ESG Investing – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 17 Jan 2023 05:42:34 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: รู้จัก 6 ดัชนีความยั่งยืน ก่อนลงทุนธีม ESG | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/sustainability-index/ Sat, 27 Aug 2022 03:00:00 +0000 https://thestandard.co/?p=672321 ESG

ธีมการลงทุนอย่างยั่งยืน หรือ ESG Theme เป็นเทรนด์การลงท […]

The post ชมคลิป: รู้จัก 6 ดัชนีความยั่งยืน ก่อนลงทุนธีม ESG | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
ESG

ธีมการลงทุนอย่างยั่งยืน หรือ ESG Theme เป็นเทรนด์การลงทุนที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ THE STANDARD WEALTH ชวนไปทำความรู้จักกับ 6 ดัชนีความยั่งยืนที่เป็นเครื่องมือช่วยนักลงทุนเฟ้นหาหุ้นอย่างยั่งยืน จะมีอะไรบ้างติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post ชมคลิป: รู้จัก 6 ดัชนีความยั่งยืน ก่อนลงทุนธีม ESG | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘การฟอกเขียว’ ฝันร้ายและภัยมืดของนักลงทุนสาย ESG https://thestandard.co/greenwashing/ Tue, 23 Aug 2022 12:20:29 +0000 https://thestandard.co/?p=670932 การฟอกเขียว

หลายคนคงจะคุ้นกับคำว่า การลงทุนแบบ ESG ซึ่งก็คือการลงทุ […]

The post ‘การฟอกเขียว’ ฝันร้ายและภัยมืดของนักลงทุนสาย ESG appeared first on THE STANDARD.

]]>
การฟอกเขียว

หลายคนคงจะคุ้นกับคำว่า การลงทุนแบบ ESG ซึ่งก็คือการลงทุนที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราลงทุนไปนั้น ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจได้นำไปลงทุนโดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านั้นจริงๆ การตั้งคำถามของนักลงทุนและสังคมจึงเกิดขึ้น จนกลายเป็นที่มาของคำว่า ‘การฟอกเขียว’

 

การฟอกเขียว หรือ Greenwashing คือ การทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยการโฆษณาสินค้าหรือองค์กรให้มีภาพลักษณ์ว่ารับผิดชอบต่อสังคม โดยการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น หรือสามารถแปลตรงตัวได้ว่า คือการฟอกตัวเองให้ดูสะอาด โปร่งใส รักโลก ใส่ใจธรรมชาติ ทั้งๆ ที่เรื่องจริงไม่ได้ทำอะไรแบบนั้นเลย เพียงแค่อยากอยู่ในกระแส และอยากขายของได้เท่านั้น

 

โดยจุดเริ่มต้นของ ‘การฟอกเขียว’ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523-2533 คือการที่บริษัทหรือองค์กรเน้นการลงทุนไปกับการตลาด เพื่อปรับภาพลักษณ์ขององค์กรว่ามีนโยบายและแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากแต่เนื้อแท้แล้ว (จากการถูกตรวจสอบและวิพากษ์โดยภาคประชาสังคม) อาจเป็นเพียงคำอวดอ้างมากกว่าที่จะยืนหยัดอยู่บนความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค ที่ส่วนหนึ่งตั้งใจปรับพฤติกรรมหันมาใช้และสนับสนุนสินค้าและบริการที่ตระหนักถึงความยั่งยืนอย่างแท้จริง 

 

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ผู้คนเริ่มกังวลถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้สายตาทั้งหลายจับจ้องไปที่บริษัทที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารของหลายๆ บริษัทจึงจำเป็นต้องเลือกระหว่างการเปลี่ยนแปลงวิถีธุรกิจอย่างจริงจัง หรือจ่ายเงินทำประชาสัมพันธ์ใหม่ แต่หลายบริษัทกลับหันไปทางเลือกทางหลัง ยกตัวอย่างเช่น บางบริษัทผู้ผลิตที่กล่าวอ้างว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกของตนสามารถรีไซเคิลได้ แต่ไม่ได้บอกว่ารีไซเคิลไม่ได้ทั้งหมด หรือบางบริษัทอ้างแม้กระทั่งบอกว่าย่อยสลายได้ แต่ที่จริงแล้วกลายเป็นแค่คำโฆษณาที่ทำให้สินค้าของตัวเองดูรักโลกขึ้น เพื่อเจาะกลุ่มคนรักษ์โลกและกอบโกยกำไรเพียงเท่านั้น โดยไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่ว่า ผู้บริโภคอาจจะถอดใจจากการสนับสนุนความยั่งยืนไปเสียก่อน เพราะเกิดความไม่เชื่อใจกับการฟอกเขียวของภาคธุรกิจ จนกลับไปเลือกทางเลือกธุรกิจที่ทำแบบเดิมๆ เหมือนที่เคยเป็นมา (Business as Usual) เพราะไม่มีความแตกต่างกัน จุดนี้ยิ่งเป็นอันตรายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และบ่อนทำลายแก่นแท้ของ ESG 

 

นอกจากนี้ ในส่วนของกระแสการลงทุนอย่างยั่งยืนที่มีการเติบโตที่รวดเร็ว ทำให้มี Sustainable Funds เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ก็อาจเกิดความไม่มั่นใจของนักลงทุนว่า กองทุนเหล่านั้นช่วยส่งเสริมเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมได้จริงหรือไม่ ภาวะฟอกเขียวหรือ Greenwashing อาจเกิดขึ้นได้หากเงินลงทุนเหล่านั้นไม่ได้ไปช่วยให้เกิดการลงทุนอย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างแท้จริง

 

นักลงทุนจึงควรหมั่นศึกษาข้อมูลการลงทุน โดยทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และแนวทางการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ลงทุนและนโยบายการลงทุนของกองทุน นอกจากนี้ หน่วยงานต่างๆ ก็เริ่มเข้ามากำกับดูแลด้านนี้มากขึ้นเพื่อไม่ให้ผู้ลงทุนต้องเผชิญกับ Greenwashing โดยกำหนดให้กองทุนต่างๆ มีการเปิดเผยข้อมูลทางด้าน ESG ให้เป็นสาธารณะอย่างชัดเจนและตรวจสอบได้

 

นอกจาก Greenwashing ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมแล้ว ในด้านของสังคมเองนั้นก็มีการคำนึงถึงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการรณรงค์สิทธิสตรีและสิทธิของชุมชนความหลากหลายทางเพศ หรือที่เราคุ้นหูว่ากลุ่ม LGBTQIA+ มักจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘Pinkwashing’ หรือ ‘การฟอกชมพู’ ซึ่งมักเป็นการใช้คำพูดหรือโฆษณาใดๆ ให้ดูภาพลักษณ์ดี โดยสื่อว่าองค์กรหรือกิจการเหล่านั้นส่งเสริมสิทธิทางเพศ พร้อมกับสร้างกระแสของตลาดสินค้าและบริการประเภทต่างๆ ว่าเปิดรับคนทุกเพศหรือเป็นมิตรต่อคนทุกเพศ แต่ในทางกลับกัน หลักการในการส่งเสริมสิทธิสตรีและ LGBTQIA+ กลับไม่ถูกนำไปผลักดันผ่านทางกฎหมายภายในประเทศ รวมทั้งนโยบายและการปฏิบัติภายในองค์กรหรือที่ทำงานอย่างที่ควรจะเป็น 

 

อย่างไรก็ตาม การฟอกความยั่งยืนไม่ได้จบเพียงแค่เรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคมเท่านั้น ยังมีการฟอกที่แยบยลกว่านั้น นั่นก็คือ ‘Bluewashing’ หรือ ‘การฟอกน้ำเงิน’ ซึ่งเป็นการกระทำของธุรกิจที่อาศัยการเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับองค์การสหประชาชาติ (UN) ผ่านทาง UN Global Compact โดยสนับสนุนหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงจากภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ และภาครัฐ เพื่อทำให้เห็นภาพลักษณ์ถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมขบวนเพื่อเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน โดยที่แนวปฏิบัติอาจไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แม้จะประทับโลโก้ความเป็นหุ้นส่วนกับ UN ก็ตาม

 

ดังนั้น หน้าที่ของผู้บริโภคอย่างเราคือควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนลงทุนหรือใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อจะได้ไม่สร้างผลกระทบต่อโลกเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว และหนึ่งสิ่งที่เราทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ ที่จะช่วยปลดเปลื้องการฟอกเขียว ก็คือการกล่าวถึงการฟอกเขียวของบริษัทที่หมกเม็ดเหล่านั้นให้เป็นวงกว้าง เพราะยิ่งมีคนขยี้มากเท่าไร การฟอกเขียวก็จะยิ่งลอกมากเท่านั้น  

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post ‘การฟอกเขียว’ ฝันร้ายและภัยมืดของนักลงทุนสาย ESG appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำความรู้จัก 6 ดัชนียั่งยืนที่สำคัญก่อนเริ่มต้นทุนในธีม ESG https://thestandard.co/esg-investing-index/ Wed, 10 Aug 2022 13:30:33 +0000 https://thestandard.co/?p=665721 การลงทุนอย่างยั่งยืน ESG

ธีมการลงทุนอย่างยั่งยืน หรือ ESG Theme เป็นเทรนด์การลงท […]

The post ทำความรู้จัก 6 ดัชนียั่งยืนที่สำคัญก่อนเริ่มต้นทุนในธีม ESG appeared first on THE STANDARD.

]]>
การลงทุนอย่างยั่งยืน ESG

ธีมการลงทุนอย่างยั่งยืน หรือ ESG Theme เป็นเทรนด์การลงทุนที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ โดยส่วนมากแล้วจะพิจารณาการลงทุนจาก 

 

  1. ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental)
  2. สังคม (Social)
  3. บรรษัทภิบาล (Governance) หรือ ESG ของธุรกิจ 

 

เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจลงทุนและการประเมินมูลค่าธุรกิจ

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากมอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2565 ‘การลงทุนอย่างยั่งยืน’ ให้ผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดย Morningstar Global Markets Sustainability Index มีผลตอบแทนสะสมตั้งแต่ต้นปี -21.1% เทียบกับ Morningstar Global Markets Large-Mid Index -20.1%

 

สาเหตุที่ Sustainability Index มีผลตอบแทนที่แย่กว่าเล็กน้อยนั้นมีเหตุผลจากมีส่วนของการลงทุนในหุ้นเติบโตมากกว่า และส่วนของหุ้น Value ที่น้อยกว่า Global Markets Index นั่นเอง  

 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างยั่งยืนในรอบ 5 ปี พบว่า Morningstar Global Markets Sustainability Index มีผลตอบแทนที่ 7.7% สูงกว่าการลงทุนแบบ Morningstar Global Markets Large-Mid Index ที่ 7.4%

 

ตัวเลขผลตอบแทนนี้สะท้อนถึงประโยชน์ของการลงทุนยั่งยืน ที่นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยง ESG แล้ว ยังสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงหรือดีกว่าการลงทุนโดยทั่วไปได้

 

นอกจาก Morningstar Global Markets Sustainability Index แล้ว ยังมีดัชนีความยั่งยืนอีกหลายดัชนีที่จะสามารถเป็นเครื่องมือช่วยนักลงทุนเฟ้นหาหุ้นอย่างยั่งยืนอีกหลายดัชนี ซึ่ง THE STANDARD WEALTH รวบรวมมาไว้ให้ดังนี้ 

 

1. SETTHSI 

จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG ซึ่งจะช่วยยกระดับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว ทำให้ธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตและสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุน

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจัดให้มีการประเมินบริษัทจดทะเบียน เพื่อคัดเลือกรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (หรือ Thailand Sustainability Investment) และจัดทำ ‘ดัชนี SETTHSI’ เพื่อเป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาของหุ้นยั่งยืน THSI ที่มีขนาดและสภาพคล่องตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยสอดคล้องกับทิศทางของ Raters และ Index Providers ชั้นนำทั่วโลกที่มีการประเมินและคัดเลือกหุ้นเด่นด้าน ESG รวมถึงพัฒนาดัชนีด้าน ESG เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจสำหรับนักลงทุน

 

2. ESG Index

จัดทำโดยสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ และเป็นผู้จัดทำข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) 100 อันดับ หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ซึ่งเริ่มจัดทำมาตั้งแต่ปี 2558 

 

และล่าสุด​​สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้พัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย และเป็นผู้จัดทำข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ได้จัดทำรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging ปี 2565 ออกมาแล้วเป็นที่เรียบร้อย ด้วยการคัดเลือกจาก 851 บริษัท / กองทุน / ทรัสต์เพื่อการลงทุน ประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 15,760 ชุดข้อมูล

 

3. Morningstar Global Markets Sustainability Index

จัดทำโดย Morningstar เนื่องจากเห็นความสำคัญของการลงทุนแบบยั่งยืน และมองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจลงทุน รวมถึงเห็นถึงสถานการณ์ในโลกการลงทุนยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ นั้นมีให้เลือกใช้มากมาย แต่สิ่งที่คนในอุตสาหกรรม นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องการมากที่สุดนั้นคือความน่าเชื่อและความเป็นกลางของผู้จัดทำข้อมูล 

 

4. Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)

จัดทำโดย RobecoSAM ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน ร่วมกับ S&P DowJones โดย DJSI เป็นดัชนีที่คัดเลือก ‘หุ้นยั่งยืนระดับโลก’ คือต้องเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีความโดดเด่นในการทำธุรกิจ และคำนึงถึงประเด็นเรื่องความยั่งยืนเป็นหลัก

 

ดัชนี DJSI ที่บริษัทจดทะเบียนไทยจะได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมการคำนวณ ประกอบด้วยกัน 2 ดัชนี ได้แก่

 

  1. ดัชนีหลักทั่วโลก หรือ DJSI World ซึ่งคัดเลือกจากบริษัทขนาดใหญ่กว่า 2,500 แห่งจากทั่วโลกที่อยู่ในดัชนี S&P Global BMI
  2. ดัชนีแยกตามภูมิภาค คือ DJSI Emerging Markets (EM) ซึ่งคัดเลือกจากบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่

 

ดัชนี DJSI เป็นดัชนีด้านความยั่งยืนที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะ 

 

  1. เป็นดัชนีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบัน มักจะให้ความสนใจกับหุ้นที่ถูกเลือกเข้าดัชนี DJSI เนื่องจากถูกคัดกรองเบื้องต้นแล้วว่าเป็นบริษัทที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
  2. สร้างโอกาสการลงทุนด้วยหุ้นยั่งยืน บริษัทที่อยู่ใน DJSI ต้องมีคะแนนประเมิน ESG ครบทุกด้าน ซึ่งเรื่องแนวคิดเรื่องความยั่งยืนเป็นทางเลือกการลงทุนที่ถูกให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเทรนด์การลงทุนในระยะยาวที่กำลังเติบโต
  3. ผลตอบแทนรวมสะสมย้อนหลังอยู่ในระดับที่ดี จากการทดลองสร้างพอร์ตลงทุนของฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการเลือกบริษัทจดทะเบียนไทยที่อยู่ในดัชนี DJSI EM และปรับพอร์ตตามการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของดัชนีรายปี (Annual Rebalancing)

 

5. MSCI ESG Index

จัดทำโดย MSCI โดยดัชนีที่บริษัทไทยเป็นสมาชิก มีชื่อว่า MSCI AC ASEAN ESG Leaders และ MSCI AC ASEAN ESG Universal

 

6. FTSE4Good Index

จัดทำโดย FTSE Russell โดยดัชนีที่บริษัทไทยเป็นสมาชิกมีชื่อว่า FTSE4Good ASEAN 5 Index และ FTSE4Good Emerging Indexes

 

ทั้งนี้ ดัชนีลำดับที่ 4-6 นั้น ผู้จัดทำดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (Index Provider) ล้วนเป็นผู้จัดทำชั้นนำที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกนำมาใช้เป็นข้อมูลในการลงทุน

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post ทำความรู้จัก 6 ดัชนียั่งยืนที่สำคัญก่อนเริ่มต้นทุนในธีม ESG appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจาะเทรนด์การลงทุนอย่างยั่งยืนผ่าน ESG Stock https://thestandard.co/sustainable-investment-with-esg-stock/ Sun, 10 Apr 2022 12:50:40 +0000 https://thestandard.co/?p=616321 ESG

จากการตื่นตัวของสังคมโลกที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางส […]

The post เจาะเทรนด์การลงทุนอย่างยั่งยืนผ่าน ESG Stock appeared first on THE STANDARD.

]]>
ESG

จากการตื่นตัวของสังคมโลกที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศมากขึ้น จนเริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจ ทำให้แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) กำลังก้าวเข้ามาเป็น ‘เมกะเทรนด์’ โดยในปีที่ผ่านมา เห็นได้จากการจัดประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP) ครั้งที่ 26 ที่มีเป้าหมายหลักให้ประเทศต่างๆ ต้องมีแผนระยะยาวร่วมกันในการลดการปล่อยมลพิษภายในปี 2030 และคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050

 

ขณะที่ภาคธุรกิจและการลงทุน ประเด็น ESG เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะหลังวิกฤต โควิด ผู้กำหนดนโยบาย รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องทบทวนหาทางออกให้ธุรกิจผ่านผลกระทบโดยตรงจากโควิดและการดิสรัปชันให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว เช่นเดียวกับมุมมองของนักลงทุนที่เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน โดยผลการศึกษาจาก Global Impact Investing Network (GIIN) ในปี 2020 สำรวจมุมมองนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของโลก 300 ราย พบว่าส่วนใหญ่ 68% ระบุว่าได้นำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนในการพิจารณาประกอบกับการตัดสินใจลงทุน 

 

โดยมีสาเหตุหลักมาจากแรงผลักดันของกระแสสังคมโลก และการพยายามลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น ขณะที่ผลการศึกษาของ Royal Bank of Canada ที่ทำการสำรวจความคิดเห็นของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ (45% ของกลุ่มตัวอย่างมีสินทรัพย์สูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) พบว่ามีมุมมองเชิงบวก และแนวโน้มส่วนใหญ่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น (ปี 2020 เทียบกับปี 2018-2019) จากการลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG 

 

ก้าวสู่การลงทุน ESG 

แม้การวิเคราะห์ปัจจัยด้าน ESG ส่วนหนึ่งจะเป็นนามธรรม แต่ก็มีหลายปัจจัยที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ด้านการเงินและธุรกิจได้ ดังนี้

  1. ต้นทุนทางการเงิน: บริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG จะมีโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Funding) มากกว่าบริษัทที่ไม่ให้ความสำคัญกับ ESG เช่น การเข้าถึงเงินกู้สีเขียว (Green Loan) เนื่องจากการให้ความสำคัญของสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ และผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก ส่งผลให้บริษัทมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และหากนำไปใช้ในการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมด้วยการใช้วิธีคิดลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow: DCF) สมมติฐาน อัตราคิดลดจะถูกปรับให้ต่ำลง (ส่งผลให้มูลค่าหุ้นสูงขึ้น)

 

  1. การประเมินมูลค่าด้าน ESG ให้เป็นตัวเลข หรือ กระแสเงินสดในอนาคต: ในการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ เราอาจจะเปลี่ยนตัวแปรเชิงคุณภาพด้าน ESG ให้เป็นตัวเลขกระแสเงินสดโดยตรง ถือว่าเป็นอีกวิธีที่ตรงไปตรงมา บนสมมติฐานที่ว่า บริษัทที่มี ESG จะมีความเสี่ยงต่ำ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีธรรมาภิบาลย่อมมีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องต่ำกว่าบริษัทที่ไม่มีธรรมาภิบาล อย่างไรก็ตามการกำหนดดัชนีชี้วัด หรือคะแนนด้าน ESG (ESG Scoring) สามารถทำได้หลายวิธี และยังคงมีข้อโต้เถียง รวมทั้งยังไม่มีงานวิจัยทางวิชาการใดที่มีบทสรุปและแนวทางการนำไปใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันอย่างชัดเจน

 

นับจากนี้ไปเราคงเห็นถึงทิศทางและแนวโน้มในระยะยาวต่อกระแสการให้ความสนใจเกี่ยวกับ ESG ที่เร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน อีกทั้งในอนาคตอาจมีความเป็นไปได้ที่จะถูกบังคับใช้เป็นบรรทัดฐานในสังคมทั้งการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นการลงทุนที่เกาะไปกับกระแสหลักของโลกดังกล่าวจึงคงจะไม่เกินไปนักที่จะกล่าวได้ว่าเป็น ‘การลงทุนอย่างยั่งยืน’

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post เจาะเทรนด์การลงทุนอย่างยั่งยืนผ่าน ESG Stock appeared first on THE STANDARD.

]]>
ESG Investing บทบาทของนักลงทุนสไตล์ Responsible Investor https://thestandard.co/esg-investing-responsible-investor/ Fri, 12 Nov 2021 11:00:55 +0000 https://thestandard.co/?p=559065 ESG Investing

ซีรีส์… แนวโน้มการลงทุน Responsible Investment (6 […]

The post ESG Investing บทบาทของนักลงทุนสไตล์ Responsible Investor appeared first on THE STANDARD.

]]>
ESG Investing

ซีรีส์… แนวโน้มการลงทุน Responsible Investment (6)

 

การลงทุนแบบที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Investment) ที่กลายเป็นกระแสมาแรงทุกวันนี้ก็เพราะนักลงทุนเริ่มมีความตระหนักว่าโลกของเรากำลังเสื่อมโทรม ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจควรมีส่วนรับผิดชอบด้วย โดยไม่ควรมุ่งแต่แสวงหากำไรสูงสุดเพื่อตอบสนองผู้ถือหุ้นเท่านั้น และนักลงทุนในแนวนี้ก็มีมากเพิ่มขึ้นทุกวัน พลังของนักลงทุนที่เป็น Responsible Investor อาจจะค้นหุ้นด้วยตนเองหรือผ่านกองทุนรวมต่างๆ ในการเลือกลงทุนในบริษัทที่ดูแลสิ่งแวดล้อม (E) สังคม (S) และตอนนี้เป็นต้นไป จะนำเสนอแนวคิดและวิธีการที่เรียกว่า ESG Investing ซึ่งสรุปได้จาก ESG Investing for Dummies โดย Brenden Bradly (2021)

 

1. ที่มาและความสำคัญ

คำว่า ESG นี้คาดว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในโลกการเงินการลงทุนในปี 2005 เมื่อ United Nation ออก Global Compact Report ที่ระบุว่า ในการลงทุนในตลาดทุนควรพิจารณาจาก ESG Factors ของบริษัทต่างๆ เข้าไปด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจ หลังจากนั้นในวงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็เริ่มตื่นตัวกับคำว่า ESG นี้ ในปี 2006 มีการจัดตั้งเครือข่ายนักลงทุนที่ออกหลักการ Principle for Responsible Investment (PRI) โดยมีผู้จัดการกองทุนเข้าร่วมในตอนเริ่มต้นเพียง 63 ราย บริหารสินทรัพย์มูลค่า 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และโตมาเป็นผู้จัดการกองทุนเข้าร่วม 3,000 คน และมูลค่าสินทรัพย์ที่บริหารสูงเป็น 103 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นเพียงเวลาไม่กี่ปี มีการคิดค้นหลักการเทคนิคในการบริหาร ESG Portfolios กันอย่างมากมาย จนในปัจจุบัน ESG Investing ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า A Niche Investment อีกต่อไปแล้ว

 

ยิ่งในยุคการระบาดของโควิดนี้ หุ้นของบริษัทที่บริหารโดยคำนึงถึงความเสี่ยงด้าน ESG จะสามารถต่อสู้กับความผันผวนนี้ได้อย่างแข็งแรง ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกก็กำลังตามล่าหาหุ้นแบบนี้ที่อาจจะมีกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ในยุคต่อไป ธุรกิจก็ยังเผชิญกับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น Climate Change, Biodiversity, Social Diversity, Technology Disruption เป็นต้น บริษัทที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนจึงต้องเป็นบริษัทที่มีการปรับตัวได้ดี การที่จะรู้ว่าใครปรับตัวได้ดีจึงต้องสามารถวัดผลที่เกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งมิติผลการดำเนินงาน (Output) และผลลัพธ์ทางสังคม (Outcomes) รวมทั้งนำไปเปิดเผย (Disclose) ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลที่เปิดเผยนี้จะต้องออกจากกรอบเพียงการส่งรายงานงบการเงินเท่านั้น แต่ข้อมูลเชิง Descriptive ในยุคต่อไปจะมีความต้องการทราบข้อมูล ESG Development กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น

 

2. ความหมายของ ESG

ESG กลายเป็นคำสากลที่ใช้เรียกการลงทุนแบบ Social Responsible Investment โดยในมิติของบริษัทหรือธุรกิจเป็นการดูว่าบริษัทได้บริหารความเสี่ยงชนิดใหม่เวลาทำธุรกิจหรือไม่ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้บางทีเรียกว่า ESG Risk ส่วนในมิตินักลงทุนก็นำ ESG ไปใช้เป็นกลยุทธ์การลงทุนชนิดหนึ่ง ESG อาจเกิดจากการผสมผสานของคำ 2 คำ คือ Corporate Sustainability และ Corporate Social Responsivity (CSR)

 

  • Corporate Sustainability หรือความยั่งยืนของธุรกิจ ซึ่งสะท้อนไปยังการสร้างมูลค่าระยะยาวให้สูงขึ้นโดยแสวงหาโอกาส และบริหารความเสี่ยงให้นำไปสู่การพัฒนา Economic, Environmental, Social ให้เกิดประโยชน์ที่กลมกล่อมแก่บริษัท บริษัทที่ทำได้ดีในความหมายนี้คือเป็นบริษัทที่ ‘Doing Good’
  • Corporate Social Responsivity (CSR) เป็นแนวคิดการบริหารธุรกิจที่ใส่ใจกับผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ทั้งใกล้และไกล โดยพยายามให้กิจกรรมทางธุรกิจโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ส่งผลกระทบทางลบต่อบริษัท และก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมที่ดีให้เกิดขึ้น

 

ในมิติการลงทุน นักลงทุนก็จะแสวงหา คัดเลือกบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยมีทาง Financial Performance ที่ดี และ ESG Performance ที่ดีไปด้วยพร้อมกัน โดยอาจพยายามหาหุ้นที่เป็น ‘Best-in-Class’ จาก ESG Scores ที่ได้คิดค้นพัฒนาขึ้น นักลงทุนที่เคร่งครัดมากอาจกำหนดนโยบายที่ชัดเจนว่าไม่มีนโยบายการลงทุนใน ‘Sin Stocks’ เช่น หุ้นของบริษัทยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งในบทวิจัยของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ในอนาคตจะต้องมีส่วนขยาย ESG Analysis ในบทวิจัยเพิ่มเติมให้กับนักลงทุนที่จะมีความต้องการข้อมูลเหล่านี้เพิ่มขึ้น การเขียนรายงานวิเคราะห์ก็จะต้องมีส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ESG ที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งในการแยกวิเคราะห์ทีละส่วนของ E, S, G, และการสรุปรวม

 

ในการสร้าง ESG Portfolio อาจสรุปได้ว่า Fund Managers จะพิจารณาอย่างน้อย 3 มิติ ดังต่อไปนี้

 

  1. Industry Sector โดยพยายามค้นหาว่าอะไรเป็น ESG Risks หรือ ESG Opportunities ที่สำคัญที่สุดของ Sector นั้น
  2. ESG Strategies คือดูว่า Data ของบริษัทเหมาะสมว่าเราควรใช้ ESG Execution Strategy อะไร จึงเป็นประโยชน์ต่อการลงทุน
  3. Material Indicators ค้นหาว่าอะไรเป็น Material ESG Components ที่กระทบต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทนั้น

 

กรณีของ Industry Sector อาจศึกษาจาก The Sustainability Accounting Standard Boards (SASB) ซึ่งมี Materiality Map แยกออกรายอุตสาหกรรม ได้แก่

 

  • Healthcare
  • Services
  • Financials
  • Resource Transformation
  • Technology and Communications
  • Consumption
  • Non-Renewable Resources
  • Renewable Resources and Alternatives Energy
  • Transportation
  • Infrastructure

 

สำหรับ ESG Strategies อาจสรุปได้ว่ามี 9 กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้

 

  1. Screening คือเลือกรวมหรือตัดหุ้นที่มีปัจจัย ESG ที่เราชอบออกจาก Portfolio
  2. Best-in-Class คัดเลือกหุ้นที่มี ESG Scores ค่าสูง
  3. Stock Rating คัดเลือกหุ้นผ่านระบบ ESG Performance Rating System
  4. Value Integration คือนำ ESG Issues ต่างๆ เข้าสู่แบบจำลอง Stock Valuation
  5. Thematic คือเลือกสร้าง ESG Portfolio บน Theme เฉพาะ เช่น พลังงานสะอาด
  6. Engagement คือเลือกรักษาหุ้นใน ESG Portfolio ที่มีต่อ Ongoing Performance
  7. Alignment คือสนใจหุ้นที่มี Social or Environment Goals
  8. Activism คือสนใจหุ้นที่กลุ่ม ESG Activists ระบุว่ามี Performance ดี ในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม
  9. Systematic คือหาหุ้น ESG โดยใช้ Quantitative Model

 

สำหรับกรณีของ Material Indicators ของรายบริษัทที่เป็น ESG Stocks อาจพิจารณาจากประเด็นต่างๆ เหล่านี้

 

  1. Environment โดยดูจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการดูแลผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. Social Capital โดยดูจากการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ความสัมพันธ์กับแรงงาน ชุมชน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
  3. Human Capital โดยพิจารณาในด้านการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อแรงงาน เป็นต้น
  4. Business Model and Innovation ดูจากวัฏจักรของสินค้าและบริการที่จะทำให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้ รวมทั้งการพัฒนา Packaging ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  5. Leadership and Governance โดยดูจากการบริหารห่วงโซ่อุปทานว่าได้ดูแลคู่ค้าและผู้เกี่ยวข้องจากต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ดีเพียงใด รวมทั้งการดูแลความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

The post ESG Investing บทบาทของนักลงทุนสไตล์ Responsible Investor appeared first on THE STANDARD.

]]>