีการพูดถึงข้อกำหนดสำคัญที่มุ่งเป้าไปยังกฏกฎที่เรียกว่า de minimis

 

de minimis เป็นกฎที่กำหนดมูลค่าขั้นต่ำในการนำเข้าสินค้าโดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งในปัจจุบันสหรัฐฯ อนุญาตให้สินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 800 ดอลลาร์สหรัฐเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องจ่ายภาษีนำเข้าหากสั่งสินค้าไม่เกิน 800 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

การมีอยู่ของกฎ de minimis ก็เป็นเหมือนกับช่องโหว่ให้บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ อย่างเช่น SHEIN, Temu รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมาก ได้ใช้ประโยชน์เพื่อจัดส่งสินค้ามูลค่าต่ำไปยังผู้บริโภคชาวอเมริกัน

 

กฎ de minimis ที่ว่านี้มีมาเกือบ 1 ศตวรรษ ตามที่แหล่งอ้างอิงของ Bloomberg Law ระบุ โดยกฎดังกล่าวเริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นในช่วงที่มีการค้าข้ามพรมแดนของอีคอมเมิร์ซ เพราะตั้งแต่ปี 2015 จำนวนแพ็กเกจที่เคยได้รับการยกเว้นภาษีมีอยู่ราว 139 ล้านรายการ แต่ในปี 2024 จำนวนแพ็กเกจประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1.36 พันล้านรายการ หรือประมาณเกือบ 10 เท่าตัว อ้างอิงจากข้อมูลศุลกากรและการป้องกันชายแดนสหรัฐฯ

 

SHEIN และ Temu ใช้กลยุทธ์สินค้าราคาถูกเพื่อแลกกับการรอสินค้านานหน่อย ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มมองว่าการรอสินค้าจากจีนเป็นเรื่องปกติหากการรอจะทำให้ตนได้ราคาที่ประหยัดกว่า ซึ่งกฎ de minimis ก็ถูกใช้เป็นรากฐานสำคัญของโมเดลธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำจากสองบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน

 

อย่างไรก็ดี The Verge รายงานว่า ทรัมป์ต้องการใช้คำสั่งพิเศษประธานาธิบดีเพื่อปิดช่องโหว่นี้ โดยจะทำให้สินค้าที่เดิมไม่เคยต้องเสียภาษีนำเข้ากลายเป็นต้องถูกเก็บภาษีอีก 3 ต่อ

 

  1. จากเงื่อนไขภาษีที่มีอยู่เดิมตามประเภทสินค้านั้นๆ
  2. เงื่อนไขภาษีที่เจาะจงเฉพาะสินค้าจีน ที่ทรัมป์เคยบังคับใช้ในสมัยแรกที่เขาเป็นประธานาธิบดี
  3. ภาษีใหม่กับจีนอีก 10%

 

ตัวอย่างเช่น เสื้อยืดจากจีนจะต้องจ่ายภาษี 10% ใหม่ บวกกับภาษีนำเข้าตามประเภทสินค้า และภาษีเฉพาะสินค้าจากจีนที่ได้รับการบังคับใช้ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกของทรัมป์ ซึ่งการเพิ่มต้นทุนดังกล่าวอาจทำให้ธุรกิจเหล่านี้ไม่สามารถรักษาข้อได้เปรียบเรื่องราคาต่ำสุดที่เป็นจุดเด่นในการแข่งขันได้

 

ความสำเร็จของ SHEIN และ Temu สร้างแรงกดดันให้กับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น Amazon โดยเมื่อปีที่แล้ว Amazon เปิดตัว Amazon Haul ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เลียนแบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของจีน และมีสินค้าราคาถูกหลายรายการ โดย Amazon ก็ใช้ช่องโหว่ของกฎ de minimis เพื่อรักษาต้นทุนให้อยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นว่ากฎดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจประเภทนี้

 

หากทรัมป์สั่งยกเลิกกฎ de minimis จริงสำหรับสินค้าจากจีน ผู้บริโภคในสหรัฐฯ อาจได้เห็นราคาสินค้า เช่น เสื้อผ้า กระเป๋าถือ และของตกแต่งบ้าน เพิ่มสูงขึ้น

 

นักวิเคราะห์เตือนว่า การยกเลิกกฎ de minimis อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย ขณะเดียวกันก็จะทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินเพื่อบังคับใช้เพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ให้เหตุผลการยกเลิกกฎ de minimis ว่าเป็นการป้องกันการลักลอบขนส่งสารเสพติดอย่างโอปิออยด์ โดยอ้างว่าแพ็กเกจขนาดเล็กมักได้รับการตรวจสอบน้อยกว่า แต่ฝั่งผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เห็นด้วยกลับโต้แย้งว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าแพ็กเกจมูลค่าต่ำจะมีความเสี่ยงมากกว่าการขนส่งแพ็กเกจขนาดใหญ่

 

แน่นอนว่าผู้ที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือแพลตฟอร์มอย่าง SHEIN และ Temu ที่ต้องพึ่งพาการควบคุมต้นทุนให้ต่ำที่สุด และหากคำสั่งผู้บริหารของทรัมป์ถูกบังคับใช้ สินค้าราคาถูกเหล่านี้ก็อาจกลายเป็นแค่ความจริงในอดีต

 

อ้างอิง:

The post ชาวอเมริกันหมดยุคช้อปของถูก? ทรัมป์สั่งยุติกฎ de minimis อีคอมเมิร์ซจีน SHEIN-Temu อ่วม appeared first on THE STANDARD.

]]>
คำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คืออะไร มีขีดจำกัดแค่ไหนในการบริหารประเทศ https://thestandard.co/usa-executive-orders/ Sat, 01 Feb 2025 10:56:55 +0000 https://thestandard.co/?p=1037133 usa-executive-orders

หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 […]

The post คำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คืออะไร มีขีดจำกัดแค่ไหนในการบริหารประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
usa-executive-orders

หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 มีการลงนามคำสั่งประธานาธิบดีหลายฉบับเพื่อขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ตั้งแต่วันแรก จนคำว่า ‘คำสั่งประธานาธิบดี’ หรือ Executive Order อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป ว่ามันมีขอบเขตอำนาจมากแค่ไหน

 

คำสั่งของประธานาธิบดี หรือที่เรียกว่าคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Order) นั้นคือคำสั่งที่ออกมาจากทำเนียบขาวโดยตรงเพื่อให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตาม โดยที่ Executive Order นั้นไม่ได้มีสถานะเป็นกฎหมาย (เพราะไม่ได้ออกมาจากสภาคองเกรส) โดยรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกานั้นให้อำนาจ Executive Order กับประธานาธิบดีไว้ โดยคาดหวังว่าประธานาธิบดีจะใช้ Executive Order เพื่อบังคับใช้กฎหมายที่ออกโดยสภา และใช้คำสั่งนี้เติมเต็มช่องว่างในการบริหารงานแผ่นดินในกรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกับกิจการนั้นๆ ที่ออกโดยสภา

 

ประวัติศาสตร์ของ Executive Order

 

ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 18-19 นั้นแทบจะไม่ได้ออกคำสั่งพิเศษฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดนโยบายของประเทศเลย กล่าวคือพวกเขาใช้ Executive Order เพียงเพื่อบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านโดยสภาคองเกรส และใช้เพื่อการบริหารหน่วยงานของรัฐบาลกลางให้ดำเนินไปได้ตามปกติ

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังยุคสงครามกลางเมือง หรือ Civil War ประธานาธิบดีหลายคนก็เริ่มเห็นถึงโอกาสในการนำ Executive Order มาใช้กำหนดนโยบายของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งภายใต้เสียงส่วนมากของสภาคองเกรสที่มีเหนือพรรคตรงข้าม พวกเขามองว่า Executive Order สามารถใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายของทำเนียบขาว โดยที่ไม่ต้องไปผ่านการประนีประนอมกับพรรคตรงข้ามเพื่อผ่านเป็นกฎหมายในสภาคองเกรส ซึ่ง Executive Order ที่ชาวอเมริกันรู้จักมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นคำสั่งเลิกทาสทั่วประเทศของ อับราฮัม ลินคอล์น ที่เขาออกเป็น Executive Order ทันทีที่รัฐบาลกลางฝ่ายเหนือมีชัยเหนือฝ่ายใต้ในสงครามกลางเมือง

 

แต่ในเวลาต่อมาดูเหมือนว่าประธานาธิบดีในช่วงศตวรรษที่ 20 จะเสพติดการใช้อำนาจผ่าน Executive Order มากขึ้นเรื่อยๆ และใช้มันในลักษณะที่ดูเหมือนเป็นการลุแก่อำนาจ จนเกิดเป็นคดีดังที่มีชื่อว่า Youngstown Sheet & Tube Co. v. Sawyer ในปี 1952 ที่เกิดจากการที่ประธานาธิบดี แฮร์รี เอส ทรูแมน พยายามจะใช้คำสั่งฝ่ายบริหารยึดโรงงานเหล็กกล้าจากเอกชนมาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลาง หลังจากที่มีการสไตรก์ของคนงานจนโรงงานดำเนินงานต่อไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อการผลิตยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม (ในภาวะที่ประเทศกำลังอยู่ภายใต้สงครามเกาหลี)

 

อย่างไรก็ดี Executive Order ของทรูแมนครั้งนี้ได้ถูกศาลสูงสุด หรือ Supreme Court ตีตกไป โดยที่ศาลให้เหตุผลว่า การกำหนดนโยบายใหญ่โตขนาดนี้เป็นอำนาจของสภาคองเกรส หากทรูแมนอยากจะยึดโรงงานเหล็กมาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลาง เขาจะต้องขออนุมัติผ่านเป็นกฎหมายจากสภาคองเกรสเสียก่อน ซึ่งคดีนี้ถือเป็นคำเตือนไม่ให้ประธานาธิบดีคนต่อๆ มาใช้ Executive Order อย่างไม่มีขีดจำกัด และเป็นบรรทัดฐานให้คำสั่งของประธานาธิบดีอีกหลายๆ คนถูกตีตกโดยศาลว่าประธานาธิบดีไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งแบนไม่ให้ชาวมุสลิมจากบางประเทศเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาโดยทรัมป์ในสมัยแรก และคำสั่งล้างหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (Student Loan) ของ โจ ไบเดน

 

ข้อจำกัดอื่นๆ

 

การใช้ Executive Order ของประธานาธิบดีนั้นอาจดูเป็นเรื่องง่าย ที่เย้ายวนให้ทำเนียบขาวออกเป็นคำสั่งโดยไม่ต้องไปเสียเวลาผ่านเป็นกฎหมายจากสภาคองเกรส อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากความเสี่ยงที่คำสั่งฝ่ายบริหารจะโดนตีตกโดยศาลแล้ว Executive Order ก็อาจจะนำไปปฏิบัติไม่ได้จริงหากไม่ได้รับความร่วมมือจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการต่างๆ 

 

นอกจากนั้นคำสั่งประธานาธิบดีก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกล้มล้างได้โดยง่ายจากประธานาธิบดีต่างพรรค ยกตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมสนธิสัญญาปารีส หรือ Paris Agreement ที่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ตัดสินใจให้สัตยาบันเข้าร่วมผ่าน Executive Order ในปี 2016 ก่อนที่ทรัมป์ในสมัยแรกจะใช้ Executive Order ถอนตัวในปี 2020 ก่อนที่ไบเดนจะใช้คำสั่งประธานาธิบดีให้สัตยาบันอีกครั้งในปี 2021 และทรัมป์ก็ถอนตัวอีกครั้งในปี 2025

 

ภาพ: Elizabeth Frantz / Reuters

The post คำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คืออะไร มีขีดจำกัดแค่ไหนในการบริหารประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>