Ant Financial – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 05 May 2022 12:03:11 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Ant Group ฟินเทคของอาลีบาบา เตรียม IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เชื่อมูลค่าทะลุ 6.34 ล้านล้านบาท https://thestandard.co/chinas-ant-financial-to-go-public-in-dual-shanghai-hong-kong/ Tue, 21 Jul 2020 08:38:03 +0000 https://thestandard.co/?p=381963

Ant Group (Ant Financial) บริษัทฟินเทคในเครือของอาลีบาบ […]

The post Ant Group ฟินเทคของอาลีบาบา เตรียม IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เชื่อมูลค่าทะลุ 6.34 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

Ant Group (Ant Financial) บริษัทฟินเทคในเครือของอาลีบาบาได้ออกมาประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ว่าพวกเขาเตรียมจะเข้าจดทะเบียนและเสนอขายหุ้น (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (SSE STAR market) และตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (SEHK) อย่างเป็นทางการ

 

เป้าหมายของการ IPO ในครั้งนี้ของ Ant Group เป็นไปเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมบริการแบบดิจิทัลของประเทศจีนให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว วางจุดยืนของบริษัทในฐานะผู้พัฒนาตลาด (ฟินเทคและแพลตฟอร์มด้านการเงิน) ในระดับโลกร่วมกับพาร์ตเนอร์ ลงทุนเพิ่มเติมในเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง และช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน

 

Eric Jing ประธานกรรมการบริหาร Ant Group เปิดเผยว่า “ตลาดหุ้นฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ได้เปิดประตูต้อนรับให้นักลงทุนทั่วโลกเข้าถึงบริษัทที่เพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้มากขึ้น พวกเรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่มีโอกาสได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนานี้

 

“การเป็นบริษัทมหาชนจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสของเราให้กับ Stakeholders ในทุกๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะลูกค้า พาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ พนักงาน ผู้ถือหุ้น ผู้ควบคุมและกำกับนโยบายในประเทศ”

 

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์เคยรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าววงในของอาลีบาบาและ Ant Group โดยคาดว่า มูลค่าของการ IPO ในครั้งนี้อาจจะไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.34 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะทำให้การ IPO ของพวกเขามีมูลค่าสูงที่สุดประจำปี 2020 ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ตลาดทุนโลกปั่นป่วนอยู่พอสมควร

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

The post Ant Group ฟินเทคของอาลีบาบา เตรียม IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เชื่อมูลค่าทะลุ 6.34 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
Ant Financial ยื่นขอใบอนุญาตจดทะเบียนธนาคารดิจิทัลในสิงคโปร์ รุกธุรกิจสินเชื่อเสริมแกร่ง Lazada https://thestandard.co/ant-digital-banking-singapore/ Fri, 03 Jan 2020 07:18:09 +0000 https://thestandard.co/?p=317327

Ant Financial บริษัทฟินเทคในเครืออีคอมเมิร์ซ Alibaba Gr […]

The post Ant Financial ยื่นขอใบอนุญาตจดทะเบียนธนาคารดิจิทัลในสิงคโปร์ รุกธุรกิจสินเชื่อเสริมแกร่ง Lazada appeared first on THE STANDARD.

]]>

Ant Financial บริษัทฟินเทคในเครืออีคอมเมิร์ซ Alibaba Group Holding ยื่นใบอนุญาตขอจดทะเบียนเป็นธนาคารดิจิทัลในสิงคโปร์แล้ว จากการเปิดเผยของบริษัทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมรุกธุรกิจการให้กู้ยืมเงิน ตามรอย Razer (ผู้ผลิต Gaming Gear) และ Grab ได้ยื่นขอใบอนุญาตจดทะเบียนธนาคารดิจิทัลไปก่อนแล้ว

 

“เป็นไปตามพันธกิจหลักของเราในการส่งเสริมบริการทางการเงินทั่วโลก เราได้ส่งใบอนุญาตการประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัลให้กับองค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ (ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์: MAS) เราคาดหวังที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมพัฒนาภูมิทัศน์ธนาคารดิจิทัลในสิงคโปร์” โฆษกประจำ Ant Financial เปิดเผยข้อมูลผ่านแถลงการณ์

 

คาดการณ์กันว่า การยื่นขอจดทะเบียนธนาคารดิจิทัลในสิงคโปร์ของ Ant Financial จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ Alibaba ในอาเซียนหรือ Lazada สามารถขยายธุรกิจ และเร่งการเติบโตได้ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย

 

เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ได้เผยแผนการว่าเตรียมจะออกใบอนุญาตการขึ้นทะเบียนเป็นธนาคารดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือกลุ่ม non-banks มากถึง 5 ราย ในจำนวนนี้จะมี 2 รายที่ได้รับใบอนุญาตการเป็นธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ได้เข้ามาให้บริการการเงินแบบออนไลน์ในประเทศ (ต้องมีเงินทุนมากกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 

ขณะที่ข้อมูลจาก Bain & Co, Google และ Temasek Holdings เปิดเผยว่า ตลาดธุรกิจสินเชื่อในอาเซียนปี 2019 ที่ผ่านมามีมูลค่ากว่า 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2025 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดจะขยายตัวมากถึง 29% โดยมีมูลค่ามากถึง 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 

ประกอบกับปัจจุบันที่ยังมีประชากรในอาเซียนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินรูปแบบเดิมได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าเพราะเหตุใด กลุ่ม non-banks ถึงอยากเข้ามารุกให้บริการในตลาดนี้

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง

The post Ant Financial ยื่นขอใบอนุญาตจดทะเบียนธนาคารดิจิทัลในสิงคโปร์ รุกธุรกิจสินเชื่อเสริมแกร่ง Lazada appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลกเสมือนจะบรรจบกับชีวิตจริง! 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะกำหนดโลกในปี 2018 https://thestandard.co/virtual-world-trends-2018/ https://thestandard.co/virtual-world-trends-2018/#respond Thu, 21 Dec 2017 10:41:34 +0000 https://thestandard.co/?p=56973

นักวิชาการและนักธุรกิจต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปี 20 […]

The post โลกเสมือนจะบรรจบกับชีวิตจริง! 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะกำหนดโลกในปี 2018 appeared first on THE STANDARD.

]]>

นักวิชาการและนักธุรกิจต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปี 2017 เป็นปีแห่งความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI บริษัทยักษ์ใหญ่พยายาม ‘คิดใหม่’ และ ‘ทำใหม่’ ทั้ง Microsoft, Amazon, Google และ Facebook แข่งกันประกาศตัวเป็นบริษัทด้าน AI (AI Company)

 

ขณะที่รัฐบาลจีนเพิ่งเผยแผนยุทธศาสตร์สนับสนุนการพัฒนา AI ปี 2018-2020 ไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้าน AI และหุ่นยนต์ เช่น การผลิตชิปประมวลผลโครงข่ายประสาทเทียม หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ และ Machine Learning สำหรับการแพทย์ ซึ่งหมายความว่าการแข่งขันของตลาดเหล่านี้จะดุเดือดขึ้นแน่นอน

 

นอกจากจะชู AI เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ รัฐบาลจีนยังประกาศว่าจะนำ AI มาใช้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงานในอุตสาหกรรมการผลิตภายในปี 2020 ชนิดที่สวนกระแสไม่แคร์โลกร้อนของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ว่าได้

 

ถ้าปี 2017 คือปีแห่งความก้าวหน้าของ AI แล้วปี 2018 จะเป็นปีแห่งอะไร?

 

บรรดาสำนักเทรนด์ สื่อมวลชน และผู้คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจได้เผยรายชื่อของเทคโนโลยีที่จะกำหนดทิศทางของปี 2018 ออกมาแล้ว

 

มาดูกันดีกว่าว่าอนาคตอันใกล้จะเดินไปในทางไหน?

 

Photo: Siemens

 

Digital Twin กุญแจสู่อุตสาหกรรม 4.0

ปี 2018 เราจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม-ธุรกิจสู่ยุค 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

‘Digital Twin’ (หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับคำนี้ แต่ในอนาคตอันใกล้เราเชื่อว่าคำนี้จะได้รับการพูดถึงมากขึ้น) เป็นซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาจัดเก็บข้อมูลและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรธุรกิจ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากระบบเซนเซอร์และทำสำเนาเป็นข้อมูลดิจิทัล (เรียกง่ายๆ ว่า ‘ก๊อปปี้’ ข้อมูลทั้งหมดไว้อีกที่หนึ่ง ถ้าเปรียบก็เหมือนสร้างแฝด (Twin) หรือโคลนนิ่งข้อมูลของสิ่งของหรือสภาพแวดล้อมขึ้นมา) เช่น เครื่องจักรในโรงงาน อาคารสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ IoT เพื่อนำไปวิเคราะห์และรายงานผลแบบเรียลไทม์

 

โดยองค์กรสามารถใช้ Voice Assistant (ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น Siri) เข้ามาเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะในการจัดการโมเดลจำลองข้อมูล ตัดสินใจวางแผนการทำงาน ตรวจสอบความผิดปกติ และคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น แจ้งเตือนเครื่องจักรที่เสี่ยงใช้งานไม่ได้ พร้อมกับหาสาเหตุ วิธีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง ตลอดจนเพิ่มผลผลิตและโอกาสทางธุรกิจอย่างแม่นยำ

 

ถ้าอ่านถึงตรงนี้แล้วยังนึกภาพ Digital Twin ไม่ออก เราอยากให้ลองจินตนาการถึงรถยนต์ที่คุณสามารถเรียกดูข้อมูลต่างๆ เช่น ระบบเครื่องยนต์ อะไหล่ น้ำมัน ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ฯลฯ จากสมาร์ทโฟนได้แบบเรียลไทม์ เมื่อรถยนต์มีปัญหาหรือเกิดความผิดปกติ ระบบก็จะแจ้งเตือนทันที ถ้าเป็นเมื่อก่อนคุณอาจต้องเอารถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างหาสาเหตุและซ่อมแซม แต่ระบบ Digital Twin จะบอกว่าปัญหานั้นเกิดจากอะไร พร้อมกับแนะนำวิธีแก้ไข เช่น คุณสามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้หรือไม่ ถ้าได้จะแก้ไขอย่างไร หรือถ้าจำเป็นต้องนำเข้าศูนย์ ช่างที่ศูนย์ก็จะรู้ว่าควรจะซ่อมแซมรถยนต์ตรงจุดไหน

 

 

คลิปบริษัท GE อธิบายการทำงานของ Digital Twin ในโรงงานไฟฟ้ากังหันไอน้ำในแคลิฟอร์เนีย


Gartner บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านไอทีชั้นนำของโลกชี้ว่า ในปีหน้าเทคโนโลยีนี้จะถูกต่อยอดในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การดูแลวงจรการผลิตทั้งระบบ การออกแบบวิศวกรรม การวางผังอาคาร ไปจนถึงการออกแบบเมืองอัจฉริยะ ปัจจุบันมีบริษัทหลายรายที่เริ่มให้บริการกับภาคธุรกิจ เช่น IBM, Siemens และ General Electric (GE)

 

Photo: microsoft.com

 

Digital Reality ดำดิ่งสู่ประสบการณ์เสมือนในโลกจริง

Deloitte ชี้ว่า Digital Reality (DR) จะเข้ามามีอิทธิพลในปี 2018 ครอบคลุมตั้งแต่ AR, VR, กล้อง 360 องศา, ระบบเซนเซอร์, Immersive Technology ไปจนถึง MR (Mixed Reality) หรือความจริงผสมที่นำข้อมูลของโลกจริงกับโลกเสมือนมารวมไว้ด้วยกัน (หรือ AR กับ VR นั่นเอง) โดยที่ผู้ใช้สามารถใส่อุปกรณ์สวมศีรษะและปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลคอนเทนต์ที่ปรากฏในโลกจริงได้

 

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเกมที่จะทำรายได้มหาศาล ดูเหมือน DR จะได้รับความสนใจในศาสตร์สาขาอื่นไม่แพ้กัน องค์กรธุรกิจจะนำมาใช้ประชุมทางไกล ทดลองวิจัยผลิตภัณฑ์ และการฝึกพนักงาน

 

บริษัท Unity Technologies ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเกมเผยว่า ได้ร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ นำ DR เข้าไปต่อยอดธุรกิจแบบครบวงจร เช่น ออกแบบยานยนต์ ฝึกฝนพนักงานภาคปฏิบัติ ทดสอบรถยนต์อัตโนมัติ วางแผนมาร์เก็ตติ้งและพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า

 

 

นอกจากเราจะได้เห็นการแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวระหว่าง Microsoft, Apple กับ Facebook ปะทุเดือดในปี 2018 Charlie Fink คอลัมนิสต์และที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี VR ยังคาดการณ์ว่าตลาดแอปพลิเคชันที่รองรับ AR, VR, MR มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นในธุรกิจประเภทค้าปลีก การท่องเที่ยว และการแพทย์

 

Photo: Shutterstock

 

AI จะเป็นพื้นฐานของทุกธุรกิจ แต่ AI ที่ฉลาดกว่ามนุษย์ยังอีกยาวไกล

หลายคนน่าจะได้ยินข่าวธุรกิจแบรนด์ดังหันมาใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์ข้อมูลหาอินไซต์ลูกค้ากันบ้าง Gartner เผยว่า AI จะมีบทบาทต่อไปในปี 2018 และเข้าถึงกลุ่มธุรกิจทุกขนาด บริษัทน้อยใหญ่จะลงทุนกับ AI ที่วิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Analytics) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในยุค Digitization

 

Jan Kautz ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่าย Visual Computing and Machine Learning Research บริษัท NVIDIA มองว่า AI จะกลายเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ที่เก่งกาจและรู้ใจผู้บริโภคเป็นที่สุด ถึงขั้นที่สามารถแต่งเพลงที่ตรงกับรสนิยมของผู้ฟังแทนการเลือกเพลงโปรดตามระบบอัลกอริทึม ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนของการทำตลาด Personalization อย่างแท้จริง

 

ฝั่งวงการแพทย์ก็ตื่นตัวกับความก้าวหน้าของ AI เช่นกัน อย่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย McMaster and Vanderbilt University ได้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์และคาดคะเนวิธีรักษาโรคซึมเศร้าและโรคมะเร็งเต้านมที่เหมาะสมกับเคสของผู้ป่วยแต่ละราย

 

เมื่อมองภาพรวมของการปรับใช้ AI ในแต่ละอุตสาหกรรม เป็นไปได้ที่ AI จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่

 

McKinsey บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจระดับโลกประเมินว่า ในปี 2015-2065 ระบบอัตโนมัติจะช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางผลิตภาพการผลิตของเศรษฐกิจระดับมหภาคได้ถึง 0.8-1.4% ต่อปี แต่ที่น่ากังวลคือ เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบในระยะยาวจากระบบอัตโนมัติที่เข้ามาทำงานแทน

 

อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางส่วนกลับเห็นต่างไป Erik Brynjolfsson ผู้อำนวยการ MIT Initiative on the Digital Economy สถาบัน MIT ได้เผยแพร่บทความวิชาการว่าด้วยประเด็นพัฒนาการของ AI ที่ล่าช้า สวนทางกับจำนวนการศึกษาวิจัยและหุ้นการลงทุนในธุรกิจสาย AI ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน AI ยังพัฒนาไปไม่ถึงจุดที่มีความฉลาดเทียบเท่าหรือเหนือกว่าคน

 

มุมมองของ Erik สอดคล้องกับข้อมูลของ AI Index โครงการที่มุ่งศึกษาความก้าวหน้าของ AI ตลอด 100 ปี Raymand Perrault นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันวิจัย SRI International หนึ่งในนักวิจัยโครงการดังเผยว่า สาธารณชนมักจะคิดว่านักวิทยาศาสตร์พัฒนา AI ไปไกลกว่าความเป็นจริง พร้อมชี้ว่าความสามารถการทำงานเฉพาะทางหรือแข่งเกมชนะแชมป์โลกก็ยังห่างไกลจากความฉลาดทั่วไป หรือ Artificial General Intelligence

 

หุ่นยนต์ Jibo

 

Emotional Economy ออกแบบเทคโนโลยีให้มีหัวใจ

Richard Yonck ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท Intelligent Future Consulting ผู้เขียนหนังสือ Heart of Machine กล่าวว่าในอนาคตจะเป็นยุคเฟื่องฟูของระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า Emotional Economy กล่าวคือเมื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันหรือแม้แต่ทำงานกับเรา ก็จำเป็นต้องเข้าใจ ‘อารมณ์ความรู้สึก’ ของมนุษย์หรือผู้ใช้งานมากขึ้น หรือมี empathy นั่นเอง แนวคิดนี้จะมีอิทธิพลในการออกแบบนวัตกรรม ตั้งแต่รถยนต์ไร้คนขับไปจนถึงหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ ส่วนผู้ประกอบการและนักการตลาดจะหันมาพึ่ง AI ในการอ่านอารมณ์และความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ได้แสดงผ่านพฤติกรรม

 

ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ ‘Jibo’ ของ Cynthia Breazeal นักวิจัยจากเอ็มเอทีที่ผันตัวมาเป็นเจ้าของบริษัทสตาร์ทอัพพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับครอบครัว มันสามารถพูดคุย ถามตอบ และจดจำใบหน้าของคนที่พูดคุยโต้ตอบ สิ่งที่ทำให้หุ่นยนต์ตัวนี้แตกต่างไปจากหุ่นยนต์อื่นๆ คือมันได้รับการออกแบบมาให้เป็นมิตรและเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกของคน เหมือนกับเป็นสมาชิกในบ้าน จึงไม่แปลกที่ Jibo จะติดอันดับ 1 ใน 25 สิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2017

 

ในอีกด้านหนึ่งจริยธรรมและอคติในการสร้างหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงในระดับสากล เช่น การเลือกใช้เสียงผู้หญิงใน Voice Assistant ถูกมองว่าเป็นการกดขี่ผู้หญิง การพูดกับ Voice Assistant ด้วยถ้อยคำล่วงละเมิดหรือแสดงความต้องการทางเพศ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มักถูกออกแบบโดยผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ประเด็นดังกล่าวได้ปลุกกระแสให้ผู้หญิงมีบทบาทในวงการนี้มากขึ้น

 

นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังกังวลว่าหากหุ่นยนต์และ AI เกิดก่ออาชญากรรมขึ้นมา ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ หรือแม้แต่การคุ้มครองแรงงานที่จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติในอนาคตอันใกล้ ปัจจุบันรัฐบาลหลายประเทศมีแนวโน้มสนใจการร่างกฎหมายควบคุมเทคโนโลยีอัจฉริยะเหล่านี้ขึ้นมา

 

Photo: AFP

 

ระบบสแกนใบหน้า-ไบโอเมตริก จะมาแทนที่บัตรเครดิตและใบขับขี่

หลังจากบริษัท Ant Financial เปิดตัวเทคโนโลยี Smile to Pay ที่ให้ลูกค้า KFC จ่ายเงินผ่านระบบสแกนใบหน้าไปเรียบร้อยแล้ว เราน่าจะได้เห็นบริษัทและหน่วยงานองค์กรอื่นนำไปใช้กับบริการอื่นๆ ที่ต้องอาศัยการระบุยืนยันตัวตน เช่น ตรวจสอบอาชญากรรม ใช้แทนใบขับขี่ บัตรประชาชน หรือแม้แต่กุญแจรถยนต์ไร้คนขับ

 

ด้าน Georges Nahon ซีอีโอบริษัท Orange Silicon Valley ที่สนับสนุนลงทุนสตาร์ทอัพให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีไบโอเมตริกจะเข้ามาตอบโจทย์ pain point ของการเข้าคิวชำระเงินในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าในอนาคตอันใกล้

 

อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีดังกล่าวยังมีช่องโหว่อยู่มาก เช่น ระบบ Face ID ที่เจอปัญหาโดนแฮก หรือเกิดปลดล็อกให้กับคนหน้าคล้ายกัน

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของเทคโนโลยีที่คาดการณ์ว่าจะกำหนดทิศทางปี 2018 ที่เราหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น เพราะเทคโนโลยีในวันนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

วิธีรับมือที่ดีที่สุดอาจไม่ใช่การอ่านบทความนี้เพื่อรู้ แต่คือการยื่นมือไปโอบรับอนาคตแห่งโอกาสและความท้าทายด้วยตัวเอง

 

อ้างอิง:

The post โลกเสมือนจะบรรจบกับชีวิตจริง! 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะกำหนดโลกในปี 2018 appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/virtual-world-trends-2018/feed/ 0
มอง Alipay ในวันที่เป็นมากกว่าแอปฯ จ่ายเงินคนจีน และครูแนะแนวของ TrueMoney Wallet https://thestandard.co/alipay/ https://thestandard.co/alipay/#respond Tue, 19 Dec 2017 12:02:19 +0000 https://thestandard.co/?p=56505

14 ปีที่แล้ว ‘Alipay’ ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อเป็น Payment […]

The post มอง Alipay ในวันที่เป็นมากกว่าแอปฯ จ่ายเงินคนจีน และครูแนะแนวของ TrueMoney Wallet appeared first on THE STANDARD.

]]>

14 ปีที่แล้ว ‘Alipay’ ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อเป็น Payment Solution และให้บริการผู้บริโภคชาวจีนในฐานะแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกด้านการชำระเงินออนไลน์ภายใต้การบริหารโดย Ant Financial บริษัทลูกของ Alibaba

 

แต่ปัจจุบัน พิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จัดการใหญ่ประจำบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป ประเทศไทย บอกว่า Alipay ได้ก้าวข้ามการเป็น Online Payment Platform ไปสู่การเป็นซูเปอร์แอปพลิเคชันระดับโลกที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในทุกๆ ด้านไปแล้ว

 

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ จากจุดเริ่มต้นของกระเป๋าสตางค์ออนไลน์ (e-Wallet) ทุกวันนี้ Alipay กลายเป็นทุกอย่างสำหรับคนจีนจริงๆ พูดง่ายๆ คือ มีความสำคัญมากถึงมากที่สุดในทุกอณูการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ลุกจากที่นอนออกไปทำงานและกลับบ้านมาทิ้งตัวลงบนเตียง เปรียบเสมือนซูเปอร์แอปพลิเคชันที่ทุกคนต้องดาวน์โหลดติดโทรศัพท์มือถือไว้

 

พิภาวินเล่าเคสตัวอย่างการใช้งาน Alipay ให้ฟังว่า ทุกวันนี้บริการต่างๆ ในประเทศจีนส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การบริหารของ Alibaba และ Ant Financial เกือบจะทั้งหมด ดังนั้น ระบบนิเวศต่างๆ จึงเอื้อประโยชน์ให้ผู้คนเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมไร้เงินสดและทำธุรกรรมผ่าน Alipay จนคุ้นชินไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งส่วนหนึ่งก็นับเป็นโชคของจีนที่เริ่มต้น Cashless Society ในช่วงที่อีคอมเมิร์ซกำลังบูมพอดี

 

“ในเมืองจีนตอนนี้ถ้าใครไม่มี Alipay ก็ใช้ชีวิตลำบาก เพราะเขาคุ้นเคยกับการจ่ายเงินด้วย Mobile Payment และ QR Code กันไปแล้ว”

 

เธอพูดพลางฉายวิดีโอพรีเซนเทชันที่โชว์ให้เห็นว่าคนจีนไม่ได้ใช้ Alipay แค่จ่ายเงินซื้อของออนไลน์เท่านั้น แต่ใช้ทำธุรกรรมตั้งแต่จ่ายกับข้าวที่ตลาดสด, ชำระค่าน้ำค่าไฟ, ช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า, ซื้อตั๋วภาพยนตร์, ช่วยหารค่าอาหารกับเพื่อนๆ, จองตั๋วเครื่องบิน ที่พัก, จ่ายค่าโดยสาร ไปจนถึงการลงทุนในกองทุนต่างๆ และยังสามารถใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลได้อีกด้วย (ยังจำกัดลักษณะการรักษาอยู่)

 

https://www.youtube.com/watch?v=MPptJps4gAk

 

มีการเปิดเผยตัวเลขยอดผู้ใช้งานผ่าน Alipay ล่าสุดพบว่า มีจำนวนผู้ใช้งานแบบ Active มากถึง 520 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้ใช้งานมากกว่า 52% ของสัดส่วนตลาด โดย 80% ของผู้ใช้งานทั้งหมดนิยมใช้ผ่านมือถือ

 

ในช่วงเทศกาลคนโสดเมื่อวันที่ 11 เดือน 11 ที่ผ่านมา ซึ่งบรรดาอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนจัดโปรโมชันลดแลกแจกแถมกันกระหน่ำ ก็กลายเป็นช่วงที่ Alipay ทำสถิติมียอดทำธุรกรรมสูงสุดต่อวินาทีอยู่ที่ประมาณ 256,000 ครั้ง! เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้วที่มียอดการทำธุรกรรมสูงสุดใน 1 วินาทีอยู่ที่ 120,000 ครั้ง

 

ด้านความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ เป็นที่ทราบกันดีว่าโดยปกติแล้วร้านค้าจีนอาจจะไม่ได้ขายสินค้าที่เป็นของแท้ทุกร้าน แต่การจะมีบัญชี Alipay ในประเทศจีนได้ก็จำเป็นจะต้องเปิดบัญชีธนาคารในประเทศและผูกเบอร์โทรศัพท์เข้ากับตัวระบบเสียก่อน ดังนั้น การติดตามตัวผู้ขายเพื่อเอาผิดจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

 

ที่สำคัญ ปัจจุบันยังมีการนำระบบไบโอเมตริก 3 รูปแบบในการตรวจจับกล้ามเนื้อบนใบหน้า, เส้นเลือดบนใบหน้า และเส้นเลือดในตาขาวมาใช้ยืนยันตัวบุคคลเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานอีกด้วย

 

นี่คือหลักฐานที่ยืนยันภาพความเป็น Global Lifestyle Super Application ของ Alipay ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

 

Photo: Wikimedia Commons

 

Alipay ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวประเทศไทยอย่างไร?

ถ้ามีโอกาสเข้าไปซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven หรือร้านสะดวกซื้อแบรนด์อื่นๆ แล้วเห็นป้ายสีฟ้าพร้อมข้อความตัวอักษรภาษาจีนบริเวณเคาน์เตอร์จ่ายเงินก็ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะทุกวันนี้ร้านค้าส่วนใหญ่ในไทยมีช่องทางทำธุรกรรมผ่าน Alipay เป็นของตัวเองกันหมดแล้ว

 

ยิ่งถ้าไปตามจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต หรือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนจีน ก็จะยิ่งเห็นป้าย ‘ที่นี่รับ Alipay’ ถี่ขึ้นกว่าเดิมไม่เว้นแม้แต่ร้านค้าเล็กๆ ริมถนน

 

ปีที่แล้วมีการเปิดเผยว่าพลเมืองจีนเดินทางออกมาเที่ยวนอกประเทศมากถึง 124 ล้านคน ขณะที่ปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนมาเยือนไทยไม่ต่ำกว่า 9.5 ล้านคน

 

สะท้อนให้เห็นว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวจีนคือหนึ่งในเม็ดเงินหลักช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจบ้านเรา ยิ่งเมื่อมองความจริงที่ว่าชาวจีนมีพฤติกรรมไม่ชอบพกเงินสด แต่ชอบทำธุรกรรมผ่าน e-Wallet ร้านค้าหลายๆ แห่งจึงผุดไอเดียนำเสนอช่องทางรับเงินรูปแบบนี้เหมือนๆ กัน

 

ส่วน Alipay เองก็มีความพยายามขยายขอบเขตการบริการให้ซัพพอร์ตคนจีนทั่วโลกอยู่แล้ว เมื่อความต้องการของผู้ให้บริการฝั่งร้านค้าไทยและจีนเดินมาบรรจบกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือแพลตฟอร์มชำระเงิน Alipay ที่แพร่หลายในไทย

 

ถ้าจะพูดถึงจุดเริ่มต้นของ Alipay ในประเทศไทยจริงๆ คงต้องย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ที่ร้านค้าปลอดภาษี ‘คิง เพาเวอร์ (King Power)’ เป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ติดต่อขอรับ Alipay เข้ามาใช้ ก่อนที่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าอื่นๆ จะเดินตามรอยทำเรื่องติดตั้งขอรับ Alipay มาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

นอกจากนี้ในประเทศไทย Alipay ยังร่วมมือกับสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่หลายแห่ง (Licensed Acquirers) ทั้งธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, เคาน์เตอร์เซอร์วิส ฯลฯ รวม 10 เจ้า ซึ่งพาร์ตเนอร์เหล่านี้ก็จะกลายเป็นตัวกลางประสานงานให้เงินจากลูกค้าจีนกลับเข้าสู่กระเป๋าสตางค์ผู้ค้าชาวไทยได้เร็วขึ้น ประมาณการอยู่ที่ราวๆ 1-2 วัน โดยคิดค่าธรรมเนียมการใช้เป็นเปอร์เซ็นต์ คล้ายๆ กับการรูดบัตรเครดิต และไม่ต้องไปเปิดบัญชีธนาคารในจีนให้วุ่นวาย

 

Alipay ยังเดินหน้าทำแคมเปญโฆษณาในตัวแอปฯ ช่วยโปรโมตนักท่องเที่ยวให้แวะมาที่ร้านค้าที่ใช้บริการเพื่อเพิ่มยอด Traffic หน้าร้านได้อีกด้วย ยิ่งร้านไหนที่มีโปรโมชันดี มีส่วนลดเยอะ อัลกอริทึมของ Alipay ก็จะดันลิงก์ร้านค้าให้ขึ้นไปอยู่ในหน้าแรกๆ ได้

 

สำหรับในประเทศไทย หากแบ่งตามธุรกิจที่มียอดการทำธุรกรรมผ่าน Alipay มากที่สุดจะจำแนกได้เป็น 3 อันดับ ได้แก่

  1. ร้านค้าปลอดภาษีคิง เพาเวอร์
  2. ร้านสะดวกซื้อ
  3. ร้านขายเครื่องสำอาง

 

ส่วนบริการในไทยที่นักท่องเที่ยวจีนอยากให้รองรับ Alipay มากที่สุดคือการคมนาคมและการขนส่งในไทยนอกเหนือจาก Grab และ Uber โดยทางพิภาวินเล่าถึงปัญหาว่า ปัจจุบันมีสหกรณ์แท็กซี่อยู่มากมายหลายค่าย ทำให้การพูดคุยไม่บังเกิดผลเสียที ขณะที่การร่วมงานกับรถไฟฟ้า BTS ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

 

แต่ในอนาคตอันใกล้นี้แว่วมาว่าทาง Alipay เตรียมหารือร่วมกับกรมสรรพากร ทำระบบ Tax Refund ช่วยอำนวยความสะดวกคืนภาษีนักท่องเที่ยวจีนแล้ว

 

 

ภารกิจปั้น TrueMoney Wallet ให้กลายเป็น Alipay ไทย

ตัวแทนจาก Alipay บอกว่า ทุกวันนี้มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เรียกร้องอยากใช้งาน Alipay แต่ติดปัญหาตรงที่แพลตฟอร์มของพวกเขาถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ใช้งานจากจีนเท่านั้น ทำได้เต็มที่ที่สุดก็คือสนับสนุนให้ผู้ค้าจากไทยมีช่องทางรับเงินของ Alipay

 

ด้วยเหตุนี้เองพวกเขาจึงเข้ามาลงทุนกับ True ด้วยการเซ็นสัญญาร่วมพัฒนาแพลตฟอร์ม TrueMoney Wallet เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ผ่านการแลกเปลี่ยน Know How และประสบการณ์องค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของบริษัท เพื่อให้ผู้ให้บริการ e-Wallet จากไทยรายนี้ได้รับความนิยมจนเปลี่ยนสถานะเป็น Alipay ของคนไทย

 

ปัจจุบัน Alipay และ TrueMoney Wallet ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ให้บริการกระเป๋าสตางค์ออนไลน์รายแรกและรายที่สองในโลกที่สามารถชำระเงินผ่านสโตร์ของบริษัท Apple โดยทาง Alipay ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 2 ปีข้างหน้า ผู้ใช้บริการพาร์ตเนอร์ในหลายๆ ประเทศอย่าง Paytm (อินเดีย), Kakao Pay (เกาหลีใต้) และ GCash (ฟิลิปปินส์) จะต้องสามารถทำธุรกรรมใช้จ่ายร่วมกันได้อย่างไร้ข้อจำกัด

 

 

อย่างไรก็ดีเมื่อเปรียบเทียบภาพรวมความนิยมในเชิงการใช้งานปัจจุบันต้องบอกว่าไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของสังคมไร้เงินสดเท่านั้น ขณะที่ประเทศจีนรุดหน้าไปไกลกว่านั้นมากๆ แล้ว

 

“อุปสรรคของไทยคือความคุ้นเคยและความลังเลในการใช้ e-Wallet ว่าจะสะดวกและปลอดภัยจริงหรือเปล่า? ซึ่งหากเปรียบเทียบกันตอนนี้ผู้บริโภคในไทยยังเป็นผู้ใช้งานระดับอนุบาลอยู่ ส่วนจีนเหมือนจบปริญญาเอกเป็นระดับด็อกเตอร์ไปแล้ว แต่คิดว่าถ้ามีกรณีการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันก็น่าจะเป็นส่วนช่วยให้คนหันมาใช้ e-Wallet ได้เยอะขึ้น” พิภาวินกล่าว

 

การจะผลักดันให้แพลตฟอร์มของตัวเองเป็นที่นิยมได้นั้น พิภาวินบอกว่าต้องปรับมุมคิดพอสมควร เนื่องจากผู้ให้บริการกระเป๋าสตางค์ออนไลน์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะวัดความนิยมในการใช้งานหรือ KPI (Key Performance Indicator) ผ่านตัวเลขมูลค่าเงินหมุนเวียนในระบบเป็นหลัก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการวัดจากจำนวนการทำธุรกรรมจะทำให้เห็นภาพรวมที่ชัดกว่า ที่สำคัญผู้ให้บริการจะต้องไม่มองตัวเองเป็นแค่กระเป๋าสตางค์ แต่ต้องมองตัวเองให้เป็นแพลตฟอร์ม

 

“ผู้ให้บริการจะต้องทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าแพลตฟอร์มธุรกรรมออนไลน์สร้างประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้พวกเขาได้ เช่น ช่วยให้ไม่ต้องพกเงินเยอะๆ ลคความยากลำบากในการเข้าคิวจ่ายค่าบริการต่างๆ เพราะลำพังการให้ข้อมูลเรื่องการช่วยเหลือประเทศชาติประหยัดงบผลิตเงินสด คนก็ไม่รู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับตัวเขาและช่วยจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้ e-Wallet

 

“ส่วนตัวคิดว่าภายใน 2 ปีนับจากนี้ คนไทยก็น่าจะหันมาใช้ e-Wallet มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มให้การสนับสนุนมากขึ้นแล้วกับการทำธุรกรรมผ่าน Qr Code”

The post มอง Alipay ในวันที่เป็นมากกว่าแอปฯ จ่ายเงินคนจีน และครูแนะแนวของ TrueMoney Wallet appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/alipay/feed/ 0
สำรวจตลาด Bike Sharing ในประเทศไทย เมื่อบริการให้เช่าจักรยานสาธารณะจากจีนกำลังคึกคัก https://thestandard.co/thailand-bike-sharing/ https://thestandard.co/thailand-bike-sharing/#respond Mon, 25 Sep 2017 13:48:55 +0000 https://thestandard.co/?p=30165

      แม้จะถูกค่อนขอดและตัดส่วนแบ่งรายได […]

The post สำรวจตลาด Bike Sharing ในประเทศไทย เมื่อบริการให้เช่าจักรยานสาธารณะจากจีนกำลังคึกคัก appeared first on THE STANDARD.

]]>

      แม้จะถูกค่อนขอดและตัดส่วนแบ่งรายได้ไปจากผู้ประกอบการหน้าเดิมๆ อยู่บ้าง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าทุกวันนี้ ธุรกิจ Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปันกำลังกลายเป็นเทรนด์ธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากๆ โดยเฉพาะในไทย

      ด้วยประโยชน์ที่ผู้บริโภคไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนเเต่ก็ได้รับสินค้าและบริการในราคาที่จับต้องได้ ธุรกิจจำพวกบริการขนส่งอย่าง Uber และ Grab บริการที่พักอาศัย Airbnb หรือบริการพื้นที่ทำงานแบบ Coworking Space จึงแผ่ขยายอาณาจักรตัวเองออกไปได้อย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาอันสั้น

      ล่าสุด อีกหนึ่ง Sharing Economy ที่กำลังจะเข้ามารุกคืบตีตลาดในไทยอย่างหนักคือธุรกิจ ‘Bike Sharing’ หรือบริการให้เช่าจักรยานสาธารณะ โดยตอนนี้มีผู้ประกอบการถึง 3 รายหลักๆ แล้วที่พร้อมพุ่งกระโจนเข้ามาเป็นผู้เล่นในศึกนี้ได้แก่ โมไบค์ (Mobike), โอโฟ (ofo) และโอไบค์ (oBike) ซึ่งแต่ละรายก็มีวิธีจับกลุ่มผู้บริโภคที่ใกล้เคียงกันซะด้วย

 

 

‘เน้นจับกลุ่มแคมปัสมหาวิทยาลัย และเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก’ กลยุทธ์เดินหมากของผู้ให้บริการแต่ละเจ้า

      เริ่มต้นที่โมไบค์ ผู้ให้บริการจากจีนรายนี้เข้ามาบุกประเทศไทยด้วยการจับมือเป็นหุ้นส่วนร่วมกับเอไอเอส (แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน), ซีพีเอ็น (เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด มหาชน), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจะเริ่มให้บริการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนเป็นที่แรก ตามด้วยห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และจะขยายพื้นที่ให้บริการในวงกว้างตามเมืองต่างๆ รวมถึงละเเวกห้างสรรพสินค้าเครือเซ็นทรัลในอนาคต

 

 

      จุดเด่นของโมโบค์คือบริการที่เน้นความสบายของผู้บริโภคเป็นหลัก ผู้ใช้จะสามารถใช้จักรยานได้เมื่อปลดล็อกจักรยานด้วยบลูทูธ (Bluetooth) และการสแกน QR Code ที่อยู่บนจักรยานแต่ละคันด้วยแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน คิดค่าบริการ 10 บาท / 30 นาที (ให้บริการฟรี 2 เดือนแรก กันยายน-ตุลาคม) โดยชำระผ่าน mPay ได้

      ส่วนตัวจักรยานใช้เทคโนโลยี GPS ติดตามสถานะและตำแหน่งของจักรยานแต่ละคัน มีนวัตกรรมยางไร้ลมแบน, เฟรมอะลูมิเนียมกันสนิม, ระบบการขับเคลื่อนไร้โซ่ โดยเน้นความสำคัญของการไม่ต้องบำรุงรักษา ซึ่งทุกๆ คันจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 4 ปีแบบไม่ต้องซ่อม เนื่องจากเคลมว่าสามารถผลิตจักรยานใหม่ได้ถึง 100,000 คันต่อวัน

 

 

      ฝั่งโอโฟก็เป็นผู้ให้บริการอีกเจ้าที่มาจากจีนเช่นเดียวกับโมไบค์ และเพิ่งเปิดให้บริการที่แรกในตัวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาโดยมีจำนวนจักรยานอยู่ที่ประมาณ 2,000 คัน ก่อนเปิดให้บริการที่จังหวัดภูเก็ตในละเเวกตัวเมืองและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ด้วยจำนวนราว 1,000 คันในเดือนถัดมา

      ตัวจักรยานใช้ GPS ติดตามสถานะและตำแหน่งในกรณีที่เกิดปัญหาหรือต้องการการซ่อมแซม ใช้ยางตันเพื่อตัดปัญหาการดูแลลมยางและติดตั้งไฟส่องนำทางพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวและติดสว่างแบบอัตโนมัติ

      บริการของโอโฟเป็นแบบ IoT (Internet of Things) ปลดล็อกจักรยานด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนและแสกน QR Code บนตัวจักรยาน คิดค่าบริการอยู่ที่ 5 บาท / 30 นาที มีค่ามัดจำการใช้บริการ 99 บาท (ขอเงินคืนได้เมื่อยกเลิกการใช้บริการ) ชำระค่าบริการได้ผ่านบัตรเครดิต เดบิต และ BluePay โดยตอนนี้มีโปรโมชันทดลองใช้ฟรีตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงธันวาคม และในอนาคตจะมีฟีเจอร์การสะสมคะเเนนจากการจอดจักรยานตามจุดที่กำหนดเพื่อแลกรับของรางวัลต่างๆ เพิ่มขึ้นมา

      ฝั่งผู้ให้บริการรายสุดท้ายอย่างโอไบค์เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากประเทศสิงคโปร์ นำร่องเปิดให้บริการในไทยแล้วในหลายๆ แห่งมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่จุดสัญจรตามแนวสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ในกรุงเทพฯ ก่อนขยายขอบเขตพื้นที่ให้บริการตามสถานศึกษาอย่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต (200 คัน), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เเละล่าสุดในจังหวัดภูเก็ต

      โอไบค์คิดค่าบริการ 10 บาท / 15 นาที เปิดใช้บริการได้ด้วยการจองผ่านแอปพลิเคชันและปลดล็อกด้วยการแสกน QR Code เช่นเดียวกับโอโฟและโมไบค์ และใช้เทคโนโลยีการติดตาม GPS เหมือนๆ กัน

 

 

ตีตลาดประเทศไทยจะหวังผลได้มากน้อยแค่ไหน?

      ท่ามกลางผู้ให้บริการ Bike Sharing ทั้ง 3 เจ้าที่มาเจาะตลาดไทยในปีนี้ สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดที่สุดคือการที่พวกเขาเน้นจับกลุ่มเป้าหมายอย่างนักเรียนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรตามสถานศึกษาเป็นหลัก เพราะมองว่าน่าจะมีไลฟ์สไตล์ที่ต้องพึ่งพาการขี่จักรยานสูง

      เช่นเดียวกับการเลือกภูเก็ตเป็นที่ตั้งหลักในการให้บริการเนื่องจากเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม และมีศักยภาพจะกลายเป็น ‘เมืองอัจฉริยะ (Smart City)’ ในเร็ววันนี้

      ซึ่งการที่ทั้งโอโฟและโมไบค์ไม่เน้นให้บริการในตัวเมืองกรุงเทพฯ ตั้งแต่แรก (โอไบค์ มีให้บริการตามสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT บ้าง ส่วนโอโฟเล็งจะเปิดให้บริการรอบเกาะรัตนโกสินทร์เนื่องจากมีเลนจักรยานที่ต่อเนื่อง) คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน เพราะระบบนิเวศในเมืองหลวงของเราไม่เอื้อประโยชน์ต่อการขับขี่จักรยานสักเท่าไหร่

 

 

      แม้กรุงเทพฯ จะตีเลนขับขี่จักรยานจริงจังในเมืองมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2551 แต่สุดท้ายไบค์เลน (Bike Lane) ก็ไม่เป็นที่นิยมแม้จะถูกปรับปรุงให้ไฉไลกว่าเดิมอีกครั้งในปี 2558 ขณะเดียวกันเมื่อปี 2554 มูลนิธิโลกสีเขียวก็เคยทำผลสำรวจปัญหาที่ทำให้คนไม่เลือกขี่จักรยานโดยพบว่า 86% ของผู้ที่ทำแบบสอบถามลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาจะไม่ขี่จักรยานเด็ดขาดหากรู้สึกว่ายังไม่ปลอดภัย

      ด้าน พล.ต.ท. อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าฯ กทม. (ตำแหน่งในช่วงเวลาดังกล่าว) เคยให้สัมภาษณ์กับ กรุงเทพธุรกิจ เมื่อช่วงปลายปี 2559 ว่ากรุงเทพมหานครมีเเผนการจะศึกษาความเป็นไปได้ในการยกเลิกเลนจักรยานบางเส้นทาง เนื่องจากมองว่าไม่มีผู้ใช้งานจักรยาน

      ส่วน ‘ปั่นปั่น’ โครงการให้บริการจักรยานสาธารณะของกรุงเทพมหานครก็มีผู้ใช้อยู่บ้างในช่วงแรก แต่ปัญหาจุดให้บริการที่กระจายไม่มากพอและทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จต้องจอดคืนที่จุดจอดก็ทำให้โมเดลนี้ดูไม่เวิร์กเท่าที่ควร

      ด้วยปัญหาเส้นทางขี่จักรยานที่ไม่ต่อเนื่อง จุดจอดตามสถานที่ต่างๆ ในตัวเมืองที่ขาดแคลน ความอันตราย และการนำขึ้นลงระบบขนส่งสาธารณะที่แสนลำบาก ท้ายที่สุดแล้วเลนจักรยานจึงกลายเป็นเลนจอดรถมอเตอร์ไซค์และที่ตั้งวางร้านค้าแผงลอย

      กลยุทธ์ในช่วงนี้ของผู้ให้บริการ Bike Sharing หน้าใหม่ๆ จากต่างประเทศจึงเลี่ยงไปเปิดให้บริการตามแคมปัส​ สถานที่ที่ผู้คนพลุกพล่าน และมีโอกาสจะได้ใช้งานจักรยานบ่อยครั้ง เน้นความสะดวกสบายให้ผู้บริโภคโดยจอดที่ไหนก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อใช้งานเสร็จต้องทำการล็อกล้อเพื่อเป็นการสิ้นสุดการคำนวณค่าบริการ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้ปลดล็อกเพื่อเปิดใช้งานต่อ

 

 

      นอกจากนี้เพื่อป้องกันการสูญหาย จักรยานทุกคันจึงมีการติดตั้งระบบ GPS ที่ใช้ในการติดตามไว้ด้วย โดยแบรนด์ที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ชัดเจนที่สุดก็หนีไม่พ้นโมไบค์ เพราะเน้นการไม่ต้องบำรุงรักษา ขณะที่จักรยานทุกคันก็มีอายุใช้งานเต็มที่แค่ 4 ปีเท่านั้น

      สุดท้ายแล้วธุรกิจ Bike Sharing จะได้รับความนิยมแค่ไหนและไปได้ดีหรือไม่ในประเทศไทย เราคงต้องติดตามผลกันแบบยาวๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริการที่คำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้บริโภคเป็นสำคัญมีส่วนช่วยให้คนหันมาใช้บริการจักรยานสาธารณะแบบนี้มากขึ้นจริงๆ โดยเฉพาะในประเทศที่พิสูจน์มาแล้วอย่างจีน

 

จีนกลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจบริการจักรยานสาธารณะรายยักษ์ของโลกได้อย่างไร?

      ต้องยอมรับว่าจีนเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อมากๆ ในเรื่องของธุรกิจ Bike Sharing ครั้งหนึ่ง The Guardian เคยเปิดข้อมูลสถิติการยืมคืนจักรยานในเมืองหางโจว (Hangzhou) และพบว่าในทุกๆ 1 วินาทีจะมีอัตราการยืม-คืนจักรยานจากธุรกิจ Bike Sharing มากกว่า 278,883 คัน

      ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Forbes เผยว่าปัจจุบัน 2 ยักษ์ใหญ่ในหมวดหมู่ธุรกิจนี้จากจีนอย่างโมไบค์และโอโฟ มีมูลค่าทางการทำธุรกิจสูงถึงบริษัทละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 33,000 ล้านบาท ซึ่งโอโฟถือเป็นยูนิคอร์นสตาร์ทอัพรายแรกในธุรกิจบริการจักรยานสาธารณะ (สตาร์ทอัพได้รับตำแหน่ง Unicorn ต่อเมื่อมีรายได้มากถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

      โดยปัจจัยสำคัญลำดับแรกสุดที่ทำให้จีนกลายเป็นผู้ประการธุรกิจบริการจักรยานสาธารณะรายยักษ์ของโลกได้นั้นมาจาก ‘ปัญหาการจราจรที่แออัด’

      TomTom บริษัทพัฒนาระบบนำทางด้วย GPS ในเนเธอร์แลนด์ที่รวบรวมและเก็บข้อมูลดัชนีการจราจรทั่วโลกระบุว่า จาก 50 อันดับเมืองที่มีปัญหาการจราจรสะสมหนาแน่นสูงสุดของโลกในปี 2017 มีเมืองของประเทศจีนแห่กันติดในลิสต์นี้มากถึง 16 เมือง! (กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับที่ 2: อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2017)

      เพราะเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาการจราจรคับคั่งมาแต่ไหนแต่ไร เมื่อมองถึงทางเลือกอื่นที่เลี่ยงการใช้รถส่วนตัวและระบบขนส่งสาธารณะ ‘จักรยาน’ จึงกลายเป็นทางออกที่ดีที่สุดของพวกเขานั่นเอง

      ส่วนปัจจัยลำดับที่ 2 คือ ธุรกิจ Bike Sharing จำพวกนี้ถูกดีไซน์รูปแบบบริการออกมาโดยยึดเอาความสบายของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง ผู้ใช้จะจอดจักรยานที่ไหนก็ได้ตามที่พวกเขาสะดวก ทำให้คนหันมาขี่จักรยานสาธารณะกันมากขึ้น เพราะไม่ต้องหิ้วภาระติดตัวไปทุกๆ ที่เหมือนกับการใช้จักรยานหรือรถยนต์ส่วนตัว

      แจ็คกี้ ฮี (Jacky He) หนึ่งในผู้ใช้บริการ Bike Sharing ในจีนให้สัมภาษณ์กับ Forbes ไว้ว่า “ผมหาจักรยานขี่ได้ทุกที่ตามที่ผมต้องการ และผมก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการจอดมันเลยด้วยซ้ำ”

      และปัจจัยสุดท้ายคือการได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ร่วมทุนชั้นนำหลายๆ รายทั้งในและนอกประเทศ อาทิ โอโฟที่ได้รับการลงทุนจาก Xiaomi และ Ant Financial ฟินเทคในเครือ Alibaba รวมถึง Huawei บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์ยักษ์ใหญ่ในจีนที่ให้ความช่วยเหลือพวกเขาด้านการพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Things ใช้ติดตามจักรยาน

      เช่นเดียวกับโมไบค์ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจำนวนมหาศาลกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2016 จากบริษัททั้งในและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น Panda Capital (แคนาดา),​ Warburg Pincus (สหรัฐอเมริกา), Hillhouse Capital และ Tencent (จีน), Temasek (สิงคโปร์) และ Foxconn (ไต้หวัน) เป็นต้น

 

 

      บริษัทรับให้คำปรึกษาด้านธุรกิจอย่าง ‘iiMedia’ ในประเทศจีนได้วิจัยทิศทางการเติบโตของธุรกิจ Bike Sharing โดยคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2017 นี้ ตลาดบริการจักรยานสาธารณะในจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 49,680 ล้านบาท แต่ในอีก 2 ปีข้างหน้าหรือช่วงปลายปี 2019 ตลาดดังกล่าวจะมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าเดิมเท่าตัวที่ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 116,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

      อย่างไรก็ดี ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีแล้วไม่มีข้อบกพร่องเลย เพราะภายใต้รูปแบบบริการที่สะดวกเน้นการใช้จักรยานแล้วจอดที่ไหนก็ได้ก็เป็นการทำลายทัศนียภาพของตัวเมืองของจีนในเวลาเดียวกัน โดยผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือทะเลจักรยานหลายร้อยพันคันที่ถูกจอดทิ้งเรียงรายเป็นจำนวนมากตามสถานที่ต่างๆ

      อีริค เหมา (Eric Mao) ผู้จัดการแผนกการตลาดของบริษัท GST อีกหนึ่งบริษัทเจ้าของธุรกิจ Bike Sharing ในประเทศจีนให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ว่า “มันเป็นปัญหาใหญ่นะกับการที่คุณได้เห็นจักรยานหลายพันคันถูกจอดทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ในตัวเมืองโดยไม่ได้ใช้งาน เพราะไม่มีใครสนใจจะดูแลมัน ทำให้ทัศนียภาพที่สวยงามของเมืองถูกทำลาย”

      สุดท้ายแล้วเเม้โอกาสและศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจ Bike Sharing ในประเทศจีนจะสดใส แต่พวกเขาก็ต้องเร่งหาวิธีจัดการกับปัญหาที่ตามมาด้วยเช่นกัน แต่หากประเทศไทยสามารถนำโมเดลของบริษัทที่รุ่งเรืองด้าน Bike Sharing ในจีนมาต่อยอดพัฒนาให้สมบูรณ์แบบขึ้นได้ในทุกๆ ด้าน ผลลัพธ์ที่ตามมาก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีงามต่อสิ่งเเวดล้อมและเศรษฐกิจแน่นอน

 

อ้างอิง

The post สำรวจตลาด Bike Sharing ในประเทศไทย เมื่อบริการให้เช่าจักรยานสาธารณะจากจีนกำลังคึกคัก appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thailand-bike-sharing/feed/ 0
ไทยเบฟได้อะไรจากการซื้อ KFC 11,300 ล้านบาท https://thestandard.co/thaibev-takeover-kfc/ https://thestandard.co/thaibev-takeover-kfc/#respond Thu, 10 Aug 2017 02:10:26 +0000 https://thestandard.co/?p=19631

     ถือเป็นดีลใหญ่ที่สะเทือนวงการธุรกิจ […]

The post ไทยเบฟได้อะไรจากการซื้อ KFC 11,300 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ถือเป็นดีลใหญ่ที่สะเทือนวงการธุรกิจไทยแห่งปี เมื่อบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ซึ่งจัดตั้งโดยบริษัท ฟู้ด ออฟ เอเชีย จำกัด และเป็นบริษัทย่อยภายใต้ กลุ่มไทยเบฟ ประกาศซื้อสาขาล็อตสุดท้ายของเคเอฟซี (KFC) ในไทย จากบริษัท Yum Restaurants International (ประเทศไทย) คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 11,300 ล้านบาท

     บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ว่า บริษัทได้บรรลุข้อตกลงการซื้อร้านสาขาของเคเอฟซี จาก ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ที่เหลืออยู่ทั้งหมดประมาณ 240 สาขา รวมทั้งสาขาที่มีแผนจะเปิดในอนาคต ซึ่งหากดีลนี้สำเร็จเมื่อไร เท่ากับว่าไทยเบฟจะสามารถขยายตลาดของธุรกิจอาหารไปสู่ธุรกิจบริการอาหารเร่งด่วนในทันที รวมทั้งจับกระแสเทรนด์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคนี้ได้ทันมากขึ้น

     อย่างไรก็ดี เคเอฟซีมีสาขาในไทยประมาณ 600 สาขา โดยสาขาที่เหลือประมาณ 224 แห่งและ 128  แห่งเป็นของกลุ่ม CRG ในเครือเซ็นทรัลและบริษัทเรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) ตามลำดับ

     นงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การเข้าซื้อร้านสาขาเคเอฟซี นอกจากจะทำให้ไทยเบฟขยายพอร์ตธุรกิจอาหารให้เติบโตขึ้นแล้ว เครือข่ายร้านค้าสาขาของเคเอฟซีที่กระจายอยู่ทั่วประเทศจะทำให้กลุ่มบริษัทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น สามารถเข้าใจเทรนด์ ความต้องการ และขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

     “และด้วยความชำนาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจบริการอาหารแบบเร่งด่วน เราจะสามารถผลักดันและเร่งขยายสาขาของเคเอฟซีประเทศไทยได้อย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้ เรามองว่าโอกาสในการร่วมงานกับกลุ่มบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาพนักงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นควบคู่ไปด้วย”

ผมว่าเขาน่าจะได้ความรู้ด้านการบริหารแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ดีมากจากเคเอฟซี รวมถึงความรู้เรื่องธุรกิจอาหาร เพราะก่อนหน้านี้ธุรกิจของคุณเจริญจะเป็นรูปแบบอาหารที่มาจากเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่

 

ไทยเบฟทุ่มซื้อแฟรนไชส์ดัง หวังขยายตลาดธุรกิจอาหาร ใครได้ประโยชน์?

     หลายคนคงเกิดข้อสงสัยไม่น้อยว่าการเข้าซื้อสาขาเคเอฟซี ประเทศไทย จำนวนกว่า 240 แห่งในครั้งนี้ จะสร้างประโยชน์ให้กับไทยเบฟ รวมถึงสยายปีกอาณาจักรธุรกิจของ เจ้าสัวเจริญ-กองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหารบริษัทไทยเบฟได้อย่างไร ดีลนี้จะคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหนสำหรับมหาเศรษฐีระดับแสนล้านที่ถือครองธุรกิจชั้นนำของไทยเป็นจำนวนมาก

     THE STANDARD ได้ติดต่อไปยัง สรกล อดุลยานนท์ คอลัมนิสต์ชื่อดัง เจ้าของนามปาก ‘หนุ่มเมืองจันท์’ เพื่อสอบถามความคิดเห็นและร่วมวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว โดยสรกลให้ความเห็นว่า ดีลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อบริษัทไทยเบฟแน่นอน และถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่ทำกำไร แต่ก็สามารถเป็นใบเบิกทางสู่สินค้าอื่นๆ ในเครือของไทยเบฟได้

     “ผมว่าเขาน่าจะได้ความรู้ด้านการบริหารแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ดีมากจากเคเอฟซี รวมถึงความรู้เรื่องธุรกิจอาหาร เพราะก่อนหน้านี้ธุรกิจของคุณเจริญจะเป็นรูปแบบอาหารที่มาจากเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ (เครื่องดื่มต่างๆ) ไม่เหมือนกับซีพีที่เป็นเหมือนกับเจ้าพ่อวงการนี้อยู่แล้ว การซื้อเคเอฟซีจึงเปรียบเสมือนการได้เรียนรู้ know how การทำธุรกิจของแบรนด์ ไทยเบฟเองก็สามารถพัฒนาต่อยอดไปยังสินค้าตัวอื่นๆ ซึ่งวันหนึ่งเราอาจจะเห็นร้านอาหารในเครือของเขาเพิ่มเติม

     “นอกจากนี้ก็เป็นช่องทางที่จะเอาสินค้าของพวกเขาจำพวกเครื่องดื่มแทรกเข้าไปในร้านได้ด้วย ซึ่งจะช่วยทำเงินได้มากขึ้น เพราะการเป็นร้านอาหารไม่ได้หมายความว่าเป็นแค่ช่องทางการจัดจำหน่ายเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นช่องทางที่ทำให้คน (ผู้บริโภค) ได้ทดลองผลิตภัณฑ์อีกด้วย สมมติว่าคุณซื้อแล้วได้แถมเครื่องดื่มอะไรสักตัว มันก็คือการทดลองผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อในที่สุด ผมจึงมองว่าเคเอฟซีเป็นช่องทางที่ใหญ่มากๆ สำหรับไทยเบฟ” สรกลกล่าว

     นั่นอาจหมายความว่า ในอนาคตเราจะได้เห็นเคเอฟซีหลายๆ สาขานำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมของเสริมสุขอย่างเอส หรือเครื่องดื่มชาในเครือโออิชิเข้ามาจำหน่ายมากขึ้น เช่นนั้นแล้วโอกาสที่เราจะได้เห็นเคเอฟซียุคใหม่ภายใต้การบริหารของไทยเบฟนำผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ช้างเข้ามาวางจำหน่ายในร้านมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน?

     สรกลกล่าวว่า “ถ้ามีการเปิดช่องทางก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ผมมองว่าพวกเขา (เคเอฟซีและไทยเบฟ) จะเสียกลุ่มครอบครัวไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเขาวางจุดยืนแบบนี้หรือเปล่า”

     ด้าน ชัชวนันท์ สันธิเดช นักลงทุนและเจ้าของเพจ Club VI ให้สัมภาษณ์กับเราว่า ดีลในครั้งนี้เปรียบเสมือนหนึ่งในจิ๊กซอว์ทางธุรกิจของเจ้าสัวเจริญ และสิ่งที่ไทยเบฟจะได้รับก็คือความภักดีของตัวผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ ซึ่งมีค่ามากกว่ากำไรทางธุรกิจ

     “ผมมองว่าดีลนี้ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ทางธุรกิจโดยรวมของบริษัทไทยเบฟมาก การซื้อสาขาของเคเอฟซีเป็นการสร้างความฮือฮา และเสริมภาพรวมทางธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้น ผมเปรียบเทียบกับกรณีที่บริษัท Ant Financial ในเครือ Alibaba ไปซื้อหุ้นเคเอฟซี ประเทศจีน ประมาณ 20% แต่กลับได้พาดหัวข่าวว่า ‘แจ็ค หม่า ซื้อเคเอฟซีที่เคยปฏิเสธไม่รับเขาเข้าทำงาน’ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงบริษัทที่ซื้อเป็นแค่บริษัทในเครือ Alibaba เท่านั้น” ชัชวนันท์กล่าว

 

 

วิเคราะห์แผนกลยุทธ์ของ KFC กับจุดเด่นของการสร้างแบรนด์อาหารเร่งด่วน (QSR: Quick Service Restaurants)

     จากแถลงการณ์ข้างต้นของไทยเบฟ น่าคิดต่อว่าทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่จึงสนใจแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารเร่งด่วนของเคเอฟซี หรือไทยเบฟมองเห็นโอกาสอะไรที่สามารถต่อยอดธุรกิจในเครือให้ก้าวไปไกลกว่านี้ได้

     อันที่จริงปฏิเสธไม่ได้ว่า เคเอฟซีเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานด้านบริการระดับโลกเป็นทุนเดิม ขณะเดียวกัน การทำตลาดในไทยก็นับว่ามีความโดดเด่นไม่น้อยไปกว่าธุรกิจฟาสต์ฟู้ดเจ้าอื่น

     หากพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบัน เคเอฟซีถือเป็นแบรนด์ผู้นำในตลาดร้านบริการอาหารแบบเร่งด่วนในประเทศไทย จากการเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 30 ปี และยังมีการขยายตัวมากที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ปี 2558 ที่มีเพียง 550 สาขา  ปี 2559 ที่เพิ่มเป็น 585 สาขากระทั่งสามารถขยายสาขาได้มากถึงประมาณ 600 แห่งในปีนี้

     หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบรนด์เคเอฟซีได้รับความนิยมในประเทศไทยจนเติบโตได้มากเช่นนี้ มาจากไลน์สินค้าที่ถูกประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมนูอาหารจำพวกไก่และปลาแซ่บ, ไก่และปลาซี้ด, ไก่วิงซ์แซ่บ และข้าวหน้าต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบภาชนะบรรจุให้พกพาง่ายขึ้นในลักษณะของถ้วยกระดาษเพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน

     ที่สำคัญยังปรับภาพลักษณ์ของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดให้มีกลิ่นอายความเป็นร้านอาหารในรูปแบบครอบครัวมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากชื่อเมนูและการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ออกมา นอกจากนี้ก็ยังพัฒนาไลน์เมนูขนมทานเล่น ของหวานและเครื่องดื่มออกมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

     และถึงแม้คู่แข่งโดยตรงอย่างแมคโดนัลด์ (McDonald’s) จะมีสาขาให้บริการแบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) มากถึง 76 แห่ง แต่ในช่วงระยะหลังๆ เคเอฟซีก็ให้ความสำคัญกับการขยายสาขาแบบไดร์ฟทรูมากขึ้นเช่นกัน โดยข้อมูล ณ ปัจจุบันระบุว่า พวกเขาสามารถขยายสาขาให้บริการในรูปแบบดังกล่าวได้กว่า 38 แห่งทั่วประเทศไทยแล้ว

     หากยังจำกันได้ เมื่อช่วงประมาณปี 2015 เคเอฟซีเริ่มนำร่องปรับรูปโฉมร้านให้มีความทันสมัยขึ้นจากการให้บริการสัญญาณ Wi-Fi ฟรี, มีบริการเครื่องดื่มแบบรีฟิลพร้อมห้องน้ำภายในตัวร้าน ทั้งยังนำระบบการรับออร์เดอร์มาตรฐานระดับโลกอย่าง SOP (Speed Up Ordering Process) เข้ามาใช้ ซึ่งให้ความเร็วในการบริการรับออร์เดอร์ลูกค้าได้มากถึง 83 คนต่อชั่วโมง จากเดิม 41 คนต่อชั่วโมง

     ยังไม่รวมถึงแผนการสื่อสารการตลาดทางโซเชียลมีเดีย เช่น เพจบนเฟซบุ๊ก ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจนโด่งดังไปทั่วโลกออนไลน์

     ก่อนหน้านี้ เคเอฟซี ประเทศไทย ภายใต้การบริหารของ ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) เคยตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2023 นี้ พวกเขาจะต้องขยายสาขาเคเอฟซีให้ได้มากถึง 800 แห่ง ขณะที่ปัจจุบันสาขาในครอบครองของไทยเบฟคิดเป็นสัดส่วน 40% ของจำนวนสาขาเคเอฟซีในประเทศไทยทั้งหมด แน่นอนว่าโจทย์ใหญ่ของไทยเบฟหลังจากนี้คือการรับไม้ผลัดต่อจากยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพองค์กรให้มีความแข็งแรงและเร่งขยายสาขาให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอนาคตเราคงจะได้เห็นความสนุกของการต่อยอดทางธุรกิจระหว่างไทยเบฟและเคเอฟซีแน่นอน

 

 

     อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายธุรกิจที่อยู่ภายใต้อาณาจักรของไทยเบฟ ซึ่งทำรายได้มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินค้าอุปโภค-บริการทั่วไป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ และธุรกิจร้านอาหารเคเอฟซี จึงเป็นจิ๊กซอว์อีกชิ้นที่จะเข้ามาเติมเต็มภาพรวมของธุรกิจไทยเบฟให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเกินตัว

     “ยอดขายของไทยเบฟสูงมากเลยนะ ถ้าผมไม่จำไม่ผิด ตัวเลขเป็นหลักแสนล้าน ธุรกิจเหล้ากับเบียร์มันใหญ่มาก และตัวนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเขาเท่านั้นเอง เขามีทั้งเบอร์ลี่ ยุคเกอร์, เครือโออิชิ, เสริมสุข และไทยเบฟ แค่ 4 ตัวนี้ก็มหึมาแล้ว เขาซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า” สรกลปิดท้าย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2560 ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่แม้ว่าจะมีรายได้จากการขายสินค้า 46,829 ล้านบาท ลดลง 8% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน สืบเนื่องจากการขายและการบริโภคในกลุ่มธุรกิจสุราและเบียร์ที่ปรับตัวลดลงในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีกำไรสุทธิถึง 7,743 ล้านบาท

 

*หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งหมดนับจนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2560

ภาพประกอบ: Thiencharas.w

อ้างอิง:

The post ไทยเบฟได้อะไรจากการซื้อ KFC 11,300 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thaibev-takeover-kfc/feed/ 0