โรงงานอุตสาหกรรม – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 11 Jun 2024 14:24:40 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ข่าวโรงงานทยอยปิดตัวไปทีละราย ปีนี้คนไทยตกงานแล้วกว่า 40,000 คน สัญญาณอันตรายกำลังบอกอะไร https://thestandard.co/factory-closures-40k-job-losses/ Tue, 11 Jun 2024 14:23:37 +0000 https://thestandard.co/?p=944057

เรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า “อ่อนแอก็แพ้ไป”    […]

The post ข่าวโรงงานทยอยปิดตัวไปทีละราย ปีนี้คนไทยตกงานแล้วกว่า 40,000 คน สัญญาณอันตรายกำลังบอกอะไร appeared first on THE STANDARD.

]]>

เรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า “อ่อนแอก็แพ้ไป” 

 

คำพูดนี้อาจใช้ได้ในบางสถานการณ์ที่ต้องการแรงฮึดสู้ แต่หากถามถึงสภาพเศรษฐกิจไทยและการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในเวลานี้คงต้องบอกว่า ไม่มีใครอยากแพ้ แต่ด้วยหลายๆ ปัจจัยกำลังบีบให้อ่อนแอ

 

THE STANDARD WEALTH ชวนอ่านสรุปบทความวิเคราะห์ ‘โรงงานไทยที่กำลังปิดตัวบอกอะไรเรา? จาก KKP Research ที่กำลังสะท้อนภาพความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทย 

 

โดยมีสารตั้งต้นที่พบว่า ดัชนีการผลิตของไทย ‘ติดลบติดต่อกันกว่า 1 ปี’ มากไปกว่านั้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนักของเศรษฐกิจไทยคือ การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่วัดจากดัชนีการผลิต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มีการหดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 จนถึงเดือนมีนาคม 2567 หรือต่อเนื่องกันกว่า 1 ปี 3 เดือน นับเป็นการโตติดลบติดต่อกันที่ยาวนานมากที่สุด

 

ครั้งหนึ่ง แม้ว่าวัฏจักรการค้าโลกจะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2566 แล้วก็ตาม แต่สัญญาณถัดมาที่น่ากังวลกว่านั้นคือ

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

การปิดโรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้นชัดเจน!

 

ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2566 โดยค่าเฉลี่ยการปิดโรงงานของไทยอยู่ที่ 57 โรงงานต่อเดือนในปี 2564 และ 83 โรงงานต่อเดือนในปี 2565 ในขณะที่พุ่งสูงขึ้นถึง 159 โรงงานต่อเดือนในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ส่งผลให้หากนับรวมตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นมาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2567 มีโรงงานปิดตัวลงไปแล้วกว่า 1,700 แห่ง 

 

“กระทบการจ้างงานกว่า 42,000 ตำแหน่ง”

 

‘ไม่ใช่แค่โรงงานปิด แต่โรงงานเปิดใหม่ก็ลดลงเช่นกัน’

 

การปิดตัวของโรงงานเพียงอย่างเดียวอาจไม่สะท้อนภาพทั้งหมด แต่ตัวเลขการเปิดตัวโรงงานใหม่ที่ลดลงกว่าในอดีต ยังย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมไทยที่ไม่ดีนัก เพราะการเปิดโรงงานใหม่มีทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน จึงทำให้ยอดการเปิดโรงงานสุทธิ (จำนวนโรงงานเปิดหักลบด้วยโรงงานปิด) ในภาพรวมชะลอตัวลงอย่างมากจากค่าเฉลี่ยที่เป็นบวกสุทธิประมาณ 150 โรงงานต่อเดือน ลดลงเหลือเพียง 50 โรงงานต่อเดือน 

 

 

การผลิตอุตสาหกรรมหดตัว กดดันโรงงานปิดตัว

 

สถานการณ์การเปิดและปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรมยังมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละกลุ่ม สอดคล้องกับการเติบโตของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างกัน

 

โดยอุตสาหกรรมที่มี ‘การปิดตัวโรงงานเร่งขึ้น’ ในช่วงที่ผ่านมาเป็นกลุ่มเดียวกันกับอุตสาหกรรมที่ดัชนีการผลิตมีการหดตัวลง ซึ่งสะท้อนว่า การพิจารณาภาคการผลิตในภาพรวมอาจไม่สะท้อนสถานการณ์ของบางกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่กว่าค่าเฉลี่ย

 

โดยอุตสาหกรรมที่มีทิศทางน่ากังวลเนื่องจากมีการหดตัวของการผลิตและโรงงานปิดตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ

 

  • กลุ่มการผลิตเครื่องหนัง 
  • การผลิตยางอุตสาหกรรมการเกษตร
  • อุตสาหกรรมไม้และการผลิตเครื่องจักร

 

โรงงานขนาดใหญ่ปิดตัว โรงงานขนาดเล็กเปิดแทน



ในมิติของขนาดและพื้นที่ของโรงงาน การปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมาพบว่ากระจุกตัวอยู่ในกลุ่มโรงงานขนาดใหญ่เป็นหลัก ในขณะที่โรงงานเปิดใหม่ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก 

 

สะท้อนว่า ปัญหาการผลิตที่ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากปัจจัยเฉพาะของกิจการเอง เนื่องจากโรงงานขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะเปราะบางกว่าโรงงานขนาดใหญ่ จากสถานะทางการเงินที่มีแนวโน้มอ่อนแอกว่าบริษัทใหญ่

 

 

การปิดตัวที่เกิดขึ้นจากโรงงานขนาดใหญ่เป็นหลักเป็นภาพสะท้อนว่า ปัญหาการปิดตัวโรงงานเกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างในภาพใหญ่ที่กระทบกับอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรม

 

หนี้เสียในภาคอุตสาหกรรมพุ่ง

 

ข้อมูลอีกหนึ่งชุดที่ตอกย้ำความน่ากังวลของสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมคือ ‘การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในภาคการผลิต’ ที่มีสัญญาณเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน และสะท้อนปัญหาที่รุนแรงในภาคอุตสาหกรรมไทย มากกว่าเป็นการชะลอตัวชั่วคราว ซึ่งนำไปสู่ความจำเป็นต้องปิดโรงงานและกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้

 

โดย KKP Research พบความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมที่มีการปิดตัวของโรงงานสูงกับอุตสาหกรรมที่หนี้เสียปรับตัวสูงขึ้น และโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปิดตัวมากกว่ามีแนวโน้มที่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียสูงกว่าด้วย

 

ดัชนีเศรษฐกิจแบบเดิมอาจจับชีพจรภาคอุตสาหกรรมไทยไม่ได้ทั้งหมด

 

นอกจากนี้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญอยู่ การติดตามแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุและที่มาที่ไปที่ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงไป

 

โดยปัญหาการหดตัวของหลายหมวดการผลิตในสินค้าไทยไม่ได้เกิดจากเฉพาะปัจจัยชั่วคราวด้านอุปสงค์หรือตามวัฏจักรเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย ทำให้แม้ว่าในอดีตการผลิตของไทยและโลกจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สอดคล้องกันมาโดยตลอด

 

แต่ในช่วงที่ผ่านมาจะสังเกตเห็นว่า การผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทยเริ่มมีทิศทางที่ไม่สอดคล้องกับการผลิตของประเทศอุตสาหกรรมหลักในภูมิภาคและการผลิตของโลก ภาวะการค้าโลกที่ฟื้นตัวในระยะต่อไปจึงไม่ได้หมายความว่าภาคการผลิตไทยจะฟื้นตัวได้ดีเสมอไป

 

 

สแกนภาคการผลิต สินค้าใดบ้างที่น่าเป็นห่วง

 

แม้การผลิตที่ยังเคลื่อนไหวตามวัฏจักรปกติ เป็นกลุ่มสินค้าที่ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นได้หากอุปสงค์กลับมาเติบโตขึ้น ซึ่งคิดเป็นประมาณ 47% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมด

 

  • การผลิตที่ปรับตัวลดลงตามสินค้าคงคลังที่สูง กลุ่มอุตสาหกรรมที่ในช่วงที่ผ่านมามีระดับสินค้าคงคลังที่สูงกว่าปกติมาก และอาจกลับมาปรับตัวดีขึ้นได้บ้างเมื่อสินค้าคงคลังเริ่มปรับตัวลดลง 
  • การผลิตที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น การผลิต Hard Disk Drive (HDD) ที่ถูกทดแทนด้วย Solid State Drive (SSD) ซึ่งส่งผลกระทบให้การผลิต HDD หดตัวต่อเนื่องมานาน 
  • การผลิตเหล็กที่ถูกทดแทนด้วยการแข่งขันจากสินค้าจีน สินค้ากลุ่มนี้คิดเป็นกว่า 35% ของมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตทั้งหมด

 

คำถามคือ ภาคอุตสาหกรรมไทยไปทางไหนต่อ ท่ามกลางความท้าทายที่เพิ่มขึ้น?

 

ข้อมูลการเปิด-ปิดโรงงานของอุตสาหกรรมไทยในมุมมองของ KKP Research นับเป็นภาพสะท้อนและผลลัพธ์ของการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมที่พึ่งพามูลค่าเพิ่มจากภาคอุตสาหกรรมกว่า 35% ของมูลค่าเศรษฐกิจ

 

โดยตั้งแต่หลังช่วงโควิดมากลับกลายเป็นภาคบริการที่ขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงต่อเนื่อง 

 

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าข้อมูลเดือนล่าสุดของการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทยจะกลับมาเป็นบวกในรอบมากกว่า 1 ปี และหลายฝ่ายยังหวังว่าจากภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ปรับตัวดีขึ้นจะกลับมาช่วยภาคอุตสาหกรรมไทยกลับมาขยายตัวได้

 

อย่างไรก็ตาม KKP Research กลับมีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อสถานการณ์อุตสาหกรรมไทยในระยะยาว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

 

  • การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในบางกลุ่มสินค้าหลัก เช่น การเปลี่ยนจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นรถยนต์ EV โดยในช่วงที่ผ่านมามีการส่งออกรถยนต์ EV ราคาถูกจากจีนมายังไทย และส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งยอดขายและราคารถยนต์ ICE ในไทย 
  • การเปลี่ยนจากการใช้ HDD เป็น SSD ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นต่อเนื่องในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อราคา EV และ SSD มีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้เข้ามาทดแทนเทคโนโลยีเก่าได้เร็วและกว้างขึ้น
  • การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากสินค้าจีน โดยในปัจจุบันไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่เพียงแต่เฉพาะสินค้าในกลุ่มยานยนต์ที่เข้ามายังไทยเท่านั้น แต่ไทยมีการนำเข้าจากจีนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในหลายกลุ่มสินค้าเมื่อเทียบกับการนำเข้าทั้งหมด รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีต้นทุนต่ำกว่าสินค้าที่ผลิตในไทย

 

ภาพ: Olivier Douliery / AFP 

 

  • มาตรการกีดกันการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มทวีความเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งในกรณีที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง มีแนวโน้มที่จะมีมาตรการกีดกันทางการค้าจากจีนและโลกเพิ่มเติม ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้การค้าโลกในภาพรวมชะลอตัวลง และมีโอกาสที่สินค้าจากจีนจะทะลักมายัง ASEAN รวมถึงไทยเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการระบายสินค้าของจีนไปยังตลาดส่งออกอื่น 
  • ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น และเริ่มลุกลามมาสู่อุตสาหกรรมที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย ที่เห็นได้ชัดคืออุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเริ่มมีค่ายรถยนต์อย่าง Suzuki ยุติการผลิตในประเทศไทยตามยอดขายที่ลดต่ำลง

 

จากข้อมูลข้างต้นกล่าวโดยสรุปว่า การเร่งดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมและปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ยังจำเป็นต้องทำ ควบคู่ไปกับการหาเครื่องยนต์ใหม่มาทดแทนเครื่องยนต์เดิมของเศรษฐกิจที่หายไป ไม่เช่นนั้นคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยมีศักยภาพการเติบโตต่ำลงไปเรื่อยๆ

 

ส.อ.ท. ยอมรับ โครงสร้างการผลิตของไทยแข่งกับเพื่อนบ้านไม่ได้แล้ว

 

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ข้อมูลกับ THE STANDARD WEALTH ว่า น่าห่วงว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยมีมูลค่า 94,274 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เวียดนามมีมูลค่าส่งออก 123,928 ล้านดอลลาร์, มาเลเซีย 101,589 ล้านดอลลาร์, อินโดนีเซีย 81,922 ล้านดอลลาร์ และฟิลิปปินส์ 17,975 ล้านดอลลาร์

 

 

ในแง่ของโครงสร้างการผลิตก็สะท้อนชัดเจนว่า ไทยแข่งขันกับภูมิภาคไม่ได้แล้ว ที่สำคัญการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือที่เรียกว่า FDI ของไทย เทียบหลายประเทศก็ ‘น้อยมาก’ โดยปี 2566 FDI Netflow ของอินโดนีเซีย อยู่ที่ 21,701 ล้านดอลลาร์, เวียดนาม 18,500 ล้านดอลลาร์, มาเลเซีย 8,255 ล้านดอลลาร์ และไทย 2,969 ล้านดอลลาร์ 

 

“ไทยรั้งท้ายแบบไม่น่าเชื่อ” เกรียงไกรกล่าว

The post ข่าวโรงงานทยอยปิดตัวไปทีละราย ปีนี้คนไทยตกงานแล้วกว่า 40,000 คน สัญญาณอันตรายกำลังบอกอะไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
รมว.อุตสาหกรรม ชี้เหตุโรงงานไฟไหม้เป็นภัยความมั่นคง ห่วงผลกระทบประชาชน https://thestandard.co/pimphattra-on-factory-fires/ Tue, 07 May 2024 07:18:38 +0000 https://thestandard.co/?p=930720 รมว.อุตสาหกรรม ชี้เหตุ โรงงานไฟไหม้ เป็นภัยความมั่นคง ห่วงผลกระทบประชาชน

วันนี้ (7 พฤษภาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล พิมพ์ภัทรา​ วิชัยกุ […]

The post รมว.อุตสาหกรรม ชี้เหตุโรงงานไฟไหม้เป็นภัยความมั่นคง ห่วงผลกระทบประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
รมว.อุตสาหกรรม ชี้เหตุ โรงงานไฟไหม้ เป็นภัยความมั่นคง ห่วงผลกระทบประชาชน

วันนี้ (7 พฤษภาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล พิมพ์ภัทรา​ วิชัยกุล​ รัฐมนตรี​ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม​ กล่าวถึงการขนย้ายกากแคดเมียมว่า​เป็นห่วงเรื่องฝน​ ขณะนี้พยายามขนกากแคดเมียมที่อยู่นอกอาคารเข้าไปเก็บด้านใน และพยายามให้เป็นไปตามแผน​ สิ่งไหนที่ปรับเพื่อคลายความกังวลของประชาชนก็ทำ​ เช่น​ เรื่องรถขนส่ง เปลี่ยนมาใช้ตู้คอนเทนเนอร์​ทั้งหมด​ โดยเมื่อวานนี้ออกจากจังหวัดสมุทรสาครไปแล้ว​ 8 คัน​ ถึงที่หมายจังหวัดตากเป็นที่เรียบร้อยแล้ว​ และตอนนี้กำลังเคลื่อนถุงลงจากรถ​

 

ขณะที่กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานอุตสาหกรรม​บ่อยครั้ง​ พิมพ์​ภัทรา​กล่าวว่า​ ส่วนหนึ่งมาจากอากาศ​ ซึ่งตอนนี้มีการเฝ้าระวัง​ ล่าสุดคณะกรรมการ​สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ​ที่มี พล.ต.อ. พัชรวาท​ วงษ์​สุวรรณ​ รองนายก​รัฐมนตรี​ และ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ​และ​สิ่ง​แวดล้อม​ เป็นประธาน​ ได้สั่งการให้แต่ละจังหวัด​และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง​ออกสำรวจพื้นที่​โรงงานที่มีความเสี่ยง​ภายใน​ 20 วัน​ และนำรายชื่อเข้าคณะกรรมการ​ฯ และทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แบ่งคณะไปตรวจเช่นกัน​ แต่เรื่องนี้คงต้องระมัดระวัง​ ไม่ว่าจะเป็นคนในพื้นที่หรือหน่วยงานต้องช่วยกัน​

 

ส่วนที่คณะกรรมาธิการ​การอุตสาหกรรม​ สภาผู้แทนราษฎร​ วิเคราะห์ว่าเป็นการวางเพลิงเพื่อเลี่ยงกฎหมายใหม่ที่จะมาบังคับใช้​ พิมพ์​ภัทรา​กล่าวว่า​ คิดได้หลายมุม​ อันดับแรกกฎหมายบังคับแล้ว​ว่าจะต้องเคลียร์กากตะกอนสารเคมีออกจากโรงงาน​ ถ้าคิดในมุมไม่ดี​ ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่​ การเผาไม่ต้องเสียค่ากำจัด​ ซึ่งผู้ประกอบการต้องยอมรับด้วยว่าการกระทำแบบนี้มีผลกระทบต่อประชาชน​โดยรอบจำนวนมาก​ เรื่องนี้คงเป็นเรื่องการวางเพลิงไม่ได้​ จะต้องยกระดับความรุนแรง​ ปฏิบัติการแบบนี้หมายถึงความมั่นคงแล้ว​ จึงขอความช่วยเหลือจากฝ่ายความมั่น​คง​ ไม่ว่าตำรวจหรือดีเอสไอเข้าไปดูแลเรื่องนี้ด้วย​

 

พิมพ์​ภัทรา​ยังกล่าวอีกว่า​ โรงงานที่ถูกศาลสั่งให้คืนพื้นที่และต้องจัดการกับกากสารเคมีทราบว่ามีกี่เจ้า​ เพียงแต่เวลาทำไม่ดีทำได้ง่ายกว่า​ คนที่ไม่รับผิดชอบทำง่ายกว่าคนที่รับผิดชอบ​ ซึ่งขณะนี้มีโรงงานในลักษณะ​ดังกล่าว​ 6-10 โรงงาน​

 

ส่วนจะเอาผิดโรงงานเหล่านี้ได้หรือไม่​ พิมพ์​ภัทรา​กล่าวว่า​ วันนี้ที่ทำควบคู่กันไปคือกรมโรงงานอุตสาหกรรม​เสนอแก้กฎหมายเพิ่มโทษ​ พร้อมย้ำว่า​ เรื่องนี้เป็นภัยความมั่นคงที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบ​ เราไม่ได้มองแค่เรื่องไฟไหม้​ แต่ยังมองไปถึงสภาพการณ์ที่ชาวบ้านต้องเจอ​

 

ส่วนที่เริ่มเข้าฤดูฝน​ขณะนี้มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ​และ​สิ่ง​แวดล้อม​มามอ​นิเตอร์เรื่องสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ​ เข้าใจว่าประชาชนในพื้นที่เจอปัญหามากที่สุด​ พร้อมระบุว่า ยืนยันได้ลำบากว่าน้ำจะปนเปื้อนสารเคมีจากโรงงานลงสู่แหล่งน้ำหรือไม่​ อย่างที่จังหวัดระยองและพระนครศรีอยุธยา​ ขณะนี้ได้ขอให้กรมป้องกัน​และ​บรรเทา​สาธารณภัย​ หรือ​ ปภ.​ สร้างพนังกั้นน้ำ​ แต่ต้องดูว่าจะสามารถทำได้หรือไม่​

 

พิมพ์​ภัทรา​กล่าวทิ้งท้ายว่า​ ช่วงนี้ กมธ.การอุตสาหกรรมเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงไปชี้แจงทุกสัปดาห์​ ซึ่งสัปดาห์นี้หากไม่ติดธุระ​ก็จะไป

The post รมว.อุตสาหกรรม ชี้เหตุโรงงานไฟไหม้เป็นภัยความมั่นคง ห่วงผลกระทบประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักสำรวจชี้ พบพะยูนที่ตรังน้อยลง หลังแหล่งอาหารเสื่อมโทรมจากวิกฤตโลกร้อนและอุตสาหกรรม https://thestandard.co/explorer-mentioned-dugong-decrease/ Sat, 09 Mar 2024 08:18:18 +0000 https://thestandard.co/?p=909217 พะยูนตรัง

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพซากพะยูนเกยตื้นบริเวณปากคลองบ้ […]

The post นักสำรวจชี้ พบพะยูนที่ตรังน้อยลง หลังแหล่งอาหารเสื่อมโทรมจากวิกฤตโลกร้อนและอุตสาหกรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
พะยูนตรัง

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพซากพะยูนเกยตื้นบริเวณปากคลองบ้านพร้าว ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและขนย้ายซากไปยังศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) เพื่อชันสูตรหาสาเหตุการตาย

 

วันนี้ (9 มีนาคม) กฤติเดช กรองทอง นักบินผู้ช่วย สมาคม Nok Flying Club และ The Flying Scouts ซึ่งในปีนี้ตัวเขาเป็นนักบินผู้ช่วยทำการบินสำรวจพะยูนในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดรอบข้าง เช่น ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง, สุราษฎร์ธานี และบริเวณทะเลสาบสงขลา เป็นปีที่ 3 แล้ว เปิดเผยกับ THE STANDARD ว่า ในช่วงการบินสำรวจปีนี้ ปรากฏว่าพบสถานการณ์ความน่าเป็นห่วงของพะยูนรวมถึงแหล่งอาหาร

 

เบื้องต้นภาพที่ปรากฏทางโซเชียลมีเดีย พะยูนที่เกยตื้นตายนั้นเป็นพะยูนที่ยังเด็กอยู่ มีอาการป่วย น้ำหนักน้อยกว่าช่วงวัยปกติ เมื่อมีการผ่าชันสูตรภายในกระเพาะอาหารมีอาหารค่อนข้างน้อยกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ต้องรอผลการชันสูตรที่ละเอียดอีกครั้ง

 

โดยในปีนี้นอกจากการบินสำรวจเบื้องต้นพบว่าการพบเห็นตัวพะยูนค่อนข้างยากขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาการสำรวจพะยูนจะพบค่อนข้างง่ายกว่าในปีนี้ เนื่องจากธรรมชาติได้ฟื้นตัวช่วงโควิด ทั้งนี้ ต้องรอการสรุปผลการสำรวจหลังเสร็จสิ้นช่วงการสำรวจอีกครั้ง

 

จังหวัดตรังถือเป็นพื้นที่ที่มีการพบพะยูนจำนวนมาก เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารนั่นคือหญ้าทะเล แต่ในขณะนี้ด้วยอุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทำให้ปริมาณแหล่งอาหารของพะยูนลดลง 

 

“อยากให้ภาครัฐชัดเจนเรื่องการดูแลควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่ตรัง มันตอบไม่ได้โดยตรงว่าส่งผลมากน้อยแค่ไหน แต่อุตสาหกรรมมันก็สร้างมลพิษเข้ามาแน่นอน

 

“อย่างที่เราบินสำรวจช่วงปีนี้ ปกติภาคใต้ท้องฟ้าใส แต่ขณะนี้เริ่มมีมลภาวะสูง อยากให้ใส่ใจกับตรงนี้มากขึ้น มีนโยบายภาครัฐที่ทุ่มงบประมาณมาถึงการสำรวจบ้าง” กฤติเดชกล่าว พร้อมกล่าวส่งท้ายว่า “อยากให้รักษาทรัพยากรที่มีอยู่นี้ให้มีไปตลอด ไม่ใช่มาถึงวันที่ต้องพูดว่าเคยมี”

 

สำหรับการบินสำรวจนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดขึ้นมาเพื่อสำรวจทรัพยากรในทะเลว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร โดยมีจิตอาสาที่เข้ามาช่วยบินสำรวจมาแล้วนับ 10 ปี 

 

ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวด้านนิเวศทางทะเล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุถึงแหล่งอาหารของพะยูนว่า หญ้าทะเลตรัง-กระบี่ตายเป็นจำนวนมากจากโลกร้อน ซึ่งหญ้าตายหนนี้เริ่มตายปี 2565-2567 ยังไม่มีท่าทีว่าจะฟื้น และอาจขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากโลกร้อนไม่หยุด และมีรายงานหญ้าเสื่อมโทรมในลักษณะคล้ายกันในพื้นที่อื่นๆ เช่น เกาะพระทอง (จังหวัดพังงา) อีกหลายพื้นที่กำลังสำรวจเพิ่มเติม

 

“ภาพที่เห็นคือหญ้าทะเลไหม้เนื่องจากน้ำลงต่ำผิดปกติ น้ำร้อน แดดแรง ปัจจุบันในพื้นที่นั้นหญ้าตายหมดแล้ว และหญ้าทะเลยังตายจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนรุนแรง บางแห่งเน่าจากปลาย บางแห่งเน่าเฉพาะโคนก่อนใบขาด และยังมีความเป็นไปได้ในเรื่องของโรค (เชื้อรา)” ผศ.ดร.ธรณ์ระบุ

 

อ้างอิง: 

The post นักสำรวจชี้ พบพะยูนที่ตรังน้อยลง หลังแหล่งอาหารเสื่อมโทรมจากวิกฤตโลกร้อนและอุตสาหกรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
สาธิตลงพื้นที่ปราจีนบุรีบ่ายนี้ ติดตามสารซีเซียม-137 รั่วไหล สั่ง รพ.สต.-อสส. ให้ความรู้ประชาชน เตรียมพร้อมรักษา 100% https://thestandard.co/satit-visit-prachinburi-trace-cs-137/ Tue, 21 Mar 2023 04:34:12 +0000 https://thestandard.co/?p=766013

วันนี้ (21 มีนาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐ […]

The post สาธิตลงพื้นที่ปราจีนบุรีบ่ายนี้ ติดตามสารซีเซียม-137 รั่วไหล สั่ง รพ.สต.-อสส. ให้ความรู้ประชาชน เตรียมพร้อมรักษา 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (21 มีนาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดรักษาการครั้งแรกหลังยุบสภา สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ตรวจพบพื้นที่รั่วไหลของสารเคมีซีเซียม-137 (CS-137) ว่า วันนี้ในช่วงบ่ายจะลงพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และในวันพรุ่งนี้ (22 มีนาคม) จะลงพื้นที่จังหวัดระยอง โดยจะไปให้ความรู้เกี่ยวกับค่าสัมผัสสารเคมีและการใกล้ชิดสารเคมีมากหรือน้อยอย่างไร ซึ่งจะลงพื้นที่เพื่อให้เครือข่ายของกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความรู้กับประชาชน ถ้าหากมีอาการที่น่าสงสัยก็ต้องเตรียมความพร้อมในกรณีที่มีการรั่วไหลจริง

 

สาธิตกล่าวต่อไปว่า ในพื้นที่จังหวัดระยองมีศูนย์อาชีวะเภสัชศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี และจะมีกรมยุทธศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีในโรงงาน โดยในทุกส่วนของระบบสาธารณสุขเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุ และต้องมีการรักษาที่ 100%

 

สาธิตกล่าวอีกว่า หากประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนใกล้ชิดกับสารเคมีดังกล่าว สามารถแจ้งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เพื่อให้รับทราบข้อมูล และหากคนที่อยู่ในพื้นที่เกิดอาการคันเล็กน้อย สามารถเข้าพบกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรับคำปรึกษาและมีการบันทึกข้อมูลได้ทันที

The post สาธิตลงพื้นที่ปราจีนบุรีบ่ายนี้ ติดตามสารซีเซียม-137 รั่วไหล สั่ง รพ.สต.-อสส. ให้ความรู้ประชาชน เตรียมพร้อมรักษา 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ กำชับเข้มงวดลงพื้นที่ตรวจโรงงานอุตสาหกรรม จากเหตุที่ซีเซียม-137 หาย ขอประชาชนไม่ต้องห่วง รัฐบาลคุมสถานการณ์ได้ https://thestandard.co/pm-inspect-industrial-factories-cs-137/ Tue, 21 Mar 2023 04:09:56 +0000 https://thestandard.co/?p=765995 ธนกร วังบุญคงชนะ

วันนี้ (21 มีนาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ธนกร วังบุญคงชนะ รั […]

The post นายกฯ กำชับเข้มงวดลงพื้นที่ตรวจโรงงานอุตสาหกรรม จากเหตุที่ซีเซียม-137 หาย ขอประชาชนไม่ต้องห่วง รัฐบาลคุมสถานการณ์ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธนกร วังบุญคงชนะ

วันนี้ (21 มีนาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงกรณีท่อกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ได้หายไปจากโรงไฟฟ้า อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี และตรวจพบในโรงงานหลอมเหล็กที่อำเภอกบินทร์บุรีว่า วันนี้ได้พูดคุยกับอธิบดีกรมโรงงาน และเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งมีมาตรการออกมา และจะรายงานให้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ

 

แต่ในส่วนที่ตนรับผิดชอบในฐานะรักษาการ รมว.อุตสาหกรรม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมาแล้วว่า ให้ลงพื้นที่ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างเข้มงวด วันนี้ต้องยอมรับว่าเศษเหล็กในเมืองไทยที่มีจำนวนกว่า 5 ล้านตัน แบ่งเป็นนำเข้ามา 1.5 ล้านตัน และในประเทศประมาณ 3.5 ล้านตัน ซึ่งอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกรมศุลกากรแล้วว่าให้เข้มงวดในการนำเศษเหล็ก 1.5 ล้านตันเข้ามา เพราะในพื้นที่อำเภอแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี มีเครื่องวัดรังสีอยู่ ฉะนั้นหากเข้มงวดตรงนั้นในด่านแรกเชื่อว่าปัญหาแบบนี้คงไม่เกิดขึ้น แต่ในส่วนของซีเซียม-137 ที่มีปัญหา ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปควบคุมพื้นที่แล้ว และดูแลประชาชน ขอประชาชนไม่ต้องห่วง รัฐบาลพยายามทำทุกอย่างให้สถานการณ์คลี่คลาย และควบคุมสถานการณ์ได้อยู่ในตอนนี้

The post นายกฯ กำชับเข้มงวดลงพื้นที่ตรวจโรงงานอุตสาหกรรม จากเหตุที่ซีเซียม-137 หาย ขอประชาชนไม่ต้องห่วง รัฐบาลคุมสถานการณ์ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
งานวิจัย มธ. ถอดผลกระทบพิษโควิด ‘หนี้รัฐ-เอกชน-ครัวเรือน’ พุ่งต่อเนื่อง วิถีชีวิตคนเปลี่ยน แนะเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เกาะกระแส Metaverse-ลดพึ่งพาท่องเที่ยว https://thestandard.co/tu-rac-research-about-thai-economic-and-impact-of-covid/ Tue, 16 Nov 2021 08:59:38 +0000 https://thestandard.co/?p=560363 เศรษฐกิจไทย

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสต […]

The post งานวิจัย มธ. ถอดผลกระทบพิษโควิด ‘หนี้รัฐ-เอกชน-ครัวเรือน’ พุ่งต่อเนื่อง วิถีชีวิตคนเปลี่ยน แนะเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เกาะกระแส Metaverse-ลดพึ่งพาท่องเที่ยว appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจไทย

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) เปิดเผยผลวิจัย ‘ภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) และการพัฒนาการผลิตวัคซีนภายในประเทศ’ โดยสรุปภาพรวมผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาใน 8 ด้านสำคัญ ดังนี้

 

  1. หนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในปี 2563 เพิ่มขึ้นแตะ 51.83% และคาดว่าเพิ่มต่อเนื่องอีกเป็น 55.59% ในปี 2564 ซึ่งใกล้ระดับเพดานความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60%
  2. หนี้เอกชน ซึ่งเป็นการกู้ยืมเงินจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงแรกของการระบาดของโรคโควิด เพื่อจะให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการต่อได้ โดยเฉพาะการระบาดระลอก 3 ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 จึงทำให้มูลค่าการออกตราสารหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 61.90% และคาดการณ์ว่าครึ่งหลังปี 2564 จะมีการออกตราสารหนี้ใหม่อีกกว่า 4 แสนล้านบาท
  3. หนี้ครัวเรือน ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 คนไทยมีหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 13.59 ล้านล้านบาท และเพิ่มต่อเนื่องจนไตรมาสที่ 1 ในปี 2564 มีประมาณ 14.13 ล้านล้านบาท โดยผู้กู้มีทั้งเพื่ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และรถยนต์ และกลุ่มผู้กู้เพื่อหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจและใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  4. การท่องเที่ยว ในปี 2563 รายได้จากการท่องเที่ยวหดตัวลงเหลือเพียง 0.8 ล้านล้านบาท ลดลง 72% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีประมาณ 3 ล้านล้านบาท มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 6.7 ล้านคน ขณะที่ปี 2562 มีสูงถึง 40 ล้านคน โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ‘Phuket Sandbox’ ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ แต่ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติ
  5. การว่างงาน มีผู้ว่างงานกว่า 7 แสนคน ตลอดช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งสูงขึ้นจากช่วงก่อนการแพร่ระบาดที่มีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 3 แสนคน
  6. ธุรกิจเลิกกิจการ โดยในปี 2563 มีถึง 20,920 ราย ทุนจดทะเบียน 91,859 ล้านบาท โดยธุรกิจที่เลิกกิจการสูงสุดคือ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และภัตตาคาร/ร้านอาหาร
  7. โรงงานอุตสาหกรรม ในปี 2563 มีโรงงานประกอบกิจการใหม่ 2,633 โรงงาน เงินลงทุนรวม 171,054 ล้านบาท คนงาน 86,797 คน ซึ่งลดลงกว่าปีก่อนที่มีโรงงานประกอบกิจการใหม่ 3,175 โรงงาน เงินลงทุนรวม 301,418 ล้านบาท คนงาน 96,492 คน และมีโรงงานที่เลิกกิจการทั้งหมด 716 โรงงาน โดยกิจการที่มีการปิดสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์จากพืช ผลิตภัณฑ์โลหะ อุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์อโลหะ
  8. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การเข้ามาของโรคโควิดเป็นตัวเร่งให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการทำธุรกิจผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เกิดการทำงานและการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ อย่างการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายตัวสูงถึง 80% จากปีก่อนหน้า หรือมีมูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท ตรงข้ามกับมูลค่าการซื้อขายผ่านหน้าร้านที่หดตัวถึง 11% ในปีเดียวกัน สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างชัดเจน รวมถึงการดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งตัวเองและคนรอบข้าง ลดการปฏิสัมพันธ์ เว้นระยะห่างทางสังคม และใส่หน้ากากอนามัย

 

อย่างไรก็ดี TU-RAC มองว่า การที่ภาครัฐมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการคนละครึ่ง, เราชนะ, ม.33 เรารักกัน, ยิ่งใช้ยิ่งได้ รวมถึงมีแผนจัดหาวัคซีนจาก 3 วัคซีนหลัก คือ AstraZeneca, Sinovac และ Pfizer รวม 127.1 ล้านโดส และหากรวมวัคซีนทางเลือกจะเท่ากับ 179.1 ล้านโดส พร้อมตั้งเป้าหมายการฉีดให้ได้ 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ จะทำให้เศรษฐกิจของไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว

 

ทั้งนี้ หากการบริหารจัดการวัคซีนเป็นไปตามแผนภายในเดือนธันวาคม 2564 จะส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศลดลงเหลือประมาณ 2,500 คนต่อวัน ผู้เสียชีวิตลดลงเหลือประมาณ 40 คนต่อวัน และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ 

 

โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเพิ่มเกือบ 3 แสนคน และเกิดการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในประเทศ กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 10.38% อยู่ที่ระดับ 70.39% สูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ดัชนีการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 6.95% รวมทั้งผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมลดลง 32.23% หรือประมาณ 4.5 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

 

“หากคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนได้ตามเป้าคือ 70% ของประชากร หรือ 100 ล้านโดส จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งปัจจุบันคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 85 ล้านโดส ทำให้มีโอกาสสูงที่เราจะทำได้ตามเป้า โดยในกรณีดีที่สุดที่หากไทยสามารถฉีดวัคซีนได้ถึง 8 แสนโดสต่อวันในช่วงที่เหลือของปี จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลงมาเหลือ 1,000 คนต่อวัน ขณะที่ผู้เสียชีวิตจะลดลงเหลือ 20 คนต่อวัน” สุทธิกร กิ่งแก้ว ผู้บริหารโครงการวิจัยกล่าว

 

สุทธิกรกล่าวว่า ด้วยอัตราดังกล่าวจะทำให้การระบาดของโรคโควิดของไทยลดลงเกือบเป็นศูนย์ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2565 และจะช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1.1 ล้านคน ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 11.26% ดัชนีการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 39.29% ผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมลดลงกว่า 70,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับปีก่อน โดยคาดการณ์ไว้ด้วยว่าปี 2565 GDP ไทยจะขยายตัวได้ 3.9%

 

สุทธิกรกล่าวอีกว่า แม้เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น แต่การเติบโตก็ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด โดยคาดว่าไทยอาจต้องใช้เวลาถึงปี 2567 ในการฟื้นตัวเพื่อกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด ขณะเดียวกัน ยังต้องจับตาเรื่องหนี้ครัวเรือนที่อาจเร่งตัวขึ้นได้อีกหากมาตรการช่วยเหลือและการผ่อนคลายการจัดชั้นหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยสิ้นสุดลง

 

“ปัญหาหนี้ครัวเรือนเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่อาจนำไปสู่วิกฤตหากเศรษฐกิจเกิดช็อกขึ้นมาอีก โดยเฉพาะในภาวะที่โรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นถี่ขึ้นอย่างเช่นในปัจจุบัน ดังนั้นไทยอาจต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะยาว ลดการพึ่งพาภาคท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวต่างชาติ หันไปพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น Cross Border E-Commerce ซึ่งสอดคล้องกับโลกที่กำลังเข้าสู่ยุค Metaverse หรือโลกเสมือน ซึ่งจะช่วยชดเชยเศรษฐกิจรูปแบบเดิมได้หากเกิดการระบาดขึ้นอีก” สุทธิกรกล่าว

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post งานวิจัย มธ. ถอดผลกระทบพิษโควิด ‘หนี้รัฐ-เอกชน-ครัวเรือน’ พุ่งต่อเนื่อง วิถีชีวิตคนเปลี่ยน แนะเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เกาะกระแส Metaverse-ลดพึ่งพาท่องเที่ยว appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนเตรียมขึ้นค่าไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน หากเอาไม่อยู่ ครัวเรือนอาจโดนด้วย https://thestandard.co/china-prepares-to-raise-electricity-costs-for-industrial-plants/ Thu, 30 Sep 2021 07:09:15 +0000 https://thestandard.co/?p=542492 electricity costs

รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าสำหรับกลุ่มโรงงานอ […]

The post จีนเตรียมขึ้นค่าไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน หากเอาไม่อยู่ ครัวเรือนอาจโดนด้วย appeared first on THE STANDARD.

]]>
electricity costs

รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าสำหรับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนพลังงานในประเทศ 

 

แหล่งข่าววงในรายหนึ่งระบุว่า ทางการจีนกำลังตัดสินใจว่าการขยับค่าไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมในครั้งนี้จะเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่ตายตัว หรือจะอ้างอิงจากการขึ้นลงของราคาถ่านหินในตลาด 

 

แหล่งข่าวรายเดียวกันยังเปิดเผยอีกว่า รัฐบาลจีนได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน ในกรณีที่การขึ้นค่าไฟสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยังไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นได้

 

การพิจารณาปรับค่าไฟฟ้าของจีนในครั้งนี้เป็นผลมาจากปัญหาขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรงใน 20 มณฑล ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันคิดเป็นมากกว่า 66% ของ GDP ประเทศ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ให้โรงงานหลายแห่งที่เป็นซัพพลายเออร์ให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple, Tesla และ Toyota ต้องหยุดเดินสายการผลิตชั่วคราว

 

โดยสาเหตุหลักของการขาดแคลนเกิดจากราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดโลก ทำให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงลดกำลังการผลิตเพื่อลดการขาดทุน เนื่องจากราคาขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในจีนถูกกำหนดเพดานไว้โดยรัฐบาล

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความกังวลไปทั่วโลก เนื่องจากโรงงานหลายแห่งในจีนที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนพลังงานอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลก การที่โรงงานเหล่านี้ต้องหยุดการผลิตหรือลดกำลังการผลิตลง ย่อมหมายถึงผลกระทบในวงกว้าง

 

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจของจีน ได้ออกมายืนยันว่า รัฐบาลจะยอมให้มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในประเทศอย่างสมเหตุสมผล โดยสะท้อนจากการเปลี่ยนของอุปสงค์ อุปทาน และต้นทุน

 

กฎหมายในหลายมณฑลของจีนอนุญาตให้ภาครัฐสามารถปรับขึ้นค่าไฟฟ้าได้สูงถึง 10% อย่างไรก็ดี หน่วยงานดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าการปรับขึ้นในครั้งนี้จะเป็นการขยับกรอบดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นจาก 10% หรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันหลายมณฑลได้ขยับค่าไฟฟ้าขึ้นจนเต็มเพดาน 10% แล้ว

 

นอกจากการปรับขึ้นค่าไฟเพื่อแก้ปัญหาแล้ว ทางการจีนยังออกมาระบุว่า จะเร่งนำเข้านำถ่านหิน เพื่อให้เป็นสต๊อกให้กับโรงไฟฟ้าในช่วงฤดูหนาวที่จะมาถึง เพื่อป้องกันการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวที่ความต้องการใช้พลังงานจะเพิ่มสูงขึ้น

 

ข่าวการพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟของทางการส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าจีนปรับตัวดีขึ้น โดยราคาหุ้น Huadian Power International Corp ปรับเพิ่มขึ้นถึง 5% หลังจากที่ตกลงไป 1.7% ในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่ราคาหุ้นของ Datang International Power Generation ปรับตัวดีขึ้น 3.5%

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post จีนเตรียมขึ้นค่าไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน หากเอาไม่อยู่ ครัวเรือนอาจโดนด้วย appeared first on THE STANDARD.

]]>
แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากร่างกายสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี https://thestandard.co/sniffing-chemicals-first-aid-method/ Mon, 05 Jul 2021 09:52:11 +0000 https://thestandard.co/?p=508547 แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากร่างกายสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี

สารพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม มักเป็นก๊าซที่ก่อให้เก […]

The post แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากร่างกายสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี appeared first on THE STANDARD.

]]>
แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากร่างกายสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี

สารพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม มักเป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ คอ หลอดลม และปอด ถ้าได้รับก๊าซพิษในปริมาณมาก อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างรุนแรงได้ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่มีสีแต่มีกลิ่นฉุน พบได้ในโรงงานอุตสาหกรรม แม้แต่ก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ เมื่อหายใจเข้าไปในร่างกาย ก๊าซนี้จะแย่งที่กับออกซิเจนในการจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถไปยังเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้ ร่างกายจึงมีอาการของการขาดออกซิเจน ทำให้หายใจไม่สะดวก ซึ่งเป็นอันตรายมากเช่นกัน นอกจากกรณีสารพิษที่หายใจเข้าไปแล้ว ยังมีสารเคมีที่หากสัมผัสผ่านผิวหนังก็เป็นอันตรายเช่นกัน หากใครได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง รวมถึงมีการสูดดมสารเคมีเข้าไป มีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นดังนี้ 

 

 

หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับสารเคมีผ่านผิวหนัง

  1. ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีและเปลี่ยนเป็นชุดอื่นทันที 
  2. ล้างผิวหนังที่มีการสัมผัสกับสารเคมีด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
  3. หากสารเคมีเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที ล้างซ้ำๆ นาน 15 นาที
  4. อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
  5. รีบนำตัวส่งแพทย์ทันทีหลังปฐมพยาบาลเบื้องต้นเสร็จ

 

หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับสารเคมีผ่านการสูดดม

  1. รีบย้ายออกมาในพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
  2. หากอาการไม่รุนแรงควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการสูดดมสารเคมี
  3. ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจ
  4. รีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

 

ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

อ้างอิง: กรมแพทย์ทหารเรือ, หน่วยอาสาเพื่อประชาชน

The post แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากร่างกายสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิธาลงพื้นที่ดูผลกระทบจากโรงงาน หลังงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมอาจถูกหั่นครึ่ง ห่วงคุณภาพชีวิตประชาชนแย่ลง https://thestandard.co/pitha-see-the-factory-effect/ Fri, 21 May 2021 14:25:37 +0000 https://thestandard.co/?p=491744 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

วันนี้ (21 พฤษภาคม) พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าว […]

The post พิธาลงพื้นที่ดูผลกระทบจากโรงงาน หลังงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมอาจถูกหั่นครึ่ง ห่วงคุณภาพชีวิตประชาชนแย่ลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

วันนี้ (21 พฤษภาคม) พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ลงพื้นที่บริเวณปากอ่าวแม่น้ำท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สำรวจพื้นที่ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม ผักตบชวา ขยะมูลฝอย และการปล่อยน้ำเสียและการปล่อยน้ำเสียที่มีผลต่อระบบนิเวศ  

 

พิธากล่าวว่า วันนี้ตนมาลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้ถูกทดสอบด้วยปัญหามาหลายครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้ง และในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการทดสอบมาหลายครั้ง และอย่างที่ทราบกันว่าในเรื่องของงบประมาณปี 2565 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภา งบที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมถูกตัดไปเกือบครึ่ง ขณะที่จังหวัดสมุทรสาครมีการเติบโตค่อนข้างสูง มี GDP เป็นอันดับ 8 ของประเทศ (ในปี 2561) มีโรงงานอยู่ 5,000 กว่าแห่ง มีแรงงานประมาณ 3 แสนกว่าคน 

 

ดังนั้นเมื่อมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรม สิ่งที่ตามมาคือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาของงบประมาณที่ผ่านมาไม่ใช่เป็นเรื่องจำนวนอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องความคุ้มค่าของงบประมาณ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการตรวจหาร่องรอยว่ามีการทุจริตหรือไม่ 

 

“จากการล่องเรือไปในแม่น้ำท่าจีนพบว่า มีโรงงานอยู่มากพอสมควร เฉพาะในเขตของอำเภอเมืองสมุทรสาครมีกว่า 3,000 แห่ง ในจำนวนนี้มีกว่า 200 แห่งที่ได้รับรายงานว่าปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำท่าจีนโดยไม่มีการบำบัด ซึ่งเป็นข้อมูลเก่าตั้งปี 2561 เทียบง่ายๆ ว่ากระทั่งสมัยก่อนที่งบประมาณพอมีก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ พี่น้องประชาชนชาวสมุทรสาครยังคงได้รับผลกระทบมากขนาดนี้ ดังนั้นหากงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปีนี้ลดลงขนาดนี้ จะมีผลต่อมาตรฐานและคุณภาพสิ่งแวดล้อมขนาดไหน” พิธากล่าว

 

พิธายังระบุด้วยว่า ถ้าในปีนี้จากงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม 1.6 หมื่นกว่าล้านบาท เหลือประมาณ 8 พันกว่าล้านบาท หายไปเกือบ 47% ก็คือเกือบครึ่ง แล้วยังบริหารทรัพยากรแบบนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็จะตามมาไม่แพ้ปัญหาสาธารณสุข พรรคก้าวไกลเมื่อพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม มันมีความหมายครอบคลุมหลายอย่าง ในอีกมุมก็คือเศรษฐกิจ อย่างที่หลายประเทศกำลังฟื้นฟูประเทศ เขาเอาสิ่งแวดล้อมเป็นตัวนำ เพราะถือเป็นโอกาสอย่างหนึ่ง และปัญหาสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัญหาเดียวกับสาธารณสุข 

 

“ดังนั้นการลงพื้นที่ในวันนี้ก็คือการเตรียมตัวในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมอย่างตรงจุด สมน้ำสมเนื้อ จึงมีความจำเป็นต้องมาลงพื้นที่เพื่อให้เห็นปัญหาจริง” พิธากล่าวทิ้งท้าย

The post พิธาลงพื้นที่ดูผลกระทบจากโรงงาน หลังงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมอาจถูกหั่นครึ่ง ห่วงคุณภาพชีวิตประชาชนแย่ลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sony เตรียมปิดโรงงานผลิตเครื่องเสียงในมาเลเซียภายในปี 2022 กระทบพนักงาน 3,600 คน https://thestandard.co/sony-to-close-malaysia-audio-factory-by-2022/ Tue, 08 Dec 2020 08:00:20 +0000 https://thestandard.co/?p=429609 Sony เตรียมปิดโรงงานผลิตเครื่องเสียงในมาเลเซียภายในปี 2022 กระทบพนักงาน 3,600 คน

Sony ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น ได้ออกมาเปิด […]

The post Sony เตรียมปิดโรงงานผลิตเครื่องเสียงในมาเลเซียภายในปี 2022 กระทบพนักงาน 3,600 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sony เตรียมปิดโรงงานผลิตเครื่องเสียงในมาเลเซียภายในปี 2022 กระทบพนักงาน 3,600 คน

Sony ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น ได้ออกมาเปิดเผยว่า จะปิดโรงงานผลิตเครื่องเสียงที่ตั้งอยู่ในรัฐปีนังของมาเลเซีย และย้ายการผลิตไปยังฐานผลิตที่ตั้งใกล้กับเมืองหลวงของประเทศอย่างกัวลาลัมเปอร์แทน พนักงานราว 3,600 คนที่โรงงานปีนังจะได้รับผลกระทบ หลายคนมีแนวโน้มที่จะถูกปลดออก ในขณะที่บางคนอาจถูกย้ายไปโรงงานอื่น

 

โรงงานปีนังของ Sony เป็นสถานที่ผลิตหลักสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องเสียง เช่น Walkman, หูฟัง และเครื่องเสียงสำหรับใช้ในบ้าน Sony มีแผนจะหยุดดำเนินการภายในสิ้นเดือนกันยายน 2021 และปิดโรงงานภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2022 หน้าที่การผลิตจะถูกโอนไปยังโรงงานในกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นส่วนหลักของ Sony ในการผลิตทีวี

 

โรงงานทั้งสองแห่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1988 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามของ Sony ในการทบทวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องเสียง โดย Sony กล่าวกับ Reuters ว่า ได้คำนึงถึงสภาวะตลาด ศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

 

ที่ผ่านมา ‘ปีนัง’ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย เป็นศูนย์กลางการผลิตของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมานานหลายทศวรรษเช่น Intel Corp, Panasonic Corp และ Dell Technologies Inc.

 

นอกเหนือจากโรงงานที่ปีนังแล้ว Sony ยังมีแผนที่จะปิดโรงงานผลิตทีวีและเครื่องเสียงในบราซิลในปีหน้า ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1984 โดยเป็นโรงงานผลิตแห่งเดียวของ Sony ในบราซิล

 

อย่างไรก็ตาม Sony ประเมินว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณปัจจุบันจะได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานจะลดลง 23% สำหรับปีสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2021 เป็น 6.7 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

The post Sony เตรียมปิดโรงงานผลิตเครื่องเสียงในมาเลเซียภายในปี 2022 กระทบพนักงาน 3,600 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>