Alibaba Group Holding – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 28 Aug 2024 05:36:53 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 แบรนด์หรูอ่วม! เจอปัญหาคนจีนแห่สั่งสินค้าทางออนไลน์แล้วขอคืนเงิน หลังช้อปกระหน่ำในช่วงเทศกาลลดราคา https://thestandard.co/luxury-labels-chinese-returning-goods/ Sat, 20 Apr 2024 03:00:59 +0000 https://thestandard.co/?p=924834 แบรนด์หรู

เทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนเมื่อเดือนพฤศจิ […]

The post แบรนด์หรูอ่วม! เจอปัญหาคนจีนแห่สั่งสินค้าทางออนไลน์แล้วขอคืนเงิน หลังช้อปกระหน่ำในช่วงเทศกาลลดราคา appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบรนด์หรู

เทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ทำให้เกิดคำสั่งซื้อสินค้า แบรนด์หรู ทะลักเข้ามาบน Tmall แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของ Alibaba Group Holding

 

แต่ภายในเวลาไม่กี่วัน แบรนด์ดังอย่าง Burberry Group Plc และ NET-A-PORTER ของ Cie Financiere Richemont SA สูญเสียรายได้จากยอดขายถึง 75%  เนื่องจากลูกค้าจำนวนมากคืนสินค้าหรือยกเลิกคำสั่งซื้อกันยกใหญ่

 

อัตราการคืนสินค้าที่สูงผิดปกตินี้ (สูงกว่าอัตราปกติ 20-30% ของอุตสาหกรรมสินค้าหรูทั่วโลกตามการประเมินของบริษัทที่ปรึกษา Sanford C. Bernstein) ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องหลังจีนยกเลิกนโยบาย Zero-COVID เมื่อปีก่อน และกำลังทำให้แบรนด์แฟชั่นบางแบรนด์ต้องประเมินวิธีการทำธุรกิจในจีนใหม่

 

ลูกค้าส่วนใหญ่ของตลาดออนไลน์คือชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนโดยตรง กลุ่มคนเหล่านี้เคยเป็นกำลังสำคัญในการจับจ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ตอนนี้กลับมองหาสินค้าราคาถูกลงหรือเลิกซื้อของแพงไปเลย แพลตฟอร์มอย่าง Tmall ก็จัดโปรโมชันลดราคากันบ่อยขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดขาย แต่เทรนด์การคืนสินค้ากำลังบ่อนทำลายความพยายามเหล่านี้

 

เทรนด์นี้เลวร้ายลงในไตรมาสแรกของปีนี้ อัตราการคืนสินค้าและยกเลิกการซื้อบน Tmall  ของ แบรนด์หรู สัญชาติอิตาลีอย่าง Brunello Cucinelli SpA พุ่งกระฉูดถึง 69% จาก 59% ในช่วงเวลาเดียวกันกับเมื่อปีก่อน และ Marc Jacobs ของ LVMH ก็พุ่งไปถึง 43% เมื่อเทียบกับ 30% ในช่วงเดียวกันของปี 2022

 

นอกจากนี้แบรนด์ Chloé ของ Richemont, Ralph Lauren Corp. และ Mulberry Group PLC ต่างก็ประสบปัญหากับอัตราการคืนสินค้าที่เพิ่มขึ้นเช่นกันเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา

 

“ผมนึกภาพออกเลยว่ามีคนมากมายในตลาดสินค้าหรูหยิบสินค้าไปใช้โชว์ในงานอีเวนต์เพื่อสร้างสถานะทางสังคม แล้วก็คืนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย” Mark Tanner กรรมการผู้จัดการของบริษัทการตลาด China Skinny กล่าว “มีสัญญาณว่าตลาดสินค้าหรูกำลังอ่อนตัวลง ซึ่งแน่นอนว่าทำให้นักฉวยโอกาสพากันใช้สินค้าฟรี”

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ไม่ได้กระทบแบรนด์ระดับสูงสุดอย่าง Hermès, CHANEL และ Dior ซึ่งจำกัดการขายผ่านอีคอมเมิร์ซและแทบไม่จัดโปรโมชันลดราคาเลย กลยุทธ์ ‘ของหายาก’ ที่เน้นสร้างฐานลูกค้าที่ร่ำรวยนี้ ทำให้ยอดขายของแบรนด์เหล่านี้ยังคงแข็งแกร่งท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีน

 

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการจัดโปรโมชันบ่อยครั้งของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาจทำลายภาพลักษณ์ของแบรนด์และลดความน่าดึงดูดใจลง อย่างไรก็ตาม Tmall ยังคงสามารถชักจูงแบรนด์ต่างๆ ให้มาร่วมโปรโมชันได้ด้วยการให้สัญญาว่าจะทำการตลาดเพื่อนำลูกค้ามาที่ร้านค้าออนไลน์ของแบรนด์

 

ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีนกำลังทำให้ระบบการคืนสินค้าและขอเงินคืนง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะขึ้น แพลตฟอร์มอย่าง Tmall และ JD.com กำหนดให้แบรนด์ต้องอนุญาตให้ลูกค้าคืนสินค้าได้โดยไม่ต้องระบุเหตุผลภายใน 7 วัน 

 

แบรนด์หลายแบรนด์ก็ยังซื้อประกันจากแพลตฟอร์มที่ช่วยครอบคลุมค่าส่งสินค้าคืนให้ลูกค้าอีกด้วย เมื่อเร็วๆ นี้แพลตฟอร์มยังเริ่มอนุญาตให้ลูกค้าขอเงินคืนสินค้าที่มีปัญหา เช่น ส่งช้าหรือบริการแย่โดยไม่ต้องคืนสินค้าด้วยซ้ำ

 

อย่างไรก็ตาม การที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีอิทธิพลและเข้าถึงตลาดได้อย่างมหาศาลในจีน ก็ทำให้ แบรนด์หรู หนีไปไหนไม่ได้ ดังนั้นหลายแบรนด์จึงลงทุนเพิ่มในการให้บริการที่ปรึกษา การสร้างประสบการณ์สุดพิเศษ และจัดโปรโมชันแบบส่วนตัวมากขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวกับลูกค้ากระเป๋าหนัก

 

บริษัท Bain & Co. คาดการณ์ว่า ยอดขายสินค้าหรูของจีนจะเติบโตไม่เกิน 5% ในปีนี้ ซึ่งลดลง 12% จากปี 2023 และกลุ่มคนที่จะขับเคลื่อนตลาดนี้ก็คือกลุ่มที่มีทรัพย์สินลงทุนได้มากกว่า 10 ล้านหยวน (ประมาณ 50 ล้านบาท)

 

สถานการณ์นี้ทำให้ ‘แบรนด์หรูต้องหันมาโฟกัสลูกค้าคนสำคัญเป็นพิเศษ’ และการที่คนหันมาคืนสินค้าได้ง่ายๆ นี้แสดงให้เห็นว่า แบรนด์หรูยิ่งต้องปรับกลยุทธ์เพื่อตลาดจีน

 

ภาพ: Wang Gang / Feature China / Future Publishing via Getty Images

อ้างอิง:

The post แบรนด์หรูอ่วม! เจอปัญหาคนจีนแห่สั่งสินค้าทางออนไลน์แล้วขอคืนเงิน หลังช้อปกระหน่ำในช่วงเทศกาลลดราคา appeared first on THE STANDARD.

]]>
เป็นครั้งแรกที่ Alibaba และ Tencent ออกมายอมรับว่า การควบคุมการส่งออกชิป AI ใหม่ของสหรัฐฯ ได้กระทบธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง https://thestandard.co/alibaba-tencent-ai/ Wed, 06 Dec 2023 07:03:28 +0000 https://thestandard.co/?p=873911 Alibaba Tencent

ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจีนอย่าง Alibaba Group Holding และ Te […]

The post เป็นครั้งแรกที่ Alibaba และ Tencent ออกมายอมรับว่า การควบคุมการส่งออกชิป AI ใหม่ของสหรัฐฯ ได้กระทบธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Alibaba Tencent

ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจีนอย่าง Alibaba Group Holding และ Tencent Holdings กำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมากจากการควบคุมการส่งออกชิป AI ใหม่ของสหรัฐฯ ข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง

 

Alibaba ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นในรายได้จากโมเดลการฝึก AI และบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผลมาจากกฎการส่งออกที่เข้มงวดของสหรัฐฯ บริษัทต้องยกเลิกแผนที่จะแยกธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้งออกมา เนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดจากข้อจำกัดเหล่านี้

 

Tencent ได้ยอมรับผลกระทบของการควบคุมเหล่านี้ต่อความสามารถในการเช่าชิป AI ผ่านบริการคลาวด์ บริษัทกำลังมองหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในสินค้าคงคลังชิป AI ที่มีอยู่ โดยจัดการงานบางอย่างไปยังชิปประสิทธิภาพต่ำกว่า โดยเน้นใช้ชิป AI ประสิทธิภาพสูงเพื่อวัตถุประสงค์ในการฝึก

 

คำแถลงเหล่านี้จาก Alibaba และ Tencent ปรากฏขึ้นระหว่างการแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ 3 และเป็นครั้งแรกที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนได้กล่าวถึงผลกระทบของการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ กลยุทธ์ของสหรัฐฯ ที่อธิบายว่ามีเป้าหมายที่จะลดความก้าวหน้าของจีนในด้าน AI และการผลิตเซมิคอนดักเตอร์

 

ทั้ง Alibaba และ Tencent กำลังสำรวจวิธีการจากหลากหลายแหล่งเทคโนโลยีและลดผลกระทบต่อการเติบโตของพวกเขา ซีอีโอของ Alibaba อย่าง Eddie Yongming Wu ได้กล่าวถึงศักยภาพในการใช้ชิปและผู้ให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานคอมพิวติ้ง AI ในจีน เขายังระบุถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ของ Alibaba ในการใช้ชิปประมวลผลกราฟิกที่หลากหลายมากขึ้น

 

ซีอีโอของ Alibaba ได้กล่าวว่า บริษัทจะหันไปใช้ชิปประเภทต่างๆ มากขึ้น โดยย้ายจากหน่วยประมวลผลกลางไปยังการจัดหาหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ประธาน Tencent ได้เปิดเผยว่า Tencent ได้สั่งซื้อชิป NVIDIA H800 จำนวนมากล่วงหน้า ซึ่งออกแบบมาเฉพาะสำหรับลูกค้าในจีน อย่างไรก็ตาม การส่งออกชิปเหล่านี้ไปยังจีนถูกห้ามตามกฎใหม่ของสหรัฐฯ

 

เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงที่ Huawei Technologies สร้างความประหลาดใจด้วยการเปิดตัวชิปขนาด 7 นาโนเมตร สำหรับโทรศัพท์มือถือ 5G รุ่นล่าสุด ซึ่งทำให้สหรัฐฯ กังวล 

 

นอกจากนี้ อุตสาหกรรม AI ของจีนกำลังแข่งขันอย่างเข้มข้นเพื่อพัฒนาระบบที่คล้ายกับ ChatGPT โดยมีการเปิดตัวรูปแบบภาษาขนาดใหญ่ถึง 64 รูปแบบในช่วง 7 เดือนแรกของปี อย่างไรก็ตาม กฎการควบคุมการส่งออกใหม่นี้คาดว่าจะทำให้ความก้าวหน้าของจีนในการพัฒนา AI ชะลอตัวลง

 

ผลที่ตามมาคือ ความต้องการเซิร์ฟเวอร์ AI ขั้นสูงของ NVIDIA ในจีนคาดว่าจะลดลง ผู้ให้บริการคลาวด์ของจีนน่าจะเร่งการเก็บสต๊อกและเร่งการพัฒนาชิป AI ของตนเอง ในขณะที่ผู้ผลิต GPU ของสหรัฐฯ เช่น NVIDIA กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหรัฐฯ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้คาดว่าจะมีจำหน่ายภายในสิ้นปี

 

สถานการณ์นี้สะท้อนถึงความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโลก ที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์มีผลกระทบโดยตรงต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเคลื่อนไหวของตลาด

 

อ้างอิง:

The post เป็นครั้งแรกที่ Alibaba และ Tencent ออกมายอมรับว่า การควบคุมการส่งออกชิป AI ใหม่ของสหรัฐฯ ได้กระทบธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
TikTok รุกหนักตลาดอีคอมเมิร์ซ หวังดันยอดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโตสี่เท่าตัว สู่ระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ https://thestandard.co/tiktok-20-billion-e-commerce/ Thu, 08 Jun 2023 05:13:11 +0000 https://thestandard.co/?p=800662

TikTok แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียภายใต้บริษัท ByteDance Ltd […]

The post TikTok รุกหนักตลาดอีคอมเมิร์ซ หวังดันยอดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโตสี่เท่าตัว สู่ระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

TikTok แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียภายใต้บริษัท ByteDance Ltd. ตั้งเป้าที่จะเพิ่มมูลค่ายอดขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซบนแพลตฟอร์มของตัวเองทั่วโลก สู่ระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวจากปัจจุบัน โดยแรงหนุนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

เป้าหมายที่วางไว้ของ TikTok หากทำได้จริงจะเป็นการเติบโตอย่างรวดเร็วจากปีก่อนที่มียอดขายรวมประมาณ 4.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นยอดขายสินค้าผ่าน TikTok Shop โดยตลาดสำคัญของ TikTok ในปัจจุบันคืออินโดนีเซีย ซึ่งอินฟลูเอ็นเซอร์หลายรายเลือกจะขายสินค้า เช่น กางเกงยีนส์หรือลิปสติก ผ่านการไลฟ์บนแพลตฟอร์ม

 

TikTok ยังได้พยายามที่จะขยายตลาดในสหรัฐฯ และยุโรปด้วยเช่นกัน แม้ว่าตลาดเหล่านี้จะมีสัดส่วนไม่มากจากเป้าหมาย 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ปัจจุบัน TikTok ซึ่งถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก พยายามที่จะกระโดดเข้ามาชิงเค้กของตลาดอีคอมเมิร์ซมูลค่า 17 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากที่แหล่งรายได้หลักอย่างโฆษณาส่งสัญญาณว่าจะถูกกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

 

สำหรับ TikTok Shop นั้นเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อสินค้าได้ในระหว่างที่กำลังเลื่อนดูคลิปต่างๆ ภายในแอปพลิเคชัน โดยหวังว่าผู้บริโภคจะใช้แพลตฟอร์มของตัวเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกจาก Amazon.com และ Shopee ด้วยโมเดลดังกล่าวช่วยให้ TikTok สามารถชิงส่วนแบ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคจาก Alibaba Group Holding และ JD.com มาได้ในจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างการล็อกดาวน์โควิดในจีน

 

อย่างไรก็ตาม TikTok Shop ยังคงมีสัดส่วนไม่มากนักต่อรายได้ของ ByteDance ที่ทำได้ 8 หมื่นล้านดอลลาร์ และเมื่อเทียบกับ Sea Group ซึ่งมียอดขายสินค้าผ่านออนไลน์รวม 7.35 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อปีก่อน ก็ยังค่อนข้างห่างไกล

 

ข้อมูลในปี 2021 และ 2022 ระบุว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ผู้ใช้งานใช้เวลาบนแพลตฟอร์มมากที่สุดในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 22.8 ชั่วโมงต่อเดือน และเพิ่มเป็น 28.7 ชั่วโมงต่อเดือน ตามลำดับ ส่วนรองลงมาคือ Facebook เฉลี่ย 16.8 ชั่วโมงต่อเดือน และลดลงมาเหลือ 15.5 ชั่วโมงต่อเดือน ในปี 2022

 

อ้างอิง:

The post TikTok รุกหนักตลาดอีคอมเมิร์ซ หวังดันยอดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโตสี่เท่าตัว สู่ระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Fidelity หั่นมูลค่า Ant Group ลงอีก 9% เหลือ 6.4 หมื่นล้านดอลลาร์ จากที่เคยพุ่งสูงถึง 2.35 แสนล้านดอลลาร์ https://thestandard.co/fidelity-reduce-value-ant-group/ Fri, 27 Jan 2023 08:33:56 +0000 https://thestandard.co/?p=742816 Fidelity หั่นมูลค่า Ant Group

Ant Group บริษัทฟินเทคยักษ์ใหญ่ในเครือ Alibaba Group Ho […]

The post Fidelity หั่นมูลค่า Ant Group ลงอีก 9% เหลือ 6.4 หมื่นล้านดอลลาร์ จากที่เคยพุ่งสูงถึง 2.35 แสนล้านดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Fidelity หั่นมูลค่า Ant Group

Ant Group บริษัทฟินเทคยักษ์ใหญ่ในเครือ Alibaba Group Holding ถูกปรับลดมูลค่าบริษัทลงอีกครั้งโดย Fidelity Investments หลังจากที่บริษัทถูกรัฐบาลจีนเบรกไม่ให้ขายหุ้น IPO เมื่อ 2 ปีก่อน 

 

Fidelity ปรับลดประมาณการมูลค่าของ Ant Group ลงอีก 9% มาเหลือ 6.38 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.05 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำลงอย่างมากจากมูลค่าของบริษัทที่เคยพุ่งขึ้นไปถึง 2.35 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7.52 ล้านล้านบาท เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทถูกสั่งชะลอการขายหุ้น IPO

 

Ant Group จำเป็นต้องปรับโครงสร้างธุรกิจให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของภาครัฐ ในระหว่างที่รอหน่วยงานกำกับอนุญาตให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจฟินเทคต่อไปได้ ซึ่งล่าสุดหน่วยงานกำกับได้อนุญาตบริษัทสามารถระดมทุนเพิ่ม ในขณะที่ Jack Ma ได้ประกาศวางมือจากการบริหารบริษัทในเดือนนี้ 

 

จากแรงกดดันทั้งการคุมเข้มโดยหน่วยงานกำกับและเศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัวลง ส่งผลให้กำไรของ Ant Group ประจำไตรมาสที่สิ้นสุดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ลดลง 63% 

 

ขณะที่ข้อมูลจากแบบแสดงรายการที่เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคมระบุว่า Jack Ma ตั้งใจที่จะลดสัดส่วนและจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของเขาทั้งทางตรงและทางอ้อมใน Ant Group ให้ไม่เกิน 8.8% โดยที่จะถือหุ้นเพียงประมาณ 6.2% หลังจากปล่อยมือจากการบริหาร

 

ด้าน Eric Jing ประธานกรรมการของ Ant Group กล่าวว่า ในท้ายที่สุด Ant Group กลายเป็นบริษัทมหาชน แต่ขณะนี้ยังไม่มีแผนสำหรับการขายหุ้น IPO แต่อย่างใด 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

The post Fidelity หั่นมูลค่า Ant Group ลงอีก 9% เหลือ 6.4 หมื่นล้านดอลลาร์ จากที่เคยพุ่งสูงถึง 2.35 แสนล้านดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แจ็ค หม่า สละอำนาจบริหาร Ant Group ก่อนเลือกเดินทางพักผ่อนในไทย https://thestandard.co/jack-ma-gives-up-control-on-ant-group/ Sat, 07 Jan 2023 07:28:56 +0000 https://thestandard.co/?p=733933 แจ็ค หม่า

แจ็ค หม่า มหาเศรษฐีพันล้าน ตัดสินใจสละอำนาจในการบริหาร […]

The post แจ็ค หม่า สละอำนาจบริหาร Ant Group ก่อนเลือกเดินทางพักผ่อนในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
แจ็ค หม่า

แจ็ค หม่า มหาเศรษฐีพันล้าน ตัดสินใจสละอำนาจในการบริหาร Ant Group หลังจากก่อนหน้านี้เขาได้ก้าวลงจากตำแหน่งผู้บริหารของ Alibaba Group Holding ด้วยเช่นกัน โดยการก้าวลงจากแท่นผู้นำองค์กรครั้งนี้ อาจกระทบต่อแผนการเข้าจดทะเบียนของ Ant Group 

 

ทั้งนี้ บริษัทได้เสนอบุคคลที่จะขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของ แจ็ค หม่า ใน Ant Group จำนวน 10 ราย ทั้งในส่วนของกลุ่มผู้ก่อตั้ง กรรมการบริหาร และพนักงาน จากการประกาศของบริษัทในวันนี้ (7 มกราคม) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะไม่กระทบต่อผลประโยชน์ใดๆ ของผู้ถือหุ้น

 

ขณะที่ แจ็ค หม่า จะยังคงมีสิทธิในการออกเสียงและรับผลประโยชน์ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อไป โดยมีสิทธิออกเสียงราว 6.2% จากการคำนวณของ Bloomberg 

 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อาจทำให้ Ant Group ต้องยืดระยะเวลาการขายหุ้น IPO ออกไป เพราะบริษัทจะไม่สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของจีนแผ่นดินใหญ่ หรือที่เรียกว่า A-Share หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารที่มีอำนาจควบคุมภายใน 3 ปี หรือ 25 ปี ถ้าเป็นการเข้าจดทะเบียนในตลาด STAR ของเซี่ยงไฮ้ ส่วนตลาดฮ่องกงต้องใช้เวลา 1 ปี 

 

ทั้งนี้ Ant Group เพิ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีนให้สามารถระดมทุนเพิ่มเติมอีก 1.05 หมื่นล้านหยวน หรือราว 1.5 พันล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าบริษัทจะปล่อยสินเชื่อได้ราว 4-5 แสนล้านหยวน 

 

ก่อนหน้านี้ แจ็ค หม่า ไม่ปรากฏตัวสู่สาธารณะนับแต่ที่เขาได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนเมื่อปี 2020 โดยผลที่ตามมาคือการที่ Ant Group ถูกทางการจีนเบรกการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยก่อนหน้าที่จะถูกทางการเข้ามาตรวจสอบอย่างหนัก Ant Group ถูกคาดหวังว่าจะเป็นหุ้น IPO ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จะเข้าจดทะเบียนในปี 2020 

 

ล่าสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมา แจ็ค หม่า ได้เดินทางมายังประเทศไทย ถือเป็นการปรากฏตัวในที่สาธารณะที่ไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อยนักในระยะหลัง ซึ่ง แจ็ค หม่า ได้เดินทางไปกินอาหารที่ร้านเจ๊ไฝ หนึ่งในร้านมิชลินสตาร์ของไทย อิงจากภาพของพ่อครัวที่โพสต์ลงในอินสตาแกรมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 มกราคม)

 

นอกจากนี้ The Straits Times รายงานว่า เขาได้เข้าชมมวยไทยที่เวทีราชดำเนินเมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา 

 

ปัจจุบัน แจ็ค หม่า มีความมั่งคั่งราว 3.38 หมื่นล้านดอลลาร์ ถือเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 4 ของจีน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง:

The post แจ็ค หม่า สละอำนาจบริหาร Ant Group ก่อนเลือกเดินทางพักผ่อนในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาลีบาบา อาจ ‘ถูกถอด’ ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังทางการจีนกีดกันการเข้าตรวจสอบทางการเงิน https://thestandard.co/alibaba-might-be-removed-from-usa-market-stock/ Mon, 01 Aug 2022 01:35:43 +0000 https://thestandard.co/?p=660953 Alibaba

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสห […]

The post อาลีบาบา อาจ ‘ถูกถอด’ ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังทางการจีนกีดกันการเข้าตรวจสอบทางการเงิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Alibaba

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ได้เพิ่มรายชื่อของ อาลีบาบา Alibaba Group Holding ลงในบัญชีรายชื่อบริษัทที่ต้องถูกถอดถอนจากตลาดหุ้น เนื่องจากทางการปักกิ่งปฏิเสธที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่อเมริกันเข้าตรวจสอบทางการเงิน

 

ความเคลื่อนไหวของ ก.ล.ต. สร้างความวิตกให้กับนักลงทุน ซึ่งได้ประเมินข้อกังวลมากมายแล้ว รวมถึงความเสี่ยงด้านรายได้ ผลกระทบของการที่ ‘แจ็ค หม่า’ จะยกเลิกการควบคุมบริษัทฟินเทคอย่าง Ant Group และความเสี่ยงจากโควิดในจีน

 




ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

หุ้นที่จดทะเบียนในสหรัฐของ Alibaba ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 และร่วงลง 21% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือนที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021

 

รายงานของ Bloomberg เผยว่า ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อีกหลายสิบประเทศอนุญาตให้มีการตรวจสอบของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของอเมริกาสามารถสัมภาษณ์นักบัญชีในพื้นที่และกลั่นกรองเอกสารประกอบการทำงานของพวกเขาได้ แต่ทางการจีนและฮ่องกงปฏิเสธ โดยอ้างกฎหมายการรักษาความลับและข้อกังวลด้านความมั่นคงของประเทศ

 

หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงด้านการตรวจสอบได้ Alibaba จะเป็นบริษัทจีนรายใหญ่ที่สุดที่จะถูกไล่ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ Alibaba ได้แย้งว่านับตั้งแต่ IPO ที่นิวยอร์กในปี 2014 บัญชีของบริษัทได้รับการตรวจสอบโดยสำนักงานบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกและเป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลก็ตาม

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post อาลีบาบา อาจ ‘ถูกถอด’ ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังทางการจีนกีดกันการเข้าตรวจสอบทางการเงิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
บริษัทใหม่ที่ควบรวมจาก Gojek ระดมทุนได้ถึง 1.3 หมื่นล้านบาท จากหน่วยงานการลงทุนแห่งอาบูดาบี ก่อนเข้าสู่การ IPO ในปีนี้ https://thestandard.co/gojek-fundraised-13-billion-baht/ Fri, 22 Oct 2021 08:51:14 +0000 https://thestandard.co/?p=551240 Gojek

GoTo เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่างสองสตาร์ […]

The post บริษัทใหม่ที่ควบรวมจาก Gojek ระดมทุนได้ถึง 1.3 หมื่นล้านบาท จากหน่วยงานการลงทุนแห่งอาบูดาบี ก่อนเข้าสู่การ IPO ในปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Gojek

GoTo เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่างสองสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากที่สุดของอินโดนีเซีย นั่นคือบริษัท Gojek ยักษ์ใหญ่ด้านบริการเรียกรถ และบริษัทอีคอมเมิร์ซอย่าง PT Tokopedia โดยล่าสุดได้รับการระดมทุนจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งอธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดของอาบูดาบี ก่อนที่จะเข้าจดทะเบียน IPO เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ที่มีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1 ล้านล้านบาท

 

การระดมทุนก่อนการเปิดขายหุ้น IPO มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.3 หมื่นล้านบาท) จากหน่วยงานการลงทุนแห่งอาบูดาบี ถือเป็นการลงทุนหลักครั้งแรกของกลุ่ม Private Equity (หุ้นที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) ในธุรกิจเทคโนโลยีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นข้อตกลงที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย

 

ทั้งนี้ GoTo ได้เริ่มกระบวนการระดมทุนจำนวน 1-2 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3.3-6.6 หมื่นล้านบาท โดยมีการประเมินมูลค่า (Valuation) อยู่ที่ 2.5-3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 8.3 แสนล้านถึง 1 ล้านล้านบาท ก่อนการเสนอขายหุ้น IPO ที่อินโดนีเซียในปีนี้ และจะทำการจดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ ภายหลัง โดยบริษัทมีกำหนดจะปิดรอบ Pre-IPO เป็นระยะ โดยงวดแรกน่าจะสิ้นสุดในเดือนหน้า 

 

อังเดร โซลิสต์โย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GoTo Group ระบุในแถลงการณ์ว่า “การสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่นี้ เป็นการตอกย้ำความเชื่อของเราว่า อินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ยิ่งใหญ่แห่งต่อไปสำหรับการลงทุนด้านเทคโนโลยี”

 

GoTo ถือเป็นมหาอำนาจในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก และมีธุรกิจต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่ ธุรกิจเช่ารถ, ฟินเทค, อีคอมเมิร์ซ และ ธุรกิจเดลิเวอรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นทั้งจาก Google ของ Alphabet Inc., Alibaba Group Holding Ltd., KKR & Co., SoftBank Group Corp., Temasek Holdings Pte. และ Tencent Holdings Ltd.

 

ฮาหมัด ชาห์วาน อัล ดาเฮรี กรรมการบริหารกลุ่มไพรเวทอิควิตี้ของ ADIA กล่าวว่า “การลงทุนใน GoTo นี้สอดคล้องกับรูปแบบการลงทุนหลักของเรา รวมถึงการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเราเห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนีเซีย”

 

โดย ADIA เป็นกลุ่มไพรเวทอิควิตี้ที่รัฐเป็นเจ้าของ ซึ่งมีสินทรัพย์ทั้งหมดรวมกว่าประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 20 ล้านล้านบาท

 

อ้างอิง:

The post บริษัทใหม่ที่ควบรวมจาก Gojek ระดมทุนได้ถึง 1.3 หมื่นล้านบาท จากหน่วยงานการลงทุนแห่งอาบูดาบี ก่อนเข้าสู่การ IPO ในปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป | Morning Wealth 5 พฤศจิกายน 2563 https://thestandard.co/morning-wealth-05112020-6/ Thu, 05 Nov 2020 09:25:29 +0000 https://thestandard.co/?p=417558 Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป

การเลื่อนขายหุ้น IPO ของ Ant Group บริษัทด้านเทคโนโลยีท […]

The post Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป | Morning Wealth 5 พฤศจิกายน 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป
  • การเลื่อนขายหุ้น IPO ของ Ant Group บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alibaba Group Holding
  • ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีคือ มูลค่าหลักทรัพย์ของ Alibaba ล่าสุด ลดลงมาเหลือ 7.72 แสนล้านดอลลาร์ หายไปถึง 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 2.1 ล้านล้านบาท ภายใน 1 วันทำการ ซึ่งมูลค่าที่หายไปนี้สูงกว่ามูลค่าการระดมทุนของ Ant Group ที่ 3.45 หมื่นล้านดอลลาร์ ประมาณ 1 เท่าตัว 

 

ติดตามการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในรายการ Morning Wealth ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.00-08.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป | Morning Wealth 5 พฤศจิกายน 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป 2 ล้านล้านบาท https://thestandard.co/ant-group-ipo/ Wed, 04 Nov 2020 09:06:49 +0000 https://thestandard.co/?p=417047

สืบเนื่องจากการเลื่อนขายหุ้น IPO ของ Ant Group บริษัทด้ […]

The post Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป 2 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

สืบเนื่องจากการเลื่อนขายหุ้น IPO ของ Ant Group บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alibaba Group Holding โดยมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสาเหตุของการเลื่อนในครั้งนี้ไว้หลายความเป็นไปได้ อย่างเช่น ความไม่พอใจของรัฐบาลจีนต่อการให้ความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Alibaba หรือความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อย ซึ่งอาจทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น

 

ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เห็นทันทีคือ มูลค่าหลักทรัพย์ของ Alibaba ล่าสุด ซึ่งลดลงมาเหลือ 7.72 แสนล้านดอลลาร์ หายไปถึง 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 2.1 ล้านล้านบาท ภายใน 1 วันทำการ ซึ่งมูลค่าที่หายไปนี้สูงกว่ามูลค่าการระดมทุนของ Ant Group ที่ 3.45 หมื่นล้านดอลลาร์ ประมาณ 1 เท่าตัว

 

ขณะที่ความมั่งคั่งของ แจ็ค หม่า ล่าสุดลดลงไป 2.6 พันล้านดอลลาร์ อิงข้อมูล The Real-Time Billionaires List ของ Forbes โดยความมั่งคั่งปัจจุบันอยู่ที่ 6.34 หมื่นล้านดอลลาร์ รั้งอยู่ในอันดับ 16 ของมหาเศรษฐีโลก

 

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น Alibaba (BABA) ลดลงราว 9% ในวันทำการล่าสุด

 

ศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านการลงทุนและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า การเลื่อน IPO ของ Ant Group เป็นความเสี่ยงเฉพาะตัว แต่ในเชิงกฎเกณฑ์ (Regulatory) จะเห็นการเปลี่ยนแปลงแน่นอน และอาจกระทบกับบางบริษัทที่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะกลุ่มฟินเทค (Financial Technology) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจเด่นในจีน จะเป็นอย่างไรต่อไปบน Sentiment เช่นนี้ โดยช่วงที่ผ่านมาในจีนเริ่มมีการไล่ปิดการปล่อยสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์ (P2P Lending) จำนวนมาก ทำให้ธุรกิจฟินเทคก็ต้องมาประเมินมูลค่าธุรกิจกันใหม่

 

ด้าน สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส บล. กสิกรไทย มองว่า สาเหตุการเลื่อนการขายหุ้น IPO ของ Ant Group ในขณะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่โดยส่วนตัวประเมินว่า อาจจะเป็นประเด็นความเสี่ยงในเรื่องของกฎเกณฑ์ (Regulatory) จากธุรกิจหลักคือ การปล่อยสินเชื่อรายย่อย (Microfinance) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายภาครัฐโดยตรง

 

สำหรับการเลื่อนขายหุ้น IPO ครั้งนี้ มีกระแสข่าวว่าอาจจะเป็นการเลื่อนออกไปถึง 6 เดือน แต่เชื่อว่านักลงทุนที่ได้สิทธิ์จองซื้อหุ้น IPO ของ Ant Group และใส่เงินลงทุนไปก่อนหน้านี้ คงจะไม่ตัดสินใจถอนเงินลงทุนกลับออกมาก่อน เว้นแต่ว่าจะเป็นการตัดสินใจคืนเงินลงทุนโดยบริษัท

 

“ยอดจองซื้อหุ้น IPO ของ Ant Group ก่อนหน้านี้ ล้นจากจำนวนหุ้นที่เปิดขายกว่า 100 เท่า เชื่อว่านักลงทุนที่ได้สิทธิ์อาจจะปล่อยเงินลงทุนส่วนนี้คาไว้ก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเสียสิทธิ์จองซื้อ แต่หากบริษัทตัดสินใจคืนเงินกลับให้นักลงทุนก็น่าจะเป็นเรื่องดีต่อภาพรวมตลาด เพราะเงินทุนกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ จะกระจายกลับไปพักในตลาดต่างๆ”

 

ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบริษัทแม่อย่าง Alibaba คงต้องพิจารณาในส่วนของโอกาสที่จะมีการประเมินราคาหุ้น IPO ของ Ant Group หากราคา IPO เปลี่ยนแปลงโดยลดต่ำลงจากเดิม เท่ากับว่ามูลค่าที่จะสะท้อนเข้ามายัง Alibaba จะลดลงไปโดยปริยาย 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post Ant Group เสี่ยงประเมินราคา IPO ใหม่ ฉุดมูลค่า Alibaba หายไป 2 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
แจ็ค หม่า จ่อขึ้นแท่น ‘อภิมหาเศรษฐี’ ลำดับ 11 ของโลก หลัง Ant Group สร้างสถิติ IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ https://thestandard.co/jack-ma-11th-world-billionaire-because-of-ant-group/ Tue, 27 Oct 2020 12:03:14 +0000 https://thestandard.co/?p=413180 แจ็ค หม่า อภิมหาเศรษฐี ลำดับ 11 ของโลก Ant Group IPO

หลังมีรายงานข่าวว่า บริษัทฟินเทคอย่าง Ant Group ได้เข้า […]

The post แจ็ค หม่า จ่อขึ้นแท่น ‘อภิมหาเศรษฐี’ ลำดับ 11 ของโลก หลัง Ant Group สร้างสถิติ IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แจ็ค หม่า อภิมหาเศรษฐี ลำดับ 11 ของโลก Ant Group IPO

หลังมีรายงานข่าวว่า บริษัทฟินเทคอย่าง Ant Group ได้เข้าระดมทุนใน 2 ตลาด (Dual Listing) ทั้งในเซี่ยงไฮ้และฮ่องกง ด้วยเงินระดมทุนรวมมูลค่าราว 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.09 ล้านล้านบาท ซึ่งส่งผลให้บริษัทขึ้นแท่นหุ้น IPO ที่ใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ ผลที่ตามมาจึงทำให้ ‘แจ็ค หม่า’ ใกล้จะกลายเป็นมหาเศรษฐีในลำดับที่ 11 ของโลก โดยมีมูลค่าทรัพย์สินในครอบครองสูงกว่า 71,600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.23 ล้านล้านบาท

 

เว็บไซต์ Bloomberg ได้เปิดประเด็นที่น่าสนใจโดยชี้ว่า การที่ Ant Group สามารถทำ IPO ด้วยเม็ดเงินที่สูงเป็นประวัติการณ์นั้นจะมีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้หุ้นในสัดส่วน 8.8% ที่ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group Holding ถือครองอยู่นั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 27,400 ล้านดอลลาร์

 

นั่นหมายความว่า แจ็ค หม่า ในวัย 56 ปี จะมีมูลค่าทรัพย์สินในครอบครองตามการประเมินของดัชนี Bloomberg Billionaires Index สูงทะลุหลัก 70,000 ล้านดอลลาร์ไปโดยปริยาย แซงหน้าเศรษฐีอย่าง Larry Ellison ผู้ก่อตั้งบริษัท Oracle Corp เจ้าของร่วมป้ายแดงของบริษัท TikTok สหรัฐฯ, Francoise Bettencourt Meyers ทายาทของผู้ก่อตั้งบริษัท L’Oreal รวมถึง Rob และ Jim Walton สองพี่น้องทายาทเจ้าของแบรนด์ค้าปลีกระดับโลกอย่าง Walmart

 

สำหรับกรณีการระดมทุน IPO แบบคู่ขนานในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และฮ่องกงที่คาดว่าจะสามารถระดมทุนได้มากกว่า 35,000 ล้านดอลลาร์ จะทำให้พวกเขาสามารถเอาชนะแชมป์เก่าอย่าง Saudi Aramco ที่เคย IPO ในช่วงปีที่แล้วด้วยจำนวนเงินสูงกว่า 29,000 ล้านดอลลาร์

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

The post แจ็ค หม่า จ่อขึ้นแท่น ‘อภิมหาเศรษฐี’ ลำดับ 11 ของโลก หลัง Ant Group สร้างสถิติ IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>