โซลาร์เซลล์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 22 Jan 2025 03:29:31 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 รู้จัก ‘บ้านผีเสื้อ’ แห่งเชียงใหม่ บ้านพักอาศัยแรกบนโลกที่หล่อเลี้ยงตัวเองด้วยไฮโดรเจนและโซลาร์ 100% https://thestandard.co/wealth-in-depth-butterfly-house-chiangmai/ Wed, 22 Jan 2025 03:29:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1032971 butterfly-house-chiangmai

‘ก๊าซไฮโดรเจน’ คำที่บางคนได้ยินแล้วอาจจะทำให้เกิดความคิ […]

The post รู้จัก ‘บ้านผีเสื้อ’ แห่งเชียงใหม่ บ้านพักอาศัยแรกบนโลกที่หล่อเลี้ยงตัวเองด้วยไฮโดรเจนและโซลาร์ 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>
butterfly-house-chiangmai

‘ก๊าซไฮโดรเจน’ คำที่บางคนได้ยินแล้วอาจจะทำให้เกิดความคิดทั้งบวกและลบ โดยในเชิงบวกมันกำลังถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้พลังงานจากแหล่งฟอสซิลที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ในเชิงลบไฮโดรเจนก็เคยเป็นฉนวนเหตุร้ายในอดีต เช่น กรณีการรั่วและระเบิดของถังไฮโดรเจนของบริษัท Nel ที่นอร์เวย์ เมื่อปี 2019 ทำให้เกิดข้อกังวลในด้านความปลอดภัยของไฮโดรเจน

 

อีกทั้งราคาที่สูงและโครงสร้างพื้นฐานที่ยังจำกัดก็ล้วนแต่เป็นประเด็นที่ยังทำให้การใช้ไฮโดรเจนในฐานะพลังงานทางเลือกไม่แพร่หลาย

 

แต่ท่ามกลางอุปสรรคหลายอย่างมีสถานที่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่บุกเบิกการใช้ไฮโดรเจนมากว่า 10 ปีแล้ว

 

สถานที่แห่งนั้นคือ ‘บ้านผีเสื้อ’ บ้านพักอาศัยที่พลิกโฉมการใช้พลังงานและพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า Green Hydrogen หรือไฮโดรเจนสีเขียวที่ถูกผลิตขึ้นจากแสงอาทิตย์ สามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนและน่าเชื่อถือได้

 

รู้จัก ‘บ้านผีเสื้อ’ แห่งเชียงใหม่

 

 

‘บ้านผีเสื้อ’ ทำได้อย่างไร และไฮโดรเจนสีเขียวจะเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกแห่งอนาคตให้กับไทยได้มากแค่ไหน?

 

‘บ้านผีเสื้อ’ ที่พักอาศัยแรกของโลกที่ขับเคลื่อนบน Green Hydrogen

 

ก่อนจะพูดถึงบ้านผีเสื้อ ขอพามารู้จัก Green Hydrogen ซึ่งเป็นไฮโดรเจนชนิดหนึ่งใน 3 ชนิดหลัก โดยอีก 2 ชนิดคือ Grey Hydrogen (ไฮโดรเจนสีเทา) และ Blue Hydrogen (ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน) ซึ่งทั้งสองมีกระบวนการผลิตโดยใช้พลังงานฟอสซิล แต่ไฮโดรเจนสีน้ำเงินจะมีกระบวนการดักเก็บคาร์บอนและฝังไว้ใต้ดินแทน

 

ข้อมูลล่าสุดที่มีการรายงานจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เผยว่า ในปี 2023 มี Green Hydrogen ไม่ถึง 0.1% ที่ถูกผลิตจากไฮโดรเจนทั้งหมดที่มี แสดงให้เห็นความท้าทายที่ยังมีอยู่กับการสร้างแหล่งพลังงานสะอาดชนิดนี้

 

สำหรับบ้านผีเสื้อนี่คือโปรเจกต์บ้านพักอาศัยที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2015 ที่สร้างพลังงานด้วยตนเอง 100% จากการผสมผสานระหว่างไฮโดรเจนและพลังงานแสงอาทิตย์

 

เทคโนโลยีไฮไลต์ที่ทำให้ไฮโดรเจนสีเขียวเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการให้พลังงานกับตัวบ้านได้นั้นคือ อิเล็กโทรไลเซอร์ (Electrolyzers) ที่จะนำพลังงานโซลาร์ส่วนเกินมาใช้สำหรับแปลงน้ำ (H2O) เป็นไฮโดรเจน เพื่อผลิต จัดเก็บ และใช้เป็นพลังงานในช่วงเวลาที่แสงแดดไม่เพียงพอ ซึ่งช่วยให้บ้านผลิตพลังงานได้เอง และไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนที่กระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไฮโดรเจนสีเขียวมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ 

 

เครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์สำหรับแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ

เครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์สำหรับแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ

 

ระบบภายในบ้านผีเสื้อมีแบตเตอรี่ขนาด 384 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ซึ่งเมื่อทั้งไฮโดรเจนและแบตเตอรี่ใช้ร่วมกันจะสามารถกักเก็บพลังงานเพื่อใช้งานอย่างน้อย 7 วัน ในฤดูที่มีแดดน้อยและมีเมฆมากเป็นเวลานาน

 

“บ้านผีเสื้อคือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่สร้างคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างแท้จริง ด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และการเก็บไฮโดรเจน” เซบาสเตียน-ยุสตุส ชมิดท์ เจ้าของบ้านผีเสื้อและผู้ก่อตั้ง Enapter บริษัทผู้ผลิตเครื่อง Electrolyzers กล่าว

 

เซบาสเตียน-ยุสตุส ชมิดท์ เจ้าของบ้านผีเสื้อและผู้ก่อตั้ง Enapter

เซบาสเตียน-ยุสตุส ชมิดท์ เจ้าของบ้านผีเสื้อและผู้ก่อตั้ง Enapter

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการบ้านผีเสื้อจะสอดคล้องกับเป้าของประเทศไทยที่ต้องการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 แต่การนำไฮโดรเจนสีเขียวมาใช้เป็นวงกว้างในฐานะแหล่งพลังงานทดแทนแหล่งหนึ่งยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย

 

เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง และโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนก็ยังมีอยู่ในวงจำกัด ณ ปัจจุบัน

 

ความเป็นไปได้ของประเทศไทยกับการใช้ Green Hydrogen

 

การจะนำไฮโดรเจนสีเขียวมาใช้เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานนั้นจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนล่วงหน้าจำนวนมาก ซึ่งก็อาจจะไม่คุ้มค่าหากมองในมุมของผู้ประกอบการบางรายที่ยังสามารถเข้าถึงพลังงานฟอสซิลหรือถ่านหินที่มีราคาถูกกว่าอย่างมีนัยสำคัญได้

 

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าไฮโดรเจนสีเขียวสามารถถูกผลิตได้โดยอิเล็กโทรไลเซอร์ แต่อุปกรณ์ตัวนี้ที่บริษัท Enapter เป็นผู้ผลิตก็มีราคาอยู่ที่เครื่องละ 400,000 บาท ซึ่งผลิตไฮโดรเจนได้ 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือคิดง่ายๆ เป็นปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการใช้งานได้บ้านทั่วไปครึ่งวัน (หรือตลอดทั้งคืน)

 

ธนัย โพธิสัตย์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท Enapter ระบุการประเมินค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ว่า บ้านหลังหนึ่งอาจจำเป็นต้องใช้อิเล็กโทรไลเซอร์จำนวน 2 เครื่อง และรวมการติดตั้งระบบอื่นๆ ที่จะทำให้ต้นทุนขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านบาท ถือว่าเป็นต้นทุนที่ไม่น้อยเลย

 

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านกฎหมายที่การรองรับพลังงานดังกล่าวก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งรายงานจากกระทรวงพลังงานระบุว่าในระยะสั้น (ค.ศ. 2020-2030) คือการเตรียมพร้อม โดยจะมีการดำเนินโครงการนำร่อง สนับสนุนเงินลงทุน ศึกษารูปแบบธุรกิจใหม่ จัดทำแผนรองรับการนำเข้า/ส่งออก ทดสอบระบบกักเก็บและขนส่ง และจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตและการใช้

 

แต่ในสถานที่ห่างไกล เช่น พื้นที่เกาะ การลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อผลิตไฮโดรเจนสีเขียวโดยใช้คู่กับโซลาร์เพื่อมาใช้งานก็เป็นตัวเลือกที่ให้ความคุ้มค่า เนื่องจากพื้นที่เกาะบางแห่งไม่ได้ถูกเชื่อมต่อจากโรงงานผลิตไฟฟ้า ทำให้เกาะจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันสำหรับปั่นไฟ ซึ่งมีต้นทุนมากกว่า 3 เท่าของการใช้ไฮโดรเจนสีเขียว

 

สำหรับประเด็น ‘ราคา’ แม้ว่าปัจจุบันจะยังแพง ธนัยเผยว่านั่นจะไม่ใช่สิ่งที่คงอยู่ตลอดไปเนื่องจากแนวโน้มของการสนับสนุนพลังงานสะอาดเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะทำให้ต้นทุนการใช้งานถูกลงในที่สุด

 

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญและผู้สนับสนุนพลังงานสะอาดที่เดินทางไปร่วมชมบ้านผีเสื้อชี้ว่า การที่หลายฝ่ายมองพลังงานฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานราคาถูกกำลังมองข้ามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยรวม ซึ่งหากไม่เร่งการเปลี่ยนผ่านและละเลย ราคาที่จ่ายที่ต้องเสียจากการฟื้นฟูปัญหาอาจจะมากกว่าการลงทุนเพื่อเปลี่ยนระบบพลังงานไปสู่แหล่งที่มีความยั่งยืน

 

ตัวเลขการประเมินจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดระบุว่า การเปลี่ยนระบบไปสู่พลังงานที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เข้ามาแทนที่พลังงานฟอสซิลมีแนวโน้มที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายทั่วโลกไปได้ 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (411 ล้านล้านบาท) โดยเป็นตัวเลขที่มีมูลค่าพอกันกับมูลค่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 4 อันดับของโลกอย่าง Apple, NVIDIA, Microsoft, และ Google รวมกัน

 

“ไฮโดรเจนสีเขียวในมุมมองของผมคือหนึ่งในแหล่งพลังงานสำหรับอนาคต แม้ว่าต้นทุนในช่วงแรกจะสูง แต่ประโยชน์ระยะยาวก็มีสูงเช่นกัน สูงกว่าค่าใช้จ่ายในการเยียวยาสิ่งแวดล้อมที่พวกเราต้องจ่ายหากไม่ปรับตัว” เซบาสเตียนกล่าวเสริม

 

สำหรับประเทศไทย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านไฮโดรเจนมองว่าไฮโดรเจนสีเขียวคือสิ่งที่ประเทศไทยควรเร่งให้ความสำคัญ และผลักดันให้เกิดการใช้งานที่มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

The post รู้จัก ‘บ้านผีเสื้อ’ แห่งเชียงใหม่ บ้านพักอาศัยแรกบนโลกที่หล่อเลี้ยงตัวเองด้วยไฮโดรเจนและโซลาร์ 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยโดนด้วย! สหรัฐฯ จ่อขึ้นภาษีแผงโซลาร์เซลล์รอบใหม่ 4 ประเทศอาเซียน https://thestandard.co/us-solar-panel-tariffs-asean-countries/ Sat, 30 Nov 2024 05:13:38 +0000 https://thestandard.co/?p=1014512 โซลาร์เซลล์

สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีแผงโซลาร์เซลล์รอบใหม่ 4 ประเทศอาเซ […]

The post ไทยโดนด้วย! สหรัฐฯ จ่อขึ้นภาษีแผงโซลาร์เซลล์รอบใหม่ 4 ประเทศอาเซียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
โซลาร์เซลล์

สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีแผงโซลาร์เซลล์รอบใหม่ 4 ประเทศอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม และไทย ในอัตราระหว่าง 21.31-271.2% หลังผู้ผลิตในสหรัฐฯ ร้องเรียนว่า ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่ของจีนที่มีโรงงานในประเทศเหล่านี้เป็นตัวการทำให้ราคาแผงโซลาร์เซลล์ทั่วโลกร่วงลงด้วยการทุ่มตลาดสินค้า

 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (29 พฤศจิกายน) ตามเวลาท้องถิ่น สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์รอบใหม่จาก 4 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม และไทย หลังจากผู้ผลิตแผงโซลาร์ในสหรัฐฯ ร้องเรียนว่า บริษัทต่างๆ ในประเทศดังกล่าวมาทุ่มตลาด ขายสินค้าราคาถูกอย่างไม่เป็นธรรมในสหรัฐฯ

 

การขึ้นภาษีแผงโซลาร์เซลล์นี้นับเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ภายใต้การตัดสินใจของกระทรวงพาณิชย์ในยุคประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในปีนี้ หลังจากก่อนหน้านี้มีการยื่นฟ้องบริษัท Hanwha Qcells ของเกาหลีใต้ ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแอริโซนา และบริษัทขนาดเล็กอีกหลายแห่ง เพื่อปกป้องการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ

 

โดยกลุ่ม American Alliance for Solar Manufacturing Trade Committee ยังกล่าวหาผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่ของจีนที่มีโรงงานในมาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม และไทย ว่าเป็นตัวการทำให้ราคาสินค้าทั่วโลกร่วงลงด้วยการทุ่มตลาดสินค้า

 

ตามการตัดสินใจเบื้องต้นที่โพสต์บนเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หน่วยงานดังกล่าวคำนวณภาษีทุ่มตลาดในอัตราระหว่าง 21.31-271.2%

 

ตัวอย่างเช่น บริษัท Jinko Solar ต้องจ่ายภาษี 21.31% สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในมาเลเซีย และ 56.51% สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเวียดนาม

 

บริษัท Trina Solar ของจีนต้องจ่ายอัตราภาษีการทุ่มตลาด 77.85% สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในไทย และ 54.46% สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเวียดนาม

 

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ กำหนดการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในวันที่ 18 เมษายน 2025 โดยสำนักงานบริหารการค้าระหว่างประเทศกำหนดจะสรุปการตัดสินใจในวันที่ 2 มิถุนายน 2025 และคาดว่าจะออกคำสั่งในวันที่ 9 มิถุนายน 2025

 

ในการสอบสวนของกระทรวงพาณิชย์พบว่า แผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งในสหรัฐฯ ผลิตในต่างประเทศ โดยประมาณ 80% ของการนำเข้ามาจาก 4 ประเทศที่เป็นเป้าหมายดังกล่าว

 

ในปีนี้รัฐบาลของไบเดนส่งสัญญาณไปที่การลงทุนมหาศาลของจีนในโรงงานผลิตสินค้าพลังงานสะอาด เนื่องจากกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของไบเดน หรือ Inflation Reduction Act พยายามสร้างแรงจูงใจสำหรับบริษัทต่างๆ ให้ผลิตอุปกรณ์พลังงานสะอาดในสหรัฐฯ โดยให้เป็นเงินอุดหนุนที่กระตุ้นให้เกิดแผนการสร้างโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่มากมาย

 

อย่างไรก็ตาม โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มองว่า Inflation Reduction Act มีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป โดยยังกล่าวอีกว่า เขาวางแผนที่จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรจำนวนมากในหลากหลายภาคส่วนเพื่อปกป้องคนงานชาวอเมริกัน

 

อ้างอิง:

The post ไทยโดนด้วย! สหรัฐฯ จ่อขึ้นภาษีแผงโซลาร์เซลล์รอบใหม่ 4 ประเทศอาเซียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: อินโดนีเซีย-สปป.ลาว จะเป็นฐานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ของทุนจีน | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-09112024/ Sat, 09 Nov 2024 02:05:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1006327

Reuters รายงานว่า โรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ของบริษัทจีนย […]

The post ชมคลิป: อินโดนีเซีย-สปป.ลาว จะเป็นฐานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ของทุนจีน | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

Reuters รายงานว่า โรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ของบริษัทจีนยักษ์ใหญ่ในเวียดนามกำลังลดกำลังการผลิตและเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากจากการกีดกันทางภาษีของสหรัฐฯ โดยอินโดนีเซียและ สปป.ลาว กำลังเป็นจุดหมายปลายทางรองรับฐานผลิตโซลาร์เซลล์แห่งใหม่ของจีน

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: อินโดนีเซีย-สปป.ลาว จะเป็นฐานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ของทุนจีน | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
อินโดนีเซีย-สปป.ลาว กำลังจะเป็นฐานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ของทุนจีน หลังเลิกจ้าง ลดกำลังผลิตในเวียดนามเพื่อเลี่ยงขึ้นภาษีสหรัฐฯ และก่อนที่ทรัมป์จะคัมแบ็ก https://thestandard.co/indonesia-laos-solar-panel-china/ Wed, 06 Nov 2024 00:00:57 +0000 https://thestandard.co/?p=1004867

แม้การย้ายฐานการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่โซลาร์เซลล์จีนไปย […]

The post อินโดนีเซีย-สปป.ลาว กำลังจะเป็นฐานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ของทุนจีน หลังเลิกจ้าง ลดกำลังผลิตในเวียดนามเพื่อเลี่ยงขึ้นภาษีสหรัฐฯ และก่อนที่ทรัมป์จะคัมแบ็ก appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้การย้ายฐานการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่โซลาร์เซลล์จีนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในช่วงเวลานี้ถือเป็นประเด็นร้อนแรงที่ส่งผลถึงอาเซียนและไทย เนื่องจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น หาก โดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยไปได้ก็จะทำให้นโยบายจัดเก็บอัตราภาษีที่สูงเป็นพิเศษสำหรับสินค้าที่ผลิตจากจีน 60-100% ถูกนำมาใช้

 

เหตุผลข้างต้นทำให้ผู้ผลิตจีนเริ่มกระจายฐานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ออกจากเวียดนามไปยังอินโดนีเซียและ สปป.ลาว เพื่อเลี่ยงภาษีศุลกากรสหรัฐฯ

 

จึงต้องจับตาว่าเพื่อนบ้านและไทย ใครจะคว้าโอกาสนี้ เมื่อสหรัฐฯ คือตลาดอันดับ 1 ที่ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์โซลาร์เซลล์ไปมากสุด ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า “นี่คือเกมแมวจับหนู”

 

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า โรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ของบริษัทจีนยักษ์ใหญ่ในเวียดนามกำลังลดกำลังการผลิตและเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก เนื่องจากสหรัฐฯ ขยายขอบเขตภาษีศุลกากรไปยังเวียดนาม

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

โดยสองประเทศเพื่อนบ้าน อินโดนีเซียและ สปป.ลาว เป็นจุดหมายปลายทางรองรับฐานผลิตโซลาร์เซลล์แห่งใหม่ของจีน ซึ่งโรงงานเหล่านี้มีกำลังการผลิตเพียงพอที่จะส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ไปยังสหรัฐฯ ได้กว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

ขณะเดียวกัน อินโดนีเซียและ สปป.ลาว ที่ต่างก็มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของจีนผุดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตการคุ้มครองการค้าของวอชิงตัน ดี.ซี.

 

แม้ว่าบริษัทจีนจะย้ายฐานการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์มาหลายปีแล้ว แต่ขอบเขตของการย้ายฐานการผลิตไปยังอินโดนีเซียและ สปป.ลาว ในระยะหลังนี้ยังไม่เคยมีการรายงานมาก่อน

 

สำหรับจีนครองส่วนแบ่งการตลาดแผงโซลาร์เซลล์โลกราว 80% ของการขนส่งพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก ในขณะที่ศูนย์กลางการส่งออกที่เหลือคือเอเชียเป็นส่วนใหญ่

 

วิลเลียม เอ. ไรน์ช อดีตเจ้าหน้าที่ด้านการค้าในรัฐบาลคลินตัน และที่ปรึกษาอาวุโสของศูนย์การศึกษากลยุทธ์และระหว่างประเทศ กล่าวว่า “นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับ 2 ทศวรรษก่อนหน้า ซึ่งสหรัฐฯ เคยเป็นผู้นำโลกในอุตสาหกรรมนี้ มันเป็นเกมแมวจับหนูครั้งใหญ่ ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะย้ายฐานผลิต คุณสามารถตั้งโรงงานใหม่และเล่นเกมอีกครั้ง เพราะคุณเองก็สามารถวางกฎเกณฑ์ได้ ซึ่งสหรัฐฯ มักจะตามหลังอยู่หนึ่งก้าว”

 

สำหรับการนำเข้าโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า นับตั้งแต่สหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีศุลกากรในปี 2012 โดยแตะระดับสูงสุดที่ 15,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้วตามข้อมูลของรัฐบาลกลาง แม้ว่าเกือบทั้งหมดจะไม่ได้นำเข้าโดยตรงจากจีน ทว่าในปี 2023 กว่า 80% มาจากเวียดนาม ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งต่างเป็นที่ตั้งของโรงงานบริษัทจีน

 

สหรัฐฯ จัดเก็บภาษีนำเข้าอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์จากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 4 ประเทศเมื่อปีที่แล้ว และขยายการจัดเก็บภาษีในเดือนตุลาคม หลังจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ซึ่งร้องเรียนว่า ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากจีนได้ เนื่องจากสินค้าจีนมีราคาถูกกว่าและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

 

PVinsights ระบุว่าในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา มีโครงการของจีนหรือที่เกี่ยวข้องกับจีนอย่างน้อย 4 โครงการเริ่มดำเนินการในอินโดนีเซียและ สปป.ลาว และอีก 2 โครงการได้รับการประกาศร่วมกัน โครงการเหล่านี้มีกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์รวม 22.9 กิกะวัตต์

 

โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะขายในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน และเป็นหนึ่งในตลาดที่ทำกำไรได้มากที่สุด โดยราคาในสหรัฐฯ สูงกว่าในจีนโดยเฉลี่ย 40% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

 

ขณะที่ CNBC รายงานว่า ก่อนจะทราบผลการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ในอีกไม่กี่วัน อาจต้องจับตานโยบายที่ทรัมป์กำหนดอัตราภาษี 10% หรือ 20% กับสินค้านำเข้ามายังสหรัฐฯ โดยเฉพาะทรัมป์เสนออัตราภาษีที่สูงเป็นพิเศษสำหรับสินค้าจากจีน 60-100% ส่งผลให้หลายบริษัทที่ผลิตในจีนย้ายมายังอาเซียน

 

ส่วนนโยบายแฮร์ริสเหมือนกับไบเดน จะไม่มีการขึ้นภาษีแบบทรัมป์ ซึ่งไบเดนเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน 25-100% แต่เป็นสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น รถ EV และเซมิคอนดักเตอร์ เก็บภาษี 100% และเก็บภาษี 50% สำหรับแผงโซลาร์เซลล์

 

สหรัฐฯ คือตลาดหลักที่ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์โซลาร์เซลล์

 

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุ สำหรับประเทศไทย ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี คาดการณ์ว่า อัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นและการทำงานรูปแบบ Work from Home จะส่งผลให้มูลค่าตลาดโซลาร์เซลล์ในไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2022-2025 จะเติบโตเฉลี่ย 22% ต่อปี จนมีมูลค่า 67,268 ล้านบาทในปี 2025

 

นอกจากนี้ มูลค่าการผลิตโซลาร์เซลล์ในไทยปี 2023 อยู่ที่ 6,147.53 ล้านดอลลาร์ เติบโต 184.35% จากปี 2022 (2,161.95 ล้านดอลลาร์) และมูลค่าการส่งออกโซลาร์เซลล์ของไทยปี 2023 อยู่ที่ 4,433.11 ล้านดอลลาร์ เติบโตร้อยละ 80.87 จากปี 2022 (2,451.01 ล้านดอลลาร์) มูลค่าการส่งออกของไทยคิดเป็นสัดส่วน 5% ของการส่งออกโซลาร์เซลล์ในตลาดโลก

 

ไทยครองส่วนแบ่งอันดับที่ 4 ของโลกรองจากจีน (55,857.19 ล้านดอลลาร์ สัดส่วน 63%), เนเธอร์แลนด์ (9,752.84 ล้านดอลลาร์ สัดส่วน 11%) และมาเลเซีย (5,319.73 ล้านดอลลาร์ สัดส่วน 6%)

 

ตลาดส่งออกสำคัญของไทยคือสหรัฐฯ มูลค่า 3,223 ล้านดอลลาร์ (สัดส่วน 75%), เวียดนาม มูลค่า 495 ล้านดอลลาร์ (สัดส่วน 11%), อินเดีย มูลค่า 232 ล้านดอลลาร์ (สัดส่วน 5%) และจีน มูลค่า 175 ล้านดอลลาร์ (สัดส่วน 4%) โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่มีการเติบโตมากถึง 144.35% จากปี 2022

 

ภาพ: QubixStudio / Shutterstock, MaHa1 / Shutterstock

อ้างอิง:

The post อินโดนีเซีย-สปป.ลาว กำลังจะเป็นฐานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ของทุนจีน หลังเลิกจ้าง ลดกำลังผลิตในเวียดนามเพื่อเลี่ยงขึ้นภาษีสหรัฐฯ และก่อนที่ทรัมป์จะคัมแบ็ก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุนในโซลาร์เซลล์คุ้มค่าหรือไม่ และจุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน? [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/solar-cell-investment-worth-it/ Wed, 11 Sep 2024 05:00:42 +0000 https://thestandard.co/?p=981850

จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไร จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน แล […]

The post ลงทุนในโซลาร์เซลล์คุ้มค่าหรือไม่ และจุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน? [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไร จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน และใครเหมาะจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ นี่น่าจะเป็นหมวดคำถามยอดฮิตของคนที่กำลังสนใจเรื่อง ‘โซลาร์เซลล์’

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สถานการณ์ค่าไฟที่พุ่งสูงขึ้น 30% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิงจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยประเภทบ้านพักอาศัยระหว่างปี 2564-2566) จะเป็นตัวเร่งให้ภาคครัวเรือนมองการติดตั้ง ‘โซลาร์เซลล์’ เป็นทางเลือกหลัก 

 

แม้ว่ารัฐบาลจะสั่งตรึงค่าไฟต่อในราคาเดิมที่ 4.18 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบ Work from Home หรือความนิยมใช้รถยนต์ EV ก็มีแนวโน้มทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงตาม สอดคล้องไปกับข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เผยว่า ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2566 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ยังพบว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงพุ่งสูงกว่าปริมาณที่คาดการณ์ไว้อีกด้วย

 

 

การมาถึงของเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ (Clean Energy) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ อาจเพราะเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เทรนด์การใช้พลังงานสะอาด ขยายวงกว้างจากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ในภาคธุรกิจ (Commercial) เช่น ร้านอาหาร ออฟฟิศ และภาคอุตสาหกรรม (Industrial) เช่น โรงงาน มาสู่ภาคครัวเรือนหรือที่อยู่อาศัย (Residential) ซึ่งตลาดพลังงานมีมูลค่าตลาดคิดเป็น 6 หมื่นล้านบาท 

 

ในมุมของนักลงทุนหรือคนที่พิจารณาเรื่องความคุ้มค่าเป็นหลัก อาจมองการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง เพราะไม่ว่าคุณจะลงทุนให้รูปแบบไหนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อเข้าใจผลิตภัณฑ์ จุดคุ้มทุน ไปจนถึงกำไรที่จะได้รับ เป็นที่มาของคำถามยอดฮิต จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไร ลงทุนเท่าไร จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน และใครเหมาะจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ THE STANDARD WEALTH สรุปให้

 

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไรบ้าง 

 

ถ้าจะมองเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าในตลาดโซลาร์เซลล์ตอนนี้มีระบบอะไร แต่ละระบบมีจุดเด่นและข้อสังเกตอะไรก่อนตัดสินใจลงทุน 

 

ระบบออนกริด (On-Grid) เป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหรือสายส่งจากระบบการไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทันทีเมื่อมีแสงแดด หากระบบโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไม่พอต่อความต้องการจะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้แทน ข้อดีคือ ไม่ต้องพึ่งแบตเตอรี่ จึงหักลบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้เลย แต่นั่นหมายความว่าจะผลิตพลังงานได้เฉพาะเวลากลางวัน ไม่สามารถผลิตได้ในตอนกลางคืน และพอไปเชื่อมกับระบบการไฟฟ้า หากต้นทางเกิดไฟฟ้าขัดข้อง ระบบไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ก็จะดับตามไปด้วย เนื่องจากอินเวอร์เตอร์หยุดทำงาน

 

ระบบออฟกริด (Off-Grid System) จุดเด่นคือใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ 100% ไม่พึ่งการเชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า เพราะมีแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ในการสำรองพลังงาน เมื่อสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างอิสระก็ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟตก ไฟดับ และสามารถใช้ไฟฟ้าได้ตอนกลางคืน แต่ต้องแลกมากับต้นทุนของแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้น 

 

 

ระบบไฮบริด (Hybrid System) เป็นระบบที่ก้าวข้ามข้อจำกัดของทั้งสองระบบได้อย่างลงตัว เพราะรวมเอาข้อดีของระบบ On-Grid กับ Off-Grid เข้าด้วยกัน ที่มีความเสถียร สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาในกรณีที่ไฟตกหรือดับ ระบบจะดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้ และในกรณีที่โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าไม่พอระบบก็จะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาชดเชยให้ ข้อสังเกตคือ เนื่องจากต้องใช้ระบบอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบไฮบริดโดยเฉพาะ ซึ่งต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากการไฟฟ้า รวมถึงเรื่องของราคาเมื่อบวกอุปกรณ์แยกต่างๆ เข้าไปเพิ่ม

 

ในยุคหนึ่ง ‘แบตเตอรี่’ เป็นตัวชี้วัดความคุ้มทุน แต่ปัจจุบันแบตเตอรี่ราคาเข้าถึงง่าย เมื่อเทียบกับความคุ้มที่จะสามารถใช้ไฟฟ้าได้ในตอนกลางคืนหรือมีไฟฟ้าสำรองหากเกิดไฟดับก็ทำให้คนหันมาสนใจทางเลือกนี้มากขึ้น ประกอบกับตลาดปัจจุบันมีผู้เล่นเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อกลไกราคาและทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตพัฒนาอย่างรวดเร็ว 

 

จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน

 

การลงทุนในโซลาร์เซลล์ต้องมองเป็นการลงทุนระยะยาว จุดคุ้มทุนยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละครัวเรือน 

 

ยกตัวอย่าง หากคุณลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง ในแต่ละวันสามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยอย่างต่ำวันละ 5 ชั่วโมง 

 

10 กิโลวัตต์ x 5 ชั่วโมง = 50 กิโลวัตต์ชั่วโมง  

 

ค่าไฟฟ้าต่อ 1 หน่วย เฉลี่ย 4 บาท x 50 กิโลวัตต์ = 200 บาทต่อวัน แปลว่าในแต่ละวันคุณสามารถประหยัดค่าไฟไปได้ 200 บาท เดือนหนึ่งเท่ากับ 6,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี ราวๆ 72,000 บาท 

 

ถ้าคุณลงทุน 400,000 บาท ใช้ไฟทั้งกลางวันและกลางคืน จะคืนทุนภายใน 5-6 ปี มองอีกมุม การติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็เหมือนย้ายค่าใช้จ่ายไปจ่ายเงินให้กับระบบโซลาร์ แทนที่จะจ่ายแบบให้เปล่าไปกับการไฟฟ้าซึ่งเป็นการจ่ายไปเรื่อยๆ บางปีเรตค่าไฟฟ้าอาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ 

 

ใครเหมาะที่จะติดโซลาร์เซลล์

 

อย่างที่บอกไปข้างต้น จุดคุ้มทุนของแต่ละบ้านขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า ถ้าโดยปกติแล้วคุณต้องจ่ายค่าไฟไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,000 บาท มีสมาชิกในบ้านมากกว่า 3 คนขึ้นไป และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ไฟในเวลากลางวันเยอะ หรือบ้านที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เช่น บ้านที่มีตู้เลี้ยงปลา มีเด็กเล็กและต้องแช่นมแม่ หรือบ้านที่มีผู้ป่วยที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการดูแล รวมไปถึงบ้านที่มีรถยนต์ไฟฟ้าหรือมีแผนที่จะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นกลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์และใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด 

 

 

เห็นความคุ้มแต่ยังลังเล

 

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้คนที่สนใจยังไม่ตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นความยุ่งยากในการแยกซื้ออุปกรณ์ ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ และแบตเตอรี่ จากหลายแบรนด์ หากอุปกรณ์มีปัญหาก็ไม่รู้ว่าเกิดจากระบบไหนและจะต้องติดต่อใคร และแบรนด์ไหนควรรับผิดชอบ รวมไปถึงดีไซน์ของอุปกรณ์ที่ดูไม่เข้ากับสไตล์บ้านและมีความรกของสายไฟระโยงระยาง 

 

เมื่อการลงทุนในโซลาร์เซลล์เป็นการลงทุนระยะยาว เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ยิ่งต้องเลือกผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ มีบริการหลังการขายที่ดี และควรมีทีมวิศวกรคอยให้คำปรึกษาตลอดการใช้งาน

 

ทำไม ‘EnergyLIB P1 All-In-One’ จึงเป็นทางเลือกที่น่าลงทุน 

 

ไม่นานมานี้ตลาดโซลาร์เซลล์ต่างพูดถึง ‘EnergyLIB’ แบรนด์ระบบโซลาร์เซลล์โซลูชันแบบครบวงจรน้องใหม่ที่มาปฏิวัติอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์เพื่อที่พักอาศัยครั้งแรกของไทย

 

แบรนด์เปิดตัวด้วยการชูจุดต่างด้วยระบบโซลาร์โซลูชันแบบครบวงจรสำหรับที่อยู่อาศัยรายแรกในไทย โดยมีจุดแข็งคือ One-Stop Solution จบครบทุกบริการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในแบรนด์เดียว ตั้งแต่บริการติดตั้งพื้นฐาน [1] รับประกัน และบริการหลังการขาย

 

นอกจากนั้นยังได้ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Shenghong Ligend Power ผู้นำเทคโนโลยีด้านการผลิตแบตเตอรี่ภายใต้เครือ Shenghong Holding Group บริษัทยักษ์ใหญ่ติดอันดับ 171 ใน Fortune Global 500 ปี 2024 โดยจะนำเทคโนโลยีสุดล้ำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงแก่ผู้บริโภค

 

 

ที่สำคัญคือ ตัวผลิตภัณฑ์ ‘EnergyLIB P1 All-In-One’ ที่มาพร้อมแผงโซลาร์เซลล์และเครื่อง All-In-One รวมอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ไว้ในเครื่องเดียว ภายใต้สโลแกน ‘ลดค่าไฟ 70% [2] ใช้ไฟได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน’ ช่วยตัดจบความกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็นความยุ่งยากในการเลือกว่าจะซื้ออุปกรณ์จากแบรนด์ไหน เพราะ EnergyLIB แบรนด์เดียวมาครบทั้งระบบ พร้อมบริการติดตั้ง รับประกัน และบริการหลังการขาย

 

 

EnergyLIB P1 All-In-One ต่างจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดอย่างไร

 

จุดแรกคือเรื่องของแผงโซลาร์เซลล์ (Black Magic) ที่นอกจากความเรียบหรู ไร้ช่องตาราง ยังให้ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟเพิ่มมากขึ้นกว่าแผงทั่วไป 5% [3] หรือเทียบเท่าเปิดแอร์ 4 ชั่วโมง [4] 

 

ตัวเครื่อง All-In-One ซึ่งรวมเอาอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่เข้าด้วยกัน ไม่มีสายไฟระโยงระยางกวนสายตา มีความพรีเมียม โค้งมนแบบ ‘Integrated Streamline Design’ วางตำแหน่งใดของบ้านก็กลมกลืนไปกับการตกแต่งบ้านหลากสไตล์ 

 

ปลอดภัยด้วย ‘Energy CUBE’ ระบบป้องกันอัตโนมัติอัจฉริยะ และใช้งานได้แม้ไฟดับ [5] รวมถึงมีแอปพลิเคชัน ‘LIB Life’ ตรวจสอบสถานะการผลิตและใช้ไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ มาพร้อมบริการครบวงจร ไร้กังวลตลอดอายุการใช้งาน รับประกันแผงโซลาร์เซลล์ 25 ปี [7] และเครื่อง All-In-One 10 ปี [7]

 

เปิดตัวราคาเริ่มต้น 359,000 บาท สำหรับ EnergyLIB P1 All-In-One ใช้ไฟทั้งกลางวันและกลางคืน คืนทุนในเวลาเพียง 5-6 ปี [6] และ EnergyLIB P1 Lite ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เฉพาะเวลากลางวัน (ไม่มีแบตเตอรี่) ราคาเริ่มต้นที่ 199,000 บาท ราคาข้างต้นรวมบริการติดตั้งพื้นฐาน [1] การรับประกัน และบริการหลังการขาย



‘EnergyLIB P1 All-In-One’ เปิดให้พรีออร์เดอร์ตั้งแต่วันนี้ – 22 กันยายน 2567 พร้อมรับ EnergyLIB Voucher มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท ที่ร้าน BaNANA ทุกสาขา และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ สัมผัสเครื่องจริงได้ที่ BaNANA สาขาที่ร่วมรายการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook: EnergyLIB

 


 

หมายเหตุ (Disclaimer):

 

[1] อาจมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ภายหลังจากการสำรวจพื้นที่หน้างานจริง โดยขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสภาพแวดล้อมของบ้าน

 

[2] ปริมาณพลังงานไฟฟ้าคำนวณจากการใช้งาน EnergyLIB P1 All-In-One ระบบไฟ 3 เฟส ที่ติดตั้งแบตเตอรี่ 20 kWh และแผงโซลาร์เซลล์ 26 แผง โดยประสิทธิภาพและผลลัพธ์อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงและปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น ปริมาณแสงแดดและความร้อน ความสะอาดของแผงโซลาร์เซลล์ อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ

 

[3] ประสิทธิภาพของสินค้าเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ที่มีค่ากำลังการผลิตไฟฟ้าเท่ากันและอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยอิงตามเงื่อนไขการทดสอบมาตรฐานจากโรงงาน ไม่รวมสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น ช่วงที่ฝนตกต่อเนื่อง  

 

[4] ปริมาณพลังงานไฟฟ้าคำนวณจากการใช้งาน EnergyLIB P1 All-In-One ระบบไฟ 3 เฟส พร้อมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 26 แผง ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงแดดในกรุงเทพฯ และใช้งานเครื่องปรับอากาศ 18,000 BTU รุ่นประหยัดไฟ 3 ดาวขึ้นไป

 

[5] ระยะเวลาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ในกรณีไฟดับ ขึ้นอยู่กับปริมาณไฟที่คงเหลือในแบตเตอรี่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและ/หรือจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้ โปรดติดต่อวิศวกรของ EnergyLIB ล่วงหน้าสำหรับการตั้งค่าหน้างานจริง

 

[6] คำนวณจากการใช้ EnergyLIB P1 All-In-One แบบเต็มประสิทธิภาพ โดยระยะเวลาคืนทุนอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานจริง เช่น พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน และอื่นๆ

 

[7] โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ใบรับประกัน

 


 

อ้างอิง:

The post ลงทุนในโซลาร์เซลล์คุ้มค่าหรือไม่ และจุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน? [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจาะลึก ‘EnergyLIB’ ระบบโซลาร์โซลูชันแบบครบวงจร ปฏิวัติอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์เพื่อที่พักอาศัยครั้งแรกของไทย! พร้อมช่วยคนไทยลดค่าไฟสูงสุดถึง 70% [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/energylib/ Thu, 22 Aug 2024 11:00:33 +0000 https://thestandard.co/?p=974002 EnergyLIB

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น 30% (อ้างอิงจาก […]

The post เจาะลึก ‘EnergyLIB’ ระบบโซลาร์โซลูชันแบบครบวงจร ปฏิวัติอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์เพื่อที่พักอาศัยครั้งแรกของไทย! พร้อมช่วยคนไทยลดค่าไฟสูงสุดถึง 70% [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
EnergyLIB

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น 30% (อ้างอิงจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยประเภทบ้านพักอาศัยระหว่างปี 2564-2566) ส่วนหนึ่งมาจากการที่ภาครัฐทยอยปรับเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ตั้งแต่ปี 2565 ที่ระดับ 3.79 บาทต่อหน่วย ล่าสุดค่าไฟฟ้างวดเดือนมกราคม-เมษายน 2567 พุ่งเกิน 4 บาทต่อหน่วยเป็นที่เรียบร้อย และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

 

ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ก็มีแนวโน้มทำให้การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบ Work from Home หรือความนิยมใช้รถยนต์ EV ล้วนส่งผลให้การติดตั้ง ‘โซลาร์รูฟท็อป’ ได้รับความนิยมมากขึ้น เพื่อรับมือกับแนวโน้มค่าไฟที่อาจปรับตัวอีก และยังเป็นการขานรับเทรนด์พลังงานสะอาดอีกด้วย

 

แม้ว่าตลาดโซลาร์เซลล์ในเมืองไทยจะดูคึกคักทั้งจำนวนผู้เล่นที่หลากหลาย ทำให้ราคาอุปกรณ์ถูกลง แต่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ยังมีสัดส่วนในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์สูงกว่าการใช้งานในครัวเรือน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

 

เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ สเกลการติดตั้งในแต่ละครั้งมีจำนวนที่เยอะและมูลค่าสูงกว่า โดยหากเป็นการติดตั้งสำหรับครัวเรือน แต่ละบ้านอาจติดแผงโซลาร์เซลล์เพียงหลักสิบแผง แต่ในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์อาจติดแผงโซลาร์เซลล์สูงถึงหลักร้อยแผง นอกจากนี้ยังติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงรูปลักษณ์ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการติดตั้งให้สวยงาม

 

สำหรับภาคครัวเรือนยังคงมีความยากทั้งในการดีไซน์และบริการหลังการขาย พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่หลากหลายเป็นอย่างมาก โดย Pain Point ที่ผู้บริโภคมักประสบมีตั้งแต่การแยกซื้ออุปกรณ์จากหลายซัพพลายเออร์ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ดีไซน์ของอุปกรณ์ที่ดูไม่เข้ากับสไตล์บ้าน และข้อจำกัดเรื่องการจ่ายไฟในเวลากลางคืน ล้วนทำให้ผู้บริโภคไม่น้อยลังเล

 

กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด ‘EnergyLIB’ แบรนด์ระบบโซลาร์น้องใหม่ของวงการ ที่จะมาปฏิวัติอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์เพื่อที่พักอาศัยครั้งแรกของไทย แก้ปัญหาผู้บริโภคทั้งในด้านดีไซน์ของผลิตภัณฑ์และการติดตั้ง ไปจนถึงบริการหลังการขาย ปักธงเจาะตลาดระบบโซลาร์แบบครบวงจร พร้อมช่วยคนไทยลดค่าไฟสูงสุด 70%* สามารถใช้ไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

 

*ปริมาณพลังงานไฟฟ้าคำนวณจากการใช้งาน EnergyLIB P1 All-In-One ระบบไฟ 3 เฟส ที่ติดตั้งแบตเตอรี่ 20 kWh และแผงโซลาร์เซลล์ 26 แผง โดยประสิทธิภาพและผลลัพธ์อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงและปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อาทิ ปริมาณแสงแดดและความร้อน ความสะอาดของแผงโซลาร์เซลล์ อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ

 

 

รู้จัก ‘EnergyLIB’ แบรนด์โซลาร์เซลล์น้องใหม่เพื่อที่พักอาศัยครั้งแรกของไทย

 

EnergyLIB คือแบรนด์ระบบโซลาร์แบบครบวงจรสำหรับที่อยู่อาศัยในเมืองไทย ที่มาพร้อมแนวคิด ‘Powering a Better World’ มุ่งปฏิวัติวงการโซลาร์เซลล์ในไทยด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่ครบวงจร เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดได้อย่างง่ายดาย และมีอิสระในการใช้พลังงานอย่างแท้จริง

 

ความน่าสนใจยังอยู่ที่พาร์ตเนอร์อย่าง Shenghong Ligend Power ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการผลิตแบตเตอรี่ภายใต้เครือ Shenghong Holding Group บริษัทยักษ์ใหญ่ติดอันดับ 171 ใน Fortune Global 500 ปี 2024 โดยจะนำเทคโนโลยีสุดล้ำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงแก่ผู้บริโภค

 

 

ทวนทอง ศรีวิเชียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอเนอร์จี้ลิบ (ประเทศไทย) เผยกลยุทธ์บุกตลาดด้วยจุดเด่นด้านความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ All-In-One ทั้งประสิทธิภาพ ดีไซน์ และการบริการครบวงจร ด้วยการมีทีมวิศวกรมืออาชีพดูแล ติดตั้ง และตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์ทุกกระบวนการ นอกจากนี้ยังมุ่งสร้างประสบการณ์ตรงให้กับผู้บริโภคด้วยการนำสินค้าจริงไปจัดแสดงในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ พร้อมเปิดโอกาสให้ได้สัมผัสกับสินค้าจริงและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจซื้อ รวมไปถึงการจับมือกับพาร์ตเนอร์และดีลเลอร์ต่างๆ ทั้งตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศและ BaNANA ทุกสาขา

 

“EnergyLIB ต้องการให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้อย่างง่ายดาย มีอิสระในการใช้พลังงาน และแบ่งเบาภาระค่าใช้ไฟฟ้าในระยะยาว หากดูภาพรวมตลาดโซลาร์เซลล์สำหรับครัวเรือนปัจจุบันอยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเติบโตต่อเนื่องเป็นตัวเลข 2 หลักในทุกปี อีกทั้งตลาดนี้ยังไม่มีผู้เล่นหลักในรูปแบบโททัลโซลูชัน ภายใน 3 ปี เราตั้งเป้าที่จะมีส่วนแบ่งตลาดติด 3 อันดับแรกในภาคครัวเรือน เป็นผู้นำการมอบโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์และระบบเก็บพลังงานคุณภาพในประเทศไทย และพาประเทศไทยก้าวสู่ยุคพลังงานใหม่”

 

เจาะนวัตกรรมไฮไลต์ใน ‘EnergyLIB P1 All-In-One’ เครื่องเดียวจบ แบรนด์เดียวอยู่!

 

‘EnergyLIB P1 All-In-One’ ผลิตภัณฑ์ที่จะมาบุกตลาดโซลาร์โซลูชันที่อยู่อาศัยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสุดล้ำมากมาย ภายใต้สโลแกน ‘ลดค่าไฟ 70%* ใช้ไฟได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน’

 

ประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ และเครื่อง All-In-One รวมระบบแปลงไฟฟ้า ระบบควบคุมแบตเตอรี่ และระบบเก็บพลังงาน จบครบในเครื่องเดียว รวมไปถึงนวัตกรรมไฮไลต์ ได้แก่ ดีไซน์ ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ไร้ช่องตาราง สีดำสนิท เรียบหรู และเครื่อง All-In-One ที่ไม่เพียงช่วยประหยัดพื้นที่ แต่มีดีไซน์ที่สวยงาม จึงวางไว้จุดไหนของบ้านก็ได้ เปรียบเสมือนเฟอร์นิเจอร์ที่สวยงามชิ้นหนึ่งของบ้าน ลดค่าไฟสูงสุด 70%* ด้วยประสิทธิภาพการผลิตไฟที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมใช้ไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนี้ใครที่เคยกังวลว่าไฟดับแล้วจะใช้ประตูไฟฟ้าไม่ได้ บ่อปลาหยุดทำงาน อาหารที่แช่จะเสีย หมดปัญหาไม่มีไฟใช้ตอนไฟดับได้เลย เพราะสามารถใช้ไฟได้แม้ไฟดับ** เสมือนมีพาวเวอร์แบงก์ประจำบ้าน ทั้งยังสามารถติดตามสถานะการผลิตและการใช้กระแสไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ทุกที่ทุกเวลาผ่านแอปพลิเคชัน ‘LIB Life’ ได้อีกด้วย

 

*ปริมาณพลังงานไฟฟ้าคำนวณจากการใช้งาน EnergyLIB P1 All-In-One ระบบไฟ 3 เฟส ที่ติดตั้งแบตเตอรี่ 20 kWh และแผงโซลาร์เซลล์ 26 แผง โดยประสิทธิภาพและผลลัพธ์อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงและปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น ปริมาณแสงแดดและความร้อน ความสะอาดของแผงโซลาร์เซลล์ อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ

 

**ระยะเวลาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ในกรณีไฟดับ ขึ้นอยู่กับปริมาณไฟที่คงเหลือในแบตเตอรี่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และ/หรือจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้ โปรดติดต่อวิศวกรของ EnergyLIB ล่วงหน้า สำหรับการตั้งค่าหน้างานจริง

 

EnergyLIB P1 All-In-One ราคาเท่าไร? คุ้มค่าแค่ไหน?

 

EnergyLIB P1 All-In-One ใช้ไฟทั้งกลางวันและกลางคืน คืนทุนในเวลาเพียง 5-6 ปี* ราคาเริ่มต้นที่ 359,000 บาท และ EnergyLIB P1 Lite ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เฉพาะเวลากลางวัน (ไม่มีแบตเตอรี่) ราคาเริ่มต้นที่ 199,000 บาท

 

ราคาข้างต้นรวมบริการติดตั้งพื้นฐาน* การรับประกัน และบริการหลังการขาย โดย Black Magic (แผงโซลาร์เซลล์) รับประกัน 25 ปี และเครื่อง All-In-One (อินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่) รับประกัน 10 ปี โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ใบรับประกัน

 

*อาจมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการสำรวจพื้นที่หน้างานจริง โดยขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสภาพแวดล้อมของบ้าน

 

 

‘EnergyLIB P1 All-In-One’ เปิดให้พรีออร์เดอร์ตั้งแต่วันนี้ – 22 กันยายน 2567 พร้อมรับ EnergyLIB Voucher มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท ที่ร้าน BaNANA ทุกสาขา และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ หรือโทร. 0 2118 2838 (เฉพาะพรีออร์เดอร์) สัมผัสเครื่องจริงได้ที่ BaNANA สาขาที่ร่วมรายการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook Official Page: EnergyLIB

The post เจาะลึก ‘EnergyLIB’ ระบบโซลาร์โซลูชันแบบครบวงจร ปฏิวัติอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์เพื่อที่พักอาศัยครั้งแรกของไทย! พร้อมช่วยคนไทยลดค่าไฟสูงสุดถึง 70% [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปี 2568 ไทยเร่งปรับตัวรับความท้าทายระลอกใหม่…เมื่อสงครามการค้าโลกยังไม่จบ https://thestandard.co/thailand-adapt-challenges-global-trade-war-2025/ Wed, 17 Jul 2024 04:58:39 +0000 https://thestandard.co/?p=958990

สงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนระลอก […]

The post ปี 2568 ไทยเร่งปรับตัวรับความท้าทายระลอกใหม่…เมื่อสงครามการค้าโลกยังไม่จบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

สงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนระลอกใหม่กำลังกลับมาเป็นประเด็นให้พูดถึงกันอีกครั้ง หลังจากที่ทั้ง 2 ประเทศมีการผ่อนคลายชั่วคราวไปแล้วในช่วงปี 2563 อย่างไรก็ตาม การที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ (Strategic Industries ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์, โซลาร์เซลล์ และรถยนต์ไฟฟ้า) ช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่สหภาพยุโรปประกาศขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) จากจีนเป็นการชั่วคราว เพื่อตรวจสอบการอุดหนุนที่ไม่เป็นธรรม ยิ่งไปกว่านั้น แนวนโยบายการหาเสียงในการเลือกตั้งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ จะเป็นอีกจุดสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อสงครามการค้าในอนาคต โดยเฉพาะผู้เข้าชิงตำแหน่งคือ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีนโยบายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนถึง 60% ขณะที่ทางฝั่งของจีนที่ผ่านมาก็แสดงจุดยืนที่พร้อมจะตอบโต้มาตรการการค้าของสหรัฐฯ ยิ่งทำให้ความเป็นไปได้ที่สงครามการค้าระลอกใหม่อาจรุนแรงขึ้นกว่าเดิม จึงเกิดคำถามที่น่าสนใจว่า ไทยยังจะมีโอกาสและรับมือกับความเสี่ยงจากสงครามการค้าระลอกใหม่ได้มากน้อยเพียงใด

 

จากบทเรียนสงครามการค้าปี 2561 ไทยได้รับผลประโยชน์ไม่มาก และมีแนวโน้มที่จะได้รับผลบวกที่จำกัดจากสงครามการค้าครั้งใหม่

 

ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากสงครามการค้าครั้งที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สหรัฐฯ หันมานำเข้าสินค้าจากประเทศกลุ่มเอเชียอื่นๆ มากขึ้น ทดแทนการนำเข้าจากจีน ขณะเดียวกันจีนเองก็มีการส่งออกสินค้ามาในภูมิภาคมากขึ้น บางส่วนเป็นสินค้าขั้นต้นเพื่อนำมาเพิ่มมูลค่า ก่อนส่งออกไปสหรัฐฯ ในท้ายที่สุด นอกจากนี้ไทยยังได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนของต่างชาติ โดยมีการย้ายฐานการผลิต (Relocation) ของหลายบริษัทที่ส่งออกจากจีนไปยังประเทศต่างๆ มากขึ้น เพื่อลดอุปสรรคการค้าจากกำแพงภาษีที่สูง ตลอดจนลดความเสี่ยงผ่านการกระจายฐานการผลิต

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมผลประโยชน์เชิงการค้ากับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค พบว่า ไทยยังได้รับผลประโยชน์ไม่มากนัก สะท้อนได้จากสัดส่วนการค้าที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคู่แข่ง โดยสัดส่วนการนำเข้าสินค้าไทยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.50% ใกล้เคียงกับสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจีนของไทยที่เพิ่มขึ้น 0.49% (เทียบเป็นสัดส่วนในช่วงระหว่างปี 2557-2560 ก่อนปรับภาษีของสหรัฐฯ-จีน กับช่วงปี 2564-2566 ซึ่งเป็นช่วงหลังปรับภาษี) ในขณะที่สัดส่วนการนำเข้าสินค้าเวียดนามของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.08% สูงกว่าสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจีนของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นเพียง 1.18% เท่านั้น

 

นอกจากนี้ยังพบว่า ไทยมีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ในช่วงปี 2564-2565 อยู่ที่ 26.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่ำกว่าเวียดนามและมาเลเซีย ที่มีเม็ดเงิน FDI มากถึง 33.6 และ 35.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ประกอบกับผลจากการย้ายฐานการผลิตมาไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ขณะที่การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ในไทยอยู่ในขั้นเริ่มต้นการผลิตในประเทศ แตกต่างจากเวียดนามและมาเลเซียที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มาตั้งแต่ต้น ซึ่งได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต เช่น บริษัท Intel Corporation ที่ลงทุนสร้างฐานการผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ในมาเลเซีย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าสงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีนในระลอกต่อไปที่เน้นในกลุ่ม Strategic Industries ทำให้ไทยอาจได้รับผลประโยชน์ที่จำกัดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

 

โครงสร้างเศรษฐกิจและนโยบายการค้าช่วยสนับสนุนได้อย่างจำกัด ส่งผลให้อาจได้รับผลเสียทางอ้อมจากสงครามการค้าระลอกใหม่

 

ด้วยศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยที่ต่ำกว่าในอดีตจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมา จากกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีเก่าที่มีความต้องการในตลาดโลกน้อยลง ความน่าสนใจในการลงทุนเพื่อใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยังคงมีน้อยเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพสูง ตลอดจนนโยบายสนับสนุนที่ค่อนข้างจำกัด ผ่านการมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTAs) ที่ครอบคลุมไม่มากเท่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค หรือผลกระทบข้างเคียงจากนโยบายการค้าเสรี ทำให้การระบายสินค้าของจีน (Destocking) เข้ามาในไทยมากขึ้น เนื่องจากภาคการผลิตในบางอุตสาหกรรมของจีนมีปัญหาอุปทานล้นตลาด (Over Capacity) รวมถึงการที่ราคาสินค้านำเข้าจากจีนมีระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการอุดหนุนการผลิตและส่งออก จึงกระทบต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมในประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันน้อยหรือมีต้นทุนสูงกว่า เช่น เหล็กและโลหะ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงเคมีภัณฑ์ หรือที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้คืออุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ในไทยที่มีการแข่งขันด้านราคาที่ดุเดือดมากขึ้นจากการที่จีนเร่งส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะได้รับผลเสียจากผลกระทบทางอ้อมของสงครามการค้ารอบถัดไป

 

โดยสรุป สงครามการค้าระลอกใหม่อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจากบทเรียนในอดีต ไทยได้รับอานิสงส์ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศภูมิภาค นอกจากนี้ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ต่ำลง ความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง และนโยบายสนับสนุนต่างๆ ที่ยังไม่สามารถยกระดับศักยภาพขึ้นได้ในปัจจุบัน ทำให้ไทยอาจมีความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบด้านลบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมากขึ้น ท้ายที่สุดอาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศมากกว่าที่คิด ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ของภาครัฐที่จะช่วยขับเคลื่อนและยกระดับการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในประเทศในระยะต่อๆ ไป ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการเอกชนจำเป็นต้องเร่งปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและเพิ่มการวิจัยพัฒนาเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลกได้

 

ภาพ: Imagine Photographer / Getty Images

The post ปี 2568 ไทยเร่งปรับตัวรับความท้าทายระลอกใหม่…เมื่อสงครามการค้าโลกยังไม่จบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พีระพันธุ์ลงพื้นที่เกาะสมุย ติดตามระบบกักเก็บพลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน https://thestandard.co/peerapan-samui-island-bess-follow-up/ Sun, 30 Jun 2024 11:09:18 +0000 https://thestandard.co/?p=951960 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

วานนี้ (29 มิถุนายน) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐ […]

The post พีระพันธุ์ลงพื้นที่เกาะสมุย ติดตามระบบกักเก็บพลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

วานนี้ (29 มิถุนายน) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่เพื่อติดตามการติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ในโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยาและวัดหน้าพระลาน รวมถึงเยี่ยมชมระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) บนพื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

 

พีระพันธุ์ได้ติดตามปัญหาที่โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา เข้ารับฟังบรรยายสรุปถึงปัญหาด้านพลังงานของโรงเรียน เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้จัดการเรียนการสอนได้ไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอ โดยเฉพาะการเรียนการสอนที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก จึงขอสนับสนุนพลังงานโซลาร์เซลล์ เพื่อติดตั้งบริเวณหลังคาทางเดินระหว่างอาคาร 

 

รวมถึงขอปรับเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าจาก 250 แอมป์เป็น 500 แอมป์ เพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น จากนั้นพีระพันธุ์ได้ลงพื้นตรวจเยี่ยมที่วัดหน้าพระลาน ซึ่งมีการนำหลอดไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบริเวณถนนทางเข้าวัด เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าภายในวัดและเป็นต้นแบบในชุมชน

 

ต่อจากนั้นเดินทางไปเยี่ยมชมระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ หรือ BESS ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานสายเคเบิลใต้น้ำเส้นเดิมให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนำระบบดังกล่าวมาบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ระบบไฟฟ้าที่เชื่อมโยงกันทั้ง 3 เกาะ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า มีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ

ทั้งนี้ การทำงานของระบบ BESS จะช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ทำให้สามารถควบคุมและรักษาความถี่ของกระแสไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยทำหน้าที่เหมือนแบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) ที่คอยเก็บสะสมพลังงานส่วนเกินจากระบบส่งกระแสไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันราคาแบตเตอรี่สำรองลดลงจึงมีความคุ้มทุนมากขึ้น

 

พีระพันธุ์กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่มีส่วนขับเคลื่อนการใช้พลังงานธรรมชาติจากโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกในการช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนในการใช้ไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของโครงข่ายไฟฟ้าและพลังงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ทำให้ภาคพลังงานมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศที่มุ่งสู่ Carbon Neutrality ในปี 2593

The post พีระพันธุ์ลงพื้นที่เกาะสมุย ติดตามระบบกักเก็บพลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สหรัฐฯ เล็งปรับขึ้นกำแพงภาษีแผงโซลาร์-รถ EV จากจีน ท่ามกลางการนับถอยหลังศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี https://thestandard.co/usa-raising-tariffs-on-chinese-evs/ Fri, 22 Dec 2023 06:33:42 +0000 https://thestandard.co/?p=880032

สหรัฐฯ เล็งขึ้นภาษีสินค้าจีนทั้งรถยนต์ไฟฟ้า EV และแผงโซ […]

The post สหรัฐฯ เล็งปรับขึ้นกำแพงภาษีแผงโซลาร์-รถ EV จากจีน ท่ามกลางการนับถอยหลังศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี appeared first on THE STANDARD.

]]>

สหรัฐฯ เล็งขึ้นภาษีสินค้าจีนทั้งรถยนต์ไฟฟ้า EV และแผงโซลาร์ รวมไปถึงป้องกันอุตสาหกรรมสีเขียวจากสินค้าราคาถูกจากจีน ท่ามกลางศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2024 

 

สำนักข่าว Wall Street Journal รายงานว่า ฝ่ายบริหารของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังหารือเกี่ยวกับการตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีนหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า (EV) และแผงโซลาร์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นความพยายามในการสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของสหรัฐฯ และป้องกันการนำเข้าสินค้าจีนที่เข้ามาดัมป์ราคา

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า EV นำเข้าจากจีนต้องเสียภาษี 25% เพื่อให้ผู้ผลิตรถ EV ของสหรัฐฯ สามารถแข่งขันกับจีนได้ ซึ่งการเพิ่มภาษีดังกล่าวจะส่งผลต่อราคารถ EV ในสหรัฐฯ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้คาดว่าจะเพิ่มภาษีเกี่ยวกับพลังงานสีเขียว เช่น แผงโซลาร์เซลล์และชุดแบตเตอรี่ EV โดยถึงแม้ว่าปัจจุบันสหรัฐฯ จะนำเข้าแผงโซลาร์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลักอยู่แล้ว และจีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่สินค้าเหล่านี้อีกด้วย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

การตั้งกำแพงภาษีครั้งนี้อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าไบเดนจะเริ่มเข้มงวดกับจีนมากขึ้น ท่ามกลางการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในสิ้นปีหน้า โดย โจ ไบเดน อาจต้องท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับ โดนัลด์ ทรัมป์ อีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับสินค้าพลังงานสะอาดที่นำเข้ามาจากจีน ด้วยเศรษฐกิจจีนที่ซบเซาในปีนี้จึงมีความกังวลว่า ต่อให้บริษัทอเมริกันจะได้รับการคุ้มครองภาษีและเงินอุดหนุนใหม่แล้วก็ยังไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้

 

นอกจากนี้เมื่อเร็วๆ นี้ โจ ไบเดน กล่าวกับกลุ่มสมาชิก United Auto Workers ว่า “จีนมีความมุ่งมั่นที่จะครองตลาดรถ EV ด้วยการค้าที่ไม่เป็นธรรม และผมจะไม่ยอมให้จีนทำต่อไปได้”

 

ด้าน เซี้ยเฝิง เอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐฯ กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ในงานที่จัดโดยสภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีนว่า “โมเมนตัมการรักษาเสถียรภาพในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนไม่ควรถูกขัดขวางโดยการเมืองภายในประเทศ สหรัฐฯ เคยเรียกร้องให้เป็นไปตามกลไกของตลาดเหตุใดจึงปรับทิศทางตอนนี้”

 

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า การเพิ่มภาษีครั้งนี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะเดียวกันการค้ากับจีนกำลังกลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายกำลังจับตาเพื่อการเลือกตั้งสหรัฐฯ ครั้งถัดไป โดยที่ผ่านมานโยบายของทรัมป์จะให้ความสำคัญในการแข่งขันกับจีน ขณะเดียวกันในการหาเสียงยังมีการคัดค้านการผลักดันพลังงานสะอาดของไบเดน ที่บางฝ่ายมองว่าอาจเอื้อประโยชน์ต่อจีนและสมาชิกพรรครีพับลิกัน บางฝ่ายก็พยายามแสดงให้เห็นว่าไบเดนไม่ได้เข้มงวดกับจีนมากจนเกินไป

 

อ้างอิง: 

The post สหรัฐฯ เล็งปรับขึ้นกำแพงภาษีแผงโซลาร์-รถ EV จากจีน ท่ามกลางการนับถอยหลังศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
บีซีพีจี ลุยขายโรงไฟฟ้าโซลาร์ในญี่ปุ่น 9 โครงการ ขนาดรวม 117 เมกะวัตต์ มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดปิดดีลต้นปี 67 https://thestandard.co/bcpg-sell-solar-power-plants-in-japan/ Mon, 04 Dec 2023 07:17:48 +0000 https://thestandard.co/?p=873173

บมจ.บีซีพีจี เซ็นสัญญาขายโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มในปร […]

The post บีซีพีจี ลุยขายโรงไฟฟ้าโซลาร์ในญี่ปุ่น 9 โครงการ ขนาดรวม 117 เมกะวัตต์ มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดปิดดีลต้นปี 67 appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.บีซีพีจี เซ็นสัญญาขายโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มในประเทศญี่ปุ่นทั้ง 9 โครงการ มูลค่าการซื้อ-ขายรวม 10,377 ล้านบาท หวังรีไซเคิลเงินลงทุน นำเงินสดที่ได้ไปต่อยอดพัฒนาโครงการอื่นๆ ในอนาคต

 

นิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บีซีพีจี หรือ BCPG แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทได้ขายเงินลงทุนทั้งหมดในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์) ในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 9 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 117 เมกะวัตต์ รวมถึงบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่นซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการบริหารจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) และให้บริการเดินเครื่องและบำรุงรักษา (Operation & Maintenance) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัท โดยการจำหน่ายไปซึ่งหุ้นสามัญในบริษัทย่อยและเงินลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมดรวมมูลค่าซื้อ-ขาย 42,970 ล้านเยน หรือ 10,377 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยส่วนของมูลค่าหุ้น 6,935 ล้านบาท และส่วนของหนี้สินเงินกู้โครงการสุทธิ 3,442 ล้านบาท 

 

เบื้องต้นบริษัทได้ลงนามสัญญาซื้อ-ขายหุ้นกับกลุ่ม Obton ซึ่งเป็นบริษัทไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่จากยุโรป เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา และมั่นใจว่าธุรกรรมการซื้อ-ขายหุ้นดังกล่าวจะสำเร็จลุล่วงภายในไตรมาส 1/2567

 

การจำหน่ายสินทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่นเป็นไปตามแผนการดำเนินธุรกิจระยะยาวของบริษัทในการเข้าพัฒนาโรงไฟฟ้าตั้งแต่ก่อนการก่อสร้างจนกระทั่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ แล้วทำการจำหน่ายให้แก่นักลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดที่มั่นคง เพื่อสร้างโอกาสทำกำไรสูงสุด 

 

โดยบริษัทได้เริ่มลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วเพียง 13 เมกะวัตต์ ณ ขณะนั้น และต่อมาบริษัทได้พัฒนาและก่อสร้างโครงการเพิ่มเติมอีก 132 เมกะวัตต์ รวมถึงได้ขายโครงการ 2 โครงการ รวมจำนวน 28 เมกะวัตต์ ไปในปี 2561 ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 117 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วจำนวน 104 เมกะวัตต์ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 13 เมกะวัตต์

 

โครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโครงการโรงไฟฟ้าที่มีคุณภาพ สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกหลายรายที่ต้องการลงทุน

 

สำหรับการจำหน่ายโครงการทั้งหมดในญี่ปุ่น รวมถึงบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบราคาขายกับต้นทุนทางบัญชีคาดว่าจะทำให้มีส่วนต่างกว่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนที่จะนำกระแสเงินสดจากการจำหน่ายโครงการดังกล่าวกลับมาใช้รองรับโครงการลงทุนใหม่ๆ เป็นการเพิ่มศักยภาพในการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

“โครงการของบีซีพีจีและแพลตฟอร์มการบริหารจัดการโครงการในญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากนักลงทุนระดับโลกหลายรายในการเสนอซื้อสินทรัพย์ เป็นการตอกย้ำว่าโครงการต่างๆ ของบริษัทได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการในมาตรฐาน World Class รวมถึงยังสามารถสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ มีระบบการบริหารจัดการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล” นิวัติกล่าว

The post บีซีพีจี ลุยขายโรงไฟฟ้าโซลาร์ในญี่ปุ่น 9 โครงการ ขนาดรวม 117 เมกะวัตต์ มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดปิดดีลต้นปี 67 appeared first on THE STANDARD.

]]>