Blade Runner 2049 – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 27 Feb 2019 09:18:33 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Ryan Gosling กับการสร้างนิยามใหม่ของนักแสดงฮอลลีวูดที่ไม่ขอเดินตามใคร https://thestandard.co/ryan-gosling/ https://thestandard.co/ryan-gosling/#respond Sat, 11 Nov 2017 23:00:39 +0000 https://thestandard.co/?p=43907

Drake คือหนึ่งในแรปเปอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอด […]

The post Ryan Gosling กับการสร้างนิยามใหม่ของนักแสดงฮอลลีวูดที่ไม่ขอเดินตามใคร appeared first on THE STANDARD.

]]>

Drake คือหนึ่งในแรปเปอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล, The Weeknd คือคนที่ยอดเพลงถูกสตรีมมากกว่าห้าพันล้านครั้งปีที่แล้ว, จิม แคร์รีย์ คือนักแสดงตลกที่เรียกว่าเป็น ‘ตำนาน’, เซลีน ดิออน คือนักร้องสาวดิวาที่ยังขายตั๋วหมดทุกคอนเสิร์ต, จัสติน ทรูโด เป็นประธานาธิบดีแบบอย่างของโลกยุค 4.0, ส่วนอีกหนึ่งจัสตินอย่าง จัสติน บีเบอร์ ก็ไม่ต้องพูดเยอะเรื่องความสำเร็จ

     

ทำไมถึงต้องพูดถึงคนเหล่านี้? เหตุผลง่ายๆ พวกเขาคือชาวแคนาดาทั้งหมดที่ต่างเป็นตัวแปรสำคัญบนเวทีโลกในหลากหลายแขนง แต่ก็มีอีกหนึ่งคนที่ต้องพูดถึง นั่นก็คือ ไรอัน กอสลิง (Ryan Gosling) นักแสดงชายระดับแถวหน้าของฮอลลีวูดที่ผู้ชายหลายคนอยากเป็นเพื่อน ส่วนผู้หญิงทั่วโลกก็ได้ตั้งรูปเขาเป็นวอลล์เปเปอร์มือถือ และอยากถาม อีวา เมนเดส (Eva Mendes) ว่า “ชาติที่แล้วเธอทำบุญมาด้วยอะไร?”

 

รายการ The Mickey Mouse Club (ไรอันอยู่ซ้ายล่างติดกับบริตนีย์ สเปียร์ส)

 

 

ไรอัน กอสลิง เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1980 เมืองลอนดอน รัฐออนโตริโอ ประเทศแคนาดา คุณพ่อทำงานเป็นเซลขายกระดาษ ชีวิตในวัยเด็กของไรอันถือได้ว่ามีความซับซ้อนและมีความเคร่งครัด เพราะครอบครัวนับถือนิกายมอรมอนของศาสนาคริสต์ พอไปโรงเรียน ไรอันก็เจอปัญหาโดนกลั่นแกล้งจากเพื่อนๆ ทั้งยังเคยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) จนตอนหลังแม่เขาตัดสินใจสอนหนังสือไรอันเองที่บ้าน

     

แต่สิ่งที่ไรอันหลงรักและมีความสามารถคือการแสดงออก ซึ่งตอนอายุ 8 ขวบ ไรอันได้เริ่มทำงานเป็นนักร้องสมัครเล่นตามงานแต่งงาน ร้องคู่กับพี่สาวและคุณน้าที่เป็นเอลวิส เพรสลีย์ตัวปลอม พออายุ 12 ขวบ ไรอันก็ได้ไปออดิชันรายการวาไรตี้โชว์ The Mickey Mouse Club ของ Disney Channel และก็ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของรายการ ร่วมกับบริตนีย์ สเปียร์ส, คริสตินา อากีเลรา และจัสติน ทิมเบอร์เลก ในปี 1993 ด้วยความที่รายการถ่ายทำกันที่ Walt Disney World Resort ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ไรอันกับแม่จึงต้องย้ายมาที่นี่ ระหว่างนั้นไรอันกับจัสติน ทิมเบอร์เลกก็สนิทกันมาก จน 6 เดือนหลังของรายการ แม่ของจัสตินต้องเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย (Legal Guardian) ให้ไรอัน เพราะช่วงนั้นคุณแม่ของเขาต้องย้ายกลับไปทำงานที่ประเทศแคนาดา

     

พอรายการ The Mickey Mouse Club จบลง ไรอันกลับไม่ได้เลือกเส้นทางสายดนตรีทีนป๊อปเหมือนสมาชิกคนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย แต่เขาเลือกงานแสดง และสนใจจะเป็นนักแสดงเต็มตัว ไรอันเริ่มไปแสดงรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ทั้ง Goosebumps (1996) ที่ดัดแปลงจากหนังสือยอดฮิตของ R.L. Stine และซีรีส์เรื่อง Young Hercules (1998-1999) ที่ไปถ่ายทำไกลถึงประเทศนิวซีแลนด์ จนมาถึงช่วงหนึ่งที่ไรอันเจอปัญหาว่าผู้คนติดภาพลักษณ์การเป็นนักแสดงเด็กของเขา ทำให้พลาดบทบาทที่ดูโตเป็นผู้ใหญ่

 

The Notebook (2004)

Half Nelson (2006)

 

หลังปี 2000 เข้าสหัสวรรษใหม่ ไรอันก็วิวัฒนาการตัวเองและเริ่มโชว์ชั้นเชิงกับบทบาทที่เขาเลือกเล่น โดยไม่ได้เลือกไปทางหนังใหญ่ทุนหนาที่เป็นบันไดทางลัดสำหรับนักแสดงฮอลลีวูด (ซึ่งแน่นอนว่าพลาดก็ตกลงมาง่ายเช่นกัน) ในปี 2001 ไรอันเลือกรับบทนีโอนาซีเชื้อสายยิวในหนังเรื่อง The Believer พอปี 2002 ก็รับบทเป็นมือสังหารในหนัง Murder by Numbers ที่เล่นคู่กับ แซนดรา บูลล็อก ซึ่งทั้งคู่คบหากันในชีวิตจริงด้วย

     

ในปี 2004 ไรอันก็โชว์อีกมิติหนึ่งกับการเล่นเป็นพระเอกหนังโรแมนติกเรื่อง The Notebook คู่กับราเชล แม็กอาดัมส์ ที่ดัดแปลงจากหนังสือของนิโคลัส สปาร์ก หนังเรื่องนี้มาพร้อมฉากจูบในสายฝนสุดคลาสสิก และเป็นจุดเปลี่ยนในฐานะนักแสดงของไรอันที่ทำให้เขาเริ่มขยับจากปลายแถวของฮอลลีวูดมาอยู่หน้าแถวและเริ่มเป็นที่หมายปองในวงการ

     

แต่สิ่งที่น่าชื่นชม คือ พอจบเรื่อง The Notebook ไรอันกลับไม่ยอมเล่นเกมดั้งเดิมของฮอลลีวูด ด้วยการรับบทพระเอกหล่อและภูมิฐาน ย้ายไปอยู่บ้านใหญ่โตย่าน Bel-Air หรือรับเป็นพรีเซนเตอร์สินค้าทำเงินเป็นร้อยๆ ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไรอันกลับเลือกเล่นหนังทุนต่ำแค่ 700,000 เหรียญสหรัฐ เรื่อง Half Nelson ในปี 2006 กับบทบาทอาจารย์ที่มีอาการติดยา ซึ่งเรื่องนี้ไรอันก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์เป็นครั้งแรกในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

     

ส่วนในชีวิตจริง ไรอันก็เลือกใช้ชีวิตอยู่ย่าน Skid Row ที่ลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นหนึ่งในย่านที่ยากจนที่สุดและเต็มไปด้วยโฮมเลส โดยไรอันให้เหตุผลว่าเลือกที่จะอยู่แถวนี้เพราะรู้สึกว่าคนมีความจริงใจมากกว่า

 

La La Land (2016)

Drive (2011)

 

อีกอย่างหนึ่งที่ไรอันเลือกทำอยู่เสมอ คือ การใช้พลังชื่อเสียงของตัวเองไปในทางที่เป็นประโยชน์ แม้ว่าช่วงก่อนที่จะมาโด่งดังสุดๆ ในช่วง 6 ปีหลัง กับหนังเรื่อง La La Land, Crazy, Stupid, Love, Drive หรือ Blade Runner 2049 ไรอันเป็นนักแสดงที่รักสัตว์และเคยออกมาต่อว่า McDonald’s และ KFC ฐานะตัวแทนกลุ่มพิทักษ์สัตว์ Peta ต่อต้านเรื่องการนำไก่ที่ผ่านการฆ่าแบบผิดหลักการด้วยการใช้เครื่องถอนขน รวมถึงปัญหาต่างๆ ในประเทศทวีปแอฟริกาก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ไรอันมีส่วนช่วยเหลืออยู่ตลอด อาทิ การไปถ่ายทำสารคดีเรื่องผู้ลี้ภัย Darfur ในประเทศชาด ปี 2005 และการไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกกับองค์กร Enough Project เพื่อไปศึกษาผลกระทบของผู้รอดชีวิตจากสงครามในประเทศ

     

แต่ถ้าต้องเดาบทบาทที่ไรอันชื่นชอบที่สุดตลอดชีวิต ก็คือบทพ่อของลูกสาว 2 คน เอสเมอรัลดา อแมดา กอสลิง และอแมดา ลี กอสลิง ในชีวิตจริงของเขากับคู่ชีวิต อีวา เมนเดส นักแสดงสาวเชื้อสายคิวบา

     

ไรอันกับอีวาถือได้ว่าเป็นคู่ดาราฮอลลีวูดที่มีความส่วนตัวสูงสุดในวงการก็ว่าได้ เสิร์ชใน Google เราจะไม่เห็นรูปที่ครอบครัวนี้ถ่ายลงนิตยสารหรือลงในอินสตาแกรมตัวเอง (มีแต่รูปของเหล่าปาปารัซซีที่ไปแอบถ่ายลูกๆ) ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง เพราะในสมัยนี้ดาราเซเลบต่างมาร์เก็ตติ้งลูกตัวเองกันตั้งแต่ก่อนเกิด และทำเงินกันมหาศาล เห็นได้ตั้งแต่ แอนเจลินา โจลี กับ แบรด พิตต์ จนถึง บียอนเซ่ และ เจย์-ซี ที่เป็นเจ้าแม่การโปรโมตช่องทางอินสตาแกรม

     

แน่นอนว่าไรอันกับอีวาเป็นคนของประชาชน แต่ถ้ามองจริงๆ การที่พวกเขาเลือกที่จะไม่โปรโมตลูกตัวเองก็เหมือนเป็นการให้เกียรติลูกๆ เพราะเขาไม่ได้เลือกเกิดเป็นดารา และเขาก็ควรมีสิทธิ์เลือกเหมือนมนุษย์ทุกคนว่าอยากหรือไม่อยากออกสื่อ ซึ่งเราเชื่อว่าพอลูกๆ ของพวกเขาโตขึ้น และถ้าอยากทำงานวงการบันเทิง เราก็คงจะได้เห็นพวกเขาในที่สุด

     

สิ่งที่ทำให้ไรอันได้รับความนิยมมาโดยตลอด คือ เขาเป็นนักแสดงที่มีเปลือกหลายชั้นและผ่านช่วงชีวิตมาหลากหลายเหมือนมนุษย์ทุกคน ไรอันมีทั้งความแข็ง ตลก นุ่มนวล เซนซิทีฟอยู่ในตัว นั่นทำให้เขาเป็นนักแสดงที่ทำให้คนดูไม่เบื่อ และคิดล่วงหน้าไม่ได้ว่าจะเล่นบทอะไร

     

ในเดือนตุลาคมปีหน้า เราจะได้เห็นไรอัน กอสลิง ในหนังเรื่อง First Man ที่กำกับโดยเดเมียน ชาเซลล์ ผู้กำกับจาก La La Land หนังเล่าเรื่องราวการเดินทางไปดวงจันทร์ครั้งแรกของ นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศนาซาในยุค 60s นี่น่าจะเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่ช่วยส่งให้ไรอันโดดเด่นยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมฮอลลีวูด และเราก็น่าจะได้เห็น meme ต่างๆ ผุดขึ้นมาเป็นว่าเล่นว่า ‘Thank God for Ryan Gosling’

 

อ้างอิง:

The post Ryan Gosling กับการสร้างนิยามใหม่ของนักแสดงฮอลลีวูดที่ไม่ขอเดินตามใคร appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/ryan-gosling/feed/ 0
สตันท์ไปหลายวิ เมื่อสตันท์หลายชีวิตต้องเอาร่างเข้าแลกให้กับหนังเรื่องเดียว https://thestandard.co/beforebehindbetween-stuntman/ https://thestandard.co/beforebehindbetween-stuntman/#respond Mon, 21 Aug 2017 04:25:05 +0000 https://thestandard.co/?p=21462

     ความน่าตกใจขณะที่เสิร์ชหาเกร็ดเกี่ย […]

The post สตันท์ไปหลายวิ เมื่อสตันท์หลายชีวิตต้องเอาร่างเข้าแลกให้กับหนังเรื่องเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ความน่าตกใจขณะที่เสิร์ชหาเกร็ดเกี่ยวกับสตันท์แมนในกองถ่าย เราจึงได้รู้เรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันเยอะและถี่ขนาดนี้  
     ปี 2008 The Dark Knight ช่างกล้องสตันท์ในทีมต้องมุดหน้าต่างรถออกไปเพื่อแบกกล้องตามถ่ายรถของนักแสดงสตันท์ แต่เมื่อถึงจุดที่คนขับรถต้องหักเลี้ยวแบบ 90 องศาตามที่วางแผนกันไว้ เขากลับทำไม่สำเร็จ รถจึงวิ่งพุ่งชนต้นไม้ และทำให้ช่างกล้องคนนั้นเสียชีวิต  
     ปี 2012 Transformers: Dark of the Moon ตัวประกอบหญิงประสบอุบัติเหตุสายเคเบิลขาดและฟาดเข้าที่เข้ากระจกหน้ารถ ทำให้หัวของเธอกระแทกอย่างแรง ส่งผลให้ต้องผ่าตัดสมอง และสุดท้ายสมองของเธอก็เสียหายถาวร พร้อมกับการเป็นอัมพาตครึ่งซีก เธอได้รับค่าชดเชยจากสตูดิโอเป็นเงิน 18 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่สตูดิโออิดออดและหาทางเลี่ยงที่จะไม่จ่ายค่าเสียหาย ซึ่งโดยปกติ ค่าแรงของเธอในการมาเป็นตัวประกอบพร้อมขับรถตัวเองมาเข้าฉากนั้นได้รับเพียง 25 เหรียญสหรัฐต่อวัน
     ปี 2012 The Expendables 2 สตันท์แมนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุระเบิดบนเรือยางผิดพลาด ส่วนสตันท์แมนอีกคนอาการสาหัสจนต้องเข้ารับการผ่าตัด
     ปี 2012-2014 The Hobbit มีสัตว์เสียชีวิต 27 ตัวในการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากสภาพฟาร์มที่เก็บสัตว์เหล่านั้น เช่น ตกคูน้ำ เกี่ยวรั้ว โดนทิ้งไว้ทั้งๆ ที่ขาเจ็บ ฯลฯ
     ​ปี 2013 G.I. Joe: Retaliation ทีมงานเสียชีวิตจากการรื้อฉาก เนื่องจากนั่งร้านหัก
     ปี 2015 Star Wars: The Force Awakens ประตูไฮดรอลิกจากยานมิลเลนเนียมฟอลคอนหล่นใส่ แฮริสัน ฟอร์ด ขาหักไปเลย
     ปี 2017 Blade Runner 2049 ทีมงานเสียชีวิตจากการรื้อฉาก
     (ล่าสุด) ปี 2017 Deadpool 2 สตันท์แมนหญิงเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำ

 

Photo: www.etonline.com


     ​นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยๆ ที่เป็นข่าว ซึ่งเรายังไม่ได้นับอันที่ไม่เป็นข่าว ยังไม่ได้นับเคสที่ถูกบิดเบือนว่าอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากการถ่ายทำภาพยนตร์ และยังไม่นับอุบัติเหตุในหนังที่ไม่ดังต่างๆ อีกมากมาย ความน่าตกใจคือเบื้องหลังของการทำหนังระดับฮอลลีวูดที่เงินทุนสูงปรี๊ด ก็ยังมีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยต่างๆ ของทีมงานออกมาให้เห็นเป็นระยะๆ
     ความจริงแล้วกองถ่ายก็เป็นสถานที่ที่อันตรายมากจริงๆ นั่นแหละครับ ยังไม่ต้องไปถึงหนังแอ็กชันใหญ่ๆ เลยนะ เอาง่ายๆ เลยแค่ถ่ายฉากคนนั่งคุยกัน รอบๆ ตัวคนนั่งคุยกันก็เต็มไปด้วยอุปกรณ์มากมายที่หนักล้วนๆ เหล็กล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายหนัง ขาไฟ หรือตัวไฟเองที่บางครั้งมีขนาดใหญ่กว่าหัวคน ถ้าล็อกไม่ดีหรือ ปล่อยปละละเลย แค่มันหลุดร่วงลงมาใส่ เราก็มีสิทธิ์ตายได้ตลอดเวลา ความเสี่ยงแทบจะเท่ากับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ชีวิตพัวพันกับเครื่องจักรตลอดเวลาอยู่เหมือนกัน นอกจากนั้นยังไม่นับเรื่องความรีบในการทำงาน หรือความง่วงที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ และอาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ตลอดเวลาในโซนแห่งการถ่ายทำ (นี่เขียนไปเขียนมา เหมือนเขียนถึงเขตก่อสร้างแล้วนะ)
     ถอยกลับไปสมัยก่อนยุค 1920 การทำหนังนั้นอันตรายมากๆ ไม่มีระบบเซฟตี้ใดๆ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุในการถ่ายทำหนังเรื่อง Noah’s Ark ที่ให้คนไปอยู่ในแท็งก์น้ำ แต่หน่วยที่เทน้ำใส่เข้าไปนั้นเทเร็วเกินไป จำนวนน้ำ 15,000 แกลลอนทำให้คน 3 คนจมน้ำตาย อีกคนเสียขาไป และอีกหลายคนบาดเจ็บสาหัส กฎหมายเรื่องความปลอดภัยในกองถ่ายจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนนั้น แต่การบาดเจ็บล้มตายของผู้คนก็ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ

     จนกระทั่งเหตุการณ์ในปี 1982 ที่เฮลิคอปเตอร์ในการถ่ายทำหนังเรื่อง The Twilight Zone เกิดเพลิงลุกไหม้จากเทคนิคไฟ ทำให้นักแสดงตาย 1 คน พร้อมด้วยนักแสดงเด็กอายุ 6-7 ขวบอีก 2 คน อุบัติเหตุนี้ทำให้สาธารณชนเริ่มซีเรียสและตั้งคำถามกับความปลอดภัยในกองถ่ายขึ้นอย่างกว้างขวาง

 

Photo: www.telegraph.co.uk


     จากสถิติที่วัดกันในอเมริกา สรุปคร่าวๆ ออกมาได้ว่า ทุกๆ ปีจะมีคนตายจากการถ่ายทำภาพยนตร์อย่างน้อย 1 คน ฟังดูเหมือนน้อย แต่เราก็คิดว่าไม่มีช็อตหรือซีนไหนคุ้มค่าต่อชีวิตคนหนึ่งคนหรอกครับ หลายๆ ครั้งผู้กำกับต้องบาลานซ์ความต้องการตัวเองกับความปลอดภัยหรือความเป็นไปได้ในการทำให้เกิดซีนนั้นขึ้นมา (ส่วนตัวคิดว่าเป็นหนึ่งในหน้าที่เลยด้วยซ้ำ) เพราะบางครั้งมันไม่คุ้มจริงๆ ต่อให้ช็อตนั้นถ่ายออกมาสวยแค่ไหน แต่ถ้ามันได้มาด้วยชีวิตคนก็คงไม่สวยอีกต่อไป หรือไม่อย่างนั้นเราก็ต้องเตรียมตัวมาอย่างดี คิดค้นระบบเซฟตี้ที่จะเซฟชีวิตคนทำงานหรือบรรดาสตันท์แมน และบางครั้งก็ต้องคิดถึงบรรดาตัวประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่บางทีเราอาจจะมองข้ามเขาไป เพียงเพราะ ‘เขายืนอยู่ไกลๆ มองไม่เห็น’

     ​เอาจริงๆ ยังไม่ต้องคุยไปถึงตัวประกอบเลยครับ บรรดาดาราบิ๊กเนมที่ทุกคนต้องคอยรักษาชีวิตไม่ให้ตายก่อนถ่ายหนังจบเนี่ย แต่ละคนก็โดนอะไรจากการถ่ายทำไปไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น ลินดา แฮมิลตัน จาก Terminator 2 หรือ บรูซ วิลลิส จาก Die Hard ที่มีปัญหาในการได้ยิน เพราะตอนถ่ายฉากยิงกันไม่มีอะไรปิดหู หรือ เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ก็เคยเกือบสำลักควันตายจากการถ่าย The Hunger Games และยังมีอีกหลายคนที่มีปัญหากับการแพ้เครื่องสำอางเมื่อต้องแต่งหน้าเป็นสัตว์ประหลาดต่างๆ รวมถึงการสูดดมสารเคมีที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเอฟเฟกต์ ขนาดดาราใหญ่ยังหนีไม่พ้น บรรดาสตันท์แมนมืออาชีพต่างๆ นี่ยังไงก็ไม่รอด เป็นยิ่งกว่าหน้าด่าน โดนเต็มๆ ไม่ว่างานจะอันตรายแค่ไหนก็ต้องยอมเสี่ยงรับด้วยสาเหตุง่ายๆ เพราะเรื่องเงินและกลัวตกงาน จะมาทำป๊อดหรือไม่มีสปิริตนักแสดงเหรอ ไปโน่นเลย ไปทำอาชีพอื่น แต่ที่หนักสุดคือหลายๆ ครั้งเวลาเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น บรรดาโปรดิวเซอร์จะพยายามบล็อกทุกคนไม่ให้แพร่งพรายเรื่องนี้กับสื่อมวลชน และพยายามจะกลบเรื่องราวนี้ให้เงียบเร็วที่สุด
     ​ความเศร้าที่สุดคือ บรรดาคนทำงานในกองถ่ายหลายๆ คนก็ยังคงยอมเล่นเกมแห่งความไม่ปลอดภัยนี้ต่อไป เพราะกลัวว่ากองถ่ายหนังจะบินออกไปถ่ายนอกประเทศ แทนที่จะถ่ายหนังในอเมริกา เพราะมีกฎยุ่งยากเหล่านี้เกิดขึ้นมากมาย แฮริสัน ฟอร์ด ที่ขาหักจากยานมิลเลนเนียมฟอลคอนของเขาก็ยังต้องรีบกลับมาถ่ายหนังให้เสร็จโดยเร็วที่สุด เพราะเดี๋ยวฉายไม่ทัน ทีมงานคนหนึ่งที่เคยประสบอุบัติเหตุ แต่รอดชีวิตมาได้บอกว่า ไม่มีใครถามเขาสักคนว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีแต่ถามว่าเมื่อไรจะกลับมาทำงานต่อได้ คือเข้าใจไหม ยังไงๆ เดอะโชว์ก็มัสต์โกออน
     เรื่องเหล่านี้มันทำให้เราต้องตั้งคำถามกับนิยามของคำว่า ‘สปิริตแห่งการทำงาน’ ใหม่กันอีกครั้งจริงๆ

The post สตันท์ไปหลายวิ เมื่อสตันท์หลายชีวิตต้องเอาร่างเข้าแลกให้กับหนังเรื่องเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/beforebehindbetween-stuntman/feed/ 0