Emmanuel Cau – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 16 Feb 2023 00:35:21 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ตลาดหุ้นปั่นป่วนหนัก! Barclays มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจกลายเป็น ‘No Landing’ เมื่อเงินเฟ้อยังคงสูง และเศรษฐกิจยังโตต่อ https://thestandard.co/us-stock-market-turbulence/ Wed, 15 Feb 2023 10:45:12 +0000 https://thestandard.co/?p=751008

นับเป็นแรงกดดันครั้งใหม่ของ Fed ที่ต้องเพิ่มความเข้มข้น […]

The post ตลาดหุ้นปั่นป่วนหนัก! Barclays มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจกลายเป็น ‘No Landing’ เมื่อเงินเฟ้อยังคงสูง และเศรษฐกิจยังโตต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>

นับเป็นแรงกดดันครั้งใหม่ของ Fed ที่ต้องเพิ่มความเข้มข้นในการต่อสู้เงินเฟ้อท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังคงยืดหยุ่น และกำลังบังคับให้นักลงทุนใน Wall Street ต้องคิดทบทวนแนวทางการซื้อขายหุ้นใหม่

 

หลังจากสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคที่สะท้อนเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าวิตก และทำให้นักลงทุนตราสารหนี้คาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ยจะขยับสูงกว่า 5% และคงที่ต่อไป ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยมีการเดิมพันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้ภายในปีนี้ แตกต่างจากมุมมองเดิมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเชื่อว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยช่วงปลายปีนี้

 

ภาพรวมในตลาดหุ้นยังคงมัวหมอง นักลงทุนกำลังตัดสินใจจากสองปัจจัยหลัก ระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น กับเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วพอที่จะสร้างงานใหม่กว่าครึ่งล้านตำแหน่งในเดือนที่แล้ว ความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาจากการที่นักลงทุนต้องพิจารณาเงินเฟ้อที่ยังคงสูง แต่เมื่อเทียบกับข้อมูลเศรษฐกิจและผลประกอบการล่าสุดแทบไม่มีสัญญาณของการชะลอตัวอย่างรุนแรง 

 

Emmanuel Cau นักยุทธศาสตร์จาก Barclays คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจจะยังคงอยู่ ในขณะเดียวกันธนาคารกลางก็มีแนวโน้มที่จะผลักดันนโยบายที่เข้มงวดต่อไป ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า ‘No Landing’ โดย Barclays ได้เพิ่มการคาดการณ์การเติบโต และอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

 

การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมาต้องหยุดชะงักลงในเดือนนี้ แม้ว่าดัชนี S&P 500 จะลดลงน้อยกว่า 2% แต่ก็ยากที่จะบอกว่าตลาดคลี่คลายแล้ว นักวิเคราะห์ต่างแนะนำว่าในตอนนี้นักลงทุนอาจทำกำไรเพิ่มเติมได้ยากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าอาจจะยากที่จะเกิดการเทขายครั้งใหญ่ 

 

ด้าน Morgan Stanley ประมาณการณ์ว่าเส้นทางนโยบายการเงินจะเข้มงวดมากขึ้น จึงเปลี่ยนสถานะเป็นกลางต่อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากเดิมที่ให้น้ำหนักมากกว่าตลาด (Overweight) และคาดว่านักลงทุนจะปรับลดสถานะชอร์ตดอลลาร์ โดยถอยห่างจากแนวคิดจุดเปลี่ยนนโยบายที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

ช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงควบคู่กับการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่งนั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสหรัฐฯ การไต่ขึ้นของผลตอบแทนดัชนี S&P 500 ในช่วงครึ่งหลังของปี 1990 จบลงจากการที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา และในช่วงปลายทศวรรษที่ผ่านมา ความพยายามในการปรับนโยบายให้เป็นมาตรฐาน ในที่สุดก็ทำให้ราคาหุ้นร่วงลงในไตรมาสสุดท้ายของปี 2018 แต่รายได้ในบรรดาบริษัทยังเพิ่มสูงขึ้นตลอดการบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ 

 

Fed ใช้ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเพื่อเป็นสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องขึ้นสู่ในระดับที่แน่ใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงลดลงต่อไป มุมมองดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นแย่ลงเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี และกระตุ้นให้เกิดคำเตือนครั้งใหม่ทั่วทั้ง Wall Street ว่าการฟื้นตัวของตราสารทุนอาจต้องจบลงเพียงเท่านี้

 

ความกังวลต่อ Recession อาจถูกแทนที่ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ยังร้อนแรง?

ถึงกระนั้น แม้ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเริ่มผ่อนคลายลง จากแบบสำรวจผู้จัดการกองทุนล่าสุดของ Bank of America เผยว่า นักลงทุนมีมุมมองลบต่อเศรษฐกิจน้อยลงจากไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีเพียง 24% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่คาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เทียบกับ 77% ในเดือนพฤศจิกายน และจำนวนนักลงทุนที่คาดว่าอาจมีการลดอัตราดอกเบี้ยในอีก 12 เดือนข้างหน้านั้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2020 

 

อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจชี้ว่าความเสี่ยงท้ายสุดยังคงเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจนกินเวลานาน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอย ซึ่งหมายความว่า Fed จะมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลง

 

ทีมงานเศรษฐกิจมหภาคของ Barclays ระบุในรายงานว่า การกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งของจีน ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปที่ลดลง และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ ได้ลดโอกาสของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะเวลาอันใกล้นี้ สิ่งเหล่านี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับคงที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามอาจเป็นการปูทางสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจาก Fed 


บทความที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง: 

The post ตลาดหุ้นปั่นป่วนหนัก! Barclays มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจกลายเป็น ‘No Landing’ เมื่อเงินเฟ้อยังคงสูง และเศรษฐกิจยังโตต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญการไหลออกรายสัปดาห์มากสุดเป็นประวัติการณ์! Barclays เตือนนักลงทุนตั้งรับตลาดหุ้น Bumpy ช่วงเริ่มปีใหม่ https://thestandard.co/stock-markets-most-weekly-outflows/ Sat, 24 Dec 2022 05:27:33 +0000 https://thestandard.co/?p=728098

นักลงทุนเทขายหุ้นมากสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่ผ […]

The post ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญการไหลออกรายสัปดาห์มากสุดเป็นประวัติการณ์! Barclays เตือนนักลงทุนตั้งรับตลาดหุ้น Bumpy ช่วงเริ่มปีใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

นักลงทุนเทขายหุ้นมากสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หลังธนาคารกลางรายใหญ่ของโลกส่งสัญญาณว่า การต่อสู้กับเงินเฟ้อคือสิ่งสำคัญที่สุด และจะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไป ด้าน Barclays เตือนนักลงทุนควรเตรียมใจเริ่มต้นปี 2023 แบบเป็นหลุมเป็นบ่อ

 

ตามรายงานล่าสุดของ BofA Global Research ระบุว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (สิ้นสุดเมื่อวันพุธที่ 21 ธันวาคม) กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) ทั่วโลกมีการไหลออกมากเป็นประวัติการณ์ถึง 41,900 ล้านดอลลาร์ โดยกองทุนและหุ้นของสหรัฐฯ ก็เผชิญกับแรงเทขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบสัปดาห์เช่นกัน โดยพบการไหลออก 17,200 ล้านดอลลาร์ และ 27,800 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

 

ในรายงาน BofA กล่าวว่า การขายสินทรัพย์ที่ขาดทุนแล้วเข้าซื้อใหม่ในราคาเดิมเพื่อนำส่วนที่ขาดทุนมาลดหย่อนภาษีเงินได้จากการลงทุน หรือ Tax Loss Harvesting คือเหตุผลเบื้องหลังของการเทขายครั้งนี้

 

นักลงทุนยังขายพันธบัตรระดับลงทุน (Investment Grade) และให้ผลตอบแทนสูงเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พันธบัตรท้องถิ่นในตลาดเกิดใหม่ดึงดูดเงินไหลเข้าสุทธิเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน ขณะที่หุ้นในตลาดเกิดใหม่บันทึกการไหลเข้าเป็นสัปดาห์ที่ 3 เพิ่มขึ้นสุทธิ 3,200 ล้านดอลลาร์

 

การเทขายหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังเกิดขึ้นหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต่างแสดงท่าทีว่าจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อไปในปีหน้า นับเป็นการทำลายความหวังของนักลงทุนว่าโลกจะกลับเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวที่สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาดเมื่อวันอังคาร (20 ธันวาคม) ของ BOJ

 

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ตลาดหุ้นยังมีเงินไหลเข้าสุทธิอยู่ที่ 166,500 ล้านดอลลาร์ บ่งชี้ว่านักลงทุนยังไม่ยอมจำนนทั้งหมด แม้ปี 2023 อาจมีการย่อตัวลงอีก เมื่อเปรียบเทียบกัน กองทุนพันธบัตร (Bond Funds) พบการไหลออกถึง 257,000 ล้านดอลลาร์

 

กระนั้นการดีดตัวขึ้นของหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปีได้หยุดชะงักลงแล้ว เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดที่เปิดเผยออกมาในสัปดาห์นี้ ได้สนับสนุนมุมมองของ Fed ที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถแบกรับนโยบายการเงินที่ตึงตัวต่อไปได้ โดยไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยดัชนีอ้างอิงต่างๆ ขณะนี้ก็อยู่ในแนวโน้มขาลงอย่างมั่นคง และมีผลงานแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008

 

Emmanuel Cau นักยุทธศาสตร์ของ Barclays ระบุว่า ด้วยปัญหามากมายในปี 2022 ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข นักลงทุนควรเตรียมใจสำหรับการเริ่มต้นปี 2023 ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ (Bumpy) โดยการถกเถียงเรื่องเงินเฟ้อกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทต่างๆ การเปิดประเทศของจีน และความขัดแย้งในยูเครน มีแนวโน้มว่าจะครอบงำวาระของตลาดต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

The post ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญการไหลออกรายสัปดาห์มากสุดเป็นประวัติการณ์! Barclays เตือนนักลงทุนตั้งรับตลาดหุ้น Bumpy ช่วงเริ่มปีใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น ‘วอลล์สตรีท’ สดใส ลุ้นข่าวดีวัคซีนโควิด-19 ออกใช้ ธ.ค. นี้ https://thestandard.co/wall-street-shares-are-promising-because-of-covid-19-vaccine-news/ Tue, 10 Nov 2020 01:26:52 +0000 https://thestandard.co/?p=419087 หุ้น ‘วอลล์สตรีท’ สดใส ลุ้นข่าวดีวัคซีนโควิด-19 ออกใช้ ธ.ค. นี้

ดัชนีหลักในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐฯ เปิดตลาดรับสัปดา […]

The post หุ้น ‘วอลล์สตรีท’ สดใส ลุ้นข่าวดีวัคซีนโควิด-19 ออกใช้ ธ.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น ‘วอลล์สตรีท’ สดใส ลุ้นข่าวดีวัคซีนโควิด-19 ออกใช้ ธ.ค. นี้

ดัชนีหลักในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐฯ เปิดตลาดรับสัปดาห์พุ่งทะยานทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลัง Pfizer บริษัทยายักษ์ใหญ่ประกาศความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนว่าได้ผลในการป้องกันโควิด-19 เกือบ 100%

 

รายงานระบุว่า เพียง 5 นาทีหลังเปิดตลาดซื้อขาย ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 5.4% มาอยู่ที่ 29,839.45 จุด โค่นสถิติสูงสุดเดิมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 29,551.42 จุด

 

ด้านดัชนี S&P 500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.6% ทำสถิติสูงสุดระลอกใหม่แทนสถิติเดิมที่ทำไว้เมื่อวันที่ 2 กันยายน และดัชนีแนสแด็ก คอมโพสิต ปรับเพิ่มขึ้นทุบสถิติเช่นกัน ก่อนที่จะปรับลดลงมาแตะที่ 11,986.12 จุด เพิ่มขึ้น 0.4%

 

ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในวันนี้ได้รับแรงหนุนจากข่าวดีที่บริษ้ทผู้ผลิตยา Pfizer ประกาศข่าวดีเรื่องวัคซีนโควิด-19 ที่ทางบริษัทบรรลุผลสำเร็จในการผลิตวัคซีนได้ถึง 90% จุดประกายความหวังให้แก่นักลงทุนทั่วโลกที่เศรษฐกิจจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เร็วขึ้น

 

Russ Mould ผู้อำนวยการด้านการลงทุนของ AJ Bell กล่าวว่า ข่าววัคซีนของ Pfizer เปรียบเสมือนสารอะดรีนาลีนที่กระตุ้นให้ตลาดเกิดความคึกคักมากขึ้น หลังจากผันผวนและซบเซามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงต้นปี เพราะวิกฤตการระบาด

 

ขณะที่ Emmanuel Cau หัวหน้ากลยุทธ์หลักทรัพย์ประจำภูมิภาคยุโรปของ Barclays ระบุว่า ความก้าวหน้าของวัคซีนคือจุดเปลี่ยนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกให้แข็งแกร่งและยั่งยืนในปีหน้า

 

ทั้งนี้ บริษัท Pfizer และบริษัท BioNTech สองผู้ผลิตยารายใหญ่ชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า วัคซีนต้านโควิด-19 ที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นนี้ มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคโควิด-19 โดยการทดสอบเห็นผลกว่า 90% แล้ว กระนั้นการทดสอบวัคซีนยังเหลืออีกหลายขั้นตอน และต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะสามารถนำมาใช้จริงได้

 

โดยก่อนหน้านี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างคาดหวังว่า วัคซีนต้านโควิด-19 ที่จะสามารถผลิตออกมาใช้ได้จะมีประสิทธิภาพอย่างน้อย 75% ขณะที่นายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐฯ ในฐานะนายแพทย์ใหญ่ของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการควบคุมโควิด-19 ของทำเนียบขาวเคยระบุว่า แค่วัคซีนมีประสิทธิภาพ 50-60% ก็สามารถยอมรับได้แล้ว

 

อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบจนถึงขณะนี้ ยังไม่พบประเด็นด้านความปลอดภัยที่น่าวิตกแต่อย่างใด โดย Pfizer และ BioNTech ตั้งเป้าที่จะยื่นจดทะเบียนต่อสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ภายในเดือนนี้ ทำให้มีความหวังที่จะได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ทั่วไปได้เร็วที่สุดในเดือนธันวาคม

 

โดยหากได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ ทางบริษัทจะสามารถผลิตวัคซีนได้มากถึง 50 ล้านโดสภายในปีนี้ ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อการช่วยเหลือประชากร 25 ล้านคน ก่อนที่จะผลิตวัคซีนออกมาอีก 1,300 ล้านโดสภายในปีหน้า

 

นายแพทย์อัลเบิร์ต เบอร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Pfizer แสดงความเชื่อมั่นว่า ความพยายามที่บรรลุผลของบริษัทถือเป็นความคืบหน้าทางการแพทย์ครั้งสำคัญที่สุดในรอบ 100 ปี

 

ขณะเดียวกัน ซีอีโอของ Pfizer ยังกล่าวอีกว่า ตนเองพร้อมที่จะเป็นคนแรกๆ ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ที่ทางบริษัทร่วมพัฒนากับ BioNTech ของเยอรมนี เพื่อคลายความกังวลของผู้ที่ไม่มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าด้วยช่วงอายุของตนที่ค่อนไปทางผู้สูงอายุจะเหมาะสมต่อการเป็นกลุ่มทดสอบวัคซีนหรือไม่

 

นอกจากจะสร้างความยินดีให้แก่นักลงทุนในตลาดแล้ว ความคืบหน้าของวัคซีนยังสร้างความหวังให้แก่บรรดาผู้เชี่ยวชาญ โดยส่วนใหญ่คาดหวังที่จะได้เห็นข้อมูลรายงานการทดสอบฉบับเต็มของทางบริษัท เนื่องจากยังมีประเด็นคำถาม อย่างประสิทธิภาพของวัคซีนว่ามีผลต่อเชื้อชาติหรืออายุหรือไม่ และวัคซีนใช้ระยะเวลานานเท่าไรในการสร้างภูมิคุ้มกัน

 

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ทาง Pfizer หวังจะขอใช้อำนาจฉุกเฉินจากทางการสหรัฐฯ เพื่อทดสอบฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอายุระหว่าง 16-85 ปี โดยที่ทาง Pfizer จะต้องจัดส่งข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนจากการศึกษาจากผู้เข้าร่วมการทดสอบก่อนหน้าจำนวน 44,400 คน ซึ่งคาดว่ารายงานดังกล่าวจะเสร็จสิ้นในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน

 

กระนั้น เพียงไม่นานหลังจากที่ Pfizer เปิดเผยความคืบหน้าดังกล่าว ทางสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่าได้เตรียมลงนามในข้อตกลงซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวนหลายร้อยล้านโดสของ Pfizer ในเร็ววันนี้

 

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายน ทาง EU เพิ่งจะเสร็จสิ้นการเจรจาในเบื้องต้นเพื่อซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวน 200 ล้านโดส และยังได้รับสิทธิ์ซื้อเพิ่มอีก 100 ล้านโดส โดยนอกจาก EU แล้ว ทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่นก็ได้ประกาศทำข้อตกลงในการซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จากบริษัท Pfizer

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

The post หุ้น ‘วอลล์สตรีท’ สดใส ลุ้นข่าวดีวัคซีนโควิด-19 ออกใช้ ธ.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>