500 TukTuks – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 20 May 2024 06:53:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ ภารกิจบ่มเพาะว่าที่นักธุรกิจรุ่นเยาว์ ทำธุรกิจได้จริงใน 66 วัน! [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/pohpanpunya-camp/ Thu, 27 Apr 2023 02:00:48 +0000 https://thestandard.co/?p=779016 โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะกลายเป็นสิ […]

The post ‘โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ ภารกิจบ่มเพาะว่าที่นักธุรกิจรุ่นเยาว์ ทำธุรกิจได้จริงใน 66 วัน! [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะกลายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นหากต้องการเป็นผู้รอดในอนาคต ‘มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา’ ด้วยการสนับสนุนของธนาคารกสิกรไทย จึงเปิดตัว ‘โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ รุ่นที่ 1 ภายใต้แนวคิด ‘66 วัน เรียนรู้ชีวิต ทำธุรกิจให้เป็นจริง’ บ่มเพาะเยาวชนมัธยมปลายให้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง โดยมีวิทยากรมืออาชีพ กูรูด้านธุรกิจระดับประเทศ และผู้ประกอบการตัวจริง ไม่ว่าจะเป็น ศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น อาจารย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC), ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท อุ๊คบี จำกัด (Ookbee) และผู้ร่วมก่อตั้ง 500 TukTuks, วรกันต์ ธนโชติวรพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท มอร์ฟู้ดส์อินโนเทค จำกัด ผู้พัฒนาโปรตีนจากพืชแบรนด์ More Meat และสุดท้ายกับ มนูญ ทนะวัง และ จารุวรรณ จิณเสน ผู้ก่อตั้ง Cocoa Valley แห่งอำเภอปัว จังหวัดน่าน มาร่วมพัฒนาทักษะใหม่และเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

“โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์” นำร่องบ่มเพาะเยาวชนระดับมัธยมปลายจำนวน 40 คน จาก 8 โรงเรียนในจังหวัดน่าน ตอกย้ำเจตนารมณ์การพัฒนาเยาวชนให้มีองค์ความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง สามารถกลับมาดูแลท้องถิ่น พัฒนาชุมชน และสร้างความยั่งยืนในจังหวัดบ้านเกิดและพื้นที่ใกล้เคียง สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา

 

ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา เล่าถึงแนวคิดและวัตถุประสงค์ของ ‘มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา’ ที่ก่อตั้งโดยธนาคารกสิกรไทยเมื่อปลายปี 2565 เพื่อต่อยอดกระบวนการเพาะพันธุ์ปัญญาให้มีความต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการมอบโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ และประสบการณ์จริง เพื่อให้เยาวชนมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตอย่างสมดุลในอนาคต

 

“แนวคิดนี้เป็นดำริของ คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนโดยผ่านระบบการศึกษาที่เป็นกลไกพื้นฐานทางความคิดที่สำคัญ โดยเฉพาะในเยาวชน โดยเชื่อว่าหากประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่ดี จะส่งผลต่อความคิดเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ธนาคารกสิกรไทยจึงสานต่อแนวคิดริเริ่มโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาขึ้นในปี 2556 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จนถึงปี 2562 และดำเนินโครงการต่อเนื่องในจังหวัดน่านจนถึงปี 2565 พบว่า เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการความคิด สามารถตั้งสมมติฐานและหาคำตอบด้วยตรรกะ เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

“เพาะพันธุ์ปัญญากำลังเข้าสู่ระยะที่สอง โดยได้มีการก่อตั้งเป็น ‘มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา’ ขึ้นเมื่อปลายปี 2565 เพื่อต้องการให้เกิดความต่อเนื่องและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ในที่สุด โดยวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญาคือการ ‘ให้’ เป็นการให้ทั้งองค์ความรู้ ทักษะใหม่ และประสบการณ์จริงแก่เยาวชน เมื่อพวกเขามีระบบความคิดที่ดี หากได้องค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ เติมเข้าไปอีก เมื่อก้าวสู่สนามแข่งขันจริงพวกเขาจะมีความครบเครื่องและพร้อมที่จะแข่งขัน ซึ่ง ‘โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ จะทำหน้าที่เติมเต็มเรื่องเหล่านี้” ดร.อดิศวร์กล่าว

 

‘โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ รุ่นที่ 1 จะเป็นโครงการที่เสริมสร้างสมรรถนะของเยาวชนให้มีองค์ความรู้ใหม่และทักษะใหม่ผ่านกิจกรรมในโครงการที่ดึงศักยภาพของเยาวชนออกมาใช้ในการทำธุรกิจจริง ภายใต้แนวคิด ‘66 วัน เรียนรู้ชีวิต ทำธุรกิจให้เป็นจริง’ ตลอดเวลา 66 วัน ทุกคนจะได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จากการลงมือปฏิบัติจริง พร้อมเสริมความรู้จากวิทยากร ซึ่งเป็นนักธุรกิจตัวจริงระดับประเทศ เปิดโลกทัศน์ให้เยาวชนได้เห็นมุมมองและแนวทางใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดการสร้างไอเดียธุรกิจ

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

 

นอกเหนือจากแนวคิดการทำธุรกิจ เยาวชนทุกคนจะได้ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดเป็นตรรกะ และเรียนรู้ที่จะ ‘ล้มแล้วลุกเป็น’ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องมี และที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจต่อจากนี้ คือเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ เพราะกำไรสูงสุดอาจไม่ใช่เป้าหมายของการทำธุรกิจในอนาคตอีกต่อไป ต้องเรียนรู้การทำธุรกิจด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

 

ดร.อดิศวร์ยังบอกถึงเหตุผลที่เลือกเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะเป็นช่วงวัยที่กำลังแสวงหาแนวทางการดำเนินชีวิตก่อนก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัย เหมาะกับการมอบประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ที่จะช่วยพัฒนาให้เกิดทักษะใหม่ มีตรรกะในการดำรงชีวิต สามารถสร้างสมดุลให้แก่ตนเอง

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

 

“น้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นกลุ่มที่สนใจอยากทำธุรกิจ อยากเป็นผู้ประกอบการ อยากมีรายได้และประสบความสำเร็จ เพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์จะทำให้พวกเขาเข้าใจว่าการทำธุรกิจจะต้องมีความรู้อะไรบ้าง ควรเริ่มจากตรงไหน และที่แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนทั่วไปเลย เรามีทุนจำนวนหนึ่งให้ทุกคนได้ออกไปทำธุรกิจจริง เรียนรู้ประสบการณ์จริง เพื่อให้พวกเขาได้รู้ว่าสิ่งที่คิดและอยากจะทำนั้นจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ไม่ใช่เรื่องแพ้หรือชนะ แต่เป็นการเรียนเพื่อให้รู้ว่าอะไรที่เคยทำแล้วไม่ได้กำไร อะไรที่ทำแล้วไม่สำเร็จ นี่คือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

 

“สามเรื่องหลักๆ ที่พวกเขาจะได้รับคือ ความรู้ใหม่ในการทำธุรกิจ ทักษะในการทำธุรกิจ และโอกาสในการลองผิดลองถูก สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการจะเติมเต็มองค์ความรู้และทักษะที่จะเป็นประโยชน์กับพวกเขาในอนาคต และเป็นประสบการณ์ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต ที่สำคัญ เมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จ เขาจะกลับไปดูแลพัฒนาชุมชนบ้านเกิด ซึ่งถือเป็นความหวังระยะยาวของทางมูลนิธิ”

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

 

สำหรับเหตุผลที่ ‘โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ รุ่นที่ 1 เลือกนำร่องที่จังหวัดน่าน ดร.อดิศวร์อธิบายว่า นอกจากเพาะพันธุ์ปัญญาในภาคแรก (น่านเพาะพันธุ์ปัญญา) จบโครงการที่จังหวัดน่านแล้ว จังหวัดน่านยังเป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมในการเรียนรู้หลายๆ ด้าน ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

 

“ความเหมาะสมทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เหมือนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เยาวชนจะได้เรียนรู้ มีโจทย์ในเรื่องความคิด ทำให้เกิดกระบวนการทางความคิดที่แตกต่างกันได้”

 

โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ‘เพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ รุ่นที่ 1 ประกอบด้วย

  1. โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร อ.เมืองน่าน
  2. โรงเรียนสา อ.เวียงสา
  3. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 อ.เวียงสา
  4. โรงเรียนปัว อ.ปัว
  5. โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม อ.ท่าวังผา
  6. โรงเรียนเชียงกลางประชาพัฒนา อ.เชียงกลาง
  7. โรงเรียนพระธาตุพิทยาคม อ.เชียงกลาง และ
  8. โรงเรียนเมืองลีประชาสามัคคี อ.นาหมื่น

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท อุ๊คบี จำกัด (Ookbee) และผู้ร่วมก่อตั้ง 500 TukTuks

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

ศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น อาจารย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

วรกันต์ ธนโชติวรพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท มอร์ฟู้ดส์อินโนเทค จำกัด ผู้พัฒนาโปรตีนจากพืชแบรนด์ More Meat

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

มนูญ ทนะวัง และ จารุวรรณ จิณเสน ผู้ก่อตั้ง Cocoa Valley แห่งอำเภอปัว จังหวัดน่าน

 

เยาวชนทั้ง 40 ชีวิต จะได้เติมเต็มองค์ความรู้ตั้งแต่การสร้างสรรค์และทดสอบไอเดียธุรกิจ ไปจนถึงการเปลี่ยนไอเดียธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง ผ่านการเรียนรู้แบบสนุกสนานจากกิจกรรม 3 แคมป์ ได้แก่

 

แคมป์ที่ 1 ‘กล้าเรียน’ ปูพื้นฐานสร้างไอเดียธุรกิจ ความเป็นไปได้ และเรียนรู้สิ่งที่จำเป็นในการทำธุรกิจ โดยระหว่างการเรียนรู้ ทั้ง 8 ทีมจะต้องนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาไอเดียธุรกิจที่มีคุณค่า และนำทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อนำไปทดลองตลาดต่อไป (Minimum Viable Product: MVP)

 

แคมป์ที่ 2 ‘กล้าลุย’ บุกตลาด ลงมือขาย พบลูกค้าตัวจริง เรียนรู้จุดเด่นจุดด้อย เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการ โดยทีมเยาวชนจะได้นำผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คิดและพัฒนาไปทดลองขายหรือสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริโภคตัวจริงที่ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ และเดินหน้าจัดจำหน่ายเป็นธุรกิจจริงต่อไป

 

แคมป์ที่ 3 ‘กล้าก้าว’ (วันที่ 24-27 พฤษภาคม 2566) รายงานและนำเสนอผลประกอบการ รับแรงบันดาลใจ ซึ่งทั้ง 8 ทีม จะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและนักธุรกิจตัวจริง โดยจะประกาศผลและมอบรางวัลให้แก่ทีมที่มีผลงานยอดเยี่ยมและได้รับคะแนนสะสมมากที่สุด นอกจากนั้น เยาวชนจะได้เปิดโลกทัศน์เรียนรู้ประสบการณ์จากบุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ และผู้นำความคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับประเทศในงานปัจฉิมนิเทศ

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

 

จนถึงตอนนี้ เยาวชนทั้ง 8 ทีม ได้ผ่านการเรียนรู้แคมป์ที่ 1 ‘กล้าเรียน’ ด้วยการออกสำรวจพูดคุยกับผู้ประกอบการโดยตรง และเรียนรู้แนวคิดการทำธุรกิจจากกูรู แม้จะมีเวลาที่กระชั้นชิดเป็นข้อจำกัด แต่ทุกทีมก็สามารถกลั่นไอเดียธุรกิจจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวและขยายผลสร้างธุรกิจให้เป็นรูปเป็นร่างภายในระยะเวลาเพียง 5 วัน

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

ปกรณ์ ทองประเสริฐ (ป้าง)

 

ปกรณ์ ทองประเสริฐ (ป้าง) ตัวแทนทีมโรงเรียนพระธาตุพิทยาคม อ.เชียงกลาง

ที่ฝันอยากเป็นเกมเมอร์ ยูทูเบอร์ และอยากผลิตสินค้าแฮนด์เมดจำหน่ายตามสถานที่ท่องเที่ยว บอกว่า การเข้าร่วมแคมป์ทำให้เขาได้ไอเดียใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ เรียนรู้เรื่องต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน ทำให้รู้ว่าการทำธุรกิจต้องใช้กระบวนการคิดที่เป็นระบบ และการออกไปสำรวจตลาดทำให้เห็นว่ายังมีสินค้าอีกหลายอย่างที่เราก็เองสามารถผลิตได้เองและสามารถจำหน่ายได้ เช่น หมวกจากร้านเสื้อผ้าแฮนด์เมด และขนมพื้นบ้าน

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

จิระศักดิ์ แดงต๊ะ (จีโน่)

 

จิระศักดิ์ แดงต๊ะ (จีโน่) โรงเรียนเมืองลีประชาสามัคคี อ.นาหมื่น

ตั้งใจเข้าร่วมเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์เพราะชอบทำธุรกิจ สนใจธุรกิจเกี่ยวกับของกิน การเข้าร่วมแคมป์ทำให้เขาเข้าใจเรื่องการหากลุ่มเป้าหมายเพื่อตอบโจทย์สินค้า ควรเลือกแบบไหน เขามีปัญหาอะไรและจะตอบสนองอย่างไร ช่วยทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้นในการทำธุรกิจในอนาคตว่าจะประกอบธุรกิจอะไร ทำเพื่อใคร ผลิตอย่างไร และมีกระบวนการผลิตอย่างไร รวมถึงเรื่องต้นทุน เช่น ค่าแรง ค่าวัตถุดิบ ช่วยให้แนวคิดการทำธุรกิจเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

นารี แซ่โซ้ง (ออม)

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

เพชรชรินทร์ คำพุฒ (นับหนึ่ง)

 

ด้าน นารี แซ่โซ้ง (ออม) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 อ.เวียงสา

เด็กสาวที่ฝันอยากเป็นพยาบาลดูแลรักษาสัตว์ พร้อมๆ กับการทำธุรกิจเป็นอาชีพเสริม ได้เรียนรู้ว่าผู้ประกอบการที่ดีคืออะไรและทำไมถึงต้องมีทีมที่ดี รวมถึงการทำธุรกิจอย่างไรถึงจะไม่ขาดทุน ในขณะที่ เพชรชรินทร์ คำพุฒ (นับหนึ่ง) โรงเรียนสา อ.เวียงสา เด็กสาวที่มีไอดอลเป็นนักธุรกิจ ทำให้เธอชอบฟังแนวคิดการทำธุรกิจแม้จะไม่เคยมีความคิดที่จะทำธุรกิจ แต่แคมป์นี้ช่วยให้เธออยากลองทำธุรกิจที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เหมือนที่ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ เคยบอกว่า “หากจะทำสิ่งที่มีคนทำอยู่แล้วจะทำไปทำไม ทำไมเราจะทำเพื่อไปแข่งขันกับเขา แล้วทำไมเราไม่ทำในสิ่งที่แตกต่าง” และการได้เรียนหลักการจากกูรูตัวจริง ได้ลองทำจริง เชื่อว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกหลายอย่าง

 

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์

 

เมื่อถามว่าหลังจบโครงการคาดหวังให้เยาวชนเติบโตไปทำธุรกิจหรือไม่นั้น ดร.อดิศวร์กล่าวว่า “เราไม่ได้หวังว่าทุกคนจะไปเป็นนักธุรกิจ แต่ต้องการให้พวกเขามีองค์ความรู้และข้อมูลมากพอเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจว่าตัวเขาเหมาะจะเป็นนักธุรกิจหรือไม่ ซึ่งเราเชื่ออย่างยิ่งกว่า โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์ จะเป็นพื้นที่ที่ให้โอกาสเยาวชนในจังหวัดน่านได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่และไอเดียธุรกิจที่สร้างสรรค์ ได้ลงมือทำธุรกิจจริง ซึ่งจะทำให้ได้พัฒนาทักษะในการจัดการอย่างมืออาชีพทั้งกระบวนการ ฝึกฝนการทำงานเป็นทีม ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรียนรู้ที่จะล้มเหลวและลุกขึ้นสู้อย่างไม่ท้อถอย สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์และมิตรภาพระหว่างเพื่อนร่วมแคมป์

 

“เชื่อมั่นว่าองค์ความรู้และประสบการณ์จากเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์ จะเติมเต็มและสร้างความพร้อมให้กับเยาวชนในการรับมือกับโจทย์ใหม่และความท้าทายที่จะเข้ามาในอนาคตอย่างมั่นใจ ซึ่งระบบการเรียนรู้นี้จะเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะในการพัฒนาและสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศต่อไป” ดร.อดิศวร์กล่าวทิ้งท้าย

 

ธุรกิจไหนจะถูกบ่มเพาะจนกลายเป็นต้นกล้าแห่งปัญญาและได้พัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นธุรกิจที่สามารถลุยตลาดได้จริง ร่วมลุ้นและให้กำลังใจน้องๆ ทั้ง 8 ทีมในแคมป์ ‘กล้าลุย’ วันที่ 20-23 เมษายน 2566 และแคมป์ ‘กล้าก้าว’ ในวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2566

The post ‘โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์’ ภารกิจบ่มเพาะว่าที่นักธุรกิจรุ่นเยาว์ ทำธุรกิจได้จริงใน 66 วัน! [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ORZON Ventures’ ประกาศลงทุนใน 5 สตาร์ทอัพ หนุนผู้ประกอบการผนึกกำลังต่อยอดกลยุทธ์ Mobility และ Lifestyle https://thestandard.co/orzon-ventures-announced-invest-in-5-startups/ Fri, 04 Mar 2022 01:27:24 +0000 https://thestandard.co/?p=601563 ‘ORZON Ventures’ ประกาศลงทุนใน 5 สตาร์ทอัพ หนุนผู้ประกอบการผนึกกำลังต่อยอดกลยุทธ์ Mobility และ Lifestyle

ORZON Ventures กองทุนภายใต้ความร่วมมือของ OR และ 500 Tu […]

The post ‘ORZON Ventures’ ประกาศลงทุนใน 5 สตาร์ทอัพ หนุนผู้ประกอบการผนึกกำลังต่อยอดกลยุทธ์ Mobility และ Lifestyle appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ORZON Ventures’ ประกาศลงทุนใน 5 สตาร์ทอัพ หนุนผู้ประกอบการผนึกกำลังต่อยอดกลยุทธ์ Mobility และ Lifestyle

ORZON Ventures กองทุนภายใต้ความร่วมมือของ OR และ 500 TukTuks ประกาศเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพ 5 รายแรก หวังร่วมผนึกกำลัง เพิ่มความหลากหลายทางธุรกิจ สร้าง New S-Curve ต่อยอดการดำเนินธุรกิจด้าน Mobility และ Lifestyle เพื่อมอบประสบการณ์ใหม่และความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค

 

จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยว่า OR ได้จัดตั้งกองทุน ‘ออร์ซอน เวนเจอร์ส’ (ORZON Ventures, L.P.) โดยร่วมกับกองทุน 500 TukTuks เพื่อแสวงหาและสนับสนุนสตาร์ทอัพใหม่ในระดับซีรีส์ A-B ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเน้นทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ OR และธุรกิจใหม่ภายใต้กรอบ Mobility & Lifestyle เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจและสร้างการเติบโตระยะยาว 

 

โดยในวันนี้ OR ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแจ้งความคืบหน้าของ ORZON Ventures ในการลงทุนในสตาร์ทอัพ 5 รายแรก ได้แก่ Pomelo, Carsome, Freshket, GoWabi และ Protomate ซึ่งล้วนเป็นสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศไทยและในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินธุรกิจที่จะมอบประสบการณ์ใหม่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์หรือการใช้ชีวิตของผู้บริโภค อีกทั้งยังสอดคล้องกับทิศทางในการดำเนินธุรกิจของ OR ที่มุ่งเติมเต็มโอกาสเพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน ด้วยการเสาะแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ 

 

โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือกับ ‘คนตัวเล็ก’ ทั้งในรูปแบบของการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ และการลงทุนใน SMEs หรือสตาร์ทอัพ ซึ่งมีจุดแข็งในด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยี มีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้ก้าวไกลกว่าธุรกิจน้ำมันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การร่วมงานกับ 500 Tuktuks ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ OR ได้ใช้เครือข่ายสตาร์ทอัพทั้งในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดโอกาสการร่วมมือกันพัฒนาโครงการ Synergy กับสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ ในการนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อน ช่วยต่อยอดธุรกิจ OR ที่มีอยู่เดิม

 

ด้าน กระทิง พูนผล ผู้บริหาร (General Partner) กองทุน ORZON Ventures และ 500 TukTuks กล่าวถึงการลงทุนในครั้งนี้ไว้ว่า ORZON Ventures รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนสตาร์ทอัพทั้ง 5 ราย ซึ่งล้วนเป็นสตาร์ทอัพที่มีผู้ก่อตั้งที่มากความสามารถ มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ และสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างมั่นคงแม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด นับเป็นโอกาสอันดีที่สตาร์ทอัพเหล่านี้จะได้ร่วมมือกับ OR ในการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวข้ามขีดจำกัดไปอีกขั้น อันจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพไทย นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการลงทุน เพราะนี่คือยุคทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะมียูนิคอร์นเกิดขึ้นอีกมากมายในภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน 

 

โดย ORZON Ventures มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันผู้ประกอบการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับ OR ด้วยโครงสร้างการทำงานที่มีความยืดหยุ่น รวดเร็ว เคลื่อนไหวได้คล่องตัวเหมือนกองทุน VC อิสระ แต่ในขณะเดียวกันสตาร์ทอัพก็ยังได้รับประโยชน์จากการขับเคลื่อนด้าน Synergy ร่วมกับ OR ดังเช่นกองทุน CVC (Corporate Venture Capital) ถือว่าเป็นโมเดลการทำงานที่ผสมผสานความแข็งแกร่งของทั้ง 2 รูปแบบเข้าด้วยกัน 

 

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่ได้ทำงานร่วมกับ OR ในระยะทดลอง (Pilot) แล้วเกิดผลลัพธ์ที่ดี มีโอกาสทาง Synergy สูง ยังมีโอกาสได้รับเงินทุนต่อเนื่องจาก OR โดยตรง อันเป็นโอกาสอันดีที่จะเติบโตร่วมกับ OR ไปในระยะยาว

 

รายละเอียดของสตาร์ทอัพทั้ง 5 บริษัทแรกที่ ORZON Ventures ร่วมลงทุน มีดังนี้

  1. Pomelo แพลตฟอร์มและแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘Tap Try Buy’ ซึ่งแตกต่างและเป็นที่สนใจของลูกค้า ครอบคลุมการซื้อขายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ปัจจุบันได้ผันตัวมาเป็น Omnichannel Enabler ที่มีแบรนด์เข้าร่วมแล้วมากกว่า 500 ราย ทั้งในและต่างประเทศ
  2. Carsome แพลตฟอร์มที่มีการซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นตัวกลางในการซื้อหรือขายรถยนต์มือสอง มีการนำเสนอบริการแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบสำหรับลูกค้าและดีลเลอร์รถยนต์มือสองทุกราย ตั้งแต่การตรวจสภาพรถยนต์ การโอนกรรมสิทธิ์ ไปจนถึงบริการทางด้านสินเชื่อ
  3. Freshket แพลตฟอร์มจำหน่ายวัตถุดิบครบวงจร สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ HoReCa (โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง) และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการระบบอย่างมืออาชีพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ปัจจุบัน Freshket มีสินค้าทั้งของสดและของแห้งให้เลือกกว่า 7,000 รายการ มีผู้ใช้งาน HoReCa กว่า 10,000 ราย มีบริการจัดส่งที่รวดเร็วและสามารถเลือกเวลาจัดส่งได้ตามสะดวก
  4. GoWabi แพลตฟอร์มชั้นนำของไทยที่รวบรวมทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับบริการทางด้านความงามและสุขภาพไว้ในที่เดียว โดยผู้ใช้สามารถหาข้อมูล ดูส่วนลด จองเวลา และจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ OR ที่ช่วยเสริม Lifestyle Ecosystem ให้กับลูกค้า นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้ให้บริการบน GoWabi กว่าพันรายสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
  5. Protomate ผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยี AI สัญชาติไทย ที่ได้ประยุกต์นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาพัฒนาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สมาชิกทีมประกอบไปด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานที่องค์กรเทคโนโลยีชั้นนำของโลกที่ Silicon Valley อย่าง Apple, Waymo และ UC Berkeley มีเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเดินทางและการขนส่งทั่วโลก สอดคล้องกับธุรกิจ OR ในด้าน Mobility ให้กับลูกค้า

 

ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากเงินลงทุนแล้ว สตาร์ทอัพใน ORZON Ventures จะได้รับโอกาสในการทำงานร่วมกับ OR ในการต่อยอดธุรกิจ สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดผ่านระบบนิเวศ (Ecosystem) ขนาดใหญ่ของ OR ซึ่งมีฐานลูกค้าหลายสิบล้านรายทั้งในไทยและในต่างประเทศ รวมทั้งความช่วยเหลือด้านพื้นฐานอื่นๆ จากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ภายใต้กรอบ Mobility & Lifestyle หรือธุรกิจที่ตอบโจทย์คนเดินทาง (Mobility) และตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกไลฟ์สไตล์ อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงเครือข่ายระดับโลกของ 500 Global ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในกองทุนที่ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพจำนวนมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจของ 500 TukTuks ทั้งในไทยและต่างประเทศ และการให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจอย่างใกล้ชิดจากผู้บริหารกองทุน ได้แก่ กระทิง พูนผล, ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ และ ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ซึ่งล้วนเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยมาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มอีกด้วย 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post ‘ORZON Ventures’ ประกาศลงทุนใน 5 สตาร์ทอัพ หนุนผู้ประกอบการผนึกกำลังต่อยอดกลยุทธ์ Mobility และ Lifestyle appeared first on THE STANDARD.

]]>
สตาร์ทอัพไทยเตรียมผงาด! ORZON Ventures กองทุนจาก OR และ 500 TukTuks ‘ยักษ์’ ที่จะพาไทยขึ้นขบวนสตาร์ทอัพทัดเทียมประเทศอื่น https://thestandard.co/orzon-ventures-2/ Wed, 17 Nov 2021 05:32:22 +0000 https://thestandard.co/?p=560691 ORZON Ventures

สตาร์ทอัพสัญชาติไทยเตรียมงอกเงย เมื่อบริษัท ปตท. น้ำมัน […]

The post สตาร์ทอัพไทยเตรียมผงาด! ORZON Ventures กองทุนจาก OR และ 500 TukTuks ‘ยักษ์’ ที่จะพาไทยขึ้นขบวนสตาร์ทอัพทัดเทียมประเทศอื่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ORZON Ventures

สตาร์ทอัพสัญชาติไทยเตรียมงอกเงย เมื่อบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ร่วมมือกับกองทุน 500 TukTuks เกิดเป็นการร่วมทุนในชื่อ ‘ORZON Ventures’ หรือ (ออร์-ซอน เวนเจอร์ส) ซึ่ง ORZON มีจุดประสงค์เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในการเติบโตทั้งในไทยและในแถบเอเชีย 

 

โดยบริษัท OR ถือเป็นบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทย ที่มีทั้งเงินทุน, Know-how ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ทั้งในเรื่องของการดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ และประสบการณ์การร่วมมือสตาร์ทอัพยูนิคอนตัวแรกของไทยอย่าง Flash Express ซึ่ง ORZON เปรียบเสมือนยักษ์ ที่คอยแบกสตาร์ทอัพขนาดเล็กและกลางไว้บนบ่า เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเหล่านี้เติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด

 

จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีกจำกัด (มหาชน) หรือ OR ให้สัมภาษณ์ในรายการ The Secret Sauce ของ THE STANDARD ว่า สตาร์ทอัพจะเป็นตัวที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตอย่างพลิกผันได้เลย โดยสตาร์ทอัพที่จะนำเข้ามาใน ORZON จะเน้นสตาร์ทอัพที่สามารถต่อยอดธุรกิจเดิมของ OR ได้ 

 

“ตัวอย่างเช่น ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจไลฟ์สไตล์ต่างๆ ของผู้คน ที่ตอนนี้เรากำลังทำให้ OR เป็นธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์ชีวิตประจำของผู้คนได้อย่างครอบคลุม แต่ทั้งนี้ ORZON ก็ยังเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพที่ไม่เกี่ยวข้องกับ OR ให้เข้ามาจำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน” 

 

นอกจากนั้นยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “สตาร์ทอัพที่อยู่ใน ORZON จะสามารถใช้ Ecosystem ต่างๆ ของ OR และสามารถร่วมมือกับสินค้าและบริการต่างๆ ของ OR ได้ ซึ่ง OR เป็นเหมือนสปริงบอร์ด ที่จะทำให้สตาร์ทอัพเหล่านี้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดทั้งในไทยและโตออกนอกประเทศ จากการสนับสนุนของ OR ทั้งด้านเงินทุนและประสบการณ์ต่างๆ”   

 

ขณะที่ เรืองโรจน์ พูนผล ผู้ก่อตั้งกองทุน 500 TukTuks และประธานกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) มองว่า สตาร์ทอัพต่างๆ ในไทยจะเกิดขึ้นได้ จนสามารถแข่งขันกับชาติอื่นๆ ได้ ในตอนนี้จำเป็นต้องมีพี่ใหญ่อย่าง OR พานำทัพ จึงจะสามารถเติบโตทัดเทียมคู่แข่ง และก้าวขึ้นไปแข่งในระดับโลกได้ นอกจากนั้นยังมองว่า “ในตอนนี้ประเทศไทยยังไม่ตกขบวนสตาร์ทอัพ” 

 

เรืองโรจน์เผยมุมมองว่า อีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคทองของสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากตอนนี้เราผ่านคลื่นสตาร์ทอัพระลอกแรกมาแล้วคือช่วงปี 2012-2021 อีก 10 ปีต่อจากนี้จะเป็นคลื่นระลอกสองที่ใหญ่กว่าเดิม โดยจะมีนักลงทุนที่มักจะลงทุนในสตาร์ทอัพระยะแรกเริ่ม หรือที่เรียกว่า Angel Investor หลั่งไหลเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดย ORZON จะลงทุนในสตาร์ทอัพ Series A คือมีมูลค่าประมาณ 1-1.5 ล้านดอลลาร์ หรือ 30-45 ล้านบาท

 

ทางด้านจิราพร ขยายความถึง ORZON Ventures ซึ่งมี OR ถือหุ้นอยู่ 99% และทาง 500 TukTuks อีก 1% โดยการร่วมทุนนี้มีอายุ 10 ปี เป้าหมาย KPI ของ ORZON คือมีสตาร์ทอัพให้ได้ประมาณ 15-30 บริษัท “ซึ่งเป้าหมายนี้ถือว่ายังน้อยไปด้วยซ้ำ เนื่องจากตอนที่เราเปิดตัว ORZON มีสตาร์ทอัพต่างๆ เข้ามาติดต่อมากมาย รวมถึงมีสตาร์ทอัพในเครือข่ายของ 500 TukTuks อยู่แล้วอีกด้วย”

 

ขณะเดียวกันสิ่งที่หลายคนกังวลว่า การทำแบบนี้จะเป็นการที่บริษัทยักษ์ใหญ่จะเข้ามากินรวบหรือไม่? จิราพรกล่าวว่า “ในยุคนี้มันไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็กแล้ว เราอาจเคยได้ยินคำว่าปลาเร็วกินปลาช้า ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่อย่างเราถือเป็นปลาช้าและอาจพลิกตัวไม่ทัน เราจึงต้องพึ่งปลาเร็วอย่างสตาร์ทอัพ โดยการจับมือกันเติบโต ช่วยกันและกัน เป้าหมายเราคือต้องการให้สตาร์ทอัพขนาดเล็กและกลางเติบโต ซึ่งจะตามมาด้วยเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเศรษฐกิจในไทยและแถบอาเซียนมีโอกาสในการเติบโตอยู่ ถ้าเราไม่ร่วมมือกับสตาร์ทอัพไทยเราอาจพลาดโอกาสนั้น”

 

นอกจากนั้นยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “เราให้อิสระกับสตาร์ทอัพในการดำเนินธุรกิจ เราไม่เข้าไปควบคุม ซึ่งหากเราซื้อกิจการสตาร์ทอัพนั้นแล้ว เราก็จะไม่ส่งคนเข้าไปเกินครึ่งของบริษัท เรายังคงให้อิสระในการดำเนินงานต่อไป โดยเรามองว่าเราเป็นปลาช้า หากเรากินปลาเร็วไปแล้ว ในอนาคตเราอาจพลิกตัวต่อไปไม่ได้”

 

ด้านเรืองโรจน์ ให้คำแนะนำถึงการเตรียมตัวคว้าโอกาสในคลื่นระลอกสองของประเทศไทย โดยกล่าวว่า ประเทศไทยเรายังขาดคนที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีอยู่ อย่างในสหรัฐฯ เขาลงทุนด้านการศึกษาในเทคโนโลยี สร้างมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำให้เกิดเป็น ‘ซิลิคอนแวลลีย์’ ดังนั้นสิ่งที่ไทยต้องพัฒนาหลักๆ เลยคือการสนับสนุนจากรัฐบาลในภาคการศึกษาส่วนนี้ 

 

“ในปัจจุบันบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป ของเรามีการตั้งออฟฟิศในจีนและเวียดนาม เพื่อดึงคนเก่งๆ ที่มีทักษะด้านนี้เข้ามาทำงานกับเรา เนื่องจากตอนนี้ในไทยเรายังไม่มีบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้ เราจึงต้อง ‘ยืม’ ประเทศอื่นมาก่อน นอกจากการศึกษาแล้ว รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนในการดึงชาวต่างชาติที่มีทักษะเข้ามาในไทย เพื่อให้สตาร์ทอัพไทยพัฒนาไปได้อย่างไม่ตกขบวน ที่เห็นได้ชัดคือซีอีโอของบริษัทเทคฯ ที่มีชื่อเสียงของประเทศต่างๆ เป็นคนอินเดียแทบจะทั้งหมดเลย”

 

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด Google ได้เผยผลสำรวจที่พบว่า นักลงทุนต่างๆ มองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเป้าหมายการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนงดงามในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินดิจิทัลที่ยังคงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่ให้เข้ามาลงทุน โดยคาดว่าการลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในปี 2021 จะอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์อย่างที่เกิดขึ้นในปี 2020 

 

ซึ่งในครึ่งปีแรกของ 2021 ไทยมีสตาร์ทอัพยูนิคอร์นถือกําเนิดขึ้นแล้วถึง 3 ตัว ถือเป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนในบริการดิจิทัลต่างๆ ที่เติบโตขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) และเทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech) เป็นต้น 

 

จากเดิมที่สตาร์ทอัพยูนิคอร์นต่างๆ จะกองกันอยู่ที่สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ในปีนี้เริ่มเห็นการกระจายตัวของยูนิคอร์นเพิ่มขึ้นมาก โดยในปี 2020 มียูนิคอร์นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 12 บริษัท แต่ในครึ่งปีแรกของ 2021 มีถึง 23 บริษัท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเลยทีเดียว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 


ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

Twitter: twitter.com/standard_wealth

Instagram: instagram.com/thestandardwealth

Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP

The post สตาร์ทอัพไทยเตรียมผงาด! ORZON Ventures กองทุนจาก OR และ 500 TukTuks ‘ยักษ์’ ที่จะพาไทยขึ้นขบวนสตาร์ทอัพทัดเทียมประเทศอื่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: 6 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวงการสตาร์ทอัพของ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ https://thestandard.co/where-we-work-ep5/ Tue, 04 May 2021 14:33:53 +0000 https://thestandard.co/?p=483990 ชมคลิป: 6 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวงการสตาร์ทอัพของ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

อะไรคือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของ […]

The post ชมคลิป: 6 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวงการสตาร์ทอัพของ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: 6 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวงการสตาร์ทอัพของ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

อะไรคือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของ หมู-ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้ง Ookbee และ 500 TukTuks ที่ทำให้เขาก้าวข้ามความล้มเหลว และยังคงโดดเด่นอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมานานกว่า 10 ปี

 

[IN PARTNERSHIP WITH modernform]

The post ชมคลิป: 6 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวงการสตาร์ทอัพของ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>