Blockchain – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 28 Dec 2024 07:07:54 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน https://thestandard.co/5-investment-themes-2025/ Sat, 28 Dec 2024 07:07:54 +0000 https://thestandard.co/?p=1025026 ลงทุน 2025

ปี 2024 กำลังจะผ่านพ้นไป ได้เวลาที่ Thematic Investor ต […]

The post 5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุน 2025

ปี 2024 กำลังจะผ่านพ้นไป ได้เวลาที่ Thematic Investor ต้องทบทวนบทเรียนจากการลงทุนเพื่อมองไปข้างหน้า

 

สำหรับผม วิธีทำความเข้าใจธีมลงทุนของตลาดที่ดีและเร็วที่สุดคือการมองย้อนกลับไปในอดีต จากดัชนีธีมการลงทุนกว่า 200 กลุ่มที่ผมติดตามอยู่ Magnificent 7, Semiconductors, Machine Learning, Thai Tech และ Blockchain คือหัวตารางผลงานโดดเด่น ส่วนธีมที่ทำผลงานย่ำแย่ประกอบด้วย Solar, Clean Tech, China Healthcare, Lithium และ Thai Healthcare

 

ประเด็นที่ทำให้ผมแปลกใจไม่ได้เกิดขึ้นจากธีมไหนทำผลงานได้ดีหรือแย่เกินคาด แต่กลับเป็นธีมที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ธีมลงทุนที่แย่ก็แย่ลงไปอีก ทำให้ตลาดยิ่งกระจุกตัว

 

บทเรียนจากปี 2024 จึงเหมือนกับปี 2023 คือ (1) ถ้าใครไม่มีหุ้นใหญ่สหรัฐฯ ผลตอบแทนจะแพ้ตลาดแน่นอน และ (2) ฟองสบู่ทางการเงินสามารถอยู่ได้นานกว่าที่หลายคนคาด

 

ส่วนบทเรียนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ผมมองว่าเป็น (3) แม้ตลาดจะกระจุกตัว แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเกิดขึ้น การกระจุกตัวจะไม่หายไป บริษัทใหญ่บางบริษัทอาจมีความสำคัญมากกว่าเศรษฐกิจบางประเทศก็เป็นได้

 

สำหรับปี 2025 ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะทรงตัว เงินเฟ้อลดลง ธนาคารกลางลดดอกเบี้ย ความกระจุกตัวทำให้ Valuation แพงผิดปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างกำลังจะเกิดขึ้นจากประธานาธิบดี Donald Trump ในอีก 4ปีข้างหน้า

 

5 ธีมลงทุนในปี 2025 ของผมจึงประกอบด้วยธีมเก่าอย่าง Magnificent 7 และ AI ผสมกับธีมปรับใหม่อย่าง Power Demand, Deregulated Finances และ China Recovery ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงรอบนี้

 

ธีมหนึ่ง Magnificent 7 เป็นธีมที่ทำผลงานดีสม่ำเสมอ มีโอกาสไปต่อ อย่างน้อยจนกว่ากำไรของ S&P 493 จะฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด

 

ตั้งแต่ต้นปีถึงปลายเดือนพฤศจิกายน Bloomberg Magnificent 7 Index ให้ผลตอบแทนถึง 42% จุดแข็งของหุ้นในกลุ่มนี้คือกำไรที่เติบโตสูงกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัด

 

แม้ในปี 2025 ตลาดจะเริ่มมองว่า S&P 493 หรือหุ้นสหรัฐฯ นอก Magnificent 7 จะฟื้นตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นใหญ่จะต้องถูกขายทันที

 

ผมเชื่อว่าหุ้นใหญ่เหล่านี้จะทำผลตอบแทนไม่แพ้ตลาด อย่างน้อยจนกว่าจะมีนโยบายเศรษฐกิจที่กดดันหุ้นในกลุ่มโดยตรง เช่น กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust)

 

ธีมสอง AI ต้องมีติดพอร์ตไว้ต่อตลอดทศวรรษ ปี 2025 เป็นอีกปีที่เราต้องลุ้นว่าจะได้เห็นผู้นำ AI ถือกำเนิดขึ้นในตลาดหุ้นหรือไม่

 

แม้ปี 2024 จะไม่ใช่ปีที่หุ้นกลุ่ม AI ขึ้นนำตลาด แต่ IndexxArtificial Intelligence Index ก็สามารถทำผลตอบแทนถึง 22%เกาะไปกับดัชนี S&P 500

 

ผมคงมุมมองเดิมว่า AI เป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมในอนาคตได้ ธีมนี้จะมีโอกาส Outperform ตลาดไปอย่างน้อยจนกว่าเราจะเห็นผู้นำที่แท้จริงในธีม AI ถือกำเนิดขึ้น

 

ปี 2025 ควรเป็นปีที่ตลาดควรเห็นการนำเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริงมากขึ้นอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือสื่อสาร ซอฟต์แวร์ ค้าปลีก การเงิน และการขนส่ง

 

สำหรับใครที่สนใจลงทุน AIQ หรือ Global X Artificial Intelligence & Technology ETF เป็นตัวเลือกที่กระจายลงทุนในผู้นำกลุ่ม AI ได้อย่างดี

 

อย่างไรก็ดี บทเรียนในปี 2024 สอนว่าถ้าเราต้องรอผู้นำการเติบโตของธีม AI ที่เกิดขึ้นช้า ระหว่างทางควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้ก่อน

 

ธีมลงทุนที่น่าสนใจเมื่อพูดถึงโครงสร้างพื้นฐาน AI คือการลงทุนใน Data Center และโรงไฟฟ้า

 

ด้วยความตื่นตัวของ AI ทำให้เกิดการลงทุนใน Data Center มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมกัน ดัชนี Solactive Data Center REITs & Digital Infrastrcuture Index ทำผลตอบแทนได้ 20% พร้อมกับ MSCI World Utilities ที่ปรับตัวขึ้น 11%

 

Goldman Sachs คาดว่า Data Center ในสหรัฐฯ จะมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นราว 8% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมในปี 2030 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียงราว 3% คิดเป็นการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นราว 2.4% ต่อปี จากที่ไม่เติบโตเลยมากว่า 2 ทศวรรษ

 

แม้จะเป็นการเติบโตที่ไม่สูงมาก แต่เชื่อว่ามีความยั่งยืนและสามารถยืดหยุ่นไปกับกระแส AI ที่กำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่าหุ้น Tech ใหญ่ โดยมี ETF ที่น่าสนใจเป็น VPN หรือ Global X Data Center & Digital Infrastructure ETF

 

ธีมที่สี่เป็นกลุ่มธุรกิจปกติที่คาดว่าจะมีนโยบายหนุนอย่าง Deregulated Finances

 

ผมมองว่ากลุ่มการเงินเป็น Sector ที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนทั้งในภาคการเงินดั้งเดิมและการเงินสมัยใหม่

 

ข้อเสนอยกเลิกกฎ Basel III Endgame จะช่วยลดข้อจำกัดด้านเงินทุนที่ธนาคารขนาดใหญ่เรื่องการตั้งสำรอง เพิ่มอิสระให้ธนาคารขนาดเล็กในกิจกรรมควบรวมกิจการ (M&A) และการลงทุน คาดว่าจะหนุนให้ทั้งธุรกิจการเงินและสินเชื่อกลับมาเติบโต

 

นอกจากนี้ผมเชื่อว่าการเพิ่มความชัดเจนในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคริปโตจะทำให้แพลตฟอร์มทางการเงินปัจจุบันมีโอกาสขยายการเข้าถึงลูกค้าและบริการใหม่ๆ เราสามารถเลือกลงทุนหาโอกาสหรือป้องกันความเสี่ยงไปพร้อมกันได้

 

ธีมการเงินสายเติบโตผมเลือก ARKF หรือ ARK Fintech Innovation ETF ที่มีการผสมผสาน E-Commerce เข้าไปด้วย ส่วนสายป้องกันผมเลือก Amplify Cybersecurity (HACK) เนื่องจากเป็น ETF ที่เน้นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

 

ธีมสุดท้ายสินค้าฟุ่มเฟือยฝั่งยุโรป (EU Consumer Discretionary) ลุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากนโยบายกระตุ้นภาครัฐ

 

สินค้าฟุ่มเฟือยในยุโรปเป็นธีมลงทุนสายกลับตัว (Turnaround) ธีมเดียวที่ผมเลือกในปีนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัว และ Luxury Goods เป็นอุตสาหกรรมที่มักได้รับแรงหนุนมากเป็นพิเศษ

 

ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าปี 2025 เป็นปีที่เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวช้า สนับสนุนการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายจาก ECB กดให้ EUR มีแนวโน้มอ่อนค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าหรูยุโรป

 

ตัวเลือกที่น่าสนใจมีตั้งแต่หุ้นใหญ่ในยุโรปอย่าง LVMH, Hermès, Kering หรือ Richemont ส่วนถ้าใครอยากลงทุนเป็นธีมก็สามารถเลือกลงทุน CD9 หรือ Amundi MSCI Europe Consumer Discretionary ETF และ Amundi S&P Global Luxury UCIT ETF (GLUX) ที่จดทะเบียนในตลาดฝรั่งเศสได้ทั้งคู่

 

ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า Thematic Investor คงมองเห็นโอกาสสำหรับการลงทุนในปีงูเล็ก 2025 บ้างแล้ว

 

ในมุมมองของผม ไม่ว่าพอร์ตปัจจุบันของเราจะเป็นแบบไหน เราสามารถสอดแทรกส่วนประกอบของธีมลงทุนเหล่านี้เข้าไปในพอร์ตได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องเรียนรู้ที่จะผสมผสานให้มีทั้งธีมเติบโต ตั้งรับ และธีมกลับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมตามความเสี่ยงที่รับได้

 

ผมเชื่อว่าธีมเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจตลาด และประสบความสำเร็จในการลงทุนปี 2025 ครับ

The post 5 ธีมลงทุนทั่วโลกรับปี 2025 งูเล็กไซส์บอลลูน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: คลายข้อสงสัย! อนาคตสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องรู้ | Thailand Future EP.6 https://thestandard.co/thailand-future-ep-6/ Sat, 28 Dec 2024 02:03:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1024918 thailand-future-ep-6

ไขคำตอบ 4 คำถามสำคัญเกี่ยวกับอนาคตของสินทรัพย์ดิจิทัล! […]

The post ชมคลิป: คลายข้อสงสัย! อนาคตสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องรู้ | Thailand Future EP.6 appeared first on THE STANDARD.

]]>
thailand-future-ep-6

ไขคำตอบ 4 คำถามสำคัญเกี่ยวกับอนาคตของสินทรัพย์ดิจิทัล! โลกของ Bitcoin, Ethereum และ Blockchain อาจฟังดูซับซ้อน แต่ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าสินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร จะเริ่มต้นอย่างไร และมีโอกาส-ความเสี่ยงแบบไหน วิดีโอนี้มีคำตอบที่ควรต้องรู้

 

พบกับบทสรุปจากสถาบันอนาคตไทยศึกษา ที่รวบรวมข้อสงสัยและข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ตั้งแต่พื้นฐานเทคโนโลยี Blockchain ประเภทของคริปโต โอกาสการลงทุนรูปแบบใหม่ ไปจนถึงความเสี่ยงและแนวโน้มนโยบายล่าสุด ใครที่อยากเข้าใจและเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกดิจิทัล ห้ามพลาด

The post ชมคลิป: คลายข้อสงสัย! อนาคตสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องรู้ | Thailand Future EP.6 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ถอดรหัส USDT บนบล็อกเชน: เมื่อการติดตามธุรกรรมต้องสงสัยเป็นไปได้และไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป https://thestandard.co/usdt-blockchain-transaction-tracking-guide/ Fri, 25 Oct 2024 03:54:35 +0000 https://thestandard.co/?p=999906 USDT

“ทุกคนสามารถเป็นนักสืบในโลกคริปโตได้”   หนึ่งในข้อ […]

The post ถอดรหัส USDT บนบล็อกเชน: เมื่อการติดตามธุรกรรมต้องสงสัยเป็นไปได้และไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
USDT

“ทุกคนสามารถเป็นนักสืบในโลกคริปโตได้”

 

หนึ่งในข้อเท็จจริงของสกุลเงินดิจิทัลบนบล็อกเชนที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ บนกระดานเทรด เช่น USDT ที่คนนอกวงการอาจยังไม่ทราบก็คือ “USDT บนบล็อกเชนสามารถติดตามเส้นทางการเงินได้ง่ายกว่าการโอนเงินผ่านธนาคารเสียอีก”

 

เนื่องจากเทคโนโลยีบล็อกเชนเอื้อให้สามารถตรวจสอบได้ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะลำดับการจัดเก็บ จัดเรียง และบันทึกของกระเป๋าดิจิทัลบนบล็อกเชนมีความชัดเจนและยากแก่การเปลี่ยนแปลงหรือปลอมแปลง สมมติว่านำบล็อกเชนมากาง จะเห็นได้ว่าทุกคนสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของเงินที่อยู่บนแพลตฟอร์มได้ตลอดเวลา เพราะตั้งแต่วินาทีแรกที่ธุรกรรมการเงินเกิดขึ้นบนบล็อกเชน ข้อมูลการโอนย้ายจะถูกบันทึกเข้าไปในเครือข่ายและยืนยันด้วยการเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ที่จะเป็นลายเซ็นดิจิทัลที่ยืนยันว่าเกิดธุรกรรมนั้นๆ ขึ้นแล้ว 

 

ประการสำคัญ บุคคลทั่วไปสามารถติดตามธุรกรรม USDT บนบล็อกเชนได้โดยการใช้แพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่ายและฟรี ตัวอย่างเช่น Etherscan สำหรับติดตามเหรียญ Ethereum หรือ BscScan สำหรับ Binance Smart Chain แพลตฟอร์มเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ใช้งานตรวจสอบข้อมูลบล็อกเชนแบบสาธารณะ โดยการใส่เลขที่กระเป๋าเงินดิจิทัล จะปรากฏข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ที่อยู่กระเป๋าเงิน, ประวัติการทำธุรกรรม, จำนวนเงิน, ปลายทางการโอน, วัน-เวลาที่ธุรกรรมถูกบันทึก และจำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง

 

นอกจากนี้ยังสามารถแสดงรายละเอียดของ Smart Contract ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม ทำให้สามารถติดตามประวัติการทำธุรกรรมย้อนหลังทุกขั้นตอน ซึ่งแตกต่างจากสกุลเงินเฟียต (เงินตราที่ออกโดยรัฐบาล) ที่ผู้ใช้งานฝากสินทรัพย์และข้อมูลส่วนตัวไว้ที่ธนาคารหรือตัวกลางโดยไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

 

แน่นอนว่าเมื่อ USDT ถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือสกุลเงินอื่นที่ผ่านขั้นตอนธุรกรรมบนแพลตฟอร์ม จะส่งผลให้การติดตามเส้นทางการเงินมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินทำให้ร่องรอยบางส่วนถูกตัดขาดจากบล็อกเชน

 

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่ได้รับการกำกับดูแล เช่น Binance หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่บังคับใช้กระบวนการ Know Your Customer (KYC) และ Anti-Money Laundering (AML) จะบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไว้ ทำให้สามารถติดตามเส้นทางธุรกรรมต่อไปได้ แม้ว่าจะถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังสามารถใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์บล็อกเชนเพื่อติดตามเส้นทางของเงินได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนสกุลเงินก็ตาม

 

จับไต๋ธุรกรรมต้องสงสัย ทำอย่างไร?

 

ธุรกรรมต้องสงสัยหรือการฟอกเงินจะมีรูปแบบเฉพาะที่บ่งชี้ ดังนี้

  • มีการโอนเงินจำนวนมากผิดปกติในเวลาอันสั้น โดยเฉพาะต้นทางจากกระเป๋าเงินที่ไม่มีประวัติการทำธุรกรรมมาก่อน
  • การโอนเงินผ่านหลายบัญชีหรือหลายเครือข่ายในลักษณะที่ซับซ้อน อาจสะท้อนความพยายามอำพรางเส้นทางการเงินของเจ้าของเงิน
  • การโอนเงินระหว่างกระเป๋าเงินที่สร้างใหม่ไม่นาน หรือบัญชีที่ทำธุรกรรมแบบวนไปวนมาในระยะเวลาสั้นๆ ก็ถือเป็นพฤติกรรมที่ควรต้องระวัง

 

การโอนเงินข้ามเครือข่าย เช่น โอนจาก Ethereum ไปยัง Binance Smart Chain โดยไม่มีเหตุผลชัดเจนก็อาจเป็นการกระทำที่บ่งบอกถึงความพยายามซ่อนเส้นทางการเงิน

 

ทุกคนมีส่วนร่วมได้ แต่ย่อมมีขีดจำกัดในการตรวจสอบ

 

แม้จะกล่าวว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง แต่การตรวจสอบขั้นสูงยังคงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง เป็นไปได้ว่าบุคคลทั่วไปที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบล็อกเชนสามารถมีบทบาทสำคัญในการระบุพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือน่าสงสัยได้ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ธุรกรรมประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Etherscan หรือ BscScan 

 

สำหรับกรณีวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงิน หรือมีความจงใจปิดบังเส้นทางการเงินที่ซับซ้อน ย่อมต้องอาศัยประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และทักษะขั้นสูงในการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่ง ทั้งจากบนบล็อกเชนและข้อมูลภายนอก เช่น ข้อมูลจากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน หรือการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงที่สามารถตรวจจับรูปแบบพฤติกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนได้ ในกรณีที่ซับซ้อนมาก บุคคลทั่วไปอาจต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น สถาบันที่ให้บริการด้านการวิเคราะห์บล็อกเชน เพื่อให้สามารถระบุพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

 

การจับจ้องของสังคม เปิดกว้างการเรียนรู้เทคโนโลยีบล็อกเชน สร้างความโปร่งใสและอธิปไตยข้อมูลการเงิน

 

การตั้งคำถามในระดับสังคมวงกว้างครั้งนี้ จะยิ่งเปิดกว้างการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนและความสามารถในการนำมาใช้เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเงิน ทำให้การติดตามเส้นทางการเงินบนบล็อกเชนชัดเจนมากขึ้น ข้อมูลจะไม่ได้ถูกบันทึกไว้เฉพาะแค่องค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่อยู่บนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่ผู้ใช้งานสามารถเห็นข้อมูลพื้นฐานร่วมกันได้ระดับหนึ่ง ช่วยให้เกิดการสอดส่องร่วมกันของภาคประชาชนหรือคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์ม อันนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่ปลอดภัยและโปร่งใสไปด้วยกันได้

 

ในมุมของ Binance TH ที่ยึดมั่นในเรื่องความปลอดภัยและความโปร่งใสของข้อมูลเป็นสำคัญ ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยยกระดับมาตรฐานของระบบการเงินสมัยใหม่โดยรวม เพราะเมื่อทุกธุรกรรมถูกบันทึกอย่างถาวรและเปิดเผย โอกาสที่จะเกิดการทุจริตก็จะลดลง หรือหากจะยังมีอยู่ก็จะยังอยู่บนพื้นฐานที่มั่นใจได้ว่าสามารถตรวจสอบและแสดงผลอย่างตรงไปตรงมาต่อทั้งผู้ใช้งานและสังคมได้

The post ถอดรหัส USDT บนบล็อกเชน: เมื่อการติดตามธุรกรรมต้องสงสัยเป็นไปได้และไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
Tokenization และ Blockchain คือตัวเปลี่ยนเกมโลกและสิ่งแวดล้อม [PR NEWS] https://thestandard.co/tokenization-blockchain/ Thu, 29 Aug 2024 02:00:42 +0000 https://thestandard.co/?p=975001 Tokenization Blockchain

ความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างรวดเร็วจนทุกคนส […]

The post Tokenization และ Blockchain คือตัวเปลี่ยนเกมโลกและสิ่งแวดล้อม [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>
Tokenization Blockchain

ความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างรวดเร็วจนทุกคนสัมผัสได้ นอกจาก AI ที่ถูกพัฒนาจนเป็นผู้ช่วยมนุษย์แล้ว สินทรัพย์บนโลกใบนี้ก็กำลังเปลี่ยนผ่านตัวเองไปอยู่ในรูปของสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Tokenization 

 

แต่เชื่อหรือไม่ Tokenization กำลังเป็น ‘ตัวเปลี่ยนเกม’ ให้โลกของเรา ทั้งในเชิงธุรกิจและการดำรงชีวิต 

 

บล็อกเชนเปลี่ยนโลก Supply Chain

 

บล็อกเชนคือระบบที่เราส่งข้อมูลที่ไม่มีตัวกลาง การรับรู้การเปลี่ยนหรือส่งต่อข้อมูลพร้อมกัน และแก้ไขหรือแฮ็กระบบได้ยาก 

 

สุทธิรัตน์ หาญพานิชย์ Head of Business Development, Token X

 

ระบบบล็อกเชนยังช่วยให้ระบบองค์กรรับรู้ข้อมูลได้ตรงกันและรับรู้ในเวลาแบบเรียลไทม์ ระบบ Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและส่งไปถึงผู้บริโภค จะเป็นการส่งต่อข้อมูลและประสานงานแบบจาก Party ที่ต่างกัน เกิดเป็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจ

 

  • ความซับซ้อนในการส่งผลิตภัณฑ์ไปถึงมือผู้บริโภค
  • การส่งข้อมูลระหว่าง Party ทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งต่อ
  • ข้อมูลซับซ้อนในแต่ละ Party ทำให้ส่งต่อได้ยากลำบาก
  • การแก้ปัญหาใน Supply Chain ล่าช้า เพราะต้องใช้เวลาตรวจย้อนกลับ

 

ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการนำข้อมูลมาทำธุรกรรมบนบล็อกเชน ทำให้เกิดประโยชน์ได้ คือ

 

  • การเชื่อมต่อข้อมูลทรัพยากรองค์กรที่สามารถเปิดให้รู้พร้อมกัน แต่สามารถกรองข้อมูลอ่อนไหวออกไปได้
  • เข้าถึงข้อมูลใน Supply Chain ได้ง่าย และ Flow การทำงานลื่นไหล
  • ได้รับรายงานและการแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ
  • ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 

จากการสำรวจของ Settlement พบว่า 86% เชื่อว่า หากมีบล็อกเชนช่วยในระบบ Supply Chain จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 

 

จากตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง IBM ที่ใช้บล็อกเชนมาแก้ปัญหาการขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซับซ้อน และใบตราสินค้าอาจเกิดการฉ้อโกงได้ ซึ่งเมื่อนำบล็อกเชนมาปรับใช้ให้มีเครือข่ายร่วมกันและรับรู้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้ดำเนินการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มความโปร่งใส

 

Tokenization ตัวเปลี่ยนเกมสภาพอากาศโลก

 

ภาวะโลกเดือดที่ไม่สามารถหวนกลับไปสภาพเดิมได้แล้ว ทำให้กฎเกณฑ์และนโยบายนานาชาติเปลี่ยนไป โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่เริ่มตั้งกฎเกณฑ์ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป’ หรือ CBAM ซึ่งผลกระทบไปยังผู้ผลิตพลังงาน ต้นน้ำถึงปลายน้ำธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยมลพิษ

 

สิทธิพัฒน์ ศุขเนตร Associate Investment Banking and Tokenization, Token X (ซ้าย) 

ทุนฤทธิ์ เอี่ยมพินิจกุล Manager Investment Banking and Tokenization, Token X (กลาง) 

สหรัฐ ลีลาเลิศวรภัทร Senior Associate Investment Banking and Tokenization, Token X (ขวา) 

 

ปัจจุบันมีกลไกคือ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน หรือ RECs โดยซื้อ RECs เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการชดเชยและแก้ปัญหา ทำให้มีหลายบริษัทด้านบล็อกเชนออกมา ‘Tokenization’ หรือการเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นการลดการปล่อยคาร์บอน

 

อย่าง KlimaDAO ได้สร้างสกุลเงินดิจิทัลที่มีค่าการชดเชยคาร์บอนเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน กลไกทางการเงินจะดึงอุปทานของค่าการชดเชยคาร์บอนออกจากตลาด ทำให้ราคาสูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้คนถือโทเคนด้วยผลตอบแทนสูง ชี้นำราคาของค่าการชดเชยคาร์บอน และกระตุ้นให้เกิดการลดการปล่อยคาร์บอนลง

 

หรือจะเป็น MCO2 ที่แปลงพื้นที่ของป่าแอมะซอนเป็นโทเคน ส่งเสริมการดูแลรักษาป่า และ IMPT ซึ่งเป็นโทเคนที่เมื่อเราช้อปปิ้งแล้วจะได้คาร์บอนเครดิตเป็น Reward

 

 

Real-World Asset ในครึ่งหลังของปี 2024

 

Real-World Asset (RWA) เป็นการนำสินทรัพย์ในโลกจริงมาอยู่บนบล็อกเชน ไม่ว่าจะเป็น Stablecoin ที่มีเงินเฟียตหนุนหลัง โทเคนที่อิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ ตราสารหนี้ดิจิทัล หรือแม้แต่สินทรัพย์หรูหราอย่างไวน์และงานศิลปะ 

 

RWA ช่วยเพิ่มสภาพคล่องและการเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่เคยมีข้อจำกัด ทำให้นักลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบันสามารถกระจายการลงทุนได้ง่ายขึ้น 

 

สำหรับสถานการณ์ RWA ต่อไปนี้ คาดการณ์ว่าการนำสินทรัพย์มาทำเป็นโทเคนจะมีมูลค่าถึง 10% ของ GDP โลกภายในปี 2030 และอาจสูงถึง 16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

RWA มูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2022 ที่ 166.2 ล้านดอลลาร์ เป็น 5.71 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคม ปี 2024 เพิ่มขึ้นกว่า 3,300% ผลเกิดจากการที่หลายองค์กรให้การยอมรับและปรับใช้ ไม่ว่าเป็นองค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore: MAS), Onyx (by JPMorgan) หรือ BlackRock

 

RWA กำลังปฏิวัติวงการการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) ด้วยการมี Tokenization กับหนี้สาธารณะและกองทุน โดยช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ นอกจากนี้การปล่อยกู้ที่มี RWA เป็นหลักประกัน และ Stablecoin ที่มี RWA หนุนหลัง ยังช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องและเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับผู้ใช้งานด้วย

 

นวัตกรรมในด้าน RWA ยังรวมถึงการทำ Tokenization หนี้ภาคเอกชน ซึ่งช่วยเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับนักลงทุนรายย่อยและ SMEs รวมทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์ม AI-FI ที่ใช้ประโยชน์จากพลังการประมวลผลของ GPU สำหรับงานด้าน AI และอื่นๆ โครงการอย่าง StakeUp ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการสร้าง Stablecoin ที่มีหลักประกันเป็นสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง และสามารถทำงานร่วมกับระบบ DeFi อื่นๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ การพัฒนาเหล่านี้กำลังสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงบริการทางการเงินในยุคดิจิทัล

 

จิรัฏฐ์ บุญสูง Senior Venture Associate, Varys Capital (ซ้าย) และ ชยธร เต็มนิธิกุล Senior Associate, ICO Initiatives & Capital Markets, Investment Banking and Tokenization, Token X (ขวา)

 

ในส่วนของประเทศไทยกำลังพัฒนากฎระเบียบและนโยบายที่เอื้อต่อการเติบโตของ RWA 

 

  • ยกเลิกข้อจำกัดการลงทุนสำหรับนักลงทุนรายย่อยในโครงการ ICO ที่มีอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานเป็นสินทรัพย์อ้างอิง 
  • การอนุญาตให้กองทุน ESG ลงทุนในโทเคนที่อิงกับโครงการสีเขียว 
  • พิจารณาและกำกับดูแลโทเคนการลงทุนภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แทน พ.ร.บ.สินทรัพย์ดิจิทัล ในปัจจุบัน 
  • การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโทเคนการลงทุนและการซื้อ-ขายคริปโตเคอร์เรนซี

 

*บทความนี้เป็นบทความสรุปเนื้อหาเพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ชวนลงทุน 

**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจและศึกษาลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

 

The post Tokenization และ Blockchain คือตัวเปลี่ยนเกมโลกและสิ่งแวดล้อม [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCB 10X: โลกกำลังเปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีทั้ง AI และบล็อกเชน Web 3.0 มีอะไรที่เราต้องรู้และอะไรที่ต้องปรับตัว? [PR NEWS] https://thestandard.co/scb-10x-ai-blockchain-web3-adaptation/ Mon, 26 Aug 2024 03:00:24 +0000 https://thestandard.co/?p=973180

โลกกำลังหมุนไปอย่างรวดเร็ว สิ่งใหม่และเทรนด์เกิดขึ้นและ […]

The post SCB 10X: โลกกำลังเปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีทั้ง AI และบล็อกเชน Web 3.0 มีอะไรที่เราต้องรู้และอะไรที่ต้องปรับตัว? [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>

โลกกำลังหมุนไปอย่างรวดเร็ว สิ่งใหม่และเทรนด์เกิดขึ้นและเข้ามาแบบรายวัน ไม่ว่าจะเป็น AI นวัตกรรมใหม่ๆ Web 3.0 หรือเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่ต้องเข้าใจและปรับตัวตาม เพื่อไม่ให้ถูกทิ้งเอาไว้ข้างหลังและสามารถหาโอกาสจากเทรนด์เหล่านั้นได้

 

ปรับวัฒนธรรมและแนวคิดเพื่อเปิดศักยภาพ AI

 

โลกของเราเกิดสิ่งที่เรียกว่า Rice and Wheat Culture ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างของแนวคิดที่ส่งผลต่อการใช้ AI

 

  • Rice Culture หรือวัฒนธรรมของคนที่กินข้าว คนกลุ่มนี้มักสื่อสารแบบอ้อม สื่อสารกันไม่ตรงไปตรงมา
  • Wheat Culture กลุ่มที่กินข้าวสาลี จะสื่อสารแบบตรงไปตรงมาและชัดเจน

 

ในกลุ่มคนเอเชียเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกลุ่ม Rice Culture สื่อสารแบบโดยนัย ปัญหานี้เกิดขึ้นกับการประยุกต์ใช้ AI ที่ต้องการ Prompt ข้อมูลแบบตรงไปตรงมา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและถูกต้องที่สุด ในปัจจุบัน AI ส่วนใหญ่ยังถูกสร้างจากฝั่ง Wheat Culture ทำให้คนเอเชีย หรือกลุ่ม Rice Culture ต้องปรับตัว เพื่อดึงเอาศักยภาพสูงสุดของ AI ออกมา แต่ในอนาคต AI ก็มีความเป็นไปได้ที่จะถูกพัฒนาเพื่อให้เข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง เช่น การสร้าง LLM สำหรับเข้าใจภาษาที่เป็น Low-Resource

 

ดร.ธันวา อาภรณ์ทิพย์ Senior Tech Advisor, SCB 10X

 

โลกคือโลกที่ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้

 

ในความเป็นจริงแล้ว โลกของเราเป็นโลกที่เรียกกันว่า Probabilistic World หรือโลกที่ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ เช่น ผลของการแข่งขันของกีฬาที่ไม่สามารถออกมาชนะทีมเดิมได้ตลอด ผลผลิตการเกษตรที่อาจออกมาดีเกินคาดหรือแย่กว่าที่คำนวณไว้ หรือแม้แต่การพยากรณ์อากาศ 

 

 

เกิดจากการคาดการณ์ การคาดคะเน หรือคำนวณหาความเป็นไปได้ ซึ่ง AI ก็เป็นสิ่งนั้น AI จะคำนวณจากข้อมูลที่ได้รับมาและประมวลหาความเป็นไปได้สูงสุด หรือใกล้เคียงที่สุดจากข้อมูลที่ได้รับ 

 

นั่นเป็นสาเหตุที่ว่า การสื่อสารตรงไปตรงมาและการมอบข้อมูลให้ได้มากที่สุดให้ AI เพื่อให้คาดการณ์ได้ดีที่สุดคือสิ่งสำคัญ 

 

AI คือสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้อีกแล้ว

 

ข้อมูลจากการสำรวจและทดลองยังพบอีกว่า เมื่อเรามอบบริบทให้กับ AI มากเท่าใด ผลลัพธ์ที่ได้กลับมาจะยิ่งดียิ่งขึ้น รวมถึงการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา อาทิ การใส่อารมณ์เข้าไป ยิ่งเพิ่มผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น อาทิ การ Prompt ข้อมูลพร้อมบอกกับ AI ว่า “สิ่งนี้สำคัญต่อการงานของฉันอย่างมาก”

 

ปัจจุบันมีการปรับใช้ AI มากขึ้น โดยการสำรวจของ Oliver Wyman Forum ในค่าเฉลี่ยระดับโลก พบว่า 40% ใช้ AI อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ และ 15.55% ใช้ทุกวัน ทำให้เห็นว่ากว่า 55.55% ของทั้งโลก หรือก็คือครึ่งหนึ่ง ใช้ AI ในการทำงาน ชีวิต และธุรกิจ 

 

 

การสำรวจจาก Harvard Business School รายงานว่า กว่า 40% พบว่า การใช้ AI ยังพัฒนาคุณภาพงานเพิ่มมากขึ้น และการสำรวจของ Statista เผยว่า ความคิดว่า AI คือสิ่งสำคัญในโลกธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปี 2022 ที่อยู่ที่ 8% เป็น 43% ที่จะเกิดขึ้นในปี 2025

 

Web 3.0 บล็อกเชนกำลังเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

 

Web 3.0 หรือบล็อกเชน นับได้ว่ากำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ทั่วโลกมีการปรับใช้มากขึ้น เหตุผลหนึ่งคือ บล็อกเชนต่างๆ มีการพัฒนามากขึ้น เวลาในการสร้างบล็อกที่เร็วขึ้นถึง 0.26 วินาที

 

ปริน เจียมอนันตพงศ์ Senior Software Engineer, SCB 10X

 

ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Assets ก็เป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น รวมถึงการตอบรับใน Real-World Assets (RWAs) หรือการนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ในโลกจริงให้เป็นรูปแบบดิจิทัล เช่น หุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล หลากหลายประเทศมีการอนุมัติ Exchange-Traded Fund หรือ ETF ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ แสดงให้เห็นถึงการยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และหลายประเทศในยุโรป สำหรับในประเทศไทยมีการเกิดกองทุน Bitcoin ETF เมื่อกลางปีที่ผ่านมา 

 

บริษัทใหญ่อย่าง Mastercard, Nomura, PayPal และ Visa ก็มีการปรับนโยบายและออกแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล 

 

การทำธุรกรรมในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีเครื่องมือใหม่ๆ เช่น CoW Swap เป็นโปรโตคอล DEX (Decentralized Exchange) จะช่วยให้ธุรกรรมระหว่างสินทรัพย์ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

 

SCB 10X AI

 

ปัจจุบันบล็อกเชนในแต่ละเชนมีการเชื่อมต่อ Interconnect กันมากขึ้น ไม่ได้แบ่งแยก การพัฒนา DApp บนเชนใหม่ๆ สามารถทำได้เพียงคัดลอกและทำซ้ำบนเชนใหม่ ดังนั้นนักพัฒนาต้องคำนึงถึงการสร้างโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ครบวงจรและซับซ้อนมากขึ้น (Intent-Based) และหันมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ส่งผลให้ความต้องการด้าน Deep Tech หรือเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อเข้ามาเป็นโซลูชันให้กับโลกของเรามากขึ้น ทำให้เกิดเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ บนบล็อกเชนตามมา เช่น

 

  • Zero-Knowledge Proofs เป็นการ Proof ในระบบบล็อกเชนที่เราสามารถทำได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว แต่ก็ยืนยันได้ว่าเราสามารถ Proof ได้จริง สร้างความโปร่งใสและความเป็นส่วนตัวในเวลาเดียวกัน
  • Fully Homomorphic Encryption เป็นการคำนวณข้อมูลที่เข้ารหัสในบล็อกเชนอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องแก้รหัสออกมา ทำให้สามารถประมวลข้อมูลที่เซนสิทีฟได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยออกมา
  • Delay Encryption ที่ช่วยให้การถอดรหัสบล็อกแล้วเปิดเผยออกมาเกิดขึ้นในเวลาที่กำหนดได้ 

 

The post SCB 10X: โลกกำลังเปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีทั้ง AI และบล็อกเชน Web 3.0 มีอะไรที่เราต้องรู้และอะไรที่ต้องปรับตัว? [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: สรุประบบ Payment ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ใช้ Blockchain หรือไม่ | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-09082024-2/ Fri, 09 Aug 2024 07:19:46 +0000 https://thestandard.co/?p=969376

สรุประบบ Payment ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ใช้ Blockchai […]

The post ชมคลิป: สรุประบบ Payment ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ใช้ Blockchain หรือไม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
  • สรุประบบ Payment ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ใช้ Blockchain หรือไม่ พูดคุยกับ สมคิด จิรานันตรัตน์ อดีตประธาน Kasikorn Business Technology Group (KBTG) และอดีตที่ปรึกษา CEO ธนาคารกรุงไทย

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: สรุประบบ Payment ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ใช้ Blockchain หรือไม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: แจกเงินผ่าน Blockchain ‘ทางตันที่ผ่าไม่ออก’ ของดิจิทัลวอลเล็ต | Morning Wealth 9 ส.ค. 2567 https://thestandard.co/morning-wealth-09082024/ Fri, 09 Aug 2024 03:02:50 +0000 https://thestandard.co/?p=969257 Blockchain

จับตาดิจิทัลวอลเล็ตอาจเจอ ‘ทางตัน’ แบงก์ชาติเตือน Block […]

The post ชมคลิป: แจกเงินผ่าน Blockchain ‘ทางตันที่ผ่าไม่ออก’ ของดิจิทัลวอลเล็ต | Morning Wealth 9 ส.ค. 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Blockchain

จับตาดิจิทัลวอลเล็ตอาจเจอ ‘ทางตัน’ แบงก์ชาติเตือน Blockchain เชื่อมระบบโอนเงินแบงก์พาณิชย์ยังเสี่ยง หวั่นกระทบระบบการเงินประเทศ รายละเอียดเป็นอย่างไร

สรุประบบ Payment ดิจิทัลวอลเล็ต ใช้ Blockchain หรือไม่ พูดคุยกับ สมคิด จิรานันตรัตน์ อดีตประธาน Kasikorn Business Technology Group (KBTG) และอดีตที่ปรึกษา CEO ธนาคารกรุงไทย

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

 

The post ชมคลิป: แจกเงินผ่าน Blockchain ‘ทางตันที่ผ่าไม่ออก’ ของดิจิทัลวอลเล็ต | Morning Wealth 9 ส.ค. 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ใดๆ ล้วนโทเคน! McKinsey ชี้ Tokenization สร้างมูลค่าในโลกการเงินมากถึง 133 ล้านล้านบาทภายในปี 2030 https://thestandard.co/tokenization-creates-value-in-the-financial-world/ Wed, 26 Jun 2024 11:27:32 +0000 https://thestandard.co/?p=950134

จากรายงานของ McKinsey & Company ชี้ว่า Tokenization […]

The post ใดๆ ล้วนโทเคน! McKinsey ชี้ Tokenization สร้างมูลค่าในโลกการเงินมากถึง 133 ล้านล้านบาทภายในปี 2030 appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากรายงานของ McKinsey & Company ชี้ว่า Tokenization หรือการแปลงสินทรัพย์ต่างๆ มาอยู่ในรูปแบบโทเคนบนโลกดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี อาทิ บล็อกเชน กำลังเดินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาดการเงินในอนาคต ทั้งในแง่ความสามารถในการให้บริการได้ตลอดเวลา ความโปร่งใส การเพิ่มสภาพคล่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเป็นทางเลือกใหม่ของการสร้างรายได้

 

McKinsey กล่าวว่า กระบวนการ Tokenization กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน สถาบันการเงินที่เริ่มนำเทคโนโลยีบล็อกเชนดังกล่าวมาใช้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

 

จากประมาณการของ McKinsey มองว่า หากกระบวนการ Tokenization ได้รับการยอมรับมากขึ้น (Adoption) บนสมมติฐานแบบปกติ (Base-Case Scenario) ภายในปี 2030 ตลาดดังกล่าวจะมีมูลค่าราว 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 66 ล้านล้านบาท แต่หากการยอมรับเป็นไปอย่างรวดเร็ว (Accelerated Adoption) มูลค่าตลาดจะสูงถึง 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ​ 133 ล้านล้านบาท

 

แต่ทั้งนี้ Anutosh Banerjee, Julian Sevillano, Matt Higginson, Donát Rigó และ Garry Spanz เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของ McKinsey มองว่า การเริ่มต้นของ Tokenization ก็ยังเป็นไปอย่างท้าทายและมีข้อผิดพลาดที่ยังต้องแก้ไข

 

นอกจากนี้การนำ Tokenization ไปใช้ ยังต้องการความแข็งแกร่ง ปลอดภัย และการปฏิบัติตามระเบียบอย่างถูกต้อง ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

นักวิเคราะห์ของ McKinsey ยังมองว่า ในระยะสั้นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร ผู้จัดการกองทุน และผู้ให้บริการระบบการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ ควรจะประเมินว่า สินทรัพย์ใดจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านไปสู่สินทรัพย์ Tokenization มากที่สุด และจะสามารถมีส่วนต่อกลยุทธ์ทั้งในแง่การขยายตลาดใหม่ การออกสินค้าใหม่ และการดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ได้อย่างไร

 

อ้างอิง:

The post ใดๆ ล้วนโทเคน! McKinsey ชี้ Tokenization สร้างมูลค่าในโลกการเงินมากถึง 133 ล้านล้านบาทภายในปี 2030 appeared first on THE STANDARD.

]]>
อดีตนักศึกษา MIT ตกเป็นผู้ต้องสงสัย ปล้น 1 พันล้านบาทภายใน 12 วินาที ผ่านช่องโหว่ Ethereum Blockchain https://thestandard.co/ex-mit-student-suspected-1bn-usd-ethereum-hack/ Thu, 16 May 2024 11:15:28 +0000 https://thestandard.co/?p=934390 MIT

สองพี่น้องอดีตนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) […]

The post อดีตนักศึกษา MIT ตกเป็นผู้ต้องสงสัย ปล้น 1 พันล้านบาทภายใน 12 วินาที ผ่านช่องโหว่ Ethereum Blockchain appeared first on THE STANDARD.

]]>
MIT

สองพี่น้องอดีตนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน หลังตกเป็นผู้ต้องสงสัยในการโจรกรรมเงินดิจิทัล Ethereum มูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1 พันล้านบาท) ภายในเวลาเพียง 12 วินาที นับเป็นคดีแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการก่ออาชญากรรมทางการเงิน

 

แอนตัน เปเร-บูเอโน อายุ 24 ปี และ เจมส์ เปเร-บูเอโน อายุ 28 ปี ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่ได้เรียนรู้จากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกในการวางแผนและดำเนินการโจรกรรมดังกล่าว ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยแอนตันจบการศึกษาจาก MIT ในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ ขณะที่เจมส์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบินและอวกาศในปี 2021

 

ทางการสหรัฐฯ ระบุว่า พี่น้องคู่นี้ได้สร้าง ‘Validators’ ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยจัดลำดับธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum และช่วยให้บอตทำเงินจากการเก็งกำไรและการซื้อขายที่ทำกำไรได้ 

 

แต่พวกเขากลับใช้ Validators ของตนเองเพื่อหลอกลวงผู้ค้าที่ใช้บอต โดยเข้าถึงธุรกรรมที่รอดำเนินการและเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขโมยคริปโต จากนั้นจึงยักย้ายคริปโตผ่านเครือข่ายธุรกรรมเพื่อปกปิดที่มาของเงินทุน

 

การโจรกรรมครั้งนี้ถูกวางแผนมาเป็นเวลาหลายเดือน รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมการซื้อขายของบอต Ethereum หลังจากได้เงินมาแล้วทั้งคู่พยายามปกปิดที่มาของเงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายด้วยการทำธุรกรรมซ้ำๆ ผ่านบริษัทที่ตั้งขึ้นบังหน้า รวมถึงค้นหาช่องโหว่ในกระบวนการ KYC (Know Your Customer) ของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตต่างๆ เพื่อฟอกเงินที่ได้มา

 

ทั้งนี้แอนตันและเจมส์ถูกจับกุมแล้วที่บอสตันและนิวยอร์ก และคาดว่าจะต้องโทษจำคุกมากกว่า 20 ปี หากศาลตัดสินว่ามีความผิดจริง

 

ปัจจุบันกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังให้ความสำคัญกับการปราบปรามการฉ้อโกงและการประพฤติมิชอบในอุตสาหกรรมคริปโต 

 

อ้างอิง:

The post อดีตนักศึกษา MIT ตกเป็นผู้ต้องสงสัย ปล้น 1 พันล้านบาทภายใน 12 วินาที ผ่านช่องโหว่ Ethereum Blockchain appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. ประกาศโฉมหน้าผู้ชนะการเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชน 30 เขต ผ่าน Blockchain ครั้งแรกในไทย https://thestandard.co/children-and-youth-council-elections-16022024/ Sat, 17 Feb 2024 06:34:18 +0000 https://thestandard.co/?p=901048 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วานนี้ (16 กุมภาพันธ์) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกร […]

The post กทม. ประกาศโฉมหน้าผู้ชนะการเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชน 30 เขต ผ่าน Blockchain ครั้งแรกในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วานนี้ (16 กุมภาพันธ์) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงผลการเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชนเขตอย่างไม่เป็นทางการ หลังปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. จากการเลือกตั้งผ่าน D-vote ในระบบ Blockchain ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งสามารถรู้ผลทันทีหลังปิดหีบ  

 

ในการเลือกตั้งฯ มีผู้ยืนยันตัวตนทั้งสิ้น 10,301 คน และมาใช้สิทธิทั้งหมด 6,973 คน (ข้อมูล ณ เวลา 17.00 น.) โดยเขตดอนเมืองมีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 704 คน สำหรับผลการเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชนเขต 30 เขต มีดังนี้ 

 

  1. เขตพระนคร ฉัตรปวีณ์ รชตดำรงกุล
  2. เขตดุสิต เขมจิรา คเชนทร์ไพศาล
  3. เขตบางเขน พัชราภา ผายชำนาญ
  4. เขตบางกะปิ ธนกร ปลอดภัย
  5. เขตพระโขนง ชนินทร์ภพ สกุลโกศล
  6. เขตมีนบุรี จันทิมา บัวศรี
  7. เขตลาดกระบัง เอวาริณณ์ ฤกษ์ดี
  8. เขตสัมพันธวงศ์ ศุภกฤต ชัยนราพิพัฒน์
  9. เขตห้วยขวาง วันทนาพร รัตนพงษ์
  10. เขตคลองสาน นฤพงษ์ ทองบุญเลิศ
  11. เขตตลิ่งชัน ธัญภร แบบอย่าง
  12. เขตบางกอกน้อย กิติพงศ์ แซ่จาง
  13. เขตบางขุนเทียน ธาวิน คงประโยชน์
  14. เขตภาษีเจริญ รัชชานนท์ คำดี
  15. เขตหนองแขม ปิ่นณิชา ทองรอด
  16. เขตดินแดง ธีระศักดิ์ เรืองสา
  17. เขตบึงกุ่ม สิริภัสสร ศุขวินทุ
  18. เขตบางซื่อ เกษศิรินทร์ เทิดขวัญชัย
  19. เขตจตุจักร ปวริศา ด่านธำรงกูล และ ภัทรกร สุดมลทิน (มีคะแนนเท่ากันที่ 43 คะแนน)
  20. เขตบางคอแหลม อาริตา แสงปิน
  21. เขตประเวศ นุชรีย์ สุขเกษม
  22. เขตคลองเตย บัว ใหม่ตา
  23. เขตจอมทอง ธนกฤต แจ่มดวง
  24. เขตดอนเมือง จิรวุฒิ จั่นชาวนา
  25. เขตลาดพร้าว อชิร ด้วงหรุ่ม
  26. เขตวัฒนา สาริศา กำมะหยี่
  27. เขตบางแค วิชญาพร รักกสิกร
  28. เขตคลองสามวา ธัญชนก สว่างวงค์
  29. เขตบางนา ศิริชัย สมวงษา
  30. เขตบางบอน ปวิดา เม่นฉายา

 

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องเข้าคูหาเลือกตั้ง ไม่ต้องมีกระบวนการรับหีบ เปิดหีบ นับบัตรเลือกตั้ง และไม่ต้องมีการขนส่งบัตรเลือกตั้งไปนับ เป็นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเลือกตั้งให้โปร่งใส เป็นก้าวแรกของการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเลือกตั้ง ซึ่งต้องนำไปพัฒนาให้ต่อเนื่อง และขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ชนะการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการจากทุกเขต

 

สำหรับบทบาทของสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ผู้ดำรงตำแหน่งในสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร จะมีวาระการทำงาน 2 ปี โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นตัวแทนเด็กและเยาวชนในการสะท้อนปัญหา นโยบาย และผลประโยชน์ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน จากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ 

 

มีบทบาทและหน้าที่หลักๆ คือ 

 

  1. รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

 

  1. เป็นกระบอกเสียงในการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

 

  1. จัดกิจกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนภายในเขต จากงบประมาณและทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรร โดยมีงบประมาณโดยประมาณ 30,000-100,000 บาทต่อ 1 เขต

 

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ มีเขตที่เปิดเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 30 เขต ได้แก่

โซนกรุงเทพกลาง: ดินแดง, ดุสิต, พระนคร, สัมพันธวงศ์, ห้วยขวาง

โซนกรุงเทพเหนือ: จตุจักร, ดอนเมือง, บางเขน, บางซื่อ, ลาดพร้าว

โซนกรุงเทพใต้: คลองเตย, บางคอแหลม, บางนา, พระโขนง, วัฒนา

โซนกรุงเทพตะวันออก: คลองสามวา, บางกะปิ, บึงกุ่ม, ประเวศ, มีนบุรี, ลาดกระบัง

โซนธนบุรีเหนือ: คลองสาน, จอมทอง, ตลิ่งชัน, บางกอกน้อย

โซนธนบุรีใต้: บางขุนเทียน, บางบอน, ภาษีเจริญ, หนองแขม, บางแค

The post กทม. ประกาศโฉมหน้าผู้ชนะการเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชน 30 เขต ผ่าน Blockchain ครั้งแรกในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>