Emirates Airline – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 19 Dec 2022 06:13:20 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ยิ่งขาดทุนยิ่งต้องลงทุน! เปิดเหตุผล ‘เซอร์ ทิม คลาร์ก’ จากพนักงานเช็กอินสู่ประธานสายการบิน ผู้พา ‘Emirates’ เสิร์ฟคาเวียร์ไม่อั้นในวันเปิดประเทศ https://thestandard.co/tim-clark-emirates-airline/ Thu, 01 Dec 2022 05:51:09 +0000 https://thestandard.co/?p=718429 เซอร์ ทิม คลาร์ก

สายการบิน Emirates เคยรายงานการขาดทุน 1.6 พันล้านดอลลาร […]

The post ยิ่งขาดทุนยิ่งต้องลงทุน! เปิดเหตุผล ‘เซอร์ ทิม คลาร์ก’ จากพนักงานเช็กอินสู่ประธานสายการบิน ผู้พา ‘Emirates’ เสิร์ฟคาเวียร์ไม่อั้นในวันเปิดประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เซอร์ ทิม คลาร์ก

สายการบิน Emirates เคยรายงานการขาดทุน 1.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 แต่เมื่อ 1 ปีผ่านไป รายรับในช่วง 6 เดือนจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 เพิ่มขึ้น 131% เป็น 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้มีผลกำไรครึ่งปีแรกราว 1.1 พันล้านดอลลาร์ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของสายการบินในการตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วภูมิภาค

 

Emirates เชื่อว่าประสิทธิภาพการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของสายการบิน ได้รับแรงหนุนจากกระแสความต้องการของผู้โดยสารสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ การฟื้นตัวนี้ทำให้กลุ่มบริษัท Emirates เพิ่มจำนวนพนักงานขึ้น 10% เป็น 93,893 คน เพื่อเตรียมพร้อมให้ทั้งสายการบินและบริษัทในเครือ Dnata ที่ให้บริการสนามบินของกลุ่ม ได้ดำเนินการสรรหาบุคลากรเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต 

 

การเร่งเตรียมพร้อมรับมือความต้องการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วงหลังโลกผ่อนคลายมาตรการโควิดนั้นเป็นเรื่องที่โลกให้ความสนใจมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะเซอร์ ทิม คลาร์ก ที่หมั่นให้สัมภาษณ์เพื่อบอกโลกก่อนหน้านี้ว่า ตัวเขาไม่เห็นวี่แววเลยที่ความต้องการเดินทางของชาวโลกจะหดตัว 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ไม่ว่าสนามบินจะมีความโกลาหลยุ่งเหยิงเพียงใด หรือว่าจะมีความท้าทายด้านเศรษฐกิจขนาดไหน ความมั่นใจนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบนงานมโน แต่เป็นการเดิมพันจากประสบการณ์ 50 ปีของประธานสายการบิน Emirates ที่กำลังเตรียมเกษียณจากตำแหน่งงานเต็มเวลา

 

จากพนักงานเช็กอินสู่ประธานสายการบิน

เซอร์ ทิม คลาร์ก เป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาธุรกิจสายการบินเพียงไม่กี่คนที่ถูกขอเซลฟีบ่อยๆ เมื่อเข้าร่วมสุดยอดการประชุมระดับโลก เหตุผลเป็นเพราะเซอร์ ทิมคือตำนานแห่งอุตสาหกรรมสายการบินที่ยังมีชีวิต หลังจากเข้าร่วมอุตสาหกรรมนี้ในปี 1972

 

 

ภาพ: Christian Marquardt / Getty Images

 

วันนี้เซอร์ ทิม คลาร์ก ดึงประสบการณ์จากการเป็นพนักงานเช็กอิน รวมถึงการเป็นส่วนสำคัญในฐานะนักวางแผนที่ปูทางสู่การเติบโตของสายการบิน Emirates ที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยเครื่องบิน 2 ลำในปี 1985 จนสามารถดันให้ Emirates เป็นสายการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

พ่อของเซอร์ ทิมเป็นกัปตันเรือบรรทุกน้ำมัน ดังนั้นการเดินทางทั้งทางน้ำและในอากาศจึงอยู่ในสายเลือดของเซอร์ ทิม ผู้ซึ่งชอบการล่องเรือเป็นงานอดิเรก แม้ว่าเชื้อชาติครอบครัวจะมาจากเบอร์มิงแฮม แต่เด็กชายทิมเติบโตในอารูบาแห่งทะเลแคริบเบียน จากนั้นก็ใช้ชีวิตในต่างประเทศอย่างมีความสุขกับการเลี้ยงดูที่ค่อนข้างเป็นสากล เจ้าหนูทิมหลงใหลในทุกสิ่งเกี่ยวกับการบินตั้งแต่ตอนที่ได้อาศัยอยู่ในเกาะบอร์เนียวที่มาเลเซีย เมื่ออายุ 5 ขวบ ทิม คลาร์ก ผูกใบปาล์มไว้ที่แขนและพยายามบิน

 

ไม่กี่ปีถัดมา หนุ่มน้อยทิมมักจะเดินทางคนเดียวในฐานะผู้เยาว์ที่เดินทางโดยลำพังระหว่างอังกฤษกับพื้นที่ห่างไกลหลายแห่ง แม้ในวัยเด็ก คลาร์กมีความทรงจำที่ละเอียดถี่ถ้วนสำหรับรายละเอียดเล็กน้อยของการตกแต่งภายในเครื่องบินที่ใช้ในยุคทองของการเดินทางทางอากาศ ข้อมูลจากความทรงจำที่แม่นยำที่สุด ทิม คลาร์กเผยกับสื่อต่างประเทศว่า เที่ยวบินแรกของเขาเกิดขึ้นในปี 1960 บนเครื่องบิน Boeing 707 ของ Air India

 

หลังจากจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เซอร์ทิมได้งานแรกกับสายการบินเอกชนอิสระ British Caledonian (BCal) การทำงานที่เคาน์เตอร์เช็กอินที่ลอนดอน/แกตวิก ทำให้เซอร์ ทิมได้เห็นยุคแรกของธุรกิจการบินราคาประหยัดที่ไม่มีการจอง และคนที่พลาดเที่ยวบินจะได้สิทธิ์อยู่หัวแถวของเที่ยวบินในวันรุ่งขึ้นแบบไม่ต้องกังวล 

 

ความทึ่งนี้ทำให้หนุ่มทิมในวัย 22 ปีไม่มีความสุขกับ BCal และรู้ทันทีว่า “สิ่งนี้คงอยู่ไม่ได้ ทั้งหมดนี้ผิด มันไม่ยั่งยืนในอีก 20 ปีข้างหน้า” โดยทิมให้สัมภาษณ์ว่า นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจลาออก และไปทำงานที่สายการบินอายุน้อยและมีปัญหาในบาห์เรน ชื่อว่า Gulf Air

 

 

ประสบการณ์ที่ BCal ทำให้หนุ่มทิมรู้จักธุรกิจการบินในระดับลูกค้าสัมพันธ์ แต่ทิมอยู่กับสายการบินนี้ได้เพียง 2-3 ปี เพราะการไม่ได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมวางแผนแก้วิกฤตอย่างเต็มที่ เวลานั้นธุรกิจสายการบินเข้าสู่ปีแห่งวิกฤต เพราะการเกิดสงครามอาหรับ-อิสราเอลในปี 1973 ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น 4 เท่า และทำให้สายการบินต่างๆ ทั่วโลกเริ่มเลือดไหลแทบหมดตัว ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ตามมาทำให้ความต้องการเดินทางลดลงอย่างมาก และสายการบินอย่าง BCal ต้องลดต้นทุนและปรับโครงสร้างครั้งใหญ่เพื่อให้แน่ใจว่าจะอยู่รอดได้

 

ในฐานะนักวางแผนหนุ่ม เซอร์ ทิม มุ่งหน้าสู่ตะวันออกกลางเพื่อรับตำแหน่งใหม่กับ Gulf Air ซึ่งเป็นสายการบินที่กำลังเติบโต แต่ต้องการการวางแผนกลยุทธ์ ตรงนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในอาชีพการงานของดาวรุ่งอย่างคลาร์ก เพราะมีส่วนร่วมได้มากขึ้น เร็วกว่า และมีความหมายมากกว่าที่เคยเป็น ทำให้อีก 10 ปีต่อมา Gulf Air ก็กลายเป็นสายการบินระดับโลก

 

ระหว่างที่เซอร์ ทิมเข้าร่วมกับ Gulf Air ในปี 1975 และจากไปในปี 1985 สายการบิน Gulf Air มีความเปลี่ยนแปลงชัดเจน บริษัทเช่าฝูงบินลำใหญ่ทันสมัยและมีความสามารถมากขึ้น และขยายเครือข่ายไปยังเมืองต่างๆ เช่น อัมสเตอร์ดัม, กรุงเทพฯ, เดลี, ฮ่องกง และปารีส สายการบินเข้าร่วมกับ IATA ในปี 1981 ตอกย้ำสถานะการเป็นแบรนด์ระดับโลก

 

ผลงานนี้ทำให้เซอร์ ทิมได้รับการทาบทามจากผู้นำในดูไบให้ย้ายเข้ามาและช่วยเหลือสายการบินขนาดเล็กในพื้นที่ และในขณะนั้น Gulf Air กำลังพยายามที่จะโอนสัญชาติ และคลาร์กรู้ว่างานของตัวเองจะต้องตกอยู่ในความเสี่ยงอีกครั้ง คลาร์กจึงตอบเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวางแผนให้สายการบินใหม่นี้ในช่วงฤดูร้อนปี 1983 ซึ่งเดือนตุลาคมปีนี้เองที่สายการบิน Emirates เริ่มทำการบินครั้งแรก

 

 

คลาร์กให้สัมภาษณ์กับ simpleflying.com ว่า Emirates เกิดขึ้นในเวลานั้น และ “ผมก็อยู่กับมันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”

 

เซอร์ ทิมเล่าว่าทีมของเขาเป็น ‘ทีมเล็กๆ’ ที่ถูกนำเข้ามาเพื่อเติมชีวิตชีวาให้กับ Emirates ภายใต้การดูแลของ มอริซ ฟลานาแกน (​​Maurice Flanagan) อดีตผู้บริหารสายการบินBritish Airways, Gulf Air และ BOAC ซึ่งตอนนั้นมีผู้เดินทางเพียง 10 คนเท่านั้นที่มาถึงดูไบเพื่อเปิดตัวสายการบินใหม่นี้

 

งานที่ Emirates ไม่ใช่เรื่องง่าย ทิม คลาร์ก เทียบว่าเวลานั้นเป็นเหมือนกระดาษว่างเปล่าแผ่นเดียว ไม่มีเงินหนา มีเพียงเงินสด 10 ล้านดอลลาร์ที่ทีมจะต้องสร้างสายการบิน และรวบรวมกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญในทุกสาขาตามที่วางแผนไว้ สิ่งที่ทีมงานทำคือการเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าอะไรเป็นไปได้ และอะไรเป็นไปไม่ได้สำหรับสายการบินใหม่นี้ ซึ่งในเวลานั้นถูกจำกัดอย่างมากในแง่ของการเข้าถึงตลาดระดับภูมิภาค

 

เซอร์ ทิม คลาร์ก อธิบายในภายหลังว่า ได้คิดกับตัวเองว่า Emirates จะต้องไปต่างประเทศอย่างรวดเร็ว และมั่นใจว่าสามารถทำได้ เพราะการแข่งขันในเวทีนั้นน้อยมาก นอกจากนี้ ตัวเขายังเป็นผู้ศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ในกระแสโลกาภิวัตน์ แม้ในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 ดังนั้น Emirates จึงเริ่มซื้อเครื่องบิน A310 และก้าวเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างรวดเร็ว โดยอิงจากผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่ง Emirates ไม่เคยและจะไม่เบี่ยงเบนไปไหนอย่างแน่นอน

 

“มันเป็นเพียงประเด็นเรื่องปริมาณ ยิ่งเราทำมากเท่าไร เห็นได้ชัดว่ารูปแบบธุรกิจนี้ไปได้ดีบนหลังกระแสโลกาภิวัตน์ที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายยุค 80 กลางทศวรรษที่ 90” เซอร์ ทิมให้สัมภาษณ์ไว้ถึงความสำเร็จของโมเดลนี้ ที่เห็นชัดในช่วงขวบปีแรกๆ ที่สายการบิน Emirates เปิดทำการ จนทำให้กำไรของ Gulf Air ลดลง 56% และล้มเลิกแผนการโอนสัญชาติ รวมถึงเข้าสู่ภาวะขาดทุนในปี 1986

 

ในปี 2003 ทิม คลาร์ก ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานของสายการบิน Emirates หลังจากใช้เวลาเกือบ 18 ปีในการสร้างอาณาจักรสายการบิน แน่นอนว่า Emirates ไม่ได้พลิกโฉมแค่อุตสาหกรรมการบินเท่านั้น แต่สามารถเปลี่ยนแปลงดูไบด้วย จากเมืองทะเลทรายฝุ่นตลบที่มีประชากรไม่ถึง 400,000 คนในปี 1985 แต่เมื่อทิม คลาร์กขึ้นดำรงตำแหน่งประธาน เมืองนี้ก็เติบโตขึ้นเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยมากกว่าล้านคน และเป็นอัญมณีแห่งมงกุฎของตะวันออกกลาง โดยปัจจุบันมีผู้คนมากกว่า 3.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในดูไบ

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำแนะนำของทิม คลาร์กเกี่ยวกับนโยบาย การออกแบบเครื่องบิน และการเดินทางระยะไกล ได้หล่อหลอมโลกการบินสมัยใหม่ให้เป็นไปอย่างที่นักเดินทางทราบกันดี ความเชี่ยวชาญเชิงลึกของสายการบินและเครื่องบินของทิม คลาร์ก บวกกับความตรงไปตรงมาที่เป็นมิตร และการไม่เคยอายที่จะแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ ทำให้ทิม คลาร์กกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในอุตสาหกรรม จนได้รับพระราชทานยศอัศวินจากสหราชอาณาจักร

 

เสียงที่ไม่เหมือนใคร

เซอร์ ทิม คลาร์ก เป็นประธานสายการบินที่มีชื่อเสียงเรื่องการให้ความเห็นที่ไม่เหมือนใคร ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการแสดงความกังวล (อีกครั้ง) ถึงกรณีที่ผู้ผลิตเครื่องบินไม่ได้มุ่งเน้นผลิตเครื่องบินรุ่นที่มีความจุสูงขึ้น เช่น แอร์บัส A380 อีกต่อไป สำหรับเซอร์ ทิม เรื่องนี้จะเป็นปัญหาในอนาคต เนื่องจากสนามบินในส่วนต่างๆ ของโลก (เช่น ลอนดอน) จะไม่รองรับเที่ยวบินใหม่อีกต่อไป

 

 

สมมติฐานของทิม คลาร์ก คือจำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะเติบโตอย่างรวดเร็วในอัตรา 4-6% ต่อปี ในขณะที่จำนวนช่องที่สนามบินยังคงจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องบินขนาดใหญ่ แม้ว่าสายการบิน Emirates มีเครื่องบินแอร์บัส A380 จำนวน 118 ลำ โดยแต่ละลำจุผู้โดยสารได้เกือบ 500 คน (ในชั้นประหยัดพรีเมียม) แต่ทิม คลาร์กเชื่อว่าเมื่อเครื่องบินรุ่นเหล่านี้เก่าลง ก็จะไม่มีเครื่องบินรุ่นใดมาทดแทนได้

 

ข้อเสนอของเซอร์ ทิมนั้นหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ A380 ควรได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย ​​โดยมีปีกและลำตัวเครื่องบินประกอบ (ทำจากวัสดุที่ซับซ้อนและเบากว่า แต่แข็งแรงกว่า) รวมถึงเครื่องยนต์ที่ประหยัดกว่า ซึ่งสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้ 25% เมื่อเทียบกับรุ่นปัจจุบัน นอกจากนี้ เซอร์ ทิม คือคนเดียวที่ส่งเสียงว่า ‘ยินดีรับเครื่องบินที่ไม่มีหน้าต่าง’ เพราะ “ผมสามารถสร้างหน้าต่างแต่ละบานได้ด้วยกล้องดิจิทัล”

 

ในมุมมองของเซอร์ ทิม ประโยชน์ของการโละหน้าต่างคือ การขจัดน้ำหนักที่สะสมอยู่ในลำตัวเครื่องบิน คำพูดนี้วิจารณ์เครื่องบินอย่างเปิดเผยและชี้ให้เห็นความจริงที่ว่า บางสิ่งในเครื่องยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจาก Emirates แล้ว ยังไม่มีสายการบินอื่นใดในโลกที่ระบุว่ามีความต้องการเช่นนี้ ซึ่งทำให้สายการบิน Emirates อยู่ในสถานะที่ค่อนข้างพิเศษ

 

สำหรับช่วงเปิดประเทศหลังโควิด Emirates กำลังดึงกระแสให้ผู้คนนึกถึงเที่ยวบินเชิงพาณิชย์เมื่อหลายสิบปีก่อน ที่มีเมนูอาหารหลายคอร์สสุดหรูหรา ซึ่งสวนทางกับที่นั่งคับแคบ และถุงถั่วขบเคี้ยวที่นักเดินทางมักต้องทำใจให้ชิน โดยสายการบิน Emirates ได้ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อลดภาวะการเดินทางที่ตึงเครียดของผู้โดยสาร ทำให้การเดินทางครั้งใหม่ของผู้โดยสารเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานที่สุดอีกครั้ง

 

สัญญาณที่บอกถึงภาวะการเดินทางที่อาจตึงเครียดในช่วงหลังโควิดคือปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายในธุรกิจการบินที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว จึงทำให้สายการบินต่างๆ ต้องมองหาวิธีที่สามารถทำได้ เพื่อบริหารจัดการให้ดีขึ้นบนต้นทุนที่ไม่อาจปล่อยให้งอกเงยได้มากกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งแม้จะขาดแคลนพนักงานและการสูญเสียเงินหมุนเวียนของสายการบินที่เกิดจากโรคระบาด แต่ความต้องการเที่ยวบินนั้นเกินเป้าในปี 2019 แล้ว แม้แต่ช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา หลายสายการบินทำเงินได้หลายร้อยล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 3 เดือน แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแง่ของการบริการ เช่น ตัวเลือกอาหาร บริการเสริม และที่นั่งบนเครื่องบินที่หลายคนรู้สึกเหมือนกำลังลดลง

 

แต่ Emirates ซึ่งเผชิญกับอุปสรรคการแพร่ระบาดเช่นเดียวกับสายการบินอื่น เลือกที่จะลงทุน 2 พันล้านดอลลาร์สำหรับเมนูใหม่ ให้สิทธิ์การขอรับจานหรูอย่างคาเวียร์แบบไม่อั้นในกลุ่มผู้โดยสารชั้นหนึ่ง การปรับปรุงที่นั่ง และบริการส่วนอื่นๆ ตรงนี้เซอร์ ทิม คลาร์ก ประธานสายการบิน Emirates กล่าวในแถลงการณ์ว่า ในขณะที่บริษัทอื่นตอบสนองต่อแรงกดดันในอุตสาหกรรมด้วยการลดต้นทุน แต่สายการบิน Emirates กำลังต่อสู้ด้วยการลงทุนเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้า 

 

 

ดังนั้น Emirates จึงยังคงเปิดตัวบริการและความคิดริเริ่มใหม่ท่ามกลางการระบาด เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าสามารถเดินทางด้วยความมั่นใจและสะดวกสบาย รวมถึงจะเดินหน้าทำโครงการด้านดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าภาคพื้นดินคู่ไปด้วย

 

ที่ผ่านมา สิ่งอำนวยความสะดวกที่โดดเด่นที่สุดของสายการบิน Emirates คือสปาอาบน้ำบนเครื่องบิน A380 ซึ่งเหมาะสำหรับการเติมความสดชื่นบนเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ยังมีบาร์และเลานจ์บนเครื่องบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบของ A380 ซึ่งมีให้สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ 

 

นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นสายการบินเดียวที่มีข้อตกลงพิเศษในการเสนอแชมเปญสุดหรูยี่ห้อ Dom Pérignon บนเครื่องบิน ผู้โดยสารที่บินในชั้นหนึ่งจะมีไวน์ที่คัดสรรมาให้เลือกระหว่างเที่ยวบิน พวกเขายังมีเมนูอาหารตามสั่งซึ่งสามารถสั่งอาหารที่ปรุงโดยเชฟได้ทุกเมื่อบนเที่ยวบิน ซึ่งรวมถึงตัวเลือกมังสวิรัติด้วยส่วนผสมที่มาจากฟาร์มของ Emirates เอง และเมนูของว่างสไตล์โรงภาพยนตร์ เช่น ป๊อปคอร์น และเบอร์เกอร์

 

สายการบิน Emirates เพิ่งได้รับ 3 รางวัลจาก Skytrax World Airline Awards 2022 ให้เป็นสายการบินที่มีชั้นประหยัดที่ดีที่สุดในโลก มีอาหารจัดเลี้ยงในชั้นประหยัดที่ดีที่สุดในโลก และมีระบบความบันเทิงบนเที่ยวบินที่ดีที่สุดในโลกเป็นครั้งที่ 17 ติดต่อกัน ระบบความบันเทิงที่มีช่องมากกว่า 5,000 ช่อง รวมถึงภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ รายการฮิตจาก HBO Max กีฬาสด พอดแคสต์ และเพลง 

 

การลงทุนมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ของ Emirates เป็นเครื่องยืนยันถึงการทำตามคำมั่นสัญญาของแบรนด์ที่ว่า ‘Fly Better’ การบินที่ดีกว่านี้ รวมถึงการปรับปรุงเพิ่มเติมของสายการบินที่มีกำหนดเสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2025 เช่น การติดตั้งที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียม (Premium Economy) 4,000 ที่นั่ง การปรับที่นั่งชั้นธุรกิจกว่า 6,000 ที่นั่งให้เป็นดีไซน์ใหม่ ขณะที่ห้องชุดสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งจะได้รับการปรับปรุงใหม่เช่นกัน

 

ก้าวถัดไปของเซอร์ ทิม

เซอร์ ทิม คลาร์ก ระบุว่าจะยังคงทำหน้าที่ ‘ซัพพลายเออร์’ เพื่อผลักดันสิ่งที่ดีขึ้นต่อไป ไม่เพียงแต่สำหรับสายการบิน แต่สำหรับผู้โดยสารด้วย 

 

ก่อนหน้านี้ เซอร์ ทิม คลาร์ก ประกาศลาออกจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2019 แม้ว่าวันลาจากตำแหน่งจะถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากโรคระบาด แต่การถอยออกจากสายการบิน Emirates ก็ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ตัวเขาวางแผนจะคอยให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลดูไบในเรื่องการบินในอนาคต ขณะเดียวกันก็จะเข้าร่วมโครงการพิทักษ์สัตว์ป่า United for Wildlife ซึ่งดำเนินมาหลายปีแล้ว และทิม คลาร์ก คิดว่าอยากจะมีส่วนร่วมมากกว่านี้

 

แม้จะได้รับข้อเสนอให้เข้ารับตำแหน่งในระดับคณะกรรมการ แต่ทิม คลาร์กปฏิเสธเพราะกำลังพยายามรักษาสมดุลให้ชีวิตในวัย 71 ปี บนความเห็นตรงไปตรงมาว่า “ผมมีเวลาเหลือไม่มากที่จะทำงานหนักขนาดนั้น” 

 

เป็นความเห็นที่สมเป็น ‘เซอร์ ทิม คลาร์ก’ ประธาน Emirates ผู้คิดและทำแบบสวนทางทุกสายการบิน

 

อ้างอิง:

The post ยิ่งขาดทุนยิ่งต้องลงทุน! เปิดเหตุผล ‘เซอร์ ทิม คลาร์ก’ จากพนักงานเช็กอินสู่ประธานสายการบิน ผู้พา ‘Emirates’ เสิร์ฟคาเวียร์ไม่อั้นในวันเปิดประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ใครว่าอยู่บนเครื่องบินแล้วดูบอลสดๆ ไม่ได้ สายการบิน Emirates ถ่ายทอดสด ‘ฟุตบอลโลก 2022’ ผ่านระบบบันเทิง ice https://thestandard.co/worldcup2022-22112022-3/ Tue, 22 Nov 2022 06:38:16 +0000 https://thestandard.co/?p=713593

ใครจะคิดว่าบินอยู่บนฟ้าก็สามารถดูถ่ายทอดฟุตบอลโลกสดๆ ได […]

The post ใครว่าอยู่บนเครื่องบินแล้วดูบอลสดๆ ไม่ได้ สายการบิน Emirates ถ่ายทอดสด ‘ฟุตบอลโลก 2022’ ผ่านระบบบันเทิง ice appeared first on THE STANDARD.

]]>

ใครจะคิดว่าบินอยู่บนฟ้าก็สามารถดูถ่ายทอดฟุตบอลโลกสดๆ ได้ ราวกับนั่งอยู่บ้าน 

 

สำหรับแฟนบอลที่อยากดูแมตช์การแข่งขันสำคัญแต่มีกำหนดการต้องเดินทางวันนั้น อย่าได้เศร้าไป Emirates สายการบินประจำชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศว่าทางสายการบินจะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก FIFA World Cup Qatar 2022™ บนเครื่องบินแบบเรียลไทม์ผ่านทางช่อง Sport 24 ของระบบความบันเทิงบนเครื่องบิน ice รวมถึงรอบชิงชนะเลิศที่รอคอยในวันที่ 18 ธันวาคมที่จะถึงนี้

 

นอกจากนี้แฟนบอลยังสามารถร่วมเชียร์ฟุตบอลโลกได้ที่ห้องรับรองบนเครื่อง A380 สำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจและชั้นหนึ่ง รวมถึงภายในห้องรับรองผู้โดยสารที่สนามบิน ทำให้มั่นใจได้ว่าแฟนๆ จะไม่พลาดทุกนาทีที่น่าตื่นเต้นของฟุตบอลโลกในครั้งนี้

 

ice ระบบความบันเทิงบนเครื่องบินของสายการบิน Emirates ที่การันตีด้วยรางวัลระดับโลกมากมาย นอกจากการแข่งขันบอลโลก แฟนๆ กีฬายังสามารถชมการแข่งขันฟุตบอลสดๆ จากลีกการแข่งขันต่างๆ ได้บนเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น Premier League, UEFA Champions League, UEFA Europa League และ Asian Football Championship รวมไปถึงการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติชั้นนำอื่นๆ เช่น Women’s Rugby World Cup, International Cricket Council Men’s T20 World Cup, Olympic Games, National Football League (NFL), National Basketball Association (NBA), National Hockey League (NHL) เป็นต้น ซึ่งผู้โดยสารของเอมิเรตส์สามารถดูตารางการแข่งขันทั้งหมดล่วงหน้าและวางแผนการรับชมได้ที่ www.emirates.com/th

 

ภาพ: Emirates

The post ใครว่าอยู่บนเครื่องบินแล้วดูบอลสดๆ ไม่ได้ สายการบิน Emirates ถ่ายทอดสด ‘ฟุตบอลโลก 2022’ ผ่านระบบบันเทิง ice appeared first on THE STANDARD.

]]>
Emirates เปิดตัวที่นั่ง Premium Economy แบบใหม่ เบาะกว้างขึ้น พร้อมบริการเกือบเทียบเท่าชั้นธุรกิจ https://thestandard.co/emirates-premium-economy-seat/ Thu, 09 Jun 2022 12:52:49 +0000 https://thestandard.co/?p=640195 Emirates

ช่วงนี้ตลาดที่นั่งชั้น Premium Economy ดูเหมือนจะร้อนแร […]

The post Emirates เปิดตัวที่นั่ง Premium Economy แบบใหม่ เบาะกว้างขึ้น พร้อมบริการเกือบเทียบเท่าชั้นธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Emirates

ช่วงนี้ตลาดที่นั่งชั้น Premium Economy ดูเหมือนจะร้อนแรงขึ้นมากเป็นพิเศษ เพราะหลายสายการบินชั้นนำต่างหันมาพัฒนาที่นั่งโซนนี้กันเป็นจำนวนมาก ล่าสุด Emirates สายการบินระดับเวิลด์คลาสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดตัวที่นั่ง Premium Economy หรือชั้นประหยัดพรีเมียมแบบใหม่ มาพร้อมกับเบาะนั่งหรูหรา มีพื้นที่วางขากว้างขึ้น รวมถึงการบริการเทียบเท่าชั้นธุรกิจของหลากหลายสายการบิน

 

ชั้น Premium Economy แบบใหม่จะให้บริการเส้นทางยอดนิยมบนเครื่องบินแอร์บัส A380 ไปยังกรุงลอนดอน ปารีส ซิดนีย์ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้ และเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป โดยนักเดินทางจากประเทศไทยที่ต่อเที่ยวบิน ณ เมืองดูไบ สามารถสำรองที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมแบบใหม่นี้ได้ด้วย

 

ที่นั่งทั้งหมดในห้องโดยสารชั้นประหยัดพรีเมียมได้รับการปรับโฉมใหม่ หุ้มด้วยหนังสีครีม มีระยะที่นั่งรวมถึง 40 นิ้ว กว้าง 19.5 นิ้ว ปรับเอนได้ 8 นิ้ว รองรับท่านั่งเอนหลังอย่างสะดวกสบาย พร้อมพื้นที่กว้างสำหรับยืดขารวมถึงที่พักน่องและที่พักเท้า พนักพิงศีรษะที่ปรับได้ 6 ทิศทาง หมอนอิงใบใหญ่ขึ้น ผ้าห่มหนานุ่มห่มสบาย รอบๆ มีจุดชาร์จเครื่องใช้ไฟฟ้า โต๊ะค็อกเทลด้านข้างที่นั่ง และจอทีวีขนาด 13.3 นิ้ว ซึ่งใหญ่สุดในระดับชั้นประหยัด

 

Emirates

 

ประสบการณ์การรับประทานอาหารจะได้รับการใส่ใจเกือบเทียบเท่าชั้นธรุกิจ ลูกค้าทุกคนจะได้รับเครื่องดื่มต้อนรับในเครื่องแก้วชั้นดี มื้ออาหารเสิร์ฟบนภาชนะลายคราม พร้อมด้วยช้อนส้อมสเตนเลสห่อผ้าเช็ดปากลินิน เครื่องดื่มมีทั้งไวน์ระดับพรีเมียม ไวน์สปาร์กลิง Chandon รวมไปถึงเครื่องดื่มหลังมื้ออาหาร และของหวานอย่างช็อกโกแลต

 

บนเครื่องบินของ Emirates รุ่น A380 ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมจะอยู่ที่ด้านหน้าของโซนหลัก ประกอบด้วยที่นั่งทั้งหมด 56 ที่นั่ง จัดวางในรูปแบบ 2-4-2 ขณะเดียวกัน เครื่องบิน Boeing 777 จะมีให้บริการทั้งหมด 24 ที่นั่ง ระหว่างชั้นธุรกิจและชั้นประหยัด 

 

นักเดินทางที่มีแพลนไปยุโรปและอยากใช้บริการที่นั่งชั้นนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.emirates.com/ae/english/experience/cabin-features/premium-economy-class

 

ภาพ: Courtesy of Brand

อ้างอิง:

The post Emirates เปิดตัวที่นั่ง Premium Economy แบบใหม่ เบาะกว้างขึ้น พร้อมบริการเกือบเทียบเท่าชั้นธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Emirates เตรียมจับมือ Pfizer และผู้ผลิตยาชั้นนำ จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กระจายทั่วโลก https://thestandard.co/emirates-to-partner-with-pfizer-delivery-of-the-covid-19-vaccine-spread-all-over-the-world/ Mon, 16 Nov 2020 07:33:06 +0000 https://thestandard.co/?p=421458 Emirates เตรียมจับมือ Pfizer และผู้ผลิตยาชั้นนำ จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กระจายทั่วโลก

สายการบิน Emirates ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เผยว่า กำลัง […]

The post Emirates เตรียมจับมือ Pfizer และผู้ผลิตยาชั้นนำ จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กระจายทั่วโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Emirates เตรียมจับมือ Pfizer และผู้ผลิตยาชั้นนำ จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กระจายทั่วโลก

สายการบิน Emirates ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เผยว่า กำลังวางแผนทำงานร่วมกันกับทาง Pfizer และบริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำทั่วโลก ในการจัดระบบโลจิสติกส์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งวัคซีนต้านโควิด-19 ไปทั่วโลก

 

ทิม คลาร์ก ประธานสายการบิน Emirates เปิดเผยระหว่างการให้สัมภาษณ์พิเศษกับทางสถานีโทรทัศน์ CNBC ว่า ทางบริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดวางระบบโลจิสติกส์ที่ดีที่สุด เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะสามารถจัดส่งวัคซีนไปยังพื้นที่ที่จำเป็นทุกแห่งทั่วโลก

 

ความเห็นของประธานสายการบิน Emirates มีขึ้นเพียงไม่นานหลังจากที่ทาง Pfizer เปิดเผยความสำเร็จของการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ทำให้ Emirates และสายการบินอื่นๆ ทั่วโลกต่างร่วมหารือกับ Pfizer เพื่อหาทางจัดส่งและกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมมากที่สุด

 

รายงานระบุว่า การจัดส่งและกระจายวัคซีนที่ว่านี้มีเงื่อนไขและข้อควรระวังหลายประการ โดยเฉพาะในระหว่างการขนส่งที่ต้องจัดเก็บวัคซีนไว้ที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณสมบัติต้านไวรัส

 

“เรากำลังหาทางขนย้ายวัคซีนของทาง Pfizer ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อบรรทุกบนเครื่องบิน พร้อมอุปกรณ์ทำความเย็นต่างๆ เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามเงื่อนไข” คลาร์กกล่าว ก่อนเน้นย้ำว่า การจัดการขนส่งแจกจ่ายวัคซีนถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่สุดภายหลังจากที่มีการผลิตวัคซีนออกมาแล้ว 

 

ทั้งนี้ Pfizer ได้ออกมาคาดการณ์ว่า หากเป็นไปตามแผน ทางบริษัทจะสามารถผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ได้ถึง 50 ล้านโดสภายในปี 2020 และมากถึง 1,300 ล้านโดสในปี 2021 

 

นอกจาก Pfizer แล้ว บรรดาค่ายผู้ผลิตยาชั้นนำหลายแห่งทั่วโลกต่างเร่งมือพัฒนาค้นคว้าวัคซีนจัดการโควิด-19 อย่างเต็มที่ โดยมีบริษัทยาที่น่าจับตามองอย่าง Moderna, AstraZenecca และ Johnson & Johnson ที่มีรายงานว่า ทั้งหมดกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบวัคซีนทางคลินิกอยู่ ซึ่งทาง Emirates คาดหวังว่า วัคซีนที่ผลิตออกมานี้จะสามารถจัดเก็บในอุณหภูมิที่ติดลบน้อยกว่าวัคซีนของ Pfizer ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขนส่งให้ถึงมือผู้บริโภคได้เร็วที่สุด 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

The post Emirates เตรียมจับมือ Pfizer และผู้ผลิตยาชั้นนำ จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กระจายทั่วโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
สายการบินที่ได้รับอนุญาตให้บินเข้าน่านฟ้าไทยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 https://thestandard.co/airliners-name-list-allowance-thailand/ Thu, 01 Oct 2020 11:22:24 +0000 https://thestandard.co/?p=402949 airlines สายการบินที่เข้าไทยได้

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ชาวไทยและชาวต่างช […]

The post สายการบินที่ได้รับอนุญาตให้บินเข้าน่านฟ้าไทยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
airlines สายการบินที่เข้าไทยได้

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ชาวไทยและชาวต่างชาติบางกลุ่มสามารถเดินทางเข้าไทยได้แล้ว โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกักตัวเองในโรงแรมทางเลือกที่ทางรัฐกำหนด (Alternative State Quarantine: ASQ) ส่วนสายการบินที่จากเดิมมีแค่ Thai Airways และ Emirates ก็มีเพิ่มขึ้นมาอีกหลายสาย โดยนักเดินทางสามารถเลือกเดินทางในสายการบินอื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ตามรายชื่อดังต่อไปนี้

 

สายการบินที่ได้รับอนุญาตให้บินเข้าน่านฟ้าไทย

 

ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • Royal Thai Embassy, London UK

The post สายการบินที่ได้รับอนุญาตให้บินเข้าน่านฟ้าไทยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สายการบินเอมิเรตส์ มอบส่วนลดการตรวจโควิด-19 แก่ผู้โดยสารชาวไทย https://thestandard.co/emirate-airline-giveaway-coronavirus-check-up-discount/ Fri, 18 Sep 2020 03:15:52 +0000 https://thestandard.co/?p=397921

ข่าวดีสำหรับผู้โดยสารสายการบินเอมิเรตส์ที่วางแผนบินในเร […]

The post สายการบินเอมิเรตส์ มอบส่วนลดการตรวจโควิด-19 แก่ผู้โดยสารชาวไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

ข่าวดีสำหรับผู้โดยสารสายการบินเอมิเรตส์ที่วางแผนบินในเร็ววัน และต้องการผลรับรองการตรวจเชื้อโควิด-19 เพื่อใช้ในการเดินทาง เพราะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผู้โดยสารสายการบินเอมิเรตส์สามารถรับส่วนลดเพื่อตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี PCR Test ได้ง่ายๆ เพียงแสดงหลักฐานการจองเที่ยวบินจากสายการบิน เพื่อรับสิทธิ์จากโรงพยาบาลพันธมิตร ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล โรงพยาบาลปิยะเวท และโรงพยาบาลพรินซ์สุวรรณภูมิ โดยแนะนำให้ผู้โดยสารทำการทดสอบไม่เกิน 96 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง

 

ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา เอมิเรตส์เปิดให้บริการเที่ยวบินรายวันระหว่างกรุงเทพฯ และดูไบ ด้วยเครื่องบิน Boeing 777-300ER ทั้งในชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ และชั้นประหยัด ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากกรุงเทพมหานครเพื่อเชื่อมต่อยัง 85 เมืองทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเมืองในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก 

ผู้โดยสารสามารถจองเที่ยวบินผ่านทางเว็บไซต์ emirates.com หรือผ่านตัวแทนการท่องเที่ยว โดยนักเดินทางที่เดินทางเข้าและออกจากกรุงเทพฯ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดโดยประเทศปลายทาง ศึกษารายละเอียดได้ที่ www.emirates.com/ae/english/help/travel-requirements/#81339

 

ภาพ: shutterstock

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post สายการบินเอมิเรตส์ มอบส่วนลดการตรวจโควิด-19 แก่ผู้โดยสารชาวไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
สายการบิน Emirates ประกาศเปิดเที่ยวบินสู่กรุงเทพฯ เริ่ม 1 กันยายน 2563 https://thestandard.co/emirates-announces-flights-to-bangkok-beginning-1sep/ Fri, 28 Aug 2020 08:46:40 +0000 https://thestandard.co/?p=392444 สายการบิน Emirates

ข่าวดีสำหรับนักเดินทางชาวไทย เมื่อสายการบิน Emirates สา […]

The post สายการบิน Emirates ประกาศเปิดเที่ยวบินสู่กรุงเทพฯ เริ่ม 1 กันยายน 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สายการบิน Emirates

ข่าวดีสำหรับนักเดินทางชาวไทย เมื่อสายการบิน Emirates สายการบินระดับโลก ประกาศเปิดเที่ยวบินรายวันระหว่างกรุงเทพฯ และดูไบ อีกครั้ง วันที่ 1 กันยายน 2563 โดยจะให้บริการด้วยเครื่องบิน Boeing 777-300ER สำหรับนั่งทั้งในชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ และชั้นประหยัด

 

การประกาศเปิดเส้นทางการบินสู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้จะขยายเครือข่ายปัจจุบันของสายการบิน Emirates ไปยัง 78 เมืองทั่วโลกในเดือนกันยายน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้นักเดินทางจากประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อสู่จุดหมายปลายทางที่หลากหลาย ทั้งในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก ผ่านการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและสะดวกสบายที่สนามบินนานาชาติดูไบ 

 

เที่ยวบิน EK384 ไปยังกรุงเทพฯ จะออกเดินทางจากดูไบทุกวัน เวลา 01.50 น. และถึงกรุงเทพฯ เวลา 11.30 น. ส่วนเที่ยวบินขากลับ EK385 จะออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เวลา 03.25 น. และถึงดูไบเวลา 06.35 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายนนี้เป็นต้นไป

 

ผู้โดยสารสามารถจองเที่ยวบินผ่านทางเว็บไซต์ emirates.com  หรือผ่านตัวแทนการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลไทยกำหนด โปรดศึกษารายละเอียดและข้อมูลการเดินทางก่อนจองที่เว็บไซต์ emirates.com/ae/english/help/travel-requirements/#81339 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post สายการบิน Emirates ประกาศเปิดเที่ยวบินสู่กรุงเทพฯ เริ่ม 1 กันยายน 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิษโควิด-19 กระทบหนัก สายการบิน Emirates จ่อลดพนักงาน 9,000 ตำแหน่ง https://thestandard.co/airline-emirates-cut-up-9000-jobs/ Sat, 11 Jul 2020 07:50:58 +0000 https://thestandard.co/?p=379129

เซอร์ ทิม คลาร์ก ประธานสายการบิน Emirates แห่งสหรัฐอาหร […]

The post พิษโควิด-19 กระทบหนัก สายการบิน Emirates จ่อลดพนักงาน 9,000 ตำแหน่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

เซอร์ ทิม คลาร์ก ประธานสายการบิน Emirates แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หนึ่งในสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศเตรียมลดจำนวนพนักงานลงกว่า 9,000 ตำแหน่ง หลังได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

โดยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่สายการบิน Emirates ยอมเปิดเผยตัวเลขพนักงานที่จะถูกปลด ซึ่งก่อนหน้านี้สายการบินได้ปลดพนักงานไปแล้วถึง 1 ใน 10 จากจำนวนพนักงานทั้งหมดก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 กว่า 60,000 คน แต่ไม่เปิดเผยจำนวนแน่ชัด และยังจำเป็นต้องลดพนักงานเพิ่มอีก 

 

การลดพนักงานครั้งนี้ คิดเป็นจำนวนประมาณ 15% และในจำนวนพนักงานที่ถูกปรับลด จะรวมถึงนักบินอย่างน้อย 700 คน จากทั้งหมดกว่า 4,500 คน ซึ่งได้มีการแจ้งล่วงหน้าไปแล้วในช่วงสัปดาห์นี้ 

 

ขณะที่สายการบินจะเน้นลดจำนวนพนักงานที่บินกับเครื่องบิน Airbus มากกว่าเครื่องบิน Boeing ซึ่ง Emirates นั้นมีเครื่องบิน Airbus A380 หรือ Super Jumbo ที่บรรทุกผู้โดยสารได้กว่า 500 คน ในขณะที่เครื่องบิน Boeing 777 ของ Emirates บรรทุกผู้โดยสารได้น้อยกว่า แต่ง่ายต่อการเติมเที่ยวบิน ในช่วงที่ปริมาณการเดินทางโดยเครื่องบินลดลง

 

ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC เซอร์ ทิม ระบุว่าสถานการณ์ของ Emirates ยังไม่เลวร้ายนักเมื่อเทียบกับสายการบินอื่นๆ ทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกหยุดชะงัก

 

แต่สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่าเป็นขาลงในความรุ่งเรืองของ Emirates ซึ่งก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 พบว่าตัวเลขทรัพย์สินและรายได้กำลังมุ่งหน้าสู่หนึ่งในปีที่ดีที่สุดของสายการบินเท่าที่เคยมีมา

 

อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ปรับลดพนักงานของ Emirates ครั้งก่อนหน้านี้ ทางสายการบินยืนยันว่าจะให้การดูแลและชดเชยแก่พนักงานด้วยความเคารพและให้ความเป็นธรรม

 

“เราพยายามรักษาครอบครัวที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ได้มาถึงข้อสรุปที่น่าเสียดาย ว่าเราต้องกล่าวคำอำลาแก่กลุ่มคนที่ยอดเยี่ยมบางคนที่ทำงานกับเรา” ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุ 

 

สำหรับสถานการณ์ในอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกนั้น สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ซึ่งมีสายการบินสมาชิกถึง 290 สายการบิน คาดการณ์ว่าปีนี้ สายการบินทั่วโลกจะสูญเสียรายได้มากกว่า 84,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท (ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 11 กรกฎาคม) และเลิกจ้างพนักงานรวมมากกว่า 1 ล้านตำแหน่ง

 

ซึ่งในช่วงสัปดาห์นี้ สายการบิน United Airlines 1 ใน 3 สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ก็ประกาศเตือนว่าอาจจำเป็นต้องตัดลดพนักงานลงถึง 36,000 ตำแหน่ง เนื่องจากจำนวนผู้เดินทางด้วยเครื่องบินลดลงอย่างมาก

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง: 

The post พิษโควิด-19 กระทบหนัก สายการบิน Emirates จ่อลดพนักงาน 9,000 ตำแหน่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Emirates อ่วมไม่แพ้กัน เตรียมปรับลดพนักงาน 3 หมื่นตำแหน่ง เซ่นวิกฤตโควิด-19 https://thestandard.co/emirates-group-planning-to-cut-about-30000-jobs/ Mon, 18 May 2020 05:38:13 +0000 https://thestandard.co/?p=364442

เอมิเรตส์ กรุ๊ป (Emirates Group) เจ้าของสายการบินยักษ์ใ […]

The post Emirates อ่วมไม่แพ้กัน เตรียมปรับลดพนักงาน 3 หมื่นตำแหน่ง เซ่นวิกฤตโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เอมิเรตส์ กรุ๊ป (Emirates Group) เจ้าของสายการบินยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง ‘เอมิเรตส์’ เตรียมปรับลดพนักงาน 30,000 ตำแหน่ง หรือกว่า 30% จากจำนวนพนักงานทั้งบริษัท (สิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เอมิเรตส์มีจำนวนบุคลากรรวม 105,000 ราย) เพื่อลดค่าใช้จ่าย ประคองให้ธุรกิจของบริษัทยังสามารถดำเนินต่อไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ยังระบาด และส่งผลกระทบรุนแรงกับอุตสาหกรรมการบิน ธุรกิจท่องเที่ยว

 

Bloomberg ยังรายงานเพิ่มเติมโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดว่า เอมิเรตส์ กรุ๊ป ได้ระดมทุนในการจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เป็นมูลค่ากว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเตรียมมองความเป็นไปได้ในการขอความช่วยเหลือจากทางการดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) 

 

นอกจากนี้ เอมิเรตส์ยังเตรียมพิจารณาเร่งแผนการปลดระวางเครื่องบิน A380 ให้เร็วขึ้นจากกำหนดการเดิมอีกด้วย เพื่อปรับลดค่าดำเนินการ และรักษาสภาพคล่องให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในช่วงนี้ หลังจากที่ธุรกิจของบริษัทเริ่มได้รับผลกระทบอย่างหนักตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา และคาดว่าการท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวในอีก 18 เดือนต่อจากนี้

 

ปัจจุบัน สายการบินทั่วโลกล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบสาหัสจากโควิด-19 ด้วยกันทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่ต่างก็จำเป็นต้องปรับลดจำนวนพนักงาน บุคลากร เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ บ้างก็ต้องใช้วิธีปรับลดชั่วโมงการทำงาน สมัครใจลาออกหรือปลดเกษียณแบบ Early Retirement เป็นต้น

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ 

อ้างอิง

 

 


ห้ามพลาด! ฟอรัมที่เจาะลึก New Normal ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากวิทยากรระดับประเทศ 40 คน ซื้อบัตรงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ที่ https://www.eventpop.me/e/8705-economic-forum

The post Emirates อ่วมไม่แพ้กัน เตรียมปรับลดพนักงาน 3 หมื่นตำแหน่ง เซ่นวิกฤตโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ธุรกิจสายการบินแห่งชาติ’ บินได้ไกลแค่ไหนในปี 2019 https://thestandard.co/airline-business-2019/ Fri, 15 Nov 2019 07:21:59 +0000 https://thestandard.co/?p=304263

ใครจะไปเชื่อว่า ‘ธุรกิจสายการบิน’ ที่ดูเหมือนจะเฟื่องฟู […]

The post ‘ธุรกิจสายการบินแห่งชาติ’ บินได้ไกลแค่ไหนในปี 2019 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ใครจะไปเชื่อว่า ‘ธุรกิจสายการบิน’ ที่ดูเหมือนจะเฟื่องฟูจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและความต้องการเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ใหม่ๆ ของคน Gen Y แท้จริงแล้วกำลังอยู่ในภาวะ ‘กลืนไม่เข้าคายไม่ออก’ แม้จะมีรายได้และกำไรอยู่ก็จริง หากอยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเลขกำลังอยู่ในช่วงขาลง

 

ข้อมูลจากสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุว่าถึงแม้จำนวนผู้โดยสารจะเติบโต 5% (ลดลงจาก 7.4% ในปี 2018) เป็น 4.6 พันล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 4.4 พันล้านคนในปี 2018 และทำให้มีรายได้รวม 8.65 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 26 ล้านล้านบาท 

 

หาก IATA ได้ออกมาปรับลดคาดการณ์แนวโน้มกำไรของอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศทั่วโลกในปี 2019 เหลือ 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 8.46 แสนล้านบาท ลดลงจากที่ประเมินไว้ในเดือนธันวาคม 2018 จะมีกำไร 3.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 1 ล้านล้านบาท 

 

สาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น คาดปีนี้จะมีราคาอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น 27.5% เมื่อเทียบกับปี 2017 โดยค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจะคิดเป็น 25% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (เพิ่มขึ้นจาก 23.5% ในปี 2018) 

 

ขณะเดียวกันยังเจอปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งมีการประเมินว่าต้องการนักบินเพิ่ม 255,000 คนภายในปี 2027 เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าใน 20 ปี และสงครามการค้าโดยเฉพาะสหรัฐฯ-จีน ที่นับวันจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจนอาจส่งผลกระทบต่อทั้งอุปสงค์และอุปทาน

 

ทำให้ในปี 2019 ค่าใช้จ่ายโดยรวมนั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.4% ซึ่งสูงกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น 6.5% การเพิ่มขึ้นที่ไม่สัมพันธ์กันนี้ได้เข้าไปกดดันกำไรสุทธิจนเติบโตเพียง 3.2% น้อยกว่าปี 2018 ที่ทำได้ 3.7% ขณะที่กำไรต่อผู้โดยสารจะเหลือ 6.12 ดอลลาร์สหรัฐ ราว 184.88 บาท จากปี 2018 ที่ทำได้ 6.85 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 206.93 บาท

 

เพื่อให้เห็นภาพสถานการณ์ของแต่ละสายการบิน THE STANDARD จึงหยิบผลประกอบการในปี 2019 ของสายการบินบางแห่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘สายการบินแห่งชาติ’ เพื่อดูว่าตัวเลขรายได้และกำไรเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม บางสายการบินจะเป็นงบ 6 เดือนหรืองบ 9 เดือน ด้วยแต่ละแห่งวางปีงบประมาณไม่เหมือนกัน

 

 

Japan Airlines

เริ่มต้นด้วยสายการบินแห่งชาติของแดนซามูไร ‘Japan Airlines’ รายงานผลประกอบการ 6 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2019 แจ้งรายได้จากการดำเนินงาน 7.598 แสนล้านเยน หรือ 2.11 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 3.9% เป็น 6.785 แสนล้านเยน ประมาณ 1.87 แสนล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิลดลง 29% จาก 7.6 หมื่นล้านเยน เหลือ 5.4 หมื่นล้านเยน หรือ 1.5 หมื่นล้านบาท

 

Japan Airlines อธิบายว่าสาเหตุมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนระหว่างสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน เป็นผลทำให้ผู้โดยสารระหว่างประเทศมีน้อยลง รายได้จึงน้อยลง 1.2% รวมไปถึงเส้นทางฮ่องกงและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้การปรับประเมินรายได้ใหม่จะลดลง 4.7 หมื่นล้านเยน เติบโตเพียง 3% คิดเป็นรายได้รวม 1.516 ล้านล้านเยน ส่วนกำไรยังประเมินไว้ที่ 1.14 แสนล้านเยนเท่าเดิม

 

Singapore Airlines

อีกหนึ่งสายการบินแห่งชาติของสิงค์โปร์ที่มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งมาตลอด ‘Singapore Airlines’ รายงานผลประกอบการ 6 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2019 แจ้งรายได้รวม 8,325 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 1.846 แสนล้านบาท เติบโต 5.3% ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายรวม 7,912 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ 1.754 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8% ส่งผลให้มีกำไรจากการดำเนินงานลดลง 3.1% เหลือ 413 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ แต่โดยรวมแล้วมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5.1% จาก 196 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เป็น 206 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 4.567 พันล้านบาท 

 

Singapore Airlines แจ้งว่าแม้จะมีรายได้จากผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 514 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เติบโต 8.2% แต่มีรายได้จากการขนส่งสินค้าลดลง 12.5% เหลือ 138 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการส่งออกที่ชะลอตัวจากประเทศผู้ผลิตสำคัญในยุโรปและเอเชีย นอกจากนี้ยังต้องบันทึกผลงานดุลการขาดดุลปฏิบัติการ 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หลังจากต้องหยุดบิน Boeing 737 MAX จำนวน 8 ลำ

 

Cathay Pacific

ต้องบอกว่าสายการบินแห่งชาติของฮ่องกง ‘Cathay Pacific’ กำลังอยู่ในภาวะพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกอย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ช่วงครึ่งปีแรกภาพรวมของทั้งกลุ่มจะมีรายได้ 53,547 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 206,540 ล้านบาท เติบโต 0.9% ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น 5.6% แต่มีรายได้จากการขนส่งสินค้าลดลง 11.4% เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน 

 

มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 52,493 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ประมาณ 202,470 ล้านบาท ลดลง 1.7% คิดเป็นกำไรสุทธิ 1,347 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 5,195 ล้านบาท เติบโต 1,696% หลังจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนติดลบ 75 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

 

แต่การประท้วงในฮ่องกงซึ่งกินเวลามายาวนานหลายเดือนส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของ Cathay Pacific ซึ่งปกติแล้วครึ่งปีหลังจะทำผลงานได้ดีกว่าครึ่งปีแรก ข้อมูลผลประกอบการเฉพาะเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบว่ามีผู้โดยสารลดลง 7.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยได้ลดความจุเที่ยวบินผู้โดยสาร (Passenger Flight Capacity) ลงจากตารางเดิม 2-4% ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และ 6-7% ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม โดยคาดว่าผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกอย่างมาก

 

Emirates Airlines

ต่อกันที่ ‘Emirates Airlines’ ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นหูของคนไทย และเป็นสายการบินแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่งประกาศผลประกอบการช่วงครึ่งปีแรก สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2019 พบว่ามีรายได้ 5.33 หมื่นล้านเดอร์แฮมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือประมาณ 438,253 ล้านบาท ลดลง 2% เนื่องจากมีการปิดรันเวย์ส่วนใต้ 45 วันที่สนามบินนานาชาติดูไบ และอัตราแลกเปลี่ยนในยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ อินเดีย และปากีสถาน

 

แต่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 8% เป็น 1.2 พันล้านเดอร์แฮมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ราว 9,870 ล้านบาท เนื่องจากการลดลงของราคาเชื้อเพลิง 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่กำไรจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ลดลงถูกชดเชยบางส่วนจากการเคลื่อนไหวของค่าเงิน

 

เมื่อเจาะเฉพาะผลประกอบการของสายการบิน Emirates Airlines จะพบว่ามีรายได้ลงลง 3% คิดเป็นตัวเลข 4.73 หมื่นล้านเดอร์แฮมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมาณ 389,052 ล้านบาท แต่มีกำไรเติบโตถึง 282% คิดเป็นตัวเลข 862 ล้านเดอร์แฮมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ราว 7,090 ล้านบาท เนื่องจากมีจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 7.9%

 

การบินไทย

ปิดท้ายด้วยสายการบินแห่งชาติของบ้านเรา ‘การบินไทย’ เพิ่งแจ้งผลประกอบการไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อคืนที่ผ่านมา (14 พฤศจิกายน) โดยระบุผลประกอบการ 9 เดือน ปี 2019 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2019 มีรายได้รวมจํานวน 137,316 ล้านบาท ลดลง 11,342 ล้านบาท หรือ 7.6% สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการขนส่งลดลง 8.6% คิดเป็นตัวเลข 11,655 ล้านบาท โดยในส่วนของรายได้จากค่าโดยสารและน้ำหนักส่วนเกินลดลง 7.1% มีสาเหตุหลักจากปริมาณการขนส่งผู้โดยสารลดลง 3%

 

ค่าใช้จ่ายรวมจํานวน 148,098 ล้านบาท ลดลง 3,467 ล้านบาท หรือ 2.3% โดยค่าน้ำมันเครื่องบินลดลง 5.5% หรือ 2,384 ล้านบาท ตามราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ลดลง 7.6% และค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานไม่รวมน้ำมันลดลง 974 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกันแล้วมีการขาดทุนสุทธิ 11,102 ล้านบาท ขาดทุนสูงกว่าปีก่อน 7,066 ล้านบาท หรือ 175.1% 

 

การบินไทยระบุในเอกสารที่ส่งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า จากสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงส่งผลกระทบต่อผลประกอบการโดยรวม จึงกำหนดกลยุทธ์เร่งด่วนในการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ 6 กลยุทธ์ เช่น การควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการ, การลดปริมาณของเหลือใช้, การรุกตลาดใหม่ และเพิ่มรายได้โดยใช้ Digital Marketing ฯลฯ

 

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

อ้างอิง: 

 

The post ‘ธุรกิจสายการบินแห่งชาติ’ บินได้ไกลแค่ไหนในปี 2019 appeared first on THE STANDARD.

]]>