โรคหลอดเลือดสมอง – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 19 Jun 2024 10:33:38 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คน 8.1 ล้านคนทั่วโลก เด็กเสี่ยงเสียชีวิตแซงหน้าบุหรี่ https://thestandard.co/air-pollution-kills-8m-people/ Wed, 19 Jun 2024 10:31:04 +0000 https://thestandard.co/?p=947201 มลพิษทางอากาศ

รายงานสภาวะอากาศโลกฉบับที่ 5 โดย Health Effects Institu […]

The post มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คน 8.1 ล้านคนทั่วโลก เด็กเสี่ยงเสียชีวิตแซงหน้าบุหรี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
มลพิษทางอากาศ

รายงานสภาวะอากาศโลกฉบับที่ 5 โดย Health Effects Institute (HEI) ที่จัดทำร่วมกับ UNICEF เป็นครั้งแรก รายงานว่า มลพิษทางอากาศ กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่ 2 ต่อการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก แซงหน้าบุหรี่ และเป็นรองเพียงความดันโลหิตสูงที่อยู่ในอันดับที่ 1

 

ในปี 2021 ประชากร 8.1 ล้านคนทั่วโลก และเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ มากกว่า 700,000 คน เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศซึ่งมีสาเหตุมาจาก PM2.5 ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นจากภายนอกหรือภายในครัวเรือน นอกจากนี้ประชากรอีกหลายล้านคนต้องเผชิญกับโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม เป็นอย่างมาก

 

นอกจากนั้นรายงานนี้ยังแสดงให้เห็นว่า มนุษย์เกือบทุกคนบนโลกกำลังหายใจเอามลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM2.5 ในระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพเข้าไปทุกวัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมหาศาล

 

รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เนื่องจากเด็กมีความเปราะบางต่อมลพิษทางอากาศเป็นพิเศษ โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคลอดก่อนกำหนด โรคหอบหืด โรคปอด ฯลฯ รองจากภาวะขาดสารอาหาร แม้การพัฒนาด้านสุขภาพของแม่และเด็กจะมีความก้าวหน้าขึ้นแล้ว แต่ยังมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เกือบ 2,000 คน เสียชีวิตในแต่ละวันเนื่องจากมลพิษทางอากาศ

 

หลายประเทศกำลังแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะประเทศที่กำลังเผชิญมลพิษทางอากาศรุนแรง มีการปรับปรุงคุณภาพอากาศ เช่น การรณรงค์ให้ใช้เครื่องยนต์ไฮบริดหรือรถไฟฟ้า การดำเนินนโยบายทางคุณภาพอากาศที่เข้มงวดขึ้น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่ภาครัฐรวมถึงประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกันจัดการ เพื่อไม่ให้มลพิษทางอากาศกลายเป็นภัยร้ายแรงที่สุดต่อประชากรทั่วโลก

 

 

ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล

อ้างอิง: State of Global Air (SoGA)

The post มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คน 8.1 ล้านคนทั่วโลก เด็กเสี่ยงเสียชีวิตแซงหน้าบุหรี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิจัยชี้ สูบ-กินกัญชาอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นกว่าเดิม https://thestandard.co/marijuana-heart-attack-stroke-study-wellness/ Fri, 01 Mar 2024 14:55:55 +0000 https://thestandard.co/?p=906306 สูบ-กินกัญชา

ผลวิจัยชี้ การบริโภคกัญชาทุกรูปแบบไม่ว่าจะผ่านวิธีการสู […]

The post วิจัยชี้ สูบ-กินกัญชาอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นกว่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
สูบ-กินกัญชา

ผลวิจัยชี้ การบริโภคกัญชาทุกรูปแบบไม่ว่าจะผ่านวิธีการสูบควัน การสูบน้ำมันกัญชาไฟฟ้า (Vaping) หรือการกิน ล้วนมีส่วนเชื่อมโยงต่อความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม แม้ว่าบุคคลนั้นๆ จะไม่เคยมีภาวะหัวใจผิดปกติ หรือไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนก็ตาม

 

การวิจัยนี้เป็นผลงานจากนักวิจัยของโรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ American Heart Association โดยพวกเขาทำการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านกลุ่มตัวอย่าง 430,000 คน ซึ่งมีอายุ 18-74 ปี ระหว่างปี 2016-2020 เพื่อดูว่าการใช้กัญชามีส่วนเชื่อมโยงกับความเสี่ยงด้านโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และอาการหัวใจวายเพิ่มมากขึ้นหรือไม่

 

ผลการวิจัยระบุว่า ความเสี่ยงดังกล่าวเกิดขึ้นได้ แม้แต่การบริโภคกัญชาแค่ 1 ครั้งต่อเดือน และความเสี่ยงจะยิ่งสูงขึ้นอีกตามความถี่ของการใช้งานกัญชาเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยใช้เลย โดยหากมีการบริโภคกัญชาทุกวัน ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นถึง 42% และความเสี่ยงหัวใจวายเพิ่มขึ้น 25% 

 

อับรา เจฟเฟอร์ส (Abra Jeffers) นักวิเคราะห์ข้อมูลประจำโรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในนครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยเรื่องยาสูบและการเลิกบุหรี่ และเป็นผู้เขียนหลักของการศึกษาฉบับนี้ กล่าวว่า “ควันกัญชาไม่ได้แตกต่างจากควันบุหรี่มากนัก ยกเว้นกลุ่มยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท THC กับนิโคติน”

 

“การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าการสูบกัญชามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก ไม่ต่างกับการสูบบุหรี่ ผลการศึกษาครั้งนี้สำคัญอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันคนใช้กัญชากันมากขึ้น ขณะที่ยอดการสูบบุหรี่ลดลง” เจฟเฟอร์สกล่าว

 

แฟ้มภาพ: saravutvanset via Getty Images

อ้างอิง:

The post วิจัยชี้ สูบ-กินกัญชาอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นกว่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมอนามัยเผย คนไทยเนือยนิ่ง นั่งนานเกิน 7 ชั่วโมง เสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เสียชีวิตก่อนวัยอันควร https://thestandard.co/sitting-for-more-than-7-hours-is-at-risk/ Mon, 27 Mar 2023 03:19:19 +0000 https://thestandard.co/?p=769008

วันนี้ (27 มีนาคม) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบด […]

The post กรมอนามัยเผย คนไทยเนือยนิ่ง นั่งนานเกิน 7 ชั่วโมง เสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เสียชีวิตก่อนวัยอันควร appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (27 มีนาคม) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ศึกษาวิจัยสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายเพียงพอและพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนไทย 

 

โดยวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพคนไทยในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในผู้ที่มีอายุ 18-80 ปี จำนวน 78,717 คน ครอบคลุม 77 จังหวัด พบว่า ร้อยละ 76 มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยการนั่งตั้งแต่ 7 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน และร้อยละ 72 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ 

 

สาเหตุหนึ่งที่คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานที่ใช้แรงกายลดลง เช่น การเปลี่ยนจากการทำงานภาคเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมเป็นรูปแบบการนั่งในห้องทำงานแทน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากอัตราการเผาผลาญพลังงานต่ำ 

 

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า คนไทยมีการทดแทนการขยับร่างกายที่น้อยในการทำงาน ด้วยการออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมนันทนาการในยามว่างแทน โดยเฉพาะคนเมือง พบว่ามีสัดส่วนกิจกรรมทางกายในนันทนาการและการเดินทางมากกว่าคนชนบท เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเข้าถึงสถานที่นันทนาการ โครงสร้างพื้นฐานในการเดิน เช่น ทางเดินเท้า การผังเมือง รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะในเมืองดีกว่าชนบท 

 

ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอจะลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เป็นต้น

 

ด้าน นพ.ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการ IHPP กล่าวถึงผลการศึกษาที่น่าสนใจเพิ่มเติมว่า ผู้หญิงมีอัตราส่วนการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบปรากฏการณ์นี้ จากการสำรวจระดับกิจกรรมทางกายในประเทศไทยมากว่า 30 ปี แสดงถึงความตื่นตัวต่อการขยับร่างกายในชีวิตประจำวันรวมถึงการออกกำลังกายในเพศหญิงซึ่งเป็นเรื่องที่ดี 

 

ทั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้สำนักงานสถิติได้เก็บข้อมูลทุกจังหวัดในประเทศไทยในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อระดับการมีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งที่ต่างจากช่วงปกติก่อนมีการระบาดของโควิด

The post กรมอนามัยเผย คนไทยเนือยนิ่ง นั่งนานเกิน 7 ชั่วโมง เสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เสียชีวิตก่อนวัยอันควร appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมอนามัยแนะ ควรสั่ง ‘ชาไทย’ หวานน้อยเพื่อสุขภาพ กินหวานมากเสี่ยงเบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ https://thestandard.co/anamaidoh-thai-tea-low-sugar/ Thu, 02 Mar 2023 04:52:54 +0000 https://thestandard.co/?p=757563

วันนี้ (2 มีนาคม) จากกรณีที่เว็บไซต์ TasteAtlas จัดอับด […]

The post กรมอนามัยแนะ ควรสั่ง ‘ชาไทย’ หวานน้อยเพื่อสุขภาพ กินหวานมากเสี่ยงเบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (2 มีนาคม) จากกรณีที่เว็บไซต์ TasteAtlas จัดอับดับอาหารท้องถิ่นทั่วโลก และประกาศให้ปาท่องโก๋เป็นอันดับ 5 ของหวานสตรีทฟู้ดที่ดีที่สุดของโลก รวมถึงจัดอันดับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์อย่างชาไทย ชาเย็น หรือชาสีส้ม ติดอันดับ 7 เครื่องดื่มที่อร่อยที่สุดในโลก

 

ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ชาไทยหรือชาเย็น 1 แก้ว ปริมาณ 200 มิลลิลิตร ให้พลังงานประมาณ 430 กิโลแคลอรี ขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละร้าน มีคาร์โบไฮเดรต 69 กรัม ไขมัน 15 กรัม น้ำตาล 53 กรัม หรือประมาณ 13 ช้อนชา

 

เสน่ห์ของชาไทยจะใส่นมข้นหวาน น้ำตาลหรือนมสด เพื่อให้มีกลิ่นหอม รสชาติกลมกล่อม จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 พบว่า ประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป บริโภคเครื่องดื่มชงประเภทชา กาแฟ น้ำหวาน ชานม สูงถึงร้อยละ 26.3 และกลุ่มอายุ 45-59 ปี ดื่มเครื่องดื่มชงมากที่สุดถึงร้อยละ 34.8

 

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ในแต่ละวันร่างกายไม่ควรได้รับน้ำตาลที่มากเกิน 6 ช้อนชา ดังนั้นหากดื่มบ่อยหรือเป็นประจำทุกวันจะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วนลงพุงได้ วิธีดื่มชาไทยแบบใส่ใจสุขภาพคือควรสั่งแบบหวานน้อย ใส่น้ำตาลไม่เกิน 2 ช้อนชา รวมทั้งความหวานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนมข้น น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือไซรัปในเครื่องดื่มชงเย็นทุกประเภทไม่เกิน 2 ช้อนชาเช่นเดียวกัน

 

ส่วนปาท่องโก๋นอกจากจะติดอันดับของหวานสตรีทฟู้ดแล้ว จากข้อมูลของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ปี 2559 ยังระบุว่า ปาท่องโก๋เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยในหมวดกลุ่มเบเกอรีและอาหารว่างอีกด้วย แต่สำหรับคุณค่าทางโภชนาการ โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย พบว่า ปาท่องโก๋ 100 กรัม ให้พลังงานถึง 441 กิโลแคลอรี มีคาร์โบไฮเดรต 40.56 กรัม ไขมัน 27.79 กรัม

 

นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ปาท่องโก๋ 1 คู่ขนาดกลาง จะมีน้ำหนักประมาณ 30 กรัม จึงให้พลังงานประมาณ 132 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม ไขมัน 8 กรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดว่าตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ปาท่องโก๋เป็นขนมที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันอิ่มตัว รวมทั้งให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพลังงาน แต่ก็มีโซเดียมจากผงฟูหรือเกลือปรุงรสสูงด้วย จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษและโรคความดันโลหิตสูง

 

“ปาท่องโก๋ส่วนใหญ่จะนิยมใช้น้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งก่อให้เกิดสารโพลาร์ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นวิธีกินปาท่องโก๋แบบไม่อ้วนและครบถ้วนคุณค่าจึงควรเลือกปาท่องโก๋ที่ใช้น้ำมันใหม่ในการทอด สังเกตได้จากสีที่เป็นน้ำตาลอ่อน และไม่ควรกินเกิน 2 คู่ต่อวัน อาจกินพร้อมโจ๊ก ไข่ต้ม เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนหรือกินกับผลไม้ไม่หวานจัด น้ำเต้าหู้ชนิดไม่หวานเพิ่มธัญพืช เช่น ถั่วแดง เม็ดแมงลัก ข้าวบาร์เลย์ หรือลูกเดือย เพื่อเพิ่มใยอาหารช่วยดักจับไขมัน และเลี่ยงการกินปาท่องโก๋แบบจิ้มกับดิปปิ้งอื่นๆ” นพ.สุวรรณชัยกล่าว

 

นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่ออีกว่า การกินมื้อเช้าที่ดีต่อสุขภาพควรหลีกเลี่ยงอาหารเช้าแบบเร่งด่วนที่ให้พลังงานสูงเกินไป หรือผ่านการทอดซ้ำๆ เช่น การกินปาท่องโก๋จิ้มนมข้นหวานกับเครื่องดื่มชาเย็น ควรรับประทานมื้อเช้าให้ครบ 5 หมู่ เน้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรืออาหารประเภทแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี ที่ยังคงคุณค่าของสารอาหารไว้ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต เพราะมีใยอาหารสูง ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดทำให้รู้สึกอิ่มนาน กินคู่กับไข่ต้มหรือเนื้อไก่ที่ไม่ใช้น้ำมันในการปรุงมากเกินไปก็จะได้รับโปรตีนเพิ่มเติม รวมถึงผักผลไม้ เช่น มะเขือต่างๆ หอมหัวใหญ่ กระเทียม ถั่วเหลือง แอปเปิ้ล ฝรั่ง ส้ม มะละกอ เพื่อเพิ่มใยอาหารและวิตามิน ที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานควบคู่กันไปด้วย

The post กรมอนามัยแนะ ควรสั่ง ‘ชาไทย’ หวานน้อยเพื่อสุขภาพ กินหวานมากเสี่ยงเบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิจัยเผย ‘Erythritol’ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีส่วนเชื่อมโยงอาการหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง https://thestandard.co/erythritol-linked-to-heart-attack/ Tue, 28 Feb 2023 12:04:06 +0000 https://thestandard.co/?p=756791

ผลการศึกษาฉบับใหม่ ซึ่งได้รับการเผยแพร่ลงในวารสาร Natur […]

The post วิจัยเผย ‘Erythritol’ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีส่วนเชื่อมโยงอาการหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ผลการศึกษาฉบับใหม่ ซึ่งได้รับการเผยแพร่ลงในวารสาร Nature Medicine วานนี้ (27 กุมภาพันธ์) เปิดเผยว่า Erythritol (อิริทริทอล) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีค่าแคลอรีเป็นศูนย์ มีส่วนเชื่อมโยงกับการแข็งตัวของเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย และการเสียชีวิตของมนุษย์

 

ดร.สแตนลีย์ ฮาเซน ผู้อำนวยการศูนย์วินิจฉัยและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งสถาบันวิจัย Cleveland Clinic Lerner ซึ่งเป็นผู้นำในการวิจัยฉบับนี้ กล่าวว่า ระดับของความเสี่ยงนั้น ‘สูงเกินระดับปานกลาง’ โดยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เช่น มีโรคเบาหวานอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะหัวใจวายหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หากพวกเขามีระดับอิริทริทอลในเลือดสูง

 

“หากระดับอิริทริทอลในเลือดของคุณอยู่เหนือระดับ 75% ก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับระดับอิริทริทอลในเลือดไม่เกิน 25% มันเทียบได้กับปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจที่อันตรายที่สุด เช่น โรคเบาหวาน” ฮาเซนกล่าว

 

จากการวิจัยในห้องปฏิบัติการและการวิจัยในสัตว์เพิ่มเติมพบว่า อิริทริทอลดูเหมือนจะทำให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น โดยลิ่มเลือดสามารถแตกตัวและไหลเวียนไปยังหัวใจจนทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หรืออาจไหลเวียนไปยังสมองและทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

 

ดร.แอนดรูว์ ฟรีแมน ผู้อำนวยการฝ่ายป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของ National Jewish Health แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยว่า “รายงานนี้น่าตกใจ และดูเหมือนมีความเสี่ยงที่เลือดจะจับตัวเป็นก้อนจากการรับประทานอิริทริทอล อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจะต้องเดินหน้าศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว แต่ถึงเช่นนั้นทุกคนก็ควรจำกัดปริมาณการรับประทานอิริทริทอลในมื้ออาหารตั้งแต่ตอนนี้”

 

อย่างไรก็ตาม โรเบิร์ต แรนคิน กรรมการบริหารของสภาควบคุมแคลอรี (Calorie Control Council) ซึ่งเป็นสมาคมอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยกับสำนักข่าว CNN ว่า “ผลการศึกษานี้ตรงกันข้ามกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาหลายทศวรรษ ซึ่งระบุว่า สารให้ความหวานที่มีแคลอรีต่ำ เช่น อิริทริทอล นั้นปลอดภัย ตามหลักฐานที่ได้รับอนุญาตตามกฎระเบียบทั่วโลกสำหรับการใช้งานในอาหารและเครื่องดื่ม” พร้อมระบุว่า ผลการศึกษานี้ไม่ควรนำมาใช้กับประชาชนทั่วไป เนื่องจากผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยดังกล่าวเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้ว

 

ส่วนสมาคมผู้ผลิตโพลิออลแห่งยุโรป (European Association of Polyol) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอีกชนิดหนึ่ง ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น โดยระบุว่า ยังไม่ได้ทบทวนการศึกษานี้

 

แฟ้มภาพ: Kabachki.photo Via Shutterstock 

 

อ้างอิง:

The post วิจัยเผย ‘Erythritol’ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีส่วนเชื่อมโยงอาการหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จักโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุการตายอันดับ 1 ต้นเหตุ อัมพฤกษ์ อัมพาต รู้ตัวเร็ว รอด ปลอดภัย https://thestandard.co/get-to-know-stroke/ Fri, 04 Nov 2022 09:42:46 +0000 https://thestandard.co/?p=704450

อาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เป็นสัญญาณบอกเหตุข […]

The post รู้จักโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุการตายอันดับ 1 ต้นเหตุ อัมพฤกษ์ อัมพาต รู้ตัวเร็ว รอด ปลอดภัย appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เป็นสัญญาณบอกเหตุของ ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ ในประเทศไทยมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นทุกปี และอาจมีอาการมองเห็นภาพซ้อนแบบเฉียบพลันควบคู่ไปด้วย ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง จะช่วยลดความพิการหรือเสียชีวิต 

 

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองมีกระบวนการรักษาทั้งการให้ยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง หรือการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดสมองภายใน 24 ชั่วโมง โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก 

 

ในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 1 และเป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะที่สำคัญอันดับ 2 พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง 

 

หากเกิดโรคแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติ แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและความพิการลงได้ 

 

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ประชาชนจะต้องมีความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การป้องกัน การปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเมื่อเกิดโรค โดยสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคนี้ได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรค ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ภาวะโรคอ้วน  

 

ด้าน นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า อาการเตือนสำคัญที่สังเกตได้ด้วยตนเองคือ อาการแขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดลำบาก ตามัวเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก และต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง 

 

อาการเหล่านี้มักเกิดอย่างเฉียบพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจเกิดอาการขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดอาการขึ้นหลายครั้ง ก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดอย่างถาวร 

 

สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องสังเกตอาการข้างต้นและรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด จะช่วยลดการเสียชีวิตและความพิการได้ ปัจจุบันมีกระบวนการรักษาทั้งการให้ยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง และการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดสมองหากเป็นหลอดเลือดเส้นใหญ่อุดตันภายใน 24 ชั่วโมง 

 

ทั้งนี้สถาบันประสาทวิทยาจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และความเข้าใจ โดยมีเสวนา เรื่อง ‘การดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง’ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผ่านรายการ NIT Talk ทาง Facebook Live สถาบันประสาทวิทยา

The post รู้จักโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุการตายอันดับ 1 ต้นเหตุ อัมพฤกษ์ อัมพาต รู้ตัวเร็ว รอด ปลอดภัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
โรคฮิตคนไทย รู้ทัน ป้องกัน ดูแล โดยเคล็ดลับจากหมอตั้มและเภสัชกรไทย https://thestandard.co/disease-hits-thai-people/ Fri, 01 Oct 2021 07:05:33 +0000 https://thestandard.co/?p=542967 Disease hits Thai people

จากผลการสำรวจโดยกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า 5 อันดับของโรคไ […]

The post โรคฮิตคนไทย รู้ทัน ป้องกัน ดูแล โดยเคล็ดลับจากหมอตั้มและเภสัชกรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Disease hits Thai people

จากผลการสำรวจโดยกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า 5 อันดับของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของคนไทยในปัจจุบัน คือ

 

  1. โรคความดันโลหิตสูง
  2. โรคเบาหวาน
  3. โรคหลอดเลือดสมอง
  4. โรคหลอดเลือดหัวใจ
  5. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 

ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดปกติ จนกลายเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพอย่างไม่รู้ตัวจนเป็นปัญหาเรื้อรังของคนไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบอีกว่าในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คนไทยมีการค้นหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ อ้วน ไต ซึมเศร้า มากที่สุด เป็นการสะท้อนได้ว่าในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา คนไทยมีความกังวลใจเรื่องความอ้วนและซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกักตัวอยู่บ้าน กินอาหารมากขึ้น กินอาหารไม่เป็นเวลา และมีภาวะเครียดจากโรคภัย เศรษฐกิจ จนเกิดภาวะซึมเศร้าอีกด้วย ดังนั้นเพื่อที่จะกระตุ้นและชวนคนไทยให้หันมารักและดูแลสุขภาพแบบครบวงจร บู๊ทส์ ประเทศไทย จึงมีการเชิญเฮลท์กูรูอย่าง หมอตั้ม-นพ.ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข หมอหนุ่มจากรายการ Master Chef Thailand และเจ้าของเพจดูแลสุขภาพชื่อดัง Eat Matter By หมอตั้ม มาร่วมแชร์เคล็ดลับสุขภาพร่วมกับ ภญ.พิพรรษา แววหงษ์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับคนไทยที่น่าสนใจดังนี้

 

ปัญหาหลักๆ ที่เภสัชกรมักถูกปรึกษาบ่อยๆ ในช่วงนี้

ภญ.พิพรรษา แววหงษ์ กล่าว่า ปัญหาสุขภาพหลักๆ ที่คนมาปรึกษาบ่อยๆ ส่วนมากจะเป็นเรื่องของข้อมูลโรคโควิด คนวัยทำงานกับอาการที่เกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม หรือ Work from Home Syndrome และมีความเครียดจากที่ทำงาน รวมถึงเรื่องการซื้อยาที่ตัวเองต้องใช้ประจำเพื่อรักษาอาการของโรคเรื้อรัง และปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง จึงควรดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีปริมาณสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ลดหวาน ลดเค็ม ดูฉลากทางเลือกสุขภาพก่อนเลือกซื้ออาหาร ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ เพื่อสุขภาพที่ดี สำหรับคนที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น ให้ทานยาประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ ห้ามขาด ห้ามปรับขนาดยาเอง นอกจากนี้ในสถานการณ์ล่าสุด แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ควรดูแลสุขภาพและสุขอนามัยอยู่เสมอ โดยเสริมภูมิคุ้มกันช่วงโควิดด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และสำหรับคนที่ขาดวิตามินบางตัว อาจจะรับประทานวิตามินเสริมได้ เช่น วิตามิน C, D, Zinc และ Magnesium 

 

ทางด้าน หมอตั้ม-นพ.ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข แนะนำว่า “ผมแนะนำการดูแลสุขภาพแบบ Healthy Inside Out ป้องกันโรคก่อนเกิด เช่น การคำนวณแคลอรีที่เป็นการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืน ซึ่งมี 4 ปัจจัยหลัก คือ อายุ เพศ ส่วนสูง และกิจกรรมที่แตกต่างกันของแต่ละคน นอกจากนี้ การกินและการปรุงอาหารให้เหมาะสมตามโรคที่เป็นก็สำคัญ เช่น ใครเป็นความดันโลหิตสูงอยู่ก็ต้องลดเค็ม เบาหวานก็แนะนำให้ลดน้ำตาล ลดแป้ง แต่สำหรับคนที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยิ่งต้องระวังการทานเกลือ น้ำมัน น้ำตาล ให้มากขึ้น สำหรับทุกวันนี้ที่คนไทยเป็นออฟฟิศซินโดรม หรือ Work from Home Syndrome กันเยอะ ก็จะเน้นเรื่องยืดกล้ามเนื้อเป็นหลัก แนะนำให้ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ควรลุกเดินบ่อยๆ เพื่อบริหารยืดกล้ามเนื้อไม่ให้เกิดอาการปวด สำหรับคนที่ขาดวิตามินบางตัว ก็อาจหาซื้อรับประทานเสริมได้ แต่คนที่เป็นโรคเรื้อรังโดยเฉพาะในกลุ่มไขมัน ควรระวังเวลากินวิตามิน A, D, E และ K เพราะถ้ากินเยอะไปมันจะมีการสะสมในร่างกายได้ครับ” 

 

Disease hits Thai people

 

ทางด้าน อรพรรณ พงศ์พานิช Head of Customer Experience แห่งบู๊ทส์ ประเทศไทย เผยว่า “เพื่อดูแลสุขภาพคนไทยแบบครบวงจร จึงมีการปรับ Brand Value ใหม่ สู่การเป็น Health & Wellness Solutions Provider ที่จะมีการอัปเกรดบริการให้คำปรึกษาเรื่องยาและเวชภัณฑ์กับประชาชน ให้มาปรึกษาปัญหาสุขภาพฟรี ซึ่งสามารถรับคำปรึกษาได้ทางหน้าร้านบู๊ทส์ หรือผ่านทาง Boots Mobile Application: Talk To Pharmacist / Line Chat & Shop ที่ให้ทั้งคำปรึกษา สั่งหรือจัดเตรียมสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพได้ครบทุกช่องทางที่ตอบโจทย์คนยุคนี้ให้มีความสะดวกสบายในการเข้าถึงแหล่งยา และรับคำปรึกษาจากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น”

The post โรคฮิตคนไทย รู้ทัน ป้องกัน ดูแล โดยเคล็ดลับจากหมอตั้มและเภสัชกรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผลศึกษาร่วม WHO และ ILO พบทำงานเกิน 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง-หัวใจ https://thestandard.co/who-ilo/ Tue, 18 May 2021 12:54:41 +0000 https://thestandard.co/?p=490251 ทำงานเกิน

วันนี้ (18 พฤษภาคม) ผลการศึกษาร่วมโดยองค์การอนามัยโลก ( […]

The post ผลศึกษาร่วม WHO และ ILO พบทำงานเกิน 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง-หัวใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำงานเกิน

วันนี้ (18 พฤษภาคม) ผลการศึกษาร่วมโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ (17 พฤษภาคม) พบว่าชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 745,000 รายในปี 2016 และกลายเป็นอันตรายจากการทำงานอันดับสาม เนื่องจากผู้ที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

 

การศึกษาพบว่าปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการทำงานเป็นเวลานาน 39,800 ราย และโรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน 347,000 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 นับตั้งแต่ปี 2000

 

ผู้ที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นร้อยละ 35 และมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงาน 35-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

ผู้ชายจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเหล่านี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากร้อยละ 72 ของผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย ขณะผู้อาศัยในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนคนงานวัยกลางคนหรือสูงอายุต่างได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

 

ปัจจุบันที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ยังคงแพร่ระบาด ทำให้ผู้คนต้องทำงานเป็นเวลานานเพิ่มขึ้น โดยบริษัทและรัฐบาลกำหนดให้ลูกจ้างทำงานจากบ้าน ซึ่ง ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO ชี้ว่า “การทำงานจากบ้านทำให้ขอบเขตระยะเวลาของการทำงานไม่ชัดเจน”

 

ปัจจุบันร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมดมีกะทำงานเป็นเวลานาน โดยการทำงานจากบ้านทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

 

“ไม่มีงานใดที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ” ทีโดรสกล่าว “รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง จำเป็นตกลงเรื่องขีดจำกัดเวลาทำงาน เพื่อปกป้องสุขภาพ”

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

อ้างอิง:

  • สำนักข่าวซินหัว

The post ผลศึกษาร่วม WHO และ ILO พบทำงานเกิน 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง-หัวใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สธ. ตั้งเป้าลดการเสียชีวิต 3 โรคสำคัญ เตรียมจัดระบบ ‘ฟาสต์แทร็ก’ ในโรงพยาบาล https://thestandard.co/ministry-of-public-health-fast-track-disease/ https://thestandard.co/ministry-of-public-health-fast-track-disease/#respond Sun, 21 Oct 2018 04:51:56 +0000 https://thestandard.co/?p=135265

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2562 ที่จะลดการ […]

The post สธ. ตั้งเป้าลดการเสียชีวิต 3 โรคสำคัญ เตรียมจัดระบบ ‘ฟาสต์แทร็ก’ ในโรงพยาบาล appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2562 ที่จะลดการเสียชีวิตจากสาเหตุการตายที่สำคัญของคนไทยใน 3 โรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่พบอัตราตายจากหลอดเลือดสมองแตกร้อยละ 22.3 และหลอดเลือดสมองตีบ/ตันร้อยละ 3.4 การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ที่มีอัตราป่วยตายร้อยละ 34.85 และการบาดเจ็บจากการจราจร (Trauma) ที่มีอัตราการเสียชีวิต 22.3 ต่อประชากรแสนคน

 

ล่าสุด นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าขณะนี้กระทรวงฯ กำลังเตรียมปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วยให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจัดช่องทางพิเศษ (Fast Track) ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมภายในเวลาที่เป็น Golden Period ให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ลดความพิการและการเสียชีวิต

 

นายแพทย์สุขุมกล่าวต่อว่า ในการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ 81 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กที่มีความพร้อมจัดตั้งหน่วยดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ (Stroke Unit) และช่องทางพิเศษในการดูแลโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Fast Track) พัฒนาแผนการรักษาโรค จัดระบบเครือข่ายบริการและส่งต่อ และพัฒนาบุคลากร

 

โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันระยะเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงจะได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 60 นาที และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกจะได้รับการผ่าตัดสมองภายใน 90 นาที ส่วนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง ให้มีระบบเซ็ปสิส ฟาสต์แทร็ก (Sepsis Fast Track) ได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ ได้รับยาปฏิชีวนะและสารน้ำทางหลอดเลือดดำโดยเร็วที่สุดก่อนรับไว้รักษาในหอผู้ป่วย สำหรับระบบฟาสต์แทร็กของผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง (Trauma Fast Track) ให้ผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงทางสมองได้รับการผ่าตัดสมองโดยเร็วที่สุดเพื่อลดการเสียชีวิตให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 45

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post สธ. ตั้งเป้าลดการเสียชีวิต 3 โรคสำคัญ เตรียมจัดระบบ ‘ฟาสต์แทร็ก’ ในโรงพยาบาล appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/ministry-of-public-health-fast-track-disease/feed/ 0
‘เมื่อดวงตาถูกใช้ช่วยเเทนการสื่อสาร’ รู้จัก SenzE นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพและสื่อสารลำบาก https://thestandard.co/senze-eyetrackingsystem/ https://thestandard.co/senze-eyetrackingsystem/#respond Sat, 12 Aug 2017 12:23:06 +0000 https://thestandard.co/?p=20211

     จากสถิติข้อมูลล่าสุดที่จัดเก็บโดยกร […]

The post ‘เมื่อดวงตาถูกใช้ช่วยเเทนการสื่อสาร’ รู้จัก SenzE นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพและสื่อสารลำบาก appeared first on THE STANDARD.

]]>

     จากสถิติข้อมูลล่าสุดที่จัดเก็บโดยกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี 2557 พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ประมาณ 500,000 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมากถึง 25,000 คน ขณะที่โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ซึ่งแม้จะมีโอกาสเป็นได้น้อยกว่า แต่หนทางการรักษาให้หายเป็นปกติก็ค่อนข้างริบหรี่

     ที่สำคัญผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญสภาวะการสูญเสียความสามารถทางการเคลื่อนไหวร่างกายหรือแม้แต่ ‘การสื่อสาร’ ที่ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูดคุยได้เลย ทำให้พวกเขาไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้เฉกเช่นคนปกติทั่วไป

 

 

     เมื่อเข้าใจถึงปัญหาและอยากเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออก เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว เพียร์-ปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ จึงหันมาพัฒนานวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวด้วยเทคโนโลยี Eye Tracking System จนเกิดเป็น ‘SenzE’ เครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการสื่อสารโดยควบคุมผ่านดวงตา

     THE STANDARD ชวนคุณมาทำความรู้จักกับ SenzE ภายใต้การพัฒนาของปิยะศักดิ์และบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด (Meditech Solution) เพื่อค้นหาที่มา แรงบันดาลใจ และโอกาสของการได้ช่วยเหลือผู้ป่วยหลายๆ รายไปพร้อมๆ กัน

 

จากความต้องการอยากช่วยเหลือคุณพ่อของเพื่อนขยายสู่โอกาสช่วยเหลือผู้ป่วยอีกหลายแสนคน

     เดิมทีปิยะศักดิ์ประกอบธุรกิจในนามบริษัท บางกอก เว็บโซลูชั่น จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการรับออกแบบเว็บไซต์ พัฒนาระบบ e-Learning และซอฟต์แวร์ให้กับหน่วยงานชั้นนำต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ กระทั่งวันหนึ่งในปี 2555 หลังจากที่เพื่อนของเขาได้เข้ามาขอคำปรึกษาเพราะต้องการช่วยเหลือคุณพ่อที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง เขาจึงหันเหความสนใจทั้งหมดมามุ่งเป้าหมายพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยตัวเอง

     ปิยะศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่าคงมีผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายบนโลกใบนี้ที่สามารถใช้กล้ามเนื้อบนใบหน้าถ่ายทอดออกมาเป็นประโยคคำพูดเหมือนที่ สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชื่อดัง ซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถทำได้ และเมื่อผู้ป่วยสูญเสียทักษะการพูดโดยสิ้นเชิง ทักษะการได้ยินและการมองเห็นก็น่าจะยังใช้การได้อยู่ ฉะนั้นแล้วความสามารถในการควบคุมดวงตาที่ยังไม่เสื่อมสภาพก็น่าจะพอต่อยอดสร้างประโยชน์ได้บ้าง

     “ผมค้นพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและสวีเดนมีการนำเทคโนโลยีการตรวจจับความเคลื่อนไหวของดวงตา (Eye Tracking System) มาใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยด้านการสื่อสาร เลยคิดที่จะนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวแล้วเขียนโปรแกรมให้เป็นภาษาไทย แต่ก็แอบรู้สึกว่าบางทีเราอาจจะต่อยอดมันได้มากกว่านั้น ผมจึงนำแนวคิดและเทคโนโลยีนี้ไปปรึกษากับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และได้รับคำแนะนำว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ไม่น้อย ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่เคยมีผู้ประกอบการรายใดในไทยนำโปรเจกต์ที่ใกล้เคียงกันมาปรึกษาเลย ผมจึงอาสาขอลองทำโดยได้งบประมาณในการพัฒนาจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     “เราใช้ระยะเวลาพัฒนาฮาร์ดแวร์ดังกล่าวและการวิจัย-พัฒนา (R&D) นานถึง 8 เดือน ก่อนจะได้เป็น SenzE อุปกรณ์ช่วยสื่อสารทางสายตา (ตาทำหน้าที่เสมือนเมาส์ เมื่อกะพริบตาจะเท่ากับการกดคลิก) ผ่านการเขียนโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องเว็บเเคมที่ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา หลังจากนั้นก็เริ่มนำอุปกรณ์รุ่นโปรโตไทป์เข้าไปขออนุญาตทดลองผลการใช้งานทางคลินิก Clinical Trials ที่สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ผู้ป่วยจริง และผ่านการทดสอบครบถ้วนทุกขั้นตอน”  ปิยะศักดิ์กล่าว

 

 

แพทย์ชี้ช่วยลบข้อจำกัดด้านการสื่อสารของผู้ป่วยซึ่งเดิมทีต้องใช้ ‘บัตรคำ’

     อาจกล่าวได้ว่า SenzE คือการทลาย Pain Point หรือปัญหาด้านการสื่อสารที่เกิดขึ้นเรื้อรังในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยอัมพาต ฯลฯ อย่างเเท้จริง เพราะหลังจากที่เเพทย์จำนวนหนึ่งได้ทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านการใช้งานในห้องปฏิบัติการหรือกับผู้ป่วยจริง พวกเขาก็ลงความเห็นในทิศทางเดียวกันว่านวัตกรรมนี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง และไม่เป็นอันตรายกับตัวผู้ใช้แต่อย่างใด

     ปิยะศักดิ์บอกว่า “ในตอนนั้นคุณหมอหัวหน้าภาควิชาประจำสถาบันประสาทวิทยาได้เข้ามาดูแลการทดสอบด้วยตัวเอง เพราะตื่นเต้นกับตัวเทคโนโลยี เขาบอกว่าเดิมทีเวลาจะรักษาหรือดูแลผู้ป่วยก็ต้องใช้บัตรคำแทนการสื่อสารตลอด ผู้ป่วยจะต้องเปิดบัตรคำจำนวนกว่า 100 ใบเพื่อสื่อสารความต้องการของตนออกมาเช่น อยากเข้าห้องน้ำ, ทานอาหาร, อยากพลิกตัว, เจ็บปวดส่วนใดของร่างกาย ซึ่งทำให้เสียเวลาและไม่รู้ว่าสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะอยู่ที่บัตรเบอร์อะไร และบางทีบัตรคำเองก็อาจจะไม่มีสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการเลยก็ได้

     “เเพทย์หลายท่านลงความเห็นหลังจากที่ทดลองวิจัยและใช้งาน SenzE กับผู้ป่วยจริงว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยกับตัวผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยจำนวนกว่า 70% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุก็สามารถใช้งานได้อย่างไร้ปัญหาตั้งแต่เวอร์ชันโปรโตไทป์ สะท้อนให้เห็นว่านวัตกรรมของเราไม่ได้ถูกต่อต้านจากผู้ที่อาจจะไม่ได้สนใจเทคโนโลยี เพราะเขามองอุปกรณ์ของเราเป็นโอกาสที่จะช่วยให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง หลังจากนั้นเป็นต้นมาผมก็เริ่มนำอุปกรณ์ไปเดินสายประกวดตามเวทีต่างๆ และได้รับการร่วมทุนจากบริษัทหลายๆ แห่ง”

     ให้หลัง 8 เดือน Meditech Solution ก็พัฒนา SenzE เวอร์ชันเเรกสำเร็จจนสามารถวางขายในท้องตลาดได้ในราคาประมาณ 180,000 บาท (ถูกกว่าต่างประเทศที่ขายในราคา 300,000 บาทและยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยเครื่องรองรับภาษาไทยและอังกฤษ และในช่วงระยะเวลา 5 ปีหลังสุด พวกเขาก็สามารถพัฒนา SenzE ออกมาได้มากถึง 4 รุ่นแล้ว

 

 

นวัตกรรมช่วยสานต่อรอยยิ้มและเสริมสร้างกำลังใจที่ดีสู่ผู้ป่วย

     สำหรับ SenzE เวอร์ชัน 4 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดมาพร้อมกับความสามารถที่ครบครันรอบด้าน ทั้งฟีเจอร์ระบบแปลภาษา (ผ่าน Google), ระบบไลฟ์แชตเเละมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์บนตัวแอปพลิเคชันของผู้ดูแลและเเพทย์, ความสามารถในการท่องอินเทอร์เน็ตและโซเชียล (เฟซบุ๊ก, ยูทูบ, เว็บไซต์ทั่วไป), ระบบสัญญาณเตือนฉุกเฉิน, รองรับภาษาในการใช้งานได้ 17 ภาษา

     นอกจากนี้ชุดคำสั่งการสื่อสารทั้งหมด 6 หมวดหมู่ได้แก่ ความรู้สึก, ​ความต้องการ,​ อาหารและเครื่องดื่ม, คีย์บอร์ดสนทนา, ความบันเทิงและกิจกรรม ก็สามารถปรับเพิ่มลดได้ตลอดเวลาตามพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของผู้ใช้งาน (ผู้ป่วย) ในหมวดความรู้สึกสามารถบอกอาการเจ็บปวดในตำแหน่งต่างๆ ตามระดับที่รู้สึกได้, หมวดอาหารสามารถบอกเมนูที่อยากทานและรสชาติที่ต้องการ ด้านการใช้งาน จากเดิมที่ต้องกะพริบตา 2 ครั้ง เพื่อเเทนการกดคลิกก็ถูกเปลี่ยนมาใช้การมองจ้องเป็นระยะเวลา 2 วินาทีแทนเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น (ปรับเพิ่มระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม) สนนราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ 240,000 บาท ส่วนเเท็บเล็ตจะอยู่ที่ 60,000 บาท

     ปิยะศักดิ์บอกกับเราว่า “ส่วนใหญ่แล้วญาติและผู้ดูแลจะเป็นคนฟีดแบ็กผลการใช้งานกลับมาให้เรา และก็มีหลายเคสที่เราได้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเขาอย่างชัดเจน อย่างเคสอาม่ารายหนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่จังหวัดชลบุรี จากเดิมที่ไม่เคยมีความสุขและรอยยิ้ม หรือแม้แต่กำลังใจในการใช้ชีวิต กระทั่งได้ลองใช้อุปกรณ์ของเรา ผู้ดูแลก็เล่าให้เราฟังว่าอาม่าเริ่มพูดคุยกับลูกหลานได้มากขึ้น ส่วนเราก็ได้เห็นรอยยิ้ม ความหวัง และกำลังใจของเขา
     “ส่วนเคสล่าสุดของอาจารย์แพทย์ท่ีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็ใช้อุปกรณ์ของเราในการรักษาและดูผู้ป่วยต่ออีกที ทั้งๆ ที่ตัวเขาป่วยอยู่บนเตียงและไม่สามารถพูดได้เลยด้วยซ้ำ มีผู้ป่วยและแพทย์จำนวนไม่น้อยเลยที่มาขอบคุณนวัตกรรมของเรา เพราะเป็นส่ิงที่พวกเขารอคอยกันมานาน และจนถึงทุกวันนี้ก็ยอมรับว่ามันมาไกลพอสมควรนะครับ ผมเองก็ไม่คิดว่าเราจะพัฒนามาถึงขนาดนี้ได้”

 

 

โจทย์ใหญ่คือการแก้อุปสรรคด้านราคาและการเจาะกลุ่มผู้ใช้งานทางบ้าน (Home Users) ให้มากขึ้น

     ปัจจุบัน SenzE มียอดผู้ใช้งานแบบ Active Users ไม่เกิน 100 ราย แบ่งเป็นสัดส่วนการใช้งานตามโรงพยาบาล 60% และผู้ใช้งานทั่วไป 40% โดยในช่วงระยะเเรกๆ พวกเขาอาศัยการวิ่งเข้าไปตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อแนะนำนวัตกรรมนี้ และยังได้รับโอกาสจากการร่วมงานกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและ ‘Intouch’ ในนาม AIS ทำโปรเจกต์เพื่อซื้ออุปกรณ์เวอร์ชันแรกทั้งหมด 30 เครื่องไปบริจาคให้โรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 10 แห่ง ส่วนเวอร์ชันล่าสุดโรงพยาบาลอย่างบำรุงราษฎร์, กรุงเทพ, ปิยะเวท, พญาไท, เปาโล และวิชัยยุทธ ก็เริ่มนำอุปกรณ์เข้าไปทดลองใช้กับผู้ป่วยจริงแล้ว โดยมีโรงพยาบาลบางแห่งที่อยู่ในขั้นตอนพิจารณาการจัดซื้ออยู่

     อย่างไรก็ดีปัญหาสำคัญคือราคาวางจำหน่ายที่ยังคงสูงเกินไปเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ตัวผู้ป่วยต้องแบกรับ (ราคาเครื่อง 240,000 บาท) ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีโครงการบริจาคอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้ หรือโปรโมชันผ่อน 0% เป็นระยะเวลา 10 เดือน, ให้เช่า 8,500 บาทต่อเดือน และลดราคาตามสเปกที่ไม่ต้องการ กระนั้นอุปสรรคด้านราคาและการไม่สามารถบริจาคเป็นจำนวนมากได้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ SenzE ยังคงเข้าถึงผู้ป่วยตามครัวเรือนได้ยากอยู่

     ต่อประเด็นดังกล่าว ปิยะศักดิ์บอกว่า “เราวางแผนไว้ว่าเครื่อง SenzE เวอร์ชันล่าสุดจะทำงานร่วมกับเว็บไซต์ ‘เทใจ’ ที่ดำเนินการระดมทุนเเบบ Crowdfunding กับโรงพยาบาลรัฐบาล 5 แห่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยอัมพาต, ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง, ผู้ป่วย ICU, ผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลัง รวมถึงผู้ป่วยนอนติดเตียงสามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ของเราได้ นอกจากนี้ก็พยายามพูดคุยกับหน่วยงานหลายๆ แห่งเหมือนกัน เช่น ปลัดกระทรวงคมนาคมและกองทุนความปลอดภัยด้านการใช้รถใช้ถนนเพื่อหาลู่ทางการนำเงินรายได้จากการประมูลทะเบียนเลขสวยมาต่อ
ยอดซื้อ SenzE ไปบริจาคให้กับผู้ป่วย ซึ่งเขาก็โอเคเพราะมองว่ามันเป็นประโยชน์ เราพยายามจะผลักดันนวัตกรรมของเราเข้าไปกับหน่วยงานพวกนี้มากขึ้น

     “หากมองในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี ผมมองว่าเราทำสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว แต่ในแง่ของการขายก็ยังคงต้องทำการบ้านอีกเยอะ โจทย์สำคัญคือการทำให้เทคโนโลยีของเราเป็นที่รู้จักกว้างขวางกับผู้ใช้ทั่วไปจากทางบ้านมากกว่านี้ เพราะก่อนหน้านี้เรามุ่งให้ความสำคัญกับตัวโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่มากกว่า

     “ส่วนในอนาคตเรามองถึงโอกาสการไปบุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากยังไม่ค่อยพบเห็นเทคโนโลยีแบบนี้ในเอเชียมากนัก จะมีก็แค่ในญี่ปุ่นหรือเกาหลีที่ Samsung พัฒนาหลังจากเรา 2 ปีเพื่อการกุศล ส่วนสหรัฐอเมริกา แคนนาดา สวีเดน เยอรมัน เดนมาร์ก ก็มีการใช้นวัตกรรมเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งในอาเซียนน่าจะมีแค่เราเพียงเจ้าเดียว ดังนั้นเวลาที่นำ SenzE ไปออกบูธในสิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย ก็จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนในประเทศเขามาก แต่ก็คงต้องหาตัวแทนจำหน่ายและพาร์ตเนอร์ให้ได้เสียก่อน”

     ในวันที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูดหรือท่าทางการเคลื่อนไหวเพื่อบอกความรู้สึก อารมณ์หรือความต้องการได้อีกต่อไป อย่างน้อยที่สุด SenzE ก็น่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพให้กลับมาสื่อสารและมอบกำลังใจที่งดงามให้กับพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง

     ถ้าคุณสนใจอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง สามารถติดตามโปรเจกต์การระดมทุนเพิ่มเติมได้ที่ taejai.com/en หรือ www.meditechsolution.com

The post ‘เมื่อดวงตาถูกใช้ช่วยเเทนการสื่อสาร’ รู้จัก SenzE นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพและสื่อสารลำบาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/senze-eyetrackingsystem/feed/ 0