โสภณ ศุภมั่งมี – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 18 Oct 2019 07:50:12 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กล้ากินไหม แซลมอนตัดแต่งยีน https://thestandard.co/salmon-genetically-modified/ https://thestandard.co/salmon-genetically-modified/#respond Wed, 17 Jan 2018 10:32:15 +0000 https://thestandard.co/?p=63010

“เนื้อปลาแซลมอนนี้ถูกตัดแต่งยีน” นี่อาจจะเป็นป้ายฉลากบน […]

The post กล้ากินไหม แซลมอนตัดแต่งยีน appeared first on THE STANDARD.

]]>

“เนื้อปลาแซลมอนนี้ถูกตัดแต่งยีน”


นี่อาจจะเป็นป้ายฉลากบนแพ็กเนื้อปลาแซลมอนตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปในอีกไม่ช้า แน่นอนว่าหลายคนอาจจะไม่ได้ใส่ใจหรือแม้แต่สงสัยด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร แต่ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายคนที่อาจจะอ่านแล้วตั้งคำถามว่า มันหมายความว่าอย่างไรกัน? การตัดแต่งยีนปลาแซลมอนทำได้จริงๆ เหรอ? ที่สำคัญ มันปลอดภัยจริงๆ เหรอ?


เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัท AquaBounty Technologies ประกาศว่าพวกเขาได้ขายปลาแซลมอนที่ตัดแต่งยีนเป็นปริมาณ 4.5 ตันให้กับร้านค้าต่างๆ ในประเทศแคนาดา นี่ถือเป็นบันทึกหน้าแรกของประวัติศาสตร์การซื้อขายสัตว์ที่ถูกตัดแต่งยีนเพื่อเป็นอาหารให้แก่ผู้บริโภคในตลาด


แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ทางบริษัทใช้เวลากว่า 20 ปี แทบล้มละลายมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง โดยพวกเขายื่นขอใบอนุญาตจาก FDA (US Food and Drug Administration) ครั้งแรกตั้งแต่ปี 1995 ขั้นตอนหลังจากนั้นก็ติดๆ ขัดๆ มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและกฎหมายควบคุมสัตว์และพืชที่ถูกตัดแต่งยีนหลายครั้ง กว่าจะถึงขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety Assessment) ก็ปี 2010 หลังจากนั้นก็ต้องผ่านการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกหลายปี ซึ่งก็มีข่าวลืออีกนั่นแหละว่าความล่าช้าที่เกิดขึ้นนั้นมาจากผลประโยชน์ทางการเมืองที่ขัดแย้งและไม่ลงตัว


เอลิสัน ฟาน เอเนนนาม (Alison Van Eenennaam) นักพันธุศาสตร์สัตว์ของ University of California, Davis กล่าวว่า “นี่เป็นการเปิดประตูแห่งความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้เลยทีเดียว เพราะที่ผ่านมา กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้โลกได้ใช้ประโยชน์จากมันเลย” โดยเฉพาะหลังจากที่เทคโนโลยีตัดแต่งยีนอย่าง CRISPR เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น กฎข้อบังคับต่างๆ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

 

 

ปลาแซลมอนของ AquaBounty (ซึ่งเป็นพันธุ์หนึ่งของ Atlantic Salmon) ถูกตัดแต่งยีนให้เติบโตเร็วขึ้นมากกว่าปลาแซลมอนธรรมชาติประมาณ 2 เท่า ใช้เวลาเพียง 18 เดือน (จากปกติประมาณ 3 ปี) ก็สามารถกลายเป็นแซลมอนซาชิมิในร้านอาหารได้ทันที


พวกเขาขายปลาแซลมอนชุดแรกไปเท่ากับราคาตลาด แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลว่าผู้ซื้อคือใคร เพราะถึงแม้ว่าแซลมอนของพวกเขาจะผ่านกฎข้อบังคับต่างๆ เรียบร้อย ปัญหาที่น่าหนักใจต่อจากนี้คือการยอมรับของผู้บริโภคต่อตัวสินค้ามากกว่า


สมาชิกวุฒิสภารัฐอะแลสกา ลิซ่า เมอร์คาวสกี (Lisa Murkowski) ถึงขั้นออกมาเรียกร้องให้ FDA แบนการซื้อขายปลาแซลมอนที่ตัดแต่งยีนบนท้องตลาดจนกว่าจะหาหนทางบ่งบอกผู้บริโภคอย่างชัดเจนว่าตนเองกำลังซื้อเนื้อปลาชนิดไหน เธอบอกว่าแซลมอนของ AquaBounty นั้นควรถูกเรียกว่า Frankenfish (เหมือนมอนสเตอร์แฟรงเกนสไตน์ที่ถูกตัดแต่งทดลองทางวิทยาศาสตร์) หรือ Fake fish (ปลาเทียม) เสียมากกว่า แม้ยังไม่มีกฎข้อบังคับว่าร้านที่ขายปลาแซลมอนตัดแต่งยีนต้องเขียนป้ายบอกลูกค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งบอกว่าพวกเขาไม่มีทางขายปลาประเภทนี้แน่นอน


นอกจากนี้ แม้ว่า AquaBounty จะเดินหน้าเต็มกำลังเพื่อผลิต Frankenfish ออกมาสู่ท้องตลาด แต่ปริมาณของมันก็เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับแซลมอนธรรมชาติ เทียบได้เพียงหยดน้ำในกะละมัง เอาเป็นว่าในเวลานี้ยังไม่ต้องกังวลไปว่าปลาแซลมอนที่เพิ่งรับประทานไปเมื่อกี้มาจากไหน เพราะโอกาสที่จะได้เจอปลาแซลมอนตัดแต่งยีนนั้นน้อยมากจริงๆ


มีหลายฝ่ายออกมาต่อต้านและเรียกร้องให้ FDA นำเรื่องนี้กลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพราะบางกลุ่มอย่าง Center for Food Safety ถึงขั้นฟ้องร้องทางกฎหมาย กล่าวหาว่าทาง FDA นั้นตัดสินใจไปโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่ตามมาในธรรมชาติอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากพอ เพราะลองคิดดูให้ดี ถ้าเกิดปลาแซลมอนที่ถูกตัดแต่งยีนเรียบร้อยหลุดออกไปในระบบนิเวศ (โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร และเราสามารถควบคุมมันได้หรือเปล่า แซลมอนในธรรมชาติจะเติบโตด้วยอัตราเร็วเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น


แน่นอนว่าผู้บริหารของ AquaBounty เห็นต่างในประเด็นนี้ เขาบอกว่าปลาแซลมอนตัดแต่งยีนนั้นถือว่าส่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะปลาเหล่านี้สามารถเลี้ยงให้เติบโตใกล้เมืองต่างๆ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งแพงระยับจากที่ไกลๆ สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น โอกาสติดเชื้อโรคร้ายต่างๆ สำหรับปลาของเขาก็น้อยกว่า เพราะเลี้ยงในตู้ ซึ่งเขาเห็นว่าต่อไปการตอบรับของตลาดนั้นน่าจะดีขึ้น ไม่มีการขาดแคลนเนื้อปลาแซลมอนสำหรับผลิตอาหารเลี้ยงประชากรทั่วโลกแน่นอน


FDA ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นหรือบ่งบอกว่าตอนนี้มีการยื่นขออนุญาตสำหรับสัตว์ตัดแต่งยีนอีกหรือเปล่า เพราะมีข่าวว่าหลายบริษัทกำลังตัดแต่งยีนให้วัวไม่ต้องมีเขา หรือแม้แต่หมูที่ไม่ต้องมีการทำหมัน เพื่อลดขั้นตอนและรายจ่ายในการเลี้ยงดูก่อนถูกแปรรูปเป็นอาหารเย็นของเราทุกคน


เมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท Okanagan Specialty Fruits ประกาศว่าได้เริ่มการผลิตแอปเปิ้ลสีทอง (Golden Delicious Apple) เพื่อให้พวกมันไม่มีสีคล้ำเมื่อโดนอากาศ โดยคาดว่าน่าจะเริ่มต้นขายได้ภายในปลายปีนี้ ทางบริษัทจะหั่นแอปเปิ้ลเป็นชิ้นพร้อมรับประทานใส่ในถุง โดยจะมีร้านค้าที่เข้าร่วมอยู่ประมาณ 400 กว่าร้านในตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนียและทางฝั่งมิดเวสต์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการตัดแต่งยีนเพื่อความสวยงามมากกว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิต และแน่นอนว่าไม่ได้มีกฎหมายบังคับให้ทางบริษัทบ่งบอกว่าแอปเปิ้ลถุงนี้ถูกตัดแต่งยีนมาหรือไม่ ซึ่งทางบริษัทเองก็พยายามไม่สร้างความแตกตื่นให้ผู้บริโภค โดยเขียนคำว่า ‘GMO Apple’ ติดหน้าห่อ ถึงแม้จะเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขานั้นปลอดภัยดีก็ตาม


นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการตัดแต่งยีนในพืชและสัตว์ จริงอยู่ว่ามันคงเป็นหยดน้ำในกะละมังขนาดใหญ่ แต่ก็อย่าลืมว่าพอมันมีหลายๆ หยดเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แม้จะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปก็ตาม เมื่อรู้ตัวอีกที น้ำทั้งกะละมังอาจจะเปลี่ยนไปหมดแล้วก็ได้


ผมหันไปถามภรรยาว่า “ถ้าเป็นไปได้ อยากรู้ไหมว่าแซลมอนที่เรารับประทานเข้าไปถูกตัดแต่งยีนหรือเปล่า” เธอหันกลับมาตอบ “ถ้ารู้ก็ดี แต่ถ้าไม่รู้แล้วทุกอย่างถูกตัดแต่งยีนหมด ทั้งแซลมอน หมู เนื้อ ผัก และผลไม้ เรามีทางเลือกอื่นด้วยเหรอ”


นั่นสินะ…เรายังมีทางเลือกอื่นอีกไหม

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

 

อ้างอิง:

The post กล้ากินไหม แซลมอนตัดแต่งยีน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/salmon-genetically-modified/feed/ 0
เปิดลิ้นชักสมอง ทวงคืนความทรงจำที่หายไป https://thestandard.co/alzheimers-disease/ https://thestandard.co/alzheimers-disease/#respond Wed, 17 Jan 2018 10:18:14 +0000 https://thestandard.co/?p=63001

หลายครั้งที่เวลาไปซื้อของที่ซูเปอร์มาเก็ตผมต้องใช้เวลาน […]

The post เปิดลิ้นชักสมอง ทวงคืนความทรงจำที่หายไป appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลายครั้งที่เวลาไปซื้อของที่ซูเปอร์มาเก็ตผมต้องใช้เวลานานเป็นพิเศษ เหตุผลหลักๆ เลยคือเป็นคนขี้ลืม ถึงแม้ว่าพยายามจดเอาไว้ในมือถือว่าตอนนี้ที่บ้านขาดอะไรบ้าง พอไปถึงที่ซูเปอร์ฯ จริงๆ ก็ลืมเอาขึ้นมาดู (บอกแล้วนะว่าขี้ลืม)

 

การเดินดูเล่นไปเรื่อยๆ มองสินค้าต่างๆ บนชั้นเป็นการกระตุ้นความทรงจำว่า “เออ…น้ำยาล้างจานที่บ้านก็หมดนะ อ๋อแล้วก็นำ้ยาล้างขวดนมลูกด้วย นั่นๆ ถุงใส่น้ำนมก็เหมือนเหลือนิดเดียว…ฯลฯ” แล้วลิสต์รายการซื้อก็จะงอกเงยขึ้นมาเรื่อยๆ

 

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากประสบการณ์เหล่านี้คือความจริงแล้วผมไม่ได้ลืมหรอก ความคิดความทรงจำต่างๆ มันฝังตัวอยู่ที่ไหนสักแห่งในสมองนั่นแหละ ปัญหาคือเราต้องใช้วิธีการไหนเพื่อจะเข้าถึงมันได้เท่านั้น

 

นี่เป็นแนวคิดหนึ่งที่เหล่านักวิทยาศาสตร์พยายามพิสูจน์เกี่ยวกับอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอัลไซเมอร์ เพราะเคยมีความเชื่อที่ว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นจะค่อยๆ ‘ลบ’ ความทรงจำของผู้ป่วยไปจนหมด ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไรผู้ป่วยก็จะยิ่งเลอะเลือนและไม่สามารถจำอะไรได้อีกเลย แม้กระทั่งชื่อตนเองหรือคนรักที่เคยเป็นทั้งชีวิต (ยกตัวอย่างหนังโรแมนติกสุดคลาสสิกอย่าง ‘The Notebook’)

 

 

ในตอนนี้ผลการทดลองในหนูที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ชี้ว่าความจริงแล้วอาการป่วยของโรคนี้แค่เพียงรบกวนระบบการเรียกคืนความทรงจำเท่านั้น ไม่ใช่การลบทิ้งแล้วหายไปเลยตลอดกาล และที่น่าสนใจกว่านั้นคือมันสามารถถูกกระตุ้นและเรียกคืนกลับมาได้อีกด้วย

 

การค้นพบครั้งนี้อาจจะเป็นการปฏิวัติวงการในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการพัฒนายาที่สามารถช่วยเรียกความทรงจำบางส่วนย้อนกลับคืนมาได้ มันคงเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนที่อยู่รอบข้างอย่างแน่นอนทีเดียว

 

เพื่อทดสอบว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นมีผลกระทบต่อความทรงจำยังไง นักทดลองต้องหาทางแยกแยะความทรงจำแต่ละชิ้นว่าอยู่ในสมองส่วนไหนของหนูทดลองบ้าง พวกเขาเลยตัดแต่งยีนของหนูทดลองให้นิวรอนในสมองเรืองแสงสีเหลืองเมื่อเก็บความทรงจำ และถ้าเรียกคืนความทรงจำก็จะเรืองแสงสีแดง หลังจากนั้นก็แบ่งหนูทดลองนี้ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนูปกติและหนูที่ได้รับยาที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

 

หลังจากนั้นหนูทั้งสองกลุ่มนี้ก็ถูกนำมาทดสอบอีกครั้ง ขั้นตอนแรกคือการฝังความทรงจำเข้าไปในสมอง โดยระหว่างที่ดมกลิ่นมะนาวก็จะถูกช็อตด้วยกระแสไฟอ่อนๆ เพื่อให้มันสะดุ้ง ตอนนี้เองที่นักทดลองต้องบันทึกว่านิวรอนในสมองส่วนไหนที่เรืองแสงเป็นสีเหลือง

 

หลังจากนั้นประมาณหนึ่งอาทิตย์ก็นำเจ้าหนูพวกนี้กลับมาทดลองอีกครั้งหนึ่ง หนูที่สุขภาพแข็งแรงดีโดยส่วนมากแล้วเมื่อได้กลิ่นมะนาวอันเดิมปุ๊บ มันจะหยุดเดินและเกร็งตัว เพราะคิดว่าตัวเองกำลังจะโดนไฟช็อต ภาพสแกนในสมองตอนนั้นส่วนที่เรืองแสงสีเหลืองกับสีแดงก็จะทับซ้อนกัน ซึ่งหมายความว่าเจ้าหนูพวกนี้เรียกความทรงจำเกี่ยวกับประสบการณ์ ‘มะนาว-โดนช็อต’ กลับคืนมาจากจุดที่เก็บไว้ได้อย่างถูกต้อง

 

แต่หนูที่มีลักษณะคล้ายผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นมากกว่าครึ่งเมื่อได้กลิ่นมะนาว พวกมันจะหยุด แล้วสักพักก็เดินต่อ ซึ่งภาพสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนูพวกนี้เรียกความทรงจำผิดที่ เพราะส่วนเรืองแสงสีแดงไม่ได้ซ้อนทับกับจุดเรืองแสงสีเหลือง นี่เองที่เป็นหลักฐานบ่งบอกว่าที่พฤติกรรมของมันแตกต่างดูผิดปกติออกไปเพราะมันอ่านความทรงจำออกมาผิดส่วน คล้ายกับคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดเรียกไฟล์ A แต่กลับได้ไฟล์ B ออกมาแทน

 

จุดนี้สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักให้ข้อมูลที่ผิดพลาดเวลาถูกถาม ยกตัวอย่างคำถามง่ายๆ เช่น “เช้านี้ทานข้าวกับอะไร?” ผู้ป่วยอาจจะไปดึงความทรงจำเมื่อสิบปีก่อนออกมาแล้วบอกว่า “กินกุ้งเผา” ทั้งๆ ที่เมื่อกี้เพิ่งทานข้าวผัดแหนมไปประมาณนั้น

 

การทดลองยังไม่สิ้นสุด เมื่อรู้แล้วว่าความทรงจำฝังตัวอยู่ตรงส่วนไหนของสมอง นักทดลองก็เลยทดสอบว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่จะกระตุ้นให้หนูทดลองที่เป็นอัลไซเมอร์นั้นดึงข้อมูลตรงส่วนนั้นกลับมาได้อีก พวกเขาเลยลองใช้กระบวนการที่เรียกว่า ‘optogenetics’ ซึ่งเป็นเทคนิคทางชีวภาพที่ฉายแสงเลเซอร์สีน้ำเงินเข้าตามสายไฟเบอร์ออปติกเพื่อควบคุมและทดสอบการทำงานของเซลล์เนื้อเยื่อที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรม

 

พูดให้เข้าใจง่ายกว่านั้นก็คือพวกเขาได้ทดลองฉายแสงไปยังส่วนเก็บความทรงจำของสมองของหนูที่ป่วย ผลลัพธ์ที่ได้คือหนูจะหยุดเดินและเกร็งตัว เพราะคิดว่าตัวเองจะโดนช็อตเหมือนหนูกลุ่มที่แข็งแรงปกติเช่นกัน

 

ความทรงจำที่เราคิดว่า ‘หาย’ ที่จริงแล้วอาจจะไม่ได้หายไปไหนหรอก และนี่แสดงให้เห็นว่าเรายังมีโอกาสเรียกมันกลับคืนมาอีกด้วย แต่เทคนิคการฉายแสงแบบนี้ยังไม่ปลอดภัยมากพอที่จะใช้กับมนุษย์ได้โดยตรง แต่ในอนาคตอาจจะมีการผลิตยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะจุดเพื่อเรียกความทรงจำที่เลือนหายไปกลับคืนมาก็เป็นได้

 

ถ้าการเรียกคืนความทรงจำแบบในหนูทดลองสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในมนุษย์ได้คงเป็นประโยชน์ไม่น้อย มันอาจจะเป็นหลักฐานชิ้นใหญ่ในการเรียกคืนความทรงจำของจำเลยในคดีสำคัญๆ ในชั้นศาล (ที่ความทรงจำถูกบล็อกเนื่องจากอาการช็อก) หรือขนาดที่ว่าสามารถเรียกดูความทรงในวัยเด็กที่เราจำไม่ได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยซ้ำ

 

ถึงตอนนี้เราอาจจะมีข้อพิสูจน์ว่าความทรงจำนั้นไม่ได้หายไปไหนหรอก มันอยู่ที่ไหนสักแห่งในสมองนี่แหละ แต่ในเมื่อเราไม่รู้ว่ามันเก็บไว้ตรงไหน การเรียกคืนให้ตรงจุด 100% ก็เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้

 

ปัญหาที่ควรต้องระวังและคิดกันให้รอบคอบคือถ้าเกิดไปเรียกคืนความทรงจำที่เราอยากลืมขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้น ความทรงจำที่ดีนั้นมีคุณค่าตีเป็นเงินตราไม่ได้ก็จริง แต่ในขณะเดียวกันความความทรงจำอันเลวร้ายหากเป็นไปได้ก็ไม่มีใครอยากเรียกมันให้คืนมาเช่นเดียวกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

 

อ้างอิง:

The post เปิดลิ้นชักสมอง ทวงคืนความทรงจำที่หายไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/alzheimers-disease/feed/ 0