Digital Literacy – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 31 May 2024 04:47:53 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 AWS ทุ่ม 1.9 แสนล้านบาท ลุยลงทุน Data Center ในไทย ด้าน ‘เศรษฐา’ ประกาศดันไทยขึ้น ‘ฮับ’ เทค https://thestandard.co/aws-invest-on-datacenter-thailand/ Fri, 31 May 2024 04:45:10 +0000 https://thestandard.co/?p=939647

เช้าวานนี้ (30 พฤษภาคม) เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็น […]

The post AWS ทุ่ม 1.9 แสนล้านบาท ลุยลงทุน Data Center ในไทย ด้าน ‘เศรษฐา’ ประกาศดันไทยขึ้น ‘ฮับ’ เทค appeared first on THE STANDARD.

]]>

เช้าวานนี้ (30 พฤษภาคม) เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน AWS Summit in Bangkok ซึ่งจัดโดย Amazon Web Services บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Cloud Computing ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

เศรษฐากล่าวว่า ยินดีที่ AWS มีแผนลงทุนสร้าง Data Center ในประเทศไทย มูลค่ากว่า 1.9 แสนล้านบาท ภายในปี 2037 โดยปีที่ผ่านมา AWS นำเงินเข้ามาในไทยแล้วกว่า 1.16 หมื่นล้านบาท พร้อมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจะได้ใช้ AWS Thailand Region อย่างเต็มตัวในช่วงต้นปี 2025 ซึ่งการลงทุนของ AWS นอกจากจะทำให้ไทยมี Cloud ที่มีความมั่นคงและปลอดภัยแล้ว ยังสะท้อนว่าบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกเห็นศักยภาพ และเชื่อมั่นว่าจะเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจของประเทศไทยได้

 

โดยรัฐบาลกำลังเดินหน้าปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอื่นๆ คู่ขนานไปกับการดึงดูด Data Center เพื่อมุ่งหน้าสู่การเป็นศูนย์กลาง Digital Economy และ Technology ทั้งการดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในระดับต้นน้ำ เช่น การผลิต Semiconductor ไปจนถึงปลายน้ำ เช่น อุตสาหกรรม Smart Electronics และส่งเสริมการเพิ่มทักษะของ Talent ซึ่งปัจจุบัน AWS ให้การฝึกอบรมคนไทยไปกว่า 50,000 คน และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำ AWS Academy เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตร สร้าง Digital Literacy ในนิสิต-นักศึกษา ถือเป็นความร่วมมือ Partnership ที่ดีระหว่างภาคเอกชนและภาคการศึกษา

 

สำหรับประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Cloud โดย Cloud เป็นหนึ่งใน Breakthrough Technology ที่มาช่วยลดต้นทุนของการทำงานได้มหาศาล เพิ่ม Speed to market ของการ Deploy Workflow ใหม่ๆ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อทีมงาน Productive มากขึ้น ผลลัพธ์ของลูกค้าก็จะได้รับบริการที่ดียิ่งขึ้นไปด้วย 

 

ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมที่จะปรับปรุงระบบงานของราชการให้ทันสมัย ซึ่งเป็นหนึ่งใน Agenda สำคัญที่กำลังผลักดันในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อปลายปี 2023 และมีมติให้เร่งขับเคลื่อนนโยบายการใช้ Cloud เป็นหลัก (Cloud First Policy) ที่จะลดภาระเงินลงทุนในระบบ IT ของภาครัฐ โดยเปลี่ยนไปใช้ Cloud มากขึ้น พร้อมคาดหวังว่า เมื่อระบบงานราชการดีขึ้นแล้ว ราชการและประชาชนจะสามารถติดต่อสื่อสาร ทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาคเอกชน ประชาชน ลดค่าใช้จ่าย ลดความยุ่งยากในการติดต่อกับราชการในอนาคต

 

บรรยากาศในงานช่วงการพูดคุยระหว่าง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กับผู้บริหาร AWS

 

ปัจจุบันระบบ Cloud ได้กลายเป็นกระดูกสันหลังของระบบเทคโนโลยีที่สำคัญในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร การท่องเที่ยว การทำมาร์เก็ตติ้ง ภาคการศึกษา รวมไปถึงเทคโนโลยีล่าสุด Generative AI (Artificial Intelligence) ซึ่งขณะนี้ในหลายๆ ภาคส่วน รวมถึงทีมงานหลังบ้านของราชการ ได้เริ่มนำ Generative AI มาใช้ประโยชน์ในการทำงานแล้ว 

 

โดยเชื่อมั่นว่าในระยะยาวจะมีการขยับขยายการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถยก Productivity Curve ให้กับทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มี Data Center ที่มีขนาดใหญ่ช่วยประมวลผล และระบบอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่ง จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการลงทุน Data Center ซึ่งเป็นหัวใจหลักของเทคโนโลยี Cloud Computing

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มว่า ยืนยันที่จะสนับสนุนความร่วมมือในลักษณะ Win-Win เช่นนี้ และเชื่อมั่นว่าการลงทุนและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของทั้ง AWS และทุกภาคส่วนในประเทศไทยจะยกระดับ Digital Literacy ให้กับคนไทย ทำประเทศไทยให้เป็นบ้านอีกหลังของ AWS และนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว พร้อมหวังว่าจะได้เห็นความร่วมมือที่มากยิ่งขึ้น สร้าง Digital Ecosystem ในประเทศไทยให้เติบโตไปพร้อมกัน เพื่อทำให้วิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND ด้าน Technology Hub เกิดขึ้นได้จริง

 

ด้าน วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Director, AWS ประเทศไทย ได้ประกาศความพร้อมของการตั้ง AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในประเทศไทย ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2025 โดยคาดการณ์จำนวนการลงทุนกว่า 1.9 แสนล้านบาท ภายในปี 2037 ซึ่งที่ผ่านมา AWS ได้เตรียมความพร้อมในการให้บริการทางด้าน Cloud และการลงทุนในด้านการให้บริการส่งตรงฐานข้อมูลจากประเทศไทยไปสิงคโปร์ด้วย รวมถึงมุ่งมั่นในการพัฒนาแพลตฟอร์ม AI และ Cloud ในไทย เพื่อให้บุคลากรและองค์กรต่างๆ สามารถใช้บริการในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ทั้งนี้ งาน AWS Summit in Bangkok เป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมประจำปี AWS Global Summits โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,500 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี นักธุรกิจ นักลงทุนชั้นนำของไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ด้าน Cloud Computing และเทคโนโลยีเกิดใหม่อื่นๆ ผ่านงานสัมมนากว่า 30 หัวข้อ และบูธจัดแสดงเทคโนโลยีอีก 29 บูธ

The post AWS ทุ่ม 1.9 แสนล้านบาท ลุยลงทุน Data Center ในไทย ด้าน ‘เศรษฐา’ ประกาศดันไทยขึ้น ‘ฮับ’ เทค appeared first on THE STANDARD.

]]>
องค์กรต้องทำอย่างไรในยุคดิจิทัล? มองการปรับตัวของ dtac ผ่านแคมเปญ 40-hour Challenge [Advertorial] https://thestandard.co/dtac-40-hour-challenge/ https://thestandard.co/dtac-40-hour-challenge/#respond Wed, 24 Jan 2018 10:49:33 +0000 https://thestandard.co/?p=64749

ทุกวันนี้เวลาองค์กรหรือหน่วยงานใดคิดจะขยับตัวเปลี่ยนแปล […]

The post องค์กรต้องทำอย่างไรในยุคดิจิทัล? มองการปรับตัวของ dtac ผ่านแคมเปญ 40-hour Challenge [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทุกวันนี้เวลาองค์กรหรือหน่วยงานใดคิดจะขยับตัวเปลี่ยนแปลงอะไร เรามักจะได้ยินคำว่า ‘4.0’ เต็มไปหมด แต่ครั้นจะหาแนวทางการปรับตัวเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมจริงๆ ก็อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร


สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออย่าง ดีแทค (dtac) มองว่า ‘ถึงเวลาแล้ว’ ที่ต้องลุกขึ้นมาปฏิรูปองค์กรและทักษะความสามารถของพนักงานในบริษัท ผ่านแคมเปญ ‘40-hour Challenge’


แล้ว 40-hour Challenge หรือโปรแกรม 40 ชั่วโมงคืออะไร?

ข้อมูลผลสำรวจสถาบัน Capgemini Digital Transformation พบว่า 50% ขององค์กรส่วนใหญ่ทั่วโลกในทุกวันนี้ล้วนขาดบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลด้วยกันทั้งนั้น

 

 

Digital Skill หรือ Digital Literacy มีความหมายครอบคลุมถึงทักษะความสามารถในการประยุกต์ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ IOT รวมถึงการใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อประยุกต์ใช้ในสายงานของตัวเองได้อย่างมีประโยชน์และเหมาะสม


ขณะที่พนักงานและคนดิจิทัลยุคปัจจุบันก็คาดหวังที่จะได้เรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลจากองค์กรที่ตนสังกัดอยู่เพิ่มขึ้น


โปรแกรม 40-hour Challenge ของดีแทคจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุผลดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนในบริษัทและพนักงานจำนวนกว่า 4,000 คนได้เรียนรู้-สั่งสมความสามารถด้านดิจิทัลผ่านการเข้าคอร์สอบรมบนระบบออนไลน์ที่พัฒนาร่วมกับ Lynda.com, Coursera และ Telenor ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเข้าไปศึกษาบทเรียนต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Plearn ของดีแทคได้ทุกที่ทุกเวลา และไม่จำกัดเวลา โดยตั้งเป้าขั้นต่ำไว้ว่าพนักงานควรจะเข้าศึกษาให้ได้ไม่ต่ำกว่าคนละ 40 ชั่วโมงในสิ้นปีนี้ ส่วนเป้าหมายขององค์กรตั้งจำนวนชั่วโมงโดยรวมไว้ที่ 100,000 ชั่วโมง


ตัวอย่างทักษะดิจิทัล 5 ประการที่สำคัญ เช่น

  1. ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing)
  2. ดิจิทัล แชนแนล (Digital Channel)
  3. การวิเคราะห์เชิงประยุกต์ (Applied Analytics)
  4. การออกแบบ (Design)
  5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์​ (Product Development)

 

 

กลยุทธ์จูงใจต้องแตกต่างและดึงดูด ที่สำคัญต้องไม่ใช้ ‘การบังคับ’

การจะล็อกอินเข้าใช้แอปพลิเคชัน Plearn ได้ คุณจะต้องเป็นบุคลากรของดีแทคเสียก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าอิจฉามากๆ สำหรับพนักงานดีแทค เนื่องจากในแพลตฟอร์มของพวกเขามีหลักสูตรบทเรียนต่างๆ ให้เลือกหลากหลายถึง 22 คอร์สผ่านรูปแบบของคลิปวิดีโอหรือบทความที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจริง พร้อมบททดสอบปิดท้าย


นาฏฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคลดีแทค บอกว่า 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดเริ่มทยอยเข้ามาอบรมหลักสูตร 40-hour Challenge เรียบร้อยแล้ว


อย่างไรก็ดี ด้วยสัดส่วนบุคลากรบริษัทอัตรา 50-50 ที่แบ่งเป็นคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงานบางส่วนไม่ได้รู้สึกยินดียินร้ายว่าตนจะต้องปรับตัวเพื่อเข้าสู่บทเรียนการฝึกทักษะด้านดิจิทัลแต่อย่างใด


โจทย์สำคัญที่ดีแทคจะต้องตีให้แตกในครั้งนี้คือ ‘ทำอย่างไรให้พนักงานตระหนักว่าตนต้องปรับตัว และเข้าศึกษาคอร์สการเรียนออนไลน์ที่บริษัทเป็นผู้เตรียมไว้ให้’


กลยุทธ์สำคัญที่ทางดีแทคใช้ในครั้งนี้คือเกมิฟิเคชัน (Gamification) หรือการนำรูปแบบปลดล็อกด่านของเกมและการเข้าศึกษาบทเรียนเพื่อแลกรับของรางวัลและคอยน์ต่างๆ มาใช้


โดยทุกๆ บทเรียนจะมีมูลค่าของรางวัลและหน่วยเงินที่ได้รับต่างกันออกไป ส่วนเจ้าหน้าที่และหัวหน้าระดับสูงก็สามารถให้คอยน์แก่ลูกทีมหรือพนักงานคนอื่นๆ เพื่อเป็นของรางวัลในกรณีที่ทำแคมเปญต่างๆ สำเร็จ ซึ่งเงินรางวัลที่ได้รับก็สามารถนำไปใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินจริงๆ จ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟผ่านแอปฯ ชมชอบ (ChomCHOB) หรือค่าโดยสาร BTS Rabbit Card ได้อีกด้วย

 

 

วิธีนี้ถือเป็นการดึงดูดจูงใจให้พนักงานเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ผ่านแอปฯ Plearn อีกทางหนึ่ง เพราะดีแทคประกาศชัดว่าจะไม่มีการบังคับให้พนักงานเข้าร่วมหลักสูตรอบรม 40 ชั่วโมงที่ว่านี้เด็ดขาด


“การฝึกอบรมจะเปิดให้พนักงานสามารถเลือกได้อย่างอิสระ ต่างจากรูปแบบการเทรนแบบเดิมๆ ที่หัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งการฝึกอบรมในยุคนี้จะอิงตามเป้าหมายของพนักงานแต่ละคน รวมถึงเป้าหมายของสายงานและหน่วยงานที่เขาสังกัดอยู่” นาฏฤดีกล่าว


เมื่อถูกถามว่าดีแทครู้สึกอย่างไร หากพนักงานที่ตัวเองลงทุนพัฒนาเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้จะถูกซื้อตัวไปอยู่กับองค์กรอื่นๆ นาฏฤดียอมรับว่าดีแทคเองก็กลัวจะประสบเหตุการณ์ดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้นบริษัทจึงต้องปรับวัฒนธรรมขององค์กรให้ต่างจากขนบธรรมเนียมเดิมๆ


“เราต้องปรับรูปแบบองค์กรให้เซ็กซี่ขึ้นไปด้วย เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับคนดิจิทัล และดึงดูดพวกเขา


“วันนี้เราใช้บางส่วนของ Machine Learning และ AI ในประเทศไทย เรากำลังทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของดีแทคทำให้เราเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับผู้ที่มีความสามารถด้านดิจิทัล ซึ่งผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัลก็จะดึงดูดซึ่งกันและกัน”

 

 

จากข้อมูลการเลื่อนตำแหน่งภายในบริษัทดีแทคเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา พบว่าองค์กรเปิดให้พนักงานทุกคนสามารถเปลี่ยนไปปฏิบัติหน้าที่ในสายงานอื่นๆ ได้อย่างอิสระมากกว่า 40% ส่วนอีก 10% สามารถเลื่อนลำดับตำแหน่งและได้รับการโปรโมต


นี่จึงเป็นอีกก้าวย่างสุดท้าทายของดีแทคกับการพัฒนาบุคลากรไทยในองค์กรให้มีประสิทธิภาพทั้งด้านความสามารถและทักษะความพร้อมด้านดิจิทัล เพื่อตอบรับกับโลกยุคใหม่และเศรษฐกิจ 4.0

 

 

The post องค์กรต้องทำอย่างไรในยุคดิจิทัล? มองการปรับตัวของ dtac ผ่านแคมเปญ 40-hour Challenge [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/dtac-40-hour-challenge/feed/ 0