Asset Tokenization – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 06 Oct 2023 04:06:41 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 JPMorgan เผย 99.9% ของลูกค้าต่างพูดถึงโอกาสใน ‘Tokenization’ ไม่ใช่คริปโต https://thestandard.co/opportunities-in-tokenization/ Fri, 06 Oct 2023 04:06:41 +0000 https://thestandard.co/?p=851300 Bitcoin

Tyrone Lobban หัวหน้าฝ่ายบล็อกเชนของ JPMorgan กล่าวในงา […]

The post JPMorgan เผย 99.9% ของลูกค้าต่างพูดถึงโอกาสใน ‘Tokenization’ ไม่ใช่คริปโต appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bitcoin

Tyrone Lobban หัวหน้าฝ่ายบล็อกเชนของ JPMorgan กล่าวในงาน CCData’s Digital Asset Summit ในลอนดอนว่า 99.9% ของลูกค้าต่างพูดถึงโอกาสในการทำ Tokenization สินทรัพย์ดั้งเดิม ไม่ใช่ ‘คริปโต’

 

โดย Tyrone กล่าวว่า ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ลูกค้าของ JPMorgan ทั้งโบรกเกอร์, ผู้จัดการกองทุน และอื่นๆ ต่างพยายามหาทางนำสินทรัพย์ดั้งเดิมมา ‘Tokenized’ อยู่บนเครือข่ายบล็อกเชน 

 

แม้การกระทำเกี่ยวกับ ‘Tokenization’ เหล่านี้จะยังเป็นการทดลองอยู่ แต่ความตั้งใจและการผลักดันที่จะทำให้เกิดในอนาคตนั้นมีความเป็นไปได้สูงมาก

 

Tyrone ยังชี้อีกว่า ด้วยสภาวะตลาดและความตึงเครียดจากฝ่ายกำกับดูแลของคริปโต ทำให้ลูกค้าต่างไม่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับความเป็นไปในตอนนี้

 

เขายังประเมินอีกว่า ณ ตอนนี้เหรียญคริปโต เบอร์หนึ่งอย่าง Bitcoin กำลังมีความผันผวนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และโอกาสที่ราคาจะทำผลตอบแทนสูงๆ อย่างที่คงจะเป็นไปได้น้อยไปอีกสักระยะ

 

ซึ่ง JPMorgan ตั้งเครือข่ายบล็อกเชนของตนเองอย่าง Onyx ตั้งแต่ปี 2020 เพื่อใช้ในการนำหลักทรัพย์ต่างๆ มา Tokenized บนเครือข่ายดังกล่าว โดยมี Goldman Sachs, DBS, BNP และธนาคารอีกหลายแห่งเป็น Node ให้

 

แต่ทั้งนี้ Tyrone มองว่าปัญหาของเครือข่ายดังกล่าว คือการเชื่อมต่อ (Interoperability) ระหว่างแพลตฟอร์มกับสถาบันการเงินต่างๆ

 

นอกจากนี้ JPMorgan ยังให้ลูกค้ากู้ยืมเงินระยะสั้น เรียกว่า ‘Repos’ โดยการนำสินทรัพย์ในรูปแบบ Tokenization มาวางค้ำประกันเพื่อกู้ยืมเงินในระยะเวลาหนึ่ง

 

อ้างอิง: 

The post JPMorgan เผย 99.9% ของลูกค้าต่างพูดถึงโอกาสใน ‘Tokenization’ ไม่ใช่คริปโต appeared first on THE STANDARD.

]]>
งานวิจัยล่าสุดจาก ‘BNY’ เผย 70% ของสถาบันการเงิน จ่อลุยคริปโตหากบริการ Custody พร้อม https://thestandard.co/bny-institutional-crypto/ Tue, 01 Nov 2022 03:50:38 +0000 https://thestandard.co/?p=702722

BNY Mellon ธนาคารเก่าแก่จากสหรัฐฯ ชี้ 70% ของสถาบันการเ […]

The post งานวิจัยล่าสุดจาก ‘BNY’ เผย 70% ของสถาบันการเงิน จ่อลุยคริปโตหากบริการ Custody พร้อม appeared first on THE STANDARD.

]]>

BNY Mellon ธนาคารเก่าแก่จากสหรัฐฯ ชี้ 70% ของสถาบันการเงินจะลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีถ้ามีสิ่งนี้! พร้อมงานวิจัยจาก BCG บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ ชี้ว่า ตลาด ‘Asset Tokenization’ จะโตอีก 50,000% ภายในปี 2030

 

BNY Mellon หนึ่งในธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐฯ ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งสถาบันการเงินที่มีการเปิดรับต่อคริปโต ได้ชี้ว่า อีกกว่า 70% ของสถาบันการเงินจะเพิ่มการลงทุนในคริปโต หากมีบริการ ‘Custody’ ให้ใช้งานมากกว่านี้ พร้อมงานวิจัยจาก BCG บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก ชี้ว่า ตลาด ‘Asset Tokenization’ จะโตอีก 50,000% ภายในปี 2030


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ซึ่ง Custody นั้นคือการให้บริการเก็บรักษาสินทรัพย์แก่ลูกค้า โดยผู้ดูแลรักษาสินทรัพย์ (Custodian) เหล่านั้นจะไม่สามารถนำสินทรัพย์ที่ดูแลไปใช้ประโยชน์ได้

 

จากงานวิจัย ‘Institutional Investing 2.0’ ของ BNY Mellon ได้ข้อสรุปหลังจากทำแบบสำรวจในกลุ่มสถาบันการเงิน พบว่า นักลงทุนฝั่งสถาบันการเงินกว่า 70% จะเพิ่มกิจกรรมการลงทุนในคริปโต หากมีบริการ Custody มาจากสถาบันที่มีชื่อ และได้รับความไว้วางใจมากขึ้น

 

โดยกลุ่มตัวอย่างนั้นมาจาก 271 นักลงทุนฝั่งสถาบันการเงินที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 37 ล้านล้านบาท ทั้งกองทุนบำนาญ กองทุนความมั่งคังแห่งชาติ รวมไปถึงเฮดจ์ฟันด์ต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

 

เนื่องจากสถาบันการเงินนั้นต่างสนใจในการเข้าไปลงทุนในคริปโตกันเป็นจำนวนมาก แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่ถูกต้องและปลอดภัย มากกว่าการเข้าไปอย่างรวดเร็วเพื่อหวังผลตอบแทนอย่างเดียว

 

แต่จากงานวิจัยดังกล่าวพบว่า 90% ของสถาบันการเงิน ต่างสนใจที่จะลงทุนในผลิตภัณฑ์แบบ ‘Tokenized Asset’ หรือสินทรัพย์ที่ถูกทำให้อยู่ในรูปโทเคน แม้จะอยู่ในทิศทางตลาดขาลงก็ตาม

 

และมีระดับถึง 97% ที่มองว่าการทำ ‘Tokenization’ หรือการนำสินทรัพย์ทางการเงินใดๆ มาอยู่ในรูปของโทเคน จะมาปฏิวัติวงการบริหารจัดการเงิน และต่างมองว่าจะเป็นการดีต่ออุตสาหกรรม

 

ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยจาก BCG บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก และ ADDX บริษัทแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มองว่าโอกาสใน ‘Tokenized Asset’ นั้นกว้างมาก เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวสามารถดึงสภาพคล่องมายังสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องได้

 

โดยงานวิจัยของ BCG ชี้ว่า มูลค่าตลาดรวมของ ‘Asset Tokenization’ จะโตมากกว่า 50,000% และมูลค่าตลาดราว 16 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 592 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030

 

นอกจากนี้งานวิจัยยังพบอีกว่า 88% ของสถาบันการเงินนั้นพอใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเทียบเท่าเงินสดอย่าง Stablecoin ในขณะเดียวกัน 72% ของกลุ่มตัวอย่างนี้ ยังเรียกร้องหาผู้ให้บริการด้านคริปโตแบบครบวงจรอีกเช่นกัน

 

อ้างอิง:

The post งานวิจัยล่าสุดจาก ‘BNY’ เผย 70% ของสถาบันการเงิน จ่อลุยคริปโตหากบริการ Custody พร้อม appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘กสิกรไทย’ แนะ 10 กลยุทธ์การลงทุนปี 65 ชี้หุ้นยังน่าสนใจ ขณะที่พันธบัตรรัฐบาล-ทองคำเสี่ยงเป็นขาลง ตั้งเป้าดัน AUM แตะ 1 ล้านล้านบาทในปี 66 https://thestandard.co/kasikorn-advice-10-investment-strategies-2022/ Wed, 15 Dec 2021 07:08:17 +0000 https://thestandard.co/?p=571624 จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคา […]

The post ‘กสิกรไทย’ แนะ 10 กลยุทธ์การลงทุนปี 65 ชี้หุ้นยังน่าสนใจ ขณะที่พันธบัตรรัฐบาล-ทองคำเสี่ยงเป็นขาลง ตั้งเป้าดัน AUM แตะ 1 ล้านล้านบาทในปี 66 appeared first on THE STANDARD.

]]>
จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลาดการลงทุนตลอดปี 2564 ไม่สดใสเท่าที่ควร หลังตลาดหุ้นโลกรีบาวด์แรงไปแล้วในช่วงไตรมาส 2-4 ปี 2563 ซึ่งตลอดปีนี้ ตลาดลงทุนอ่อนไหวต่อข่าวสารและสถานการณ์ความไม่แน่นอนมากขึ้น จากแนวโน้มที่ตลาดปรับตัวแบบ Bumpy Bend หรือมีการปรับขึ้นลงในกรอบแคบๆ และมีความผันผวนสูง ตามที่ธนาคารเคยคาดการณ์

 

สำหรับตลาดหุ้นโลกโดยรวมก็ยังปรับตัวขึ้นได้จากแรงหนุนของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตดี ล่าสุดตลาดก็กลับมาตื่นตระหนกอีกครั้ง จากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ส่งผลให้ราคาหุ้นทั่วโลกปรับลดลง อย่างไรก็ดี ตลาดฝั่งประเทศพัฒนาแล้วอย่างยุโรปและสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จากสาเหตุหลักที่ว่า แม้ว่าโอไมครอนจะแพร่ระบาดได้ง่ายแต่อาการไม่รุนแรง

 

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ธนาคารในฐานะที่ปรึกษาด้านการลงทุนได้ติดตามสถานการณ์ตลาดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเพื่อกระจายความเสี่ยงและเพื่อสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้า นอกเหนือจากคำแนะนำให้ลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้แล้ว ธนาคารได้แนะนำให้กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึง +17.5% ต่อปี ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในช่วงกลางปี 2563 รวมถึงแนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้ควบอนุพันธ์ (KIKO) ที่อ้างอิงกับตะกร้าหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงถึง 12-23% ต่อปี ในกรณีที่หุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ

 

สำหรับในปี 2565 ธนาคารแนะนำ 10 กลยุทธ์การลงทุน ได้แก่

  1. เพิ่มเงินสดในพอร์ตเพื่อรับมือกับความผันผวนของตลาดที่สูงขึ้นจากความไม่แน่นอน โดยเฉพาะทิศทางการดำเนินนโยบายของ Fed ท่ามกลางราคาของหลายๆ สินทรัพย์ที่เริ่มตึงตัว หากตลาดมีการปรับฐานก็สามารถใช้โอกาสการเข้าซื้อในราคาที่ต่ำลง
  2. ลดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถชดเชยราคาที่จะถูกกดดันจากบอนด์ยีลด์ขาขึ้นได้
  3. ตลาดหุ้นยังน่าสนใจลงทุน หนุนโดยกำไรสุทธิที่ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
  4. แนะนำลงทุนในหุ้นที่มีราคาถูกกว่าปัจจัยพื้นฐาน หรือหุ้น Value หรือหุ้นที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักร หรือหุ้น Cyclical เช่น กลุ่มการเงิน ที่ราคาพื้นฐานยังคงน่าสนใจ
  5. ลงทุนในหุ้นกู้ตลาดเกิดใหม่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะในเอเชีย ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ในประเทศพัฒนาแล้ว
  6. ประเมินค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น สวนทางกับค่าเงินยูโร
  7. ลดสัดส่วนการลงทุนในทองคำ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่สูงขึ้นจะกดดันราคาทองคำ
  8. เน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรุก (Active) มากกว่าลงทุนตามดัชนี (Passive) โดยปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอตามสภาวะตลาด
  9. ความผันผวนถือเป็นโอกาสในการลงทุน
  10. การลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability) เป็นกุญแจสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นให้กับพอร์ตการลงทุน

 

โดยธนาคารยังคงเชื่อมั่นว่าการลงทุนระยะยาว ผ่านการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในระยะสั้น อีกทั้งธนาคารจะยังคงปรับกลยุทธ์และคำแนะนำการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนให้ยั่งยืน

 

จิรวัฒน์กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจ KBank Private Banking ในปี 2564 ยังเติบโต โดยมีจำนวนลูกค้าประมาณ 13,000 ราย สินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) ทั้งหมดประมาณ 9 แสนล้านบาท ซึ่งขยายตัวจากปี 2563 ที่ 3% และ 6% ตามลำดับ และภายในสิ้นปี 2564 คาดว่าจะมีสินทรัพย์ลงทุนรวมประมาณ 5 แสนล้านบาท หรือประมาณ 68% โดยเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและ/หรือมีความซับซ้อน (Sophisticated Asset) ถึง 1.5 แสนล้านบาท เติบโตจากปี 2563 ถึง 16% และคาดว่ารายได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมการลงทุนจะเติบโตถึง 27%

 

สำหรับปี 2565 ธนาคารคาดว่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการจะขยายตัวเพิ่มเป็น 9.5 แสนล้านบาท และมีโอกาสที่ AUM จะเติบโตแตะ 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2566 พร้อมมองว่าการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้จะยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยได้ที่ 5-6% ต่อปี ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น หุ้นกู้ควบอนุพันธ์อาจให้ผลตอบแทนเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นเป็น 8-12%

 

จิรวัฒน์ยังกล่าวถึงการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลว่า ขณะนี้ KBank Private Banking มีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง เช่น การทำ Tokenization ขององค์กรต่างๆ

 

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสินทรัพย์ประเภทนี้ยังมีภาระภาษีค่อนข้างมาก ทำให้ผลตอบแทนถูกลดทอนลงไป ขณะที่การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีปัจจุบันธนาคารยังเตือนให้ลูกค้าระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการลงทุน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่เข้าข่ายเป็น Speculative Asset หรือเป็นการเก็งกำไรมากกว่าลงทุน และยังไม่มีทฤษฎีในการวิเคราะห์แนวโน้มผลตอบแทนได้

The post ‘กสิกรไทย’ แนะ 10 กลยุทธ์การลงทุนปี 65 ชี้หุ้นยังน่าสนใจ ขณะที่พันธบัตรรัฐบาล-ทองคำเสี่ยงเป็นขาลง ตั้งเป้าดัน AUM แตะ 1 ล้านล้านบาทในปี 66 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Token X เตรียมรุกธุรกิจโทเคนดิจิทัลหลังได้รับใบอนุญาตทำ ICO Portal จาก ก.ล.ต. ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้าน Digital Asset Tokenization อาเซียนในปี 2025 https://thestandard.co/token-x-entering-digital-token-business/ Wed, 10 Nov 2021 06:37:18 +0000 https://thestandard.co/?p=558224 จิตตินันท์ ชาติสีหราช

โทเคน เอกซ์ (Token X) บริษัทในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (S […]

The post Token X เตรียมรุกธุรกิจโทเคนดิจิทัลหลังได้รับใบอนุญาตทำ ICO Portal จาก ก.ล.ต. ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้าน Digital Asset Tokenization อาเซียนในปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
จิตตินันท์ ชาติสีหราช

โทเคน เอกซ์ (Token X) บริษัทในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) ซึ่งอยู่ภายใต้ ‘กลุ่มเอสซีบี เอกซ์’ (SCBX) เตรียมเดินหน้าบุกให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลครบวงจรแบบเต็มรูปแบบ หลังได้รับความเห็นชอบในการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยเตรียมร่วมมือกับลูกค้าองค์กรชั้นนำจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ เพื่อต่อยอดสร้างการเติบโตรูปแบบใหม่ผ่านการทำ Tokenization 

 

จิตตินันท์ ชาติสีหราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Token X กล่าวว่า จากวิสัยทัศน์ของ ‘กลุ่มเอสซีบี เอกซ์’ (SCBX) ที่ประกาศเดินหน้าปรับตัวเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกการเงินแห่งอนาคต ‘Token X’ ในฐานะหนึ่งในยานลูกพร้อมสานต่อยุทธศาสตร์ยานแม่ เตรียมให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลเต็มรูปแบบ 

 

ล่าสุด Token X ได้รับความเห็นชอบในการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) จากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นที่เรียบร้อย โดยอยู่ระหว่างการรอเปิดใช้งานใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่ง ICO Portal ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจที่จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ ‘กลุ่มเอสซีบี เอกซ์’ สามารถบรรลุพันธกิจได้ตามเป้าหมาย ผ่านการสร้างขีดความสามารถใหม่ทางด้าน Digital Asset Tokenization ควบคู่กับการวางรากฐานระบบนิเวศด้านสินทรัพย์ดิจิทัลที่แข็งแกร่งในประเทศไทย 

 

โดยบริษัทเตรียมพร้อมให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร ครอบคลุมบริการที่ปรึกษา-วางแผนการออกโทเคนดิจิทัล-การพัฒนาด้านบล็อกเชนและเทคโนโลยี ซึ่งที่ผ่านมาเราได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าระดับองค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำระดับประเทศ ที่ให้ความสนใจและตอบรับเข้าร่วมวางแผนการทำ Tokenization กับ Token X ตั้งเป้าเป็นองค์กรชั้นนำในอาเซียนด้าน Digital Asset Tokenization ภายในปี 2025

 

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ในที่นี้ หมายถึง ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ ซึ่งทําหน้าที่กลั่นกรองลักษณะของโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขาย คุณสมบัติของผู้ออก และความครบถ้วนถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลอื่นใดที่เปิดเผยผ่านผู้ให้บริการ สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัล สามารถติดต่อสอบถาม และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post Token X เตรียมรุกธุรกิจโทเคนดิจิทัลหลังได้รับใบอนุญาตทำ ICO Portal จาก ก.ล.ต. ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้าน Digital Asset Tokenization อาเซียนในปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Asset Tokenization ทลายขีดจำกัดโลกการลงทุนแห่งอนาคต https://thestandard.co/asset-tokenization/ Fri, 21 May 2021 11:31:58 +0000 https://thestandard.co/?p=491651 Asset Tokenization ทลายขีดจำกัดโลกการลงทุนแห่งอนาคต

เทคโนโลยี Blockchain เมื่อย้อนกลับไปสัก 3-5 ปีที่แล้วยั […]

The post Asset Tokenization ทลายขีดจำกัดโลกการลงทุนแห่งอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>
Asset Tokenization ทลายขีดจำกัดโลกการลงทุนแห่งอนาคต

เทคโนโลยี Blockchain เมื่อย้อนกลับไปสัก 3-5 ปีที่แล้วยังเป็นเพียง Buzzword ที่คนส่วนใหญ่อาจนึกไม่ออกว่าคืออะไร มีประโยชน์อะไร และจะมาทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างไร มาวันนี้เราเริ่มเห็นความสำคัญของ Blockchain ในการใช้ชีวิตมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดในการลงทุนของสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) ที่สามารถทำได้ง่ายดายและตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน

 

แน่นอนว่าหากพูดถึง Digital Assets ในวันนี้ คงต้องพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่หลายคนเริ่มจะคุ้นหูกันดี เช่น Bitcoin, Ethereum หรือ Dogecoin ที่พุ่งทะยานแตะดวงจันทร์ไปเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งได้สร้างเศรษฐีน้อยใหญ่เป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา รวมถึง Decentralized Finance (DeFi) และ Yield Farming ที่เป็นการลงทุนรูปแบบใหม่ที่เริ่มฮอตฮิตมากขึ้นทั่วโลก สำหรับรายย่อยที่หาแนวทางในการสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง

 

แต่โลกของ Blockchain และสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีโอกาสในอนาคตอีกมากที่หลายๆ คนอาจยังนึกไม่ถึง นั่นคือ Asset Tokenization ซึ่งหากกล่าวอย่างรวบรัดเป็นการแปลงสินทรัพย์ต่างๆ ให้มาอยู่ในรูปแบบโทเคนดิจิทัล (Digital Token) ทำให้การซื้อขายสินทรัพย์เหล่านี้ดำเนินการได้สะดวกรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสการเข้าไปลงทุนยิ่งขึ้นในอนาคต  

 

Asset Tokenization: ลบเส้นแบ่งการลงทุนในโลกจริงและโลกดิจิทัล

โดยหลักการแล้ว Digital Token สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือครองโทเคน ซึ่งให้ผลตอบแทนในลักษณะคล้ายคลึงกับการถือครองหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลที่หน้าที่หลักเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สำหรับ Digital Token สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 

 

  1. โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) ผู้ถือจะได้รับสิทธิการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ คล้ายคลึงกับการถือหน่วยลงทุน เช่น สิทธิจากส่วนแบ่งรายได้ หรือผลกำไรจากการลงทุนตามสัดส่วนโทเคนที่เข้าไปลงทุน  

 

  1. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) โดยผู้ถือโทเคนประเภทนี้จะได้รับสิทธิในการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ตามข้อตกลงของผู้ออกโทเคนนั้นๆ 

 

สำหรับ Asset Tokenization เป็นการนำสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งที่จับต้องได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ เครื่องประดับ งานศิลปะ และที่จับต้องไม่ได้ เช่น ตราสารหนี้ กองทรัสต์ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน มาแปลงให้กลายเป็นโทเคนดิจิทัลบน Blockchain โดยผูกกับมูลค่าของสินทรัพย์เพื่อใช้เป็นตัวแทนความเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ

 

การแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคนดิจิทัลสามารถเพิ่มทางเลือกการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากพูดถึงการลงทุนแบบเดิม เช่น หุ้น ตราสารหนี้ กองทรัสต์ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ จะมีกระบวนการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายแก่นักลงทุน (Securitization) ที่มีความซับซ้อนเรื่องกฎเกณฑ์ ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการเข้าไปลงทุน 

 

แต่การทำ Tokenization ทำให้ผู้ออกโทเคนสามารถนำสินทรัพย์ชิ้นหนึ่งที่มีมูลค่าสูงมาแตกเป็นหน่วยลงทุนจำนวนมากได้ เพื่อกระจายไปตามสัดส่วนของผู้ลงทุน ทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทำได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับสินทรัพย์นั้นๆ มากขึ้นในเวลาต่อมา

 

นอกจากนี้โทเคนดิจิทัลสามารถเพิ่มความคล่องตัวในการดูแลสินทรัพย์ จากเดิมที่การทำธุรกรรมและสัญญาต่างๆ อยู่บนกระดาษเป็นหลัก อีกทั้งยังมีความปลอดภัยด้วยเช่นกัน เนื่องจากโทเคนดิจิทัลที่อยู่บน Blockchain มีการเข้ารหัสเฉพาะ ซึ่งเก็บข้อมูลจำเพาะและระบุเวลาที่ธุรกรรมต่างๆ เกิดขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นยังเพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม โดยสามารถเข้าไปดูข้อมูลของการทำธุรกรรมได้ว่าผู้ซื้อสินทรัพย์เป็นใคร และใครเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นในอดีต 

 

มอง Business Model ในอนาคตของ Asset-Backed Token 

หากพูดถึงการสร้างรายได้จาก Asset-Backed Token นั้นคงเกิดขึ้นใหม่อีกหลายรูปแบบใน 1-3 ปี ข้างหน้า แต่โมเดลหลักที่มีความชัดเจนและน่าจะเห็นมากขึ้นในอนาคตอันใกล้อาจมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ การขายโทเคนในตลาดแลกเปลี่ยนโดยตรง (Direct Selling) และการแชร์กำไรของธุรกิจผ่านโทเคน (Profit Sharing Tokens) 

 

1. การขาย Token บน Exchange โดยตรง (Direct Selling)

การขายโทเคนโดยตรงส่วนมากจะเป็นการผูกไว้กับสินทรัพย์ที่อาจไม่มีสภาพคล่องมากนัก เช่น ภาพวาดหายากของปิกัสโซ ที่เมื่อผ่านการทำ Tokenization แล้วจะเกิดการกระจายความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้นๆ ผ่านโทเคน โดยเมื่อโทเคนขึ้นไปอยู่บนตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ยังสามารถถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยอีกมากมาย (Fractionalize) เพื่อกระจายสิทธิ์ของการเป็นเจ้าของไปยังรายย่อยมากๆ และเกิดการซื้อ-ขายเปลี่ยนมือกันเหมือนหุ้น ที่ราคาขึ้นอยู่กับมูลค่าของภาพวาดนั้น Fractionalization หรือการซอย Token ออกเป็นหน่วยย่อยๆ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนรายย่อยที่อาจไม่ได้มีทุนมากนักได้เข้ามาเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงมาก และมูลค่าของสินทรัพย์มีแนวโน้มจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงแม้จะถือครองเพียงเสี้ยวหนึ่งก็ตาม แต่อาจสร้างกำไรได้มากกว่าการลงทุนในหุ้นที่ตลาดผันผวนอยู่ในปัจจุบัน

 

กรณีศึกษาของ Tokenization แบบหน่วยย่อย (Fractionalization) นั้นมักผูกกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่อง (Illiquid) และมีมูลค่าสูง ทำให้คนทั่วไปหลายๆ คนเอื้อมไม่ถึง แต่มีเคสที่คลาสสิกเคสหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปได้เป็นถึงเจ้าของโรงแรมหรู St. Regis Aspen Resort ที่ถูก Tokenize โดย Elevated Returns (ER) กลุ่มบริษัทจัดการสินทรัพย์ชั้นนำจากสหรัฐฯ ผ่านการ ICO บน Indiegogo ในปี 2018 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของวงการก็ว่าได้เลยทีเดียว โดยการออกโทเคนของ St. Regis Aspen Resort สามารถเพิ่มทุนได้ถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นช่วงเดียวกับที่ ER ได้ประกาศเข้าถือหุ้น บลจ.ซีมิโก้ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในการรุกตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในเอเชีย

 

2. การแชร์กำไรของธุรกิจผ่านโทเคน (Profit Sharing Tokens) 

บางธุรกิจอาจเลือกแบ่งผลตอบแทนจากการเข้ามาลงทุนสนับสนุนธุรกิจในรูปแบบของโทเคน หลังธุรกิจสามารถทำกำไรได้ในอนาคต ด้วยการออก Participation Token ซึ่งเป็นโทเคนแสดงสิทธิการได้รับส่วนแบ่งกำไร ซึ่งนักลงทุนจะได้รับกำไรผ่าน Payout Token โดยโทเคนทั้งสองแบบสามารถซื้อขายได้บนตลาดแลกเปลี่ยน (Exchange) 

 

Tokenization ในลักษณะนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่ต้องโอนความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของธุรกิจให้นักลงทุน (Ownership Transfer of the Asset) ซึ่งนำไปปรับใช้ได้กับโปรเจกต์หลายขนาดและหลายรูปแบบ ตั้งแต่โปรเจกต์ขนาดเล็ก เช่น การออกโทเคนเพื่อระดมทุนสร้างแพลตฟอร์มเกม หรือโปรเจกต์เชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 

 

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น แม้สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มมองหาโอกาสจากการทำ Asset Tokenization แต่จากประสบการณ์ของ Bluebik ในฐานะบริษัทคอนซัลต์ที่ได้ร่วมงานกับองค์กรขนาดใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรม พบว่า ด้วยกฎเกณฑ์และข้อจำกัดทางกฎหมายในหลายด้าน การแสวงหาโอกาสธุรกิจจากโลกสินทรัพย์ดิจิทัลจำเป็นต้องวางกลยุทธ์อย่างรัดกุมและประเมินความพร้อมรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ัชัดเจน การวาง Business Model ที่สอดคล้องกันและมีโอกาสเติบโตขึ้นอีกในอนาคต รวมถึงประเมินขีดความสามารถในปัจจุบัน และช่องว่างที่ต้องพิจารณาในการพัฒนาธุรกิจหรือเสาะหาพันธมิตรเพื่อส่งเสริมกันและกัน ตลอดจนขั้นตอนการรุกตลาดแบบ Step by Step ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากในการบริหารจัดการ

น่าสังเกตว่าภายในช่วงเวลาไม่กี่ปีนี้ เราได้เห็นการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมการเงินอย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปิดตลาดลงทุนให้กับภาคธุรกิจที่แต่เดิมนั้นเข้าถึงได้ยาก ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นก็มาพร้อมกับความเสี่ยง ขณะที่ภาคธุรกิจและนักลงทุนเองยังไม่รู้เท่าทันมากพอ ดังนั้นก่อนก้าวเข้าไปสู่สิ่งใหม่ๆ ควรต้องศึกษา วิเคราะห์ และคิดวางแผนอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอย่างแท้จริง 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post Asset Tokenization ทลายขีดจำกัดโลกการลงทุนแห่งอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>