เอเซีย พลัส – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 08 Dec 2022 14:46:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เอเซีย พลัส เปิดสถิติหุ้นไทย มักให้ ‘ผลตอบแทนลดลง’ เมื่อมูลค่าเทรดลดลง ด้าน ตลท. ชี้ผลกระทบจากภาษีขายหุ้นยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้ https://thestandard.co/asia-plus-securities-share-low-return/ Thu, 08 Dec 2022 12:20:16 +0000 https://thestandard.co/?p=721468 เอเซีย พลัส

ประเด็นเกี่ยวกับภาษีการขายหุ้น หรือ Financial Transacti […]

The post เอเซีย พลัส เปิดสถิติหุ้นไทย มักให้ ‘ผลตอบแทนลดลง’ เมื่อมูลค่าเทรดลดลง ด้าน ตลท. ชี้ผลกระทบจากภาษีขายหุ้นยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เอเซีย พลัส

ประเด็นเกี่ยวกับภาษีการขายหุ้น หรือ Financial Transaction Tax (FTT) ที่รัฐบาลมีแผนจะเรียกเก็บตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2566 ทำให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อปริมาณและมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

 

บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า หากรัฐเก็บภาษีขายหุ้นในปี 2565 จะทำให้ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบ 5 ด้าน ได้แก่ 

  1. ภาระค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นสูงขึ้นถึง 64% ของค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันธุรกิจโบรกเกอร์มีค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 0.086% หากมีการเก็บภาษีขายหุ้น 0.11% (ซึ่งเป็นอัตราการเรียกเก็บภาษีที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2534 แต่ก่อนค่าธรรมเนียมสูงกว่าปัจจุบันมาก) จะทำให้นักลงทุนมีภาระค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นถึง 64%
  2. ช่วงระยะเวลาในการขึ้นภาษีเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ตามกลไกช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นกดดันระดับ P/E ในการซื้อขายจะถูกลดทอนอยู่แล้ว หากขึ้นภาษีตอกย้ำให้สภาพคล่องในระบบลดลงอีก
  3. ช่วงระยะเวลาในการเก็บภาษีปีหน้าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงภาวะถดถอย (Recession) หากมีการขึ้นภาษีเวลานี้ ทำให้เสน่ห์ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจน้อยลงไป
  4. นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมสูงกว่านักลงทุนในประเทศ เนื่องจาก ต่างชาติซื้อขายหุ้นไทย 8.40 ล้านล้านบาทในปีนี้ แต่มีสัดส่วนการถือครองหุ้นไทย รวมทั้งส่วนของ NVDR เพียง 28.2% คิดเป็นมูลค่าตลาด 5.58 ล้านล้านบาท แสดงว่ามีอัตราหมุนเวียนในการซื้อขายสูงถึง 150% ต่างกับนักลงทุนไทยทั้งหมดซื้อขายหุ้นไทยต่อปีสูงกว่าต่างชาติเล็กน้อย 9.12 ล้านล้านบาท แต่มีสัดส่วนการถือครองหุ้นไทยสูงถึง 71.8% หรือ 14.2 ล้านล้านบาท
  5. สถิติในปี 2554-2565 (12 ปี) ชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนเฉลี่ยตลาดหุ้นไทยมักไม่ดีในช่วงที่สภาพคล่องซื้อขายต่ำ สะท้อนได้จากข้อมูล Histogram Turnover ของ SET เทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยรายวัน พบว่า เวลาที่มูลค่าซื้อขายสูงกว่า +1SD ตลาดหุ้นมีโอกาสให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 18.3% แต่ถ้ามูลค่าซื้อขายอยู่ในระดับปกติ (ช่วง -1SD ถึง +1SD) ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะลดหลั่นลงมาเหลือ 5.6% ต่อปี แต่เวลาที่มูลค่าซื้อขายต่ำกว่า -1SD (Turnover 59.7% ต่อปี) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ -2.9% 

 

ด้าน ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เรื่องของ Transaction Tax คงต้องรอดูความชัดเจนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลอีกครั้งว่า ท้ายที่สุดจะเริ่มเก็บเมื่อใด และในอัตราเท่าใด

 

“ผมไม่คิดว่าเรื่อง Transaction Tax จะเป็นประเด็นในช่วงนี้ การลดลงของมูลค่าการซื้อขายไม่คิดว่าเป็นผลจากเรื่องภาษี เพราะยังไม่ได้เริ่มเก็บ ตอนนี้ Sentiment ทั้งในและต่างประเทศยังไม่ได้กลับมาปกติ และยังเป็นช่วงที่ใกล้จะถึงวันหยุดยาว” 

 

ภากรกล่าวต่อว่า สิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เสนอความเห็นต่อภาครัฐเกี่ยวกับกรณีการเก็บภาษีขายหุ้น แบ่งเป็น 3 แนวทาง ได้แก่ 

  1. อัตราการเก็บภาษีต้องเป็นอัตราที่เหมาะสมกับสถานการณ์ 
  2. การจัดเก็บต้องไม่ก่อให้เกิดการเก็บภาษีซ้ำซ้อน
  3. มีระยะเวลาให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวในส่วนของระบบในการดำเนินเรื่องดังกล่าว เพื่อให้การจัดเก็บภาษีและส่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด 

 

สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อหุ้นไทยในปีหน้าคงต้องประเมินอีกครั้ง เพราะภาษีขายหุ้นเป็นแค่หนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้น แต่หากในปีหน้าสภาพเศรษฐกิจฟื้นตัว ดอกเบี้ยเริ่มลดลงจากการที่เงินเฟ้อที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ทำให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมีมากขึ้น จะช่วยให้ผลกระทบจากเรื่องภาษีลดลง


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

The post เอเซีย พลัส เปิดสถิติหุ้นไทย มักให้ ‘ผลตอบแทนลดลง’ เมื่อมูลค่าเทรดลดลง ด้าน ตลท. ชี้ผลกระทบจากภาษีขายหุ้นยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดกลยุทธ์ลงทุนเดือนธันวาคม ‘เอเซีย พลัส’ แนะลุยหุ้น Domestic Consumption ดักทางเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าเศรษฐกิจโลก https://thestandard.co/asps-domestic-consumption/ Thu, 01 Dec 2022 08:06:40 +0000 https://thestandard.co/?p=718525 เอเซีย พลัส

เอเซีย พลัส จัดพอร์ตลงทุนเดือนธันวาคม รับมือสัญญาณ Rece […]

The post เปิดกลยุทธ์ลงทุนเดือนธันวาคม ‘เอเซีย พลัส’ แนะลุยหุ้น Domestic Consumption ดักทางเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าเศรษฐกิจโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เอเซีย พลัส

เอเซีย พลัส จัดพอร์ตลงทุนเดือนธันวาคม รับมือสัญญาณ Recession ที่ชัดเจนมากขึ้นทั่วโลก แนะลุยหุ้นกลุ่ม Domestic Consumption ดักอานิสงส์เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าเศรษฐกิจโลก 

 

ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS เปิดเผยถึงกลยุทธ์การลงทุนในเดือนธันวาคม 2565 ว่า แรงกดดันตลาดการเงินโลกดูผ่อนคลายลงมาระดับหนึ่ง เริ่มจาก 

 

  1. เงินเฟ้อหลายประเทศเริ่มแผ่วลง เงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอลงติดต่อกัน 4 เดือน และไทยชะลอลงมา 2 เดือนติด และฝ่ายวิจัยคาดมีแนวโน้มลดลงจนอยู่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ตลาดคาดในกลางปีหน้า เช่นเดียวกับเงินเฟ้อไทยที่ ธปท. คาดจะเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ในปีหน้า

 

  1. ดอกเบี้ยเริ่มเข้าใกล้จุดที่เหมาะสม แม้ตลาดคาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% มาอยู่ที่ 4% ในเดือนพฤศจิกายน แต่ในปีหน้า กรอบบนการขึ้นดอกเบี้ยถูกจำกัดอยู่ที่ระดับ 5.25% เห็นได้ว่าระดับการขยับขึ้นค่อนข้างจำกัด ช่วยลดความผันผวนทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยน

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิด Recession ชัดเจนมากขึ้น ทั้งจากการเกิด Inverted Yield Curve ของบอนด์ 10 ปี และ 2 ปีของสหรัฐฯ​ ที่ยาวนาน รวมถึงข้อมูลจาก Bloomberg ชี้ว่าปี 2566 ยุโรปมีโอกาสเกิด Recession เพิ่มขึ้นเป็น 80% สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 63% แต่ไทยยังห่างไกลและลดลงเหลือเพียง 13%

 

ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นเด่นกว่าหลายประเทศ ดังนี้

 

  1. สำนักเศรษฐกิจต่างประเทศ, IMF และธนาคารโลก คาด GDP ปีหน้าเติบโต 3.7% และ 4.3% ตามลำดับ

 

  1. คาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีสัญญาณการขาดดุลลดลงทั้งจากดุลการค้าดีขึ้นจากการนำเข้าต้นทุนพลังงานที่ราคาเริ่มลดลง และดุลบริการปรับตัวดีขึ้น หลังจากหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามพื้นที่

 

  1. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศกำลังฟื้นตัว

 

  1. ช่วงที่เหลือของปี คาดหวังแพ็กเกจใหญ่กระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ อาทิ ช้อปช่วยชาติ 

 

  1. FDI ของไทยมีโอกาสเพิ่มขึ้นในอนาคต และล่าสุดมูลค่าเงินลงทุนต่างชาติ 9 เดือน ปี 2565 เพิ่มขึ้น 35%YoY มาอยู่ที่ 223,746 ล้านบาท ส่วน Fund Flow ต่างชาติยังคาดหวังการไหลเข้าต่อเนื่อง

 

จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ยังโตต่อเนื่องในปี 2566 ในมุมมองของ IMF มีเพียง 2 ประเทศในเอเซีย คือไทยกับจีนเท่านั้น ขณะที่เม็ดเงินจาก LTF หนุนตลาดในเดือนธันวาคมคาดหวังได้ยาก เพราะหลังจากเปลี่ยนเป็นกองทุน SSF เม็ดเงินที่เคยไหลเข้าตลาดหุ้นไทยราว 2-3 หมื่นล้านบาทในเดือนสุดท้ายของปีเหลือเพียง 1-2 พันล้านบาทเท่านั้น 

 

ดังนั้นแล้ว บล.เอเซีย พลัส จึงมองว่า ในมุม Valuation นั้น ตลาดหุ้นไทยยังดูน่าสนใจ เนื่องจากมี Market Earning Yield Gap ที่ระดับ 4.3% แม้ภาพรวม SET Index จะมี Upside ไม่มาก จากกรอบดัชนีเป้าหมายปี 2565 ที่วางไว้ 1,685-1,720 จุด

 

จึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุน เน้นกลุ่ม Domestic Consumption แนวโน้ม เติบโตยังสดใสกว่าภาพรวมตลาด อย่าง COM7, MTC, TISCO, BEC, SCGP, GULF


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

The post เปิดกลยุทธ์ลงทุนเดือนธันวาคม ‘เอเซีย พลัส’ แนะลุยหุ้น Domestic Consumption ดักทางเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าเศรษฐกิจโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เอเซีย พลัส หวั่นจีน-สหรัฐฯ ล่มแผนเจรจาการค้า ระบุกระทบ GDP ไทย และอาจดึง SET ลง 10% https://thestandard.co/asia-plus-securities-worries-china-usa-collapse-of-trade-negotiations/ Wed, 03 Aug 2022 04:17:14 +0000 https://thestandard.co/?p=662138 เอเซีย พลัส

เอเซีย พลัส ระบุ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน ลามสู่การล้ม […]

The post เอเซีย พลัส หวั่นจีน-สหรัฐฯ ล่มแผนเจรจาการค้า ระบุกระทบ GDP ไทย และอาจดึง SET ลง 10% appeared first on THE STANDARD.

]]>
เอเซีย พลัส

เอเซีย พลัส ระบุ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน ลามสู่การล้มแผนการเจรจาเพื่อผ่อนคลายกำแพงภาษีจีน-สหรัฐฯ ระบุอาจกระทบต่อ GDP ไทย เหตุมีสัดส่วนส่งออกไปจีนและสหรัฐฯ รวมกันราว 33% ของประเทศคู่ค้า และกดดัน SET Index ให้ปรับฐานเฉลี่ยราว -10% แนะลุยหุ้นที่ปลอดภัยจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

 

อีกด้านหนึ่ง บล.ยูโอบี เคย์เฮียน ประเมินว่า ประเด็นดังกล่าวอาจกดดันตลาดแค่ระยะสั้น และหลังจบการเดินทางอาจจะมีข้อตกลงเชิงบวกระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ตามมา


บทความที่เกี่ยวข้อง


ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า การเดินทางเยือนไต้หวันของประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยมี 2 แง่มุม คือ มุมของความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะเกิดการใช้กำลังระหว่างประเทศ และในมุมของการค้าระหว่างประเทศ โดยอย่างน้อยที่สุดทำให้ความคาดหวังว่ากำแพงภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีน (Trade War) ที่ก่อนหน้านี้มีลุ้นว่าจะผ่อนคลาย อาจต้องล้มเลิกไป

 

โดยเมื่อคืนวานนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางถึงไต้หวันและกล่าวว่า เราเคารพในคำมั่นสัญญาของเราต่อระบอบประชาธิปไตย เพื่อย้ำว่าเราต้องเคารพเสรีภาพและประชาธิปไตยของไต้หวันทั้งหมด ขณะที่จีนตอบโต้ทันทีที่เพโลซีถึงไต้หวัน โดยประกาศซ้อมรบทางทหารในวันที่ 4-7 สิงหาคมนี้ ในน่านน้ำและน่านฟ้าที่ล้อมรอบไต้หวัน เตือนไม่ให้มีเรือหรือเครื่องบินใดล้ำเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวระหว่างฝึกซ้อม

 

สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนในไต้หวันนั้นเป็นเรื่องที่ต้องติดตามพัฒนาการต่อไป ซึ่งอาจสร้าง Downside ในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ IMF เพิ่งปรับลดคาดการณ์ World GDP Growth ปี 2022 จาก 3.6% มาอยูที่ 3.2% ซึ่งถือว่าอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับ World Bank และ OECD ที่ปรับลดมาก่อนหน้านี้

 

ขณะที่ผลกระทบต่อประเทศไทย ในกรณีเลวร้ายน่าจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้การค้าระหว่างประเทศสะดุด ขณะที่บ้านเราโครงสร้าง GDP ราว 68% มาจากภาคการส่งออก

 

โดยไทยมีสัดส่วนการค้ากับจีนมากที่สุดราว 1.28 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2021 หรือคิดราว 22% ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด และสหรัฐฯ ก็มีสัดส่วนการค้ากับไทยอันดับที่ 3 ราว 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 11% ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด โดยหากรวมสัดส่วนการค้าทั้ง 2 ประเทศ อยู่ที่ 33% หรือ 1 ใน 3 ของประเทศคู่ค้าทั้งหมดของไทย

 

“ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ กลับมาอีกครั้ง อาจเปิด Downside ต่อประมาณการเศรษฐกิจโลกรวมถึงไทย ที่มีสัดส่วนการค้ารวมทั้ง 2 ประเทศ อยู่ที่ 33% หรือ 1 ใน 3 ของประเทศคู่ค้าทั้งหมดของไทย”

 

ฝ่ายวิจัยระบุว่า ความกังวลความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนกลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ และความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ หากประเด็นดังกล่าวยืดเยื้อ อาจส่งผลให้ประเด็นการยกเลิกกำแพงภาษียืดเยื้อออกไปได้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นมีโอกาสพลิกกลับมาผันผวนอีกครั้ง

 

ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว ในช่วงที่ตลาดเกิดแรงกดดันจากการตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ในทุกๆ รอบ กดดัน SET Index มีการปรับฐานเฉลี่ยราว -10% ต่อรอบ มีรายละเอียดดังนี้

  • การขึ้นภาษีรอบที่ 1-2 วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท (กดดันตลาดเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2018) SET Index ปรับตัวลงเฉลี่ย -10.4%
  • การขึ้นภาษีรอบที่ 3 วงเงิน 2.0 แสนล้านบาท (กดดันตลาดเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2018) SET Index ปรับตัวลงเฉลี่ย -11%
  • การขึ้นภาษีรอบที่ 4 วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท (กดดันตลาดเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2019) SET Index ปรับตัวลงเฉลี่ย -8.1%

 

พร้อมกับ Fund Flow ที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยในระดับเกือบ 8 หมื่นล้านบาท ถึง 1 แสนล้านบาทต่อรอบ และหากพิจารณเป็นราย Sector พบว่า หลายๆ Sector ส่วนใหญ่ถูกกดดันแรงกว่าตลาด แต่ยังมีกลุ่มที่ Outperform อยู่ เช่น HELTH, TRANS, BANK, FIN เป็นต้น

 

สำหรับวันนี้ (3 สิงหาคม) บล.เอเซีย พลัส ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index 1,575-1,600 จุด ส่วน Toppick แนะนำหุ้น BEM, BAM เป็นหุ้น Recovery ในกลุ่มที่มีเกราะป้องกันความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และหุ้น PYLON กำไรฟื้นราคา Laggard พื้นฐาน

ในมุมกลับกัน บล.ยูโอบี เคย์เฮียน มองว่า การเดินทางเยือนไต้หวันของประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ไม่น่าสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาด แม้ระยะสั้นอาจสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน จากความกังวลการยกระดับความขัดแย้ง แต่เราก็จะเห็นการเดินเกมอย่างระมัดระวังของทั้งสหรัฐฯ และจีน

ฝั่งสหรัฐฯ เตรียมกองกำลังทางทะเลและอากาศไว้พร้อม แต่ก็เลือกเส้นทางบินเข้าไต้หวันที่น่าจะเกิดข้อขัดแย้งน้อยที่สุด ส่วนจีนแม้จะออกแถลงการประท้วงสหรัฐฯ และประกาศซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม 2022 แต่ก็น่าจะเป็นเวลาหลังประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางออกจากไต้หวันแล้ว เหตุการณ์ทั้งหมดบ่งชี้ว่าแม้สหรัฐฯ และจีนมีความจำเป็นต้องรักษาศักดิ์ศรีทางการทูต แต่ก็ระวังท่าทีไม่เดินข้ามเส้นความอดทนของอีกฝ่าย

 

ดังนั้นเรามองหลังการเยือนไต้หวันบรรยากาศลงทุนในตลาดภูมิภาคจะผ่อนคลายลง และประเด็นดังกล่าวคาดไม่สร้างผลกระทบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันการพูดคุยเรื่องดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ที่อาจจะกลายมาเป็นปัจจัยบวกของตลาดในระยะต่อไป

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post เอเซีย พลัส หวั่นจีน-สหรัฐฯ ล่มแผนเจรจาการค้า ระบุกระทบ GDP ไทย และอาจดึง SET ลง 10% appeared first on THE STANDARD.

]]>