ไชยันต์ ไชยพร – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 03 Aug 2023 07:59:01 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ณัฐพล ผู้เขียน ‘ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี’ ฟ้องหมิ่นประมาทไชยันต์ กล่าวหาใช้ข้อมูลเท็จ เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท https://thestandard.co/nattapon-jaijing-defamation-lawsuit-chaiyan-chaiyaporn/ Fri, 15 Jul 2022 09:23:47 +0000 https://thestandard.co/?p=654337 ณัฐพล ใจจริง

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประ […]

The post ณัฐพล ผู้เขียน ‘ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี’ ฟ้องหมิ่นประมาทไชยันต์ กล่าวหาใช้ข้อมูลเท็จ เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ณัฐพล ใจจริง

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ทำการฟ้อง ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระบุว่า ไชยันต์มีพฤติกรรมใส่ร้ายตนเอง ต่างกรรมต่างวาระหลายครั้ง โดยการโพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊กของตนเองในชื่อ ‘Chaiyan Chaiyaporn’ ซึ่งเป็นการโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จต่อบุคคลที่สาม อันเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

 

ขณะที่มูลเหตุของการฟ้องครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ไชยันต์โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊กของตนเอง กล่าวหาว่าณัฐพลใช้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ เอกราชนิวส์ ที่ไม่มีอยู่จริงมาอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ และพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างกระแสความรู้สึกให้ผู้อ่านเกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่เป็นความจริง

    

โดยความจริงแล้วข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ เอกราชนิวส์ เป็นข้อมูลที่มีอยู่จริง และสามารถเข้าถึงได้ ณ หอสมุดแห่งชาติ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ของณัฐพลจึงใช้ข้อมูลที่มีอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ตามหลักวิชาการ

 

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ยังได้เผยแพร่คำฟ้องพร้อมสรุปเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า แม้ไชยันต์จะเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่การกระทำของ ไชยันต์ ไชยพร ไม่ใช่การทำงานวิชาการ แต่เป็นการใส่ความโจทก์ คือ ณัฐพล ใจจริง ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่น ได้รับความเสียหายทั้งในด้านชื่อเสียง เกียรติยศ ความน่าเชื่อถือทางวิชาการ และฐานะทางสังคม ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้บุคคลที่ได้เห็นหรืออ่านข้อความนั้นเกิดความรู้สึกเกลียดชังต่อโจทก์ และทำให้โจทก์เสื่อมเสียความน่าเชื่อถือ และเสื่อมความนิยมศรัทธาในหมู่นิสิตนักศึกษา และกลุ่มผู้อ่านที่ติดตามงานเขียนของโจทก์ ซึ่งกระทบต่ออาชีพการงานและทางทำมาหาได้ ยังไม่รวมถึงการที่โจทก์ต้องเสียเวลาอย่างมากในการติดตามการแสดงความเห็นอันเป็นเท็จของไชยันต์ ที่พาดพิงผลงานของโจทก์มาเป็นแรมปี

 

ดังนั้น นอกจากการฟ้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 325, 326 แล้ว ณัฐพล ใจจริง จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง เป็นเงิน 1,000,000 บาท

 

สำหรับณัฐพล เป็นผู้เขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ที่ได้การประเมินระดับ ‘ดีมาก’ จากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500) และเป็นผู้เขียนหนังสือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) และ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี: การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500 ตีพิมพ์ในนามสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ในปี 2556 และ 2563 ตามลำดับ รวมทั้งหนังสือที่ว่าด้วยการเมืองไทยเล่มอื่นๆ อีกจำนวนมาก เช่น กบฏบวรเดช: เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475 (2559) และ ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร (2563) ที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์มติชน

 

อ้างอิง:

The post ณัฐพล ผู้เขียน ‘ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี’ ฟ้องหมิ่นประมาทไชยันต์ กล่าวหาใช้ข้อมูลเท็จ เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฟ้องวิทยานิพนธ์ ‘ณัฐพล ใจจริง’ สะท้อนความขัดแย้ง-แตกต่างทางความคิด ข้ามรัชสมัย https://thestandard.co/nattapoll-chaiching-reflects-conflict/ Wed, 01 Dec 2021 14:37:13 +0000 https://thestandard.co/?p=566684 ณัฐพล ใจจริง

ข้อเท็จจริงชนวนการฟ้องร้อง กรณีวิทยานิพนธ์ของ ‘ณัฐพล ใจ […]

The post ฟ้องวิทยานิพนธ์ ‘ณัฐพล ใจจริง’ สะท้อนความขัดแย้ง-แตกต่างทางความคิด ข้ามรัชสมัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ณัฐพล ใจจริง

ข้อเท็จจริงชนวนการฟ้องร้อง

กรณีวิทยานิพนธ์ของ ‘ณัฐพล ใจจริง’ ถูกฟ้องร้อง โดยณัฐพลในฐานะผู้เขียน เป็นจำเลยที่ 1 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์คือ ‘กุลลดา เกษบุญชู มี้ด’ เป็นจำเลยที่ 2 ส่วนอีก 4 จำเลยคือสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งหมดเป็น 6 จำเลย

 

ขณะที่ฝ่ายโจทก์คือ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต หลานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร มอบหมายให้ทนายความยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท ต่อ 6 จำเลย ฐานความผิดละเมิดไขข่าวด้วยข้อความฝ่าฝืนความจริง

 

หนึ่งในพยานฝ่ายโจทก์คือ ‘ไชยันต์ ไชยพร’ นอกจากเขาจะเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ยังเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ‘จากมวลชนปฏิวัติสู่มวลชนประชาธิปไตย กับ พระมหากษัตริย์: การศึกษาพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย’ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า

 

 

วิทยานิพนธ์ที่ถูกฟ้องเป็นวิทยานิพนธ์ดีมาก (Excellent) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2552 เรื่อง ‘การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)’ ณัฐพล ใจจริง เขียนก่อนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ปีการศึกษา 2552 จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ทั้ง 5 ท่านได้ลงมติเป็น ‘เอกฉันท์’ ให้เป็นวิทยานิพนธ์ดีมาก (Excellent) โดย ‘ไชยวัฒน์ ค้ำชู’ ในฐานะประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์เป็นผู้เขียนเหตุผลที่คณะกรรมการประเมินให้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก

   

สำหรับกรรมการ 5 ท่าน ประกอบด้วย

  • ไชยวัฒน์ ค้ำชู ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
  • นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
  • สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
  • วีระ สมบูรณ์
  • กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อาจารย์ที่ปรึกษา

 

 

นักวิชาการประวัติศาสตร์มองเป็นความขัดแย้งทางความคิดข้ามรัชสมัย

THE STANDARD สัมภาษณ์ ‘ชาญวิทย์ เกษตรศิริ’ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงปัญหาการฟ้องร้องงานวิชาการในอดีตและคดีฟ้องร้องกรณีล่าสุด

 

ชาญวิทย์กล่าวว่า กรณีวิทยานิพนธ์ถูกฟ้องร้องในอดีตที่ผ่านมามักจะเป็นปัญหาเรื่องว่าคนนี้ขโมยงานคนโน้น คนโน้นขโมยงานคนนี้ ขโมยไอเดียบ้างหรือไม่ก็ก๊อบปี้บ้าง แต่เรื่องที่ฟ้องกันใหญ่โตมโหฬารแบบกรณี ณัฐพล ใจจริง อาจจะเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นปัญหาความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองของประเทศไทยยุคปัจจุบัน

 

“ผมคิดว่ามันเป็นปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยกทางความคิดในช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 9 และสืบต่อมารัชกาลที่ 10 ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเรื่องเล็กจึงถูกทำให้เป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบารมีเดิม อำนาจเดิม รับไม่ได้กับวิธีคิด วิธีมอง วิธีตีความปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงรัชสมัยที่แล้วแบบนี้

 

“ฉะนั้นเมื่อบังเอิญมีปัญหาเชิงอรรถกรณีการใช้เอกสาร ก็เป็นโอกาสที่กลุ่มบารมีเดิม อำนาจเดิม จะทำเรื่องเหล่านี้ให้เป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา 

 

“แต่ในแง่ของผม ถ้ามองอีกด้านหนึ่งก็ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเลย ซึ่งอาจจะไม่ได้รับรู้เรื่องนี้ไม่ได้สนใจเรื่องนี้ เกิดความคิดความอ่าน เกิดความเข้าใจกับสิ่งที่เรียกว่าประวัติศาสตร์การเมืองของไทยในช่วงรัชกาลที่แล้ว

 

“คือเราต้องยอมรับว่าในช่วงรัชกาลที่แล้วซึ่งเป็นรัชสมัยที่ยาวมากๆ มีปรากฏการณ์อะไรหลายอย่าง ถ้าใช้คำของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ก็คือปรากฏการณ์ที่เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องการตอกย้ำสิ่งที่เรียกว่าราชาชาตินิยม ถ้าเรากลับไปดูเราก็จะเห็นชัดเจนขึ้น ความขัดแย้งที่มาถกเถียงกันต้องขึ้นศาลเป็นคดีความแบบนี้ ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน

 

“หรือถ้าจะยืมคำของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ใช้คำสั้นๆ มากๆ ‘The Bhumibol Consensus’ (ฉันทามติภูมิพล) ซึ่งผมแปลเป็นภาษาไทยว่า ฉันทามติในหลวงรัชกาลที่ 9 ผมว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรามองข้ามไป”

 

 

ความขัดแย้งในสายธารเดียวกันในรอบทศวรรษ

 

ชาญวิทย์กล่าวถึงความขัดแย้งในรอบสิบกว่าปีมานี้เป็นความต่อเนื่องนับแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ถึงปัจจุบันว่า เป็นความขัดแย้งที่อยู่ในกระแสเดียวกัน จุดเปลี่ยนสำคัญคือวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540, การขึ้นมามีอำนาจของทักษิณปี 2544, การรัฐประหารทักษิณปี 2549, การรัฐประหาร ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี 2557 กระทั่งความขัดแย้งในปัจจุบันปี 2564 ซึ่งกระบวนการตุลาการตีความข้อเรียกร้องปฏิรูปเป็นการล้มล้าง

 

“เริ่มจากยุคต้มยำกุ้ง วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งเปิดโอกาสให้คนแบบ ทักษิณ ชินวัตร วิธีคิดวิธีเล่นการเมืองแบบทักษิณขึ้นมาเป็นกระแสใหญ่ ทำให้กลุ่มบารมีเดิม กลุ่มอำนาจเดิมรับไม่ได้ ช่วงนั้นเกิดปรากฏการณ์ ‘เสื้อเหลือง’ ผมคิดว่าช่วงปลายรัชสมัยที่แล้วจะเห็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

 

“ความขัดแย้งมาเห็นชัดเจนเมื่อมีการรัฐประหารล้ม ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2549 ตามมาด้วยปรากฏการณ์แบ่งสี มี ‘เสื้อเหลือง-เสื้อแดง’ มีการปราบปราม มีกระบวนการตุลาการจัดการมาโดยตลอด

 

“ต่อมาเกิดการรัฐประหารล้มรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี 2557 ความขัดแย้งก็ต่อเนื่องเป็นกระแสเดียวกัน ซึ่งยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน

 

“กระบวนการตุลาการยาวนานมาจนถึงกระทั่งตีความว่า เรียกร้องให้มีการปฏิรูป แปลว่า ล้มล้าง ผมว่าความขัดแย้งนี้มาในกระแสเดียวกัน

 

“ส่วนงานเขียนที่เป็นงานซึ่งถูกมองว่าคุกคาม ทำลายความน่าเชื่อถือกลุ่มอำนาจเก่า หนังสือแบบนี้มีไม่น้อยและเด็กๆ ที่เคลื่อนไหวอ่านอะไรกันบ้าง บางครั้งก็น่าตกใจ อ่านอะไรที่เราไม่คิดว่าจะอ่าน อย่างเช่น Common Sense สามัญสำนึก

 

 

มองเสรีภาพทางวิชาการผ่านกรณีณัฐพล

สำหรับข้อถกเถียงถึงเสรีภาพทางวิชาการกับข้อกล่าวหาว่าเป็นการบิดเบือน ชาญวิทย์กล่าวว่า “เสรีภาพก็ต้องมีขอบเขต มันไม่ใช่ทำอะไรก็ได้ ไม่ใช่พูดได้ตามใจคือไทยแท้ อะไรแบบนั้น ไม่ใช่แน่ๆ เพราะฉะนั้นก็ต้องอ้างอิงข้อมูล แต่ในกรณีนี้ส่วนที่มีปัญหาเชิงอรรถ อาจารย์ณัฐพลก็ขอแก้ไขกับทางจุฬาฯ แล้ว ถ้าจะยกเฉพาะกรณีขึ้นมาก็เฉพาะกรณีนี้

 

“ในส่วนหนึ่งผมคิดว่าอาจารย์ณัฐพลเขาก็ยอมรับไปแล้วเรื่องเชิงอรรถก็น่าจะจบ ถ้าในประเทศที่เป็นอารยะแล้ว เป็นประชาธิปไตยแล้ว เรื่องนี้จะเป็นเรื่องเล็ก อาจจะขอโทษและชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วเรื่องก็จบ แต่กรณีนี้การที่ไม่จบเพราะมีความขัดแย้งกันซึ่งอยู่ลึกมาก ไม่ใช่ประเด็นวิชาการเพียวๆ แต่เป็นความขัดแย้งเรื่องตัวบุคคลด้วย มองอีกด้านหนึ่งก็สะท้อนปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทย แม้กระทั่งจำนวนตัวเลขค่าเสียหาย 50 ล้านบาท อะไรแบบนี้มันก็ใหญ่โตมโหฬารเกินที่มนุษย์ธรรมดาจะคิดออก

 

“ในแง่ของผม ผมมองว่างานของอาจารย์ณัฐพลและงานของคนจำนวนไม่น้อยเลยที่พูดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งซึ่งเปิดหูเปิดตา เพราะแต่ก่อนเราคิดว่าสถาบันกษัตริย์ไทยก็เหมือนๆ กับสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษ เหมือนๆ สถาบันจักรพรรดิของญี่ปุ่น แต่ผมว่าในกรณีของไทยไม่ใช่

 

“เพราะฉะนั้นวิธีมองของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์เกษียร เตชะพีระ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ หลายท่านที่ถูกจัดเป็นกลุ่มฝ่ายซ้าย ‘กลุ่มไม่เอาเจ้า’ ซึ่งเปิดให้เราเห็นสังคมไทยมากกว่าที่เราเคยเห็น ทำให้เราไม่เพ้อฝันหรือมีลักษณะไม่สัมผัสกับความเป็นจริงยิ่งกว่าอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์

 

“มันคล้ายๆ ยุคทศวรรษ 1960 ช่วงสงครามเย็น ยุคที่นักวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก ในสหรัฐอเมริกามองสังคมไทย ผมว่าเขาโรแมนติกกับมัน แต่เขาไม่ได้มองในอีกด้านหนึ่งที่มันไม่ใช่

 

“คืออย่างถ้าเราดูประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นฉบับทางการ ก็จะเป็นอย่างนั้นคือเป็นเรื่องการฝันเฟื่อง

 

“แต่ถ้ามองอีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่เราเรียกว่าพัฒนาการทางด้านการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของสยามไทย มันเป็นประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวดมากๆ เหยื่อรายแรกๆ อาจจะเป็นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย ที่เสนอเรื่องการปฏิรูป เสนอเรื่องว่าจะต้องมีรัฐธรรมนูญ เสนอว่าพระมหากษัตริย์ไม่ควรที่จะมามีบทบาทในการเมืองการปกครอง ควรจะมีนายกรัฐมนตรี ควรจะมีคณะรัฐมนตรีทำงาน อย่างในกรณีการปฏิรูปของญี่ปุ่น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็เสนอแบบนี้ แต่จบลงที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ต้องไปอยู่นอกประเทศ ไปบวชเป็นพระจนกระทั่งอายุมาก เมื่อรัชกาลที่ 5 สวรรคตจึงได้กลับมาเมืองไทย ผมว่านี่คือเหยื่อรายแรก

 

“ถ้าเรามองต่อมาอีกอย่างไม่โรแมนติกเกินไป เมื่อถึงรัชกาลที่ 6 ก็มีคนอย่างกลุ่ม ร.ศ. 130 จะเรียกว่า กบฏหมอเหล็งหรือปฏิวัติหมอเหล็งก็ตาม นี่ก็อีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการจะเห็นบ้านเมืองของไทยเป็นสมัยใหม่ มีรัฐธรรมนูญ มีการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย แต่ไม่สำเร็จ ถูกจับติดคุกยาวเลย แล้วมาสำเร็จในยุคคณะราษฎร 2475”

 

 

ชาญวิทย์เผย ถูกขอให้เป็นพยาน

 

สำหรับกรณีที่ฝ่ายโจทก์มีนักวิชาการที่เห็นต่างกับวิทยานิพนธ์ของณัฐพลเป็นผู้ให้ข้อมูลกับโจทก์และเป็นพยานฝ่ายโจทก์ด้วยนั้น ชาญวิทย์กล่าวว่า “ทางฝ่ายจำเลยคืออาจารย์กุลลดาก็ขอให้ผมไปเป็นพยานจำเลย ซึ่งผมได้ตอบตกลงด้วยความยินดี และอวยพรขอให้อาจารย์ปลอดภัยทั้งจากมารร้ายทางวิชาการและขอให้ปลอดภัยทั้งจากโรคห่าโควิด

 

“เป็นเรื่องประหลาดที่อาจารย์กุลลดาโดนฟ้องอยู่คนเดียว กรรมการคนอื่นไม่โดน เขาอาจจะเลือก เพราะงานวิชาการของอาจารย์กุลลดาก็คงไม่เป็นที่พอใจของคนกลุ่มหนึ่งจำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน” ชาญวิทย์กล่าว

 

 

ทนายความเผย เคสอาจารย์กุลลดา ต้องฟ้องศาลปกครอง

 

ความคืบหน้าล่าสุด (1 ธันวาคม) วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของกุลลดา จำเลยที่ 2 ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD ว่า วานนี้ (30 พฤศจิกายน) ศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 โดยศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 1 เนื่องจากเห็นว่าคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มีผลให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ การสู้คดีฝ่ายจำเลยจะไม่มีข้อต่อสู้หรือเหตุผลในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 สามารถมาเบิกความต่อศาล ให้ข้อเท็จจริงในฐานะพยานจำเลยอื่นๆ ได้แม้ไม่สามารถยื่นข้อต่อสู้ของตัวเอง

 

ทนายความจำเลยที่ 2 กล่าวด้วยว่า จำเลยที่ 2 และทีมทนายเห็นว่าคดีนี้ควรจะอยู่ในอำนาจศาลปกครอง เนื่องจากเป็นการฟ้องในขณะอาจารย์กุลลดาทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มาตรา 5 วางหลักว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้

 

ดังนั้นทนายจึงเห็นว่า โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานรัฐต่อศาลปกครอง ไม่สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐได้ ทีมทนายจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้ส่งสำนวนให้ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองหรือไม่ ซึ่งศาลแพ่งจะทำความเห็นในสำนวนคดีส่งศาลปกครองว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลใด ถ้าหากศาลปกครองมีความเห็นต่างกับศาลแพ่ง ก็จะต้องส่งสำนวนคดีนี้ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลต่อไป ทั้งนี้ ศาลแพ่งนัดฟังความเห็นของศาลปกครอง วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.30 น.

The post ฟ้องวิทยานิพนธ์ ‘ณัฐพล ใจจริง’ สะท้อนความขัดแย้ง-แตกต่างทางความคิด ข้ามรัชสมัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตาจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์หลัง ‘จุรินทร์’ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค – THE STANDARD DAILY 15 พฤษภาคม 2562 https://thestandard.co/thestandarddaily15052562/ Sat, 18 May 2019 02:09:01 +0000 https://thestandard.co/?p=250117 thestandarddaily

THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เวล […]

The post จับตาจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์หลัง ‘จุรินทร์’ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค – THE STANDARD DAILY 15 พฤษภาคม 2562 appeared first on THE STANDARD.

]]>
thestandarddaily

THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เวลา 20.00 

 

  • เฟซไทม์สด วิเคราะห์การเมืองกับ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร จับตาจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์หลัง ‘จุรินทร์’ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ขั้วไหนได้เปรียบ-เสียเปรียบ

 

สามารถติดตาม THE STANDARD Daily ได้เป็นประจำทุกวันจันทร์ศุกร์ เวลา 20.00 เป็นต้นไป ที่ Facebook Live และ Youtube Live ของ thestandardth

The post จับตาจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์หลัง ‘จุรินทร์’ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค – THE STANDARD DAILY 15 พฤษภาคม 2562 appeared first on THE STANDARD.

]]>