Content – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 31 Jan 2024 03:34:21 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘อนาคต’ การทำคอนเทนต์และการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม ในยุคที่คนนิยมเสพวิดีโอเกิน 1 นาที https://thestandard.co/future-of-content-creation/ Wed, 31 Jan 2024 03:34:21 +0000 https://thestandard.co/?p=894140

ท่ามกลางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของระบบนิเวศ TikTok ที่ป […]

The post ‘อนาคต’ การทำคอนเทนต์และการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม ในยุคที่คนนิยมเสพวิดีโอเกิน 1 นาที appeared first on THE STANDARD.

]]>

ท่ามกลางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของระบบนิเวศ TikTok ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานรายบุคคลทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วกว่า 325 ล้านคน พร้อมด้วยธุรกิจอีกกว่า 15 ล้านราย พวกเขาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจไปแล้ว โดยประเทศไทยมีครีเอเตอร์มากกว่า 3 ล้านคนที่สร้างรายได้จาก TikTok และผู้ขายกว่า 2.4 ล้านคนที่เป็นคนไทยเกือบทั้งหมด

 

สถิติในปี 2021 จาก TikTok ประเทศไทย ภายในงาน ‘Tiktok For All’ เผยว่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะว่ามูลค่าประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 6.81% ของ GDP ประเทศไทย พร้อมทั้งคนไทยที่ใช้งาน TikTok ในการสร้างคอนเทนต์ยังสามารถทำรายได้สูงกว่ารายได้ขั้นต่ำถึง 36%

 

ในโลกปัจจุบันการเสพเนื้อหาและการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามีความต่างออกไปจากในอดีตอย่างมาก และ TikTok ประเทศไทยรวมอินไซต์ของแพลตฟอร์มมาเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมของคนในโลก Creative Economy ที่ซึ่งสื่อกลางความบันเทิงก็สามารถเป็นแหล่งรวมสินค้าและบริการให้คนเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบาย

 

อินไซต์แรกคือคอนเซปต์ของ Shoppertainment ที่สำคัญมากกับแบรนด์ในยุคปัจจุบัน โดย กรณิการ์ นิวัติศัยวงศ์ Head of FMCG, E-Commerce ประเทศไทย อธิบายว่ามันคือวิธีการเลือกช้อปแบบใหม่ “Shoppertainment คือการสร้างบรรยากาศด้วยความสนุกและความรู้ เพื่อให้ประสบการณ์การช้อปที่พิเศษกว่าเดิม” คอนเซปต์นี้ไม่ใช่แค่คำพูดติดหูอีกแล้ว แต่เป็นเทรนด์ที่ภายในปี 2025 จะมีขนาดตลาดถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 12,400 ล้านดอลลาร์ ในประเทศไทย

 

สำหรับปี 2024 ประเภทเนื้อหาวิดีโอที่คาดว่าจะมาแรงคือเนื้อหาที่สามารถสร้างความบันเทิงได้ เนื้อหาการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ หรือจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกิน ความงาม และไลฟ์สไตล์ เป็นต้น

 

มาในส่วนของจริตการเสพคลิปวิดีโอ TikTok ประเทศไทยเผยตัวเลขว่าผู้เสพสื่อคลิปสั้นมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากในอดีต โดยวิดีโอที่เนื้อหานานเกินกว่า 1 นาทีตอนนี้กลายเป็นรูปแบบที่ผู้ชมนิยมมากขึ้น ซึ่งสัดส่วน 50% ของคนดูในแพลตฟอร์มเลือกใช้เวลากับวิดีโอที่ยาวเกิน 1 นาทีขึ้นไป 

 

นอกจากนี้ สถิติที่แสดงให้เห็นได้ถึงความจำเป็นที่ครีเอเตอร์หลายคนหันมาสนใจสร้างคอนเทนต์ที่มีเวลานานขึ้น มาจากยอดการเติบโตของผู้ติดตามที่เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5 เท่าของกลุ่มครีเอเตอร์ที่ตั้งหน้าตั้งตาทำแต่คลิปสั้นอย่างเดียว พร้อมทั้งยอดวิวของวิดีโอที่ยาวเกิน 1 นาทียังปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 41% หรือ 7 เท่าของยอดวิวคลิปสั้นด้วย

 

ทว่าสิ่งที่สอดคล้องกับเทรนด์ความนิยมคลิปที่มีเวลาเกิน 1 นาทีที่กำลังเป็นประเด็นก็คือในฝั่งของต่างประเทศดันมีโพสต์ที่ The Verge ได้รับเรื่องจากการที่ครีเอเตอร์นามว่า @candicedchap และ @kenlyealtumbiz แชร์โพสต์ที่อ้างว่า TikTok กำลังเตรียมเดินหน้าจูงใจครีเอเตอร์ให้ผลิตวิดีโอที่มีเวลามากกว่า 1 นาที โดยหากเนื้อหาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการเมือง TikTok ก็จะโปรโมตคอนเทนต์ให้ถูกเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม พิสุทธิ์ โรจน์เลิศจรรยา หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ (Head of Operations) TikTok ประเทศไทย กล่าวถึงข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ว่า “ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้คอนเทนต์ความยาวเกิน 1 นาทีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นมาจากการตอบรับของผู้ชมเป็นหลัก และไม่เกี่ยวกับความยาว เพราะต่อให้วิดีโอมีเวลา 5 นาที แต่คอนเทนต์ไม่ดึงดูดก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ ซึ่งหมายความว่าสุดท้ายแล้วคุณภาพกับความครบถ้วนของเนื้อหาจะต้องตอบโจทย์ผู้ชม” 

 

มากไปกว่านั้น พิสุทธิ์ยังยืนยันว่าสำหรับ TikTok ประเทศไทยจะยังไม่มีนโยบายการใช้โปรแกรมดังกล่าวเพื่อจูงใจครีเอเตอร์ให้ผลิตวิดีโอที่มีความยาวมากขึ้น หากแต่เป็นคุณภาพและความถูกใจของผู้ชมที่เป็นตัวตัดสินว่าคอนเทนต์จะปังหรือไม่

 

แต่สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ TikTok ในต่างประเทศท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอันดุเดือดของเหล่าบริษัทแพลตฟอร์มคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอ ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ ขจร เจียรนัยพานิชย์ ออกมาโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

 

“เราอยู่ในโลกที่ TikTok พยายามเป็น Shopee, Lazada ดันช้อปปิ้ง จัดโปร แคมเปญ เก็บ GP ดัน Live ขายของ

 

Shopee, Lazada พยายามเป็น TikTok ดันครีเอเตอร์มาทำคลิปสั้นในแอป ดันคอนเทนต์

 

TikTok พยายามเป็น YouTube, FB ดันคลิปยาว คลิปแนวนอน Long-Form Video

 

FB, Instagram, YouTube พยายามเป็น TikTok ดันคลิปสั้น ตัดต่อคลิปในแอปได้ Short-Form Video”

 

จากผลการศึกษาโดย Boston Consulting Group พบว่า 71% ของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดูคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม TikTok มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจกดสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มไดนามิกที่ตั้งเป้าในปี 2024 ว่าต้องการจะขยายการเข้าถึงแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (CPG), คอมเมิร์ซ, อาหารและเครื่องดื่ม (F&B), ยานยนต์, การเงิน และแอปพลิเคชัน 

 

ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดูเหมือนว่าการขยับของผู้เล่นคนหนึ่งก็เป็นตัวที่สร้างแรงกระเพื่อมให้ผู้เล่นรายอื่นต้องขยับตาม เพื่อรักษาตำแหน่งและส่วนแบ่งในตลาดของตนเองเอาไว้ให้ได้อย่างเหนียวแน่นที่สุด

 

ภาพ: NurPhoto / Getty Images

อ้างอิง:

The post ‘อนาคต’ การทำคอนเทนต์และการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม ในยุคที่คนนิยมเสพวิดีโอเกิน 1 นาที appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุยกับ ‘LocalXplorer’ ทีมชนะจากโครงการ ‘Content Lab’ ผู้อยากสร้างแอปท่องเที่ยวชุมชนที่ร่ายมนตร์ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’ [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/localxplorer-content-lab-winner/ Fri, 15 Sep 2023 08:30:14 +0000 https://thestandard.co/?p=841234 LocalXplorer

จับตาโฉมใหม่การท่องเที่ยวไทยให้ดี เพราะนับจากนี้คนไทยแล […]

The post คุยกับ ‘LocalXplorer’ ทีมชนะจากโครงการ ‘Content Lab’ ผู้อยากสร้างแอปท่องเที่ยวชุมชนที่ร่ายมนตร์ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
LocalXplorer

จับตาโฉมใหม่การท่องเที่ยวไทยให้ดี เพราะนับจากนี้คนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติจะได้สัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบ ‘Meaningful Travel’ ไม่ใช่แค่การเดินทาง แต่เป็นการค้นพบช่วงเวลาแสนพิเศษ ผ่านแพลตฟอร์มและคอนเทนต์จากมุมมองคนรุ่นใหม่ 

 

ที่กล้ายืนยันเพราะเมื่อวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม THE STANDARD เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ และร่วมลุ้นว่า 1 ใน 6 ทีมใครจะเป็นผู้ชนะในโครงการ ‘Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล’ รอบ Final Product Pitching   

 

LocalXplorer

 

เท้าความที่มาที่ไปของโครงการ Content Lab ก่อนว่า เป็นโครงการที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ร่วมกันผลักดัน ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่ต่อยอด ‘อุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย’ ให้ขายได้ ยกระดับให้ก้าวสู่ตลาดสากล จากพลังของการสร้างสรรค์ผ่าน Soft Power พร้อมทั้งสนับสนุนบุคลากรสร้างสรรค์ให้มีความพร้อม ต่อยอดการทำงานที่ปรับใช้ได้จริง 

 

นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจใน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มภาพยนตร์และซีรีส์ (Film & Series) และ 2. ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)

 

โดยทาง ปตท. เป็นแกนหลักในส่วนของโปรแกรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) เปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creator) นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสมัครเข้ามา ก่อนจะคัดเลือกเพียง 13 ทีม เพื่อเข้าร่วมเวิร์กช็อปปฏิบัติจริงกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี 

 

ทุกคนจะได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน เรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ทั้ง Virtual Production, AR/XR, AR Location Based, CG, 3D Model ฯลฯ พร้อมเยี่ยมชมสตูดิโอชั้นนำของประเทศ เช่น XR Studio, Supreme Studio และ L&E Studio ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม

  

LocalXplorer

 

โดยทั้ง 13 ทีมจะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเวิร์กช็อปมานำเสนอ Proposal ภายใต้หัวข้อ ‘Meaningful Travel’ ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ 

 

ความเจ๋งคือทุกทีมที่ผ่านเข้า Final Product Pitching จะได้รับเงินสนับสนุนจาก ปตท. เพื่อนำไปผลิต Prototype เพื่อมานำเสนอในรอบ Final Pitching และนี่คือ 6 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ 

 

หมวด Film & Advertising

  • ทีม Thatien โดย นฤพนธ์ พันธุ์ไพโรจน์
  • ทีม One free day โดย ธนิต ยงรัตนมงคล

 

หมวด Location Based & Platform

  • ทีม LocalXplorer โดย กรัณย์กฤษฎ์ ภาวิศกุล, บุญเลิศ เฮงสุนทร, ณัฏฐ์ ตันโชติช่วง, ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์, ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ และ อภิสรา เฮียงสา
  • ทีม Thailand Culture Guide โดย รัชชานนท์ วนิชสมบัติ, อุกฤษฎ์ น่วมดี และ ทวิช ธานี

 

หมวด Game 

  • ทีม Sermtat | Thai VR Boxing Game โดย ณัฐพงศ์ ตั้งเสถียรภาพ, จักรกฤษณ์ พงษ์พาณิชย์ และ พงษ์พิสิทธิ์ ดีสาระพันธ์
  • ทีม Bangkok Adventure Board Game โดย ภาวิดา ผุสดีโสภณ, วรินทร ฉัตรบูรพาชัย และ นภัสนันท์ บัวสมบุญ

 

LocalXplorer

 

ชาญ กุลภัทรนิรันดร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนและพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เผยว่า “โครงการ Content Lab เป็นเหมือนคอร์สอบรมพัฒนาทักษะโปรแกรมด้านดิจิทัลคอนเทนต์และโปรแกรมภาพยนตร์หรือซีรีส์ จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา มุ่งหวังว่าโครงการนี้จะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่จะดึงศักยภาพนักสร้างสรรค์คอนเทนต์คนไทย และกระตุ้นเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล 

 

“ต้องยอมรับว่าหลังจากเห็นผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ ยิ่งมั่นใจในความสามารถและศักยภาพของคนไทยว่าเทียบเท่าระดับสากล โดยเฉพาะบุคลากรในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาผลิตผลงานสร้างสรรค์ได้ แต่อาจยังขาดโอกาสและแรงผลักดันสนับสนุน ด้วยเหตุนี้เอง ปตท. จึงพร้อมผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการผลิตผลงานสร้างสรรค์ของไทยไปสู่ระดับสากล และเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิตผลงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เกม นิทรรศการ ปตท. พร้อมเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อน ที่จะช่วยจุดพลังความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดเทคโนโลยีดิจิทัล และยกระดับอุตสาหกรรม Soft Power ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตคอนเทนต์สร้างสรรค์ของอาเซียน สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยให้เติบโตไปพร้อมกัน 

 

LocalXplorer

 

ในฐานะผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ที่ได้เห็นทั้ง 6 ทีมนำเสนอผลงาน ต้องบอกว่าทุกทีมโดดเด่นในแนวทางที่พวกเขาถนัด มีมุมมองการผลิตคอนเทนต์ที่สดใหม่ จนอยากให้ทุกทีมได้รางวัลชนะเลิศ แต่ท้ายที่สุดทีมที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วว่ามีแนวคิดการพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์ Soft Power สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนา และมีความเป็นไปได้ในการต่อยอดเชิงธุรกิจจนสามารถคว้าเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท ได้แก่ ทีม ‘LocalXplorer’

 

LocalXplorer

 

LocalXplorer เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยว ที่จะพาคุณสัมผัสประสบการณ์กับชุมชนในแบบที่ไม่เหมือนใคร เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ กับเรื่องราวและคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชน ภายใต้แนวคิด ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’

 

ขอเล่าในมุมของคนที่ได้ฟังการนำเสนอของทีม บอกเลยว่าเป็นทีมที่แข็งแรงทั้งคอนเทนต์และเทคโนโลยี ฟีเจอร์ที่อยู่ในแอปจะพานักท่องเที่ยวไปสัมผัส ‘Meaningful Travel’ อย่างแท้จริงผ่าน Soft Power ที่แข็งแกร่งของไทยนั่นคือ ‘อาหาร วัฒนธรรม และภูมิปัญญา’ โดยนักท่องเที่ยวสามารถสร้างความรู้สึกร่วมกับชุมชนแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนด้วยเทคโนโลยี AR และ Ask Bot มาช่วยทำลายข้อจำกัดด้านการสื่อสาร 

 

ความเจ๋งคือ สถานที่ที่พวกเขานำเสนอไม่ใช่แลนด์มาร์กที่หาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต แต่เป็นชุมชนที่เป็นเหมือน Hidden Gem สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านการเดินทาง มีการนำเทคโนโลยี AR มาช่วยให้การเที่ยวแปลกใหม่ โดยสามารถแสดงภาพของสถาปัตยกรรม อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างเดิมที่เคยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ทับซ้อนกับภาพปัจจุบัน 

 

ที่สำคัญยังหยิบเอา Pain Point เรื่องภาษามาช่วยให้นักท่องเที่ยวสื่อสารกับร้านอาหารท้องถิ่น เข้าใจส่วนประกอบและเลือกรับประทานอาหารอย่างมั่นใจผ่าน Ask Bot ไปจนถึงการนำ Map Freemium แผนที่ร้านลับแบบคนโลคัล พาสำรวจร้านลับและขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรมในชุมชนต่างๆ สร้างประสบการณ์สุดพิเศษทุกครั้งที่มาเที่ยวเมืองไทย  

 

LocalXplorer

 

ก่อนจะนั่งคุยกับทีม LocalXplorer รู้มาว่าจริงๆ แล้วทีมนี้เกิดจากการรวมตัวกันของ 2 ทีม ได้แก่ ทีม Travel Platform & Virtual Influencer มีสมาชิกทีม 3 คน ได้แก่ ก้าว-กรัณย์กฎษฎ์ ภาวิศกุล, ก้อง-บุญเลิศ เฮงสุนทร และ นัท-ณัฏฐ์ ตันโชติช่วง และทีม Foodscape ซึ่งมีสมาชิก 3 คนเช่นกัน ได้แก่ จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์,  มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ และ รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา แต่ด้วยเป้าหมายที่คล้ายกัน และมีความต่างที่น่าจะเป็นส่วนผสมที่ลงตัว คณะกรรมการจึงลงความเห็นว่าทั้งสองทีมควรทำงานร่วมกัน 

 

เราชวนทุกคนคุยด้วยคำถามที่ว่า อะไรคือจุดเริ่มต้นให้ทั้ง 6 คนเข้าร่วมโครงการ Content Lab รวงข้าวเล่าว่า “เดิมที่พวกเรา (ทีม Foodscape) สนใจเรื่องการพัฒนาเมืองในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว และอยากยกระดับพื้นที่สาธารณะและอาหารของกรุงเทพฯ ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งโครงการนี้ต้องการผลักดันการท่องเที่ยว ผลักดัน Soft Power ก็น่าจะเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เราได้นำสิ่งที่เรามีมายกระดับไปอีกขั้นได้ ซึ่งทีมเรามีจุดแข็งคือ ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนที่ลึกและโฟกัสไปที่ชุมชนเมือง แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ พอได้ทีมของก้องมาช่วยก็เติมเต็มพอดี” 

 

LocalXplorer

 

ก้อง เล่าเสริมว่า สองทีมมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้คนเข้าถึงมากขึ้น “ไอเดียของกลุ่มเราตอนแรก (ทีม Travel Platform & Virtual Influencer) จะเน้นไปที่เรื่องภาษา อยากทำแอปที่ให้คนต่างชาติเข้าใจเมนูอาหาร เพราะเห็น Pain Point ว่าคนไทยไม่เก่งภาษา โดยเฉพาะกลุ่มคนในพื้นที่ ทำให้เขาขาดโอกาสหลายๆ อย่าง เราอยากให้โอกาสคนได้อย่างทั่วถึง ส่วนทีม Foodscape ต้องการให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเรื่องราวในชุมชน พอจับมารวมกันมันลงตัว” 

 

จับอิก บอกว่า “จากการทำงานลงพื้นที่มา 2 ปี ได้ทำ Route City Walk ย่านชุมชน และพบ Pain Point เหมือนกันคือคนในพื้นที่ไม่สามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้ เขาอยากกินอาหารท้องถิ่นแต่พอไม่รู้ว่ามันมีส่วนผสมอะไรบ้าง เขากลัวแพ้อาหารก็ไม่กล้ากิน เราก็เอาประเด็นนั้นมาคุยกัน  

 

“เราอยากพัฒนาแอปที่ทำให้นักท่องเที่ยวมองเห็น Micro Landmark นี่อาจเป็นจุดที่ทำให้ทีมเราชนะเพราะแตกต่าง เราโฟกัสที่ Meaningful Travel การท่องเที่ยวที่เป็นเชิงประสบการณ์ลึกซึ้ง แอปเราไม่ได้โฟกัสการท่องเที่ยวทั่วไป แต่มองจากจุดเล็กๆ คนเล็กๆ ในสังคม เพราะเราอยากให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตไปพร้อมกับการท่องเที่ยว และคนตัวเล็กๆ ในชุมชนก็เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนกัน ที่สำคัญคนกลุ่มนี้มีศักยภาพ พื้นที่ในชุมชนก็มีศักยภาพ และจะกลายเป็น Soft Power และทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวขยายมาสู่ชุมชน แล้วก็หวังว่าจะผลักดันให้คนในชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเข้ามาเป็น Curator” 

 

“สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเที่ยวเมืองไทยบ่อยขึ้น บางคนมา 2-3 ครั้งก็ไม่กลับมาแล้ว เพราะเก็บแลนด์มาร์กหมดแล้ว แต่จริงๆ ยังมีชุมชนรอบๆ แลนด์มาร์กที่น่าสนใจ และเราอยากให้เขาได้เห็นและสัมผัสสิ่งเหล่านั้น” รวงข้าว เสริม 

 

ก้าว บอกว่าจุดเด่นของแอปคงเป็นเรื่องการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ของการท่องเที่ยว การเข้าไปเจอชุมชนที่ไม่สามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร วัฒนธรรม หรือเรื่องราวที่ไม่เคยมีใครเล่า 

 

“ถึงจะเป็นแอปแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร แต่ในรายละเอียดอาจไม่เหมือนแอปอื่นๆ เพราะเรามีทีม Curator ที่ทำให้คอนเทนต์มีความลึกซึ้งและแตกต่าง รวมถึง Customer Journey ที่ทำโดย UX/UI ทำให้แอปมีฟีเจอร์หลากหลายรองรับประสบการณ์นักท่องเที่ยว และทีม Dep ที่ทำส่วนของ AR หรือฟีเจอร์ที่ทำให้นำเที่ยวได้โดดเด่น” ก้อง เสริม 

 

นัท เล่าในฐานะคนพัฒนา AR ว่า “ผมต่อยอดจากไอเดียที่ต้องการให้นำประวัติศาสตร์เก่าซ้อนทับกับปัจจุบัน ตอนแรกอยากทำฟิลเตอร์ให้คนไปถ่ายรูปกับสถานที่ประวัติศาสตร์ แต่ด้วยเวลาจำกัดเลยทำเป็น AR ของสถานที่ต่างๆ โดยในอนาคตอยากพัฒนาเป็นฟิลเตอร์” 

 

LocalXplorer

 

มากไปกว่าเงินรางวัลและโอกาสในการพัฒนาแอปให้เกิดขึ้นจริง คือประสบการณ์ล้ำค่าที่พวกเขาได้รับจากการเข้าร่วมเวิร์กช็อปตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน

 

มิว บอกว่า สำหรับเธอในมุมของคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านดิจิทัล ไม่เคยทำธุรกิจ การเข้าร่วมโครงการได้เวิร์กช็อปกับคนในสายงานตัวจริง ได้ไปเยี่ยมชมสตูดิโอเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามาก ไม่ต่างกับ ก้าว นอกจากจะได้เห็นว่ายังมีคนเก่งอีกมากมาย การได้รายล้อมไปด้วยคนเก่งช่วยกระตุ้นให้เขาอยากพัฒนาตัวเอง ด้าน จับอิก ก็เช่นกัน เขาบอกว่า องค์ความรู้บางอย่างทลายกรอบความเชื่อเดิมๆ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่เขาพบว่า การสแกน AR สามารถต่อยอดเป็นฟีเจอร์และคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ได้อีกมากมาย

 

สำหรับ รวงข้าว จากที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี ทำให้เธอเห็นว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้จะเป็นเครื่องมือที่ขับเคลื่อนความตั้งใจดีของเธอที่มีต่อชุมชน และการท่องเที่ยวของเมืองไทยให้ไปถึงฝันเร็วขึ้น ก้อง บอกว่าการได้ทดลองใช้และเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ ในการทำสื่อ ไม่ว่าจะเป็น 3D หรือ AR ทำให้เขาพบว่า มีทางเลือกอีกมากที่จะช่วยให้คอนเทนต์มีความสดใหม่มากขึ้น ส่วน นัท เนิร์ดสายเทคได้เข้าใจว่า Soft Power ที่แท้จริงคืออะไร และมีทางเลือกไหนบ้างที่จะทำให้ต่างชาติรู้ว่าเมืองไทยมีอะไรดีบ้าง

 

เมื่อถามว่า ถ้าปีหน้ามีโครงการดีๆ แบบนี้เกิดขึ้นอีก พวกเขาอยากบอกอะไร

 

ก้าว “มันเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจเรื่องดิจิทัล ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีไอเดีย มีแรงบันดาลใจที่อยากจะทำของใหม่ๆ ถ้ามีโอกาสอยากให้มาลองครับ คุณจะได้เรียนรู้อะไรดีๆ และได้รู้จักกับผู้คน” 

 

มิว “ไม่ว่าจะมาจากสาขาไหนหรือมาด้วยความตั้งใจอะไรก็อยากให้ลองมา เพราะโครงการแบบนี้ไม่ได้ต้องการคนที่เพอร์เฟกต์ และเขาก็มีเวิร์กช็อปและความรู้มากมายที่พร้อมจะให้เรา คุณก็แค่เอาตัวเองเข้ามา”  

 

รวงข้าว “เมื่อก่อนเคยคิดว่าจะทำอะไรสักอย่างต้องมีคอนเน็กชัน ต้องมีองค์ความรู้ แต่โครงการนี้เปลี่ยนความคิดไปเลย ทำให้ได้รู้จักกับคนที่มีความรู้และมีศักยภาพที่จะทำให้ไอเดียของเราเป็นจริงได้ มีผู้ใหญ่ใจดีพร้อมให้คำแนะนำ แค่ได้ฟังคอมเมนต์จากคณะกรรมการก็กำไรแล้ว” 

 

จับอิก “โครงการนี้ซัพพอร์ตทุกอย่างจริงๆ แค่เอาตัวเองเข้ามา การเข้ามามันเปิดประตูโอกาสหลายบาน” 

 

ก้อง “ลองออกจากคอมฟอร์ตโซน ออกมาลองทำอะไรใหม่ๆ อย่างไรก็ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เจอคนหลากหลาย”  

 

นัท “คุณไม่ได้เสียอะไรเลย แต่ได้กำไรด้วยซ้ำ การพาตัวเองเข้ามาอยู่ในสังคมที่มีคนเก่งๆ รอบตัว ได้ทั้งความรู้ ได้คอนเน็กชัน ได้รู้ว่าคนเก่งๆ เขาทำงานกันอย่างไร เขาหาไอเดียจากไหน”

 

LocalXplorer


แอบลุ้นให้โครงการน้ำดีแบบนี้เกิดขึ้นต่อไป ซึ่ง ปตท. เองก็เผยว่า ตั้งใจที่จะผลักดันให้เป็นการโครงการต่อเนื่อง 

 

“การที่ ปตท. ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา Soft Power ของไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ติดอาวุธให้กับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทย เป็นฟันเฟืองที่ช่วยให้ไทยก้าวสู่การเป็น Creative Hub ของภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ถือเป็นความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ ที่จะผลักดันให้เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยจะนำฟีดแบ็กจากผู้เข้าอบรม พันธมิตร และผู้เกี่ยวข้องไปปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น รวมทั้งเชื่อมต่อผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการกับนักพัฒนา นักลงทุน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเป็นผลงานจริง พร้อมผลักดันให้ก้าวสู่ตลาดโลก” ชาญกล่าว 

 

เพราะ ปตท. เชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยยกระดับ Soft Power ไทยสู่ระดับสากล นี่จึงไม่ใช่โครงการแรกที่ ปตท. ร่วมผลักดัน ก่อนหน้านี้ได้ทำงานกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Soft Power 

 

ภายใต้แนวคิด ‘TECH CREATE FUN’ โดยนำเทคโนโลยีอย่าง Virtual Reality, Augmented Reality, Drone และ Metaverse มาเสริมศักยภาพในการสร้างภาพยนตร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ หรืองานศิลปะ เพื่อให้ทั้งผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีขึ้น โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ 

 

  1. Content ด้วยการสร้างคอนเทนต์ไทยสู่สากลผ่านโครงการ Content Lab
  2. Skills Development มุ่งสร้างบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านโครงการ TGIF – Technology is Fun
  3. Showcase จัดแสดงศักยภาพ Soft Power ด้านศิลปะไทยผ่านนิทรรศการ ‘Locating the Locals: A Virtual Exhibition by PTT’

 

LocalXplorer

 

THE STANDARD ขอแสดงความยินดีกับทีม LocalXplorer และส่งใจให้ทีมที่เหลือยังคงรักษาความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์คอนเทนต์ดีๆ เพื่อผลักดัน Soft Power ไทยต่อไป

 

ติดตามโครงการดีๆได้ที่ FB: CONTENT LAB

The post คุยกับ ‘LocalXplorer’ ทีมชนะจากโครงการ ‘Content Lab’ ผู้อยากสร้างแอปท่องเที่ยวชุมชนที่ร่ายมนตร์ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
Content (ยัง) is King อยู่ไหม? ในเมื่อโลกออนไลน์ถูก (บังคับ) กำหนดโดย ‘อัลกอริทึม’ https://thestandard.co/content-is-still-king-by-algorithm/ Sat, 25 Feb 2023 04:06:04 +0000 https://thestandard.co/?p=755276 Content is King

‘Content is King’ คือชื่อความเรียงปี 1996 โดย บิล เกตส์ […]

The post Content (ยัง) is King อยู่ไหม? ในเมื่อโลกออนไลน์ถูก (บังคับ) กำหนดโดย ‘อัลกอริทึม’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Content is King

‘Content is King’ คือชื่อความเรียงปี 1996 โดย บิล เกตส์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Microsoft ระยะเวลา 27 ปีที่ผ่านมาเราต่างเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริงมาเสมอ มองไปรอบๆ ตัวตั้งแต่การเกิดของผู้สร้างคอนเทนต์ บริษัทสื่อ สำนักข่าวมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หรือกลยุทธ์ของแบรนด์ต่างๆ ที่เปลี่ยนจากเพียงบริษัทที่ขายสินค้า กลายไปเป็นบริษัทที่จำเป็นต้องสร้างคอนเทนต์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อแสดงออกถึงตัวตนของแบรนด์นั้นๆ

 

แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาบ่อยครั้งเหลือเกินที่ความเชื่อของเราต่อ ‘ราชาคอนเทนต์’ สั่นคลอน ทำไมอยู่ๆ คอนเทนต์ที่ควรเวิร์กก็ไม่มีใครสนใจ? คอนเทนต์ที่เราคาดการณ์ได้ว่าต้องไปได้แน่ๆ อยู่ดีๆ ก็นิ่ง? ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นบ่อยครั้งขึ้นอยู่กับผีที่หลอกหลอนเราในทุกตัวอักษร ทุกวินาทีของวิดีโอ ทุกครั้งที่เปิดดูหลังบ้าน และผีตัวนั้นคือ ‘อัลกอริทึม’

 




ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

อัลกอริทึมคืออะไร? มันคือขั้นตอนการประมวลผลที่ใช้ในระบบอัตโนมัติ โดยที่เรามักพูดถึงคืออัลกอริทึมโซเชียลมีเดียที่ทำหน้าที่เหมือนคนกำหนดว่าบนแพลตฟอร์มนั้นๆ ผู้ใช้คนไหนจะเห็นคอนเทนต์ไหน และคอนเทนต์ไหนจะไปสู่สายตาคนมากที่สุด 

 

โดยมากแล้วเราจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับว่าอัลกอริทึมหนึ่งตัวจะ ‘ชอบ’ คอนเทนต์แบบไหน วิดีโอขนาดยาว? รีลส์สั้นๆ? งานเขียนที่ไม่พาคนออกจากเว็บไซต์? งานเขียนที่มีรูป? แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับการทำงานภายในของอัลกอริทึมนั้นๆ เนื่องด้วยธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปเสมอของมัน

 

ความคาดเดาไม่ได้นี้อาจทำให้เราตั้งคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการนั่งสร้างคอนเทนต์เอาใจอัลกอริทึมจนกว่ามันจะพอใจแล้วให้ผ่าน คุ้มหรือเปล่ากับแรงที่ลงกับคอนเทนต์อายุสั้นๆ ที่บางทีอายุไม่ถึงวันด้วยซ้ำ แถมถ้าเอาใจไป รอบหน้าทำซ้ำก็ไม่การันตีว่าจะเวิร์กอีก อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หลายๆ บริษัท เช่น BuzzFeed หันหน้าเข้าหา OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT ในการสร้างคอนเทนต์หลังจากการเลย์ออฟ 12% เมื่อปลายปี 2022

 

แต่ก็กลับมาที่คำถามหลักของเรา ‘คอนเทนต์’ ยังเป็น ‘ราชา’ อยู่หรือเปล่า? คำตอบอาจจะยากกว่าแค่เป็นหรือไม่เป็น คำตอบโดยย่อคือมันยังสามารถเป็นได้ แต่ต้องมีวิธีการทำให้มันเป็น

 

ความกว้างของนิยามสิ่งที่เราเรียกว่าคอนเทนต์นั้นอาจเป็นปัญหาใหญ่ที่เราต้องไขให้ได้ 

 

ทุกอย่างเป็นคอนเทนต์อาจจะเป็นสิ่งที่เราถกเถียงได้ แต่สิ่งที่เป็นจริงคือไม่ใช่ทุกคนชอบคอนเทนต์ทุกอย่าง สิ่งแรกที่จะทำให้ราชากลับมานั่งบัลลังก์ของเขาได้คือการรู้ว่าผู้รับสารของเรามองหาคอนเทนต์แบบใดจากเราอยู่ อาจถกเถียงได้มากกว่าที่เราจะเอาใจอัลกอริทึมด้วยซ้ำ

 

การรู้จักไม่ใช่แค่รู้ว่าพวกเขาอยากอ่านหรืออยากดูอะไร แต่ชอบอ่าน ดู หรือฟังแบบไหน ในชีวิตของพวกเขาจะเจอปัญหาอะไรในชีวิต และคอนเทนต์ของเราจะแตะต้องและผ่อนปรนปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร คอนเทนต์ที่เราปล่อยออกไปไม่ได้แปลความเพียงว่าก็แค่ปล่อยๆ ออกไปให้มันเต็มแพลตฟอร์ม แต่ส่วนสำคัญของมันคือการพยายามคุยและทำความเข้าใจกับคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันกับเรา 

 

และเมื่อพูดถึงคอนเทนต์ สิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ SEO หรือ Search Engine Optimization ซึ่งคือการสร้างคอนเทนต์ให้อยู่ในลำดับต้นๆ ที่สุดของการค้นหาในเสิร์ชเอนจิน และคอนเทนต์เองก็มีส่วนในการช่วยตรงนั้นอย่างมาก โดยคอนเทนต์ที่มักได้รับเลือกให้อยู่ลำดับบนสุด คือคอนเทนต์สดใหม่ที่มีคุณภาพสูง คีย์เวิร์ดครบ ไม่มีคำผิด และมีลิงก์ภายใน ปัจจัยเหล่านั้นคือส่วนหนึ่งของงานคอนเทนต์ที่เราสามารถควบคุมได้ทั้งสิ้น และมันจะสามารถนำแบรนด์ของเราไปยังสายตาคนได้มากขึ้น

 

ว่าแต่…ทำไมมันถึงต้องทำงานอย่างนั้น? เราอาจต้องคุยกันถึงจุดประสงค์ที่เรามีอัลกอริทึมแต่แรก ในโลกออนไลน์พวกเราเป็นเหมือนกับกลุ่มคนที่ไม่มีจุดร่วมระหว่างกันและกัน ชายหนุ่มชนชั้นกลางจากบอสตันย่อมมีประสบการณ์ สภาพแวดล้อม และปัจจัยต่างๆ ในชีวิตแตกต่างจากหญิงวัยกลางคนในกรุงเทพมหานคร 

 

แต่ประเด็นคือในปัจจุบันทั้งสองมีโอกาสที่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้ นั่นคือในโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดีย และจำนวนไม่ใช่แค่สองคน แต่เป็นคนนับล้านทั่วโลก เราจะรู้ได้ยอย่างไรว่าคอนเทนต์แบบไหนเหมาะกับคนแบบไหน? 

 

แน่นอนหากเราอาศัยอยู่ในโซเชียลมีเดียเล็กๆ หน้าที่การคัดกรองข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นของผู้ดูแลเป็นส่วนใหญ่ แต่ยิ่งผู้คนอยู่ในอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น การใช้มนุษย์ทำหน้าที่ดังกล่าวยิ่งเป็นไปไม่ได้มากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ อัลกอริทึมโซเชียลมีเดียทำหน้าที่ในการ ‘เดา’ ว่าคนคนหนึ่งต้องการคอนเทนต์แบบไหน ผ่านพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของเขา ผ่านคอนเทนต์ที่พวกเขากดดู และดูมันอย่างจริงจัง แม้จะไม่ใช่วิธีที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่อาจจะเป็นวิธีที่ใช้งานได้ที่สุดที่เราคิดได้ในตอนนี้

 

พูดมายืดยาว การออกแบบเช่นนี้แปลความหมายได้อย่างไรบ้าง? มันแปลว่าต่อให้หลายๆ ครั้งที่อัลกอริทึมน่าหงุดหงิด เดาไม่ได้ สิ่งที่มันพยายามจะทำคือมันพยายามตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์นับล้านคนในสิ่งที่พวกเขาอยากรู้ ต้องรู้ และควรรู้ แปลว่ามันคือหนึ่งใน Gatekeeper ที่อาจต้องคัดกรองคอนเทนต์ที่อาจคุณภาพต่ำหรือแม้แต่เป็นภัยให้ได้มากที่สุด และเมื่อโลกมีเป็นล้านๆ คอนเทนต์ต่อวัน แต่ละคอนเทนต์หน้าตาต่างกันออกไป หลายๆ อย่างอาจจะติดหรือหลุดตัวกรองได้

 

แต่ความเข้าใจว่ามันคือการพยายามสื่อสารกับคนก็อาจช่วยปลดปล่อยเราจากโซ่ตรวนที่บอกว่าเราจำเป็นต้องเอาใจอัลกอริทึม 100% ตลอดเวลา เพราะในความเป็นจริงแล้วเราไม่อาจทำความเข้าใจมันได้ทั้งหมด เพราะมันโดนออกแบบมาให้เราไม่เข้าใจ หากความรู้และเข้าใจอัลกอริทึมเป็นที่รู้กันโดยทั่ว โลกคอนเทนต์คงจะหน้าตาเหมือนกับกำแพงสีเทาที่เราแยกหนึ่งคอนเทนต์ออกจากอีกหนึ่งคอนเทนต์ไม่ออก

 

เช่นนั้นแล้ว สิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะทำให้คอนเทนต์เป็นราชาเช่นเดิมไม่ใช่การพิชิตอัลกอริทึม แต่คือการมองไปยังคนที่ปลายทาง ถึงที่สุดแล้วแม้ระบบของการคัดกรองจะทำโดยหุ่นไร้หัวใจ ปลายทางที่รับคอนเทนต์คือมนุษย์อยู่วันยังค่ำ การรู้จักพวกเขาในฐานะมนุษย์ที่มีความเจ็บปวด มีความต้องการ ไร้ซึ่งความสมเหตุสมผล และเอาแต่ใจนั้นแม้จะเป็นเรื่องยาก มันคงไม่ยากเท่ากับการเอาใจสิ่งที่เราเข้าใจไม่ได้ และผลลัพธ์อาจจะออกมาดีกว่าถ้าเราโฟกัสทั้งสองมากพอๆ กัน 

 

อ้างอิง:

The post Content (ยัง) is King อยู่ไหม? ในเมื่อโลกออนไลน์ถูก (บังคับ) กำหนดโดย ‘อัลกอริทึม’ appeared first on THE STANDARD.

]]>