ไม่มีใครไม่รู้จัก ‘โคคา-โคล่า’ หรือ ‘โค้ก’ เครื่องดื่มน […]
The post เส้นทาง 65 ปีของ ‘ไทยน้ำทิพย์’ ที่เริ่มต้นจากโค้กขวดแก้วราคา 1 บาท สู่ผู้นำตลาดเครื่องดื่มที่มีผลิตภัณฑ์กว่า 250 รายการ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.
]]>ไม่มีใครไม่รู้จัก ‘โคคา-โคล่า’ หรือ ‘โค้ก’ เครื่องดื่มน้ำดำที่ทำหน้าที่ส่งมอบความสดชื่นให้กับคนทั่วโลกมา 138 ปีแล้ว แต่กว่าเครื่องดื่ม ‘โคคา-โคล่า’ จะเดินทางมาส่งมอบความสดชื่นให้กับคนไทยก็ล่วงเลยมาถึง ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492)
ในยุคบุกเบิก ‘โค้ก’ เดินสายการผลิตด้วยเครื่องจักรบรรจุขวดขนาดเล็กที่ชื่อ ‘ดิกซี่’ เพียง 2 เครื่อง ผลิตเครื่องดื่มขนาด 6.5 ออนซ์ ด้วยกำลังการผลิต 160 ขวดต่อนาที ภายในโรงงานบนถนนหลานหลวง โดยมีรถขนส่งเพียง 7 คัน เดินสายส่งความซ่าและสดชื่นให้กับคนไทยในราคาขวดละ 1 บาท
โค้ก กลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากคนไทยในเวลารวดเร็ว เมื่อความต้องการของตลาดเริ่มขยายวงกว้าง จุดเริ่มต้นของ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด จึงถือกำเนิดขึ้น
‘ไทยน้ำทิพย์’ ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2502 โดยกลุ่มนักธุรกิจจากครอบครัวสารสิน, เคียงศิริ และบุญสูง ได้ร่วมกับ บริษัท โคคา-โคลา เอ็กซ์ปอร์ต คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้ง บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยทุนจดทะเบียน 7 ล้านบาท โรงงานแห่งแรกบนถนนหลานหลวง ถูกย้ายไปแห่งใหม่บนถนนสีลม เพื่อรองรับธุรกิจที่เติบโตขึ้น
หลังจากนั้น บริษัทตัดสินใจปักเสาเข็มสร้างโรงงานบรรจุขวดแห่งที่ 2 ซึ่งเป็นโรงงานแห่งแรกในต่างจังหวัดที่ขอนแก่น ใน พ.ศ. 2510 บนพื้นที่ 27 ไร่ ปัจจุบันขยายพื้นที่เป็น 35 ไร่ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดน้ำอัดลมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ใน พ.ศ. 2512 ไทยน้ำทิพย์ ย้ายโรงงานและสำนักงานใหญ่จากถนนสีลมมาที่หัวหมาก เพื่อขยายกำลังการผลิต โดยมีเครื่องจักรอัตโนมัติที่ทันสมัยถึง 3 เครื่อง มีกำลังการผลิต 200-250 ล้านลิตรต่อปี
หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2520 เพื่อรองรับตลาดภาคเหนือที่เติบโตต่อเนื่อง บริษัทเดินหน้าขยายความสดชื่นด้วยการเปิดโรงงานที่จังหวัดลำปาง บนพื้นที่ 54 ไร่ เพิ่มกำลังการผลิต 100-150 ล้านลิตรต่อปี
จากนั้นไม่นาน บริษัทก็ทุ่มงบลงทุนกว่า 450 ล้าน สร้างโรงงานไทยน้ำทิพย์แห่งใหม่ที่ปทุมธานี ใน พ.ศ. 2524 เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดน้ำอัดลมภาคกลาง โดยนำระบบกำจัดน้ำเสียอะนาโรบิคมาใช้ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นโรงงานที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียอาคเนย์
ปัจจุบัน โรงงานไทยน้ำทิพย์ ปทุมธานี ยังได้ชื่อว่าเป็นโรงงานที่มีสายการผลิตเครื่องดื่มแบบกระป๋องเร็วที่สุดในประเทศไทย โดยสามารถผลิตเครื่องดื่มได้ 2,000 กระป๋องต่อนาที
โดย พ.ศ. 2539 เปิดโรงงานรังสิตบนพื้นที่ 205 ไร่ เพื่อขยายการผลิตและจัดจำหน่ายในพื้นที่ภาคกลาง
ไม่แต่เฉพาะโรงงานที่ขยายต่อเนื่องไปทั่วประเทศ เมื่อกำลังคนเพิ่มมากขึ้น บริษัทจึงย้ายสำนักงานใหญ่จากหัวหมากไปที่โครงการนอร์ธปาร์ค ถนนวิภาวดีรังสิต ใน พ.ศ. 2540 และปีเดียวกัน ยังเปิดโรงงานที่โคราช บนพื้นที่ 60 ไร่ ขยายกำลังการผลิตและจัดจำหน่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ถึง 200 ล้านลิตรต่อปี
ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ทศวรรษ ไทยน้ำทิพย์ยังคงให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานระดับโลกของการผลิตสินค้า ทั้งการยกระดับศักยภาพโรงงาน ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
เส้นทางการเติบโตของ ‘ไทยน้ำทิพย์’ ยังสร้างสิ่งดีๆ ให้กับโลกผ่านการดำเนินการด้านความยั่งยืนบน 3 เสาหลัก ได้แก่
เพราะน้ำ คือหัวใจสำคัญในทุกผลิตภัณฑ์ของ ‘ไทยน้ำทิพย์’ การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นภารกิจสำคัญขององค์กร โดยใช้กลยุทธ์ 3R ด้วยการ ลด (Reduce) ปริมาณการใช้น้ำ โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่นำมาใช้คือแอปพลิเคชัน ‘บำรุง’ ที่พัฒนาโดยบริษัทไทย นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต รวมถึง บำบัด (Recycle) น้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว เช่น ติดตั้งระบบ Membrane Bio Reactor บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบ R.O. (Reverse Osmosis) เพื่อนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดจนสะอาดได้มาตรฐานกลับมาใช้ใหม่ในขั้นตอนการผลิต (ไม่ใช่วัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องดื่ม)
โดยโรงงานไทยน้ำทิพย์ทั้ง 5 แห่ง ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใน 4 ปีที่ผ่านมา สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 907 ล้านลิตร สะท้อนถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม
แนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดภายในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ปัจจุบันโรงงานไทยน้ำทิพย์ครบทั้ง 5 แห่ง ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานสะอาดรวม 12.6242 MWp คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน
นอกจากนี้ยังมีการนำรถยกสินค้าพลังงานไฟฟ้า (EV Forklift) มาใช้ในคลังสินค้า และรถขนส่งสินค้าพลังงานไฟฟ้า (EV Truck) ที่ติดตั้งระบบ Telematics มาใช้บริหารจัดการการขนส่ง ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกล้อง AI ช่วยจับตาความเสี่ยงของพฤติกรรมการขับขี่ เพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงานขับรถ โดยใน พ.ศ. 2566 สามารถลดการใช้พลังงานได้ 34.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
‘ไทยน้ำทิพย์’ ขานรับเทรนด์รักษ์โลกตั้งแต่ พ.ศ. 2552 โดยเริ่มจากการลด (Reduce) ปริมาณพลาสติกในบรรจุภัณฑ์ผ่านการ Lightweight โดยยังคงรักษาคุณภาพและความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ จนทำให้สามารถลดการใช้เม็ดพลาสติกลงได้กว่า 7,645 ตัน
นอกจากลดการใช้ ไทยน้ำทิพย์ ยังออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ (Redesign) พลิกโฉม ‘สไปรท์’ จากขวดเขียวเป็นขวดใส เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำบรรจุภัณฑ์กลับไปรีไซเคิล
โดยใน พ.ศ. 2566 ‘ไทยน้ำทิพย์’ จับมือ ‘โคคา-โคล่า’ เปิดตัวขวด Recycled PET (rPET) ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล 100% (ยกเว้นฉลากและฝาขวด) โดยเริ่มจาก ‘โค้ก’ ขนาด 1 ลิตร และปีนี้ก็เพิ่งเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ rPET เพิ่มเติมในโค้กขนาด 300 มิลลิลิตร และ 510 มิลลิลิตร
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการจัดเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกและกระป๋องที่ใช้แล้ว (Collection & Recycling) เพื่อสร้างวงจรปิดของบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศไทย และกระตุ้นให้ผู้บริโภครับรู้และมีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์
ใครจะเชื่อว่าจากเครื่องดิกซี่ 2 เครื่อง ที่มีกำลังผลิตเพียง 160 ขวดต่อนาที ปัจจุบัน ไทยน้ำทิพย์มีสายการผลิต 21 สาย ที่มีกำลังการผลิตรวมกันถึง 450 ล้านยูนิตเคสต่อปี จากโรงงานที่ทันสมัยระดับโลกที่มีจำนวน 5 แห่ง ในปทุมธานี รังสิต นครราชสีมา ขอนแก่น และลำปาง คลังสินค้ามากกว่า 50 แห่ง รถขนส่งสินค้าที่มีเทคโนโลยี Telematics และกล้อง AI ที่ทันสมัยกว่า 1,100 คัน ซึ่งรวมถึงรถ EV เพื่อขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยคาร์บอน
จากผลิตภัณฑ์แรก ‘โคคา-โคล่า’ ขนาด 6.5 ออนซ์ วันนี้ ไทยน้ำทิพย์ มีผลิตภัณฑ์กว่า 250 รายการ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภค ให้บริการร้านค้ากว่า 430,000 แห่งในประเทศไทย และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าในแพลตฟอร์มออนไลน์
จากจุดเริ่มต้นที่มีการบริหารงานแบบธุรกิจครอบครัว โดยมีพนักงานเพียงไม่กี่คน วันนี้ ไทยน้ำทิพย์ ถือเป็นหนึ่งใน Bottling Partner ของ The Coca-Cola Company ที่ได้รับการยอมในระดับภูมิภาค ดูแลพื้นที่ 63 จังหวัดในประเทศไทย ครอบคลุมกรุงเทพฯ, ภาคเหนือ, อีสาน, ตะวันออก และตะวันตก (ยกเว้นภาคใต้) โดยมีผลิตภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอประกอบไปด้วย โค้ก, แฟนต้า, สไปรท์, ชเวปส์, เอแอนด์ดับบลิว รูทเบียร์, น้ำส้ม มินิทเมด สแปลช, มินิทเมด พัลพิ, น้ำดื่มน้ำทิพย์, และ อู-ฮ่า มีการจ้างงานพนักงาน หรือ ฅนไทยน้ำทิพย์ กว่า 8,000 ชีวิต
ไทยน้ำทิพย์ นอกจากจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการนำผลิตภัณฑ์ ‘โคคา-โคล่า’ มาส่งความสดชื่น มอบความสุขให้คนไทยแล้ว ในทุกย่างก้าวตลอด 65 ปีของไทยน้ำทิพย์ ยังทำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงด้วยคุณภาพระดับโลก ขับเคลื่อนสิ่งดีๆ ทำในสิ่งที่ถูกต้องและยั่งยืนเพื่อลูกค้า ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทย ผ่านบทพิสูจน์มากมาย จนได้รับรางวัลและการยอมรับในหลายด้าน อาทิ
การจัดอันดับบริษัทคู่ค้า (ซัพพลายเออร์) อันดับ 1 ในธุรกิจประเภท FMCG และผู้ผลิตเครื่องดื่ม ที่ลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจโมเดิร์นเทรดในประเทศไทยให้การยอมรับ จากการสำรวจประจำปี 2024 ของแอดแวนเทจ กรุ๊ป (Advantage Group International) บริษัทผู้ทำวิจัยตลาดระดับโลก โดยได้รับการยอมรับในด้านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ด้านการดำเนินงาน ด้านวิสัยทัศน์ และด้านชื่อเสียง (Reputation) สะท้อนความเชื่อมั่นของลูกค้าในการร่วมธุรกิจกับไทยน้ำทิพย์
นอกจากนี้ ไทยน้ำทิพย์ ยังคว้ารางวัลด้านทรัพยากรบุคคล ได้แก่ รางวัล Kincentric Best Employer Thailand 2024 และ HR Excellence Awards 2024 ระดับ Gold ‘Excellence in Corporate Wellness’
แน่นอนว่าเป้าหมายการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนของไทยน้ำทิพย์จะไม่หยุดเพียงเท่านี้ แต่บริษัทยังตั้งเป้าเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เดินหน้าส่งมอบความสดชื่นไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าให้สังคมไทย พร้อมผนึกกำลังกับพันธมิตรเพื่อขยายการเติบโตทางธุรกิจต่อไป
The post เส้นทาง 65 ปีของ ‘ไทยน้ำทิพย์’ ที่เริ่มต้นจากโค้กขวดแก้วราคา 1 บาท สู่ผู้นำตลาดเครื่องดื่มที่มีผลิตภัณฑ์กว่า 250 รายการ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.
]]>เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งกับโครงการดีๆ ที่ชวนคนไทยหันมาเปลี่ […]
The post เดินหน้าภารกิจ ‘World Without Waste’ “โคคา-โคล่า” จับมือพันธมิตรสานต่อแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปี 2 [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.
]]>เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งกับโครงการดีๆ ที่ชวนคนไทยหันมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแยกขยะ พร้อมร่วมกิจกรรมลุ้นรางวัลใหญ่ ซึ่งในครั้งที่ผ่านมานั้นประสบความสำเร็จอย่างมากมาย เพราะสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมได้เป็นจำนวนไม่น้อย และในปีที่ 2 นี้ จัดยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพราะ “โคคา-โคล่า” เพิ่มทั้งระยะเวลา ของรางวัล แถมยังผนึกกำลังกับพันธมิตรมากขึ้นกว่าเดิม ทั้ง Trash Lucky, บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน), โลตัส และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งเชื่อแน่ว่าจะขยายผลให้คนไทยอีกไม่น้อยหันมาร่วมรักษ์โลกด้วยการคัดแยกขยะกันตั้งแต่ต้นทาง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างแน่นอน
จากวิสัยทัศน์ “World Without Waste” สู่ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky ปี 2
นอกจากพันธมิตรเดิมในปีแรกแล้ว แคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ในปีที่ 2 ยังมีพันธมิตรที่ทรงพลังและมุ่งขับเคลื่อนเป้าหมายเดียวกันเพิ่มอย่าง เชลล์ และ โลตัส
แคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ ‘World Without Waste’ ของ “โคคา-โคล่า” ซึ่งมุ่งใช้และจัดการกับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอย่างรับผิดชอบ หนึ่งในเป้าหมายหลักคือการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับมารีไซเคิลให้ได้ในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่จำหน่ายออกสู่ตลาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อนปี 2573 ทั้งนี้ นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสารและความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล่าถึงความเป็นมาของแคมเปญดังกล่าวในปีแรกให้ฟังว่า
“อันที่จริงแล้ว “โคคา-โคล่า” เราดำเนินงานและมีโครงการต่างๆ ตามวิสัยทัศน์ของ ‘World Without Waste’ อย่างการจัดการขยะโดยทำงานร่วมกับชุมชนต่างๆ ฯลฯ มาโดยตลอดอยู่แล้ว สำหรับแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky นี้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2564 พร้อมกับเปิดตัวดีไซน์ฉลากบรรจุภัณฑ์ใหม่ของ “โคคา-โคล่า” ในประเทศไทยที่เพิ่มคำว่า “โปรดรีไซเคิล” เข้ามาเพื่อสร้างความตระหนักถึงการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเราได้ร่วมมือกับ Trash Lucky ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสร้างพฤติกรรมแยกขยะเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล”
“เพื่อขยายผลความสำเร็จจากแคมเปญนี้ในปีที่ผ่านมา รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วที่มีค่าอย่างขวดพลาสติกหรือกระป๋องออกจากขยะทั่วไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืน เราจึงสานต่อแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปีที่ 2 สำหรับปีนี้นอกจาก Trash Lucky และบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) พันธมิตรหลักแล้ว เรายังจับมือกับพันธมิตรใหม่ๆ อย่าง โลตัส และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งทุกฝ่ายต่างก็มีความมุ่งมั่นส่งเสริมการรีไซเคิลเช่นเดียวกับ “โคคา-โคล่า”
“พวกเราทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าการแก้ปัญหาขยะนั้นไม่ใช่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเรายินดีต้อนรับทุกองค์กรที่สนใจมาร่วมกันผลักดันการรีไซเคิลให้ขยายวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะองค์กรที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นจุดรับวัสดุรีไซเคิลเพิ่มเติม เราทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการแข่งขันทางการค้า ดังนั้นไม่ว่าองค์กรใดในภาคธุรกิจใดก็แล้วแต่ ขอเพียงมีเป้าหมายเป็นหนึ่งเดียว เราก็ยินดีต้อนรับเป็นพันธมิตรเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยสามารถแจ้งความจำนงไปที่ Trash Lucky ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยเราในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มจุดรับพัสดุรีไซเคิลใหม่ๆ ให้เชื่อมโยงกับเครือข่ายปัจจุบันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการด้านการขนส่งและรวบรวม ตลอดจนเพื่อมอบความสะดวกและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคที่สนใจเข้าร่วมส่งวัสดุรีไซเคิล”
นันทิวัต ธรรมหทัย
ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสารและความยั่งยืน
บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด
“โคคา-โคล่า” ได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ในการร่วมกันทำงานเพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งยังคาดการณ์ว่าด้วยระยะเวลาของโครงการที่ยาวนานขึ้นเป็น 6 เดือนเต็ม และแรงจูงใจเป็นรางวัลที่มากขึ้นกว่าปีก่อน โดยในปีนี้มีมูลค่ารวมถึงกว่า 2,000,000 บาท น่าจะทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น มากไปกว่านั้นการเพิ่มจุดรับวัสดุรีไซเคิลที่กระจายมากขึ้น จะมอบความสะดวกให้กับทุกคน ซึ่งน่าจะทำให้แคมเปญในปีนี้สามารถรวบรวมขยะและนำส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างถูกต้องมากกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน
ในการจะดำเนินโครงการนี้ให้ประสบผลสำเร็จและสานต่อขยายผลให้คนไทยหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมแยกขยะกันตั้งแต่ต้นทางนั้น พันธมิตรหลักที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดกิจกรรมนี้ตั้งแต่ปีที่แล้วอย่าง ณัฐภัค อติชาตการ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด ได้กล่าวถึงข้อสังเกตที่น่าสนใจในปีที่ผ่านมาว่า กลุ่มเป้าหมายของแคมเปญนี้มีด้วยกันหลักๆ 3 กลุ่ม ได้แก่
“จากปีที่แล้วเราประสบความสำเร็จในการเก็บรวบรวมพลาสติกได้ถึงกว่า 3,500 กิโลกรัม หรือขวดขนาด 600 มิลลิลิตรประมาณ 157,500 ขวด ซึ่งต้องขอขอบคุณทาง “โคคา-โคล่า” ที่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นขวดของแบรนด์ “โค้ก” เท่านั้น นอกจากนี้ยังรวมถึงขยะประเภทอื่นอย่างแก้ว กระดาษ และโลหะ ทำให้เราสามารถเก็บรวบรวมขยะไปรีไซเคิลได้ทั้งหมดมากถึง 23 ตันในเวลาเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้นเองครับ ส่วนในปีนี้เรามีความมุ่งหวังว่าด้วยการขยายเวลานานขึ้นเป็น 6 เดือน และการที่ทาง “โคคา-โคล่า” ยินดีมอบรางวัลจูงใจเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ก็น่าจะยิ่งทำให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมลุ้นรับรางวัลมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของแทรชลัคกี้ ในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนหันมาแยกขยะรีไซเคิลตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดขยะในหลุมฝังกลบและในมหาสมุทร โดยนอกจากของรางวัลแรงจูงใจ ผมคิดว่า Key Successes ที่สำคัญของโครงการนี้อย่างหนึ่งก็คือความสะดวกของผู้บริโภค ซึ่งในปีนี้เราดีใจมากที่ได้พันธมิตรใหม่ๆ อย่างโลตัสและเชลล์ประเทศไทยมาเข้าร่วมตั้งจุดรับวัสดุรีไซเคิลทั่วกรุงเทพฯ และเรายังเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมแรงร่วมใจของผู้บริโภคจะนำไปสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ในปีนี้เราจะมีการวัดผลและสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับความเข้าใจและทัศนคติการรีไซเคิล เพื่อปรับปรุงการทำงานที่จะทำให้เกิดไลฟ์สไตล์การรีไซเคิลในชีวิตประจำวัน เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนครับ”
ณัฐภัค อติชาตการ
ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด
ด้าน นวีนสุดา กระบวนรัตน์ หัวหน้าฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีภารกิจหลักในการมอบชีวิตใหม่ให้กับพลาสติก PET ที่ใช้แล้วโดยการเปลี่ยนเป็นเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล ได้กล่าวว่า
“ในปีที่แล้วเราประสบความสำเร็จในการนำขวดพลาสติก PET ที่รวบรวมได้ไปรีไซเคิลผลิตเป็นชุด PET คุณภาพสูง และนำไปมอบแก่สำนักงานสาธารณสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับปีนี้เรามีความยินดีที่ได้ร่วมทำงานเพื่อเป็นการตอบรับกับการปลดล็อกกฎหมายอนุญาตให้ใช้ขวดพลาสติก PET ใช้แล้วมารีไซเคิลเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม โดยระหว่างนี้เรากำลังดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สอดคล้องกับรายละเอียดข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ดีความร่วมมือครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อสร้างความเข้าใจในนวัตกรรมการรีไซเคิลที่ดียิ่งขึ้นหรือการผลิตพลาสติก PET รีไซเคิลที่ถูกสุขอนามัยสำหรับอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังสร้างความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการแยกวัสดุรีไซเคิลออกจากขยะอื่นๆ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะมีการผลิตพลาสติก PET รีไซเคิลที่มีคุณภาพ และอยากจะฝากถึงประชาชนคนทั่วไปให้ช่วยกันคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีกันตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งทุกวันนี้สามารถหาข้อมูลวิธีที่ถูกต้องได้ง่ายมากจากอินเทอร์เน็ต หรือถ้าไม่แน่ใจจริงๆ ว่าทำอย่างไรก็ขอให้แยกขยะออกจากขยะอาหาร เพื่อที่จะสามารถนำไปคัดแยกต่อได้ และง่ายต่อกระบวนการนำไปรีไซเคิล”
นวีนสุดา กระบวนรัตน์
หัวหน้าฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
ในส่วนของโลตัสที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของจุดรับวัสดุรีไซเคิล สลิลลา สีหพันธุ์ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัสประเทศไทย นั้นเห็นว่าปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เป็นเหตุผลที่ทำให้โลตัสซึ่งมีเป้าหมายดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในแคมเปญฯ นี้
“โลตัสมีความยินดีอย่างยิ่งในการเป็นพันธมิตรร่วมแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky เพราะสอดคล้องกับพันธกิจของโลตัสในการช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าแยกขยะและนำมารีไซเคิลได้อย่างสะดวกที่สาขาของเรา โดยในเบื้องต้นจะร่วมมือจัดตั้งจุดรีไซเคิลที่โลตัส 6 สาขา ได้แก่ ลาดพร้าว วังหิน มีนบุรี ลาดกระบัง บางกะปิ และพระราม 2 เพื่อนำบรรจุภัณฑ์กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”
เช่นเดียวกับอีกหนึ่งพันธมิตรหลักอย่าง บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งกรรมการบริหารธุรกิจโมบิลิตี้ของบริษัทฯ อย่าง เรืองศักดิ์ ศรีธนวิบุญชัย ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ที่สำคัญของเชลล์ นั่นคือ ‘Powering Progress’ ที่มุ่งดำเนินธุรกิจให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และการจัดการขยะพลาสติกนั้นก็เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของกลยุทธ์ดังกล่าว
“เชลล์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ในปีนี้ เราหวังจะเป็น Trusted Partner กับทั้ง “โคคา-โคล่า” Trash Lucky อินโดรามา และโลตัส ซึ่งล้วนมีเป้าหมายเดียวกันในการจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยผู้บริโภคที่เข้าร่วมแคมเปญสามารถรับความสะดวกจากจุดตั้งรับขยะรีไซเคิลได้ที่สถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้ง 15 สาขาทั่วกรุงเทพฯ”
จากความมุ่งหวังและเป้าหมายของแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ที่ต้องการช่วยทำให้คนไทยหันมามีพฤติกรรมแยกขยะกันตั้งแต่ต้นทางอย่างยั่งยืน เรารู้สึกสงสัยว่าเป้าหมายที่ท้าทายเช่นนี้จะทำให้เป็นจริงได้อย่างไร สำหรับคำถามนี้ ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสารและความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ให้คำตอบว่า
“ผมคิดว่าความท้าทายในเรื่องนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนครับ อย่างแรกก็คือการชักชวนและปรับมุมมองให้ผู้บริโภคหันมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จากที่ไม่เคยแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลเลยก็เป็นเรื่องที่ยากมากอยู่แล้ว แต่โจทย์ที่ยากไม่แพ้กันก็คือเราจะทำอย่างไรเพื่อให้การแยกขยะนั้นง่ายสำหรับเขา ซึ่งบทเรียนจากแคมเปญนี้ในปีแรกได้บอกกับเราว่าการมีรางวัลเป็นแรงจูงใจนั้นก็ดี แต่จะดีขึ้นยิ่งขึ้นมากถ้ามีจุด Drop Point ที่ช่วยมอบความสะดวกให้กับคนที่ต้องการแยกขยะอยู่แล้ว เราจึงดีใจมากที่เชลล์และโลตัสเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเราในปีนี้ และยังเปิดรับสมัครพันธมิตรที่ต้องการจะร่วมเป็นจุดรับวัสดุรีไซเคิลให้กับเราอีก ผมคิดว่าประชาชนคนไทยจำนวนไม่น้อยหรอกครับที่ต้องการจะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการแยกขยะ ขอแค่เขารู้ว่าจะเอาไปไว้ที่ไหน ซึ่งมันสะดวกกับการใช้ชีวิตของเขาด้วย พอทำได้อย่างนั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืน”
อย่าลืมคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง แล้วส่งมาเข้าร่วมกิจกรรม “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปี 2
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปี 2 ได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
The post เดินหน้าภารกิจ ‘World Without Waste’ “โคคา-โคล่า” จับมือพันธมิตรสานต่อแคมเปญ “โค้ก” ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปี 2 [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.
]]>