Branding – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 27 Dec 2024 06:24:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: เส้นทางการปั้นแบรนด์จาก KBTG องค์กรเทคผู้อยู่เบื้องหลัง K PLUS | THE STANDARD https://thestandard.co/kbtg-brand-building-kplus/ Fri, 27 Dec 2024 08:00:13 +0000 https://thestandard.co/?p=1024520 kbtg-brand-building-kplus

การสร้าง Branding ในบริษัทต่างๆ นั้นสำคัญเทียบเท่ากับกา […]

The post ชมคลิป: เส้นทางการปั้นแบรนด์จาก KBTG องค์กรเทคผู้อยู่เบื้องหลัง K PLUS | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
kbtg-brand-building-kplus

การสร้าง Branding ในบริษัทต่างๆ นั้นสำคัญเทียบเท่ากับการพัฒนาโปรดักต์ ยิ่งในบริษัทเทคโนโลยีแล้ว จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรเป็นอย่างยิ่ง

 

องค์กรเทคโนโลยีอย่าง KBTG จึงมุ่งมั่นสร้างทีม Branding เพื่อเป็นหน่วยซัพพอร์ตการสื่อสารแบรนด์ออกไปสู่คนภายนอก และสร้าง Tech Community ที่สามารถต่อยอดและยกระดับวงการเทคโนโลยีในประเทศไทยเพื่อก้าวต่อไปในอนาคต

 

[ADVERTORIAL]

The post ชมคลิป: เส้นทางการปั้นแบรนด์จาก KBTG องค์กรเทคผู้อยู่เบื้องหลัง K PLUS | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
BITS10 งานออกแบบตัวอักษรและแบรนดิ้งที่สร้างสีสันให้แวดวงงานออกแบบไทย https://thestandard.co/life/bits10-brand-identity-and-typography-symposium Tue, 07 Nov 2023 08:38:39 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=863338

BITS งานสัมมนาวิชาการว่าด้วยเรื่องไทโปกราฟีและกราฟิกดีไ […]

The post BITS10 งานออกแบบตัวอักษรและแบรนดิ้งที่สร้างสีสันให้แวดวงงานออกแบบไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

BITS งานสัมมนาวิชาการว่าด้วยเรื่องไทโปกราฟีและกราฟิกดีไซน์ จัดโดย คัดสรร ดีมาก (Cadson Demak) ในปีนี้กลับมาอย่างยิ่งใหญ่และใหม่กว่าเดิม ด้วยการขยับขยายขอบเขตไปสู่ภาพรวมงานออกแบบครบวงจรในชื่อว่า ‘BITS10: Brand Identity and Typography Symposium’ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

งานสัมมนาที่อัดแน่นด้วยสปีกเกอร์กว่า 30 คนทั้งจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ในหัวข้อเกี่ยวกับธุรกิจฟอนต์ กราฟิกดีไซน์ และแบรนดิ้ง ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เข้ากับการตลาดและอุตสาหกรรมการออกแบบ ทั้งยังเป็นพื้นที่สำคัญในการเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจจากประเทศไทยไปยังนักออกแบบทั่วโลก 

 

ไฮไลต์อยู่ที่ Conference Day วันที่ 3-4 พฤศจิกายน กับหัวข้อที่เหล่าสปีกเกอร์มาพรีเซนต์ให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็น 

 

 

Philip Cornwel-Smith เจ้าของผลงาน Very Thai และล่าสุด Very Bangkok ที่นำเอาวัฒนธรรมร่วมสมัยของไทยมาสะท้อนผ่านมุมมองของเขาที่เป็นทั้งนักคิด นักเขียน ช่างภาพ และภัณฑารักษ์จากอังกฤษ 

 

 

Roger Black กราฟิกดีไซเนอร์ตำนานด้านการออกแบบโลโก้และไทโปกราฟีให้กับสื่อสิ่งพิมพ์มากมาย ยกตัวอย่างเช่น Washington Post, Rolling Stone, Esquire, Fast Company, Los Angeles Times และ เว็บไซต์ Bloomberg.com เขาบินตรงจากสหรัฐอเมริกามาเล่าถึงประสบการณ์การทำงานรวมถึงเคล็ดลับให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่

 

 

Tim Ripper ผู้ออกแบบและพัฒนาแบบอักษรที่ Commercial Type ผลงานสำคัญๆ อย่างเช่น MIT, REI, V&A Museum และ The Guardian เขาจะพาเราไปสำรวจวิวัฒนาการของรูปแบบตัวอักษรผ่านการบรรยายในหัวข้อ ‘Successor: The Synthesis of a New English Egyptian’

 

 

Yuka Shinada นักออกแบบจาก Morisawa กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กับหัวข้อบรรยาย ‘เครื่องมือในการออกแบบตัวอักษร ตั้งแต่ยุคเก่าของญี่ปุ่นมาจนถึงความทันสมัยในปัจจุบัน’

 

 

Shunya Morita ไทป์ดีไซเนอร์จาก Fontworks ประเทศญี่ปุ่น เล่าถึงการออกแบบแบบตัวอักษร LINE แอปพลิเคชันสนทนาที่ฮิตที่สุดในประเทศญี่ปุ่นและไทย

 

 

Ryota Doi นักออกแบบชาวญี่ปุ่น และ Tao Di นักออกแบบชาวจีน จาก Monotype กับพรีเซนเทชันเรื่องของเทรนด์แบบตัวอักษรญี่ปุ่นและจีน ที่แม้จะมาจากรากภาษาเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเทรนดิ้งไปในทิศทางเดียวกัน 

 

 

Jo De Baerdemaeker ไทป์เฟสดีไซเนอร์จาก Antwerp เขามีความสนใจในเรื่องของแบบตัวอักษรโบราณ อย่างเช่น ทิเบต มองโกเลีย และชวา นอกเหนือจากงานออกแบบของเขาที่ Antwerp แล้ว ยังใช้เวลาส่วนใหญ่บรรยายให้ความรู้ โดยเฉพาะในงาน BITS10 เขาเล่าถึงการสร้างแบรนดิ้งผ่านแบบตัวอักษร มองผ่านประวัติศาสตร์ของไทป์ดีไซน์

 

รวมถึงนักออกแบบจากไทยที่ทำให้เห็นว่าภาษาไทยในงานออกแบบพัฒนาให้ร่วมสมัยและเข้ากับยุคโลกไร้พรมแดนได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็น 

 

 

สันติ ตันสุขะ นักออกแบบและอาจารย์มหาวิทยาลัย เจ้าของ witti.studio ที่หลงใหลงานพิมพ์ Risograph ที่เชื่อมโลกอนาล็อกเข้ากับยุคดิจิทัล บรรยายในงาน BITS10 เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ดีด Redux ที่ตัวแป้นพิมพ์ในแต่ละรุ่นแตกต่างกัน ทั้งตัวภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเรื่องราวในการตามหาเครื่องพิมพ์ดีดแต่ละรุ่น เหล่านี้คือเรื่องราวที่แทบจะเลือนหายเกี่ยวกับไทป์ดีไซน์ ยุคของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เชื่อมโยงถึงชีวิตประจำวัน

 

 

มิ้ม เตชะไพบูลย์ นักออกแบบไทยจากสมรรถภาพที่เคยทำงานในสหรัฐอเมริกามาหลายปี เธอมาบรรยายในหัวข้อสัมมนา ‘Translating Logotypes & Cross-Cultural Branding’ เกี่ยวกับโลโก้ภาษาต่างๆ ที่แตกต่างในบริบทแวดล้อม รวมถึงการแปลความหมายจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผ่านงานกราฟิกดีไซน์ 

 

 

วีร์ วีรพร กราฟิกดีไซเนอร์ที่เฝ้าสังเกตเหตุการณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนเกี่ยวกับการเมือง บันทึกการต่อสู้ของประชาชนผ่านศิลปะตัวอักษร

 

 

Knaz หรือ คนัช อุยยามาฐิติ นักออกแบบจากคัดสรร ดีมาก กับการออกแบบตัวอักษรภาษาไทยให้กับคีย์บอร์ด Keychron

 

สำหรับงาน BITS จัดขึ้นโดยคัดสรร ดีมาก บริษัทออกแบบตัวอักษรและกราฟิกดีไซน์ ด้วยความตั้งใจที่จะปรับปรุงให้อุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษรไทยเป็นสิ่งที่จับต้องได้และเกิดเป็นรูปแบบของธุรกิจอย่างจริงจัง เพื่อหวังผลระยะยาวทางด้านวัฒนธรรมยุคที่ความร่วมมือกับนานาชาติเป็นเรื่องปกติ

 

คัดสรร ดีมาก จัดงาน BITS (Brand Identity and Typography Symposium) หรืองานสัมมนาวิชาการว่าด้วยเรื่องของไทโปกราฟีและกราฟิกดีไซน์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 โดยเป็นงานสัมมนาแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ผู้ประกอบการ นักออกแบบ อาจารย์-นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ เทรนด์น่าสนใจที่กำลังจะเกิดขึ้น ไปจนถึงการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ

 

รายละเอียดของงาน BITS10 และรายละเอียดของสปีกเกอร์: https://conference.cadsondemak.com/bits-10

 

ติดตามคัดสรร ดีมาก ได้ที่เว็บไซต์: cadsondemak.com

 

ภาพ: Cadson Demak

The post BITS10 งานออกแบบตัวอักษรและแบรนดิ้งที่สร้างสีสันให้แวดวงงานออกแบบไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมื่อทฤษฎีเดิมๆ ไม่ได้ผลอีกต่อไป ‘แบรนด์บ้าน’ ต้องทำอย่างไรในการเข้าถึงลูกค้าที่ซับซ้อนในการเลือก เข้าถึงข้อมูลต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบ และอ้างอิงจากหลากหลายแหล่ง https://thestandard.co/real-estate-branding/ Mon, 09 Oct 2023 08:55:22 +0000 https://thestandard.co/?p=852500 แบรนด์บ้าน

ในอดีตที่ผ่านมา การสร้างแบรนด์สินค้า (Branding) ส่วนใหญ […]

The post เมื่อทฤษฎีเดิมๆ ไม่ได้ผลอีกต่อไป ‘แบรนด์บ้าน’ ต้องทำอย่างไรในการเข้าถึงลูกค้าที่ซับซ้อนในการเลือก เข้าถึงข้อมูลต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบ และอ้างอิงจากหลากหลายแหล่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบรนด์บ้าน

ในอดีตที่ผ่านมา การสร้างแบรนด์สินค้า (Branding) ส่วนใหญ่ยึดตามทฤษฎีและเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อสร้างภาพลักษณ์และค่านิยมของแบรนด์ในใจของลูกค้า หนึ่งในวิธีคิดที่ได้รับความนิยม คือการใช้โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ เพื่อสร้างความประทับใจและการจดจำในใจลูกค้า

 

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในสังคม และการปรากฏของเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ทำให้วิธีคิดนั้นเปลี่ยนไป

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ลูกค้าในยุคปัจจุบันมีแหล่งข้อมูลมากมายเมื่อเทียบกับในอดีต มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและทราบถึงเรื่องราวของสินค้า บริการ หรือแบรนด์ต่างๆ อย่างรวดเร็วและง่ายดายผ่านทางอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 

 

สิ่งนี้ทำให้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ต้องเปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่เน้นที่การสร้างภาพลักษณ์เท่านั้น แต่ยังต้องมุ่งเน้นที่การสร้างความน่าเชื่อถือ ความใส่ใจและการเชื่อมต่อที่แท้จริงกับลูกค้า

 

ที่สำคัญลูกค้าในปัจจุบันมีอิสระในการเลือกและการตัดสินใจ รีวิวของผู้ใช้ ความคิดเห็นจากกลุ่มคนในสังคม หรือแม้แต่ผลประโยชน์จริงๆ ที่พวกเขาได้รับจากสินค้า สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าได้มากกว่าโฆษณาที่แบรนด์นำเสนอ

 

ดังนั้นการสร้างแบรนด์ในยุคปัจจุบันควรจะมีการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า ความใส่ใจต่อการสร้างความมั่นใจ และการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า โดยใช้การสื่อสารที่ซื่อสัตย์และมีความเป็นจริง

 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรมรวมไปถึงกลุ่มบ้านเดี่ยวด้วย ที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงบ้าน เรามักจะพบเห็นโฆษณาที่เป็นโทน ‘อีโมชันนัล’ บอกเล่าความหรูหรา แต่วันนี้กระบวนการคิดต้องเปลี่ยนไปตามวันเวลาที่ผันแปร

 

พิมพรรณ ปรีชานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารแบรนด์และพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยว บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP เล่าว่า ตอนนี้ทีมบ้านเดี่ยวเอพีจึงเปลี่ยนวิธีการสร้างแบรนด์โดยเน้นสร้าง Brand Engagement กับผู้บริโภคมากขึ้น 

 

“เราเปลี่ยนวิธีการสื่อสารจากการบอกเพียงแค่ What มาเป็นการตอบโจทย์ Why ผ่านวิธีการทำแคมเปญใหม่ๆ ที่โชว์ให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณค่าที่โปรดักต์ในแต่ละเซกเมนต์ของบ้านเดี่ยวเอพีมอบให้ ผ่านการทำงานร่วมกับโซเชียลอินฟลูเอ็นเซอร์ หลากหลายวงการที่มีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่แข็งแรงของตัวเอง เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์บ้านเดี่ยวของเราในทุกๆ เซกเมนต์ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น”

 

 

 

สิ่งนี้นับว่าน่าสนใจเพราะการสร้าง Brand Engagement กับผู้บริโภคเป็นหนึ่งในความท้าทายสำหรับแบรนด์ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากแบรนด์ต้องการสร้างความผูกพันอย่างยั่งยืนกับผู้บริโภค การต้องการทราบ ‘Why’ หรือเหตุผลที่แท้จริงของการเลือกสินค้าหรือบริการเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า ‘What’ ซึ่งเป็นเพียงแค่การบอกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า

 

การบอกเพียงแค่ ‘What’ หมายถึงการสื่อสารเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือความสามารถของสินค้า แต่มันอาจจะไม่เป็นที่น่าสนใจหรือไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าได้ แต่เมื่อแบรนด์เริ่มสื่อสาร ‘Why’ ซึ่งคือเหตุผลและค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังสินค้า จะช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกเชื่อมโยงและเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า

 

ขณะเดียวกันการทำงานร่วมกับโซเชียลอินฟลูเอ็นเซอร์หลากหลายวงการเป็นอีกเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความผูกพันแบรนด์ และเป็นวิธีการที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคในยุคนี้ ผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีความสามารถในการสื่อสารและสร้างเนื้อหาที่ตรงใจผู้บริโภค เนื่องจากพวกเขามีการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติและมีความน่าเชื่อถือ

 

กระนั้นเพื่อให้การทำงานร่วมกับอินฟลูเอ็นเซอร์ประสบความสำเร็จ แบรนด์ควรเลือกคนที่ตรงกับแนวคิดและค่านิยมของแบรนด์ เพื่อให้ข้อความที่สื่อสารออกไปเป็นไปในทิศทางเดียวกับแบรนด์ นอกจากนี้ ควรมีการสนทนาและร่วมมือกันสร้างเนื้อหาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

แม่ทัพบ้านเดี่ยวเอพีขยายความต่อว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้มีโจทย์ใหม่ๆ เข้ามาเพื่อพัฒนาสินค้าให้ตามเทรนด์การอยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป ขณะที่อีกหนึ่งความท้าทายคือการสร้างแบรนด์ที่ก็ทิ้งไม่ได้ เลยปรับวิธีการทำแคมเปญการตลาดในวิธีใหม่ เอาความเป็น Branding กับ Offer Promotion มารวมกัน ใส่สีสัน ความสนุกลงไป เพื่อให้ลูกค้าได้รับทราบถึงโปรโมชัน แล้วยังรับรู้ถึงจุดยืนของบ้านที่เข้าใจชีวิต ผ่านไอเดียการใช้สเปซต่างๆ ภายในโครงการโดยเล่าในแบบ JOYFUL ให้มูฟเมนต์ของแบรนด์มีความสนุกมากขึ้น ที่สำคัญทุกอย่างอยู่บนกลยุทธ์ของการไม่ทิ้งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

 

ปีนี้บ้านเดี่ยวเอพีให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างมาก สะท้อนได้จากแคมเปญที่ผ่านมา อย่างในไตรมาสแรกจับมือกับ ‘เอ็ด 7 วิ’ ด้วยการแต่งเพลงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของบ้านและกิมมิกของโปรโมชัน ส่วนไตรมาส 2 จับมือกับ Krit Tone เพื่อเล่าถึงบ้านแบบใหม่ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งหากใครเคยได้ยินเสียงของ Krit Tone ก็จะรู้ดีว่าโทนเสียงของเขาเหมาะกับการ ‘เล่นใหญ่’ ได้จริงๆ

 

 

 

ส่วนไตรมาส 3 จับมือกับ Vatanika ซึ่งเป็นการเล่าถึงความละเอียดลออในการเลือกสินค้า รวมไปถึงเทสต์แฟชั่นของ แพร วทานิกา ด้วย ขณะที่ไตรมาส 4 เองได้จับมือกับ ‘Japan and Friends’ อินฟลูเอ็นเซอร์สายสัตว์เลี้ยงที่มีดาวเด่นอย่าง ‘จุ๊มเหม่งมีอะไร’

 

นัยของการเลือกใช้อินฟลูเอ็นเซอร์สายสัตว์เลี้ยงส่วนหนึ่งมาจากรายงานของ Harris Poll และ Sun Trust Mortgage ที่ระบุว่าชาวมิลเลนเนียล หรือ Gen Y (อายุ 27-42 ปี) ในสหรัฐอเมริกา กว่า 1 ใน 3 ตัดสินใจซื้อบ้านหลังแรกเพราะสัตว์เลี้ยง โดยมองหาบ้านที่มีพื้นที่หรือมีสวนสำหรับสุนัข/สัตว์เลี้ยง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้สัตว์เลี้ยงคือหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว

 

ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง Petsumer Marketing เจาะลึกอินไซต์ โดนใจทาสสายเปย์ ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่พบว่า 49% ของกลุ่มตัวอย่างได้เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นลูก (Pet Parent) ซึ่งการสำรวจยังพบว่า 80.7% ของผู้เลี้ยงสัตว์มีสถานะโสด

 

สิ่งที่น่าสนใจคือ กลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์เลือกใช้สัตว์เลี้ยงเข้ามาเป็นอัตลักษณ์ส่วนหนึ่งของแบรนด์ เพื่อช่วยในการสื่อสารและสร้างภาพจำ หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด

 

สำหรับการใช้สัตว์เลี้ยงในการโฆษณา (Pet on Advertising) ภาพโฆษณาที่มีสัตว์และสินค้าอยู่ด้วยกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด 43.82% รองลงมาคือภาพที่มีสินค้าอย่างเดียว 37.08% และภาพคน สัตว์ และสินค้า มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ 19.10% 

 

โดยภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุดอย่างภาพที่มีสัตว์และสินค้าอยู่ด้วยกันจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เพราะสัตว์จะช่วยดึงดูด ดูไม่เน้นการขายมากจนเกินไป และสามารถเปรียบเทียบขนาดของสินค้าได้อย่างชัดเจน 

 

เราจึงเห็นได้ว่า การขยับตัวในแง่แบรนดิ้งของ ‘บ้านเดี่ยวเอพี’ ผ่านการตัดสินใจและวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นไปตามพฤติกรรมของลูกค้า โดยที่เจาะไปเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้หว่านเป็นกลุ่มแมสเหมือนในอดีต ซึ่งอีกสิ่งที่น่าสนใจคือกระบวนการทำคลิปโฆษณาที่ไม่ได้มีเพียง 15 วินาที หรือ 30 วินาที สำหรับใช้ในช่องทีวีอีกแล้ว

 

“ตอนนี้เราแบ่งการทำคลิปออกเป็น 6 วินาที 15 วินาที และ 30 วินาที ซึ่งเราพบว่า 15 วินาทีจะเป็นโฆษณาที่ลูกค้าดูมากที่สุด แต่หมัดฮุกที่จะดึงให้สนใจสินค้าจะเป็นคลิป 6 วินาที” พิมพรรณกล่าว “ด้วยความที่วันนี้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่หลากหลายช่องทาง หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นการทำคลิปจึงต้องฮุกตั้งแต่วินาทีแรกและทำให้ต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้นถึงจะดึงดูดได้ แต่สุดท้ายก็จะไม่ดูจนจบอยู่ดี”

 

อย่างไรก็ตาม ผลของเกมการตลาดที่เปลี่ยนไป กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยวของเอพีมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย 9 เดือนที่ผ่านมาสามารถสร้างยอดขายได้สูงถึง 21,241 ล้านบาท และเตรียมแผนเปิดตัวโครงการใหม่อีก 11 โครงการในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 นี้ มูลค่ากว่า 18,450 ล้านบาท

 

ปัจจุบันบ้านเดี่ยวของเอพีประกอบไปด้วย แบรนด์ THE CITY บ้านเดี่ยวเซกเมนต์ไฮเอนด์, CENTRO บ้านเดี่ยวดีไซน์โมเดิร์นสำหรับการเริ่มต้นครอบครัวเซกเมนต์กลางบน และแบรนด์น้องใหม่ MODEN บ้านเดี่ยวสำหรับคน Gen Z ที่ให้ความรู้สึกใหม่ 

 

 

 

#APThai #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #APNewHome2023 #APThaiUpdate2023 #โปรตัวตึง #ตึงนักไปพักก่อน

 

 

The post เมื่อทฤษฎีเดิมๆ ไม่ได้ผลอีกต่อไป ‘แบรนด์บ้าน’ ต้องทำอย่างไรในการเข้าถึงลูกค้าที่ซับซ้อนในการเลือก เข้าถึงข้อมูลต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบ และอ้างอิงจากหลากหลายแหล่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Brand & Marketing Trend 2022: เปิดเทรนด์ยุคใหม่ของโลกหลังโควิด แบรนด์ถึงเวลาต้องเปลี่ยนครั้งใหญ่ https://thestandard.co/now-and-next-2022-brand-marketing-trend-2022/ Sat, 25 Dec 2021 10:30:14 +0000 https://thestandard.co/?p=575862 Brand and Marketing Trend

ผ่านไปอีกปีกับปีที่มีความเปลี่ยนแปลงวุ่นวายสำหรับทุกๆ ก […]

The post Brand & Marketing Trend 2022: เปิดเทรนด์ยุคใหม่ของโลกหลังโควิด แบรนด์ถึงเวลาต้องเปลี่ยนครั้งใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Brand and Marketing Trend

ผ่านไปอีกปีกับปีที่มีความเปลี่ยนแปลงวุ่นวายสำหรับทุกๆ กิจการ ธุรกิจ และการตลาดเหลือเกินกับสถานการณ์โควิดระลอก 2 ความคิดที่แตกต่างกันสุดขั้วระหว่างคนสองเจเนอเรชัน และการขยับครั้งใหญ่ของบรรดาบริษัทเทคโนโลยี รวมไปถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในระดับของเจ้าของแพลตฟอร์ม ทำให้ครั้งนี้นักการตลาดต้องกลับมาจับตามองเทรนด์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการฟื้นกลับของเศรษฐกิจหลังโควิดแล้ว แต่เป็นเรื่องที่เราต้องมองไปข้างหน้าถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่วันนี้ผู้คนเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จะมีเทรนด์อะไรที่ต้องจับตาบ้าง เรามาดูกันครับ

 

Battle of the Legacy vs. The Disruptor (การต่อสู้ระหว่างบริษัทใหญ่กับบรรดานักดิสรัปต์)

ปี 2022 จะเป็นปีที่มีการแข่งขันที่ดุเดือดของสองกลุ่มที่จะเห็นตามหน้าข่าวมากขึ้น นั่นก็คือกลุ่มยักษ์และกลุ่มผู้ดิสรัปต์ โดยเป็นปีที่ถึงเวลายักษ์ตื่น ยักษ์เริ่มโบยบิน ยักษ์เริ่มสู้ (ยักษ์คือบริษัทรายใหญ่) หลังจากที่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มีดิสรัปเตอร์ใหม่ๆ ทั้งสตาร์ทอัพ, บริษัทขนาดเล็ก-กลางเกิดขึ้นมากมาย

 

ดังนั้นในเมื่อฝุ่นที่มันเคยตลบอบอวลตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่สภาวะนิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆ รายเริ่มรู้วิธีที่จะรับมือกับนักดิสรัปต์เหล่านั้น โดยการใช้จุดแข็งมากมายที่เคยสะสมมานาน ทั้ง Data, Insights, ความเก๋าในธุรกิจ, ความรู้ที่สะสมมาจากประสบการณ์ในตลาดตลอดที่ดำเนินธุรกิจ ฯลฯ ในการรับมือไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งยูนิตพิเศษ การทำ M&A หรือควบรวมกิจการเพื่อนำเอาองค์ความรู้หรือโครงสร้างธุรกิจแนวใหม่มาผนวกกับความใหญ่เพื่อสู้ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ ซื้อคนที่จะมาดิสรัปต์ซะเลย สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดคือเครื่องมือที่จะใช้สู้กลับไปได้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องระมัดระวังเรื่องการผูกขาดทางการค้าด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


Deeper Collaboration between Corporate, Brand, Media, Influencer and Consumers (ความร่วมมือกันระหว่างองค์กร แบรนด์ สื่อ และอินฟลูเอนเซอร์ ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น)

ในความหมายของคำว่า Collaboration ไม่ได้หมายถึงการร่วมมือกันเพื่อทำให้เกิดกิจกรรมน่าสนใจหรือตื่นเต้น (Exciting Brand Activation) ขึ้นมาเหมือนปีก่อนๆ ที่แค่ร่วมมือกันออกโปรดักต์หรือร่วมมือกันสร้างสินค้าลิมิเต็ดออกมา แต่มันคือความร่วมมือที่ลึกซึ้งมากกว่านั้น

 

การร่วมมือกันในปีต่อจากนี้ จะเป็นการร่วมมือกันในรูปแบบ Partnership ไปจนถึงการทำ Joint Venture ที่จะเสริมสร้าง Ecosystem ต่างๆ ของแบรนด์และบริษัทให้แข็งแกร่งมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน หรือการแลกเปลี่ยน Marketing Mix ที่ต่างคนต่างเสนอสินค้า/บริการที่เป็นพระเอกขององค์กร เพื่อให้เกิดความร่วมมือใหม่ขึ้น หรืออย่างเช่น บริษัท A มีคลังข้อมูลเยอะ และบริษัท B ที่มี Know-how สูง ก็สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนกัน เป็นต้น อาทิ การเปิดตัวของ SCBX หรือ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ที่หลายคนเรียกกันว่าเป็นยานแม่ลำใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่าน่าจะเป็นแรงกระเพื่อมใหม่ของวงการธุรกิจในอนาคต ทำให้เกิดมูฟเมนต์ใหม่มากขึ้น เพราะเป็นการอ้าแขนเปิดรับการ Collaboration ระหว่างธุรกิจสายงานใหม่ๆ ได้มากขึ้นอย่างไร้ข้อจำกัด

 

นอกจากนี้การร่วมมือกันอาจจะไม่ได้จำกัดแค่บริษัทหรือแบรนด์เท่านั้น แต่การจับมือกันระหว่างแบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์กับสื่อออนไลน์ เพื่อนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้นมากเช่นเดียวกัน เพื่อต่อยอดทางด้านการตลาด

 

Building Metaverse & Virtual World (การสร้างโลกเสมือนจริง)

Metaverse มาจากคำว่า Meta (แปลว่า เหนือกว่า) และ Universe (แปลว่า จักรวาล) ซึ่งหมายความถึงโลกเสมือนจริงที่สร้างขึ้นมาในรูปแบบของประสบการณ์ดิจิทัลที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์เข้าสู่โลกเสมือนจริงหรือกึ่งเสมือนจริง เช่น Virtual Reality, Augmented Reality หรือ Mixed Reality โปรแกรมซอฟต์แวร์ของการสร้างประสบการณ์เสมือน และการเชื่อมต่อของสังคมอินเทอร์เน็ต ซึ่งตั้งแต่การประกาศเปลี่ยนชื่อจาก Facebook เป็น Meta สะท้อนให้เห็นกระแสที่มาแน่นอนของการเติบโตในเศรษฐกิจใหม่ภายใต้โลกเสมือนจริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เริ่มเติบโตอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดและมีมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลก มีการพัฒนาระบบหรือโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้เราพาตัวเองไปอยู่ในโลก Virtual มากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจ สร้างข้อจำกัดของทรัพยากร อย่างเช่น NFT ในระบบบล็อกเชน ที่ทำให้เกิดระบบนิเวศทางทรัพยากร ทำให้โลกเสมือนจริงน่าสนใจและเป็นไปได้มากขึ้น

 

ได้มีการนำเอา Metaverse มาใช้ใน Use Case ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดของเกมที่สร้างตัวตนขึ้นมาในเกมและมีระบบแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายของที่สร้างรายได้ การสร้าง Company Metaverse ที่ให้บริษัทสร้างจักรวาลเสมือนของตัวเองขึ้นมาให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วม เช่น BMW หรือแม้แต่โปรแกรมความร่วมมือภายในองค์กรต่างๆ เช่น Microsoft จะมีการสร้างแอปพลิเคชันมากมายเพื่อให้เราสร้างโลกเสมือน เช่น ตัวอวตาร หรือการปฏิสัมพันธ์ใหม่ๆ ในการประชุม หรือการทำงานของเราในโลกนั้น

นอกจากนี้ ในเชิงการตลาดมูฟเมนต์ที่ผ่านมาที่เริ่มเห็นแล้ว เช่น การร่วมมือระหว่าง Facebook Story กับ Ray-Ban เพื่อผลักดันให้เกิดเทคโนโลยี AR มากขึ้น, ในต่างประเทศมีการจัด Virtual Concert ของ Travis Scott ในเกม Fortnite หรืออย่างเคสของ KFC ในจีน ที่สร้าง Pocket Franchise ให้ทุกคนสามารถเปิดร้าน KFC บน WeChat App ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวต่อไปที่จะมี Virtual Franchise ใน Metaverse ดังนั้นสรุปก็คือ ในอนาคตอันใกล้นี้แบรนด์จะเริ่มสร้าง Virtual Evidence มากขึ้น เหมือนกับการทำธุรกิจที่มีหน้าร้านแบบออฟไลน์

 

New Experience Transformation O2O + I2O | Online to Offline + Inside to (การสร้างประสบการณ์จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ และเริ่มจากภายในสู่ภายนอก)

ที่ผ่านมาเราจะเห็นองค์กรต่างๆ มุ่งหวังในการทำ Transformation และการเชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อระหว่างโลกออนไลน์กับออฟไลน์ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์โควิดทำให้หลายๆ แบรนด์ต้องกลับมาสร้าง Online Ecosystem เพื่อรองรับข้อจำกัดจากการล็อกดาวน์ และแน่นอนว่าวันนี้หลายๆ แบรนด์ก็เริ่มกลับมาดำเนินกิจการแบบออฟไลน์กันอีกครั้ง ซึ่งวันนี้การเชื่อมต่อกันระหว่างประสบการณ์และระบบทั้งสองส่วนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนในการทำ Transformation ขององค์กร ก่อน O2O ในปีต่อๆ ไป จึงไม่ได้หมายถึง Offline to Online แต่เป็น Online to Offline เพื่อสร้างความแตกต่างทางประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อมากกว่าเดิม

 

อีกทั้งเรื่องสำคัญอีกอย่างที่นอกเหนือจากเรื่องดังกล่าว คือการที่เราต้องโฟกัสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ที่ต้องเริ่มจากภายใน ซึ่งแต่ก่อนเรามักจะเริ่มจากภายนอก เช่น การทำการสื่อสารการตลาด การทำสื่อโฆษณารีแบรนด์ หรือการนำเอาระบบอำนวยความสะดวกผู้บริโภคมาใช้ แล้วค่อยนำมาปรับใช้และสื่อสารกับภายในองค์กร แต่ในปัจจุบันและอนาคต วิธีการคิดลักษณะนี้จะเปลี่ยนแปลงไป พูดง่ายๆ ก็คือ ธุรกิจใหม่ๆ ที่เราเห็นในปัจจุบันส่วนมากเกิดขึ้นจากภายในก่อน เกิดจากระบบภายในที่แข็งแรง เกิดจากวัฒนธรรมองค์กร หรือความเชื่อขององค์กรอะไรบางอย่างจากคนภายในก่อน ทั้งในเรื่องของ Transformation หรือ Brand Value แล้วจึงถูกนำเสนอออกมาสู่ภายนอกทีหลัง

 

สมมติว่าเราต้องการเป็นผู้ให้บริการที่รู้ใจที่สุด ต้องการเป็น The Best Deliver Service แต่สิ่งแรกที่ทำคือพัฒนาระบบ Chatbot หรือ Virtual Assistant ไปเสียก่อน แทนที่จะเป็นการเริ่มต้นจากคนในบริษัท ระบบจัดการ CRM หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้าใจการบริการจริงๆ ทำเทรนนิ่งเพื่อคนในองค์กรก่อนแล้วค่อยทำออกมาสู่ภายนอกเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเริ่มเปลี่ยนมากขึ้นในอนาคต โดยองค์กรจะเริ่มหันมาสร้างแบรนด์และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เริ่มต้นจากคนในแล้วค่อยสื่อสารมันออกไป

 

The Brand Activist: Morality Led Value (แบรนด์กับจุดยืน คุณธรรมจะสร้างคุณค่า)

จากการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคที่เสียงของประชาชนดังขึ้น แบรนด์และธุรกิจจึงถูกบีบให้แสดงจุดยืนทางความคิดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง แต่หมายถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคม (Social Impact) จุดยืนและการแสดงออกถึงประเด็นละเอียดอ่อนของโลก (World’s Tensions) ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้ เช่น ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ), ภาวะโลกร้อน, ความเท่าเทียมกัน, สิทธิมนุษยชน, การเหยียดเชื้อชาติ จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่แนวคิด Go Green แบบเดิมแล้ว แต่มันแยกย่อยรายละเอียดลงไปอีกมากมาย

 

ซึ่งผลกระทบต่อการแสดงและไม่แสดงออก เราจะเห็นจากการถูกกดดันด้วยวิธีการที่เรียกว่า Cancel Culture หรือพูดง่ายๆ คือการแบนไม่สนับสนุนหรืออุดหนุนสินค้านั้นๆ อีก ซึ่งทุกวันนี้แบรนด์เองก็ต้องวางแผนการรับมือ หรือการนำเอาจุดยืนเหล่านี้ไปใช้แสดงจุดยืนทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์เฉกเช่น Nike กับ #Blacklivesmatter หรือ Patagonia ที่แสดงจุดยืนการเมืองชัดเจนจนได้ใจกลุ่มคนหนึ่งๆ อย่างล้นหลาม

 

Data-Driven to Empathy-Driven Marketing (นำข้อมูลมาปรับใช้ไม่พอ การตลาดยุคใหม่ต้องเพิ่มความเห็นอกเห็นใจผู้บริโภค)

ปัจจุบันทุกองค์กรต่างมุ่งหวังที่จะเก็บข้อมูลผู้บริโภคมาให้มากที่สุด ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ด้วยวิธีสีขาวหรือสีเทา แนวคิดด้านการใช้ข้อมูลเป็นแนวคิดที่ดีในการทำการตลาดให้ตรงจุด ตรงใจมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การเห็นอกเห็นใจหรือเข้าใจ Pain ที่แท้จริงภายใต้ข้อมูลผู้บริโภคที่เราเก็บมาก็สำคัญไม่แพ้กัน

 

แนวคิดเรื่อง Empathy มีมาพร้อมๆ กับ แนวคิดเรื่อง Design Thinking ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญที่ใช้ในการดีไซน์สินค้าตัวใหม่ แต่แนวคิดนี้ถูกปรับมาใช้ในการสื่อสารการตลาดมากขึ้น ที่นักการตลาดจำเป็นที่จะต้องเพิ่ม Empathy ลงไปไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจปัญหาของผู้บริโภคอย่างแท้จริง การสื่อสารอย่างระมัดระวังในประเด็นละเอียดอ่อน การสื่อสารโดยไม่หลอกหลวงหรือไม่รบกวน และสื่อสารให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เราตั้งใจทำ

 

เช่น การนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม ที่เดิมทีเราอาจจะมีข้อมูลชุดหนึ่งของผู้บริโภคก่อนโควิด แต่การเข้าใจปัญหาที่เขาจะเจอในช่วง Post-COVID ที่กำลังเกิดขึ้น การเข้าใจสิ่งใหม่ที่ผู้บริโภคคาดหวัง ตั้งแต่ความเอาใจใส่ในรายละเอียดของสินค้า ผลิตภัณฑ์ ความกังวลและความสูญเสียอันเริ่มจากการสื่อสารตั้งแต่ความเข้าใจจากแบรนด์ที่จะส่งต่อถึงพวกเขาในสถานการณ์ที่ยากลำบาก จะทำให้แบรนด์ที่ใส่เรื่องนี้ลงไปในแผน Data-Driven Communication ด้วยจะชนะใจผู้บริโภคมากกว่าเดิม

 

Brand Value Shift from Authenticity to Sensemaking (สร้างแบรนด์แค่ความจริงใจไร้เหตุผลคงไม่พอ แต่ต้องเมกเซนส์)

ในมุมนี้ถือว่าแบรนด์และธุรกิจผลักดันกันมานานเรื่องของความจริงใจหรือความถูกต้องต่อผู้บริโภค เพราะในยุคดิจิทัลมันทำให้แบรนด์ไม่สามารถโกหกผู้บริโภคได้ แต่กระนั้นในยุคที่ผู้บริโภคต่างถามหา ‘WHY’ กันมากขึ้นกับสิ่งรอบๆ ตัว ความเป็นเหตุเป็นผลที่สื่อสารด้วยความจริงใจ ทำให้การสื่อสารที่โปร่งใสแต่ไม่รู้ว่าทำไปทำไม อาจจะสร้างข้อสงสัยให้ผู้บริโภคได้ เช่น องค์กรหรือแบรนด์ๆ หนึ่ง สื่อสารและย้ำเสมอว่าเป็นแบรนด์ที่มีคุณธรรม แต่ภาคปฏิบัติมันจะต้องดูสมเหตุสมผลกับสังคม ความเป็นอยู่ของผู้บริโภค หรือปัจจัยอื่นๆ ด้วย เป็นต้น หรือทำ CSR ปลูกป่าล้านต้น แต่ไม่ได้มีการต่อยอดหลังปลูก แถมบริษัทอาจไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ต่อให้เราทำด้วยกุศลจิต แต่มันหาเหตุผลในการทำไม่ได้ก็เปล่าประโยชน์ ในปีถัดไป ความจริงใจ (Authenticity) ต้องมาพร้อมกับการกระทำที่มีเหตุมีผลด้วย (Make Sense) ดังนั้นสรุปก็คือ ภาพลักษณ์ที่เราเป็นแบรนด์คุณธรรมมันอาจไม่พอ แต่ผู้บริโภคจะดูเหมารวมไปถึงกิจกรรม, ผลลัพธ์ของแคมเปญว่ามันเมกเซนส์ ทั้งในแง่ของธุรกิจ, CSV (Corporate Shared Value) และทุกภาคส่วนเช่นกัน

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post Brand & Marketing Trend 2022: เปิดเทรนด์ยุคใหม่ของโลกหลังโควิด แบรนด์ถึงเวลาต้องเปลี่ยนครั้งใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Supreme สุดยอดกรณีศึกษา: Branding อย่างไรให้ทรงพลัง https://thestandard.co/supreme-branding/ https://thestandard.co/supreme-branding/#respond Mon, 09 Oct 2017 06:28:24 +0000 https://thestandard.co/?p=33449

     ตอนนี้ถ้าให้นึกชื่อแบรนด์ทรงพลัง ผม […]

The post Supreme สุดยอดกรณีศึกษา: Branding อย่างไรให้ทรงพลัง appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ตอนนี้ถ้าให้นึกชื่อแบรนด์ทรงพลัง ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึง Apple ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีคนพูดถึงกันมากแล้ว ครั้งนี้ผมเลยอยากมาพูดถึงอีกแบรนด์หนึ่งที่ผมว่าทรงพลังและน่าศึกษามากไม่แพ้กัน แบรนด์นั้นก็คือ Supreme ครับ

     Supreme เป็นแบรนด์เสื้อผ้าแนวสตรีทจากนิวยอร์ก ที่ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น ปัจจุบันมีสาวกแบรนด์อยู่ทั่วโลก และล่าสุดได้สร้างความฮือฮาทั้งในต่างประเทศและในไทย

     เมื่อเกิดกระแสพูดถึงการต่อแถวรอซื้อสินค้าที่ Louis Vuitton ได้ทำ Co-branding ร่วมกับ Supreme (Louis Vuitton X Supreme) มีคนดังมากมายถ่ายรูปคู่กับคอลเล็กชันนี้ลงอินสตาแกรม ยิ่งเพิ่มความดังเข้าไปใหญ่ จนราคารีเซลล์สินค้าในตลาดพุ่งขึ้นหลายเท่าเลยทีเดียว ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าน่าชื่นชมมากครับกับกลเม็ดที่ Louis Vuitton ยืมพลังของแบรนด์สตรีทแวร์อย่าง Supreme มาช่วยสร้างความหวือหวาให้แบรนด์กลับมาดังพลุแตกอีกรอบ

     อีกทั้งกระแส Supreme ยังแรงถึงขนาดมีข่าวลือว่า ป้ายผ้าหน้าร้านของร้าน Supreme ที่นิวยอร์ก แถว East Village โดนมือดีขโมย คิดดูซิครับ ต้องดังขนาดไหนป้ายร้านถึงโดนขโมยได้!

     นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ผมว่าเป็นดัชนีชี้วัดความดังของแบรนด์ได้ชัดมากๆ ก็คือ การเกิดสินค้าลอกเลียนแบบครับ ว่าง่ายๆ คืออยากรู้ว่าแบรนด์ไหนดังไม่ดัง ให้ดูว่ามีของเลียนแบบไหม ถ้ามีขายให้เห็นทั่วไป แสดงว่าอันนี้ดังจริง

     หรือการที่ผู้คนนำโลโก้ไปติดตรงนั้นตรงนี้ ก็นับเป็นดัชนีความดังของแบรนด์เช่นกัน เพราะทุกวันนี้ ผมเชื่อว่าหลายคนคงมีโอกาสได้เห็นสติกเกอร์โลโก้ Supreme หรือ Box Logo ที่เป็นกล่องสีแดงมีตัวอักษรสีขาว ติดอยู่ตามหลังรถ ติดบนฝาคอมแล็ปท็อป ติดไอแพดอยู่บ่อยๆ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่ต่างอะไรกับสติกเกอร์ของ Apple หรือสัญลักษณ์เครื่องหมายติ๊กถูกของ Nike ที่คนชอบนำไปใช้กัน ฉะนั้นถ้าว่าไปแล้ว ปรากฏการณ์ความดังของ Supreme เรียกได้ว่าแรงไม่ต่างจาก Apple, Nike เลยครับ

     ทีนี้ ก่อนจะเข้าสู่การวิเคราะห์การทำ Branding ของ Supreme ผมอยากเล่าถึงเรื่องแนวคิดการสร้างแบรนด์ก่อน เพื่อให้เห็นว่า Supreme นั้นเป็นแบรนด์ที่อยู่ระดับไหน จากนั้นค่อยมาต่อกันว่า แล้ว Supreme ทำอะไรบ้าง ถึงทำให้แบรนด์ไต่ไปสู่จุดนั้นได้

 

 

Supreme แบรนด์ดังระดับมีสาวก!

     ในแง่ของการสร้างแบรนด์ ต้องบอกเลยครับว่า Supreme เป็นแบรนด์หนึ่งที่ไต่ขึ้นไปถึงระดับ Brand Resonance หรือระดับสูงสุด ตามแนวคิดการสร้างแบรนด์ของปรมาจารย์ Kevin Lane Keller ที่เรียกว่า Keller’s Brand Equity Model

 

Photo:  www.mindtools.com/pages/article/keller-brand-equity-model.htm

 

     กล่าวคือ ในการสร้างแบรนด์นั้นมีระดับเหมือนพีระมิด ประกอบด้วย 4 ระดับ คือ 1. Identity 2. Meaning 3. Response 4. Relationship โดยขั้นแรกจะเป็นเพียงในระดับที่คนรู้ว่าแบรนด์นั้นคือใคร เช่น นี่คือแบรนด์เสื้อผ้าชื่อ Supreme ถัดมาคือ ระดับที่คนมีภาพหรือข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ว่าเป็นอย่างไรและต่างจากคนอื่นอย่างไร เช่น Supreme เป็นแบรนด์เสื้อผ้าแนวสตรีท วัยรุ่น สเกตบอร์ด มีโลโก้สีแดงขาว และสามคือ ระดับที่คนเริ่มมีการตัดสินคุณค่าหรือรู้สึกกับแบรนด์ เช่น Supreme เท่ ขบถ สนุก ตื่นเต้น แปลกใหม่ เป็นตัวของตัวเอง

     และในระดับสุดท้ายหรือขั้นสุด ก็คือ Resonance หรือ Relationship ว่าคนเข้าไปเกี่ยวข้อง (engage) และสัมพันธ์กับแบรนด์อย่างไร ซึ่งในระดับนี้ก็คือ ระดับของความภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalty) หรือการที่คนอยากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องแบรนด์และช่วยบอกต่อแบรนด์ ว่าง่ายๆ คือ ระดับของการปวารณาตัวเป็น ‘สาวก’ แบรนด์ นั่นเองครับ

     อย่างถ้าลองสังเกตดีๆ จะเห็นว่า สุดยอดแบรนด์ทรงพลัง ไม่ว่าจะเป็น Apple, Nike, Coca-Cola, Pepsi, Disney หรือแบรนด์ที่ผมเชื่อว่าหลายท่านชื่นชอบและเรียกตัวเองเป็นสาวกอย่าง Muji ทุกแบรนด์ล้วนอยู่ในใจของลูกค้าได้ถึงขั้น Resonance กันทั้งนั้น ซึ่ง Supreme ก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกันครับ

     ไม่เช่นนั้น คงไม่เกิดปรากฏการณ์ที่เหล่าสาวก Supreme ไปยืนเข้าแถวรอซื้อสินค้าคอลเล็กชันใหม่ๆ หรือเกิดกลุ่มรีเซลเลอร์ที่ซื้อของมาขายเก็งกำไรต่อ โดยคิดมาร์จินราคาขายต่อที่สูงมาก ไม่ต่างจากวงการรีเซลเลอร์รองเท้าของ Nike ซึ่งเหตุผลที่สามารถโขกราคาสูงแบบนี้ได้ ก็เพราะรีเซลเลอร์รู้ครับว่า มีสาวกผู้ภักดีต่อแบรนด์ที่พร้อมทุ่มเงินเพื่อครอบครองไอเท็มของ Supreme   

     หรือกระทั่ง การบอกต่อและชักชวนให้คนมาชอบ Supreme ของเหล่าสาวก โดยที่ Supreme แทบไม่ต้องลงทุนลงแรงไปโฆษณาอะไรเลย ก็เป็นสิ่งสะท้อนชัดมากว่า Supreme สร้างแบรนด์ได้ถึงระดับสูงสุดไม่ต่างจากแบรนด์ดังอื่นๆ

     ซึ่งถ้าใครถามว่า เราพยายามสร้างแบรนด์กันไปทำไม? คำตอบก็เป็นอย่างกรณีของ Supreme นี่แหละครับ คือมีลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำอยู่เรื่อยๆ มีมูลค่าแบรนด์ที่ชาร์จกับลูกค้าได้แพง การช่วยบอกต่อของลูกค้า หรือการที่ลูกค้าออกมาปกป้องแบรนด์ให้

     ถัดมา ก็จะเข้าสู่บทวิเคราะห์ว่าแล้ว Supreme ทำอะไรบ้าง หรือมีกลเม็ดอะไรที่ทำให้แบรนด์นั้นทรงพลัง

 

 

Key Factor ที่ทำให้ Supreme ประสบความสำเร็จ

     ถ้าจะพูดถึงความสำเร็จของ Supreme ปฏิเสธไม่ได้ครับว่า ต้องยกเครดิตนี้ให้ James Jebbia ชายผู้ก่อตั้งแบรนด์ ซึ่งเคยทำงานอยู่ในร้านเสื้อผ้าแนวสตรีทมาหลายปีที่นิวยอร์ก ก่อนจะมาเปิดร้านของตัวเองหรือ Supreme ในปี 1994

     โดยเริ่มต้นเจาะกลุ่มคนที่เล่นสเกตบอร์ดก่อน เหตุผลเพราะ Jabbia ซึ่งไม่ได้เล่นสเกตบอร์ด แต่มีวิสัยทัศน์มองออกว่า เสื้อผ้าแฟชั่นและคุณภาพดีสำหรับกลุ่มคนเล่นสเกตบอร์ดในนิวยอร์กสมัยนั้นยังมีน้อย เขาเลยคิดทำร้านเสื้อผ้าที่เจาะกลุ่มนี้ และปรากฏว่ามันก็ฮิตสุดๆ ในหมู่คนเล่นสเกตบอร์ด จากนั้นเอกลักษณ์ของ Supreme ก็ค่อยๆ เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในเวลาถัดมา

     สำหรับกุญแจสำคัญที่ทำให้ Supreme เป็นแบรนด์ทรงพลังนั้น เกิดจาก 4C ได้แก่

 

 

1) Cool

     สิ่งที่ชัดเจนมากของ Supreme คือ ความเท่ ครีเอทีฟ ความนอกกรอบ ความขบถ ความเป็นตัวของตัวเอง ที่ถ่ายทอดออกมาผ่านทางสินค้าและการประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย สี การทำ Parody กับแบรนด์อื่นๆ วิธีนำเสนอหรือเล่าเรื่องของแบรนด์ หรือแม้แต่การบริการที่หลายคนมักจะบ่นว่า พนักงานในร้าน ‘หยิ่ง’ แต่ก็นับเป็นคาแรกเตอร์หนึ่งที่สะท้อนความไม่แคร์ใครของ Supreme ได้เช่นกัน (คล้ายๆ กับแบรนด์เครื่องสำอางหนึ่งที่วางคาแรกเตอร์พนักงานลักษณะนี้)

     ซึ่งเอกลักษณ์ที่ปรากฏออกมาเด่นชัดแบบนี้แหละครับ ที่สะกดและดึงดูดให้คนหลงใหลและเลือกใช้สินค้า Supreme เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นขบถ ความเท่ ในตัวของพวกเขา

 

 

2) Collaboration

     กลยุทธ์นี้เป็นเรื่องที่ไม่พูดไม่ได้ครับ เพราะ Supreme เป็นแบรนด์ที่ทำ Collaboration กับแบรนด์อื่นเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นล่าสุด Louis Vuitton หรือก่อนหน้านี้ เช่น Vans, Nike, Air Jordan, Levi’s, The North Face, Comme des Garçons เป็นต้น ซึ่งการร่วมมือกับแบรนด์ดังๆ เหล่านี้ นอกจากจะช่วยผลักดันทั้งแบรนด์ที่ไปร่วมมือแล้ว ตัว Supreme ก็ได้รับอานิสงส์ความดังตามไปด้วย

     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจให้การ Collaboration ส่งเสริมแบรนด์ Supreme ให้เด่นชัดขึ้น คือทุกครั้งที่ร่วมมือกับแบรนด์อื่นๆ เอกลักษณ์ โลโก้ และดีไซน์ที่เป็นแนวของ Supreme จะยังคงตามไปตลอด ซึ่งช่วยให้ภาพจำของแบรนด์ยังโดดเด่น หรือว่าง่ายๆ คือ ไม่หลุดจากคอนเซปต์แบรนด์นั่นเองครับ

 

 

3) Culture

     สิ่งที่น่ายกนิ้วให้ James Jebbia ก็คือเรื่องการเข้าใจผู้บริโภค ซึ่งการเข้าใจในทีนี้ มันไม่ใช่แค่ระดับความต้องการทั่วไปนะครับ แต่ลงไปถึงระดับ ‘จริต’ ของคนเลยทีเดียว ด้วยความที่ Jebbia ชื่นชอบและขลุกอยู่ในสตรีทแฟชั่นอยู่แล้ว ทำให้เขามีรสนิยมด้านนี้ และเข้าใจ ‘จริต’ ของคนที่ชื่นชอบเสื้อผ้าแนวนี้ ซึ่งมักจะชื่นชอบบุคลิก ‘ขบถ’ ‘นอกคอก’

     อีกทั้ง เขาวางให้ Supreme เป็นแบรนด์สตรีทแวร์ที่มีกลิ่นอายของ Pop Culture เมื่อนำมาผสมกับเอกลักษณ์ที่เท่ๆ และขบถ เลยตีความออกมาเป็นสินค้าป๊อปไอเท็มแปลกๆ ที่คนคาดไม่ถึง เช่น แก้วน้ำ, ไฟแช็ก, เก้าอี้, เครื่องคิดเลข, ชามอาหารสุนัข, ไพ่, ลูกบาส, ถังดับเพลิง, มอเตอร์ไซค์ หรืออีกชิ้นที่ผมว่าครีเอตมากคือ ‘Cash Cannon Money Gun’ หรือปืนพ่นธนบัตร

     แน่นอนครับว่าของที่ว่ามันแปลกๆ ทั้งนั้น แต่ท้ายที่สุดแล้วข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน คือสิ่งที่ช่วยตอกย้ำเอกลักษณ์ความขบถ ความเท่ และการเป็นส่วนหนึ่งของ Pop culture ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี และมันก็สร้างเซอร์ไพรส์ให้คนที่ชื่นชอบบุคลิก ‘ขบถ’ ‘นอกคอก’ ยิ่งชอบเข้าไปใหญ่ เพราะมันบ่งบอกถึงความไม่ซ้ำใคร

     นอกจากนี้ Supreme ยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ครีเอตหรือสร้างความหมายให้กับแบรนด์ เช่น การมีสติกเกอร์โลโก้ให้ลูกค้าไว้ติดที่ของหรือตามที่ต่างๆ นั่นทำให้ลูกค้าสามารถนำ Supreme ไปสร้างไอเท็มป๊อปๆ ของตัวเองได้ต่ออีกด้วย ดังนั้น ถ้าว่าไปแล้ว จะเรียก Supreme ว่าเป็น Sub-culture หรือวัฒนธรรมเล็กๆ ในหมู่ลูกค้าก็ยังได้เลยนะครับ

 

 

4) Consistency

     กุญแจสำคัญสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใดก็ตาม สิ่งนั้นคือความคงเส้นคงวาในการทำแบรนด์ครับ ว่าง่ายๆ คือต้องไม่หลุดคอนเซปต์ และต้องสื่อสารความเป็นแบรนด์ออกมาต่อเนื่อง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ Supreme ทำแบรนด์มา จะเห็นได้ว่าคอนเซปต์ หรือ Core ที่มีความเท่ ความขบถ จะยังคงสื่อสารออกมาเรื่อยๆ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้แบรนด์ยังทรงพลังและเป็นที่ชื่นชอบของสาวกไปได้ต่อ

     ทั้งหมดนี้ก็คือ 4C ที่เป็น Key Factor ที่ทำให้ Supreme เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการเป็นแบรนด์ที่ลูกค้ารัก หรืออาจเรียกว่า ‘บูชา’ ก็ยังได้ครับ

     ซึ่งถ้าให้สรุปสั้นๆ สิ่งที่เราสามารถปรับมาใช้ได้จากการทำแบรนด์ของ Supreme คือ 1. การมีคอนเซปต์แบรนด์ที่ชัดเจน มีเอกลักษณ์ ต้องเป็น Creator ไม่ใช่ Copier 2. การเข้าใจลูกค้าอย่างถ่องแท้ ยิ่งเข้าใจลงลึกถึงจริตลูกค้าได้จะยิ่งดี 3. การหาวิธีสร้างความกลมกลืนและเป็นส่วนหนึ่งกับลูกค้า ยิ่งแยบยลและเป็นเนื้อเดียวกันกับวิถีชีวิตลูกค้าจะยิ่งดี และ 4. การสร้างความสม่ำเสมอและคงเส้นคงวาในการสื่อสารแบรนด์

     สำหรับใครที่สนใจเรื่อง Branding ผมว่าน่าติดตามแบรนด์นี้มากๆ ครับ 🙂

 

 

อ้างอิง:

The post Supreme สุดยอดกรณีศึกษา: Branding อย่างไรให้ทรงพลัง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/supreme-branding/feed/ 0
หมดยุค ‘ย้อมแมวขาย’ ยุคดิจิทัลจะทำให้สินค้าที่เลวตายไวขึ้น https://thestandard.co/marketingdecoder-digital-branding/ https://thestandard.co/marketingdecoder-digital-branding/#respond Thu, 28 Sep 2017 23:00:43 +0000 https://thestandard.co/?p=30923

     โลกดิจิทัลที่พูดกันติดปากกลายเป็นคำ […]

The post หมดยุค ‘ย้อมแมวขาย’ ยุคดิจิทัลจะทำให้สินค้าที่เลวตายไวขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

     โลกดิจิทัลที่พูดกันติดปากกลายเป็นคำสามัญไปแล้ว มันคือโลกที่เทคโนโลยีสำคัญๆ หลายๆ อย่างเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้ชีวิตไปจนหมดสิ้น

     เอาง่ายๆ ทุกวันนี้มีใครตั้งนาฬิกาปลุกจากนาฬิกาจริงๆ อยู่บ้าง? ทุกวันนี้เราหาข้อมูลทำรายงานจากห้องสมุดหรือกูเกิล? ทุกวันนี้เราจะซื้อสินค้าโดยดูจากโฆษณาทีวี หรือจากความเห็นคนในพันทิป?

     ในการสร้างแบรนด์และการขายสินค้าก็ถูกบีบบังคับให้ปรับตามโลกที่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน จากเมื่อก่อนเราคือผู้เลือกว่าจะสื่อสารอะไร จะสร้างจุดขายอย่างไร จะใช้สโลแกนว่าอะไร ในวันที่สื่อยังจำกัดอยู่แค่ไม่กี่รูปแบบ และคนยังติดต่อกันไม่สะดวกมากนักเวลาอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม

     แต่ในวันนี้สื่อมีอีกมากมายหลากหลาย อินเทอร์เน็ต มือถือ เสิร์ชเอนจิน คอมมูนิตี้ออนไลน์ต่างๆ เช่น เว็บบอร์ด หรือโซเชียลมีเดีย กลายเป็นสื่อใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมกับการติดต่อสื่อสารเพื่อสอบถามข้อมูลที่ง่ายขึ้น

     เมื่อการเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น การตัดสินใจของคนจึงเปลี่ยนแปลงไปแบบไม่มีวันย้อนกลับไปเป็นแบบเดิม เช่นเดียวกัน เราคงไม่มีวันย้อนกลับไปใช้เพจเจอร์ ในเมื่อเรามี SMS หรือ Line มาแทนเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นนี่คือสิ่งที่เราต้องปรับตาม

 

เมื่ออำนาจในการสร้างแบรนด์อยู่ในมือลูกค้า

     มีคำกล่าวว่า The power of branding has shifted to consumers not the brand. คำนี้คงไม่เกินจริงไปนัก เพราะจากเทคโนโลยีที่ทำให้คนสามารถหาข้อมูล พร้อมแสดงความคิดเห็นได้ มันทำให้คนสามารถเห็นและอ่านความรู้สึกจริงๆ ของคนด้วยกันเองที่มีต่อสิ่งอื่นๆ

     แน่นอน ผู้บริโภคย่อมเชื่อผู้บริโภคด้วยกันเองมากกว่าบริษัทหรือองค์กรอยู่แล้ว และยิ่งเป็นผู้มีอิทธิพลมากๆ อย่าง เพื่อน ครอบครัว ผู้ใช้งานหรือลูกค้าเหมือนกัน ยิ่งน่าเชื่อถือมากขึ้น มีสถิติจาก Harris Interactive เปิดเผยว่า ผู้คน 74% ยึดข้อมูลจากคนในโซเชียลในการตัดสินใจซื้อสินค้า 92% เชื่อคนอื่นมากกว่าเชื่อโฆษณา ขณะที่โฆษณามีผลเพียง 33% (ข้อมูลจาก Nielsen)

 

แล้วสิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์อย่างไร?

     Branding คือการสร้างทัศนคติ ความรู้สึกร่วมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ให้สินค้านั้นมีความแตกต่างและมีคุณค่าในความคิดของผู้บริโภค พูดอีกมุมหนึ่งคือ Branding คือศาสตร์และศิลป์ที่ทำให้ผู้บริโภคให้คุณค่ากับสินค้านอกเหนือจากคุณค่าด้านฟังก์ชัน

     เมื่อก่อนการสร้างแบรนด์คือการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดต่างๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภครู้สึกผ่านโฆษณา สโลแกน แพ็กเกจจิ้ง อีเวนต์ การดูแลหลังการขาย และอื่นๆ ผ่านสื่ออย่างทีวี วิทยุ บิลบอร์ด นิตยสาร สื่อ ณ จุดขาย ฯลฯ

     แต่ในยุคนี้ถ้าคน ‘ฟังคน’ มากกว่า ‘ฟังแบรนด์’ แปลว่าต่อไปการให้คุณค่า หรือการที่จะจดจำสินค้าหรือแบรนด์ ผู้บริโภคจะอ้างอิงตามที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์นี้

     ถ้าแบรนด์โฆษณาว่าตัวเองคุณภาพดี แต่ในคอมเมนต์มีแต่คำด่าเรื่องคุณภาพของแบรนด์–ใครจะเชื่อ

     ถ้าแบรนด์ลงบทความพูดถึงคุณสมบัติตัวเองด้านความเร็ว แต่ในพันทิปเต็มไปด้วยคำว่าช้า–ใครจะเชื่อ

     ถ้าแบรนด์บอกว่าตัวเองสามารถส่งของได้รวดเร็วไม่แตกหัก แต่ในเพจตัวเองมีแต่คนโพสต์รูปสินค้าแตกเวลาส่งกับคุณ–ใครจะเชื่อ

     ถ้าแบรนด์บอกว่าคุณเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล แต่มีพนักงานในองค์กรออกมาโพสต์บ่นถึงความไม่เป็นธรรม–ใครจะเชื่อ

     คำถามคือ เราจะรู้สึกกับสินค้าดังกล่าวแบบที่สินค้าพยายามโฆษณาบอก หรือจะรู้สึกตามที่คนพูดถึงสินค้าตัวนี้กัน?

     ใช่ เราไม่สามารถพูดได้อีกต่อไปว่าเราเป็นอย่างไร ถ้าสิ่งที่เราเป็นจริงๆ นั้น ไม่ได้ทำให้ผู้บริโภครู้สึกตามที่เราพูด

     แต่มันเป็นสิ่งที่เรา ‘ทำ’ ต่างหาก

     ถ้าส่งมอบประสบการณ์อย่างไรให้กับผู้บริโภค แบรนด์ก็จะได้แบบนั้น ยุคนี้เป็นยุคที่คนสามารถพูดถึงแบรนด์ และเข้าถึงแบรนด์ได้มากกว่ายุคก่อนด้วยอินเทอร์เน็ต มันเป็นยุคที่หมดเวลา ‘ย้อมแมวขาย’ คุณไม่สามารถขายสินค้าเลวๆ ได้ด้วยโฆษณาสวยๆ อีกต่อไป เพราะโลกโซเชียลจะทำให้ความเลวของสินค้าคุณถูกเปิดเผย แล้วคุณก็จะตายไวขึ้น

 

แบรนด์ควรจะทำอย่างไรต่อจากนี้?

     สิ่งหนึ่งที่แบรนด์ควรรู้ในการทำ Digital Branding คือเสียงที่แท้จริงของผู้บริโภคจะเป็นตัวกำหนดเองว่าคุณเป็นอย่างไร

     มันไม่ใช่เรื่องที่คุณอยากพูดว่าคุณเป็นอย่างไร หรือคุณจ่ายเงินให้คนอื่นพูดว่าคุณเป็นอะไร

     แต่มันอยู่ที่ลูกค้าของคุณ ‘พูด’ อย่างไร แล้วคุณต้องเริ่ม ‘สร้าง’ จากตรงนั้นขึ้นมา

     เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณทำโฆษณา ซื้อ Advertorial ให้สื่อออนไลน์พาดหัวเรื่องดีๆ เกี่ยวกับคุณ หรือให้ Influencers แนะนำคุณแล้วจ่ายเงินบูสต์โพสต์ออกไป แต่ในคอมเมนต์กลับปราศจากผู้ปกป้อง หรือสนับสนุนสิ่งที่แบรนด์พยายามจะพูด สิ่งเหล่านี้จะบอกสถานการณ์ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจนว่าคุณเป็นอย่างไรในสายตาผู้บริโภค

     แน่นอนคนเหล่านี้อาจไม่ใช่ลูกค้าทุกคน วันนี้ลูกค้าของคุณอาจจะยังมีอยู่ แต่ลูกค้าในอนาคตที่เติบโตมาพร้อมกับยุคดิจิทัลและโซเชียลก็จะพบเห็น Voice เหล่านี้ไปเรื่อยๆ และในอนาคต ไม่แน่… ลูกค้าที่เคยมีของคุณอาจจะไม่มีอีกแล้วก็เป็นได้

     วันนี้สำรวจเสียงในโลกโซเชียล สำรวจความรู้สึกคนที่มีต่อเรา แล้วให้เริ่มต้นสร้างแบรนด์จากตรงนั้น

     ถ้ามันแย่ต้องแก้ก่อน ไม่ใช่ซุกเสียงเหล่านั้นไว้ใต้พรม เมื่อแก้เสร็จจะมีคนที่รักคุณเพิ่มขึ้น และจะออกมาปกป้องคุณมากขึ้นเอง

     ถ้ามันดี ก็ค่อยสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากจุดนั้นต่อไป

 

ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

The post หมดยุค ‘ย้อมแมวขาย’ ยุคดิจิทัลจะทำให้สินค้าที่เลวตายไวขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/marketingdecoder-digital-branding/feed/ 0