Content Creator – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 20 Nov 2024 08:01:47 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Facebook ไม่ใช้ Impressions แล้ว เปลี่ยนมาใช้ Views เป็นตัวชี้วัดหลักเหมือน Instagram https://thestandard.co/facebook-views-metric-instagram/ Wed, 20 Nov 2024 08:01:47 +0000 https://thestandard.co/?p=1010726

Meta ประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญใน Facebook โดยหันมา […]

The post Facebook ไม่ใช้ Impressions แล้ว เปลี่ยนมาใช้ Views เป็นตัวชี้วัดหลักเหมือน Instagram appeared first on THE STANDARD.

]]>

Meta ประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญใน Facebook โดยหันมายึด ‘ยอดวิว’ (Views) เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักของคอนเทนต์ เช่นเดียวกับที่ Instagram ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ของ Facebook ที่ต้องการลดความซับซ้อนของระบบวัดผล และสอดรับกับพฤติกรรมของผู้ใช้ที่หันมาบริโภคคอนเทนต์วิดีโอมากขึ้น

 

เดิมที Facebook ใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามประเภทของคอนเทนต์ เช่น จำนวนการเล่น การแสดงผล และการเข้าถึง ซึ่งสร้างความสับสนและยากต่อการวิเคราะห์ แต่หลังจากนี้ยอดวิวจะเป็นตัวชี้วัดหลักสำหรับทั้งโพสต์, รูปภาพ, ข้อความ, วิดีโอ และ Stories โดยนับจำนวนครั้งที่คอนเทนต์ปรากฏบนหน้าจอของผู้ใช้ รวมถึงการดูซ้ำ

 

ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้คนหนึ่งเลื่อนดูรูปภาพเดียวกัน 3 ครั้งใน 1 วัน ระบบจะนับเป็น 3 ยอดวิวแทนที่จะเป็น 1 การแสดงผล (Impressions) เช่นเดียวกับ Stories ที่ยอดวิวจะนับรวมการดูซ้ำ ซึ่งอาจทำให้ยอดวิวสูงกว่าจำนวนการแสดงผลแบบเดิม

 

ส่วนวิดีโอจะเปลี่ยนชื่อตัวชี้วัด ‘เวลาในการรับชม’ (Watch Time) และ ‘เวลาในการรับชมเฉลี่ย’ (Average Watch Time) เป็น ‘นาทีที่รับชม’ (Minutes Viewed) และ ‘นาทีที่รับชมเฉลี่ย’ (Average Minutes Viewed) เพื่อให้สอดคล้องกับ Instagram และเข้าใจง่ายขึ้น

 

Meta เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ต้องการวัดผลและปรับปรุงกลยุทธ์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อย่างไรก็ตาม Meta เตือนว่าวิธีการวัดผลแบบใหม่อาจทำให้ข้อมูลแตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นผู้ใช้ควรศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการตีความข้อมูล ตัวอย่างเช่น ยอดวิวที่เพิ่มขึ้นอาจไม่ได้หมายความว่าคอนเทนต์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เป็นเพราะวิธีการนับที่เปลี่ยนไป

 

การเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มทยอยนำมาใช้ใน Meta Business Suite และ Professional Dashboard ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งถือเป็นโอกาสดีสำหรับแบรนด์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในการปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์ เพื่อสร้างเอ็นเกจเมนต์และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบนแพลตฟอร์มของ Meta ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ้างอิง:

The post Facebook ไม่ใช้ Impressions แล้ว เปลี่ยนมาใช้ Views เป็นตัวชี้วัดหลักเหมือน Instagram appeared first on THE STANDARD.

]]>
“คอนเทนต์ครีเอเตอร์ในอนาคตจะมีผู้ช่วย AI เป็นของตัวเอง” ถอดวิสัยทัศน์สองผู้นำบิ๊กเทค https://thestandard.co/the-visions-of-two-big-tech-leaders/ Tue, 30 Jul 2024 12:25:08 +0000 https://thestandard.co/?p=965121

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอ Meta และ เจนเซน หวง ซีอีโอ […]

The post “คอนเทนต์ครีเอเตอร์ในอนาคตจะมีผู้ช่วย AI เป็นของตัวเอง” ถอดวิสัยทัศน์สองผู้นำบิ๊กเทค appeared first on THE STANDARD.

]]>

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอ Meta และ เจนเซน หวง ซีอีโอ NVIDIA ได้ร่วมพูดคุยถึงวิสัยทัศน์ของทั้งสองบริษัทที่มีต่ออนาคตของเทคโนโลยี AI โดยการพูดคุยเกิดขึ้นระหว่างอีเวนต์ SIGGRAPH 2024 งานสัมมนาที่รวบรวมคอมพิวเตอร์กราฟิกและเทคโนโลยีที่มีผู้เชี่ยวชาญของวงการเข้าร่วมด้วย

 

มาร์กเปิดหัวข้อสนทนาด้วยการประกาศเปิดตัว AI Studio ฟีเจอร์ใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างตัวละครเสมือนที่เป็น AI ในเวอร์ชันของตัวเองได้ เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการตอบกลับข้อความ DM (Direct Message) หรือตอบกลับสตอรีได้ ซึ่งจะทำให้ AI เข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับคนสร้างคอนเทนต์และธุรกิจขนาดเล็กหลายล้านราย

 

“เหมือนกับที่ทุกธุรกิจมีที่อยู่อีเมล เว็บไซต์ และบัญชีโซเชียลมีเดีย ผมคิดว่าในอนาคตทุกธุรกิจจะมี AI เป็นของตัวเอง” ซักเคอร์เบิร์กกล่าว พร้อมย้ำความสำคัญของการพัฒนา AI แบบเปิดกว้าง (Open Source) โดยเจนเซนก็เห็นด้วยกับวิธีนี้ เพื่อทำให้นวัตกรรมมีทางเลือกมากขึ้น

 

ล่าสุด Meta เปิดตัวโมเดล Llama 3.1 ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยซักเคอร์เบิร์กมองว่าโมเดลนี้ถือเป็น ‘จุดเปลี่ยน’ สำคัญในการนำ Open Source มาใช้ใน AI เนื่องจากมันสามารถสร้างคอนเทนต์ เช่น Digital Avatar และสร้างโลกเสมือนจริงได้ รวมทั้งช่วยให้มนุษย์เข้าถึงโอกาสการมีผู้ช่วยส่วนตัวในโลกดิจิทัล ซึ่งโต้ตอบได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว

 

นอกจากนี้ซีอีโอของ Meta ยังมองไกลออกไปในอนาคตว่าเมื่อ Llama เวอร์ชัน 4.0 ออกมา นวัตกรรมชิ้นนี้จะสามารถเป็นผู้ช่วยทำงานได้อย่างแท้จริง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสั่งงานและ AI จะเป็นฝ่ายไปหาคำตอบ โดยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือกระทั่งหลายเดือน แต่มันจะกลับมาพร้อมกับคำตอบที่ทำการวิจัยและคำนวณมาอย่างดีและถี่ถ้วนแล้ว

 

เจนเซนชื่นชมการทำงานของ Meta ในการสร้างโมเดล AI แบบเปิดกว้าง เพราะเขามองว่า Llama กำลังช่วยให้นักพัฒนาและบริษัทต่างๆ เข้าถึงเทคโนโลยีโมเดล AI ได้มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ภายใต้บรรยากาศที่นั่งคุยกันแบบสบายๆ มาร์กก็เกิดอารมณ์เสียเมื่อถูกชวนคุยเรื่องซอฟต์แวร์ระบบปิด (Closed Source) อย่างเช่นในกรณีของ Apple Store ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ Meta กำลังพัฒนาอยู่

 

“ผมแค่อยากสร้างโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่จะเป็นรากฐานของการสร้างประสบการณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะมันมีหลายครั้งแล้วที่ผมอยากจะสร้างอะไรบางอย่างแต่ถูกสบประมาทว่า ‘ไม่ คุณทำแบบนั้นในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มไม่ได้หรอก’ จนบางครั้งมันถึงจุดที่ผมคิดกับตัวเองว่า ‘ช่างแม่ง’”

 

ภาพ: NVIDIA

อ้างอิง:

The post “คอนเทนต์ครีเอเตอร์ในอนาคตจะมีผู้ช่วย AI เป็นของตัวเอง” ถอดวิสัยทัศน์สองผู้นำบิ๊กเทค appeared first on THE STANDARD.

]]>
ล้วงลึก ‘เอแคลร์’ เพจจือปาก ทำอะไรก็ติดตลาด กับบทบาทใหม่ จากเส้นทางครีเอเตอร์ สู่เจ้าของแบรนด์สกินแคร์ Elite Care https://thestandard.co/elite-care-aclair/ Wed, 19 Jun 2024 10:00:58 +0000 https://thestandard.co/?p=945957 Elite Care

หลายคนคงชินตากับคอนเทนต์สนุกสนานหรือความเอ็นเตอร์เทนเบอ […]

The post ล้วงลึก ‘เอแคลร์’ เพจจือปาก ทำอะไรก็ติดตลาด กับบทบาทใหม่ จากเส้นทางครีเอเตอร์ สู่เจ้าของแบรนด์สกินแคร์ Elite Care appeared first on THE STANDARD.

]]>
Elite Care

หลายคนคงชินตากับคอนเทนต์สนุกสนานหรือความเอ็นเตอร์เทนเบอร์ใหญ่ทางหน้าจอของ ‘เอแคลร์’ จากเพจจือปาก หนึ่งในสมาชิกแก๊งหิ้วหวีที่มาแรงสุดๆ ในโลกออนไลน์ชั่วโมงนี้ เพราะไม่ว่าเธอและเพื่อนๆ จะหยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นกระแสไวรัลจนหลายแบรนด์ล้วนอยากลงทุนกับพวกเธอ พอๆ กับกลุ่มแฟนคลับที่ให้แรงสนับสนุนกันอย่างล้นหลาม

 

แต่อีกบทบาทหนึ่งของเอแคลร์นอกจากการเป็นผู้นำกระแสในโลกออนไลน์แล้ว เธอยังควบตำแหน่งเจ้าของธุรกิจสกินแคร์สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องสิว Elite Care ล่าสุด THE STANDARD POP ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับเอแคลร์ในบทบาทใหม่ งานนี้เธอเปิดโหมดเจ้าของแบรนด์ให้เรารู้จักกันตั้งแต่เส้นทางการบุกเบิกทำสกินแคร์ และการใช้แพลตฟอร์ม TikTok Shop ในการไลฟ์และขายสินค้า

 

 

จุดเริ่มต้นจากการเป็นครีเอเตอร์ สู่เจ้าของธุรกิจในการสร้างแบรนด์ Elite Care ของเอแคลร์คืออะไร?

 

เอแคลร์: หนูเป็นคนที่รีวิวผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสิว เรียกได้ว่าหาเงินซื้อบ้าน 30 ล้านบาทหลังนี้จากการรีวิวสินค้าในกลุ่มรักษาสิวเลย ไม่ว่าเราจะรีวิวอะไรก็ตาม ตัวไหนที่เพจจือปากมีโอกาสได้รีวิวจะหมดทั้งเชลฟ์ในร้านตลอด คนจะตามไปซื้อตลอด เราทำตรงนี้มาถึง 6-7 ปี ผลิตภัณฑ์ที่เรารีวิวยอมรับว่าไม่ได้รับหลากหลายยี่ห้อ มันจะเป็นยี่ห้อเดิมๆ ที่จ้างเราซ้ำๆ คือน้อย SKU

 

ซึ่งผ่านมา 6 ปีก็ยังมีคำถามในอินบ็อกซ์ ในดีเอ็มทุกวัน “ใช้อะไรสิวหาย?” ซึ่ง 6 ปีที่ผ่านมาคนยังจำไม่ได้อีกเหรอว่าฉันรีวิวอะไรแล้วสิวหาย (หัวเราะ) ก็รู้สึกว่ามันหลายแบรนด์ เจลล้างหน้ายี่ห้อหนึ่ง คลีนซิ่งยี่ห้อหนึ่ง ขี้เกียจตอบ จุดเริ่มในการเป็นแม่ค้าออนไลน์คือการขี้เกียจตอบของเอแคลร์ (หัวเราะ) เราเลยรู้สึกว่าทำแบรนด์เองเลยจบ คือตอนที่ทำก็ไม่ได้คิดว่าจะรวยอะไรหรอก แต่ขี้เกียจ เลยทำมาเป็นแบรนด์ของตัวเองไปเลย เพื่อที่จะได้ตอบว่า ‘Elite Care’ แล้วจบ อะไรอย่างนี้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของการทำแบรนด์

 

แล้วเรื่องส่วนผสมแทบจะลิสต์ไปเลยว่าเราชอบผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จากประเทศอะไร เพราะเขามีสารสกัดตัวนี้ มีนวัตกรรมที่น่าสนใจอย่างไร เราลิสต์มาเองว่าเราอยากได้สเปกสินค้าแบบไหน ก็ส่งโรงงานไป ให้เขาวิจัยกลับมา ซึ่งความนานคือการส่งไปส่งกลับ มันทำให้รู้ว่าสูตรไหนเวิร์กไม่เวิร์ก แล้วเราก็ได้ข้อสรุปที่มาจากประสบการณ์การรักษาสิวจริงๆ

 

Elite Care

 

กลยุทธ์ในการขายของแบบ Long-Form Video สู่การไลฟ์ แตกต่างกันอย่างไร?

 

เอแคลร์: การทำรีวิวคือการขายเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในการใช้ เช่น ตื่นเช้ามาเราทาสกินแคร์แล้วตกเย็นมาเป็นอย่างไรบ้าง หรือ 3-7 วันเป็นอย่างไรบ้าง คนจะเห็นภาพ เพราะเขาจะเห็นภาพตั้งแต่วันแรกที่เราเริ่มทา แต่ในไลฟ์คนไม่เห็น เราไม่สามารถโชว์ภาพ Before & After ได้

 

แล้วที่ยากที่สุดเลย การไลฟ์จะมีคนเข้า-ออก คนที่อยู่ตั้งแต่แรกก็น่ารัก แต่คนที่เพิ่งเข้ามาจะทำอย่างไร เล่าใหม่อีกรอบหนึ่ง เล่าซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ทั้งไลฟ์ 2 ชั่วโมง จะไม่มีการคุยเรื่องอื่นเลยนอกจากเรื่องเดิม แรกๆ ก็จูนประสาทตัวเองเหมือนกัน เราจะไม่เข้าใจระบบว่าเขาแกล้งเราอยู่หรือเปล่า (หัวเราะ) ทำไมเราต้องมาพูดอะไรซ้ำๆ พอเราเข้าใจระบบเราก็จะเอ็นจอยในการขายมากขึ้น

 

 

การเติบโตของ Elite Care เป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่วันที่เปิดตัวแบรนด์มาจนถึงทุกวันนี้?

 

เอแคลร์: มันเติบโตขึ้น เพราะว่าเรามี SKU ใหม่ๆ มาเสิร์ฟลูกค้าเรื่อยๆ แต่จำได้ว่าช่วง 4-5 เดือนแรกนั้นเหนื่อยมาก ต้องพูดเรื่องคลีนซิ่งวอเตอร์อยู่ 5 เดือน มันเศร้านะ (หัวเราะ) แบบเฮ้ย…มันไม่ไปเรื่องอื่นเลยเหรอ จะพูดเรื่องอื่นก็ไม่ได้ แต่ตอนนี้มันเอ็นจอยแล้ว เพราะว่าเราต่อยอดด้วยกันแดด เราทะลึ่งทำลิปออยล์ขึ้นมาอีก มันหลายแมตช์ มันมีหลาย SKU ให้พูด การเติบโตคือยิ่งเรามี SKU เยอะขึ้น ตั้งแต่สำลีเช็ดหน้า คลีนซิ่ง กันแดด เซรั่มสำหรับคนเป็นสิว ลิปออยล์ เจลล้างหน้า ฯลฯ มันจะยิ่งทำให้ลูกค้าสนใจเรามากขึ้น เพราะว่ามันตอบสนองทุกความต้องการของเขาได้

 

เรามีคอนเทนต์จำนวนมากต่อวันจากกลุ่มลูกค้าเราจริงๆ ที่เขาซื้อของไปจริงๆ แล้วก็น่ารัก กลับมาทำคลิปปักตะกร้า คนพวกนี้เขาจะมีความสามารถในการทำคลิปรีวิวได้ดีมากๆ เราก็มีช่องทาง Creator Affiliate ตรงนี้ที่เหมือนเป็นการพีอาร์สินค้าเราไปในตัว บางวันเอแคลร์ไม่ต้องตื่นขึ้นมาเพื่อพูดว่าขายสินค้า เพราะมีคนพูดไปแล้ว หลังๆ ไม่ต้องพูดซ้ำแล้ว แต่ก่อนต้องเล่านั่นนี่ ตอนนี้คนรู้แล้วว่าเป็นยังไง แบรนด์ก็โตแล้ว

 

 

ความท้าทายสำหรับเอแคลร์ และ Elite Care คือเรื่องไหน?

 

เอแคลร์: รู้สึกว่าเป็นเรื่องตัวตนของผู้ประกอบการเอง อย่างเช่น เอแคลร์นั้นโตมากับสินค้าที่เราใช้ประสบการณ์ของเราในการบอกเล่าเรื่องราวของสินค้า แต่ในยุคนี้ ผู้บริโภคฉลาดขึ้น เขาต้องการรู้ Insight ทั้งสารสกัด นวัตกรรมต่างๆ เดี๋ยวนี้มันมีคนที่ทำงานด้านสารสกัดเลยมาเป็นอินฟลูแทนจำนวนมาก รวมถึงหมอด้วย ผู้บริโภคเขาก็มีทางเลือกที่จะเสพมากขึ้นว่าเขาจะเชื่อใคร

 

ซึ่งเราในฐานะที่ไม่ใช่สายองค์ความรู้ สายวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง เราเป็นแค่ชาวบ้านที่เอาประสบการณ์ตัวเองมาเล่า อันนี้ใช้แล้วดีหรือไม่ดี เราจะสู้เขาได้ไหม นี่คือความยาก

 

Elite Care

 

การเป็นเจ้าของธุรกิจที่เป็น LGBTQIA+ เอแคลร์พบเจออะไรมาบ้าง และความสนุกของสินค้าจากคนใน Community นี้คืออะไร?

 

เอแคลร์: ต้องบอกว่าเอแคลร์เป็น LGBTQIA+ ที่โชคดี เพราะว่าเราได้รับการสนับสนุนมาโดยตลอดตั้งแต่เด็ก ก็ไม่เคยมีใครขัดอะไรใดๆ เลย กลุ่มที่เราเจอก็คือกลุ่มที่ต้อนรับเราจริงๆ วันที่เราเริ่มขาย คนให้การตอบรับเราดีมาก ต่อให้เราเป็น LGBTQIA+ แต่คนกลับชื่นชมด้วยซ้ำว่า “พี่ขยันจังเลยเนอะ” “สรรหาจะทำ อยู่ๆ ก็ผลิตของเพื่อคนเป็นสิว” ยิ่งมาทำกับ TikTok Shop ก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีแพลตฟอร์มที่ต้อนรับเรา ต้อนรับทุกคน ทุกเพศจริงๆ และมีผู้ชมที่เอ็นดูเรา

 

และมันก็สนุก เพราะเริ่มจากแพ็กเกจที่มาจากสีสันก่อน เป็นสกินแคร์เพื่อรักษาผิวพรรณคน แต่แพ็กเกจเป็นสีนีออน ต้องกะเทยทำเท่านั้นนะ (หัวเราะ) รู้สึกว่าคาแรกเตอร์มันเป็นเอแคลร์ เอาสีฟ้าออมเบรมาตัดกับนีออน มันเป็นสกินแคร์ที่ประหลาด คนก็มีภาพจำว่า อ๋อ ถ้าเห็นอะไรที่มันมีฝาสีนีออนคือของเอแคลร์แน่นอน

 

ในเรื่องของการขาย โอ้โฮ คอนเทนต์ของกะเทยมันไปได้ไกล ชายจริงหญิงแท้เขาอาจจะมีแค่แบบว่าไปเที่ยวแล้วใช้ผลิตภัณฑ์ กะเทยมี Pride Month มีแต่งตัว วันนี้เป็นนก เป็นหนู เป็นงู ไปเรื่อย คือมันมีคอนเทนต์ให้ทำเรื่อยๆ ดังนั้นเราสามารถเอาสินค้าเรามาสอดคล้องกับคอนเทนต์เราได้ มันก็สนุกมากขึ้น ในการเล่นโปรโมชันอีก มันก็ได้เรื่อยๆ เลย

 

 

ฟีดแบ็กสำหรับความอิมแพ็กต์ของเราและสินค้าของเพื่อน พี่ น้อง ในชุมชน LGBTQIA+ เป็นอย่างไรบ้าง เคยลองไปเช็กดูบ้างไหม?

 

เอแคลร์: พวกพี่ๆ LGBTQIA+ ให้การตอบรับที่ดีด้วยซ้ำ เราไม่ได้จ้างเขารีวิวเลย แต่เขาซื้อใช้เอง เขาอุดหนุน เขารีวิวให้เลย ก็น่ารัก ทั้งคนที่ดังและคนที่ไม่มีชื่อเสียงอะไร เขาก็ร่วมซื้อ ร่วมใช้ แล้วมารีวิวให้

 

ตอนนี้กะเทยอยากใช้ Elite Care กะเทยคนไหนมีขวดอะไรก็ไม่รู้แหละ แต่ฝาสีนีออนในห้องน้ำคือเก๋หมดตอนนี้ น้องๆ คือมองว่าเป็นแฟชั่นไปแล้ว “ต้องมีของพวกพี่ๆ เขา  ถ้าเราเป็นลูกสาว เราต้องมีของคุณแม่เขาน้า” คือดีใจ น้องมันซื้อตามกันเนอะ

 

ต้องยอมรับว่าที่เราทำแบรนด์อีกหนึ่งเหตุผลก็เพราะว่าสมัยก่อนเราเป็นเด็ก เราไม่มีเงิน อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สิว เราลองสังเกตสิ ราคามันจะเพิ่มขึ้น ดูง่ายๆ เลยอย่างครีมซองในตลาด ถ้าเป็นมอยส์เจอไรเซอร์ ว่านหางจระเข้ อะไรทั่วไป 39 บาท พอเป็นสิวปุ๊บ 49-69 บาท ก็เลยสงสัยมาตั้งแต่เด็กว่า “ทำไมต้องแพง? ทำไมมันขายถูกเหมือนอันอื่นๆ ไม่ได้”

 

ต่อให้เราเป็นเด็กแล้วไม่รู้ ก็คงคิดว่าสารสกัดมันก็เหมือนๆ กันแหละ จ้างโรงงานทำ มันจะแพงกว่ากันได้ยังไง ก็เลยรู้สึกว่าถ้าวันหนึ่งเราทำแบรนด์ เราจะทำราคาให้ทุกคนซื้อได้ แล้วก็ทำได้จริงๆ กลายเป็นว่าเด็กๆ ซื้อใช้ได้ แล้วสิวก็หายได้ ดีต่อเด็กรุ่นนี้ที่เขามีอะไรดีๆ ใช้

 

ความภูมิใจในการเป็นเจ้าของธุรกิจที่เป็น LGBTQIA+

 

เอแคลร์: ภูมิใจมากๆ เราไม่คิดว่าวันหนึ่งเราจะเป็นผู้บริหารได้ เราไม่คิดว่าวันหนึ่งเราจะเป็น Business Owner มีลูกน้อง มีกลุ่มลูกค้า วันวันหนึ่งต้องตื่นมาคุยกับมาร์เก็ตติ้ง มาร์เก็ตติ้งคืออะไร เราดูแต่ละคร “ว้าว นี่เราต้องมานั่งอยู่ในที่ที่ประชุมเอง” อะไรที่เราเคยเล่นในห้องน้ำ เราได้ใช้จริงแล้วเนอะ อะไรอย่างนี้ ก็ดีใจที่วันนี้มันเกิดขึ้น และก็ดีใจที่สังคมเปิดรับมากๆ

 

 

ปัจจุบันมีช่องทางการขายของออนไลน์มากมาย ทำไมเอแคลร์ถึงเลือก TikTok Shop เป็นพื้นที่หลัก และวางหมากธุรกิจไว้อย่างไรบ้าง?

 

เอแคลร์: รู้สึกว่า TikTok Shop มันสนุก เขามีคูปองให้เรา เชื่อไหมว่าบางวันเราทำราคาได้ดีมากนะ เพราะ TikTok Shop ออกคูปองฉ่ำๆ ให้ลูกค้า ผู้ประกอบการก็เลยมีโอกาสในการขายมากขึ้น เลิศดีนะแพลตฟอร์มนี้ เราแค่ใช้ฟังก์ชันในแพลตฟอร์มให้มันคุ้ม

 

จริงๆ เราค่อนข้างจะไลฟ์บ่อย ไม่เกิน 3 วัน เราจะกลับมาไลฟ์แล้ว เราจะปิดตะกร้าประมาณแค่วันสองวันเพื่อไปเคลียร์ออร์เดอร์ ส่งของให้มันครบก่อน แล้วก็ค่อยกลับมาไลฟ์ ไลฟ์ที่ว่าเป็นของเอแคลร์นะ ของเราเป็นไลฟ์ใหญ่ แล้วก็มีของพนักงานเป็นไลฟ์เล็ก เราไลฟ์ทั้งวันอยู่แล้ว 24 ชั่วโมง ไลฟ์ไปเรื่อยๆ เลย

 

สมัยนี้คอนเทนต์ใน TikTok Shop ง่ายขึ้นเยอะ ใช้ให้ดู กินให้ดู คือจบ ไม่ต้องยาว ยิ่งสั้นยิ่งดี แต่ต้องมีคุณภาพ คนจะชอบ ช่วงสงกรานต์หนูขายได้เป็นแสน ใช้ให้ดูว่าคลีนซิ่งเช็ดแบบนี้ เหยาะแบบนี้แล้วหน้าใส ทำแค่นี้เลย ไม่ต้องมีอะไรซับซ้อน ไม่ต้องมีละครฟ้ามีตาเหมือนสมัยก่อนแล้ว แค่ใช้ให้ดูแล้วบอกว่าปักตะกร้าคือจบ

 

แน่นอนว่าสำหรับเดือนนี้มีโปรโมชัน 6.6 เอาใจสายช้อป Elite Care มีการตั้งเป้า และคิดเทคนิคหรือกลยุทธ์อะไรไว้หรือเปล่า?

 

เอแคลร์: 6.6 ที่ผ่านมาจะบอกว่าหนูตื่นเต้นกว่าทุกเดือน เพราะว่าหนูมีสินค้าที่อยากขายเป็นครั้งแรกในชีวิต นั่นก็คือ ‘เจลล้างหน้า’ มาเปิดตัวช่วง 6.6 และเจลเป็นสิ่งที่ทำยากที่สุด เพราะใช้แล้วหน้ายังชุ่มชื่น ไม่ลื่นเหมือนล้างสบู่ไม่สะอาด และไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ซึ่งเมื่อ 6.6 ที่ผ่านมาหนูวางขายเป็นครั้งแรก ยอดขายทำได้ถึงเจ็ดหลัก เพราะว่าคนรอซื้อกันเยอะมาก

 

ส่วนโปรโมชันนั้นจัดเต็มมาก คือเราโชคดีที่ได้เป็นพาร์ตเนอร์กับ TikTok Shop เขามีคูปองส่วนลดระหว่างไลฟ์ให้เรามากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ เลย บางคนได้คลีนซิ่งหนูในราคา 5 บาท ซึ่งเป็นแคมเปญจาก TikTok Shop ที่ซัพพอร์ตลูกค้าใหม่ ล่าสุดเมื่อคืนมีคนได้คลีนซิ่งหนูในราคา 4 บาท จาก 400 บาท อันนี้ไม่เรียกว่าลดก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรแล้ว เพราะว่าคูปองมันเยอะจริงๆ ดังนั้นกลยุทธ์ด้านคูปองเราคิดว่า TikTok Shop เหนือกว่าใครอยู่แล้ว

 

ด้านคอนเทนต์ก็ไม่ต้องห่วงเลย เราเป็นนักคอนเทนต์อยู่แล้ว เราพร้อมเสิร์ฟอยู่แล้ว ทั้งแนวตั้งแนวนอน คอนเทนต์สตอรีเรามีพร้อมอยู่แล้ว เราพร้อมจะปั่นประสาทลูกค้าอยู่แล้ว เตรียมตัวรับแรงกระแทกไว้ได้เลยทุกแคมเปญ (หัวเราะ)

 

Elite Care

 

แล้วทีม TikTok Shop ได้ช่วยซัพพอร์ตด้านการขายของเอแคลร์อย่างไรบ้าง?

 

เอแคลร์: TikTok Shop น่ารักกับเราค่ะ เขาดูแลเรื่องระบบหลังบ้านให้ทั้งด้านไอที และระบบการเงิน คือเราก็เกรงใจเขา ไม่ได้ให้เขาช่วยทุกเรื่อง แต่ว่าพวกคูปอง เขาจะเป็นคนคอยดูแล คอยสอบถามเราตลอด ก็เป็นพาร์ตเนอร์ที่ดีกับเรา 

 

TikTok Shop จะมีการจัดแคมเปญตลอด บอกให้เรารู้ล่วงหน้า ทำให้เราได้เตรียมตัวกับแคมเปญได้เต็มที่ ที่ชอบมากคือกิจกรรมที่ทำให้เราได้มีโอกาสไปคอลแลบกับแม่ค้าท่านอื่นๆ พ่อค้าที่แบบเก่งๆ หนึ่งคือเป็นการพีอาร์สินค้าเราด้วย สองคือเราก็ได้ยอดเพิ่มขึ้น เขาก็มีจัดกิจกรรมคอลแลบกันตลอดทั้งปี เราเคยไปกับพี่วู้ดดี้ คือเราก็อยากร่วมงานกับพี่วู้ดดี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คือมันดีเนอะ มันได้กระจายสินค้าของเรา ไปยังกลุ่มลูกค้าของเขา

 

แต่อันที่เราประทับใจมากคือสามแม่ชัวร์ มีพี่โอปอล์ พี่ปุ๊กกี้ พี่เติ้ล ซึ่งเขาคือบรมครูไอดอลของเรา แล้วเราได้ไปคอลแลบกันในวันที่หน้าเรายังทำศัลยกรรมอยู่เลย เราหน้าสด เราใส่เฝือกไปไลฟ์กับเขา แบบมันดีมาก แล้วยอดวันนั้นคือดีมาก ดีทั้งเขาและเราเลย กระเป๋าเขาเราก็ขายให้หมดเกลี้ยง เขาก็ขายคลีนซิ่งให้เราหมดเกลี้ยงเหมือนกัน สนุกมาก เป็นกิจกรรมทางด้านการค้าขายที่เวิร์กจริงๆ 

 

เอาจริงไม่ว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ จะพัฒนาไปแค่ไหน TikTok Shop จะพัฒนาไปก่อนเขาก้าวหนึ่งเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบ การซัพพอร์ตตลอด 24 ชั่วโมง ปกติเอแคลร์ทำงานเลิกดึก กลับมาบ้านจะไลฟ์ดึกแค่ไหนทีม TikTok Shop ก็ยังคอยซัพพอร์ตตลอด

 

 

ให้เอแคลร์มองภาพแบรนด์ของตัวเองอนาคต มี Vision เป็นแบบไหนหรืออย่างไรบ้างหลังจากนี้ เราจะเห็นภาพอะไร?

เอแคลร์: เชื่อหรือเปล่าว่าหน้าตาของแบรนด์หนูนั้นมันไม่ใช่แบรนด์ไทยมากๆ คือหนูมีความฝันว่าหนูอยากให้แบรนด์ตัวเองโกอินเตอร์ไปเมืองนอก ซึ่ง TikTok Shop ก็เป็นแพลตฟอร์มที่ให้โอกาสเราสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จัก มีโอกาสให้หนูได้ขายในต่างประเทศ หนูอยากให้แบรนด์ของหนูวางขายอยู่ทั่วโลกเลย ถ้าใครเห็นขวดฝานีออนจะรู้เลยว่าเป็นแบรนด์ของเอแคลร์จากไทยแลนด์แน่นอนอะไรอย่างนี้ ทั่วโลกจะต้องมี Elite Care ได้ใช้กัน อันนี้คือความฝันสูงสุดนะ ตอนนี้เราก็พยายามอยู่

The post ล้วงลึก ‘เอแคลร์’ เพจจือปาก ทำอะไรก็ติดตลาด กับบทบาทใหม่ จากเส้นทางครีเอเตอร์ สู่เจ้าของแบรนด์สกินแคร์ Elite Care appeared first on THE STANDARD.

]]>
TikTok สู้ศึก YouTube! เพิ่มขีดจำกัดวิดีโอเป็น 60 นาที ดึงดูดครีเอเตอร์สายคอนเทนต์ยาว https://thestandard.co/tiktok-60-mins-youtube/ Sat, 18 May 2024 11:02:19 +0000 https://thestandard.co/?p=935188

TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นชื่อดัง กำลังทดสอบฟีเจอร์ใหม่ […]

The post TikTok สู้ศึก YouTube! เพิ่มขีดจำกัดวิดีโอเป็น 60 นาที ดึงดูดครีเอเตอร์สายคอนเทนต์ยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>

TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นชื่อดัง กำลังทดสอบฟีเจอร์ใหม่ที่อนุญาตให้ครีเอเตอร์บางรายอัปโหลดวิดีโอที่มีความยาวสูงสุดถึง 60 นาที ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ท้าทาย YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ผู้เป็นเจ้าตลาด

 

ฟีเจอร์นี้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดย แมตต์ นาวาร์รา ที่ปรึกษาด้านโซเชียลมีเดียจากสหราชอาณาจักร โดยภาพหน้าจอที่เขาโพสต์ลงบน Threads ของ Meta แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้สามารถอัปโหลดวิดีโอที่มีความยาวได้ถึง 60 นาทีทั้งจากแอปพลิเคชันบนมือถือและเดสก์ท็อป

 

TikTok เพิ่มขีดจำกัดความยาวของวิดีโอมาโดยตลอด จากเดิมที่จำกัดเพียง 15 วินาทีในปี 2018 มาเป็น 3 นาทีในปี 2021 และ 10 นาทีในปีถัดมา โดยในเดือนมกราคมปีนี้ แพลตฟอร์มเริ่มทดสอบการอัปโหลดวิดีโอ 30 นาที

 

สำหรับ Douyin แพลตฟอร์มในประเทศจีนของ TikTok อนุญาตให้อัปโหลดวิดีโอที่มีความยาวได้ถึง 15 นาที และยังมีแพลตฟอร์ม Xigua Video ที่ไม่มีการจำกัดความยาววิดีโอสำหรับคอนเทนต์แบบยาว

 

การเพิ่มขีดจำกัดความยาววิดีโอครั้งนี้จะช่วยให้ครีเอเตอร์มีความยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ประเภทใหม่ๆ หรือขยายประเภทของคอนเทนต์ที่มีอยู่เดิมได้

 

อย่างไรก็ตาม TikTok กำลังเผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองและการแข่งขันในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของบริษัท โดยเมื่อเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในกฎหมายที่ให้เวลา ByteDance 270 วันในการขาย TikTok ในสหรัฐฯ ไม่เช่นนั้นจะถูกแบนจาก App Store

 

นอกจากนี้แพลตฟอร์มวิดีโอและโซเชียลมีเดียเจ้าใหญ่อย่าง YouTube และ Instagram ก็มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อแข่งขันกับ TikTok ซึ่งข้อมูลจาก Sensor Tower บริษัทวิเคราะห์ข้อมูล ระบุว่า เกือบ 94% ของผู้ใช้ TikTok ในสหรัฐฯ ยังใช้งาน YouTube ในช่วง 90 วันที่ผ่านมา ขณะที่ 80% ใช้ Instagram และ 68% ใช้ Facebook

 

การทดสอบฟีเจอร์ใหม่อัปโหลดวิดีโอ 60 นาทีของ TikTok จึงถือเป็นความพยายามในการดึงดูดครีเอเตอร์และผู้ชมให้หันมาใช้แพลตฟอร์มของตนมากขึ้น และเป็นการท้าทาย YouTube โดยตรง

 

อ้างอิง:

The post TikTok สู้ศึก YouTube! เพิ่มขีดจำกัดวิดีโอเป็น 60 นาที ดึงดูดครีเอเตอร์สายคอนเทนต์ยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>
MrBeast จักรพรรดิยูทูเบอร์ ผู้พลิกโฉมหน้าวงการด้วยคอนเทนต์ ‘ยิ่งใหญ่ อลังการ ลุ้นระทึก’ จนสร้างรายได้ปีละไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท https://thestandard.co/mrbeast-the-youtube-emperor/ Tue, 20 Feb 2024 13:02:25 +0000 https://thestandard.co/?p=902296

“สิ่งที่คนทำคอนเทนต์วิดีโอหลายคนมองข้ามไปมากที่สุดก็คือ […]

The post MrBeast จักรพรรดิยูทูเบอร์ ผู้พลิกโฉมหน้าวงการด้วยคอนเทนต์ ‘ยิ่งใหญ่ อลังการ ลุ้นระทึก’ จนสร้างรายได้ปีละไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

“สิ่งที่คนทำคอนเทนต์วิดีโอหลายคนมองข้ามไปมากที่สุดก็คือ ช่วงเวลา 10 วินาทีแรก” – จิมมี โดนัลด์สัน กล่าวถึงเทคนิคที่นำพาให้เขากลายมาเป็นหนึ่งในช่อง YouTube ที่มีคนดูมากที่สุดในโลก

 

ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง วิดีโอตัวหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวของชายหนุ่มและกลุ่มเพื่อนด้วยเงินตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถสร้างยอดการรับชมได้กว่า 52 ล้านครั้ง ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของยอดตีตั๋วชมภาพยนตร์ Barbie และ Oppenheimer ในตลอดระยะเวลาที่เปิดตัวสัปดาห์แรกเสียอีก

 

ผู้สร้างวิดีโอตัวดังกล่าวก็มิใช่ใครอื่น แต่คือ จิมมี โดนัลด์สัน (Jimmy Donaldson) ชายที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตาเขาบนแพลตฟอร์ม YouTube ในฐานะเจ้าของช่อง MrBeast ช่องที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับ 2 บน YouTube ตามจำนวนผู้ติดตาม (Subscribers) โดยมีมากถึง 239 ล้านราย เป็นรองเพียง T-Series ช่องของบริษัทผู้ผลิตเพลงและภาพยนตร์สัญชาติอินเดียที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1983 และมียอดผู้ติดตาม 259 ล้านราย 

 

MrBeast มีภูมิหลังมาอย่างไร? ทำไมคอนเทนต์แทบทุกอันของเขาถึงมียอดวิวถล่มทลายขนาดนั้น? จนเรียกได้ว่าค่าเฉลี่ยของแต่ละวิดีโอที่เขาปล่อยออกมามียอดชมอยู่ที่ 120 ล้านวิวกันเลยทีเดียว

 

นิตยสาร TIME ได้ออกบทความเรื่อง In The Belly of MrBeast เพื่อล้วงอินไซต์และเจาะเบื้องหลังความสำเร็จของชายที่หลายคนยอมรับว่า เขาคือหนึ่งในบุคคลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งแห่งวงการการทำคอนเทนต์

 

ภาพ: Chris Buck / TIME

 

รู้จักกับชายที่มั่นใจว่าตัวเองทำให้ทุกอย่าง ‘ไวรัล’ ได้

 

สำหรับใครที่ยังไม่คุ้นกับ MrBeast และกำลังสงสัยว่าเขาทำเนื้อหาประมาณไหน เบลินดา (Belinda) ผู้เขียนบทความชิ้นนี้ ชวนให้ลองนึกแบบนี้ว่า มันเป็นสิ่งที่เด็ก 9 ขวบที่มีจินตนาการสูงหน่อยอยากจะทำ…แต่ถ้าพวกเขามีเงินมากพอนะ เพราะเนื้อหาในวิดีโอที่ MrBeast ทำนั้นแทบจะไม่มีอะไรที่เป็น ‘ธรรมดา’ เลย เช่น เขาเลือกให้เงินในจำนวนที่สามารถพลิกชีวิตคนคนหนึ่งได้ คนแปลกหน้า หรือท้าให้แขกในรายการเขาทำชาเลนจ์แปลกๆ อย่างเช่น การนอนในโลงที่จะถูกฝังไว้ใต้ดินเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งถ้าทำสำเร็จ ผู้แข่งขันก็จะได้รับรางวัลเป็นเงินก้อนโต

 

ในปี 2023 เขามียอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้น 99 ล้านคน ถือเป็นตัวเลขที่มากเป็น 2 เท่าของทุกๆ ช่องบน YouTube อีกทั้งช่องทางโซเชียลมีเดียของเขาอย่าง TikTok ก็มีผู้ติดตาม 93 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 4 ของแพลตฟอร์ม และอีกประมาณ 50 ล้านคนบน Instagram โดยทางเจ้าตัวประเมินว่า ตอนนี้ในปีปีหนึ่ง เขาน่าจะปรากฏตัวอยู่บนหน้าจอประมาณ 30,000 ล้านครั้งทั่วโลก คนดังระดับ ทอม เบรดี (Tom Brady) หรือ จัสติน ทิมเบอร์เลก (Justin Timberlake) ต่างก็เคยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิดีโอในช่องของเขาเหมือนกัน

 

“ณ จุดนี้ ผมจับทางได้แล้วและรู้ด้วยว่า ทำคอนเทนต์แบบไหนถึงจะได้ยอดดี ผมว่าผมสามารถทำให้อะไรก็ได้กลายเป็นไวรัล” MrBeast กล่าว

 

ความโด่งดังของ MrBeast นั้น ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์การเสพและผลิตเนื้อหาสื่อ โดยในอดีต กลุ่มคนเพียงหยิบมือเคยกุมอำนาจและคอยกำหนดข้อมูลที่คนสามารถรับชมและรับรู้ได้ แต่ตอนนี้ใครก็ออกมาผลิตคอนเทนต์ของตัวเองได้อย่างค่อนข้างเสรี และอีกส่วนก็คือความเข้าใจของ MrBeast ในอัลกอริทึม YouTube รวมทั้งแนวคิดการสร้างเนื้อหาอย่างแตกต่าง ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมและดูไม่ค่อยปลอดภัย

 

MrBeast อยู่บน YouTube มาแล้วกว่า 12 ปี และยังไม่มีทีท่าที่จะเผยให้เห็นถึงอาการหมดไฟหรือนึกไม่ออกว่าจะทำคอนเทนต์อะไร แต่ในทางกลับกัน เขาแสดงให้เห็นอยู่เสมอว่า ‘พลังและวินัย’ เป็นสิ่งที่นำพา MrBeast มาสู่เป้าหมายของเขา เป้าหมายที่หลายคนอาจจะมองว่าทะเยอทะยานเกินไป แต่เมื่อ MrBeast ถูกถามว่า “คุณคิดว่าทำไมคุณถึงประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้?” คำตอบจากปากของเขาเรียบง่ายมากนั่นก็คือ เขาเลือกที่จะทำงานหนักและมุ่งมั่นกว่าคนอื่น

 

“โลกของการสร้างคอนเทนต์มันก็ไม่ต่างอะไรจากกงล้อที่หมุนไปเรื่อยๆ หมุนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และมันกดดันมาก เพราะเราต้องตามให้ทันอยู่ตลอดเวลา” 

 

นอกจากการผลิตคอนเทนต์วิดีโอแล้ว MrBeast ยังมีธุรกิจขนมช็อกโกแลตแท่งของตัวเองที่มีชื่อว่า Feastables โดยภายในปี 2023 ขนมจากแบรนด์นี้ได้เข้าไปตีตลาดในหลายประเทศแล้ว และ MrBeast คาดว่าปีนี้เขาจะสามารถทำรายได้จากส่วนนี้ส่วนเดียวถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.8 หมื่นล้าน

 

MrBeast กับผลิตภัณฑ์ขนมแท่งของเขา

ภาพ: PR Newswire

 

แถมยังมีขาธุรกิจเพื่อสังคมที่ทำผ่านช่อง YouTube ‘Beast Philanthropy’ ซึ่งพยายามทำกิจกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยหาเจ้าของให้กับสุนัขที่ถูกทอดทิ้งกว่า 100 ตัว, บริจาครองเท้า 20,000 คู่ให้กับเด็กๆ ในทวีปแอฟริกา หรือจะเป็นการช่วยนำส่งอาหารมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1 พันล้านบาท ให้กับคนที่ขาดโอกาส และอีกมากมาย 

 

ครีเอเตอร์ที่สร้างสรรค์ ทุ่มเท กล้าเสี่ยง และกันเอง

 

MrBeast ไม่ใช่แค่นักธุรกิจหรือครีเอเตอร์ธรรมดาๆ คนหนึ่ง เพราะอย่างแรกเลยเขาไม่เคยคิดที่จะปกปิดรายได้ของตัวเอง ซึ่งต่อปีแล้วก็ประมาณ 600-700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.2-2.5 หมื่นล้านบาท

 

และเขาก็ไม่ได้มองว่าตัวเองร่ำรวยแต่อย่างไร “อย่างน้อยก็ไม่ใช่ตอนนี้ แต่อาจจะมีสักวันที่ผมน่าจะกล้าพูดได้อย่างเต็มปากว่ารวย แต่ตอนนี้ส่วนใหญ่แล้วเรานำเงินที่ได้มากลับไปลงทุนในโปรเจกต์ใหม่ๆ”

 

นอกเสียจากการใช้จ่ายอย่างมหาศาลในแต่ละครั้งเพื่อสร้างวิดีโอ เขายังทุ่มเทให้กับมันมากๆ อีกด้วย โดยเคยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ MrBeast ต้องออกมาประกาศบอกแฟนๆ ว่า เขาจำเป็นจะต้องเลื่อนการลงคลิปออกไป 1 สัปดาห์ เนื่องจากฟุตเทจมีความยาวถึง 12,000 ชั่วโมง และจำเป็นต้องใช้เวลาตัด ซึ่งสุดท้ายแล้วเวลาความยาวของคลิปจริงนั้นถูกตัดออกมาเหลือเพียง 15 นาทีเท่านั้น

 

ภาพ: MrBeast / X (Twitter)

https://twitter.com/MrBeast/status/1733548222906249437?lang=en 

 

ต้องบอกว่า MrBeast ค่อนข้างจะทุ่มสุดตัวและกล้าเสี่ยงไปกับสิ่งที่เขาทำ “เราใช้เงินจากรายได้โฆษณาเกือบทั้งหมดจำนวนมหาศาลลงทุนกลับไปในธุรกิจ จำนวนที่ผมยอมรับว่ามันอาจจะดูเกินไป จนไม่แปลกที่บางคนมองว่ามันเป็นการตัดสินใจที่สุดโต่งอย่างไม่ชาญฉลาด แต่สุดท้ายผลลัพธ์มันก็สำเร็จนะ” เขากล่าว

 

คลิปหลายตัวของ MrBeast แทบจะไม่เคยใช้ฉากหรือพร็อพเดิมซ้ำเลย ส่วนใหญ่จะหาใหม่หมด และในขณะที่อารมณ์ของคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะเอนเอียงไปทางการผจญภัยอันโลดโผน แต่กุญแจสำคัญที่ทำให้คนดูติดเขาเป็นเพราะ ‘ความรู้สึกที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง’ ของสิ่งที่ MrBeast ทำ

 

เกรย์สัน โลแกน (Grayson Logan) เด็กชายวัย 11 ปี บอกกับนิตยสาร TIME ว่า เขาดู MrBeast ทุกวัน เพราะ MrBeast เป็นคนดีและช่วยเหลือคนอื่น “ผมชอบเพราะเขาดูอัธยาศัยดีมาก แถมยังให้เงินและช่วยคนหลายคนอีก”

 

‘Just-Folks’ หรือการทำคอนเทนต์ที่เน้นอารมณ์เป็นกันเองแบบเพื่อนทำให้เพื่อน คือเคล็ดลับความสำเร็จของ MrBeast 

 

เจสัน ซาวาเลตา (Jason Zavaleta) ผู้ผลิตภาพยนตร์ที่เคยร่วมงานกับ MrBeast กล่าวว่า “คนพวกนั้นเชื่อจริงๆ ว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่นในอุตสาหกรรมบันเทิง” โดยทุกครั้ง MrBeast จะรู้สึกไม่ค่อยสบอารมณ์เมื่อได้ยินคำ เช่น ‘ผู้ช่วยโปรดิวเซอร์’ เพราะมันฟังดูโหลและทางการเกินไป แต่เขาจะอยากให้ใช้คำว่า ‘FOFs’ (Friends of Friends) หรือเพื่อนของเพื่อนแทน

 

สิ่งที่ไม่คาดฝันในวัยเด็กที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนชีวิต

 

เส้นทางชีวิตนักทำคอนเทนต์ของ MrBeast เริ่มต้นมาจากโรคตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘โครห์น’ (Crohn’s Disease) โดยในตอนนั้น ซูซาน พาริเชอร์ (Susan Parisher) แม่ของเขา บอกว่า MrBeast เคยเป็นนักกีฬาเบสบอลดาวรุ่งของโรงเรียน แต่โรคที่นำมาสู่การอักเสบเรื้อรังตลอดทางเดินอาหาร ก็ไม่อาจทำให้เด็กชายคนนี้เดินต่อไปในสายอาชีพกีฬาได้อีกต่อไป แม้ว่าเขาจะพยายามฝืนตัวเองแล้วก็ตาม และแม่ของเขาก็จำต้องแบกรับความทุกข์ใจของลูกที่ไม่ได้ทำตามฝัน “มันเป็นช่วงเวลาที่ยากมาก” เธอกล่าว

 

แต่ท่ามกลางความผิดหวัง เด็กชายคนนี้ก็หันมาสนใจสื่อวิดีโอแทน จนในที่สุดเมื่อปี 2012 ตอนอายุ 13 ปี MrBeast ก็ได้เริ่มทำช่อง YouTube ของตัวเองเป็นอันแรก และ 1 ปีหลังจากนั้นก็เริ่มช่องที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบัน

 

ในเวลา 3 ปีหลังจากนั้น คริส ค็อกกินส์ (Chris Coggins) อดีตอาจารย์สอนภาษาอังกฤษและโค้ชเบสบอล เล่าความทรงจำที่เขามีต่อ MrBeast ว่า ครั้งหนึ่งเด็กคนนี้ออกมานำเสนองานหน้าห้องที่มีหัวข้อเกี่ยวกับการทำความเข้าใจกับระบบอัลกอริทึมของ YouTube ซึ่งใจความสำคัญของการนำเสนอครั้งนั้นคือ เทคนิคการเลือกใช้คำเพื่อให้ได้ยอดวิวที่สูงขึ้น “จะมีเด็กมัธยมสักกี่คนที่เข้าใจเรื่องแบบนี้ตอนปี 2015?” คริสกล่าวด้วยความรู้สึกทึ่ง

 

ต่อมาในช่วงชีวิตมหาวิทยาลัย MrBeast ก็สอบติดที่ Pitt Community College แต่เขาก็ไม่ค่อยได้เข้าเรียนสักเท่าไร ด้วยเหตุผลที่เขาคิดว่า ตัวเขาสามารถเรียนรู้อะไรได้มากกว่าจากการใช้เวลาไปกับ YouTube ซึ่งพอมองย้อนกลับไปในอดีตแล้วมันก็เป็นการตัดสินใจที่ดูคุ้มค่าไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะความเข้าใจในอัลกอริทึม YouTube ของ MrBeast ถือว่าอยู่ในระดับ ‘ปรมาจารย์’ ในหมู่คนทำวิดีโอด้วยกัน และในทุกคลิปของ MrBeast เขาจะต้องมั่นใจว่าคนดูจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นภายใน 10 วินาทีแรก

 

ดาบสองคม

 

ความเข้าใจ YouTube และพฤติกรรมคนดูอย่างละเอียดไม่เพียงแต่จะทำให้ MrBeast มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังทำให้บางคนหันกลับมาสะท้อนถึงงานที่ตัวเองทำอยู่ด้วย โดย นีโอ (Neo) อดีตผู้ร่วมงานกับ MrBeast ให้สัมภาษณ์กับ TIME ว่า แม้เขาจะรักการทำงานกับผู้ชายคนนี้ แต่ด้วยอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับ ‘การทำให้คนดูเสพติดเรานานที่สุด’ เป็นปัจจัยที่ทำให้เขาตัดสินใจออกจากวงการ 

 

“อัลกอริทึมพวกนี้มันคือภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ เพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสังคม แต่เพื่อโฆษณา” นีโอกล่าวถึงเหตุผลที่ระบบของ YouTube ทำให้โจทย์ของคนสร้างคอนเทนต์กลายเป็นการค้นหาวิธีที่จะทำให้คนใช้เวลาบนแพลตฟอร์มนานที่สุด ซึ่งนีโอไม่เห็นด้วยและมองว่ามันอันตรายต่ออนาคต

 

อย่างไรก็ตามนีโอยืนยันว่า เขาไม่ได้เลือกจะลาออกเพราะตัว MrBeast แต่เพราะแพลตฟอร์มที่บังคับให้เขาต้องเข้าใจวิธีรักษาคนดูและหาทางทำให้วิดีโอตัวต่อไปดูน่าโหยหามากขึ้นไปอีก

 

นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เคยถูกเชิญร่วมรายการกับ MrBeast อธิบายถึงประสบการณ์การถ่ายที่เรียกร้องมากเกินไป และพนักงานภายในเองก็บ่นว่า วัฒนธรรมการทำงานในองค์กรนั้นเต็มไปด้วยการบูลลี่และกลั่นแกล้งกัน แถมยังมีบรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียดอีกด้วย

 

“ทุกคนอยู่ในสภาวะที่อยู่ในความกลัวตลอด กลัวว่าพวกเขาอาจจะถูกเลิกจ้างได้ในทุกเวลา เพราะแต่ละครั้งฟีดแบ็กงานที่มีให้มันไม่ชัดเจน ทำให้การจะเข้าใจผลงานที่เราทำไปยิ่งยากขึ้นอีก” หนึ่งในอดีตพนักงานของ MrBeast กล่าว

 

บางคนถึงกับพยายามบอกหัวหน้าฝ่ายบุคคล ซึ่งก็คือแม่ของ MrBeast ว่า พนักงานเริ่มไม่มีความสุขกับงานแล้ว และถ้าระบบการทำงานเป็นแบบนี้ สักวันหนึ่ง MrBeast อาจจะไม่เหลือคนทำงานด้วย เพราะการจะประสบความสำเร็จในบริษัทนี้ได้คือ การทุ่มให้สุดตัวโดยไม่ตั้งคำถามกับสิ่งที่ทีมวางแผนมา และต้องยอมทำงานหนักมากๆ เพื่อที่จะอยู่ทำงานต่อไป

 

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า MrBeast เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดบน YouTube คนหนึ่ง และในมุมของเขา แม้บางคนจะวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ MrBeast ทำ แต่เขาเลือกที่จะมองว่าผลงานเขาเป็นอะไรที่ให้แรงบันดาลใจกับเด็กๆ โดยให้เหตุผลว่า ตัวอย่างที่เขาแสดงให้สังคมเห็นนั่นคือเขาเป็นคนคนหนึ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน 

 

หากมองย้อนกลับไปในวัยเด็กของ MrBeast ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักกีฬามืออาชีพ ตอนนี้ความฝันนั้นได้เปลี่ยนแล้ว

 

“ผมอยากเป็นครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์ที่เก่งที่สุด”

 

ในท้ายที่สุดแล้ว นักกีฬามีข้อจำกัดเรื่องร่างกายที่เสื่อมไปตามอายุขัย แต่เมื่อตอนนี้ MrBeast หันมาโฟกัสในอาชีพที่ไม่มีข้อจำกัดนั้นแล้ว คงมีแค่ความสร้างสรรค์ในตัวของเขาเองที่จะเป็นตัวตัดสินว่า อาณาจักรของเขาจะไปต่อได้ขนาดไหนหรือจะหยุดลงเมื่อไร

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ภาพ: Vivien Killilea / Getty Images for TikTok

อ้างอิง:

The post MrBeast จักรพรรดิยูทูเบอร์ ผู้พลิกโฉมหน้าวงการด้วยคอนเทนต์ ‘ยิ่งใหญ่ อลังการ ลุ้นระทึก’ จนสร้างรายได้ปีละไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ค้นหาความเป็นครีเอเตอร์ที่ซ่อนอยู่ในตัวผ่าน ‘Creator Station’ นิทรรศการโชว์ Reels ในแบบของคุณโดย ‘Cloud 11’ ที่งาน Bangkok Design Week 2024 [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/life/creator-station-by-cloud-11 Fri, 02 Feb 2024 12:00:32 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=895187

เหลือเวลาอีกไม่กี่วันที่คุณจะได้สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มี […]

The post ค้นหาความเป็นครีเอเตอร์ที่ซ่อนอยู่ในตัวผ่าน ‘Creator Station’ นิทรรศการโชว์ Reels ในแบบของคุณโดย ‘Cloud 11’ ที่งาน Bangkok Design Week 2024 [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

เหลือเวลาอีกไม่กี่วันที่คุณจะได้สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีความพิเศษเฉพาะตัวในรูปแบบ Reels Video ที่ ‘Creator Station’ นิทรรศการที่จัดขึ้นโดย ‘Cloud 11’ ในงาน Bangkok Design Week 2024 ของย่าน South Sukhumvit   

 

 

อย่างที่รู้ว่าปีนี้งาน ‘Bangkok Design Week 2024’ มาในธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ นำเสนอกิจกรรมมากกว่า 500 กิจกรรม โดยมี 15 ย่านทั่วกรุงเทพฯ เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน แต่ละย่านก็หยิบเอาเอกลักษณ์ ความโดดเด่นประจำย่านมาต่อยอด หนึ่งในนั้นคือย่าน พระโขนง – บางนา ซึ่งขับเคลื่อนโดย ‘ภาคีเซาท์สุขุมวิท’ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนย่าน South Sukhumvit ให้เป็น Creativity Playground เพื่อยกระดับสู่การเป็นย่านนวัตกรรมใหม่ของกรุงเทพ

 

 

การเข้าร่วม Bangkok Design Week 2024 ถือเป็นโปรเจกต์เริ่มต้นในการผลักดันย่าน South Sukhumvit ภายใต้แนวคิด ‘เซาท์สุขุมวิท…ความลงตัวของนวัตกรรมและเสน่ห์ชุมชน’ ที่ผสมผสานความเป็นย่านนวัตกรรม (Innovation Hub) และเสน่ห์ของชุมชน (Local Charm) อย่างลงตัว นำเสนอผ่าน 25 โปรแกรมสร้างสรรค์ ทั้งนิทรรศการ ตลาด เสวนา เวิร์กช็อป และทัวร์ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ตลอดแนวถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ BTS สถานีอ่อนนุชจนถึง BTS สถานีบางนา

 

 

‘Cloud 11’ ฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งเป็น Theme Project ลำดับที่ 2 ของ MQDC (บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ก็เป็นหนึ่งใน ‘ภาคีเซาท์สุขุมวิท’ ที่ต้องการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและผู้คนในย่าน South Sukhumvit อันเป็นย่านที่ตั้งของโครงการ Cloud 11 ด้วยเช่นกัน

 

 

เมื่อนำคอนเซปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ของ Bangkok Design Week 2024 มาตีความเข้ากับแนวคิด ‘เซาท์สุขุมวิท…ความลงตัวของนวัตกรรมและเสน่ห์ชุมชน’ ของย่าน South Sukhumvit โดยยึดมั่นในพันธกิจ Empowering Creators ของ Cloud 11 ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและดึงศักยภาพของครีเอเตอร์ เพราะเชื่อว่าทุกคนสามารถหยิบเอาตัวตนและเรื่องราวของตัวเองที่อาจดูธรรมดามาสร้างสรรค์เป็นคอนเทนต์ที่มีความพิเศษเฉพาะตัวได้ จึงเกิดเป็นนิทรรศการ ‘Creator Station’ ภายใต้แนวคิด ‘Everyone is a creator’ ชวนทุกคนมาร่วมค้นหาความเป็นครีเอเตอร์ที่ซ่อนอยู่ในตัว ว่าความพิเศษในความธรรมดานั้นทำให้ ‘คุณเป็นครีเอเตอร์ประเภทไหน’

 

 

‘Creator Station’ จะปลุกความเป็นครีเอเตอร์ในตัวทุกคนให้ออกมาโลดแล่น ผ่านการครีเอตคอนเทนต์รูปแบบ Reels Video ที่ต่างกันใน 3 สเตชัน  

 

 

Reflection Room

ห้องกระจก 8 เหลี่ยม ที่นอกจากจะสะท้อนถึงเลขมงคลในหลากหลายประเทศ ยังสะท้อนตัวตนของครีเอเตอร์ในทุกองศา ด้วยภาพถ่ายจากกล่องมุมสูงจึงได้ภาพแปลกตาหลากหลายมิติ แต่จะแปลก แหวก และโดดเด่นขนาดไหน ขึ้นอยู่กับไอเดียการสร้างสรรค์ของคุณแล้ว 

 

 

LED Paint Station

เพราะไอเดียดีๆ ไม่ควรถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ‘สเตชันแห่งอิสระ’ แห่งนี้ ครีเอเตอร์ทุกคนจะไม่ถูกกำหนด บังคับ กะเกณฑ์ หรือตัดสิน แต่จะเป็นพื้นที่ที่ให้ครีเอเตอร์ได้ถ่ายทอดตัวตนผ่านการขีดเขียน วาดลวดลายอะไรลงไปบนภาพด้วยเทคนิค LED Paint ก็ได้ และท้ายที่สุดคุณจะได้ Reels ที่ไม่เหมือนใคร

 

 

Photo Scene Room

สร้างซีนให้แตกต่างกันที่สเตชันมุมกล้องเสย ไม่ง่ายที่จะครีเอตวิดีโอในมุมที่แปลกตาเช่นนี้ ให้ฟีลเหมือนถ่ายแฟชั่นแมกกาซีน ที่สำคัญคุณจะได้เห็นตัวเองในมุมมองแปลกใหม่ และนั่นอาจนำไปสู่การค้นพบไอเดียสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ต่างไปจากเดิม 

 

 

วิธีเข้าร่วมกิจกรรมในทุกสเตชันก็ง่าย เริ่มจาก

  1. ลงทะเบียนที่จุดลงทะเบียนเพื่อรับ QR Code 
  2. จะเลือกเฉพาะสเตชันที่ชอบก็ได้ หรือจะท้าทายความเจ๋งของตัวเองจัดให้ครบทุกสเตชันยิ่งดี 
  3. โชว์ QR Code ให้สตาฟฟ์ประจำสเตชัน สตาฟฟ์จะช่วยอธิบายวิธีการสร้างวิดีโอในสเตชันนั้นๆ 
  4. แต่ละสเตชันมีเวลา 10-15 วินาที คิดไอเดียโพสท่าไปจากบ้านเลยก็ดีนะ 
  5. เมื่ออัดวิดีโอเสร็จ สตาฟฟ์จะเซฟวิดีโอลงในลิงก์
  6. ดาวน์โหลด Reels ด้วยการคลิกปุ่ม Process จากนั้นคลิก Download ได้เลย

 

 

ยังเหลือเวลาให้ทุกคนได้สร้างสรรค์คอนเทนต์จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พาจินตนาการของคุณออกไปโลดแล่นและสร้าง Reels ที่ไม่เหมือนใครที่ ‘Creator Station’ บริเวณทางเชื่อม BTS ชั้น 2 True Digital Park เวลา 11.00-21.00 น.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการ Cloud 11 ได้ทาง Facebook Page: Cloud 11 Bangkok

The post ค้นหาความเป็นครีเอเตอร์ที่ซ่อนอยู่ในตัวผ่าน ‘Creator Station’ นิทรรศการโชว์ Reels ในแบบของคุณโดย ‘Cloud 11’ ที่งาน Bangkok Design Week 2024 [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘อนาคต’ การทำคอนเทนต์และการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม ในยุคที่คนนิยมเสพวิดีโอเกิน 1 นาที https://thestandard.co/future-of-content-creation/ Wed, 31 Jan 2024 03:34:21 +0000 https://thestandard.co/?p=894140

ท่ามกลางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของระบบนิเวศ TikTok ที่ป […]

The post ‘อนาคต’ การทำคอนเทนต์และการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม ในยุคที่คนนิยมเสพวิดีโอเกิน 1 นาที appeared first on THE STANDARD.

]]>

ท่ามกลางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของระบบนิเวศ TikTok ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานรายบุคคลทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วกว่า 325 ล้านคน พร้อมด้วยธุรกิจอีกกว่า 15 ล้านราย พวกเขาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจไปแล้ว โดยประเทศไทยมีครีเอเตอร์มากกว่า 3 ล้านคนที่สร้างรายได้จาก TikTok และผู้ขายกว่า 2.4 ล้านคนที่เป็นคนไทยเกือบทั้งหมด

 

สถิติในปี 2021 จาก TikTok ประเทศไทย ภายในงาน ‘Tiktok For All’ เผยว่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะว่ามูลค่าประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 6.81% ของ GDP ประเทศไทย พร้อมทั้งคนไทยที่ใช้งาน TikTok ในการสร้างคอนเทนต์ยังสามารถทำรายได้สูงกว่ารายได้ขั้นต่ำถึง 36%

 

ในโลกปัจจุบันการเสพเนื้อหาและการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามีความต่างออกไปจากในอดีตอย่างมาก และ TikTok ประเทศไทยรวมอินไซต์ของแพลตฟอร์มมาเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมของคนในโลก Creative Economy ที่ซึ่งสื่อกลางความบันเทิงก็สามารถเป็นแหล่งรวมสินค้าและบริการให้คนเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบาย

 

อินไซต์แรกคือคอนเซปต์ของ Shoppertainment ที่สำคัญมากกับแบรนด์ในยุคปัจจุบัน โดย กรณิการ์ นิวัติศัยวงศ์ Head of FMCG, E-Commerce ประเทศไทย อธิบายว่ามันคือวิธีการเลือกช้อปแบบใหม่ “Shoppertainment คือการสร้างบรรยากาศด้วยความสนุกและความรู้ เพื่อให้ประสบการณ์การช้อปที่พิเศษกว่าเดิม” คอนเซปต์นี้ไม่ใช่แค่คำพูดติดหูอีกแล้ว แต่เป็นเทรนด์ที่ภายในปี 2025 จะมีขนาดตลาดถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 12,400 ล้านดอลลาร์ ในประเทศไทย

 

สำหรับปี 2024 ประเภทเนื้อหาวิดีโอที่คาดว่าจะมาแรงคือเนื้อหาที่สามารถสร้างความบันเทิงได้ เนื้อหาการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ หรือจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกิน ความงาม และไลฟ์สไตล์ เป็นต้น

 

มาในส่วนของจริตการเสพคลิปวิดีโอ TikTok ประเทศไทยเผยตัวเลขว่าผู้เสพสื่อคลิปสั้นมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากในอดีต โดยวิดีโอที่เนื้อหานานเกินกว่า 1 นาทีตอนนี้กลายเป็นรูปแบบที่ผู้ชมนิยมมากขึ้น ซึ่งสัดส่วน 50% ของคนดูในแพลตฟอร์มเลือกใช้เวลากับวิดีโอที่ยาวเกิน 1 นาทีขึ้นไป 

 

นอกจากนี้ สถิติที่แสดงให้เห็นได้ถึงความจำเป็นที่ครีเอเตอร์หลายคนหันมาสนใจสร้างคอนเทนต์ที่มีเวลานานขึ้น มาจากยอดการเติบโตของผู้ติดตามที่เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5 เท่าของกลุ่มครีเอเตอร์ที่ตั้งหน้าตั้งตาทำแต่คลิปสั้นอย่างเดียว พร้อมทั้งยอดวิวของวิดีโอที่ยาวเกิน 1 นาทียังปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 41% หรือ 7 เท่าของยอดวิวคลิปสั้นด้วย

 

ทว่าสิ่งที่สอดคล้องกับเทรนด์ความนิยมคลิปที่มีเวลาเกิน 1 นาทีที่กำลังเป็นประเด็นก็คือในฝั่งของต่างประเทศดันมีโพสต์ที่ The Verge ได้รับเรื่องจากการที่ครีเอเตอร์นามว่า @candicedchap และ @kenlyealtumbiz แชร์โพสต์ที่อ้างว่า TikTok กำลังเตรียมเดินหน้าจูงใจครีเอเตอร์ให้ผลิตวิดีโอที่มีเวลามากกว่า 1 นาที โดยหากเนื้อหาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการเมือง TikTok ก็จะโปรโมตคอนเทนต์ให้ถูกเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม พิสุทธิ์ โรจน์เลิศจรรยา หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ (Head of Operations) TikTok ประเทศไทย กล่าวถึงข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ว่า “ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้คอนเทนต์ความยาวเกิน 1 นาทีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นมาจากการตอบรับของผู้ชมเป็นหลัก และไม่เกี่ยวกับความยาว เพราะต่อให้วิดีโอมีเวลา 5 นาที แต่คอนเทนต์ไม่ดึงดูดก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ ซึ่งหมายความว่าสุดท้ายแล้วคุณภาพกับความครบถ้วนของเนื้อหาจะต้องตอบโจทย์ผู้ชม” 

 

มากไปกว่านั้น พิสุทธิ์ยังยืนยันว่าสำหรับ TikTok ประเทศไทยจะยังไม่มีนโยบายการใช้โปรแกรมดังกล่าวเพื่อจูงใจครีเอเตอร์ให้ผลิตวิดีโอที่มีความยาวมากขึ้น หากแต่เป็นคุณภาพและความถูกใจของผู้ชมที่เป็นตัวตัดสินว่าคอนเทนต์จะปังหรือไม่

 

แต่สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ TikTok ในต่างประเทศท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอันดุเดือดของเหล่าบริษัทแพลตฟอร์มคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอ ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ ขจร เจียรนัยพานิชย์ ออกมาโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

 

“เราอยู่ในโลกที่ TikTok พยายามเป็น Shopee, Lazada ดันช้อปปิ้ง จัดโปร แคมเปญ เก็บ GP ดัน Live ขายของ

 

Shopee, Lazada พยายามเป็น TikTok ดันครีเอเตอร์มาทำคลิปสั้นในแอป ดันคอนเทนต์

 

TikTok พยายามเป็น YouTube, FB ดันคลิปยาว คลิปแนวนอน Long-Form Video

 

FB, Instagram, YouTube พยายามเป็น TikTok ดันคลิปสั้น ตัดต่อคลิปในแอปได้ Short-Form Video”

 

จากผลการศึกษาโดย Boston Consulting Group พบว่า 71% ของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดูคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม TikTok มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจกดสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มไดนามิกที่ตั้งเป้าในปี 2024 ว่าต้องการจะขยายการเข้าถึงแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (CPG), คอมเมิร์ซ, อาหารและเครื่องดื่ม (F&B), ยานยนต์, การเงิน และแอปพลิเคชัน 

 

ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดูเหมือนว่าการขยับของผู้เล่นคนหนึ่งก็เป็นตัวที่สร้างแรงกระเพื่อมให้ผู้เล่นรายอื่นต้องขยับตาม เพื่อรักษาตำแหน่งและส่วนแบ่งในตลาดของตนเองเอาไว้ให้ได้อย่างเหนียวแน่นที่สุด

 

ภาพ: NurPhoto / Getty Images

อ้างอิง:

The post ‘อนาคต’ การทำคอนเทนต์และการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม ในยุคที่คนนิยมเสพวิดีโอเกิน 1 นาที appeared first on THE STANDARD.

]]>
10 นาทีไม่พอ! TikTok เตรียมเปิดให้ครีเอเตอร์สร้างคลิปวิดีโอได้ยาวขึ้นถึง 15 นาที https://thestandard.co/tiktok-longer-videos-15-mins/ Mon, 18 Dec 2023 06:51:24 +0000 https://thestandard.co/?p=877943

จากนี้ TikTok อาจไม่ใช่แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอีกต่อไป หลัง […]

The post 10 นาทีไม่พอ! TikTok เตรียมเปิดให้ครีเอเตอร์สร้างคลิปวิดีโอได้ยาวขึ้นถึง 15 นาที appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากนี้ TikTok อาจไม่ใช่แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอีกต่อไป หลังเล็งขยายเวลาให้บรรดาครีเอเตอร์สร้างคลิปวิดีโอยาวขึ้นถึง 15 นาที

 

จากจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม TikTok ในปี 2020 ที่เปิดให้ลงคลิปเต้นหรือคลิปตลกสั้นๆ แค่ 60 วินาที และได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีการเพิ่มระยะเวลาของคลิปให้ยาวขึ้นเป็น 3 นาทีในปี 2021 ซึ่งมีผู้ใช้งานเป็นวัยรุ่นเป็นหลัก

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ไม่นานนักบรรดาแพลตฟอร์มคู่แข่งอย่าง Facebook, Instagram รวมไปถึง YouTube ก็รีบเปิดให้ผู้ใช้งานลงคลิปวิดีโอที่มีความยาวไม่เกิน 1 นาที เพื่อดึงคนให้อยู่บนแพลตฟอร์มนานขึ้น 

 

แต่วันนี้พฤติกรรมความต้องการผู้ใช้งานโดยเฉพาะเหล่าครีเอเตอร์เริ่มเปลี่ยนไป ต้องการสร้างวิดีโอให้ยาวขึ้นกว่าเดิม เพราะผู้ใช้งานเริ่มมองแพลตฟอร์มเป็นช่องทางหลักในการสร้างรายได้และกำไร 

 

แน่นอนว่าปัจจัยดังกล่าวทำให้ TikTok ต้องรีบปรับกลยุทธ์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาได้เปิดให้โพสต์วิดีโอที่ยาวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มการจำกัดเวลาจาก 1 นาที เป็น 3-5 นาที จนถึง 10 นาที ล่าสุดแพลตฟอร์มอยู่ในช่วงทดสอบการอัปโหลดคลิปความยาว 15 นาที เพื่อกระตุ้นให้คนใช้งานบนแอปได้นานขึ้น 

 

Zachary Kizer โฆษกของ TikTok กล่าวว่า บริษัทได้พัฒนาโปรแกรมการสร้างเนื้อหาใหม่ที่ศึกษาและรวบรวมข้อมูลมาจากบรรดาครีเอเตอร์ ในรูปแบบของการเปิดอัปโหลดวิดีโอที่ยาวขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของการสร้างสรรค์ผลงานได้ดีกว่า ที่ผ่านมาเราเห็นว่าผู้สร้างคลิปยาวสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากกว่าคลิปสั้นถึง 2 เท่า และเราหวังว่าจะสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม

 

ขณะที่ผู้ใช้งานบน TikTok หลายคนเริ่มกังวลและพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ที่เลือกใช้งาน TikTok เพราะสามารถเลื่อนดูเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว หากมีคลิปที่ยาวเกินไปก็ไม่ต่างจาก YouTube

 

ด้าน Krysten Stein นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ชิคาโก กล่าวว่า ในช่วงที่ TikTok เปิดตัววิดีโอแบบสั้นครั้งแรก ทำให้มีคนติดตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หากสร้างวิดีโอให้ยาวขึ้นก็ต้องประเมินดูอีกครั้งว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่ในมุมของผู้ใช้งานที่ต้องการเข้ามาสร้างรายได้ก็ถือว่าตอบโจทย์ เพราะเนื้อหาที่ยาวขึ้นจะสามารถดึงโฆษณาและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

 

อ้างอิง:

The post 10 นาทีไม่พอ! TikTok เตรียมเปิดให้ครีเอเตอร์สร้างคลิปวิดีโอได้ยาวขึ้นถึง 15 นาที appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุยกับ ‘LocalXplorer’ ทีมชนะจากโครงการ ‘Content Lab’ ผู้อยากสร้างแอปท่องเที่ยวชุมชนที่ร่ายมนตร์ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’ [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/localxplorer-content-lab-winner/ Fri, 15 Sep 2023 08:30:14 +0000 https://thestandard.co/?p=841234 LocalXplorer

จับตาโฉมใหม่การท่องเที่ยวไทยให้ดี เพราะนับจากนี้คนไทยแล […]

The post คุยกับ ‘LocalXplorer’ ทีมชนะจากโครงการ ‘Content Lab’ ผู้อยากสร้างแอปท่องเที่ยวชุมชนที่ร่ายมนตร์ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
LocalXplorer

จับตาโฉมใหม่การท่องเที่ยวไทยให้ดี เพราะนับจากนี้คนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติจะได้สัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบ ‘Meaningful Travel’ ไม่ใช่แค่การเดินทาง แต่เป็นการค้นพบช่วงเวลาแสนพิเศษ ผ่านแพลตฟอร์มและคอนเทนต์จากมุมมองคนรุ่นใหม่ 

 

ที่กล้ายืนยันเพราะเมื่อวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม THE STANDARD เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ และร่วมลุ้นว่า 1 ใน 6 ทีมใครจะเป็นผู้ชนะในโครงการ ‘Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล’ รอบ Final Product Pitching   

 

LocalXplorer

 

เท้าความที่มาที่ไปของโครงการ Content Lab ก่อนว่า เป็นโครงการที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ร่วมกันผลักดัน ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่ต่อยอด ‘อุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย’ ให้ขายได้ ยกระดับให้ก้าวสู่ตลาดสากล จากพลังของการสร้างสรรค์ผ่าน Soft Power พร้อมทั้งสนับสนุนบุคลากรสร้างสรรค์ให้มีความพร้อม ต่อยอดการทำงานที่ปรับใช้ได้จริง 

 

นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจใน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มภาพยนตร์และซีรีส์ (Film & Series) และ 2. ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)

 

โดยทาง ปตท. เป็นแกนหลักในส่วนของโปรแกรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) เปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creator) นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสมัครเข้ามา ก่อนจะคัดเลือกเพียง 13 ทีม เพื่อเข้าร่วมเวิร์กช็อปปฏิบัติจริงกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี 

 

ทุกคนจะได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน เรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ทั้ง Virtual Production, AR/XR, AR Location Based, CG, 3D Model ฯลฯ พร้อมเยี่ยมชมสตูดิโอชั้นนำของประเทศ เช่น XR Studio, Supreme Studio และ L&E Studio ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม

  

LocalXplorer

 

โดยทั้ง 13 ทีมจะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเวิร์กช็อปมานำเสนอ Proposal ภายใต้หัวข้อ ‘Meaningful Travel’ ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ 

 

ความเจ๋งคือทุกทีมที่ผ่านเข้า Final Product Pitching จะได้รับเงินสนับสนุนจาก ปตท. เพื่อนำไปผลิต Prototype เพื่อมานำเสนอในรอบ Final Pitching และนี่คือ 6 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ 

 

หมวด Film & Advertising

  • ทีม Thatien โดย นฤพนธ์ พันธุ์ไพโรจน์
  • ทีม One free day โดย ธนิต ยงรัตนมงคล

 

หมวด Location Based & Platform

  • ทีม LocalXplorer โดย กรัณย์กฤษฎ์ ภาวิศกุล, บุญเลิศ เฮงสุนทร, ณัฏฐ์ ตันโชติช่วง, ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์, ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ และ อภิสรา เฮียงสา
  • ทีม Thailand Culture Guide โดย รัชชานนท์ วนิชสมบัติ, อุกฤษฎ์ น่วมดี และ ทวิช ธานี

 

หมวด Game 

  • ทีม Sermtat | Thai VR Boxing Game โดย ณัฐพงศ์ ตั้งเสถียรภาพ, จักรกฤษณ์ พงษ์พาณิชย์ และ พงษ์พิสิทธิ์ ดีสาระพันธ์
  • ทีม Bangkok Adventure Board Game โดย ภาวิดา ผุสดีโสภณ, วรินทร ฉัตรบูรพาชัย และ นภัสนันท์ บัวสมบุญ

 

LocalXplorer

 

ชาญ กุลภัทรนิรันดร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนและพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เผยว่า “โครงการ Content Lab เป็นเหมือนคอร์สอบรมพัฒนาทักษะโปรแกรมด้านดิจิทัลคอนเทนต์และโปรแกรมภาพยนตร์หรือซีรีส์ จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา มุ่งหวังว่าโครงการนี้จะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่จะดึงศักยภาพนักสร้างสรรค์คอนเทนต์คนไทย และกระตุ้นเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล 

 

“ต้องยอมรับว่าหลังจากเห็นผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ ยิ่งมั่นใจในความสามารถและศักยภาพของคนไทยว่าเทียบเท่าระดับสากล โดยเฉพาะบุคลากรในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาผลิตผลงานสร้างสรรค์ได้ แต่อาจยังขาดโอกาสและแรงผลักดันสนับสนุน ด้วยเหตุนี้เอง ปตท. จึงพร้อมผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการผลิตผลงานสร้างสรรค์ของไทยไปสู่ระดับสากล และเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิตผลงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เกม นิทรรศการ ปตท. พร้อมเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อน ที่จะช่วยจุดพลังความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดเทคโนโลยีดิจิทัล และยกระดับอุตสาหกรรม Soft Power ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตคอนเทนต์สร้างสรรค์ของอาเซียน สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยให้เติบโตไปพร้อมกัน 

 

LocalXplorer

 

ในฐานะผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ที่ได้เห็นทั้ง 6 ทีมนำเสนอผลงาน ต้องบอกว่าทุกทีมโดดเด่นในแนวทางที่พวกเขาถนัด มีมุมมองการผลิตคอนเทนต์ที่สดใหม่ จนอยากให้ทุกทีมได้รางวัลชนะเลิศ แต่ท้ายที่สุดทีมที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วว่ามีแนวคิดการพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์ Soft Power สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนา และมีความเป็นไปได้ในการต่อยอดเชิงธุรกิจจนสามารถคว้าเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท ได้แก่ ทีม ‘LocalXplorer’

 

LocalXplorer

 

LocalXplorer เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยว ที่จะพาคุณสัมผัสประสบการณ์กับชุมชนในแบบที่ไม่เหมือนใคร เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ กับเรื่องราวและคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชน ภายใต้แนวคิด ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’

 

ขอเล่าในมุมของคนที่ได้ฟังการนำเสนอของทีม บอกเลยว่าเป็นทีมที่แข็งแรงทั้งคอนเทนต์และเทคโนโลยี ฟีเจอร์ที่อยู่ในแอปจะพานักท่องเที่ยวไปสัมผัส ‘Meaningful Travel’ อย่างแท้จริงผ่าน Soft Power ที่แข็งแกร่งของไทยนั่นคือ ‘อาหาร วัฒนธรรม และภูมิปัญญา’ โดยนักท่องเที่ยวสามารถสร้างความรู้สึกร่วมกับชุมชนแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนด้วยเทคโนโลยี AR และ Ask Bot มาช่วยทำลายข้อจำกัดด้านการสื่อสาร 

 

ความเจ๋งคือ สถานที่ที่พวกเขานำเสนอไม่ใช่แลนด์มาร์กที่หาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต แต่เป็นชุมชนที่เป็นเหมือน Hidden Gem สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านการเดินทาง มีการนำเทคโนโลยี AR มาช่วยให้การเที่ยวแปลกใหม่ โดยสามารถแสดงภาพของสถาปัตยกรรม อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างเดิมที่เคยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ทับซ้อนกับภาพปัจจุบัน 

 

ที่สำคัญยังหยิบเอา Pain Point เรื่องภาษามาช่วยให้นักท่องเที่ยวสื่อสารกับร้านอาหารท้องถิ่น เข้าใจส่วนประกอบและเลือกรับประทานอาหารอย่างมั่นใจผ่าน Ask Bot ไปจนถึงการนำ Map Freemium แผนที่ร้านลับแบบคนโลคัล พาสำรวจร้านลับและขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรมในชุมชนต่างๆ สร้างประสบการณ์สุดพิเศษทุกครั้งที่มาเที่ยวเมืองไทย  

 

LocalXplorer

 

ก่อนจะนั่งคุยกับทีม LocalXplorer รู้มาว่าจริงๆ แล้วทีมนี้เกิดจากการรวมตัวกันของ 2 ทีม ได้แก่ ทีม Travel Platform & Virtual Influencer มีสมาชิกทีม 3 คน ได้แก่ ก้าว-กรัณย์กฎษฎ์ ภาวิศกุล, ก้อง-บุญเลิศ เฮงสุนทร และ นัท-ณัฏฐ์ ตันโชติช่วง และทีม Foodscape ซึ่งมีสมาชิก 3 คนเช่นกัน ได้แก่ จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์,  มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ และ รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา แต่ด้วยเป้าหมายที่คล้ายกัน และมีความต่างที่น่าจะเป็นส่วนผสมที่ลงตัว คณะกรรมการจึงลงความเห็นว่าทั้งสองทีมควรทำงานร่วมกัน 

 

เราชวนทุกคนคุยด้วยคำถามที่ว่า อะไรคือจุดเริ่มต้นให้ทั้ง 6 คนเข้าร่วมโครงการ Content Lab รวงข้าวเล่าว่า “เดิมที่พวกเรา (ทีม Foodscape) สนใจเรื่องการพัฒนาเมืองในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว และอยากยกระดับพื้นที่สาธารณะและอาหารของกรุงเทพฯ ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งโครงการนี้ต้องการผลักดันการท่องเที่ยว ผลักดัน Soft Power ก็น่าจะเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เราได้นำสิ่งที่เรามีมายกระดับไปอีกขั้นได้ ซึ่งทีมเรามีจุดแข็งคือ ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนที่ลึกและโฟกัสไปที่ชุมชนเมือง แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ พอได้ทีมของก้องมาช่วยก็เติมเต็มพอดี” 

 

LocalXplorer

 

ก้อง เล่าเสริมว่า สองทีมมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้คนเข้าถึงมากขึ้น “ไอเดียของกลุ่มเราตอนแรก (ทีม Travel Platform & Virtual Influencer) จะเน้นไปที่เรื่องภาษา อยากทำแอปที่ให้คนต่างชาติเข้าใจเมนูอาหาร เพราะเห็น Pain Point ว่าคนไทยไม่เก่งภาษา โดยเฉพาะกลุ่มคนในพื้นที่ ทำให้เขาขาดโอกาสหลายๆ อย่าง เราอยากให้โอกาสคนได้อย่างทั่วถึง ส่วนทีม Foodscape ต้องการให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเรื่องราวในชุมชน พอจับมารวมกันมันลงตัว” 

 

จับอิก บอกว่า “จากการทำงานลงพื้นที่มา 2 ปี ได้ทำ Route City Walk ย่านชุมชน และพบ Pain Point เหมือนกันคือคนในพื้นที่ไม่สามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้ เขาอยากกินอาหารท้องถิ่นแต่พอไม่รู้ว่ามันมีส่วนผสมอะไรบ้าง เขากลัวแพ้อาหารก็ไม่กล้ากิน เราก็เอาประเด็นนั้นมาคุยกัน  

 

“เราอยากพัฒนาแอปที่ทำให้นักท่องเที่ยวมองเห็น Micro Landmark นี่อาจเป็นจุดที่ทำให้ทีมเราชนะเพราะแตกต่าง เราโฟกัสที่ Meaningful Travel การท่องเที่ยวที่เป็นเชิงประสบการณ์ลึกซึ้ง แอปเราไม่ได้โฟกัสการท่องเที่ยวทั่วไป แต่มองจากจุดเล็กๆ คนเล็กๆ ในสังคม เพราะเราอยากให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตไปพร้อมกับการท่องเที่ยว และคนตัวเล็กๆ ในชุมชนก็เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนกัน ที่สำคัญคนกลุ่มนี้มีศักยภาพ พื้นที่ในชุมชนก็มีศักยภาพ และจะกลายเป็น Soft Power และทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวขยายมาสู่ชุมชน แล้วก็หวังว่าจะผลักดันให้คนในชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเข้ามาเป็น Curator” 

 

“สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเที่ยวเมืองไทยบ่อยขึ้น บางคนมา 2-3 ครั้งก็ไม่กลับมาแล้ว เพราะเก็บแลนด์มาร์กหมดแล้ว แต่จริงๆ ยังมีชุมชนรอบๆ แลนด์มาร์กที่น่าสนใจ และเราอยากให้เขาได้เห็นและสัมผัสสิ่งเหล่านั้น” รวงข้าว เสริม 

 

ก้าว บอกว่าจุดเด่นของแอปคงเป็นเรื่องการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ของการท่องเที่ยว การเข้าไปเจอชุมชนที่ไม่สามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร วัฒนธรรม หรือเรื่องราวที่ไม่เคยมีใครเล่า 

 

“ถึงจะเป็นแอปแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร แต่ในรายละเอียดอาจไม่เหมือนแอปอื่นๆ เพราะเรามีทีม Curator ที่ทำให้คอนเทนต์มีความลึกซึ้งและแตกต่าง รวมถึง Customer Journey ที่ทำโดย UX/UI ทำให้แอปมีฟีเจอร์หลากหลายรองรับประสบการณ์นักท่องเที่ยว และทีม Dep ที่ทำส่วนของ AR หรือฟีเจอร์ที่ทำให้นำเที่ยวได้โดดเด่น” ก้อง เสริม 

 

นัท เล่าในฐานะคนพัฒนา AR ว่า “ผมต่อยอดจากไอเดียที่ต้องการให้นำประวัติศาสตร์เก่าซ้อนทับกับปัจจุบัน ตอนแรกอยากทำฟิลเตอร์ให้คนไปถ่ายรูปกับสถานที่ประวัติศาสตร์ แต่ด้วยเวลาจำกัดเลยทำเป็น AR ของสถานที่ต่างๆ โดยในอนาคตอยากพัฒนาเป็นฟิลเตอร์” 

 

LocalXplorer

 

มากไปกว่าเงินรางวัลและโอกาสในการพัฒนาแอปให้เกิดขึ้นจริง คือประสบการณ์ล้ำค่าที่พวกเขาได้รับจากการเข้าร่วมเวิร์กช็อปตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน

 

มิว บอกว่า สำหรับเธอในมุมของคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านดิจิทัล ไม่เคยทำธุรกิจ การเข้าร่วมโครงการได้เวิร์กช็อปกับคนในสายงานตัวจริง ได้ไปเยี่ยมชมสตูดิโอเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามาก ไม่ต่างกับ ก้าว นอกจากจะได้เห็นว่ายังมีคนเก่งอีกมากมาย การได้รายล้อมไปด้วยคนเก่งช่วยกระตุ้นให้เขาอยากพัฒนาตัวเอง ด้าน จับอิก ก็เช่นกัน เขาบอกว่า องค์ความรู้บางอย่างทลายกรอบความเชื่อเดิมๆ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่เขาพบว่า การสแกน AR สามารถต่อยอดเป็นฟีเจอร์และคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ได้อีกมากมาย

 

สำหรับ รวงข้าว จากที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี ทำให้เธอเห็นว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้จะเป็นเครื่องมือที่ขับเคลื่อนความตั้งใจดีของเธอที่มีต่อชุมชน และการท่องเที่ยวของเมืองไทยให้ไปถึงฝันเร็วขึ้น ก้อง บอกว่าการได้ทดลองใช้และเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ ในการทำสื่อ ไม่ว่าจะเป็น 3D หรือ AR ทำให้เขาพบว่า มีทางเลือกอีกมากที่จะช่วยให้คอนเทนต์มีความสดใหม่มากขึ้น ส่วน นัท เนิร์ดสายเทคได้เข้าใจว่า Soft Power ที่แท้จริงคืออะไร และมีทางเลือกไหนบ้างที่จะทำให้ต่างชาติรู้ว่าเมืองไทยมีอะไรดีบ้าง

 

เมื่อถามว่า ถ้าปีหน้ามีโครงการดีๆ แบบนี้เกิดขึ้นอีก พวกเขาอยากบอกอะไร

 

ก้าว “มันเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจเรื่องดิจิทัล ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีไอเดีย มีแรงบันดาลใจที่อยากจะทำของใหม่ๆ ถ้ามีโอกาสอยากให้มาลองครับ คุณจะได้เรียนรู้อะไรดีๆ และได้รู้จักกับผู้คน” 

 

มิว “ไม่ว่าจะมาจากสาขาไหนหรือมาด้วยความตั้งใจอะไรก็อยากให้ลองมา เพราะโครงการแบบนี้ไม่ได้ต้องการคนที่เพอร์เฟกต์ และเขาก็มีเวิร์กช็อปและความรู้มากมายที่พร้อมจะให้เรา คุณก็แค่เอาตัวเองเข้ามา”  

 

รวงข้าว “เมื่อก่อนเคยคิดว่าจะทำอะไรสักอย่างต้องมีคอนเน็กชัน ต้องมีองค์ความรู้ แต่โครงการนี้เปลี่ยนความคิดไปเลย ทำให้ได้รู้จักกับคนที่มีความรู้และมีศักยภาพที่จะทำให้ไอเดียของเราเป็นจริงได้ มีผู้ใหญ่ใจดีพร้อมให้คำแนะนำ แค่ได้ฟังคอมเมนต์จากคณะกรรมการก็กำไรแล้ว” 

 

จับอิก “โครงการนี้ซัพพอร์ตทุกอย่างจริงๆ แค่เอาตัวเองเข้ามา การเข้ามามันเปิดประตูโอกาสหลายบาน” 

 

ก้อง “ลองออกจากคอมฟอร์ตโซน ออกมาลองทำอะไรใหม่ๆ อย่างไรก็ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เจอคนหลากหลาย”  

 

นัท “คุณไม่ได้เสียอะไรเลย แต่ได้กำไรด้วยซ้ำ การพาตัวเองเข้ามาอยู่ในสังคมที่มีคนเก่งๆ รอบตัว ได้ทั้งความรู้ ได้คอนเน็กชัน ได้รู้ว่าคนเก่งๆ เขาทำงานกันอย่างไร เขาหาไอเดียจากไหน”

 

LocalXplorer


แอบลุ้นให้โครงการน้ำดีแบบนี้เกิดขึ้นต่อไป ซึ่ง ปตท. เองก็เผยว่า ตั้งใจที่จะผลักดันให้เป็นการโครงการต่อเนื่อง 

 

“การที่ ปตท. ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา Soft Power ของไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ติดอาวุธให้กับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทย เป็นฟันเฟืองที่ช่วยให้ไทยก้าวสู่การเป็น Creative Hub ของภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ถือเป็นความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ ที่จะผลักดันให้เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยจะนำฟีดแบ็กจากผู้เข้าอบรม พันธมิตร และผู้เกี่ยวข้องไปปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น รวมทั้งเชื่อมต่อผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการกับนักพัฒนา นักลงทุน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเป็นผลงานจริง พร้อมผลักดันให้ก้าวสู่ตลาดโลก” ชาญกล่าว 

 

เพราะ ปตท. เชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยยกระดับ Soft Power ไทยสู่ระดับสากล นี่จึงไม่ใช่โครงการแรกที่ ปตท. ร่วมผลักดัน ก่อนหน้านี้ได้ทำงานกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Soft Power 

 

ภายใต้แนวคิด ‘TECH CREATE FUN’ โดยนำเทคโนโลยีอย่าง Virtual Reality, Augmented Reality, Drone และ Metaverse มาเสริมศักยภาพในการสร้างภาพยนตร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ หรืองานศิลปะ เพื่อให้ทั้งผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีขึ้น โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ 

 

  1. Content ด้วยการสร้างคอนเทนต์ไทยสู่สากลผ่านโครงการ Content Lab
  2. Skills Development มุ่งสร้างบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านโครงการ TGIF – Technology is Fun
  3. Showcase จัดแสดงศักยภาพ Soft Power ด้านศิลปะไทยผ่านนิทรรศการ ‘Locating the Locals: A Virtual Exhibition by PTT’

 

LocalXplorer

 

THE STANDARD ขอแสดงความยินดีกับทีม LocalXplorer และส่งใจให้ทีมที่เหลือยังคงรักษาความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์คอนเทนต์ดีๆ เพื่อผลักดัน Soft Power ไทยต่อไป

 

ติดตามโครงการดีๆได้ที่ FB: CONTENT LAB

The post คุยกับ ‘LocalXplorer’ ทีมชนะจากโครงการ ‘Content Lab’ ผู้อยากสร้างแอปท่องเที่ยวชุมชนที่ร่ายมนตร์ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ‘ไม่ว่าจะกลับมากี่ครั้งก็ยังพิเศษราวกับเป็นครั้งแรก’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าของ OnlyFans โกยกำไร 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอู้ฟู่จากการมีครีเอเตอร์ 3 ล้านคน และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription https://thestandard.co/onlyfans-paid-its-owner-338m/ Sat, 26 Aug 2023 03:44:31 +0000 https://thestandard.co/?p=833966

Fenix International ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์ม OnlyF […]

The post เจ้าของ OnlyFans โกยกำไร 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอู้ฟู่จากการมีครีเอเตอร์ 3 ล้านคน และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription appeared first on THE STANDARD.

]]>

Fenix International ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์ม OnlyFans ได้รายงานผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งนำไปสู่การจ่ายเงินปันผลจำนวนมากถึง 338 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท

 

แพลตฟอร์มดังกล่าวให้บริการแก่ Sex Worker นักดนตรี และคนดัง สำหรับเผยแพร่คอนเทนต์ ซึ่งแรงหนุนจากการล็อกดาวน์ทำให้มีผู้เข้าชมจำนวนมาก ปัจจุบัน OnlyFans มีครีเอเตอร์กว่า 3 ล้านคน ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2022 เพิ่มขึ้น 47% และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription ซึ่งเพิ่มขึ้น 27%

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

ตามรายงานระบุว่า แฟนๆ ใช้จ่ายมากถึง 5.5 พันล้านดอลลาร์กับ OnlyFans จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2022 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้แปลเป็นกำไรก่อนหักภาษีแตะ 525 ล้านดอลลาร์สำหรับบริษัทจดทะเบียนในลอนดอน เพิ่มขึ้นจาก 432 ล้านดอลลาร์ในปี 2021

 

Fenix International กล่าวถึงความสำเร็จนี้ว่า “OnlyFans มีการเติบโตและผลกำไรที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนถึงการขยายตัวของแพลตฟอร์มในแง่ของผู้สร้างเนื้อหาและแฟนๆ ตลอดจนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้สร้างเนื้อหาที่มีอยู่”

 

เป็นที่น่าสังเกตว่ารายได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของแพลตฟอร์มในขณะนี้มาจากบริการที่ไม่สมัครสมาชิก เช่น เนื้อหาตามความต้องการและเคล็ดลับจากผู้สร้าง การเติบโตนี้บ่งบอกถึงฐานผู้ใช้ที่ขยายและรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครีเอเตอร์ที่มีอยู่

 

แม้ OnlyFans จะโด่งดังจากคอนเทนต์โป๊เปลือย แต่แพลตฟอร์มกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ โดยมุ่งเน้นเนื้อหาประเภทต่างๆ เช่น ตลก การทำอาหาร ฟิตเนส และดนตรี

 

อ้างอิง:

The post เจ้าของ OnlyFans โกยกำไร 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอู้ฟู่จากการมีครีเอเตอร์ 3 ล้านคน และ ‘แฟนๆ’ เกือบ 240 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงิน Subscription appeared first on THE STANDARD.

]]>