5G – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 28 Nov 2024 06:16:10 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ทรูอัปเกรดโครงข่าย 5G เร็วและแรงกว่าเดิม พร้อมชู ‘3Zero’ นำ AI แก้ปัญหาให้ลูกค้าแบบเรียลไทม์ https://thestandard.co/true-5g-3zero-ai/ Thu, 28 Nov 2024 06:16:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1013797 ทรู 3Zero

ทรูย้ำ ปัจจุบันเสาสัญญาณเครือข่ายทรู-ดีแทค ถูกอัปเกรดสู […]

The post ทรูอัปเกรดโครงข่าย 5G เร็วและแรงกว่าเดิม พร้อมชู ‘3Zero’ นำ AI แก้ปัญหาให้ลูกค้าแบบเรียลไทม์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทรู 3Zero

ทรูย้ำ ปัจจุบันเสาสัญญาณเครือข่ายทรู-ดีแทค ถูกอัปเกรดสู่ความทันสมัยแล้ว มั่นใจ 5G เร็วขึ้นกว่าเดิม พร้อมชูกลยุทธ์ ‘3Zero’ ยกระดับโครงข่ายด้วย AI ตัวช่วยแก้ปัญหาลูกค้าแบบเรียลไทม์

 

ประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าการยกระดับโครงข่ายสู่ความทันสมัย (Network Modernization) ดำเนินการมาแล้วกว่า 10,800 สถานีฐาน คิดเป็น 64% ของแผนงานทั้งหมด 

 

เบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 โดยการพัฒนาครั้งนี้ทำให้ประสิทธิภาพเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในพื้นที่ที่ได้รับการอัปเกรดจะมีความเร็ว 5G เพิ่มขึ้น 48% ส่วนความเร็ว 4G เพิ่มขึ้น 13% และแบนด์วิดท์เพิ่มขึ้น 35% พร้อมรองรับการเติบโตของผู้ใช้บริการ 5G ที่มีจำนวน 12.4 ล้านราย เพิ่มขึ้น 5.4% จากไตรมาสก่อน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ถึงกระนั้นที่ผ่านมาบริษัทพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายด้วยการอัปเกรดอุปกรณ์ส่งสัญญาณรุ่นใหม่ที่รองรับการกระจายสัญญาณหลายความถี่ มุ่งเน้นการขยายคลื่น 700 MHz และ 2600 MHz พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพคลื่น 700 MHz และ 2100 MHz ส่งผลให้ลูกค้าทรูและดีแทคได้ใช้งานเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ และยังอยู่ระหว่างรอดูเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ที่ชัดเจนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเตรียมแผนเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ใหม่ในปี 2568

 

สำหรับทิศทางต่อจากนี้ จะเร่งพัฒนาเครือข่ายอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI ภายใต้ กลยุทธ์ 3Zero ซึ่งเป็นเป้าหมาย 3 ปี ประกอบไปด้วย 1. Zero Touch นวัตกรรม เครือข่ายอัตโนมัติขั้นสูงที่ผสานพลัง AI และ Machine Learning เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการแบบ AI-powered closed-loop automation ที่จะตรวจจับ วิเคราะห์ แก้ไข และยืนยันการแก้ปัญหาแบบอัตโนมัติ มุ่งยกระดับประสิทธิภาพการบริหารโครงข่ายให้สูงขึ้น 80% พร้อมลดการใช้พลังงานลง 30% และป้องกันความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานได้ถึง 80% 

 

  1. Zero Wait เป็นระบบ AI ที่ปรับแต่งเครือข่ายแบบเรียลไทม์ตามพฤติกรรมผู้ใช้งานแบบไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายทันที เช่น กรณีมีการรวมตัวใช้งานของกิจกรรมต่างๆ เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ต หรือกิจกรรมที่มีผู้ใช้งานหนาแน่น โดยตั้งเป้าเพิ่มความเร็วในการปรับแต่งเครือข่าย 50% พร้อมแก้ไขปัญหาลูกค้าได้เร็วขึ้น 3-4 เท่า

 

และ 3. Zero Trouble ระบบ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายแบบเรียลไทม์ เพื่อคาดการณ์และป้องกันปัญหา พร้อมวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Proactive Maintenance) โดยตั้งเป้าลดเวลาเครือข่ายขัดข้อง 40% ลดข้อร้องเรียน 40% และเพิ่มความพึงพอใจลูกค้า (NPS) 30% ภายใน 3 ปี

 

นอกจากการพัฒนาโครงข่ายแล้ว สิ่งที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น จะให้ความสำคัญไปพร้อมกันคือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล สังคมเมือง ความยั่งยืน และการพัฒนาชุมชน ด้วยการนำโครงข่ายไปผสาน Tech For Good สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิตให้ได้อย่างยั่งยืน 

 

ที่ผ่านมาบริษัทจับมือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ WWF ประเทศไทย ทำโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า ด้วยการใช้โซลูชัน True Smart Early Warning System (TSEWS) ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเห็นแล้วว่าสามารถลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างได้เป็นอย่างดี และจากนี้เตรียมนำโมเดลดังกล่าวขยายสู่พื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก หรือป่ารอยต่อทั่วประเทศไทย

The post ทรูอัปเกรดโครงข่าย 5G เร็วและแรงกว่าเดิม พร้อมชู ‘3Zero’ นำ AI แก้ปัญหาให้ลูกค้าแบบเรียลไทม์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
AIS รายได้รวม 5.2 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 8,788 ล้านบาทในไตรมาส 3 ผู้ใช้ 5G โต 35% https://thestandard.co/ais-total-income/ Sat, 02 Nov 2024 05:30:12 +0000 https://thestandard.co/?p=1002943 AIS

AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 ทำรายได้รวมอยู่ที […]

The post AIS รายได้รวม 5.2 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 8,788 ล้านบาทในไตรมาส 3 ผู้ใช้ 5G โต 35% appeared first on THE STANDARD.

]]>
AIS

AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 ทำรายได้รวมอยู่ที่ 52,209 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 8,788 ล้านบาท ในขณะที่กำไร EBITDA หรือกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ยังคงเติบโตจากการมุ่งเน้นคุณภาพ และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

 

รวมถึงการได้รับปัจจัยหนุนมาจากภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา รวมถึงให้ความสำคัญกับคุณภาพและการส่งมอบบริการดิจิทัลที่หลากหลายและตรงตามความต้องการของลูกค้า

 

ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ใช้บริการรวมอยู่ที่ 46.3 ล้านเลขหมาย โดยผู้ใช้งาน 5G เพิ่มขึ้นเป็น 11.5 ล้านเลขหมาย เติบโต 35% จากไตรมาส 3 ปีก่อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศให้มีความแข็งแรง จึงทำให้วันนี้ AIS สามารถขยายโครงข่ายสื่อสารอัจฉริยะ AIS 5G ให้ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร

 

ธุรกิจบรอดแบนด์ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ภายใต้ AIS 3BB Fibre3 เติบโตขึ้น 62,900 ราย ทำให้มีผู้ใช้บริการรวม ณ ไตรมาส 3 ปี 2567 อยู่ที่ 4.94 ล้านราย โดยรายได้ของธุรกิจบรอดแบนด์ยังเติบโตต่อเนื่องจากการรับรู้รายได้ของ TTTBB และความตั้งใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์ไฟเบอร์ของประเทศให้มีความแข็งแกร่งครอบคลุมการใช้งานในทุกบ้านและทุกธุรกิจ

 

ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20% แรงหนุนสำคัญมาจากการปรับตัวของภาครัฐและภาคธุรกิจที่นำดิจิทัลเข้าไปเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน โดยพร้อมทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ชั้นนำระดับโลก เช่น ความร่วมมือใน Oracle Cloud และโครงการ GSA Data Center ในการส่งมอบบริการจากธุรกิจคลาวด์และโครงข่ายข้อมูล

The post AIS รายได้รวม 5.2 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 8,788 ล้านบาทในไตรมาส 3 ผู้ใช้ 5G โต 35% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไตรมาส 2 ADVANC แจ้งกำไร 8.5 พันล้านบาท รายได้ 5.13 หมื่นล้านบาท หลังทุกธุรกิจเติบโต เดินหน้ายกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลต่อเนื่อง https://thestandard.co/advanc-reports-8-billion-baht-profit-in-q2/ Wed, 07 Aug 2024 00:45:53 +0000 https://thestandard.co/?p=968106

AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/67 ทำรายได้รวมอยู่ที่ 51, […]

The post ไตรมาส 2 ADVANC แจ้งกำไร 8.5 พันล้านบาท รายได้ 5.13 หมื่นล้านบาท หลังทุกธุรกิจเติบโต เดินหน้ายกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>

AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/67 ทำรายได้รวมอยู่ที่ 51,332 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 8,577 ล้านบาท จากการมุ่งเน้นคุณภาพ ส่งมอบบริการที่หลากหลายและตรงตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงเป้าหมายการดำเนินงานผ่านการลงทุนอย่างต่อเนื่องภายใต้งบประมาณ 25,000-26,000 ล้านบาท ที่มุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลทั้งโครงข่าย 5G, อินเทอร์เน็ตบ้าน และบริการดิจิทัลไลฟ์ ให้มีความพร้อมต่อการเติบโตของตลาด รองรับพฤติกรรมของลูกค้าทุกกลุ่ม พร้อมขับเคลื่อนตามวิสัยทัศน์การเป็น Cognitive Tech-Co หรือองค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะ

 

ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวและสัมผัสมรดกวัฒนธรรมของไทย ส่งผลให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 45.7 ล้านเลขหมาย

 

โดยผู้ใช้งาน 5G ยังคงเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 10.6 ล้านเลขหมาย เติบโตขึ้น 36% จากไตรมาส 2 ปีก่อน อีกทั้ง AIS สามารถให้บริการ 5G ได้ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร ด้วยการถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ที่ครอบคลุมการให้บริการในทุกรูปแบบ

 

ธุรกิจบรอดแบนด์ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ภายใต้ AIS 3BB FIBRE3 อยู่ที่ 4.9 ล้านราย เติบโตขึ้น 66,900 ราย โดยสามารถทำรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการรับรู้รายได้ของ 3BB FIBRE3 และการนำเสนอสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรมบรอดแบนด์ไฟเบอร์ที่มากกว่าอินเทอร์เน็ตบ้าน ตอบโจทย์ทุกบ้าน ทุกธุรกิจ

 

ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร สร้างการเติบโต 14% สอดคล้องกับการขับเคลื่อนดิจิทัลขององค์กรทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมของไทย ประกอบกับความมุ่งมั่นในการนำขีดความสามารถของโครงข่ายอัจฉริยะเข้าเชื่อมต่อการทำงานกับภาคธุรกิจ เพื่อยกระดับศักยภาพการทำงานขององค์กรต่างๆ ดังเช่นการประกาศแผนความร่วมมือครั้งสำคัญกับผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลก Oracle Alloy เปิดตัวบริการ AIS Cloud ทำให้ประเทศไทยมีบริการคลาวด์ระดับ Hyperscale Cloud ที่จะพร้อมให้บริการในไตรมาส 1/68 เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย

The post ไตรมาส 2 ADVANC แจ้งกำไร 8.5 พันล้านบาท รายได้ 5.13 หมื่นล้านบาท หลังทุกธุรกิจเติบโต เดินหน้ายกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เยือน MWC Shanghai 2024 ชมบูธ HUAWEI ที่ยกเทคโนโลยี 5.5G มาให้ดู เพราะวันนี้แค่ 5G ไม่พออีกแล้ว https://thestandard.co/mobile-world-congress-shanghai-2024/ Tue, 09 Jul 2024 08:26:54 +0000 https://thestandard.co/?p=955431 MWC Shanghai 2024

ช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา THE STANDARD WEALTH ได้เ […]

The post เยือน MWC Shanghai 2024 ชมบูธ HUAWEI ที่ยกเทคโนโลยี 5.5G มาให้ดู เพราะวันนี้แค่ 5G ไม่พออีกแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
MWC Shanghai 2024

ช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา THE STANDARD WEALTH ได้เป็นหนึ่งในสื่อที่บินลัดฟ้าไปยังมหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เพื่อร่วมงานมหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก Mobile World Congress Shanghai 2024 (MWC Shanghai 2024)

 

หมุดหมายของงานครั้งนี้เป็นการเข้าร่วมชมบูธ HUAWEI ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘เร่งผลักดันโลกอัจฉริยะ’ (Advancing the Intelligent World) ผลิตภัณฑ์และโซลูชันล่าสุดที่รองรับทั้งการใช้งาน 5G-A เชิงพาณิชย์ และอุปกรณ์ AI

 

เราอาจคุ้นเคยกับการใช้งาน 5G ซึ่งวันนี้ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอินเทอร์เน็ตมือถือที่เร็วที่สุดในโลก โดยผู้บริหารระดับสูงของโอเปอเรเตอร์รายหนึ่งบอกกับ THE STANDARD WEALTH ว่า “วันนี้ 5G ของไทยตามหลังจีนแค่ 6 เดือนเท่านั้น”

 

แต่ในมุมมองของ HUAWEI นั้น การพัฒนาแต่ละ G จะใช้เวลาราว 10 ปีด้วยกัน แม้วันนี้ 5G จะตอบโจทย์ในหลายๆ เรื่องแล้ว แต่สำหรับ HUAWEI มองว่าอาจจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

 

เพราะฉะนั้นแทนที่จะรอเวลาอีก 5-6 ปีกว่าที่ 6G จะมาถึง HUAWEI เลยมองว่าควรจะปูโครงการพื้นฐานให้รองรับกับสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนไป จึงได้เริ่มเปิดใช้งาน 5.5G หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าบริการ 5G-A เชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรกในปีนี้ และได้ยกตัวอย่างของการนำ 5.5G มาใช้ รวมถึงนำเสนอในงาน MWC Shanghai 2024

 

ภายในงานได้ระบุถึงเทคโนโลยียุคใหม่ที่การสื่อสารไร้สายกำลังจะมาถึงแล้วด้วยเทคโนโลยี 5G-A หรือ 5G ขั้นสูง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการอัปเกรดจาก 5G เท่านั้น แต่ยังเป็นการปฏิวัติวงการเทคโนโลยีครั้งใหญ่ ที่จะพลิกโฉมประสบการณ์ผู้ใช้และอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิง

 

ด้วยความสามารถที่เหนือชั้นและประสบการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน 5G-A กำลังจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ตั้งแต่การสื่อสารที่รวดเร็วและเสถียรยิ่งขึ้น ไปจนถึงการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

 

ที่น่าสนใจคือ 5G-A ไม่ได้เป็นเพียงแค่การเพิ่มความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่สูงขึ้นถึง 10 เท่าเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ในทุกมิติ ตั้งแต่การสตรีมสดแบบ 3D ที่สมจริงราวกับอยู่ในเหตุการณ์จริง ไปจนถึงการโต้ตอบกับ AI แบบเรียลไทม์ที่ลื่นไหลราวกับคุยกับคนจริงๆ

 

นอกจากนี้ 5G-A ยังเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การควบคุมอุปกรณ์ IoT ซึ่งจะเพิ่มจำนวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ในภาคอุตสาหกรรมจาก 1 หมื่นล้านการเชื่อมต่อ เป็น 1 แสนล้านการเชื่อมต่อ ทำให้ทุกสิ่งรอบตัวเราเชื่อมต่อกันได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อุปกรณ์ภายในบ้าน หรือแม้แต่อุปกรณ์ทางการแพทย์

 

นอกจากนี้ 5G-A ยังจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจระดับต่ำด้วยเครือข่าย 5G-A ที่ผสานความสามารถในการสื่อสารและการตรวจจับเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การขนส่งสินค้าด้วยโดรนระยะไกลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนึกภาพอาหารทะเลสดๆ ที่จับได้จากทะเลในตอนเช้า ถูกส่งตรงถึงบ้านคุณภายในไม่กี่ชั่วโมงด้วยโดรนที่ควบคุมด้วย 5G-A นี่คืออนาคตที่ 5G-A กำลังจะทำให้เป็นจริง

 

ในปี 2024 นับเป็นปีแรกของการนำ 5G-A มาใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีแนวโน้มการพัฒนาที่น่าจับตามองใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

  • Enhanced Mobile Broadband (eMBB) ที่จะยกระดับประสบการณ์บรอดแบนด์ไร้สายด้วยความเร็ว 10 Gbps เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการสร้างรายได้จากประสบการณ์ที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของผู้ใช้แต่ละราย ไม่ว่าจะเป็นการสตรีมมิงวิดีโอความละเอียดสูงสุด การเล่นเกมออนไลน์ที่ไร้ความล่าช้า หรือการใช้งาน VR/AR ที่สมจริง
  • Ultra-Reliable and Low-Latency Communications (URLLC) ที่จะเข้าถึงเครือข่ายการผลิตทางอุตสาหกรรมด้วยค่าความหน่วง 4 มิลลิวินาที และมีความเสถียรถึง 99.999% ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือการผ่าตัดทางไกลที่ต้องอาศัยความแม่นยำสูง
  • Massive Machine-Type Communications (mMTC) ที่จะรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จำนวนมหาศาล ช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เช่น การติดตามและจัดการสินค้าคงคลังในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ หรือการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมแบบเรียลไทม์

 

จีนเป็นผู้นำในการใช้งาน 5G-A โดยมีเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองแรกที่มีเครือข่าย 5G-A เชิงพาณิชย์ ครอบคลุมพื้นที่สำคัญและถนนหลักในย่านใจกลางเมืองด้วยไซต์มากกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่สำคัญและถนนหลักในระยะทาง 200 กิโลเมตร ในย่านใจกลางเมือง

 

เป้าหมายของเซี่ยงไฮ้คือการเปลี่ยนตัวเองให้เป็นเมือง Dual 10G ระดับโลก ที่มีเครือข่ายออปติก 5G-A ที่มีความเร็ว 10 Gbps ภายในสิ้นปี 2026 ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอนาคต

 

นอกจากนี้เมืองอื่นๆ ในจีน เช่น หางโจว และเมืองต่างๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำแยงซี ก็กำลังเร่งพัฒนา 5G-A อย่างเต็มที่ โดย China Mobile ได้ประกาศรายชื่อ 100 เมืองแรกที่ทำเทคโนโลยี 5G-A มาใช้ในเชิงพาณิชย์ และวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนเป็น 300 เมืองภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G

 

ในขณะเดียวกัน ประเทศในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็กำลังผลักดันการใช้ 5G-A เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ผู้ใช้และการใช้งานในวงกว้าง ครอบคลุมถึง 3.7 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และมีเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมกว่า 90% ของประชากร ซึ่งรวมถึงผู้คนในพื้นที่ห่างไกลด้วย

 

ขณะเดียวกันสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์วางแผนที่จะส่งมอบประสบการณ์เครือข่ายความเร็วตั้งแต่ 5-10 Gbps ทำให้ผู้ใช้เพลิดเพลินกับความเร็วการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดภาพยนตร์ความละเอียดสูงในเวลาไม่กี่วินาที หรือการประชุมทางไกลที่คมชัดราวกับอยู่ในห้องเดียวกัน 

 

และซาอุดีอาระเบียได้ร่วมมือกับ HUAWEI ในการพัฒนาสังคมความเร็ว 10 Gbps ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า 5G-A คืออนาคตที่สดใสของการสื่อสารไร้สาย ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนานวัตกรรม การยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ และการสร้าง Ecosystem ที่แข็งแกร่ง 5G-A จะเป็นรากฐานสำคัญของสังคมอัจฉริยะที่เชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกันอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน 5G-A จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทุกสิ่ง และทำให้โลกของเราเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 

The post เยือน MWC Shanghai 2024 ชมบูธ HUAWEI ที่ยกเทคโนโลยี 5.5G มาให้ดู เพราะวันนี้แค่ 5G ไม่พออีกแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมดเวลาโปรเลือดสาด! AIS-True หันมาแข่งขันด้านคุณภาพสัญญาณ 5G ด้วยแคมเปญและพรีเซนเตอร์ดัง https://thestandard.co/ais-true-competition-5g-signal-quality/ Thu, 04 Jul 2024 10:11:42 +0000 https://thestandard.co/?p=954088

จากการทำ ‘สงครามราคา’ ในวันที่โอเปอเรเตอร์ในบ้านเรามี 3 […]

The post หมดเวลาโปรเลือดสาด! AIS-True หันมาแข่งขันด้านคุณภาพสัญญาณ 5G ด้วยแคมเปญและพรีเซนเตอร์ดัง appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากการทำ ‘สงครามราคา’ ในวันที่โอเปอเรเตอร์ในบ้านเรามี 3 ค่าย จนมาถึงวันนี้ซึ่งเหลือ 2 ค่ายอย่าง AIS และ True ที่ได้ควบรวมกับ dtac เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้การทำแคมเปญได้เปลี่ยนจาก ‘โปรเลือดสาด’ มาเป็นการสื่อสารที่เน้นเรื่อง ‘คลื่น’ ที่ครอบคลุมแทน

 

“การทำราคาแบบบ้าระห่ำคงจะไม่มีอีกแล้ว เพราะทำไปมีแต่เจ็บตัว” ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH “วันนี้ไม่ใช่การทำสงครามราคาที่เน้นถูกแต่ใช้งานจริงไม่ได้ แต่ต้องมีเครือข่ายที่ใช้ได้จริงและราคาเข้าถึงได้”

 

คำพูดของปรัธนาเกิดขึ้นหลังจากที่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้ง AIS และ True ต่างเปิดตัวแคมเปญใหม่ของตัวเอง โดยมี Message ที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก นั้นคือการที่ออกมาบอกว่ามีสัญญาณ 5G อยู่ทั่วไทย

 

แม้ AIS จะส่งจดหมายเชิญสื่อล่วงหน้านับสัปดาห์เพื่อเปิดตัว ‘พี่จอง-คัลแลน’ YouTuber ที่มีผู้ติดตามกว่า 2.7 ล้าน Subscriptions บน YouTube ซึ่งได้เปลี่ยนจากผู้ใช้งานจริง สู่การเป็นหนึ่งในพรีเซนเตอร์ของ AIS

 

ทว่า 1 วันก่อนหน้าที่ AIS จะได้เปิดตัวพรีเซนเตอร์ของตัวเอง True ก็ชิงพื้นที่สื่อด้วยการส่งแถลงการณ์ที่ระบุถึงการเปิดตัวแคมเปญ ‘ทรูทั่วไทย’ ทั่วไทย ทั่วถึง ทุกคน โดยมี แน็ก-ชาลี ไตรรัตน์ และ จีกามิน มาเป็นพรีเซนเตอร์คู่กันเพื่อโปรโมตเรื่อง 5G ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็เพิ่งเปิดตัว ใบเฟิร์น-พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ ที่มี Message ไม่แตกต่างกันนักไปหมาดๆ

 

แคมเปญนี้เกิดขึ้นมาเพื่อ “สะท้อนความเร็วแรงของสัญญาณ True 5G ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย และเป็นเครือข่ายที่เข้าใจทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าทั้ง True และ dtac ในยุคดิจิทัล” ฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

สำหรับ AIS การเลือก ‘พี่จอง-คัลแลน’ มาเป็นพรีเซนเตอร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารไปยังลูกค้ากลุ่มแมส เพราะทั้งคู่เป็น YouTuber ที่เดินทางไปทั่วประเทศ ดังนั้นจึงจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการยืนยันถึงเรื่องคลื่นที่ได้ขยายไปครอบคลุมแล้ว

 

นอกจากการเปิดตัวพรีเซนเตอร์แล้ว ในงานนี้ AIS ยังได้มีการย้ำถึงการให้บริการ 5G ได้ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร ด้วยการถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง รวมกว่า 1460 MHz

 

“วันนี้เรามีฐานลูกค้า 5G อยู่ราว 9 ล้านคน จนถึงสิ้นปีนี้อย่างน้อย AIS อยากให้เพิ่มเป็น 12 ล้านคน และถ้าเป็นไปได้ก็อยากได้ 15 ล้านคน” ปรัธนากล่าวพร้อมกับเสริมว่า “เราลงทุนในปีนี้กว่า 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตทั้งมือถือและเน็ตบ้านเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ”

 

ท้ายที่สุดปรัธนาระบุว่า จำนวนลูกค้า 5G จะเพิ่มถึงเป้าหมายไหมไม่ใช่อยู่ที่คลื่นอย่างเดียว แต่ต้องมีสมาร์ทโฟนที่รองรับด้วย เพราะแม้ AIS จะมีการนำเข้ามาขายนับหมื่นเครื่องในราคา 3,000 กว่าบาท แต่ที่สุดก็ไม่พอขายอยู่ดี

The post หมดเวลาโปรเลือดสาด! AIS-True หันมาแข่งขันด้านคุณภาพสัญญาณ 5G ด้วยแคมเปญและพรีเซนเตอร์ดัง appeared first on THE STANDARD.

]]>
AIS เดินหน้าทุ่ม 2.6 หมื่นล้านบาทปีนี้ พัฒนาโครงข่าย 5G และเน็ตบ้าน พร้อมผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้มีกำไร 8.4 พันล้านบาท https://thestandard.co/ais-develops-5g-network-and-home-internet/ Tue, 30 Apr 2024 12:28:17 +0000 https://thestandard.co/?p=928650 AIS

AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 โดยมีรายได้อยู่ที […]

The post AIS เดินหน้าทุ่ม 2.6 หมื่นล้านบาทปีนี้ พัฒนาโครงข่าย 5G และเน็ตบ้าน พร้อมผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้มีกำไร 8.4 พันล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
AIS

AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 โดยมีรายได้อยู่ที่ 53,293 ล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 8,451 ล้านบาท มีปัจจัยหนุนมาจากภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการมุ่งเน้นการส่งมอบคุณภาพทั้งโครงข่ายมือถือ AIS 5G และโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบ้านโดย AIS 3BB Fibre3 บริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้างบลงทุนในปีนี้ 25,000-26,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลทั้งโครงข่าย 5G และอินเทอร์เน็ตบ้านให้มีความแข็งแกร่งรองรับการเติบโตของผู้บริโภคและอุตสาหกรรม

 

ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 45 ล้านเลขหมาย เติบโตขึ้น 408,400 เลขหมาย ได้รับอานิสงส์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นคุณภาพและการนำเสนอบริการที่หลากหลาย ในขณะที่ผู้ใช้งาน 5G ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 9.9 ล้านเลขหมาย เติบโตขึ้น 38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมมุ่งขยายการใช้งานโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่ขณะนี้มีความครอบคลุมแล้วมากกว่า 90% ของประชากร

 

ธุรกิจบรอดแบนด์ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ภายใต้ AIS 3BB Fibre3 อยู่ที่ 4.8 ล้านราย เติบโตขึ้น 72,700 ราย โดยสามารถทำรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจากการรับรู้รายได้ของ 3BB Fibre3 ที่เข้ามาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา และการนำเสนอสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรมบรอดแบนด์ไฟเบอร์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของทุกคนในบ้าน

 

ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร ด้วยเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม องค์กรธุรกิจ และ SMEs ไทยให้เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน จากความสามารถของโครงข่าย 5G และศักยภาพด้านดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจ ประกอบกับการรับรู้รายได้การให้บริการลูกค้าองค์กรของ 3BB ทำให้ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรสามารถสร้างการเติบโตได้ 20%

 

The post AIS เดินหน้าทุ่ม 2.6 หมื่นล้านบาทปีนี้ พัฒนาโครงข่าย 5G และเน็ตบ้าน พร้อมผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้มีกำไร 8.4 พันล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
AIS ทุ่มลงทุน 2.6 หมื่นล้านบาทปีนี้ ยกระดับบริการ 5G เตรียมจ่ายปันผล 4.61 บาท วันที่ 17 เม.ย. นี้ https://thestandard.co/ais-invested-26-billion-elevate-5g/ Wed, 07 Feb 2024 02:11:54 +0000 https://thestandard.co/?p=896880

ปี 2567 AIS เดินหน้ายกระดับคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเน […]

The post AIS ทุ่มลงทุน 2.6 หมื่นล้านบาทปีนี้ ยกระดับบริการ 5G เตรียมจ่ายปันผล 4.61 บาท วันที่ 17 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปี 2567 AIS เดินหน้ายกระดับคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลงทุนโครงข่าย 5G อัจฉริยะและอินเทอร์เน็ตบ้าน พร้อมเป้าหมายการทำงานที่มุ่งยกระดับคุณภาพการให้บริการและโครงข่ายสัญญาณ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าผ่านกลุ่มธุรกิจหลัก ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ตบ้าน ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร และบริการดิจิทัล พร้อมเตรียมงบลงทุนในปี 2567 ไว้ที่ 26,000 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพบริการในทุกมิติ

 

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า “แม้ในปี 2566 จะเป็นอีกปีที่เราต้องเผชิญกับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไม่เป็นไปตามเป้า เรายังคงเดินหน้าพัฒนาเครือข่ายคุณภาพ ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบนด์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่คนไทย รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ที่จะสะท้อนไปถึงเศรษฐกิจดิจิทัลในภาพรวม ตลอดจนการสร้าง Ecosystem Economy ร่วมกับพาร์ตเนอร์ชั้นนำจากหลายภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตแบบร่วมกันอย่างยั่งยืน อันจะส่งมอบประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยในท้ายที่สุด”

 

โชว์รายได้ปีที่แล้ว 188,873 ล้านบาท กำไรสุทธิ 29,086 ล้านบาท 

 

ผลประกอบการในปี 2566 AIS ทำรายได้รวม 188,873 ล้านบาท ได้รับประโยชน์จากการเริ่มรับรู้รายได้ บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ 3BB เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน และมีกำไรสุทธิ 29,086 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เท่ากับ 93,371 ล้านบาท จากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งทุกธุรกิจ ร่วมกับการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการทำงานด้วยระบบโครงข่ายอัตโนมัติ (Autonomous Network) และระบบไอทีอัจฉริยะที่ยกระดับประสบการณ์การใช้งาน โดยมีผลการดำเนินงานแยกตามกลุ่มธุรกิจดังนี้

 

ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีจำนวนลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมที่ 44.6 ล้านเลขหมาย โดยยังคงมุ่งเน้นการส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าให้กับลูกค้า บนศักยภาพของโครงข่าย 5G ที่วันนี้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการใกล้เคียง 90% ของพื้นที่ประชากร โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมแล้วกว่า 9.2 ล้านเลขหมาย  

 

ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง พร้อมให้บริการแล้วทั้ง AIS Fibre3 และ 3BB Fibre3 ด้วยความครอบคลุมและเข้าถึงได้มากกว่า 13.3 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ รวมถึงนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตบ้านและโซลูชันที่จะตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกบ้าน ทุกร้าน ทุกธุรกิจ และการส่งมอบประสบการณ์ความสุขและมาตรฐานการให้บริการที่รู้ใจ ทำให้วันนี้ AIS 3BB Fibre3 มีฐานลูกค้ากว่า 4.7 ล้านครัวเรือน

 

ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร สามารถตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านบริการโครงข่าย ดิจิทัลโซลูชัน คลาวด์ และบริการดาต้าเซ็นเตอร์ ที่พร้อมเชื่อมต่อในทุกการทำงานสำหรับลูกค้าองค์กร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหลักของประเทศอย่างกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

 

ธุรกิจบริการดิจิทัล ยังคงร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ที่มีความแข็งแกร่งตามแนวคิด Ecosystem Economy เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการจับมือกับพาร์ตเนอร์ด้านคอนเทนต์ความบันเทิงระดับโลกอย่าง Netflix, HBO และล่าสุดกับ Prime รวมถึงบริการดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์อย่างรอบด้าน เช่น บริการประกันดิจิทัลจาก AIS Insurance Service หรือแม้แต่เกมแพลตฟอร์มอย่าง Game On ศูนย์รวมบริการเกมที่ครบทุกความต้องการของกลุ่มเกมเมอร์

 

“ในปีนี้เรายังคงเดินหน้ายกระดับการให้บริการในทุกกลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายโครงข่ายสื่อสารและโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบ้านให้ครอบคลุมทุกพื้นที่การใช้งานของคนไทย อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสใหม่ให้กับประเทศ สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืนของประเทศในทุกมิติ” สมชัยกล่าว

 

จ่ายปันผล 4.61 บาทต่อหุ้น วันที่ 17 เมษายนนี้

 

นอกจากนี้ บริษัทแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้เสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 พิจารณาอนุมัติจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2566 เป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 8.61 บาทต่อหุ้น โดยบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ในอัตรา 4.00 บาทต่อหุ้น ดังนั้นคงเหลือจ่ายปันผลสำหรับงวดนี้ 4.61 บาทต่อหุ้น โดยไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 และกำหนดจ่ายปันผลวันที่ 17 เมษายน 2567

 

ทั้งนี้กำหนดให้จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นที่มีรายชื่อปรากฏ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 

The post AIS ทุ่มลงทุน 2.6 หมื่นล้านบาทปีนี้ ยกระดับบริการ 5G เตรียมจ่ายปันผล 4.61 บาท วันที่ 17 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
NT จับมือ 2 พันธมิตร เปิด ‘Phuket Smart Mobility’ ใช้ 5G เข้ามาคุมเครือข่ายรถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้า ดันภูเก็ตสู่ Green & Smart City https://thestandard.co/nt-launched-phuket-smart-mobility/ Sun, 17 Dec 2023 07:46:55 +0000 https://thestandard.co/?p=877550 Phuket Smart Mobility

“ตลอดช่วงเวลาของปี 2566 เราได้เผชิญกับหนึ่งในปีที่ร้อนท […]

The post NT จับมือ 2 พันธมิตร เปิด ‘Phuket Smart Mobility’ ใช้ 5G เข้ามาคุมเครือข่ายรถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้า ดันภูเก็ตสู่ Green & Smart City appeared first on THE STANDARD.

]]>
Phuket Smart Mobility

“ตลอดช่วงเวลาของปี 2566 เราได้เผชิญกับหนึ่งในปีที่ร้อนที่สุดทั้งไทยและต่างประเทศ ปัญหานี้ทำให้ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญเรื่องการพยายามลดสภาวะโลกเดือดให้ได้มากที่สุด และเรามองว่ายานพาหนะพลังงานสะอาดจะมีส่วนเข้ามาตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ด้วย” วอเตอร์ ยุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GBike Co., Ltd. กล่าว

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม THE STANDARD WEALTH ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการพัฒนายานพาหนะพลังงานสะอาด ผ่านระบบสื่อสารไร้สายที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี 5G เพื่อเสริมโครงสร้างพื้นฐานของเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างภูเก็ต ด้วยแนวคิด Green City และ Smart City ผลักดันให้ภูเก็ตเป็นต้นแบบของเมืองแห่งอนาคต

 

โปรเจกต์ดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง 3 พันธมิตร ได้แก่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ GBike Co., Ltd. บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ด้านยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า เช่น รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า ที่มีเทคโนโลยีการควบคุมยานพาหนะผ่านระบบสื่อสารไร้สาย ร่วมเปิดให้บริการ ‘Phuket Smart Mobility’ 

 

บริการ Phuket Smart Mobility ใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายผ่านโครงข่าย 5G 700MHz ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ในชื่อ ‘my by nt’ มาสนับสนุนการใช้งานยานพาหนะพลังงานสะอาด โดยบริษัท ไทย เพอโซนอล โมบิลิตี้ จำกัด (TPM) ร่วมกับ GBike Co., Ltd. เปิดให้บริการยานพาหนะพลังงานสะอาดในพื้นที่โดยรอบจังหวัดภูเก็ต เพื่อชูจุดเด่นของเมืองในรูปแบบ Green & Smart City

 

นอกจากนี้ ทางโครงการเองยังตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ จึงมีบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมมอบความคุ้มครองอุบัติเหตุรวมถึงค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ใช้บริการที่อยู่ในโครงการตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยกรณีเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่ จะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล 5,000 บาท ต่อครั้ง และคุ้มครองต่อชีวิตและทุพพลภาพ สูงสุด 100,000 บาท รวมไปถึงการคุ้มครองความเสียหายกับทรัพย์สินบุคคลภายนอกอีกด้วย

 

ทางบริษัทฯ มีเครือข่ายโรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุ สามารถเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายตามวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ กรณีเกิดเหตุสามารถโทรแจ้ง 1736 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

สำหรับในเรื่องของเทคโนโลยีซิมการ์ด my by nt ที่ฝังตัวอยู่ในยานพาหนะ พ.อ. สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ NT กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ข้อดีของซิมการ์ดคือการเชื่อมต่อสิ่งของด้วยอินเทอร์เน็ตหรือ Internet of Things (IoT) ซึ่งในกรณีนี้คือยานพาหนะพลังงานสะอาดที่เป็นการใช้งานอย่างจริงจัง เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานรถผ่าน Application GCOO กับตัวยานพาหนะได้ง่ายและเสถียร เช่น การติดตามรถเพื่อความปลอดภัย รวมถึงการดูระดับแบตเตอรี่และอื่นๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ โดย NT มั่นใจประสิทธิภาพของโครงข่ายตลอดการเชื่อมต่อ

 

“ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นเฟสแรกกับจังหวัดท่องเที่ยวต้นแบบของประเทศ โดยทั้ง TPM, NT และทิพยประกันภัย มีทิศทางร่วมกันที่จะขยายเขตบริการในพื้นที่ท่องเที่ยว รวมถึงตามมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการเคลื่อนตัวในระยะใกล้เคียงอยู่บ่อยครั้ง ทำให้บริการดังกล่าวเข้าไปเสริมความต้องการเหล่านั้นของผู้คนได้ โดยในตอนนี้มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถใช้บริการได้แล้ว และสถาบันอื่นๆ ทั่วประเทศจะทยอยตามมาในอนาคต”

วอเตอร์ ยุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GBike Co., Ltd. กล่าวว่า หลายประเทศต่างหันมาใส่ใจปัญหาโลกร้อนมากขึ้น และเลือกใช้การคมนาคมส่วนบุคคลขนาดเล็ก (Micro-mobility) เพื่อเป็นอีกทางเลือกของความยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงเป็นเหตุผลให้ตนเลือกประเทศไทย โดยในเฟสแรกบริการยานพาหนะพลังงานสะอาดจะมาในรูปแบบของจักรยานไฟฟ้า เพื่อตอบรับการใช้งานของนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักในพื้นที่ของภูเก็ต และมีแผนจะเพิ่มรูปแบบรวมถึงพื้นที่การให้บริการในอนาคต

The post NT จับมือ 2 พันธมิตร เปิด ‘Phuket Smart Mobility’ ใช้ 5G เข้ามาคุมเครือข่ายรถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้า ดันภูเก็ตสู่ Green & Smart City appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนรั้งอันดับ 2 ของโลกด้านการพัฒนาอินเทอร์เน็ต ลุยเดินหน้าเปิดตัวเครือข่าย 5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลก https://thestandard.co/china-internet-development-report-2023/ Thu, 09 Nov 2023 02:58:04 +0000 https://thestandard.co/?p=863891 อินเทอร์เน็ตจีน

รายงานการพัฒนาอินเทอร์เน็ตโลกปี 2023 (World Internet De […]

The post จีนรั้งอันดับ 2 ของโลกด้านการพัฒนาอินเทอร์เน็ต ลุยเดินหน้าเปิดตัวเครือข่าย 5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
อินเทอร์เน็ตจีน

รายงานการพัฒนาอินเทอร์เน็ตโลกปี 2023 (World Internet Development Report 2023) และรายงานการพัฒนาอินเทอร์เน็ตของจีนปี 2023 (China Internet Development Report 2023) ที่เผยแพร่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (8 พฤศจิกายน) พบว่าประเทศจีนรั้งอันดับที่ 2 ของโลกในดัชนีการพัฒนาอินเทอร์เน็ตทั่วโลก (Global Internet Development Index)

 

โดยรายงานดังกล่าววิเคราะห์และคำนวณตัวชี้วัดการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของ 52 ประเทศใน 5 ทวีป ซึ่งดัชนีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจีนและสหรัฐอเมริกาอยู่ในตำแหน่งผู้นำของโลก โดยอันดับ 2 ของจีนเป็นรองเพียงแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ขณะที่ประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และสวีเดน ก็เป็นประเทศอันดับต้นๆ เช่นกันในแง่ของการพัฒนาอินเทอร์เน็ต

 

ทั้งนี้ รายงานการพัฒนาอินเทอร์เน็ตโลกปี 2023 เน้นย้ำถึงการมีส่วนร่วมของโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งเป็นโครงการเส้นทางสายไหมยุคใหม่ที่จีนเสนอขึ้น โดยผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโครงการ BRI โดยเฉพาะ Digital Silk Road มีส่วนสำคัญต่อการสร้างอินเทอร์เน็ตของประเทศหุ้นส่วน BRI เนื่องจากประเทศหุ้นส่วน 15 ประเทศที่มีการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในระดับต่ำกว่ากำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว 

 

รายงานระบุว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการพัฒนาอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดย Xia Xueping หัวหน้าสถาบันการศึกษาไซเบอร์สเปซของจีน (Chinese Academy of Cyberspace Studies) กล่าวว่า ขนาดของเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนเพิ่มขึ้นจาก 11 ล้านล้านหยวนในปี 2012 เป็นมากกว่า 50.2 ล้านล้านหยวนในปี 2022 โดยจีนยังถือเป็นผู้นำโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันอินเทอร์เน็ต จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และอื่นๆ อีกมากมาย 

 

ขณะที่ในเดือนที่แล้ว เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศรายหนึ่งเปิดเผยว่า จีนเปิดตัวเครือข่ายมือถือความเร็วสูง 5G ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก โดยมีสถานีฐาน 5G ที่กำลังใช้งานจำนวน 3.19 ล้านแห่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน

 

นอกจากนี้ รายงานระบุอีกว่า ธุรกิจอินเทอร์เน็ตของประเทศจีนกำลังเฟื่องฟู โดยจำนวนบริษัทอินเทอร์เน็ตที่จดทะเบียนในจีนเพิ่มขึ้นจากประมาณ 50 แห่งเป็นเกือบ 160 แห่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

 

สำหรับรายงานฉบับนี้ได้รับการเผยแพร่ในระหว่างการประชุมสุดยอด WIC Wuzhen ที่เมืองอู่เจิ้น มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยการประชุมในปีนี้ถือเป็นการครบรอบ 10 ปีของการประชุมสุดยอดที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2014  ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าร่วมเกือบ 12,000 คน จาก 172 ประเทศทั่วโลก 

 

อ้างอิง: 

The post จีนรั้งอันดับ 2 ของโลกด้านการพัฒนาอินเทอร์เน็ต ลุยเดินหน้าเปิดตัวเครือข่าย 5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิด 3 แนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมท่ามกลางกระแสความต้องการยุค 5G https://thestandard.co/3-trends-in-the-telecomm-industry/ Tue, 31 Oct 2023 01:31:54 +0000 https://thestandard.co/?p=860704

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้บ […]

The post เปิด 3 แนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมท่ามกลางกระแสความต้องการยุค 5G appeared first on THE STANDARD.

]]>

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยรายงานล่าสุด Perspectives from the Global Telecom Outlook 2023-2027: The future on the line ของ PwC ได้ทำการศึกษาแนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้ใน 53 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยผมขอนำผลจากการศึกษาที่ได้มาสรุปเป็นสามหัวข้อหลักที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

 

1. ลูกค้ายังคงเป็นศูนย์กลางท่ามกลางความต้องการใช้ดาต้าที่เพิ่มสูงขึ้น

 

รายงานของ PwC คาดการณ์ว่าการบริโภคข้อมูลทั่วโลก (Global Data Consumption) ผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมจะเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในช่วงระหว่างปี 2565-2570 โดยความต้องการในการรับชมคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ (Video) จะนำหน้าปริมาณการใช้ดาต้าในรูปแบบอื่น หรือคิดเป็น 79% ของจำนวนดาต้าทั้งหมดที่จะถูกใช้งาน 9.7 ล้านเพตะไบต์ (Petabytes) ในปี 2570 ซึ่งมากกว่าปริมาณการใช้ดาต้าของคอนเทนต์รูปแบบอื่นรวมกันถึงสามเท่า สำหรับดาต้าการสื่อสารแบบดั้งเดิม ซึ่งเพิ่มขึ้น 104% ระหว่างปี 2561-2565 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากข้อจำกัดในยุคโควิดและผู้คนที่ทำงานจากที่บ้าน จะเพิ่มขึ้นเพียง 26.8% ในช่วงห้าปีข้างหน้า

 

รายงานของ PwC คาดการณ์ว่าการบริโภคข้อมูลทั่วโลก (Global Data Consumption) ผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม

 

นอกจากนี้การบริโภคข้อมูลประเภทเกม (Game) ก็จะมีบทบาทมากขึ้นเช่นกัน โดยรายงานคาดว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ของปริมาณการใช้ดาต้าที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเกม จะเพิ่มขึ้นที่ 21% ระหว่างปี 2565-2570 ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องต่อการเล่นเกมออนไลน์และบนคลาวด์ ในขณะเดียวกัน ความเป็นจริงเสมือน (Virtal Reality: VR) ซึ่งขับเคลื่อนโดยการเติบโตของเมตาเวิร์ส (Metaverse) จะยังคงพัฒนาต่อไป

 

สำหรับการใช้ข้อมูลเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (Cellular Data) จะเป็นประเภทการใช้ข้อมูลที่เติบโตเร็วที่สุด โดยมี CAGR ที่ 27% ระหว่างปี 2565-2570 ซึ่งพฤติกรรมการใช้ข้อมูลจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละภูมิภาค เช่น ข้อมูลเซลลูลาร์คาดว่าจะคิดเป็นสัดส่วนเพียง 6% ของการรับส่งข้อมูลทั้งหมดในอเมริกาเหนือ แต่มากกว่า 30% ในเอเชีย ส่วนหนึ่งมาจากการใช้งานอุปกรณ์มือถือในอินเดีย รวมถึงการเปิดตัว 5G ภายในประเทศนี้ กำลังเปิดทางสำหรับการพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

 

2. ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

 

แม้ว่าการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) มาใช้จะเพิ่มมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม แต่รายได้จนถึงปัจจุบันยังเติบโตไม่มากนักด้วยข้อจำกัดทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน กลุ่มของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับการประมวลผลและเครือข่ายที่ยังไม่รองรับการเชื่อมต่อที่ใช้พลังงานต่ำและการเชื่อมต่อตลอดเวลาที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบ IoT ทำให้ปัจจุบันลูกค้าธุรกิจยังไม่สามารถปรับใช้และจัดการกับโซลูชันด้าน IoT ได้เต็มประสิทธิภาพ และจำเป็นต้องมีระบบนิเวศของพันธมิตร เช่น ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ซอฟต์แวร์และคลาวด์ ตลอดจนผู้รวมระบบและธุรกิจ มาช่วยกันพัฒนาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพและปรับขนาดได้มากขึ้น ซึ่งในห้าปีข้างหน้าคาดว่าจะมีบริษัทสนใจการใช้งาน IoT เพิ่มขึ้นมาก และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

รายงานฉบับนี้คาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่ติดตั้งทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นจาก 1.64 หมื่นล้านเครื่องในปี 2565 เป็น 2.51 หมื่นล้านเครื่องในปี 2570 หรือประมาณ 3 อุปกรณ์สำหรับประชากรทุกคนบนโลก

 

หากเรามาพิจารณาอุปกรณ์ IoT ซึ่งมีตั้งแต่เซ็นเซอร์ธรรมดาที่อ่านการสั่นสะเทือนของสะพานไปจนถึงกล้องความละเอียดสูงที่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของการจราจรหรือคนเดินเท้า และอื่นๆ ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดความต้องการที่แตกต่างกันบนเครือข่ายในแง่ของการใช้พลังงาน ความเร็ว และเวลาแฝง ดังนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายจึงต้องสามารถให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและปรับขนาดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรต้องร่วมมือกับพาร์ตเนอร์หรือผู้เชี่ยวชาญในระบบนิเวศของตน และบริษัทเทคโนโลยี

 

3. วิวัฒนาการของเครือข่ายกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

 

รายงานระบุว่า อนาคตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งในแง่ของตัวเลือกเครือข่ายสำหรับโทรคมนาคมและลูกค้าที่พวกเขาให้บริการ โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเกือบ 200 รายได้เปิดตัวเครือข่าย 5G และอีกหลายแห่งมีแผนจะเปิดตัวในอีก 12 เดือนต่อจากนี้ ซึ่งคาดว่า 5G จะกลายเป็นประเภทการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนชั้นนำในปี 2568 ที่มากกว่า 50% ของทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าสองในสามในปี 2570

 

ในอดีตการใช้จ่ายด้านทุนสำหรับเทคโนโลยีเครือข่ายมือถือรุ่นต่อๆ ไป เช่น 4G และ 5G เกิดขึ้นในรอบสิบปี ซึ่งในช่วงปี 2564 และ 2565 ค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้อสินทรัพย์มาเพื่อใช้ในการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุตสาหกรรมลงทุนในการสร้าง 5G ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคมรวมเพิ่มขึ้น 4.2% ในปี 2565 เป็น 319.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี เมื่อมองไปข้างหน้า รายงานคาดว่า อัตราการเติบโตของการลงทุนทั้งบรอดแบนด์แบบประจำที่ (Fixed Broadband) และบรอดแบนด์มือถือ (Mobile Broadband) จะลดลงทุกปีจนถึงปี 2570 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างมากทำให้เกิดความระมัดระวังในการลงทุน

 

 

เราจะเห็นว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือจากความท้าทายต่อโมเดลธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงยังมอบโอกาสที่สำคัญให้กับผู้ให้บริการดั้งเดิมและผู้เล่นหน้าใหม่ ขณะที่การลงทุนทั้งในเรื่องของเวลา เงิน การคิดเชิงกลยุทธ์ และทรัพยากร จะยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ บริษัทในอุตสาหกรรมควรต้องจับมือกับพันธมิตรภายในและภายนอกอุตสาหกรรม อีกทั้งกระชับความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ ลูกค้า และคู่แข่งเพื่อคว้าโอกาสในการเป็นผู้เล่นสำคัญในระบบนิเวศ และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเติบโต


อ้างอิง:

The post เปิด 3 แนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมท่ามกลางกระแสความต้องการยุค 5G appeared first on THE STANDARD.

]]>