APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 14 Nov 2024 13:17:58 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ประชันวิสัยทัศน์ ‘คลื่นลูกใหม่’ การเมืองไทย https://thestandard.co/young-leaders-dialogue-the-next-wave-politics/ Thu, 14 Nov 2024 13:17:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1008730

เปิดวิสัยทัศน์ของ ‘ผู้นำรุ่นใหม่’ จากแต่ละขั้วอำนาจของก […]

The post ประชันวิสัยทัศน์ ‘คลื่นลูกใหม่’ การเมืองไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

เปิดวิสัยทัศน์ของ ‘ผู้นำรุ่นใหม่’ จากแต่ละขั้วอำนาจของการเมืองไทย ท่ามกลางความท้าทายนานัปการของโลกยุคใหม่ ฝ่ายรัฐบาลจะออกแบบนโยบายอย่างไรเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ทันความเปลี่ยนแปลง และฝ่ายค้านจะวางบทบาทของตนเองอย่างไรให้ประชาชนยังเชื่อมั่นในความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย

 

ต่อไปนี้คือคำถาม-คำตอบบางส่วน จากเวที Young Leaders Dialogue หัวข้อ The Next Wave Politics: New Leaders, New Vision คลื่นลูกใหม่การเมืองไทย ในมือผู้นำแห่งอนาคต

 

ร่วมแลกเปลี่ยนโดย เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินรายการโดย ชยพล มาลานิยม Content Creator THE STANDARD

 

Q: โจทย์การเมืองไทยในมุมมองคนรุ่นใหม่

 

เผ่าภูมิ: มิติแรกคือเรื่องวิธีมองกฎหมาย ซึ่งภาคราชการกับภาคการเมืองมองเห็นไม่ตรงกัน กล่าวคือ ภาคราชการมักยึดตามตัวบท เดินตามกฎหมายแบบเคร่งครัด และทำตามสิ่งที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ขณะที่ภาคการเมืองจะมองต่างออกไป คือมองภาพกว้างมากขึ้น อะไรที่กฎหมายไม่ได้เขียนห้ามแปลว่าทำได้ ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 

มิติถัดมาคือปัญหาเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาเราเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจมีอัตราเติบโตต่ำ ขณะที่ศักยภาพการพัฒนาก็ลดลงเรื่อยๆ จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะปริมาณและคุณภาพของแรงงาน (Workforce) ที่เป็นตัวขับเคลื่อน วิธีแก้เบื้องต้นคือใช้กลไกภาษี เรื่องสภาพคล่องก็สำคัญ เน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง

 

ซาบีดา: โจทย์สำคัญคือการทำงานโดยตั้งต้นจากปัญหาของประชาชน สิ่งที่นักการเมืองต้องทำคือการลงจากหอคอย และลงพื้นที่เพื่อสัมผัสและรับฟังปัญหาจากประชาชน อีกโจทย์คือการประสานการทำงานระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ในการทำงานการเมือง โดยมีหัวใจคือการทำงานร่วมกัน

 

ณัฐพงษ์: พรรคประชาชนมีจุดยืนที่ชัดเจนด้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดจนนิรโทษกรรมคดีการเมือง เรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศและเชื่อมโยงกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนอย่างแน่นอน เพราะประเทศปกครองด้วยหลักนิติรัฐ นิติธรรม แต่การเลือกตั้งที่ผ่านมาสะท้อนว่ามีอำนาจอื่นเข้ามาแทรกแซง

 

ดังนั้นกระดุมเม็ดแรกคือการจัดระบบระเบียบอำนาจรัฐให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ตรวจสอบได้ ต้องทำให้รัฐเป็นสถาบันที่โอบรับความหลากหลาย ถ้ากลัดกระดุมเม็ดแรกได้เรื่องอื่นๆ จะตามมา โดยเฉพาะความรุดหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

 

Q: เมื่อคนเห็นต่าง สร้างทางออกร่วมกันอย่างไร? 

 

ซาบีดา: ความเห็นต่างเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ คนที่เห็นต่างจากเราไม่ใช่ศัตรูเรา เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ สิ่งสำคัญคือการยอมรับและให้เกียรติกัน โดย 3 ภาคส่วนในสังคมที่สามารถร่วมกันผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมได้คือ นักการเมือง ข้าราชการ และสื่อมวลชน ทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องมาช่วยกันผลักดันสังคม

 

ทั้งนี้ ปมแรกที่ต้องแก้คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน และการยกระดับรายได้ของประชาชน

 

เผ่าภูมิ: ในมุมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย มองว่าแต่ละพรรคมี DNA ต่างกัน และ DNA นั้นย่อมสัมพันธ์กับการบริหาร

 

สำหรับพรรคเพื่อไทย DNA คือการโฟกัสจากรากหญ้า เป้าหมายคือขนาดเศรษฐกิจหรือ ‘เค้ก’ ทั้งก้อนต้องใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันต้องถูกแบ่งให้ทั่วถึงและเท่าเทียมมากขึ้นด้วย นี่คือนโยบายที่ตอบโจทย์ DNA แบบพรรคเพื่อไทย

 

ณัฐพงษ์: ในแง่ของการยกระดับเศรษฐกิจและการลงทุน คิดว่า ‘รัฐ’ มีบทบาทในการถือธงนำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำเองหรือลงทุนเองทุกอย่าง

 

หัวใจสำคัญคืออย่ามองกลุ่มทุนหรือภาคเอกชนเป็นศัตรู แต่ให้มองว่าสามารถร่วมมือกัน ใช้เงินจากภาคเอกชนร่วมทุนกันได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แค่งบประมาณรัฐเท่านั้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ‘Mega Project Based’ ที่พรรคประชาชนพยายามนำเสนอ

 

Q: หนึ่งข้อที่นักการเมืองรุ่นใหม่ต้อง ‘กล้า’ เปลี่ยน

 

เผ่าภูมิ: กล้าเปลี่ยนวิธีมองกฎหมาย โดยเฉพาะภาคราชการ อะไรที่กฎหมายไม่ได้ห้าม แปลว่านั่นคือสิ่งที่ทำได้ นี่ไม่ใช่ช่องว่างหรือช่องโหว่ แต่คือการมองกฎหมายในมุมกว้าง ซึ่งสามารถช่วยปลดล็อกได้อีกหลายเรื่อง

 

ซาบีดา: กล้าออกมาจากกรอบความคิดของตัวเอง กล้าสู้เคียงบ่าเคียงไหล่พี่น้องประชาชน กล้าลดความสำคัญของตัวเอง และมองความสำคัญของคนรอบข้างและสังคมมากขึ้น 

 

ณัฐพงษ์: กล้าลงโทษคนผิด เช่น นักการเมืองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน นักการเมืองที่เคยมีส่วนร่วมกับการปฏิวัติ อย่ายอมทนกับวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล

The post ประชันวิสัยทัศน์ ‘คลื่นลูกใหม่’ การเมืองไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
การเมืองต้องมั่นคง เพื่อดึงคนเก่งมาขับเคลื่อนประเทศ https://thestandard.co/strong-politics-driving-country/ Thu, 14 Nov 2024 10:45:42 +0000 https://thestandard.co/?p=1008625

เวที Young Leaders Dialogue งาน THE STANDARD ECONOMIC F […]

The post การเมืองต้องมั่นคง เพื่อดึงคนเก่งมาขับเคลื่อนประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เวที Young Leaders Dialogue งาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 หัวข้อ Global Talent Magnet: Building a World-Class Workforce กลยุทธ์ประเทศไทย ดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานอย่างไร ร่วม Brainstorm หาทางออกกับ CK Cheong CEO of Fastwork และ ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์ ผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Looloo Technology

 

ทำไมคนเก่งไม่มาทำงานที่ไทย

 

  1. ไม่รู้จะกลับไปทำอะไร เพราะสิ่งที่เขาเรียนมาลึกเกินกว่าจะมีธุรกิจแบบนี้ในไทย สิ่งนี้สะท้อนว่าไทยอาจยังไม่มีการทำ R&D (Research and Development) ที่มากเพียงพอ

 

  1. กลัวเข้ากับระบบในไทยไม่ได้ ภาพจำของวัฒนธรรมการทำงานในไทยคือระบบอาวุโส ไม่ควรข้ามหน้าข้ามตา ถ้าเสนอความคิดที่แตกต่างคือการก้าวร้าว ดังนั้นจึงทำให้คนเก่งรู้สึกไม่มีอิสระทางความคิด

 

ทำอย่างไรให้ไทยมี Global Talents

 

1. เปลี่ยนที่ระบบ 

จากรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปีล่าสุดพบว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศหนึ่งเจริญไม่ใช่เรื่องการมีทรัพยากรมาก แต่คือคุณภาพของระบบและสถาบันของประเทศ ซึ่งหมายถึงสถาบันการเมือง กฎหมาย การเงิน และระบบกระจายอำนาจ 

 

ถ้าเราจะดึง Global Talents เราต้องให้เขาแข่งขันในกฎกติกาที่แฟร์และมั่นคง ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ระบบต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน เขาจึงจะกล้าเข้ามาลงทุนระยะยาวได้

 

2. ให้ความสำคัญกับการศึกษา

กระจายการศึกษาที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงทั้งประเทศ ส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพในท้องถิ่น เพื่อให้คนที่เรียนจบในพื้นที่นั้นๆ มีโอกาสพัฒนาท้องถิ่นที่จะตอบโจทย์คนในพื้นที่

 

3. นโยบายทางภาษี

ข้อเสนอเก็บภาษี SME ที่อยู่นอกกรุงเทพฯ น้อยกว่าที่อยู่ในกรุงเทพฯ ยิ่งไกลกรุงเทพฯ มากภาษียิ่งน้อย

 

4. เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

หากรอการเมืองระดับประเทศเปลี่ยนไม่ได้ ก็เปลี่ยนจากที่ทำงานก่อน ออกแบบวัฒนธรรมองค์กรใหม่ สร้างคนให้กล้าแสดงความคิดเห็น และทำให้คนทำงานเห็นว่างานของเขาถูกตัดสินด้วยคุณค่างานจริงๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบพวกพ้องหรือระบบอุปถัมภ์

The post การเมืองต้องมั่นคง เพื่อดึงคนเก่งมาขับเคลื่อนประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิธีคิดคนรุ่นใหม่ที่ทำให้ไทยเป็นเมืองแห่งอนาคต https://thestandard.co/thestandardeconomicforum-new-generation-thinking/ Thu, 14 Nov 2024 08:31:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1008577

วิธีคิดจาก คนรุ่นใหม่ ที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองแห่ […]

The post วิธีคิดคนรุ่นใหม่ที่ทำให้ไทยเป็นเมืองแห่งอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>

วิธีคิดจาก คนรุ่นใหม่ ที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองแห่งอนาคต

 

เวที Young Leaders Dialogue งาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 หัวข้อ City of Tomorrow: Redesigning Urban Life ออกแบบเมืองแห่งอนาคต คนรุ่นใหม่ต้องการอะไร? มีคนรุ่นใหม่ระดมความคิดสร้างสรรค์เมืองในฝัน ได้แก่ จิรพิสิษฐ์ รุจน์เจริญ ประธานกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา (YEC), ธนัทเศรษฐ์ หอวัฒนพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายออกแบบ ViaBus และ ผศ.ปาณิทัต รัตนวิจิตร หัวหน้าฝ่ายหลักสูตรฝึกอบรมและการวิจัย we!park โดยมีข้อเสนอที่น่าสนใจคือ

 

  1. หัวใจสำคัญคือการ Decentralize กระจายเงินทุนและทรัพยากรจากหัวเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองโตเดี่ยว ไปสู่หัวเมืองอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองที่มีศักยภาพ เพราะนอกจากจะทำให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวสู่ภูมิภาคอื่นๆ แล้ว จะทำให้ประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องให้อำนาจการตัดสินใจกับเมืองนั้นๆ ด้วย

 

  1. ปรับผังเมือง เพราะการปรับผังเมืองจะทำให้เกิดความเป็นย่าน (Neighbourhood) นำไปสู่การสัญจรที่สะดวกและทำให้เกิดย่านเศรษฐกิจ และนำไปสู่การกระจายรายได้สู่ชุมชน

 

  1. สร้างเมืองให้เป็นแบรนด์ที่คนรักและมีส่วนร่วม กรณีศึกษาสำคัญคือการสร้างอัตลักษณ์เมืองของจังหวัดนครราชสีมา ที่ให้ทุกคนร่วมกันออกแบบ ตัดสินใจ ประยุกต์ไปสู่สินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างกางเกงแมวโคราช และแมวกวักเจ้าเมื่อยที่ใช้ Soft Power เข้ามาสนับสนุน ทำให้คนรู้จักเมืองรองอย่าง ‘โคราช’ มากยิ่งขึ้น

 

  1. เพาะเมล็ดพันธุ์ความคิดว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองได้ ทั้งภาครัฐที่สามารถอำนวยพื้นที่หรือโครงสร้างพื้นฐาน เงินทุน ภาคเอกชนที่อำนวยองค์ความรู้ ภาคสังคมที่สามารถลงแรงกำลังและสื่อสารความต้องการที่แท้จริง โดยทุกภาคส่วนสามารถทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงได้ด้วยการถอยออกมา 1 ก้าว แล้วมองผ่านเลนส์ของแต่ละฝ่ายว่าในสายตาของแต่ละฝ่ายต้องการอะไร และเราสามารถทำอะไรเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นได้บ้าง เมื่อความร่วมมือเกิดขึ้นจะนำไปสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของเมืองอย่างแท้จริง

 

  1. ภาครัฐนอกจากจะลงทุนกับฮาร์ดแวร์อย่างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างเท่าเทียมแล้ว จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์อย่างการพัฒนาคน ทำให้คนมีการศึกษา มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะกลายเป็นแรงผลักดันเมืองในฝันให้เกิดขึ้นในอนาคต

The post วิธีคิดคนรุ่นใหม่ที่ทำให้ไทยเป็นเมืองแห่งอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>
น้ำท่วมทะลักโลก น้ำสะอาดแห้งเหือด ธุรกิจปรับตัวอย่างไร? https://thestandard.co/global-water-crisis-business-adaptation/ Thu, 14 Nov 2024 07:05:27 +0000 https://thestandard.co/?p=1008525 น้ำ

เมื่อโลกไม่เหมือนเดิม น้ำที่มนุษย์ใช้ได้อาจเหลือไม่เพีย […]

The post น้ำท่วมทะลักโลก น้ำสะอาดแห้งเหือด ธุรกิจปรับตัวอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
น้ำ

เมื่อโลกไม่เหมือนเดิม

น้ำที่มนุษย์ใช้ได้อาจเหลือไม่เพียงพอ 

ภาคธุรกิจควรมีจุดยืนอย่างไร

 

สองโจทย์ธุรกิจในยุค Climate Change รุนแรง

 

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 หัวข้อ Water Resilience: Guiding Thailand’s Businesses Through the Climate Crisis Era คู่มือบริหารทรัพยากรน้ำ พาธุรกิจไทยฝ่าวิกฤตโลกร้อน ถึงภาวะ Climate Change ที่รุนแรงขึ้นกว่าในอดีต

 

ในปี 2011 เกิดมหาอุทกภัยกระทบทั่วประเทศไทย สร้างความเสียหายกว่า 1.44 ล้านล้านบาท ขณะที่ในปัจจุบันเกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงในจังหวัดเชียงราย คิดเป็นความเสียหายถึง 3 หมื่นล้านบาท และมีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีความเสียหายถึง 4.6 หมื่นล้านบาท

 

ยิ่งไปกว่านั้นรายงานจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า ในปี 2023 แหล่งน้ำในโลกเกิดความแห้งแล้งสูงที่สุดในรอบ 30 ปี มีการสูญเสียธารน้ำแข็งกว่า 600 กิกะตัน ถือเป็นปริมาณสูงที่สุดในรอบ 50 ปี ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวตั้งแต่วันนี้ ทั้ง 

 

  1. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
  2. การปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดได้ในยุคโลกเดือด (Adaptation)

 

Adaptation: ข้อเสนอเพื่ออยู่รอดในวิกฤตโลก 

 

  1. Metropolitan Outer Area Underground Discharge Channel: เมื่อการเกิดฝนมีความรุนแรงมากขึ้น การสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ใต้ดินถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้เมืองปรับตัวอยู่บนโลกท่ามกลางวิกฤตได้ อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายอยู่มากเนื่องจากใช้เงินลงทุนสูง 

 

  1. อยู่ให้รอดด้วย Emergency Alert System: ภาวะโลกรวนสะท้อนถึงภาวะที่มนุษย์ไม่สามารถคาดเดาได้ ระบบเตือนภัยที่ช่วยเตือนคนในชุมชนได้ทันท่วงที ถือเป็นสิ่งที่สมควรต้องเกิดขึ้นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

  1. Sponge City: เป็นการนำแนวคิด Nature-based Solutions มาใช้ในการออกแบบเมืองให้มีสภาวะเหมือนฟองน้ำ (Sponge City) อย่างเช่น สวนเบญจกิติที่มีการออกแบบสวนโดยสามารถรองรับน้ำจากฝนได้มากเกินความจำเป็น ถือเป็นการใช้นวัตกรรมจากธรรมชาติมาตั้งรับกับภาวะโลกเดือด

 

Mitigation: การปรับตัวของภาคธุรกิจ

 

“เรื่องน้ำ แม้จะดูเป็นเรื่องของภาคธุรกิจ แต่ 70% ของน้ำบนโลก ถูกใช้ในภาคเกษตรกรรมและการบริโภค ดังนั้นนี่คือเรื่องใหญ่หลวงของมนุษย์”

 

ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า หากธุรกิจยังทำแบบเดิม ภายในปี 2050 จะเกิดความตกต่ำของ GDP คิดเป็นความเสียหายกว่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และต้นทุนของการปรับตัวในอนาคตก็อาจสูงขึ้นถึง 5 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปัจจุบัน

 

นั่นทำให้ปัจจุบัน TCP มีการกำหนดเป้าหมาย Net Water Positive หรือการคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติให้มากกว่ากระบวนการผลิตภายในปี 2030 ด้วยการสร้างความยั่งยืนของการใช้น้ำ (Water Security) การใช้กระบวนการบำบัดน้ำตลอดกระบวนการ (100% Wastewater Treatment) และออกแบบโรงงานอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) 

 

4 กรอบกลยุทธ์สำหรับภาคธุรกิจ 

 

ในช่วงท้ายสราวุฒิกล่าวถึงกรอบความคิดสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องการนำความยั่งยืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ และสามารถสร้างอิมแพ็กต์ให้เกิดขึ้นได้ผ่าน 4 ข้อสำคัญ ได้แก่ 

 

  1. Set Clear Goals ตั้งเป้าให้ชัดเจน
  2. Plan and Take Action วางแผนและลงมือทำ 
  3. The Journey is Long ความยั่งยืนคือการเดินทาง ต้องทำและวัดผลอย่างต่อเนื่อง
  4. Constant Self-Improvement พัฒนากระบวนการและเรียนรู้อยู่เสมอ 

 

“วิกฤตเรื่องน้ำเป็นเรื่องจริง เราทุกคนจะโดนผลกระทบแน่ๆ ถ้าอยากลดผลกระทบ เราต้องกล้าตั้งแต่วันนี้”

The post น้ำท่วมทะลักโลก น้ำสะอาดแห้งเหือด ธุรกิจปรับตัวอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
Medical Tech สัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก? https://thestandard.co/thai-medical-tech-world-class-competitive/ Thu, 14 Nov 2024 06:11:42 +0000 https://thestandard.co/?p=1008493 Medical Tech

“เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ตอนนี้เราไม่แพ้ใครในโลก แต่ปร […]

The post Medical Tech สัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก? appeared first on THE STANDARD.

]]>
Medical Tech

“เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ตอนนี้เราไม่แพ้ใครในโลก แต่ประเทศไทยยังไม่มีภาพจำด้านนี้ คำถามคือเราจะสร้าง Branding อย่างไรเพื่อสื่อสารว่า Medical ไทยมีดี”

 

บทสรุปจากเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: Young Leaders Dialogue หัวข้อ ‘The Next Gen Medical Tech การแพทย์ยุคใหม่ จากวิทยาศาสตร์สู่นวัตกรรมสุขภาพ’

 

ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ดร.ปัณณ์ อักษรวรวัฒน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)​ และ รศ. ภญ. ดร.สุพรรณิการ์ ถวิลหวัง ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ บริษัท เซลล์มีดี จำกัด และอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการพูดคุยโดย นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ภัทรสุดา บุญญศรี

 

ความท้าทายของ Medical Tech ในไทย

 

  • ประเทศไทยยังมี Infrastructure และ Ecosystem ที่ไม่สามารถสนับสนุนและพัฒนานักวิจัยหรือนักลงทุนได้มากพอ ทั้งที่เรามี Biodiversity ที่ดีมาก
  • Tech, Commercialized และ Spokesperson เป็นปัจจัยที่สำคัญของการขับเคลื่อน Medical Tech ประเทศไทย โจทย์สำคัญคือจะประสานความร่วมมือ (Integrate) ทั้ง 3 ส่วนนี้อย่างไรให้เกิดขึ้นจริง
  • ในแง่ Branding หรือภาพลักษณ์ของประเทศไทย เรายังขาดการสื่อสารที่ชัดเจนในระดับสากล เพื่อให้โลกรู้ว่าเรามีดีด้าน Medical Tech
  • คนไทยส่วนหนึ่งยังมี Mindset ว่าเรื่องยากๆ แบบนี้ ‘คนไทยทำไม่ได้หรอก’ ทั้งที่บุคลากรของเรามีทั้งศักยภาพและองค์ความรู้สูง
  • คนเรียนสายวิทย์รุ่นใหม่มอง ไม่ให้ Career Path ในสายวิทยาศาสตร์ เรียนจบปริญญาเอกมาแต่นึกภาพได้แค่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

 

ทางออกและข้อเสนอแนะ

 

  • Biodiversity ในประเทศไทยโดดเด่นมาก เหมาะกับการพัฒนาในธุรกิจการแพทย์
  • เน้นการยกระดับ ‘ขุมทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดินไทย’ รวมกับเทคโนโลยีและความรู้ด้านการแพทย์ เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ส่งเสริมงานวิจัยในห้อง สู่การทำงานเชิงพาณิชย์ (Commercialized)
  • ส่งเสริมการสื่อสารผลิตภัณฑ์ไทยให้ Modernized มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าทั่วโลกเข้าใจในผลิตภัณฑ์ไทย เช่น สมุนไพรไทย ที่เป็นต้นกำเนิดของสารออกฤทธิ์เพื่อสุขภาพ (Active Pharmaceutical Ingredients: API)
  • ต้องมีการผลักดันการศึกษาทางคลินิกสำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยไทยรุ่นใหม่
  • ส่งเสริมการสื่อสารกับชาวต่างชาติว่า ในประเทศไทยมี Start-up ที่ศึกษาเรื่อง Medical Deep Tech อย่างจริงจังและมีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตลาดโลก
  • คนในสังคมต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่า ‘คนไทยทำไม่ได้หรอก’ แล้วสร้างพื้นที่หรือช่องทางที่ Support คนรุ่นใหม่ให้มีพื้นที่ฉายแสง
  • Share Success อย่างเดียวไม่พอ ต้อง Share Risk ด้วย

The post Medical Tech สัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก? appeared first on THE STANDARD.

]]>
อธิการบดี ม.มหิดล เผย ‘3 เทรนด์สำคัญ’ เปิดพรมแดนใหม่ พลิกวงการสุขภาพในสังคมไทย https://thestandard.co/the-standard-economic-forum-2024-young-leaders-dialogue-8/ Wed, 13 Nov 2024 14:08:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1008299

วันนี้ (13 พฤศจิกายน) ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธ […]

The post อธิการบดี ม.มหิดล เผย ‘3 เทรนด์สำคัญ’ เปิดพรมแดนใหม่ พลิกวงการสุขภาพในสังคมไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (13 พฤศจิกายน) ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ขึ้นกล่าวสปีชในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: BRAVE NEW WORLD เศรษฐกิจไทย ไล่กวดโลกใหม่ ในหัวข้อ The Next Frontier: Game-Changing Trends in Healthcare พรมแดนใหม่ เทรนด์พลิกวงการสุขภาพ โดยระบุว่า ‘ตัวเปลี่ยนเกม’ (Game Changer) ในวงการสุขภาพขณะนี้มีอยู่ 3 ด้านสำคัญ นั่นคือ

 

  1. นวัตกรรมการรักษา เทรนด์ใหม่น่าจับตาในวงการสุขภาพ

 

ตลาดยาและอาหารเสริมเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดยามีมูลค่าอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดอาหารเสริมมีมูลค่าสูงถึง 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงกว่าค่าใช้จ่ายด้านเฮลท์แคร์ในปัจจุบัน

 

ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ชี้ว่านวัตกรรมการรักษาใหม่ๆ ที่ใช้ตัว ‘ยาใหม่’ ซึ่งเป็น Game Changer คือ ‘ยาที่มีชีวิต’ ที่เรียกว่า ‘Advanced Therapy Medicinal Products’ (ATMP) โดยนำเซลล์ในร่างกายคนมาใช้รักษาโรคผ่านการตัดต่อยีน เช่น การตัดต่อยีนในเม็ดเลือดขาว CAR T-cell Therapy เพื่อทำให้เม็ดเลือดขาวจัดการกับมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การจัดตั้งบริษัท Genepeutic Bio Company Limited (GNPT) โดยเป็นการร่วมทุนของ Thai Foods Group Public Company Limited กับ สวทช.

 

การตัดต่อยีนยังทำได้ในอีกหลายโรค เช่น ธาลัสซีเมีย โดยตัดต่อยีนธาลัสซีเมียให้ปกติแล้วใส่กลับไปในร่างกายคนเดียว เพื่อให้ผลิตเม็ดเลือดแดงที่ปกติได้ นอกจากนี้ Xenotransplantation ก็จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางการรักษาที่น่าสนใจ โดยการนำอวัยวะหมูมาตัดต่อยีน เพื่อให้ความสามารถในการทำปฏิกิริยาจำเพาะ (Antigenicity) ของหมูลดลง เหมือนได้เนื้อเยื่อ (Tissue) ของคนมากขึ้น ในอนาคตไทยอาจมีฟาร์มหมูที่มีคุณภาพสูง มีการติดเชื้อน้อยมากๆ หรือเลี้ยงหมูปลอดเชื้อได้ ก็จะเป็นแหล่งผลิตอวัยวะสำคัญๆ อย่างหัวใจ ไต และตับ ให้กับพวกเราในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลอง

 

ขณะที่สมุนไพรถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ เพราะไทยมีความหลากหลายทางสมุนไพรเป็นอย่างมาก และควรได้รับการสนับสนุน เพื่อลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะผลักดันนโยบายเพิ่มการเบิกจ่ายสมุนไพรเพิ่มขึ้นอีก 10% ในปีนี้ และลดการเบิกจ่ายยาที่มีสรรพคุณด้านเดียวกันกับสมุนไพรลดลงอีก 5% เพื่อสนับสนุนให้คนมาใช้สมุนไพรมากขึ้น เช่น ขมิ้นชันที่มีสรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้ดี จากขมิ้นชันที่อาจมีมูลค่าราว 20 บาทต่อกิโลกรัม อาจเพิ่มขึ้นเป็น 80,000 บาทต่อกิโลกรัมได้ ถ้านำไปสกัดเป็น Facial Oil และเวชสำอางที่สำคัญ โดยการศึกษาล่าสุดของศิริราชพบว่าขมิ้นชันยังมีคุณสมบัติชะลอการแตกของเม็ดเลือดแดงในคนไข้ที่เป็นธาลัสซีเมียได้ อีกทั้งพืชสมุนไพรอย่างพรมมิยังมีสรรพคุณช่วยรักษาสมองเสื่อม ขณะที่ใบบัวบกสายพันธุ์ศาลายา 1 มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการผิวหนังอักเสบได้

 

นอกจากนี้ ยังจัดตั้งองค์กรอย่าง Clinixir ซึ่งเป็นความร่วมมือของ Bualuang Ventures และโรงเรียนแพทย์อีก 8 แห่ง โดยองค์กรนี้จะทำหน้าที่เป็น ‘ผู้จัดการในการทำวิจัย’ ให้เกิดการขึ้นทะเบียน จะเป็น Game Changer ของไทยที่ทำให้มีวิธีการผลิตยาใหม่ได้ตลอดขั้นตอน

 

  1. Wellness Center กับการแก้โจทย์ ‘สังคมผู้สูงอายุ’ ของไทย

 

ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ระบุว่าไทยต้องเน้นเรื่อง ‘ความเป็นอยู่ที่ดี’ (Wellness) ให้เพิ่มมากขึ้น เพราะในอีก 100 ปีข้างหน้า ประชากรไทยราว 66 ล้านคน ตัวเลขคาดการณ์จะเหลือเพียงแค่ราว 27 ล้านคนเท่านั้น

 

ขณะที่ตัวเลขคาดการณ์อาเซียนในปี 2050 จะมีประชากรสูงอายุสูงถึง 21% แต่ถ้าดูเฉพาะประเทศไทยขณะนี้เรามีประชากร 20% ที่อายุเกิน 60 ปีแล้ว ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีประชากรสูงอายุสูงมาก โดยในอีก 20 ปีข้างหน้า 1 ใน 3 ของประชากรไทยจะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งจะตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่แพงมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนหรือซ่อมลิ้นหัวใจโดยไม่ผ่าตัด จึงทำให้แนวคิดที่อยากทำให้ผู้สูงอายุมาอยู่ร่วมกันหรือทำงานให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้กลายเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่างที่จะนำมาใช้แก้โจทย์สังคมผู้สูงอายุของไทย เช่น การสร้าง Wellness Center อย่างที่พักผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์ รวมถึงส่งเสริมการอบรมและเสริมอาชีพ ‘นักบริบาล’ (Caregiver) และสนับสนุน Living Will ให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเสียชีวิตที่บ้านแทนโรงพยาบาล

 

  1. เทคโนโลยีล้ำสมัยปฏิวัติการรักษาพยาบาล

 

ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร กล่าวว่าแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) กลายมาเป็นผู้ช่วยการรักษาทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีการใช้ LLM รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่าง ChatGPT มาใช้ในการช่วยรักษาและให้คำปรึกษาคนไข้ ทั้งยังพยายามสนับสนุนการรักษาทางไกล (Telemedicine) ส่งยาทางไปรษณีย์ และเพิ่มศูนย์เจาะเลือดตามจุดต่างๆ เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล

 

ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ยังระบุว่าในอนาคต Game Changer ที่สำคัญคงจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนการรักษาแบบที่ต้องไปโรงพยาบาล เอารองเท้าไปเข้าคิวแบบในภาพยนตร์ หลานม่า มาเป็นการรักษาแนวใหม่ที่มี AI มาช่วยหมอในเรื่องต่างๆ เช่น อ่านฟิล์มเอ็กซเรย์ หรือแปลผลแล็บ

 

The post อธิการบดี ม.มหิดล เผย ‘3 เทรนด์สำคัญ’ เปิดพรมแดนใหม่ พลิกวงการสุขภาพในสังคมไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปตท. เปิดกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านพลังงานสู่เป้าหมาย Net Zero https://thestandard.co/the-standard-economic-forum-2024-young-leaders-dialogue-7/ Wed, 13 Nov 2024 12:22:49 +0000 https://thestandard.co/?p=1008262 Net Zero

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ […]

The post ปตท. เปิดกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านพลังงานสู่เป้าหมาย Net Zero appeared first on THE STANDARD.

]]>
Net Zero

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM: BRAVE NEW WORLD เศรษฐกิจไทย ไล่กวดโลกใหม่ ในหัวข้อ Global Energy Transition: Pathway towards Sustainable Future พลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ว่า โลกปัจจุบันมีเรื่อง Climate Change เพื่อเปลี่ยนผ่านพลังงานให้ใช้ฟอสซิลน้อยลง รวมไปถึงสังคมสูงวัย คนรุ่นใหม่ สังคมเมืองขยายตัวขึ้น และการเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ 

 

แน่นอนว่าบริบทต่างๆ เชื่อมโยงกับปัญหาโลกปัจจุบัน จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2000-2023 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้น เนื่องจากผู้คนใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งก็มาจากภาคอุตสาหกรรมด้วย 

 

และโลกมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากใช้พลังงานสะอาดอย่างโซลาร์และน้ำมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าความสมดุลเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต้องมาด้วยกัน ประเทศที่พัฒนาแล้วมีงบมากพอก็สามารถเปลี่ยนได้เร็ว 

 

จะเห็นว่าตัวแปรที่สำคัญมากๆ คือก๊าซธรรมชาติ ฟอสซิลเป็นพลังงานไฮโดรคาร์บอนที่ถือว่าสะอาดที่สุด แล้วอย่างอื่นก็ค่อยๆ มา อย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก ทุกอย่างต้องใช้เวลา ในหลายๆ ประเทศต่างมีความพร้อมในเรื่องนี้

 

เช่นเดียวกับ ASEAN รวมถึงประเทศไทย จะเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานที่เราอยู่สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้อีกระยะหนึ่ง เพราะกว่าจะเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก

 

ปัจจุบันไทยมีก๊าซธรรมชาติใช้เองประมาณ 50% ของความต้องการทั้งหมด และอีก 50% นำเข้า ขณะที่น้ำมันนำเข้า 90% แต่ไทยก็มีแหล่งก๊าซธรรมชาติเหมือนกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบริษัทพลังงานต่างๆ ที่พยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้การใช้ก๊าซธรรมชาติคำนึงถึงการปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้ ปตท. ทำโครงการ Carbon Capture and Storage หรือ CCS เป็นการจับและกักเก็บคาร์บอนให้ไม่ถูกปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นถ้าไทยจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero ก็จำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยี CCS ซึ่งหากในอนาคตสามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ก็จะช่วยให้ไทยไปสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืนได้ รวมถึงการพยายามเพิ่มทางเลือกในการใช้พลังงานที่สะอาดขึ้นอย่างพลังงานไฮโดรเจน 

 

 

The post ปตท. เปิดกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านพลังงานสู่เป้าหมาย Net Zero appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทคโนโลยีอวกาศแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร https://thestandard.co/the-standard-economic-forum-2024-young-leaders-dialogue-6/ Wed, 13 Nov 2024 12:17:21 +0000 https://thestandard.co/?p=1008256 เทคโนโลยีอวกาศ

🚀ดร.พงศธร สายสุจริต รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยี […]

The post เทคโนโลยีอวกาศแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทคโนโลยีอวกาศ

🚀ดร.พงศธร สายสุจริต รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (สทอศ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.), ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล นักพัฒนานวัตกรรมเชี่ยวชาญ GISTDA และ อภิวัฒน์ จิรวัฒนผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นบีสเปซ จำกัด (NBSPACE) ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้ว่าแท้จริงแล้วเทคโนโลยีอวกาศใกล้ตัวกว่าที่คิดและช่วยแก้ปัญหาประเทศได้

 

🚀เศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) คืออะไร

 

แม้จะฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้วเศรษฐกิจอวกาศเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและโครงสร้างพื้นฐานของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยอย่างแยกไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลที่สามารถต่อยอดทางธุรกิจ, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, สัญญาณโทรศัพท์, ระบบ GPS, ข้อมูลสภาพอากาศ หรือแม้แต่กล่องดำในเครื่องบินก็เก็บข้อมูลในดาวเทียมซึ่งเป็นสินค้าอวกาศ

 

🚀สินค้าอวกาศคืออะไร

 

สินค้าอวกาศไม่ได้หมายถึงดาวเทียมที่มีขนาดเล็กลง ยานอวกาศ หรือจรวดเท่านั้น แต่มีบริบทรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีอวกาศมาประยุกต์ใช้ หนึ่งในนั้นคือข้อมูลซึ่งมีความจำเป็นในหลายมิติ เช่น การคำนวณภัยพิบัติ พื้นที่น้ำท่วม เชื่อมโยงไปถึงการคำนวณพื้นที่ความเสียหายและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต

 

🚀เศรษฐกิจอวกาศแก้ปัญหาประเทศไทยอย่างไร

 

เพราะทุกประเทศมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นสินค้าอวกาศอย่างดาวเทียมที่ทำและออกแบบเพื่อประเทศไทยจึงจำเป็น ขณะนี้ไทยกำลังออกแบบดาวเทียม Hyperspectral Imager ซึ่งสามารถถ่ายสิ่งที่ตาเปล่ามองไม่เห็นได้ เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้ได้ในหลายภาคส่วน เช่น

 

  1. ภาคการเกษตร สามารถใช้เชื่อมต่อกับ Smart Farming โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมประเมินและคาดการณ์เกี่ยวกับผลผลิตได้ ทั้งโรคในพืช การขาดน้ำและสารอาหาร ช่วยตอบคำถามเกษตรกรว่ากำลังปลูกผลผลิตที่จะล้นตลาดโลกเกินไปหรือไม่ ช่วยคาดการณ์ราคาผลผลิตเกษตรโลกได้ล่วงหน้าว่าจะตกหรือขึ้น หรือในที่ดินแบบนี้เหมาะจะปลูกพืชอะไรให้ได้ผลดีที่สุด ราคาดีที่สุด ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้การเกษตรพัฒนาขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

  1. การประเมินคาร์บอน ภาพถ่ายดาวเทียมคือคำตอบหนึ่งที่ทำให้เห็นทางแก้ปัญหาชัดเจนขึ้น เช่น พื้นที่ป่ากักเก็บคาร์บอนได้เท่าไร หรือการสร้างเทคนิคใหม่ๆ เพื่อแปลผลตรวจวัดคาร์บอน

 

  1. มอนิเตอร์ฝุ่น PM2.5 ดูจาก Hotspot ได้ว่าฝุ่นมาจากไหน เพื่อแก้ปัญหาจากต้นตอ

 

 

 

The post เทคโนโลยีอวกาศแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
องค์ความรู้อาหารปลอดภัย ปลดล็อกเกษตรกรยุคใหม่ https://thestandard.co/the-standard-economic-forum-2024-young-leaders-dialogue-5/ Wed, 13 Nov 2024 10:01:12 +0000 https://thestandard.co/?p=1008222

“ถ้าองค์ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยในไทยไม่เปลี่ยน ตลาดออ […]

The post องค์ความรู้อาหารปลอดภัย ปลดล็อกเกษตรกรยุคใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

“ถ้าองค์ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยในไทยไม่เปลี่ยน ตลาดออร์แกนิกก็ไม่โต จะเปลี่ยนเรื่องเกษตรในไทยไม่ได้”

 

สานสิน ศรีภิรมย์รักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไดสตาร์ เฟรช จำกัด, ผศ. ดร.วิษุวัต สงนวล อาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด และ ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แจสเบอร์รี่ จำกัด ร่วมสนทนาในหัวข้อ Farming the Future: Tech-Driven Agriculture ปฏิวัติอุตสาหกรรมเกษตร ด้วยแนวคิดนวัตกรรมระดับโลก เวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: Young Leaders Dialogue โดยให้ภาพความท้าทายและทางออกของการเกษตรไทย ดังนี้

 

📌 โจทย์ความท้าทายของเกษตรกรไทยวันนี้

 

  1. ดินตาย น้ำตาย ลมตาย ปัจจุบันดินของไทยไม่ได้มีความอุดมสมบูรณ์เท่าในอดีตอีกต่อไป เนื่องจากการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง น้ำมีสารปนเปื้อน ลมพัดสารเคมี ทำให้สุดท้ายแล้วการเปลี่ยนแปลงเป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นเป้าหมายในอนาคตนั้นเป็นไปได้ยาก

 

  1. คนหาย สัดส่วนของเกษตรไทยในปัจจุบันมีเพียง 30% และจำนวนนี้ไม่ใช่แรงงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่นอกจากจะยังทำการเกษตรแบบเดิม รุ่นที่มารับช่วงต่อก็ไม่อยากทำการเกษตรอีกต่อไป เพราะเรื่องรายได้ ความท้าทายที่มากเกินไป และยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่เพียงพอ

 

  1. ไม่ใช้เทคโนโลยีมาทดแทน เทียบให้เห็นภาพว่าภาคการเกษตรไทยช้าไปกว่า 50 ปีจากเทคโนโลยีที่ควรใช้ เทคโนโลยีนี่เองคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพกลับมาแข่งขันด้านการเกษตร และกลับมาเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลกได้อีกครั้ง

  2. การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้รับผลกระทบทั่วกันทั้งโลก ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่ทำการเกษตรได้ผล แต่ยังไม่มีองค์ความรู้มากพอว่าในพื้นที่การเพาะปลูกที่จำกัด ควรปลูกพืชอะไรที่จะได้ผลผลิตอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

 

  1. พฤติกรรมและค่านิยมของผู้บริโภคยังไม่มีความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร คนไทยยังนิยมผลผลิตที่สมบูรณ์ ทั้งที่ความจริงอาจเต็มไปด้วยยาฆ่าแมลงและสารเคมี ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ หากคนไทยยังไม่ตระหนักเรื่องนี้ การเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรอาจไม่มีวันเกิดขึ้น

 

  1. การแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า

 

📌 ทางรอดเกษตรไทยสู่ความมั่นคงทางด้านอาหาร

 

  1. ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ต้องเริ่มจากโจทย์ว่าจะเอาเทคโนโลยีมาให้เกษตรกรใช้ได้อย่างไร ไทยต้องเป็นผู้นำผลิตเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้ เพราะเทคโนโลยีสำหรับพืชแต่ละชนิดอาจนำมาใช้ร่วมกันไม่ได้ รัฐต้องช่วยลดอุปสรรคในเรื่องนี้ ต้องให้เงินอุดหนุนเพื่อทำให้เทคโนโลยีการเกษตรของไทยเป็นสินค้าที่ซื้อขายจับต้องได้จริง

 

  1. เปลี่ยนเกษตรกรจาก One Stop Service เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การเป็น One Stop Service หมายถึงเกษตรกรต้องทำทุกกระบวนการด้วยตัวคนเดียว อาจทำให้กระบวนการผลิตไม่สามารถสอดรับไปกับการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการเกษตรได้ ต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละอย่าง เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูก และผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์

 

  1. ต้องมีฐานข้อมูลที่เชื่อมทุกองค์ความรู้เข้าด้วยกัน เก็บข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการเกษตร เพื่อทำความเข้าใจพืชของไทยอย่างลึกซึ้ง และเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมได้ ทั้งภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด

 

  1. ต้องมีระบบจัดการน้ำที่ดี ไทยมีทั้งฤดูน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งไม่สามารถปลูกพืชได้ ถ้าเรามีการจัดการน้ำที่ดีมากพอ เราจะสามารถทำการเกษตรได้ปีละ 2-3 ครั้ง จากเดิมที่เราอาจจะทำได้แค่ปีละครั้ง

 

#APThai #APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #ที่ที่ดีที่สุดจากเอพี

#TheStandardEconomicForum2024 #YoungLeadersDialouge

 

The post องค์ความรู้อาหารปลอดภัย ปลดล็อกเกษตรกรยุคใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ร่วมมือ กล้าเสี่ยง ลงมือทำ เปลี่ยนอนาคตการศึกษา https://thestandard.co/the-standard-economic-forum-2024-young-leaders-dialogue-4/ Wed, 13 Nov 2024 09:06:19 +0000 https://thestandard.co/?p=1008171

“ครู นักเรียน ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทเทค ต้องร่วมมือ กล้ […]

The post ร่วมมือ กล้าเสี่ยง ลงมือทำ เปลี่ยนอนาคตการศึกษา appeared first on THE STANDARD.

]]>

“ครู นักเรียน ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทเทค ต้องร่วมมือ กล้าเสี่ยง และลงมือทำ จึงจะเปลี่ยนอนาคตการศึกษาไทยได้”

 

ข้อเสนอจากคนรุ่นใหม่ที่มีต่ออนาคตการศึกษาไทยจากเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: Young Leaders Dialogue ในหัวข้อ Education 4.0: The Future Begins Now อนาคตการศึกษาไทยควรไปทางไหนต่อ? โดย สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์, ชื่นชีวัน อานันโทไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด และ กรวุฒิ ลาภปรารถนา ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริหาร บริษัท เทคอัพ เทรนนิ่ง จำกัด 

 

  1. ภาครัฐต้องกล้าเสี่ยง 

เปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ดึงความร่วมมือจากภาคเอกชนและคนรุ่นใหม่ ภาครัฐอาจแค่วางเฟรมเวิร์กกว้างๆ แล้วให้เอกชนช่วยลงมือปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น ในสิงคโปร์หรืออินโดนีเซียไม่มีหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับแล้ว แต่ให้เป็นงบสำหรับเลือกเรียนสิ่งที่สนใจ หรือช่วงโควิด สิงคโปร์มีงบให้เรียนภาษาและทักษะดิจิทัลอื่นๆ ส่วนอินโดนีเซียมีนโยบายส่งลูกเรียนภาษาอังกฤษ พ่อแม่จะได้ลดหย่อนภาษี ข้างต้นเป็นกรณีศึกษาของการมีเอกชนเข้ามาช่วยจะทำได้เร็วกว่า 

 

  1. ดึงเทคโนโลยีมาช่วย 

เพื่อปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียน เช่น โกลบิชมีโครงการวัดระดับภาษาอังกฤษของเด็กและครูในกรุงเทพฯ ทั้งหมด เก็บข้อมูล ประมวลผล เพื่อปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียน นอกจากนี้ยังทำให้รู้ว่าต้องเสริมทักษะครูอย่างไรด้วย เพราะครูที่ได้คะแนนสูงไม่จำเป็นว่าจะสอนเก่งเสมอไป ครูที่สอนเก่งคือครูที่กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนได้

 

  1. สร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวก 

ห้องเรียนที่ดีคือห้องเรียนที่เป็น Active Learning คือมีสภาพแวดล้อมเชิงบวก ให้เด็กรู้สึกเป็นพื้นที่ปลอดภัย มีกิจกรรมให้เด็กกล้าเข้าร่วม กล้าลองผิดลองถูก เน้นความสัมพันธ์ที่ดีของครูกับเด็ก ทำให้เด็กเรียนแล้วรู้สึกได้รับอะไรกลับไป

 

  1. วิชาแนะแนวสำคัญมาก 

ปัจจุบันเด็กยังขาดการแนะแนวอย่างเป็นรูปธรรมว่าแต่ละอาชีพทำงานแบบไหน ต้องมีทักษะอะไร เด็กจึงเลือกเรียนโดยที่ไม่ได้ชอบจริงๆ ดังนั้นควรมีคนแต่ละสายงานมาเล่ารายละเอียดการทำงานให้ฟัง เพื่อให้เด็กตอบคำถามได้ว่าเหมาะกับตัวเองจริงไหม ต้องใช้ทักษะอะไร 

 

  1. ต้องมีโอกาสให้คนได้ลองเปลี่ยนสายงาน 

ปัจจุบันมนุษย์อายุยืนขึ้น การทำงานเพียงสายงานเดียวทั้งชีวิตอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ภาครัฐจึงควรช่วยส่งเสริมให้แรงงานได้ Reskill และ Upskill รวมทั้งทำให้แรงงานเห็นภาพชัดว่าถ้าจะทำสายงานนี้ต้องเพิ่มทักษะอะไร มีเส้นทางในอาชีพแบบไหน หรือมีสายงานไหนที่ต้องการคนเพิ่ม 

 

  1. ต้องทำให้คนมีคุณภาพเข้ามาเป็นครู 

ต้องเปลี่ยนระบบการพัฒนาครู โดยทักษะสำคัญสำหรับครู ได้แก่

  • การสื่อสาร 
  • Growth Mindset เชื่อว่าเราพัฒนาได้ ก็จะสอนเด็กให้พัฒนาได้
  • ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ 
  • มีการทำงานเชิงรุก วางแผนเพื่อแก้ปัญหาล่วงหน้าได้ 
  • มีความสร้างสรรค์ ออกแบบการสอนให้เด็กที่แตกต่างกันเรียนร่วมกันได้ พัฒนารายบุคคลได้ 
  • มี Reflect Review หลังการสอน เพื่อพัฒนาในครั้งต่อๆ ไป

 

#APThai #APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #ที่ที่ดีที่สุดจากเอพี

#TheStandardEconomicForum2024 #YoungLeadersDialouge

The post ร่วมมือ กล้าเสี่ยง ลงมือทำ เปลี่ยนอนาคตการศึกษา appeared first on THE STANDARD.

]]>