AstraZeneca – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 14 Jun 2024 06:16:27 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 แอสตร้าเซนเนก้าเผยแผนลงทุน 6.2 พันล้านบาทในไทย 3 ปี ร่วมมือรัฐบาลดูแลสุขภาพคนไทย https://thestandard.co/astrazeneca-is-cooperating-with-the-government/ Fri, 14 Jun 2024 06:16:27 +0000 https://thestandard.co/?p=945180

วันนี้ (14 มิถุนายน) ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐม […]

The post แอสตร้าเซนเนก้าเผยแผนลงทุน 6.2 พันล้านบาทในไทย 3 ปี ร่วมมือรัฐบาลดูแลสุขภาพคนไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (14 มิถุนายน) ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา โรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าเยี่ยมคารวะ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยได้หารือในประเด็นเพื่อขยายความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ดังนี้ 

 

นายกรัฐมนตรีขอบคุณแอสตร้าเซนเนก้าในความร่วมมือและความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเป็นผู้สนับสนุนการวิจัยทางคลินิก (Clinical Trials) อันดับหนึ่งของไทย ซึ่งรัฐบาลพร้อมร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านชีวการแพทย์และการพัฒนาเพื่อป้องกันรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย รวมทั้งการจ้างงานและพัฒนาทักษะแรงงานไทย 

 

ด้านรามอสระบุว่า บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนการลงทุนและความร่วมมือระยะเวลา 3 ปี (2567-2569) เป็นจำนวนเงิน 6.2 พันล้านบาทในประเทศไทย และยืนยันว่าจะขยายกิจการสนับสนุนความก้าวหน้าด้านสุขภาพในไทย พร้อมกันนี้ยังได้ชื่นชมวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศไทย ซึ่งบริษัทฯ มีกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่มุ่งมั่นผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Wellness and Medical Hub ในภูมิภาค 

 

ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนไทยเสียชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 4 แสนคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องการส่งเสริมความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงการรักษาโรคเพื่อดูแลคนไทย และหวังว่าจะได้ร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมกับบริษัทฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องคนไทย

The post แอสตร้าเซนเนก้าเผยแผนลงทุน 6.2 พันล้านบาทในไทย 3 ปี ร่วมมือรัฐบาลดูแลสุขภาพคนไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
แพทย์เชียงใหม่เผย ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จาก วัคซีนโควิด พบได้เพียงช่วง 1-2 สัปดาห์หลังฉีด https://thestandard.co/chatri-blood-clots-covid-vaccines/ Thu, 02 May 2024 03:51:06 +0000 https://thestandard.co/?p=928954 แพทย์เชียงใหม่เผย ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จาก วัคซีนโควิด พบได้เพียงช่วง 1-2 สัปดาห์หลังฉีด

วานนี้ (1 พฤษภาคม) รศ.ดร.นพ.ชาตรี ชัยอดิศักดิ์โสภา อาจา […]

The post แพทย์เชียงใหม่เผย ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จาก วัคซีนโควิด พบได้เพียงช่วง 1-2 สัปดาห์หลังฉีด appeared first on THE STANDARD.

]]>
แพทย์เชียงใหม่เผย ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จาก วัคซีนโควิด พบได้เพียงช่วง 1-2 สัปดาห์หลังฉีด

วานนี้ (1 พฤษภาคม) รศ.ดร.นพ.ชาตรี ชัยอดิศักดิ์โสภา อาจารย์หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลกรณีบริษัทแอสตร้าเซนเนก้ายอมรับว่า วัคซีนโควิด มีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดและเกล็ดเลือดต่ำว่า มีรายงานภาวะลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำ (VITT) หลังฉีดวัคซีนโควิดอยู่ 2 ชนิด โดยกลไกที่ทำให้เกิดภาวะ VITT เพราะองค์ประกอบของวัคซีนบางส่วนที่ทำให้ร่างกายผู้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาแล้วไปกระตุ้นเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำ

 

อุบัติการณ์ทั่วไปพบได้ 1:100,000 ในกลุ่มประชาชนทั่วไป พบน้อยมากในกลุ่มผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปี) มีเพียง 1:1,000,000 ของประชากรที่ฉีดวัคซีน และในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 55 ปี พบได้ 1:50,000 มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 

 

สำหรับอาการมักเกิดใน 1-2 สัปดาห์หลังจากฉีดเข็มแรก แต่ยังสามารถพบได้ภายใน 30 วันหลังฉีด โดยอาการขึ้นอยู่กับว่าลิ่มเลือดอุดตันที่อวัยวะใด พบบ่อยที่สุดบริเวณหลอดเลือดดำของสมอง รองลงมาคือในหลอดเลือดดำในท้อง ส่วนบริเวณอื่นๆ พบได้น้อยกว่า 

 

การวินิจฉัยประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ ต้องมีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หากสงสัยจะส่ง CT Scan ต้องมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ และมีการสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านเกล็ดเลือดของตนเอง การรักษาจะให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และยับยั้งการสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติด้วยการให้ยา Intravenous Immunoglobulin (IVIG)

 

ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังจากการออกมายอมรับของบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนแล้ว จะเริ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post แพทย์เชียงใหม่เผย ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จาก วัคซีนโควิด พบได้เพียงช่วง 1-2 สัปดาห์หลังฉีด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครม. อนุมัติให้กรมควบคุมโรคนำวัคซีนโควิดฉีดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ค่าบริการส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดิน https://thestandard.co/cabinet-approved-foriegn-covid-vaccine/ Tue, 14 Mar 2023 11:53:19 +0000 https://thestandard.co/?p=762886 วัคซีนโควิด

วันนี้ (14 มีนาคม) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักน […]

The post ครม. อนุมัติให้กรมควบคุมโรคนำวัคซีนโควิดฉีดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ค่าบริการส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
วัคซีนโควิด

วันนี้ (14 มีนาคม) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ซึ่งเป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60 ล้านโดส (AstraZeneca) ปี 2565 โดยการปรับลดราคาวัคซีนตามโครงการเหลือ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ส่งผลให้วงเงินตามโครงการลดลงเหลือ 18,382.46 ล้านบาท (เดิม 18,639.10 ล้านบาท) และปรับเพิ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นกลุ่มเป้าหมายตามโครงการด้วย

 

รวมถึงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการจัดหาวัคซีนโควิดสำหรับประชากรในประเทศไทยจำนวน 30 ล้านโดส (Pfizer) ปี 2565 โดยปรับเพิ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากสิ้นสุดธันวาคม 2565 เป็นกันยายน 2566

 

ไตรศุลีกล่าวว่า ครม. ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรค ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการทั้ง 2 โครงการ นำส่งรายได้จากการให้บริการวัคซีนแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เฉพาะส่วนของค่าวัคซีนโควิด เป็นรายได้แผ่นดินภายใต้ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาช่วยชำระคืนเงินกู้ ซึ่งจะช่วยลดภาระงบประมาณในการชำระหนี้ของภาครัฐได้ต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประชาสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบริการจัดการวัคซีนให้เกิดการใช้ประโยชน์คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

The post ครม. อนุมัติให้กรมควบคุมโรคนำวัคซีนโควิดฉีดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ค่าบริการส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาพลักษณ์ของวัคซีน: บทเรียนราคาแพงของการสื่อสารด้านสุขภาพ https://thestandard.co/expensive-lessons-in-health-communication/ Thu, 09 Feb 2023 10:39:48 +0000 https://thestandard.co/?p=748112

วัคซีนหลากหลายยี่ห้อได้รับการอนุมัติในช่วงเวลาไม่นานนัก […]

The post ภาพลักษณ์ของวัคซีน: บทเรียนราคาแพงของการสื่อสารด้านสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วัคซีนหลากหลายยี่ห้อได้รับการอนุมัติในช่วงเวลาไม่นานนักในหลายประเทศทั่วโลก หลังจากการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่องยาวนานตลอดปีและการทดลองทางคลินิกตัวอย่างวัคซีนโควิดนับครั้งไม่ถ้วน 

 

ในเดือนธันวาคมปี 2563 จีนเริ่มอนุมัติให้ใช้วัคซีน Sinopharm สำหรับการใช้งานทั่วไป สหราชอาณาจักรเริ่มอนุมัติวัคซีน Pfizer และ AstraZeneca สำหรับการใช้งานฉุกเฉิน และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ยาวไปถึงเดือนมิถุนายนในปีถัดมา องค์การอนามัยโลกก็ได้ทยอยอนุมัติวัคซีน 6 ยี่ห้อสำหรับการใช้งานฉุกเฉิน 

 

แน่นอนว่าการที่บริษัทต่างๆ สามารถผลิตวัคซีนโควิดออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็วจะช่วยคลายความกังวลใจในวงการแพทย์ไปได้บ้าง แต่การมีวัคซีนโควิดหลากหลายชนิดก็สร้างความสับสนให้กับประชาชนทั่วไปอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในเรื่องการแบ่งแยกวัคซีนที่ ‘ดี’ หรือ ‘ดีกว่า’ ออกจากวัคซีนที่ ‘แย่’ หรือ ‘แย่กว่า’ การสื่อสารที่ชัดเจนเรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ของวัคซีนแต่ละประเภทจึงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับรัฐบาลของทุกประเทศในการรับมือกับโรคระบาดครั้งนี้อย่างมีประสิทธิผล ไม่เช่นนั้นแล้วความสับสนในเบื้องต้นก็อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ในภายหลังซึ่งอาจจะกลายเป็นอุปสรรคต่องานด้านสาธารณสุข เช่น การนำเข้าวัคซีนบางยี่ห้อมากหรือน้อยเกินไป (Oversupply/Undersupply) หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดความลังเลใจของประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีน (Vaccine Hesitancy)

 

การสื่อสารทัศนคติผ่านคำพูด

บทความนี้หยิบยกกรอบการวิจัยที่ชื่อว่า ‘อะเพรเซิล’ (Appraisal) ออกแบบโดย เจมส์ มาร์ติน และ ปีเตอร์ ไวต์ สองนักภาษาศาสตร์เชิงหน้าที่ (Functional Linguistics) 

 

กรอบการวิจัยนี้มองเห็นภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงทัศนคติต่างๆ ทั้งในแง่บวกและในแง่ลบ มีการแบ่งวิธีการแสดงทัศนคติออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

 

  1. การแสดงอารมณ์ความรู้สึก (Affect) เช่น อารมณ์ที่รู้สึกกลัว/มั่นใจ

 

  1. การประเมินคุณค่าของสิ่งของและการกระทำ (Appreciation) เช่น วัคซีนดี/ไม่ดี

 

  1. การตัดสินลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมของคน (Judgement) เช่น คนที่มีความรับผิดชอบ/สะเพร่า

 

นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับระดับของทัศนคติที่แสดงออกมาด้วยการใช้คำที่มีน้ำหนักแตกต่างกันผ่านคำขยายชนิดต่างๆ เช่น เมื่อกล่าวถึงวัคซีน ‘ที่ดี’ เราอาจเลือกเพิ่มหรือลดน้ำหนักการประเมินคุณค่าเชิงบวกนี้ผ่านคำพูดว่า วัคซีนนี้มีประโยชน์ ‘อย่างยิ่ง’ แทนที่จะบอกว่า ‘ค่อนข้าง’ มีประโยชน์ หรือในบางครั้งเราอาจจะเลือกพูดว่าวัคซีนชนิดนี้ ‘ส่วนใหญ่’ มีประสิทธิผลดี แทนที่จะพูดว่า วัคซีนนี้มีประสิทธิผลดี ‘บ้างในบางครั้ง’ น้ำหนักของการประเมินคุณค่าที่แตกต่างกันอาจจะแสดงผ่านคำขยายเชิงปริมาณที่บ่งชี้ถึงจำนวนที่แตกต่าง เช่น วัคซีนนี้มีประโยชน์ ‘หลากหลาย’ ที่ฟังดูแล้วมีน้ำหนักมากกว่าบอกว่า วัคซีนนี้มีประโยชน์ ‘2-3 ประการ’ หรือการใช้คำขยายที่บ่งชี้ขอบเขต เช่น วัคซีนนี้มีประโยชน์ ‘ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น’ หรือใช้คำขยายที่กำหนดขอบเขตด้วยลักษณะร่วมบางประการ เช่น วัคซีนชนิดนี้ ‘ส่งผลดีต่อประชากรทุกเพศทุกวัย’ ในขณะที่วัคซีนอีกประเภทหนึ่งมีประสิทธิผลดีกับประชากรที่ ‘มีอายุมากกว่า 60 ปี’ เท่านั้น

 

ในการสื่อสารคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้วัคซีนโควิดนั้น รัฐบาลแต่ละประเทศจำเป็นต้องใช้ภาษาในการประเมินคุณค่าทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเพื่อสื่อสารข้อมูลกับประชาชน ตัวอย่างเช่น การใช้คำว่า ‘ผลประโยชน์’ หรือ ‘การปกป้อง’ เพื่อเน้นคุณค่าในเชิงบวก หรือการใช้คำว่า ‘ความเสี่ยง’ หรือ ‘ผลข้างเคียง’ เพื่อเน้นคุณค่าเชิงลบ ในขณะเดียวกันก็ใช้คำขยายในระดับต่างๆ เพื่อปรับระดับการประเมินคุณค่าทั้งในเชิงบวกและลบ ในการสื่อสารเรื่องความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้อย่างสมดุล เรื่องนี้นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างมากต่อการรับรู้ของผู้คน โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์โรคระบาดกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

 

ในบทความนี้ ผู้เขียนทั้งสองคนขอนำเสนอข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบการใช้ภาษาแสดง ‘การประเมินคุณค่า’ (Appreciation) รูปแบบต่างๆ ที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลียใช้ในการสื่อสารเกี่ยวกับวัคซีนโควิดกับประชาชนอย่างเป็นทางการ แถลงการณ์ของรัฐบาลที่เราหยิบยกมาพูดคุยกันในบทความนี้ล้วนเป็นเนื้อหาหลักของการสื่อสารด้านสาธารณสุข เช่น ประกาศหรือคำแนะนำจากทางการ ซึ่งนักการเมืองและสื่อมวลชนแขนงต่างๆ มักนำไปอ้างอิงต่ออย่างกว้างขวาง ตัวอย่างของประเทศไทยที่เราหยิบยกมาใช้ในการวิเคราะห์คือแถลงการณ์คำแนะนำด้านสาธารณสุขจากหน่วยงานและบุคลากรของรัฐระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน 2564 ส่วนตัวอย่างของออสเตรเลียนั้นหยิบยกมาจากแถลงการณ์ต่อสาธารณะของกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของรัฐบาลออสเตรเลีย (Australian Technical Advisory Group on Immunisation: ATAGI) เกี่ยวกับการใช้วัคซีน AstraZeneca และวัคซีน Pfizer ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกัน 

 

‘วัคซีนที่ดีที่สุด’ ของไทย

ประชาชนไทยเริ่มตื่นตัวกับโควิดตั้งแต่ตรวจพบผู้ติดเชื้อรายแรกของประเทศที่เป็นผู้เดินทางจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในวันที่ 12 มกราคม 2563 อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกมาให้ความมั่นใจกับประชาชนอย่างหนักแน่นในวันที่ 25 มกราคม 2563 ว่าโควิดเป็นเพียงแค่ ‘โรคหวัดโรคหนึ่ง’ แต่ทว่าหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน มหากาพย์แห่งการระบาดของโรคโควิดภายในประเทศไทยก็เริ่มต้นขึ้นจากการตรวจพบผู้ติดเชื้อรายแรกในประเทศเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 ตามด้วยการระบาดตามกลุ่มคลัสเตอร์ขนาดใหญ่อีกหลายระลอก

 

ในช่วงปีแรกของการระบาดในประเทศไทยในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนประกาศใช้ บุคคลในรัฐบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้มีอำนาจในการสั่งการต่างพยายามสร้างขวัญและกำลังใจให้ประชาชนที่กำลังตื่นตระหนกจากโรคอุบัติใหม่นี้ผ่านกลวิธีการสื่อสารตามแนวทางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ออกมาเน้นย้ำให้ประชาชนมั่นใจอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม 2563 ว่าประเทศไทยพร้อมรับมือกับการระบาดในครั้งนี้เพราะ ‘โควิดกระจอก’ ในช่วงเดียวกันนี้เองสื่อของรัฐบาลก็นำคำว่า ‘วัคซีน’ มาเล่นคำ เพื่อกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัคซีนในเชิงอุปมาว่าเป็น ‘เครื่องมือป้องกันโรค’ ที่ดียิ่งกว่าวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การใช้ช้อนกลาง หรือแม้กระทั่งการนำมาใช้ในเชิงนามธรรม เช่น ‘วัคซีนใจในชุมชน’ ที่หมายถึงมาตรการที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมมือร่วมใจกันในการรับมือกับวิกฤตโรคระบาด

 

หน้ากากคือวัคซีนป้องกันโควิดที่ดีที่สุด (ศูนย์ข้อมูล COVID-19, 28 กันยายน 2563)

 

วัคซีนที่ดีที่สุดของประเทศตอนนี้คือ สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ ใช้ช้อนกลางส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ๆ (กรมอนามัย, 20 ธันวาคม 2563)

 

วาทกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดอย่างหนักของโควิด และเป็นช่วงเวลาวิกฤตที่รัฐบาลนานาประเทศต่างก็พยายามอย่างแข็งขันที่ระดมสรรพกำลังทั้งในเชิงงบประมาณและพลังการต่อรองทางการทูตเพื่อจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพให้กับประชาชนของตนได้ทันท่วงที วาทกรรมของรัฐบาลไทยที่พยายามทำให้คนเข้าใจว่าโควิดเป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงและไม่มีความจำเป็นต้องใช้วัคซีนอย่างเร่งด่วน รวมถึงการยกระดับคุณค่าให้สิ่งที่ไม่ใช่วัคซีนมีคุณค่ามากกว่าวัคซีนผ่านวาทกรรมเช่น ‘วัคซีนที่ดีที่สุด’ ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรงในหมู่ประชาชนชาวไทย ความไม่พอใจเหล่านี้เองที่ทำให้ประชาชนจำนวนมาก ฝังใจว่ารัฐไทยมิได้ความจริงใจในการจัดหาวัคซีนที่เหมาะสมให้กับประชาชนมาตั้งแต่ต้น

 

รัฐบาลเริ่มเปลี่ยนท่าทีมาสนับสนุนการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิดหลังจากที่วัคซีน Sinovac จำนวน 2 แสนโดส เดินทางมาถึงประเทศไทยเป็นล็อตแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 มีการออกประกาศเน้นย้ำถึงความปลอดภัยของวัคซีนเชื้อตายเพื่อจูงใจให้คนเข้ารับการฉีดวัคซีน บุคลากรทางการแพทย์ที่มีตำแหน่งสำคัญหลายคน เช่น นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างพร้อมใจกันออกแถลงการณ์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยืนยันความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนเชื้อตาย

 

เมื่อมองผ่านเลนส์ของกรอบการวิจัย ‘อะเพรเซิล’ (Appraisal) ดังที่กล่าวไปข้างต้นก็จะเห็นได้ว่า คำพูดของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลใช้ในการแถลงการณ์เพื่อให้ข้อมูลและชักจูงใจให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนล้วนแล้วแต่ใช้ภาษาที่การันตีคุณค่าในเชิงบวกของวัคซีน Sinovac ที่เพิ่งนำเข้ามาจากประเทศจีนในช่วงเวลานั้นในระดับสูงมาก เช่น การขอให้ประชาชน ‘มั่นใจ’ ในประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทย พร้อมทั้งฟันธงรับรองคุณสมบัติของวัคซีนว่าสามารถ ‘ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%’ และมี ‘ประสิทธิภาพไม่แตกต่าง’ จากวัคซีน Moderna หรือ Pfizer

 

“จะพบว่าไม่ว่าวัคซีนที่ใช้ในยุโรป อเมริกา หรือไทย ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% ไม่ว่าจะเป็น Sinovac หรือ AstraZeneca ก็ป้องกัน 100% แม้อเมริกันจะฉีดของ Moderna หรือ Pfizer แต่ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันเลย จึงขอให้มั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทย”

 

ในขณะที่สื่อรายงานข่าวแทบทุกวันว่ามีผู้ที่ได้รับวัคซีนเสียชีวิตทั้งจากโควิดและจากอาการข้างเคียงของวัคซีนที่ฉีดเป็นจำนวนมาก การใช้ภาษาแบบฟันธงเพื่อรับรองประสิทธิภาพของวัคซีนในระดับสูงเช่นนี้ ทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความกังขาข้องใจกับข้อมูลทางการแพทย์ดังกล่าว และข้อกังขาเหล่านี้เองก็นำไปสู่ความเสี่ยงที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากรัฐบาลและกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดแต่ละชนิดเริ่มชัดเจนขึ้นในสังคมโลกในเวลาต่อมา

 

ในขณะเดียวกัน การกล่าวรับรองประสิทธิภาพของวัคซีนผ่านระดับการให้คุณค่าที่คลุมเครือจากรัฐบาลและกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นตัวแทนของรัฐบาล ก็ทำให้เกิดปัญหาในการตีความและสร้างความสับสนกับประชาชนได้ไม่น้อย เช่น นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกมาแถลงกับประชาชนว่า ทั้งวัคซีน Sinovac และวัคซีน AstraZeneca ‘ถือเป็นวัคซีนที่ดี ใช้การได้’ และ ‘มีประสิทธิภาพพอสมควร’ การให้คุณค่าแบบครึ่งๆ กลางๆ โดยไม่ระบุระดับความเสี่ยงที่แน่ชัดเช่นนี้ก็ทำให้ผู้ฟังตีความได้ว่าวัคซีนทั้งสองชนิดนี้เป็นวัคซีนที่ ‘พอใช้ได้’ และอาจจะลดระดับไปถึงขั้น ‘ไม่ดีพอ’ เมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดอื่นๆ

 

“วัคซีนที่ดี ณ เวลานี้ คือวัคซีนที่มาถึงแขนทุกท่านเร็วที่สุด เพราะฉะนั้นวัคซีนที่ อย. ได้พิจารณาทบทวนคุณภาพความปลอดภัย ประสิทธิภาพแล้ว ขึ้นทะเบียนแล้ว ถือเป็นวัคซีนที่ดี ใช้การได้”

 

การสื่อสารที่สร้างความสับสนปนความสงสัยในความจริงใจของรัฐบาลมีขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา โดยเฉพาะหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ Sinovac เป็นวัคซีนหลักของประเทศไทยในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปถึงปลายเดือนตุลาคม 2564 ประชาชนไทยได้รับข้อมูลและคำแนะนำทางการแพทย์ทั้งจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 (ศบค.) กรมควบคุมโรค และสื่อต่างๆ ของรัฐที่พร้อมใจกันนำเสนอข้อมูลด้านลบ (Negative Appreciation) ของการฉีดวัคซีนแบบ mRNA ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นประเทศไทยก็ยังไม่สามารถจัดหาวัคซีนประเภทนี้ให้ประชาชนได้เพราะปัญหาด้านการบริหารและการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล จนเกิดการล้อเลียนวาทกรรมของรัฐอย่างกว้างขวาง เช่น ‘วัคซีนที่ดีคือวัคซีนที่ (ไทยไม่) มี’

 

 

ความสับสนจากวาทกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลสร้างขึ้นตั้งแต่โควิดเริ่มระบาดไปจนถึงสถานการณ์และบริบททางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการทดสอบประสิทธิภาพการใช้วัคซีนที่แตกต่างกันในประเทศต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง การใช้วาทกรรมที่ผิดพลาดในการประเมินคุณค่าและความเสี่ยงของวัคซีนทำให้ประชาชนไทยจำนวนมากสูญเสียความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการโควิดและการจัดหาวัคซีนที่เหมาะสมของรัฐบาล นอกจากนั้น การที่สื่อของรัฐพยายามเน้นย้ำคุณค่าในเชิงลบของวัคซีน mRNA ในช่วงที่ไทยยังจัดหาให้ประชาชนไม่ได้ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนไทยบางส่วนเกิดความลังเลใจในการเข้ารับการฉีดวัคซีนชนิดนี้เมื่อวัคซีนมาถึง แม้ว่าผลการทดสอบในประเทศอื่นๆ จะบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าวัคซีน mRNA มีประสิทธิภาพดีกว่าวัคซีนเชื้อตายก็ตาม

 

การให้คุณค่าของวัคซีนที่ขัดแย้งกันเองในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงปัญหาในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลที่ไม่สามารถทำได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทำให้เกิดทัศนคติการจัดลำดับวัคซีนในการรับรู้ของประชาชนที่มีทั้ง ‘วัคซีนที่ดีที่สุด’ ‘วัคซีนที่พอใช้ได้’ และ ‘วัคซีนที่แย่’ การจัดลำดับวัคซีนเหล่านี้นำไปสู่ปรากฏการณ์การใช้ ‘วัคซีนสูตรไขว้’ เพื่อให้ร่างกายได้รับ ‘วัคซีนที่ดีที่สุด’ เท่าที่รัฐจะจัดหามาได้ในแต่ละช่วงเวลา จนสุดท้ายประชาชนชาวไทยก็ได้รับ ‘วัคซีนเต็มแขน’ ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเคยลั่นวาจาไว้

 

ว่าด้วยความสับสนจากแถลงการณ์ของรัฐบาลออสเตรเลีย

ในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมปี 2564 กลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของรัฐบาลออสเตรเลีย หรือเรียกสั้นๆ ว่า ATAGI ได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับการใช้วัคซีนโควิด AstraZeneca และ Pfizer ออกมา 3 ฉบับ ฉบับแรกที่ประกาศในเดือนเมษายนเป็นคำแนะนำให้ใช้วัคซีน AstraZeneca ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ต่อมาในเดือนมิถุนายนได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 โดยปรับแก้อายุกลุ่มประชากรผู้รับวัคซีน AstraZeneca เพิ่มจาก 50 ปีขึ้นไป เป็น 60 ปีขึ้นไป โดยประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปีทุกคนให้ใช้วัคซีน Pfizer แทน ส่วนแถลงการณ์ฉบับสุดท้ายที่ออกมาในเดือนกรกฎาคมถือเป็นฉบับที่พลิกคำแนะนำที่เคยให้ไว้ใน 2 ฉบับก่อนจากหน้ามือเป็นหลังมือ โดยแนะนำให้กลุ่มประชากรผู้ใหญ่ทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในรัฐนิวเซาท์เวลส์สามารถเลือกฉีดวัคซีนได้ทั้ง AstraZeneca และ Pfizer เนื่องจากการระบาดที่รุนแรงขึ้นของโควิด

 

 

ในประกาศฉบับแรกของ ATAGI ที่กำหนดอายุผู้รับวัคซีน AstraZeneca ไว้ที่กลุ่มประชากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะเห็นวิธีการใช้คำที่ประเมินคุณค่าในเชิงลบ (Negative Appreciation) ของการติดเชื้อโควิดในกลุ่มประชากรสูงอายุพร้อมๆ กับการยกระดับคุณค่าในเชิงบวก (Positive Appreciation) ของการได้รับวัคซีน AstraZeneca เพื่อชักจูงใจให้ประชากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปเข้ารับการฉีดวัคซีนดังกล่าว

 

This recommendation is based on the increasing risk of severe outcomes from COVID-19 in older adults (and hence a higher benefit from vaccination)…

 

คำแนะนำนี้อิงจากความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นที่จะเกิดผลตามมาที่รุนแรงจากโควิดในผู้สูงอายุ (ดังนั้นประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนก็มีมากยิ่งขึ้น)

 

ในทางตรงกันข้าม เมื่อสื่อสารกับกลุ่มประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี รัฐบาลกลับมุ่งเน้นการสื่อสารเรื่องความเสี่ยงจากวัคซีน AstraZeneca มากกว่าเรื่องความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด ซึ่งนำไปสู่การประเมินคุณค่าในทางลบ (Negative Appreciation) ที่มีต่อวัคซีน AstraZeneca สำหรับประชากรกลุ่มนี้

 

…and a potentially increased risk of thrombosis with thrombocytopenia following AstraZeneca vaccine in those under 50 years

 

…และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) ในประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี หลังจากได้รับวัคซีน AstraZeneca 

 

จุดที่น่าสนใจก็คือ แถลงการณ์ดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่กลุ่มประชากรอายุต่ำกว่า 50 ปีอาจจะได้รับจากวัคซีน AstraZeneca และไม่ได้กล่าวถึงผลข้างเคียงจากวัคซีน AstraZeneca ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ข้อมูลดังกล่าวนี้เองที่อาจจะมีส่วนทำให้ประชาชนบางกลุ่มเชื่อว่าการประเมินคุณค่าทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเกี่ยวกับวัคซีน AstraZeneca ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอายุประชากรนั้นๆ จะต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไปโดยไม่เปลี่ยนแปลง ในเรื่องนี้ ผู้เขียนจึงอยากจะตั้งข้อเสนอแนะว่า หากเราต้องรับมือกับโรคระบาดกันอีกครั้ง รัฐบาลควรเน้นย้ำให้ประชาชนเข้าใจถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ตลอดทุกขั้นตอนที่สื่อสารกับสาธารณะ ตัวอย่างที่ดีของการสื่อสารเช่นนี้เห็นได้จากประกาศเดียวกันจากทาง ATAGI ในช่วงระยะหลังๆ ซึ่งระบุข้อความว่า ‘อาจมีการปรับปรุงแก้ไขคำแนะนำเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม’

 

ตัวอย่างบางส่วนของแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ที่ยกมาด้านล่างนี้ทำให้เห็นว่าทาง ATAGI ยังคงเน้นให้เกิดการประเมินคุณค่าในเชิงบวกต่อประโยชน์ของการได้รับวัคซีนโควิดในประชากรสูงอายุอยู่ อย่างไรก็ดี แถลงการณ์นี้เน้นการประเมินคุณค่าในเชิงลบต่อวัคซีน AstraZeneca ในผู้ป่วยกลุ่มอายุ 50-59 ปีมากขึ้นกว่าฉบับแรก ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้คำแนะนำเรื่องการใช้วัคซีน AstraZeneca ที่เพิ่งปรับแก้ไปฟังดูสมเหตุสมผลมากขึ้น เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในแถลงการณ์นี้มีการระบุระดับความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่เพิ่งค้นพบจากการรับวัคซีน AstraZeneca ของกลุ่มอายุ 50-59 ปี

 

The recommendation is revised due to a higher risk and observed severity of thrombosis and thrombocytopenia syndrome (TTS) related to the use of AstraZeneca COVID-19 vaccine observed in Australia in the 50-59 year old age group than reported internationally and initially estimated in Australia.

 

คำแนะนำนี้ได้รับการปรับปรุงแก้ไข เนื่องจากความเสี่ยงและความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดกลุ่มโรคลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombosis and Thrombocytopenia Syndrome: TTS) อันเกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีน AstraZeneca ที่พบในประเทศออสเตรเลียในกลุ่มประชากรอายุ 50-59 ปี เพิ่มขึ้นจากที่มีการรายงานในประเทศอื่นๆ และการคาดการณ์ในเบื้องต้นในออสเตรเลีย

 

ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวไม่ได้มีการระบุถึงความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน AstraZeneca ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีไว้แต่อย่างใด ซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าจุดประสงค์ของแถลงการณ์ฉบับนี้คือการให้กลุ่มประชากรอายุระหว่าง 50-59 ปีไม่เลือกรับวัคซีน AstraZeneca ตามคำแนะนำก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ยังคงมีการส่งเสริมให้ใช้วัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มที่ 2 สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มแรกและไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ รัฐบาลใช้วิธีการสื่อสารด้วยการลดระดับความเสี่ยงของการได้รับวัคซีน AstraZeneca สำหรับทุกช่วงอายุ

 

This is supported by data indicating a substantially lower rate of TTS following a second COVID-19 Vaccine AstraZeneca dose in the United Kingdom (UK).

 

หลักฐานที่สนับสนุนคำกล่าวนี้มาจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ในสหราชอาณาจักร อัตราการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) ลดลงอย่างมากหลังได้รับวัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มที่ 2 

 

การเลือกใช้คำขยายเชิงปริมาณที่คลุมเครือ เช่น คำว่า ‘สูงกว่า’ หรือ อัตราที่ ‘ลดลงอย่างมาก’ เมื่อต้องการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงจากการใช้วัคซีน AstraZeneca นั้น น่าจะเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่เป็นตัวการทำให้ประชาชนสับสนและลังเลใจมากขึ้นในการเลือกรับวัคซีน AstraZeneca เพราะการใช้คำขยายเชิงปริมาณที่คลุมเครือเช่นนี้ เป็นการอ้างอิงจากความคิดเห็นซึ่งทำให้เกิดการตีความได้หลายแบบ เช่น คนอาจตีความคำว่า ‘ความเสี่ยงที่ต่ำกว่า’ หรือ ‘ความเสี่ยงที่สูงกว่า’ แตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนจะยอมรับได้ ดังนั้น ในการสื่อสารเพื่อรับมือกับโรคระบาดในอนาคต ควรพิจารณาให้ข้อมูลด้านสถิติแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น เพื่อนิยามระดับของความเสี่ยงต่างๆ ให้ชัดเจน แม้ว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ทางการใช้ประกอบการตัดสินใจจะปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของประกาศจากทาง ATAGI แต่ก็น่าเสียดายว่าแทบจะไม่มีการเน้นสื่อสารข้อมูลเหล่านี้เลยในการแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน   

 

ในแถลงการณ์ของ ATAGI ฉบับที่ 3 เราพบการใช้รูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ หลายอย่างในการประเมินคุณค่าของวัคซีน ข้อมูลต่างๆ ที่พบในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความแตกต่างจากแถลงการณ์ 2 ฉบับก่อนอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ แถลงการณ์ฉบับนี้มุ่งเน้นเรื่องประโยชน์ของการฉีดวัคซีนในช่วงโรคระบาด (Positive Appreciation) อย่างเดียว โดยไม่ได้ระบุผลข้างเคียงใดๆ (Negative Appreciation) พูดง่ายๆ ว่าในตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนยี่ห้อใดก็ตาม ทั้งวัคซีน AstraZeneca และอื่นๆ ถือเป็น ‘วัคซีนที่ดี’ อย่างไม่มีข้อกังขา แถลงการณ์ฉบับนี้ยังเน้นปัจจัยด้านเวลาผ่านการใช้คำว่า ‘bring forward’ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้เร็วขึ้นด้วย

 

…consider getting vaccinated with any available vaccine including COVID-19 Vaccine AstraZeneca (…) can receive the second dose of the AstraZeneca vaccine 4 to 8 weeks after the first dose (…) to bring forward optimal protection.

 

…ให้พิจารณารับวัคซีนใดก็ตามที่มีอยู่ รวมทั้งวัคซีนโควิด AstraZeneca ด้วย (…) สามารถรับวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ในระยะเวลา 4-8 สัปดาห์หลังจากเข็มแรก (…) เพื่อให้เกิดความคุ้มกันสูงสุดเร็วยิ่งขึ้น

 

นอกจากนั้น เรายังได้เห็นการปรับขอบเขตการประเมินคุณค่าในแง่ของประโยชน์ที่จะได้รับจากการฉีดวัคซีนให้กว้างขึ้น นอกจากปัจจัยด้านอายุที่ครอบคลุมผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 18 ปีทุกคนแล้วยังครอบคลุมไปถึงปัจจัยเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่อาศัยในซิดนีย์ด้วย

 

All individuals aged 18 years and above in greater Sydney, including adults under 60 years of age, should strongly consider…

 

ทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตซิดนีย์และปริมณฑล รวมทั้งผู้ใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ควรอย่างยิ่งที่จะพิจารณา…

 

ข้อมูลที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในแถลงการณ์ฉบับที่ 3 ที่เราไม่เคยเห็นในแถลงการณ์ฉบับก่อนๆ เลยก็คือ การสื่อสารข้อมูลเรื่องจำนวนของวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามาได้ รัฐบาลจำเป็นต้องสื่อสารข้อมูลที่อาจจะเป็นลบกับภาพลักษณ์ในการบริหารงานของตัวเอง โดยเฉพาะการแจ้งข้อจำกัดเรื่องจำนวนของวัคซีน Pfizer ที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในขณะนั้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนผู้ใหญ่ในทุกช่วงอายุหันมาพิจารณาถึงประโยชน์ในการรับวัคซีน AstraZeneca อย่างทันท่วงที เพื่อแลกกับความเสี่ยงในการติดโควิดถ้าต้องรอรับการฉีดวัคซีน Pfizer ที่ยังมาไม่ถึง

 

This is on the basis of the increasing risk of COVID-19 and ongoing constraints of Comirnaty (Pfizer) supplies.

 

คำแนะนำนี้อิงจากความเสี่ยงของโควิดที่เพิ่มขึ้น และข้อจำกัดอย่างต่อเนื่องในด้านเสบียงวัคซีน Comirnaty (Pfizer) ที่มี

 

จะเห็นได้ว่าการประเมินคุณค่าของวัคซีน AstraZeneca ในแถลงการณ์ฉบับสุดท้ายเมื่อเทียบกับแถลงการณ์ 2 ฉบับก่อนหน้าของ ATAGI แสดงข้อมูลที่แตกต่างกันมากจนประชาชนไม่สามารถปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่มีต่อวัคซีน AstraZeneca จากวัคซีนที่ดู ‘แย่’ ไปเป็นภาพลักษณ์ของวัคซีนที่ดู ‘ดี’ ได้ตามประสงค์ของรัฐบาล แถลงการณ์ฉบับสุดท้ายของรัฐบาลพยายามกระตุ้นให้คนหันไปสนใจประโยชน์ที่จะได้จาก ‘การปกป้องตนเองแต่เนิ่นๆ’ จากการฉีดวัคซีน AstraZeneca จากที่แถลงการณ์ก่อนหน้านี้เคยมุ่งความสนใจไปที่เรื่องผลข้างเคียง ‘ที่รุนแรงแต่เกิดขึ้นได้น้อย’ ของวัคซีน AstraZeneca มากกว่า นอกจากนี้ แถลงการณ์ฉบับสุดท้ายยังขอให้ประชาชนตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านจำนวนของวัคซีน Pfizer ที่รัฐหามาได้อย่างจำกัด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความสามารถในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล มากกว่าที่จะคล้อยตามรัฐบาลในเรื่องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่มีต่อวัคซีน AstraZeneca

 

 

บทเรียนของการสื่อสารด้านสุขภาพ

การสื่อสารด้านสุขภาพจากรัฐถึงประชาชนอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ในความเป็นจริง ข้อมูลทางการแพทย์เป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของคน เมื่อปักใจเชื่ออะไรแล้วก็มักจะเชื่อเช่นนั้นไปตลอด ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดได้ง่ายๆ การสื่อสารกับสาธารณะจึงต้องพูดถึงความเสี่ยงและผลประโยชน์ในเชิงสุขภาพที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ เน้นการให้ข้อมูลอย่างสมดุลไม่เทเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ในระยะสั้นๆ และมีตัวอย่างประกอบให้เห็นได้ชัดเจน พร้อมทั้งเน้นย้ำอย่างต่อเนื่องถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ข้อแนะนำต่างๆ ในช่วงโรคระบาดเป็นข้อแนะนำชั่วคราวที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ท้ายที่สุดแล้ว การแสวงหาวิธีการปกป้องชุมชนท้องถิ่นและชุมชนโลกในวิกฤตโรคระบาดเช่นนี้ไม่ได้จบลงที่การคิดค้นวิธีรักษา หากแต่การค้นหาวิธีรักษา เช่น การผลิตวัคซีน เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการเดินทางเท่านั้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากบทเรียนราคาแพงในครั้งนี้ก็คือ ‘วัคซีนที่ดี’ ต้องเกิดจาก ‘วิทยาศาสตร์ที่ดี’ และย่อมต้องได้รับการหล่อเลี้ยงด้วย ‘การสื่อสารที่ดี’ 

 

อ้างอิง: 

The post ภาพลักษณ์ของวัคซีน: บทเรียนราคาแพงของการสื่อสารด้านสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สธ. เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิดนักท่องเที่ยวต่างชาติ AstraZeneca 800 บาทต่อเข็ม ส่วน Pfizer 1,000 บาทต่อเข็ม คนไทยฉีดฟรี https://thestandard.co/covid-vaccination-service-tourists/ Thu, 26 Jan 2023 10:57:14 +0000 https://thestandard.co/?p=742389

วันนี้ (26 มกราคม) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบค […]

The post สธ. เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิดนักท่องเที่ยวต่างชาติ AstraZeneca 800 บาทต่อเข็ม ส่วน Pfizer 1,000 บาทต่อเข็ม คนไทยฉีดฟรี appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (26 มกราคม) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดให้บริการแล้วหลายแห่ง

 

สำหรับในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์การแพทย์บางรัก, สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.), สถาบันโรคผิวหนัง, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี รวมถึงในจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต และสงขลา ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติค่อนข้างดี

 

มีอัตราค่าบริการสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นค่าบริการวัคซีน AstraZeneca 800 บาทต่อเข็ม และ Pfizer 1,000 บาทต่อเข็ม และมีค่าบริการทางการแพทย์อีก 380 บาท

 

สำหรับในจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ทยอยแจ้งความจำนงขอเป็นจุดบริการฉีด ขณะนี้กรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อหน่วยบริการซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 แห่ง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และวางแผนในการจัดสรรและจัดส่งวัคซีน

 

ทั้งนี้ ขอให้ทุกหน่วยบริการจัดทำทะเบียนการเก็บข้อมูลรายได้จากค่าบริการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต้นสังกัดและกระทรวงการคลัง เพื่อการตรวจสอบที่โปร่งใส

 

นพ.ธเรศกล่าวต่ออีกว่า สำหรับการเปิดจุดบริการฉีดของภาคเอกชนนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเตรียมแนวทางและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากต้องมีการวางแผนเรื่องแนวทางปฏิบัติและการกำกับติดตามที่แตกต่างจากโรงพยาบาลรัฐ เช่น การทำข้อตกลง กระบวนการส่งคืนเงินค่าวัคซีน

 

ระหว่างนี้หน่วยงานภาคเอกชนที่ต้องการเป็นจุดบริการฉีดวัคซีนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สามารถทำหนังสือแสดงความจำนงมาได้ที่กรมควบคุมโรค และหากแนวทางการปฏิบัติมีความชัดเจน กรมควบคุมโรคจะมีการนัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางและนัดหมายเพื่อลงนามข้อตกลงต่อไป

 

ทั้งนี้ ยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุขมีวัคซีนเพียงพอ และขอให้ทุกหน่วยบริการที่เป็นจุดฉีดวัคซีนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องมีการให้บริการฉีดวัคซีนคนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปด้วย

The post สธ. เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิดนักท่องเที่ยวต่างชาติ AstraZeneca 800 บาทต่อเข็ม ส่วน Pfizer 1,000 บาทต่อเข็ม คนไทยฉีดฟรี appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จัก AstraZeneca ยักษ์ใหญ่ด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลก ที่ไม่ได้มีแค่วัคซีนโควิด-19 แต่มุ่งดูแลสุขภาพคนไทยมาแล้วกว่า 40 ปี https://thestandard.co/know-astrazeneca/ Fri, 11 Nov 2022 09:00:33 +0000 https://thestandard.co/?p=704517

ตลอดระยะเวลาการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในช่วงเกือบ 3 ป […]

The post รู้จัก AstraZeneca ยักษ์ใหญ่ด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลก ที่ไม่ได้มีแค่วัคซีนโควิด-19 แต่มุ่งดูแลสุขภาพคนไทยมาแล้วกว่า 40 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตลอดระยะเวลาการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกับ AstraZeneca ในฐานะผู้ผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 สัญชาติอังกฤษ ซึ่งเลือกประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในฐานการผลิตสำหรับส่งมอบวัคซีนแก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีกลุ่มคนไม่มากนักที่รู้ว่า นอกจากการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 AstraZeneca ยังเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ หรือผู้พัฒนานวัตกรรมยาชั้นนำในระดับโลก ที่มีส่วนร่วมขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

 

ที่ผ่านมาชื่อ AstraZeneca อาจเป็นที่คุ้นเคยแค่ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ แต่สำหรับคนทั่วไปอาจไม่ทราบว่า AstraZeneca ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยรวมแล้วกว่า 40 ปี โดยได้นำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาต่อยอดและพัฒนาการดูแลสุขภาพของประชาชน ทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงระบบดูแลสุขภาพ การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพ ตลอดจนยกระดับประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น และพัฒนานวัตกรรมยาให้กับผู้ป่วย ผ่านความร่วมมือกับหลายองค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 

 

วันนี้ THE STANDARD จะพาไปทำความรู้จักกับ AstraZeneca และเป้าหมายการดำเนินงาน ภายใต้แคมเปญล่าสุดที่ชื่อว่า ‘Making Health Happen’ เพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพของคนไทยอย่างยั่งยืน 

 

เครือข่ายบริษัทยาระดับโลก มุ่งพัฒนาโครงการดูแลสุขภาพคนไทยมากว่า 40 ปี

 

 

  • AstraZeneca เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 จากการควบรวมกิจการของ Astra AB บริษัทยาเก่าแก่ของสวีเดน และ Zeneca Group บริษัทยาของสหราชอาณาจักร โดยปัจจุบันมีจำนวนพนักงานรวมกว่า 80,000 คน และมีสำนักงานและห้องทดลองตั้งอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร 

 

  • ในปี 1983 AstraZeneca ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนับตั้งแต่สมัยยังเป็น Astra AB ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด (AstraZeneca Thailand) ภายหลังการควบรวมกิจการ 

 

  • ปัจจุบัน AstraZeneca มีพนักงานในไทยกว่า 330 คน โดยมีมูลค่าการลงทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาในไทยกว่า 1 พันล้านบาท

 

  • เป้าหมายการดำเนินงานของ AstraZeneca คือการสนับสนุนการเข้าถึงยาและนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย และส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางด้านความยั่งยืน 3 ประการ คือ 

 

  1. การเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ
  2. การดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  3. การส่งเสริมจริยธรรมและความโปร่งใส

 

วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ ตั้งเป้าเป็นผู้นำรักษา 4 กลุ่มโรค

 

 

  • ที่ผ่านมา AstraZeneca มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และสนับสนุนการเข้าถึงนวัตกรรมยา เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผ่านความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งเน้นไปที่ 4 กลุ่มโรคหลัก ได้แก่ 

 

  1. กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ ไตและเมแทบอลิซึม (CVRM) 
  2. กลุ่มโรคมะเร็งวิทยา (Oncology)
  3. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีน และภูมิคุ้มกันบำบัด (Respiratory, Immunology, Vaccines and Immune Therapies: RIVIT) ซึ่งรวมถึงวัคซีนโควิด-19 
  4. กลุ่มโรคหายาก

 

  • ทั้งนี้ หากไม่นับรวมวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาของ AstraZeneca มากกว่า 1 ล้านคนในแต่ละปี

 

  • นอกจากนี้ AstraZeneca ยังได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เป็นมากกว่าการรักษา โดยมุ่งมั่นยกระดับระบบสาธารณสุขให้มีความยั่งยืน รวมถึงสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) 

 

FYI: สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถือเป็นปัญหาสุขภาพอันดับ 1 ของไทยและของโลก โดยเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้  ซึ่งข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้ว่าปัจจัยการเกิดโรคนั้นเกิดได้ทั้งจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารรสหวาน เค็มจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยมีโรคยอดนิยม เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง ซึ่งอาการของโรคกลุ่มนี้จะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการทีละนิดโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ทำให้การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยให้สามารถตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้

 

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกกว่า 41 ล้านคนต่อปี เทียบได้กับ 74% ของอัตราการเสียชีวิตทั่วโลก โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ก่อนอายุ 70 ปี ราว 17 ล้านคน โดยในไทยนั้น 4 โรคหลักในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยถึงปีละกว่า 400,000 คน หรือกว่า 74% ของอัตราการเสียชีวิตในประเทศทั้งหมด

 

จับมือพันธมิตร ภาครัฐ-เอกชน ร่วมมือขับเคลื่อนสาธารณสุขไทย

 

 

ภายใต้แนวทางด้านความยั่งยืน AstraZeneca ยังได้พัฒนาโครงการต่างๆ และประสานงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น

 

  • โครงการ ‘Healthy Lung’ ซึ่งเป็นโครงการมุ่งสร้างการตระหนักรู้ สนับสนุนการเข้าถึงการวินิฉัยและการรักษาโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด เพื่อเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาพปอดที่แข็งแรง

 

  • โครงการ ‘The Lung Ambition Alliance’ เป็นความร่วมมือระหว่างภาคีพันธมิตรระดับนานาชาติร่วมกัน 4 องค์กร ใน 50 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย เพื่อศึกษาทำความเข้าใจถึงวิวัฒนาการของโรค พัฒนาเทคนิคระดับก้าวหน้าเพื่อการดูแลรักษาโรคมะเร็งปอด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

  • โครงการ ‘Young Health Programme’ เป็นโครงการปลูกฝังองค์ความรู้การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัญหาสุขภาพ ให้กับเยาวชนอายุ 10-24 ปี ใน 24 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย โดยการสร้างผู้นำในกลุ่ม เพื่อให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย และชุมชน

 

  • โครงการ ‘คุยเรื่องไต ไขความจริง’ เป็นโครงการให้ความรู้และไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคไตสำหรับประชาชน ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น เพื่อเพิ่มโอกาสการรักษาด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ 

 

  • โครงการ ‘ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด’ ที่นำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น

 

  • โครงการ ‘SEARCH’ เป็นโครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ด้วยการตรวจหาระดับอัลบูมินในปัสสาวะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมคุณภาพการบริการ การป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของไต และยืดระยะเวลาการบำบัดทดแทนไต

 

  • โครงการสนับสนุนการเข้าถึงยา ‘AZPAP – Patient Affordability Programme’ เป็นโครงการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และสนับสนุนการเข้าถึงนวัตกรรมยาให้กับผู้ป่วยในไทย

 

แคมเปญ ‘Making Health Happen’ ใช้วิทยาศาสตร์ดูแลสุขภาพคนไทยอย่างยั่งยืน

 

 

ล่าสุด AstraZeneca ยังมีแคมเปญชื่อว่า ‘Making Health Happen’ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานและพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยให้พร้อมก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงนวัตกรรมและบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น

 

โดยองค์ประกอบของแคมเปญ ‘Making Health Happen’ จะประกอบไปด้วยการดูแลสุขภาพในด้านต่างๆ ได้แก่

 

  • ประชาชน (People) – ค้นคว้าและคิดค้นนวัตกรรมยาและโซลูชันต่างๆ ที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย พร้อมกับส่งเสริมการเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคเบาหวาน เป็นต้น

 

  • ชุมชน (Society) – ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการยกระดับระบบสาธารณสุขให้มีความยืดหยุ่นและเข้าถึงได้มากขึ้น และสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น และการรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคเบาหวาน เป็นต้น เพื่อพัฒนาและขยายโซลูชันด้านสุขภาพในวงกว้าง จนก่อให้เกิดสังคมที่มีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

 

  • โลก (Planet) – Ambition Zero Carbon โครงการด้านความยั่งยืนหลักของบริษัท ในการผลักดันบริษัทสาขาต่างๆ ทั่วโลกร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2025

 

วิกฤตโควิด-19 ตอกย้ำคุณค่านวัตกรรมเพื่อสุขภาพ

 

 

  • สำหรับในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ถือเป็นช่วงเวลาที่แสดงให้ทั่วโลกได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมยาและนวัตกรรมด้านสุขภาพ 

 

  • โดย เจมส์ ทีก (James Teague) ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงคุณค่าแห่งการค้นพบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” 

 

“AstraZeneca มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความก้าวหน้าด้านวัคซีนของโลก ขณะเดียวกันก็พบว่าความท้าทายด้านสุขภาพอื่นๆ ก็ไม่ได้มีความสำคัญลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เคยหยุดขยายขีดความสามารถของวิทยาศาสตร์ในการพัฒนายาและโซลูชันต่างๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลสุขภาพ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีแก่สังคมทั่วโลก” 

 

  • ขณะที่เทคโนโลยีและดิจิทัลโซลูชันนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการรักษาที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 

 

  • ปัจจุบัน AstraZeneca มีโครงการมากกว่า 700 โครงการ ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างเครือข่ายทั่วโลก เพื่อยกระดับนวัตกรรมการดูแลและรักษาสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง 

 

  • โดยในประเทศไทย AstraZeneca ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยอำนวยความสะดวกต่อการให้บริการด้านสาธารณสุขในประเทศไทย

 

  • และด้วยเครือข่าย ‘Health Innovation Hubs’ ของ AstraZeneca ทั่วโลก จึงทำให้มีการเชื่อมประสานและต่อยอดข้อมูลที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย ยา เทคโนโลยี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้กำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

 

อ้างอิง:

The post รู้จัก AstraZeneca ยักษ์ใหญ่ด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลก ที่ไม่ได้มีแค่วัคซีนโควิด-19 แต่มุ่งดูแลสุขภาพคนไทยมาแล้วกว่า 40 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
สธ. เผย ฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna เป็นเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3-4 ล้วนให้ประสิทธิผลใกล้เคียงกัน https://thestandard.co/moph-unveiled-astrazeneca-pfizer-moderna-resulted-equally/ Wed, 20 Jul 2022 11:28:08 +0000 https://thestandard.co/?p=656534 โสภณ เอี่ยมศิริถาวร

วันนี้ (20 กรกฎาคม) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรม […]

The post สธ. เผย ฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna เป็นเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3-4 ล้วนให้ประสิทธิผลใกล้เคียงกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
โสภณ เอี่ยมศิริถาวร

วันนี้ (20 กรกฎาคม) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทีมวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.นพ.ดร.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ร่วมกับสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 พบว่า การฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna เป็นเข็มกระตุ้นเข็มที่ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสูตรไขว้ (Heterologous Booster Vaccination) จะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์โอมิครอนได้สูงถึงร้อยละ 73, ร้อยละ 71 และร้อยละ 71 ตามลำดับ ซึ่งระดับประสิทธิผลนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ได้รับวัคซีนเพียง 3 เข็ม

 

โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มกระตุ้นเข็มที่ 4 ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิด mRNA หรือไวรัสเป็นตัวนำ มีประสิทธิผลไม่ต่างกันในการป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม 608

 

นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มจะช่วยป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจากสายพันธุ์โอมิครอนได้สูงถึงร้อยละ 96 ในกลุ่มอายุ 18-59 ปี และร้อยละ 97 ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต ทั้งนี้ ขอเชิญชวนให้ลูกหลานพาผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนอีกประมาณ 2 ล้านคน ตลอดจนผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้วนานกว่า 4 เดือน แต่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ให้รีบมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นโดยเร็ว เพราะว่า 2 กลุ่มนี้ยังพบผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตจากโควิดในทุกวันนี้

The post สธ. เผย ฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna เป็นเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3-4 ล้วนให้ประสิทธิผลใกล้เคียงกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนุทินลงนามจัดหาแอนติบอดีสำเร็จรูปจำนวน 2.5 แสนโดส กับ AstraZeneca ใช้ดูแลป้องกันโควิดในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ https://thestandard.co/anutin-signed-to-supply-ready-made-antibodies-with-astrazeneca/ Wed, 06 Jul 2022 03:43:55 +0000 https://thestandard.co/?p=650637 อนุทิน ชาญวีรกูล

วันนี้ (6 กรกฎาคม) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ […]

The post อนุทินลงนามจัดหาแอนติบอดีสำเร็จรูปจำนวน 2.5 แสนโดส กับ AstraZeneca ใช้ดูแลป้องกันโควิดในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนุทิน ชาญวีรกูล

วันนี้ (6 กรกฎาคม) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจัดหาแอนติบอดีสำเร็จรูป แบบ Long Acting Antibody (LAAB) เพื่อการป้องกันโควิด ระหว่าง นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ เจมส์ ทีก ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารทั้งสองหน่วยงานเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

 

อนุทินกล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ลงนามจัดหาวัคซีนป้องกันโควิดของ AstraZeneca ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ เพื่อเข้ามาสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีประชากรบางกลุ่มที่รับวัคซีนแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี หรือภูมิคุ้มกันตกลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดแล้วป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปลูกถ่ายอวัยวะ หรือปลูกถ่ายไขกระดูกและได้รับยากดภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีการเสียชีวิตจากโรคโควิดทุกวัน ดังนั้นศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจัดหาแอนตีบอดีสำเร็จรูป แบบ Long Acting Antibody (LAAB) มาใช้ในการดูแลกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว เพื่อป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโควิด 

 

สำหรับ LAAB เป็นแอนติบอดีที่ออกฤทธิ์ยาว มีส่วนประกอบ 2 ชนิด คือ Tixagevimab 150 มิลลิกรัม และ Cilgavimab 150 มิลลิกรัม ผ่านการรับรองใช้แบบในภาวะฉุกเฉินที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษแล้ว ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทยได้อนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินเช่นกันเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 มีข้อบ่งใช้ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม โดยให้ก่อนการสัมผัสโรค ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 6 เดือน มีประสิทธิผลร้อยละ 83 ในการลดความเสี่ยงอาการรุนแรงของโควิด และจากการศึกษาพบว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

 

“การลงนามในครั้งนี้จะจัดหาแอนตีบอดีสำเร็จรูป หรือ LAAB เข้ามาจำนวนกว่า 2.5 แสนโดส โดยไม่ต้องใช้งบประมาณในการจัดหาเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการลงนามขอปรับสัญญากับบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเปลี่ยนวัคซีน AstraZeneca บางส่วนมาเป็น LAAB ภายในกรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ซึ่งทำให้เรามีทั้งวัคซีนและแอนตีบอดีสำเร็จรูปมาดูแลประชาชนได้ครอบคลุมมากขึ้น” อนุทินกล่าว

The post อนุทินลงนามจัดหาแอนติบอดีสำเร็จรูปจำนวน 2.5 แสนโดส กับ AstraZeneca ใช้ดูแลป้องกันโควิดในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ชัชชาติ’ รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 5 ขอเป็นพรีเซ็นเตอร์ชวนประชาชนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น https://thestandard.co/chadchart-getting-5th-coronavirus-vaccine/ Mon, 27 Jun 2022 11:36:46 +0000 https://thestandard.co/?p=647141 วัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 5

วันนี้ (27 มิถุนายน) ที่ศูนย์ฉีดวัคซีน อาคารกีฬาเวสน์ 1 […]

The post ‘ชัชชาติ’ รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 5 ขอเป็นพรีเซ็นเตอร์ชวนประชาชนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
วัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 5

วันนี้ (27 มิถุนายน) ที่ศูนย์ฉีดวัคซีน อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เข้ารับวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 5 เป็นเข็มกระตุ้น พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนมารับวัคซีนตามกำหนดระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ

 

ชัชชาติกล่าวว่า สำหรับตนเองวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 4 ที่ได้รับไปตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ถือว่าทิ้งช่วงมาพอสมควรแล้ว และด้วยการปฏิบัติงานที่ต้องลงพื้นที่เจอกับผู้คนจำนวนมาก แพทย์จึงแนะนำให้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่ม ซึ่งวันนี้ได้รับวัคซีนยี่ห้อ Moderna

 

ทั้งนี้ ขอเชิญชวนประชาชนที่รับวัคซีนเข็มล่าสุดไปแล้วช่วง 4-6 เดือนตามกำหนด ให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ศูนย์ฉีดวัคซีนใกล้บ้าน สำหรับตนที่เลือกมาที่ศูนย์ดินแดง เพราะเสร็จจากภารกิจการประชุมที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) ก็สามารถเดินทางมาได้ง่าย โดยวันนี้เป็นการ Walk-in ไม่ได้จองคิว ซึ่งจะเห็นว่าไม่ต้องรอคิว ใช้เวลาเพียงครู่เดียวก็ได้รับวัคซีนเลย สะดวกและง่าย

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้พบปัญหาว่าประชาชนไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นจำนวนน้อยกว่าที่ควร วันนี้จึงขอทำหน้าที่พรีเซ็นเตอร์เชิญชวนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น แม้จะไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อแต่ก็จะช่วยไม่ให้อาการหลังรับเชื้อรุนแรง 

 

ทั้งนี้ ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่จะเริ่มฉีดวัคซีน ผู้สื่อข่าวถามว่ากลัวเข็มหรือไม่ ชัชชาติกล่าวว่า ถ้าเราไม่มองก็จะไม่กลัว ซึ่งชัชชาติได้ถามอาการข้างเคียงกับเจ้าหน้าที่ที่จะฉีดวัคซีนให้ พร้อมแซวเจ้าหน้าที่ว่าพลาสเตอร์ที่จะเอามาแปะให้เป็นรูปแมวน้ำ เหมาะกับตัวเองมากๆ

 

สำหรับศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด อาคารกีฬาเวสน์ 1 สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดทั้งแบบ Walk-in และจองคิวผ่านแอปพลิเคชัน QueQ สำหรับประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยให้บริการวัคซีน Sinovac, AstraZeneca, Pfizer และ Moderna

 

The post ‘ชัชชาติ’ รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 5 ขอเป็นพรีเซ็นเตอร์ชวนประชาชนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครม. เคาะ ลดการจัดซื้อวัคซีน AstraZeneca เหลือ 35.4 ล้านโดส จากเดิม 60 ล้านโดส เพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป https://thestandard.co/cabinet-approves-reduction-of-astrazeneca-vaccine-purchase/ Tue, 21 Jun 2022 09:00:14 +0000 https://thestandard.co/?p=644584 AstraZeneca

วันนี้ (21 มิถุนายน) ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนาย […]

The post ครม. เคาะ ลดการจัดซื้อวัคซีน AstraZeneca เหลือ 35.4 ล้านโดส จากเดิม 60 ล้านโดส เพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป appeared first on THE STANDARD.

]]>
AstraZeneca

วันนี้ (21 มิถุนายน) ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสาระสำคัญของการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิดสำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60 ล้านโดส ในปี 2565 โดยปรับลดการจัดซื้อวัคซีน AstraZeneca จากเดิม 60 ล้านโดส กรอบวงเงิน 18,762.5160 ล้านบาท เป็นการจัดซื้อวัคซีน AstraZeneca จำนวน 35.4 ล้านโดส กรอบวงเงิน 11,069.8845 ล้านบาท  

 

และเพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody: LAAB) จำนวน 257,500 โดส กรอบวงเงิน 7,569.2228 ล้านบาท ซึ่งทำให้กรอบวงเงินโดยรวมของโครงการปรับลดไป 123.41 ล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 18,762.5160 ล้านบาท เหลือ 18,639.1073 ล้านบาท พร้อมขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจากเดือนกันยายน 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 โดยให้กรมควบคุมโรคบริหารการจัดการและการกระจายวัคซีนโควิดอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เพียงพอสำหรับประชาชนภายในประเทศและไม่เหลือทิ้ง

 

“ในปี 2565 นี้ ประชากรในประเทศมีความต้องการวัคซีนโควิดลดลง ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิดมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีวัคซีนที่ได้รับบริจาคจากต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้วัคซีนสำรองในประเทศเพียงพอ กรมควบคุมโรคจึงพิจารณาปรับแผนการจัดซื้อวัคซีนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยปรับลดจำนวนวัคซีน AstraZeneca จาก 60 ล้านโดสเป็น 35.4 ล้านโดส  

 

“ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 บริษัทได้ส่งมอบวัคซีนแล้วจำนวน 13.2 ล้านโดส ซึ่งจะได้มีแผนรับมอบจำนวน 11.2 ล้านโดสภายในปี 2565 ส่วนที่เหลืออีก 11 ล้านโดสคาดว่าจะได้รับมอบภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2566” ธนกรกล่าว  

 

ธนกรกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตหากมีการติดเชื้อ แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแต่ไม่เกิดภูมิคุ้มกันโรค เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่สามารถสร้างแอนติบอดีจากวัคซีนได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) จำนวน 257,500 โดส โดยมุ่งใช้กับกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ 3 กลุ่มโรค ได้แก่ ผู้ป่วยล้างไต ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันตนเอง ซึ่งจะช่วยป้องกันการป่วยได้ถึงร้อยละ 83  

 

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคจะมีการปรับแผนรับมอบวัคซีนเพื่อให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ความต้องการวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ภายในประเทศ และลดการสูญเสียกรณีวัคซีนหมดอายุด้วย

 

ธนกรกล่าวด้วยว่า ครม. ยังอนุมัติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด (ChulaCov19 mRNA) เพื่อทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1-3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนรับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการเป็นเดือนธันวาคม 2565 โดยมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด (ChulaCov19 mRNA) ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิดสายพันธุ์ใหม่ให้สำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด และยังช่วยยกระดับห่วงโซ่การผลิตวัคซีนภายในประเทศ และลดความเสี่ยงในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคอุบัติใหม่ของประเทศด้วย

The post ครม. เคาะ ลดการจัดซื้อวัคซีน AstraZeneca เหลือ 35.4 ล้านโดส จากเดิม 60 ล้านโดส เพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป appeared first on THE STANDARD.

]]>