เอกราช อุดมอำนวย – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 27 Apr 2024 08:40:34 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สส.จอจาน ห่วงคนทำงาน VOICE TV หลังถูกเลิกจ้าง ขออย่าอคติองค์กรสื่อการเมือง วอนช่วยให้มีงานทำ https://thestandard.co/voice-tv-workers-being-laid-off/ Sat, 27 Apr 2024 08:40:34 +0000 https://thestandard.co/?p=927442

วันนี้ (27 เมษายน) เอกราช อุดมอำนวย สส. เขตดอนเมือง กรุ […]

The post สส.จอจาน ห่วงคนทำงาน VOICE TV หลังถูกเลิกจ้าง ขออย่าอคติองค์กรสื่อการเมือง วอนช่วยให้มีงานทำ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (27 เมษายน) เอกราช อุดมอำนวย สส. เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า จากการที่บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ประกาศปิดกิจการในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ พร้อมเลิกจ้างพนักงานประมาณ 200 คน หลังดำเนินธุรกิจสื่อมากว่า 15 ปี 

 

ตนเองในฐานะเคยประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ทั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี โดยเคยทำงานในรายการข่าวของวอยซ์ ทีวี ในสมัย ประทีป คงสิบ เป็นผู้อำนวยการสถานี เช่น Tonight Thailand ร่วมกับ ลักขณา ปันวิชัย, พรรณิการ์ วานิช และ ว่าที่ ร.ต. ภคพงศ์ อุดมกัลยารักษ์ รู้สึกเห็นใจพนักงานระดับปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างครั้งนี้ เพราะเคยประสบเหตุการณ์ถูกเลิกจ้างเช่นนี้ในสมัยไอทีวี จึงมีความเข้าใจและเห็นใจเป็นอย่างมาก 

 

จากผลกระทบด้านเทคโนโลยีสื่อที่เปลี่ยนไป รวมทั้งผลจากธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่แค่วอยซ์ ทีวี แต่ยังมีอีกหลายองค์กรสื่อที่มีการเลิกจ้างหรือปลดพนักงาน ลดพนักงาน เช่น ไทยไท แชนแนล หรือ บลู สกาย แชนแนล รวมทั้งองค์กรสื่อทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย เนื่องจากเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกลัวเสียชื่อเสียง 

 

เอกราชกล่าวอีกว่า ตนจึงขอให้ทางบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด รวมทั้งองค์กรสื่อที่มีการเลิกจ้างพนักงานได้ดูแลพนักงานตามกฎหมายแรงงาน และเพิ่มเติมตามความเหมาะสมในฐานะที่พนักงานเคยร่วมทำงาน สร้างความสำเร็จ มีความรักและความผูกพันในองค์กร เพื่อให้พนักงานได้มีการเงินเลี้ยงชีพและตั้งตัวในระหว่างการหางานทำหรือประกอบอาชีพใหม่ 

 

รวมทั้งขอให้ทางกระทรวงแรงงาน ทั้งกรมการจัดหางานและสำนักงานประกันสังคม ได้เข้าไปดูแลการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาจากทางบริษัท และจากกองทุนประกันสังคม รวมทั้งการจัดหางาน การฝึกอาชีพ ให้ตามความเหมาะสม 

 

เอกราชกล่าวอีกว่า ตนอยากให้คนในสังคมอย่าได้ซ้ำเติมหรือต่อว่าพนักงานโดยเฉพาะระดับปฏิบัติการที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ที่หาเช้ากินค่ำ รับเงินเดือนเพื่อเลี้ยงชีพและดูแลครอบครัว เพราะบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องทำงานหาเลี้ยงชีพสุจริต ทำงานตามหลักวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพราะจนเชื่อว่าไม่มีใครอยากตกงาน ต้องหางานทำใหม่ ซึ่งมีผลกระทบไม่ทั้งกับตัวเองและส่งผลต่อครอบครัวอีกด้วย 

 

“ขอให้วางอคติอย่ามองหรือตัดสินจากองค์กรสื่อจากการนำเสนอ หรือความคิดทางการเมือง หรือความเห็นความคิดที่ต่างจากตนเอง แต่ขอให้มองที่คนทำงาน พนักงานระดับปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบมากกว่า” เอกราชกล่าว

 

เอกราชกล่าวอีกว่า ตนขอฝากไปยังองค์กรวิชาชีพสื่อในการดูแลหรือหาทางช่วยเหลือเพื่อนร่วมวิชาชีพให้ได้มีงานทำ หรือได้กลับมาประกอบอาชีพ โดยไม่ขาดตอนหรือต้องสะดุดจนส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวต่อไป

The post สส.จอจาน ห่วงคนทำงาน VOICE TV หลังถูกเลิกจ้าง ขออย่าอคติองค์กรสื่อการเมือง วอนช่วยให้มีงานทำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เรียกน้ำจิ้มก่อนอภิปราย เปิดข้อมูลกลาโหม-กัณวีร์ชำแหละความมั่นคงที่ไม่มั่นคง | THE STANDARD NOW (HL) https://thestandard.co/thestandardnow030167-2/ Wed, 03 Jan 2024 13:06:59 +0000 https://thestandard.co/?p=884083

เรียกน้ำจิ้มก่อนอภิปรายงบประมาณ 67 เอกราช เปิดข้อมูลกลา […]

The post ชมคลิป: เรียกน้ำจิ้มก่อนอภิปราย เปิดข้อมูลกลาโหม-กัณวีร์ชำแหละความมั่นคงที่ไม่มั่นคง | THE STANDARD NOW (HL) appeared first on THE STANDARD.

]]>

เรียกน้ำจิ้มก่อนอภิปรายงบประมาณ 67 เอกราช เปิดข้อมูลกลาโหม งบแปลกๆ เพียบ! กัณวีร์ ชี้อยากมั่นคง แต่ไม่เคยยกระดับเลย!

The post ชมคลิป: เรียกน้ำจิ้มก่อนอภิปราย เปิดข้อมูลกลาโหม-กัณวีร์ชำแหละความมั่นคงที่ไม่มั่นคง | THE STANDARD NOW (HL) appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ชำแหละงบกลาโหม-มั่นคง ไม่ตรงปก แล้วตรงปกต้องเป็นแบบไหน? | THE STANDARD NOW https://thestandard.co/thestandardnow030167/ Wed, 03 Jan 2024 11:00:33 +0000 https://thestandard.co/?p=884004

ชำแหละงบกลาโหม-มั่นคง ไม่ตรงปก แล้วตรงปกต้องเป็นแบบไหน? […]

The post ชมคลิป: ชำแหละงบกลาโหม-มั่นคง ไม่ตรงปก แล้วตรงปกต้องเป็นแบบไหน? | THE STANDARD NOW appeared first on THE STANDARD.

]]>

ชำแหละงบกลาโหม-มั่นคง ไม่ตรงปก แล้วตรงปกต้องเป็นแบบไหน?

 

คุยกับแขกรับเชิญ 2 ท่าน

 

  • กัณวีร์ สืบแสง สส. บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเป็นธรรม
  • เอกราช อุดมอำนวย สส. ดอนเมือง พรรคก้าวไกล

 

พบกันในรายการ THE STANDARD NOW กับ ออฟ พลวุฒิ วันที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD

The post ชมคลิป: ชำแหละงบกลาโหม-มั่นคง ไม่ตรงปก แล้วตรงปกต้องเป็นแบบไหน? | THE STANDARD NOW appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘จอจาน’ ส.ส. ใหม่ ‘ก้าวไกล’ มองพลังโซเชียลกับวิธีคิดใหม่ หมดสมัยบ้านใหญ่แล้ว https://thestandard.co/ekkarach-udomumnouy-mfp-interview/ Sat, 01 Jul 2023 07:18:10 +0000 https://thestandard.co/?p=810316

THE STANDARD สัมภาษณ์ จอจาน-เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผ […]

The post ‘จอจาน’ ส.ส. ใหม่ ‘ก้าวไกล’ มองพลังโซเชียลกับวิธีคิดใหม่ หมดสมัยบ้านใหญ่แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

THE STANDARD สัมภาษณ์ จอจาน-เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล จากการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ส.ส. ใหม่เข้าสภาในฐานะผู้แทนราษฎรครั้งแรก 

 

แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสำหรับงานในรัฐสภา เพราะหลังเลือกตั้ง 2562 เขาเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ อดีต ส.ส. พรรคก้าวไกลมาแล้ว 

 

ครั้งนี้ยื่นใบสมัครต่อพรรคก้าวไกล เพื่อลง ส.ส. เขตใน กทม. ได้รับเลือกจากพรรคให้ลงเขตดอนเมือง เขตที่ตัวเขาเองก็ยอมรับว่าที่ผ่านมาเคยเข้าคูหากาเลือก การุณ โหสกุล อดีต ส.ส. หลายสมัยของเขตนี้ จึงไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นคู่แข่งของผู้สมัครพรรคใด 

 

ในตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะได้เป็น ส.ส. แต่สุดท้ายโซเชียลมีเดียและความคิดแบบเจเนอเรชันใหม่สร้างปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกินคาดสำหรับหลายคน รวมถึง ส.ส. ใหม่ผู้นี้ด้วย

 


 

หาเสียงช่วงแรกกับเสียงสะท้อนเอกฉันท์ ไม่น่าได้เป็น ส.ส.

 

 

หาเสียงช่วงแรกๆ ก่อนเลือกตั้ง 1 ปี ประชาชนทุกคนบอกว่าคุณไม่น่าได้หรอกนะ ผมได้ยินแล้วก็เข้าใจเพราะผมโนเนมทางการเมือง แม้เรามีคนที่เคยติดตาม Facebook Live ทางเพจคุยกับจอจาน เขาบอกเคยติดตามมาตั้งแต่ปี 2562 จำได้ 

 

แต่ลงเลือกตั้ง ส.ส. เขตนี้มันยากนะ ถ้าคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ไม่แน่ก้าวไกลอาจจะได้ แต่คะแนน ส.ส. เขต คุณอาจจะแพ้ อย่าเสียใจนะ เขาปลอบเราด้วย เขาบอกสู้ๆ นะ 

 

โกนหัวประท้วงก่อนเลือกตั้ง 2562 ร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 

 

กิจกรรมการเมืองครั้งแรกเริ่มปี 2562 ไปร่วมรณรงค์ไม่เลื่อนเลือกตั้งกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เพราะสถานการณ์บ้านเมืองตอนนั้นเหมือนจะไม่มีการเลือกตั้งเสียที ปีนั้นพรรคอนาคตใหม่ก็ลงสมัครรับ 

 

เราก็มีความรู้สึกว่าในยุครัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเป็นธรรมทางการเมือง จึงกลัวว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะไม่อยู่ข้างพรรคการเมือง จึงไปประท้วงทำกิจกรรมโกนหัวด้วย แล้วเปิดเพจคุยการเมืองชื่อเพจคุยกับจอจาน ก็มีคนมาติดตามการเล่าเรื่องการเมือง ตอนนั้นรู้จักกับครูธัญ-ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ก็ได้ไปช่วยงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส. จึงเป็นจุดเริ่มต้นเข้าไปสู่การเมือง

 

เคยทำงานสื่อมวลชนยุค itv ถูกปิด

 

 

เรียนจบด้านนิเทศศาสตร์ และปริญญาโทวารสารศาสตร์ ก่อนลงการเมืองก็ตัดสินใจไปเรียนกฎหมาย มสธ. 2 ปีก็จบ แล้วไปสอบตั๋วทนาย ตอนนี้มีตั๋วทนายด้วย พัฒนาตัวเองเพื่อพร้อมทำงาน 

 

ส่วนตอนเป็นสื่อ เคยเริ่มงานฝึกงานกับ itv ตั้งแต่ปี 2548 พอจบจากฝึกงานก็ทำ itv ต่อโดยทำข่าวบันเทิง แต่รู้สึกว่าไม่ได้ชอบ กระทั่งได้มาทำข่าวสังคม เช่น ประเด็นนักเรียนถูกละเมิดที่โรงเรียน 

 

ตอนนั้นทำงานกับคุณประทีป คงสิบ เป็น บ.ก. ยุคนั้นก็เคยเห็นคุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย รายงานข่าว เราก็ชอบข่าวการเมือง ทำงานอยู่จนกระทั่ง itv ปิดหลังรัฐประหาร พอเป็น Thai PBS เราก็เปลี่ยนอาชีพไปทำธุรกิจระยะหนึ่ง 

 

ต่อมาก็ได้กลับมาทำงานสื่อกับ Voice TV สมัยคุณประทีป คงสิบ เป็น ผอ.สถานี ผมได้ร่วมงานกับคำ ผกา, ช่อ พรรณิการ์, ต่วย ภคพงศ์ ในรายการ Tonight Thailand ทำงานเบื้องหลัง ผมก็สนุกกับงานข่าว 

 

สมัย itv ถูกปิดเนื่องจากหลังรัฐประหาร 2549 ก็มีการตั้งรัฐบาลขิงแก่ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

 

ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเขามีธงในการเข้ามาจัดการกับ itv โดย itv ถูกตั้งประเด็นว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคุณทักษิณ ชินวัตรหรือไม่ บริบทสังคมตอนนั้น itv ถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองของพรรคการเมือง นักการเมือง จึงเป็นที่มาว่ารัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารจึงต้องจัดการ เพื่อตอบโจทย์ตรงนี้ เพื่อสร้างความชอบธรรมว่าแก้ปัญหาทางการเมือง แต่สุดท้ายก็ไม่มีความชอบธรรมอยู่ดี เพราะการรัฐประหารจะมีความชอบธรรมได้อย่างไร คุณใช้อำนาจนอกระบบ

 

นักธุรกิจ SMEs ตัวเล็กๆ ไม่มีอำนาจ เข้าสู่การเมืองต้องการความเปลี่ยนแปลง

 

 

ตอนทำธุรกิจก็เคยขายเสื้อผ้า ต่อมาปี 2562 ถึงปัจจุบันก็ทำร้านอาหาร เคยได้รับผลกระทบจากโควิด เคยร่วมกับผู้ประกอบการเรียกร้องเรื่องการเยียวยาในช่วงโควิด เพราะธุรกิจร้านอาหารมีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก 

 

เคยเป็นนักธุรกิจ SMEs ตัวเล็กๆ ไม่มีอำนาจ ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยของประชาชน มองพรรคการเมืองที่มีแบบเดิมไม่ตอบสนองเจตนารมณ์แท้จริงของประชาชน เคยเป็นคนที่ไม่เท่าทันเรื่องการเมืองมาก่อน 

 

จนเราเรียนรู้ตกผลึกว่าพรรคอนาคตใหม่ขณะนั้นตอบโจทย์เรา จึงไปร่วมกับพรรคอนาคตใหม่ทำเรื่องสมรสเท่าเทียม เพราะพี่น้องกลุ่ม LGBTQIA+ ไม่สามารถสมรสกันได้ ถูกพรากสิทธิไป ครูธัญก็ชวนไปทำงานด้วย 

 

เราขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ มา แต่ก็รู้สึกว่ายังไม่พอ เพราะต้องได้อำนาจมาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ได้ตามเจตนารมณ์ อุดมการณ์ ที่เราคิดว่าทำไมนักการเมืองไม่สนใจปัญหาของเรา หรือเราเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ ไม่มีอำนาจต่อรอง ยุคที่เราเติบโตมาการเมืองก็มักจะพูดถึงแต่เรื่องคนดี-ไม่ดี เราจึงคิดว่าเราเข้าใจภาคประชาชน เพราะเราก็เป็นประชาชน 

 

กระบวนการในพรรคก้าวไกล และยุคสมัยของข้อมูลข่าวสาร

 

 

มาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. อย่างเต็มตัวคือเลือกตั้งปี 2566 เขียนใบสมัครส่งพรรคก้าวไกล เป็นแคนดิเดตเพื่อลงสมัคร ส.ส. เขต ใน กทม. แม้ผมเป็นคณะทำงานที่เคยทำงานกับพรรค เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส. ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการสมัครอย่างโปร่งใส 

 

ผมไปสมัครวันสุดท้าย เพราะใช้เวลาคิดตัดสินใจว่าพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล ไม่ใช่พรรคการเมืองแบบที่เคยเห็นมาก่อน คือสมัยก่อนพรรคการเมือง นักการเมืองต้องมีบารมี มีเงิน 

 

ส่วนเราไม่มีบารมี ไม่มีเงิน แต่เห็นบทบาท ส.ส. พรรคก้าวไกลในสภา เรารู้สึกว่าเราก็ทำได้นี่ ไม่ใช่อะไรที่เราทำไม่ได้ ถ้าเทียบกับ ส.ส. ยุคก่อน 

 

ส.ส. ยุคนี้มีความโดดเด่น เพราะเป็นยุคโซเชียลมีเดียด้วย ขณะที่ในสมัยก่อน ส.ส. บางคนอาจจะทำได้ดี แต่ประชาชนก็อาจจะไม่รับรู้ ไม่ได้ติดตาม ยุคนี้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบโปร่งใส 

 

บางสถานการณ์พรรคจะปิดบังหรือทำแบบการเมืองเดิมๆ ก็ได้ แต่ว่าส่วนใหญ่พรรคอนาคตใหม่จะเปิดเผย หรือผลักดันเรื่องการถ่ายทอดสด เช่น การประชุมกรรมาธิการ ป.ป.ช. ที่สภา ตอนอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นประธาน ผมก็มองว่าเป็นสิ่งที่ล้ำมาก ประชาชนได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเข้าถึงได้ 

 

นาทีแรกรู้ว่าได้ลงสมัคร ส.ส. เขตดอนเมือง

 

 

คือพรรคคิดละเอียดเรื่องตัวผู้สมัครในแต่ละเขตจะเป็นใคร เหมาะสมกับเขตไหน โดยผ่านการสัมภาษณ์ แล้วเขาดูบริบทเทียบคู่แข่ง ตอนที่เจ้าหน้าที่พรรคโทรมาแจ้งว่าคุณได้ลงเขตดอนเมือง ผมก็โอ้โห คิดว่าสอบตกแน่เลย ยากนะ ยากจังเลย เพราะมีเจ้าถิ่น เป็นการเมืองบ้านใหญ่ ทุกคนถ้าใช้การคาดเดาจะบอกว่าแพ้แน่นอน ไม่มีใครคิดว่าเราจะชนะ 

 

คุณการุณ โหสกุล เขาก็เป็นคนในพื้นที่ มีสมัยหนึ่งผมก็เคยกาเลือกเขาเหมือนกัน เราจึงคิดว่าเราไม่ได้แข่งกับผู้สมัครคนไหน แต่คิดว่าทำอย่างไรจะเอาชนะใจคนดอนเมือง 

 

ผมก็ก้มหน้าก้มตาไปแนะนำตัวกับประชาชน และคิดว่าจะเอานโยบายพรรคไปพัฒนาดอนเมืองอย่างไร คิดแค่ว่าทำให้คนรู้จักเราและปักธงความคิดได้ ส่วนแพ้หรือชนะไม่เป็นไร ถือว่าทำเต็มที่ ทำดีที่สุด 

 

ใช้เวลา 1 ปีในการลงพื้นที่หลังจัดการงานส่วนตัว ทีมงานก็ไม่มี มีผมไปกับน้องอาสาอีกคนมาช่วยแจกใบปลิว เริ่มจากทำใบปลิวเล็กๆ แนะนำตัว ผมชื่อจอจาน คนก็จะแปลกใจ ชื่ออะไรนะ ‘จอจาน’ แล้วก็เปิดบทสนทนา

 

หาเสียงยุคโซเชียล พบตัวเองเป็นคอนเทนต์ของประชาชนใน TikTok 

 

 

ผมไปเจอใน TikTok มีคนดอนเมืองเยอะเลยถ่ายภาพที่เราไม่ได้คิดว่าเราจะเป็นที่สนใจ มีตั้งแต่เราเดินเข้าไปหาเสียงในร้านอาหารเล็กๆ ร้านหนึ่งแล้วเขามาชวนคุยพร้อมกับแอบถ่ายคลิปโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าจะไปปรากฏใน TikTok 

 

เนื้อหาคือเขามาคุยกับเรา มาถามเรา รวมถึงมีคลิปที่มีคนไปซ่อมป้ายหาเสียงให้เรา แล้วเขาถ่ายตัวเองซ่อมป้ายเราลง TikTok ยอดวิวไม่ธรรมดา ถึง 2 ล้าน เป็นอะไรที่ช่วยเรามาก 

 

บางคนขับรถผ่านเจอเรา เขาก็โบกมือให้เราด้วยแล้วถ่ายคลิปไปด้วยเอาไปลง TikTok เป็นคอนเทนต์ของเขา แล้วมีคลิปหนึ่งเขียนแบบขำๆ สนุกๆ ว่า วันนี้ผมได้ใช้แต้มบุญหมดไปแล้วเพราะได้เจอจอจาน เบอร์ 6 (หัวเราะ) เป็นเรื่องสนุกน่ารักดี 

 

ในยุคนี้การปฏิบัติตัวของนักการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะถูกประชาชนถ่ายคลิปไปเผยแพร่เอง ไม่จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ตัวเอง คือ ต่อให้ผมทำคลิปโพสต์ประชาสัมพันธ์เองก็ได้ยอดวิวเป็นหลักพัน ไม่มากเท่าคลิปที่ประชาชนถ่ายเองมียอดวิวเป็นหลักหมื่นถึงหลักล้าน เราต้องลงพื้นที่จริง มีคลิปจากทุกมุม 

 

บางวันเจอพรรคอื่นมีรถเครื่องเสียงขนาดใหญ่ มีคนมาช่วยเยอะแยะ พูดผ่านเครื่องขยายเสียงดังลั่น ผมมีแค่โทรโข่งไปยืนอยู่ตรงสะพานลอยข้ามจากหน้าวัดดอนเมืองไปหน้าท่าอากาศยาน 

 

ผมคิดว่าไม่มีใครเห็น ไม่มีใครสนใจ ปรากฏว่ามีคนแอบถ่ายคลิปผมโดยที่ผมไม่รู้ตัว แล้วเขาเอาภาพไปลง ทุกอิริยาบถที่เราทำมันมีความหมายหมด มีคนมาคอมเมนต์ใน TikTok ให้กำลังใจ เป็นความกรุณาที่พี่น้องประชาชนเห็นความจริงใจ 

 

นี่คือความจริงใจที่ผมพิสูจน์ให้เขาเห็น ผมอยากแก้ปัญหาจริงๆ ด้วยนโยบายของพรรค และผมรวบรวมปัญหาในพื้นที่ ผมรู้ทั้งปัญหาเรื่องการสัญจร มลภาวะ น้ำท่วม ค่าครองชีพ การส่งเสริม SMEs

 

สัญญาณความเป็นไปได้ ส.ส. ใหม่ พรรคก้าวไกล

 

 

จากไม่คิดว่าจะได้ ก็มามีปัจจัยบวก ช่วงที่ลงพื้นที่เห็นตัวเลขเจเนอเรชันใหม่ที่เติบโตขึ้น มีความเป็นไปได้ที่คนรุ่นใหม่จะเลือกก้าวไกล ปัจจัยที่สองคือ มีบ้านรั้วที่นักการเมืองที่ใช้เครือข่ายอิทธิพลไปไม่ถึง เราต้องไปให้ถึงเขา ก็คิดว่าถ้าเข้าถึงกลุ่มเจเนอเรชันใหม่และบ้านรั้วได้ เราชนะแน่ จึงเดินยุทธศาสตร์การเลือกตั้งแบบนี้ มีคุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นติวเตอร์ 

 

หาเสียงกับกลุ่มคนที่เลิกงานกลางคืนด้วย ไปร้านคาราโอเกะ แม่ค้าส้มตำ มีทั้งคนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขต และคนที่ทะเบียนบ้านอยู่ที่อื่น แต่เขาก็บอกต่อเพื่อนๆ ที่อยู่ในเขตว่าเขาเห็นเรา เพราะเขาเห็นผมขับสกูตเตอร์วิ่งตามถนนสรงประภา เข้าตามซอยต่างๆ 

 

ทุกคนเห็นหมด แม้กระทั่งผมไปยืนจุดที่เราไปยืนวันแรก คนอื่นขึ้นรถแห่คันใหญ่ ผมยืนชูป้ายอยู่คนเดียวกับเครื่องเสียงอันเล็กๆ ไปเดินตลาด กลางวันก็ไปหา SMEs ร้านอาหารที่เปิดกลางวัน ตอนเย็นก็ไปดักสะพานลอย 

 

เคยไปยืนหน้าหมู่บ้านแล้ววินมอเตอร์ไซค์มาบอกผมว่าปกติเห็นนักการเมืองทั่วไปเขามาแจกของกัน แต่คุณมายืนหาเสียงแล้วคนซื้อของมาให้ แทบไม่ต้องซื้ออาหาร เป็นช่วงเดือนสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง ก็คือหลังสงกรานต์ พี่วินมอเตอร์ไซค์บอกว่าต่างจากนักการเมืองที่เขาเคยเห็น 

 

วันนั้นผมยืนน้ำตาไหลเลย เที่ยงอากาศร้อน มีประชาชนยื่นน้ำมาให้ บอกสู้ๆ นะคะ แล้วประชาชนก็ถ่ายคลิปเราไปลง TikTok เป็นประชาชนคนรุ่นใหม่ 

 

ตอนหาเสียงเราลงพื้นที่เอง เจอบ้านที่เขาไม่ชอบเราก็มี เขาไม่พอใจเรื่องการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่ผมก็คุยกับเขาถึงปัญหาเรื่องนี้ เราก็เปิดรับที่จะฟังเขา แล้วเขาก็ฟังเรา เรามีท่าทีในการตอบที่ไม่ได้แข็งกร้าว แต่อธิบายข้อกฎหมายให้เขาเข้าใจ 

 

สุดท้ายได้เป็น ส.ส. พรรคก้าวไกล สมัยแรก

 

ตอนแรกก็คิดว่า 50:50 จะชนะหรือไม่ กระทั่งลงพื้นที่ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย มีวันหนึ่งทางพรรคแจ้งมาตอนห้าทุ่มว่าคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะมาตอนสิบโมงของวันรุ่งขึ้น ผมก็คิดว่าทำอย่างไรดี สิบโมงไม่น่าจะมีคน เพราะเราหาเสียงทุกวันทราบว่าเป็นช่วงที่คนโล่งๆ 

 

แต่ปรากฏว่าคนมาตั้งแต่ยังไม่ถึงเวลานัด มารอรับพิธา แล้วคนก็มาขอถ่ายรูปกับผมในวันที่หัวหน้าพรรคกำลังจะมา แล้วสักพักคนก็แน่น ทั้งที่แจ้งหมายในเวลากระชั้นมาก ประกาศตอนห้าทุ่ม คนมาสิบโมงวันรุ่งขึ้น วันนั้นก็คิดในใจว่าชนะแน่นอน 

 

พอเราเห็นกระแสใน TikTok บวกกับพิธามา คนขับรถตามเป็นกิโล ก็คิดว่าเราชนะแล้ว 

 

กระแสพรรคก้าวไกลมาแรง แปลว่าส่งใครลงสมัคร ส.ส. ก็ได้หรือไม่ 

 

 

ผมคิดว่าไม่ เพราะตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ก็มีความสำคัญ เขาไม่ได้เลือกแค่ว่าสังกัดพรรคไหน เพราะถ้าเขาจะเลือกแต่พรรคแล้วไม่เลือกตัวผู้สมัคร เขาก็สามารถกากบาทในบัตรเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อใบเดียวก็จบแล้ว กาเลือก ส.ส. เขตพรรคไหนก็ได้ อาจจะไม่เลือกเราถ้าเราไม่รู้ปัญหาในพื้นที่หรือเขาไม่เคยเจอหน้า 

 

ผมคิดว่าคนที่เขาเลือกผมเพราะเขาเห็นผมมาแล้ว บางคนไม่ได้เจอเองมาก่อน แต่มาเล่าว่าลูกเคยเจอเรา ลูกเขาเข้าไปดูใน Facebook แล้วเขาถามเราว่าเป็นทนายความใช่ไหม คือก่อนเลือกเราเขาก็เช็ก 

 

เพราะคนดอนเมืองเป็นคนที่เข้าถึงสื่อจำนวนมาก ฉะนั้นเขาเห็นผมแน่นอนก่อนตัดสินใจเลือก เขากาให้ผมทั้งที่เขาสามารถกาเลือกพรรค แล้วเลือก ส.ส. เขตเป็นผู้สมัครพรรคอื่นก็ได้ 

 

ประชาชนมีความคิดทางการเมืองแบบใหม่ แต่นักการเมืองรุ่นเก่าหลายคนตั้งตัวไม่ทัน คิดว่าเป็นเพราะอะไร

 

นักการเมืองรุ่นเก่าเขาคิดว่าทำแบบเดิมก็ได้ผลลัพธ์แบบเดิม แต่ผมคิดว่านักการเมืองต้องปรับตัว คุณต้องไม่เห็นประชาชนเป็นของตาย แล้วก็ต้องนิยามคำว่าชาติ ว่าชาติคือประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุด 

 

เรามาเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน บางคนรับปากไปเฉยๆ แต่ว่าต้องการไปเป็น ส.ส. เพื่อแก้ปัญหาให้ตัวเอง ให้ตัวเองมีสถานะ ส.ส. แล้วนำไปสู่การหาผลประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้อง ไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน 

 

เกมในสภา กติกาไม่เอื้อให้พรรคที่ได้ ส.ส. อันดับ 1 สามารถตั้งรัฐบาลได้โดยง่าย

 

 

ผมมาเป็น ส.ส. คิดไว้ว่าเรามาทำหน้าที่นิติบัญญัติ วันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคมที่ผ่านมาก็ไม่คิดว่าจะได้เสียงถล่มทลายขนาดนี้ ส่วนตัวผมคิดว่าการทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ประเด็นสำคัญคือแก้ปัญหาให้ประชาชนได้หรือเปล่า 

 

ถ้าคุณเป็นรัฐบาลแล้วแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ คุณมีวาระที่คุณจะทำตามนโยบายที่หาเสียง คุณต้องทำ แต่ถ้าสมมติสุดท้ายไปติดประเด็นทางการเมือง ไปติดเรื่องเทคนิค ถูกสกัดขาด้วยการเมืองแบบเดิมๆ ผม ส.ส. ก้าวไกล ก็พร้อมรณรงค์ให้ได้เสียงมากกว่าเดิม พร้อมชี้ช่องให้ประชาชนเห็น แล้วผมเชื่อว่าประชาชนตื่นตัวทางการเมืองเยอะมาก จะเป็นแรงขับเคลื่อนกดดันให้พรรคการเมือง นักการเมืองฟังเสียงประชาชน 

 

นักการเมืองรุ่นใหม่ต้องไม่คิดว่าเราจะไปมีอำนาจเพื่อตัวเอง เราคิดแค่ว่าจะมีอำนาจเพื่อไปแก้ปัญหาให้ประชาชน แก้ปัญหาให้เขาให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลก็ต้องทำงานให้สำเร็จ แน่นอน 14 ล้านเสียงเลือกพรรคเข้ามาให้ชนะอันดับ 1 แต่ถ้าจะต้องเสียจุดยืนในการทำการเมือง เชื่อว่าเราจะไม่ยอมเสียจุดยืนนั้น

 

ความรับรู้ของประชาชนที่มีส่วนร่วมและเกาะติดเกมในรัฐสภามากขึ้น

 

ประชาชนรับรู้ครับ ทั้งคุณลุง คุณป้า คนวัยหนุ่มสาวชาวดอนเมือง โทรมาบอกว่าอยากคุยกับพิธา อยากคุยกับผู้แทน เขาบอกว่าเข้าใจ ให้กำลังใจ เป็นฝ่ายค้านก็ได้ ไม่เป็นไรนะ เขาเข้าใจทุกอย่างและพร้อมสนับสนุน ถ้าพรรคก้าวไกลไม่ได้บริหารก็ทำหน้าที่ฝ่ายค้านได้โดยมีประชาชนหนุนหลัง ยิ่งได้เสียงมากกว่าเดิม 

 

ตอนนี้ได้เข้าสภาแน่ๆ แต่กติกาตามรัฐธรรมนูญ 2560 มี ส.ว. ซึ่งมาจากอำนาจคณะรัฐประหารแฝงมา จำแลงมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นผลพวงจากรัฐประหาร ที่คนกลุ่มหนึ่งพยายามทัดทานอำนาจประชาชน 

 

บทบาท ส.ส. เขต ในพื้นที่ดอนเมือง

 

ผมตั้งธงไว้ว่าต้องทำงานสภาให้ดี งานพื้นที่ให้เด่น คือ งานสภา เรามีกฎหมายของพรรคก้าวไกลที่จะผลักดัน ขณะเดียวกันผมก็รับปัญหาของคนดอนเมืองเพื่อนำไปแก้ เช่น ที่ดินหมู่บ้านจัดสรรเก่าๆ ที่ถูกนิติฯ ทิ้งร้างไป สามารถให้ท้องถิ่น กทม. เข้ามาแก้ปัญหา เช่น น้ำท่วม โดยแก้กฎหมายเดิมที่ กทม. ไม่สามารถเข้ามาได้ เพราะหมู่บ้านเป็นพื้นที่เอกชน มีนิติฯ ส่วนกลาง แต่นิติฯ ทิ้งร้างไปแล้ว เราก็ต้องแก้กฎหมายให้อำนาจท้องถิ่นสามารถเข้าไปดูแลชุมชนได้ 

 

ต้องไปวางข้อถกเถียงกันเรื่องการระดมเสียงยกพื้นที่ส่วนกลางให้ กทม. และประสานงานในงานที่ท้องถิ่นไม่สามารถทำได้ แต่ ส.ส. ต้องเชื่อมหน่วยงานราชการ ใช้เวทีสภาให้เจอกัน

 

บทบาทที่จะผลักดันในรัฐสภา

 

 

สมรสเท่าเทียม อัตลักษณ์ทางเพศ เรื่องสิทธิของ Sex Worker เหมือนอาชีพอื่นๆ ทำให้ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องขึ้นทะเบียน เพราะจะเป็นการตีตรา 

 

เรื่องสมรสเท่าเทียมมีความหมายรวมไปถึงการจัดการทรัพย์สินมรดกของคู่สมรส ไม่จำกัดว่าต้องเป็นระหว่างหญิง-ชาย ต้องเป็นระหว่างบุคคลไม่ว่าจะเพศอะไร เช่น คู่ LGBTQIA+ จะมีครอบครัว ยังไม่สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายจดทะเบียนสมรสกันได้ ใช้สิทธิรักษาพยาบาลคู่สมรสที่เป็นข้าราชการก็เบิกให้กันไม่ได้ 

 

สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายในฐานะคู่สมรสต้องไม่บังคับว่าระหว่างหญิง-ชายเท่านั้น ถ้าแก้ก็จะเป็นธรรมมากขึ้น เขามีสิทธิสร้างครอบครัวที่เขาเลือกเอง 

 

โซเชียลมีเดียกับความเชื่อของคนรุ่นหนึ่งที่มองว่ามีการปั่นทางการเมือง 

 

คือถ้าใครเชื่อว่าเกิดจากไอโอหรือการปั่น ผมคิดว่าเป็นความเชื่อที่ไม่อยู่บนฐานความจริง อย่างในเขตดอนเมือง คลิปที่ผมทำเองยังมีคนดูไม่มากเท่ากับคลิปที่ประชาชนถ่ายให้ เพราะเขามีตัวตนจริงๆ เข้าไปดูได้เลย 

 

TikTok เป็นคลิปสั้นดูง่าย เช่น ผมขับสกูตเตอร์แล้วบังเอิญร่มปลิว เขาถ่ายมาโพสต์ดูตลกๆ มียอดวิว 2 ล้าน เขาก็ดูเพราะตลกดี ส่วนคลิปปราศรัยจริงๆ มียอดวิว 2 พัน (หัวเราะ) คือน้อยกว่ามากๆ 

 

มีอีกคลิปที่คนใน TikTok น้องนักรีวิวเขาเห็นป้ายเราถูกทำลาย เขาก็มาแก้มาซ่อมให้แล้วเขาก็ถ่ายลง TikTok มียอดวิว 2 ล้าน 

 

การมีส่วนร่วมของประชาชนสำคัญ มีเจ้าของตึกคนหนึ่งมาบอกว่าอนุญาตให้ไปติดป้ายใหญ่ๆ ที่ตึกเขาได้ แต่เผอิญ กกต. ก็ไม่ให้ทำ แล้วผมก็ไม่มีเงินไปทำป้ายอยู่แล้ว (หัวเราะ) แต่อย่างไรก็ได้ความทรงจำดีๆ ว่าประชาชนมีใจสนับสนุนเรา

 

นักการเมืองที่ยังคิดว่าต้องจ่ายเงินจ้างประชาสัมพันธ์ เลิกคิดได้เลย

 

เราพยายามนำเสนอว่าการเมืองในแบบฉบับของก้าวไกลมันคือคนธรรมดาที่จับต้องได้ มันไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ที่เราจะทำให้ประชาชนอ่อนแอ พึ่งพิงกับการอุปถัมภ์อยู่เรื่อยๆ สุดท้ายแก้ปัญหาไม่ได้ 

 

ดีเอ็นเอของ ส.ส. เขต พรรคก้าวไกล ส่วนใหญ่ไม่ได้คิดว่าต้องใช้เงินจ่ายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในพื้นที่ เช่น งานในท้องถิ่นก็ต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อแก้ปัญหาได้ถาวรระยะยาว เราเป็นตัวเชื่อมโดยที่ ส.ส. ไม่จำเป็นต้องควักเงินส่วนตัวไปทำ เพราะถ้าทำแบบนั้นสุดท้ายคุณก็ต้องไปโกงไปรับเงินจากใครมา ไปขูดรีดใครมา 

 

มั่นใจไหมว่าจะไม่หวั่นไหว หากได้รับการเสนอผลประโยชน์แลกยกมือโหวตในสภา 

 

 

ผมคิดว่าการเป็น ส.ส. เป็นอุดมการณ์ที่ต้องทำหน้าที่ เราเคยเห็นชะตากรรมงูเห่าแล้ว เราคิดว่าคนพวกนั้นคิดสั้นมาก เรามาลงการเมืองพรรคนี้ เพราะเราตัดสินใจมาแล้วว่าเราอยากสร้างการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้ต้องการเพียงมาแทนคนที่อยู่เดิมๆ เพราะถ้าแบบนั้นไม่ต้องมีพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกลก็ได้ พูดเหมือนหล่อ แต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ คือเงินซื้อเราไม่ได้ 

 

เพราะเรารู้สึกว่าเงินเราหาเองได้ในอาชีพเรา เราไม่ได้เดือดร้อน เราพึงพอใจแค่นี้เอาเท่าที่เราหาได้ก็เพียงพอที่จะมีความสุขแล้ว ไม่ต้องเทียบมาตรวัดว่าความสุขของเราต้องรวยเท่านั้น แค่อยู่ได้ก็เพียงพอแล้ว แล้วไปผลักดันวาระสังคมให้ไปข้างหน้า 

 

ผมคิดว่าคนเจเนอเรชันหลังๆ เงินไม่มีความหมายกับเขา ความสุขในชีวิตเงินไม่ใช่คำตอบเสมอไป จากประสบการณ์ที่ทำธุรกิจร้านเสื้อผ้า ร้านอาหาร เราสัมผัสกับคนมาเยอะ เรารู้สึกว่าเงินที่ได้มาเดี๋ยวมันก็ไป แล้วเดี๋ยวมันก็มาใหม่ 

 

ตราบใดที่เราทำอาชีพสุจริตก็หาได้ตลอด แม้กระทั่งตอนผมเป็นทนายความมีวิชาชีพติดตัวก็มีเงินได้ จะมากจะน้อยก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายถึงขนาดถ้าไม่มีแล้วจะอยู่ไม่ได้ ไม่ได้มองว่าเงินคือปัญหา แต่มองว่าข้อจำกัดต่างๆ ตอนนี้ เราจะแก้ไขอย่างไรมากกว่า

 

นักการเมืองเจเนอเรชันก่อนหน้านี้ต้องใช้เงินเยอะเพื่อเข้ามาในการเมือง

 

ใช่ เพราะเป็นการเมืองบ้านใหญ่ ระบบอุปถัมภ์ ต้องมีเงินไปใช้จ่ายอะไรต่างๆ แล้วมีคนมาห้อมล้อมเยอะๆ อะไรแบบนี้ แต่สมัยนี้ถ้าทำแบบนั้นก็คงดูไม่เข้ากับยุคสมัยที่ประชาชนต้องการนักการเมืองสมาร์ท แก้ปัญหาการเมืองได้ มีการปฏิบัติ มีการอธิบายแนวคิด ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ไม่ใช่แค่พูดว่าทำเพื่อประชาชนอย่างนั้นอย่างนี้ แต่พอถึงเวลาไม่เคยทำอะไรสักอย่างเพื่อคนตัวเล็กๆ เช่น เรื่องสมรสเท่าเทียม พรรคก้าวไกลทำเป็นรูปธรรมที่ไปได้ไกลสุด และกำลังรอวาระต่อไป 

The post ‘จอจาน’ ส.ส. ใหม่ ‘ก้าวไกล’ มองพลังโซเชียลกับวิธีคิดใหม่ หมดสมัยบ้านใหญ่แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : เอกราช ว่าที่ ส.ส. ดอนเมือง ก้าวไกล อดีตคน ITV เปิดเอกสารเลิกจ้าง ระบุยุติประกอบกิจการตั้งแต่ มี.ค. ปี 2550 ชี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือการเมืองอีกครั้ง https://thestandard.co/former-itv-staff-opens-layoff-paperwork/ Mon, 12 Jun 2023 01:27:20 +0000 https://thestandard.co/?p=801886 เอกราช อุดมอำนวย

วันนี้ (12 มิถุนายน) เอกราช อุดมอำนวย อดีตพนักงาน ITV ว […]

The post เลือกตั้ง 2566 : เอกราช ว่าที่ ส.ส. ดอนเมือง ก้าวไกล อดีตคน ITV เปิดเอกสารเลิกจ้าง ระบุยุติประกอบกิจการตั้งแต่ มี.ค. ปี 2550 ชี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือการเมืองอีกครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เอกราช อุดมอำนวย

วันนี้ (12 มิถุนายน) เอกราช อุดมอำนวย อดีตพนักงาน ITV ว่าที่ ส.ส. ดอนเมือง พรรคก้าวไกล โพสต์เอกสารกลางดึกของคืนวันที่ 11 มิถุนายน เป็นจดหมายเลิกจ้าง ลงวันที่ 8 มีนาคม 2550 ซึ่งปรากฏข้อความที่มีเนื้อหาระบุว่า ITV ไม่สามารถดำเนินกิจการและดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ ITV ได้ตามกฎหมายอีกต่อไป โดยมีรายละเอียดระบุว่า ในฐานะอดีตคน ITV ผมสะเทือนใจ ITV ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองอีกครั้ง

 

ผมทำงานที่แรกก็ที่ ITV เริ่มต้นจากเป็นนักศึกษาฝึกงานโต๊ะผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ ITV  เมื่อปี 2548 จากนั้นได้บรรจุเป็นพนักงานประจำของสถานีในตำแหน่งครีเอทีฟ รายการร้านชำยามเช้า จากนั้นในปี 2549 ตนเองได้ย้ายมาอยู่ที่ฝ่ายข่าว ITV รับผิดชอบโต๊ะข่าวสังคม รายการข่าวเที่ยงวัยทีน จนกระทั่งสถานีโทรทัศน์ ITV ถูกยกเลิกสัญญาสัมปทานในวันที่ 7 มีนาคม 2550 ในสมัยรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผมต้องตกงานเหมือนกับพนักงาน ITV นับพันคน

 

ก่อนที่ผมจะทำงานด้านสื่ออีกระยะ ไปประกอบธุรกิจส่วนตัว เคลื่อนทางการเมืองในฐานะคนอยากเลือกตั้ง และได้มาทำงานการเมืองกับพรรคก้าวไกล

 

แต่เมื่อผมได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ ส.ส. เขตดอนเมือง ของพรรคก้าวไกล และจะทำหน้าที่เพื่อโหวตให้ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่ประชาชนให้ความไว้วางใจเลือกผมมาทำหน้าที่นี้และพรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 มากถึง 14 ล้านเสียง แต่กลับกลายเป็นว่า ประเด็นหุ้น ITV ของคุณพิธากลับถูกนำมาใช้ในทางการเมือง

 

ซึ่งผมไม่ได้ปฏิเสธการตรวจสอบตามสิทธิในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แต่ในฐานะอดีตคน ITV รู้สึกเจ็บปวดที่ครั้งหนึ่ง ITV เคยตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง จนกระทั่งต้องปิดตัวลงไป และครั้งนี้ การที่หุ้น ITV ซึ่งเคยเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ประชาชนและนักลงทุนสามารถซื้อหุ้นได้อย่างเปิดเผย มีผู้ถือหุ้นนับหมื่นราย และถูกพักการซื้อขาย รวมทั้งยุติการเป็นสถานีโทรทัศน์หรือทำธุรกิจสื่อ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีสมัย พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 หรือกว่า 16 ปีแล้ว ส่วนหุ้นก็หยุดการซื้อขายมายาวนาน จนออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในปี 2557

 

การดำเนินธุรกิจเป็นเพียงการต่อสู้คดีตามกฎหมายเท่านั้น มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินต้นที่ ITV เคยประกอบกิจการเท่านั้น แต่ขณะนี้กลับมีความพยายามที่จะทำให้ส่งผลในทางที่ไม่เป็นคุณกับพิธา

 

นอกเหนือจากการตรวจสอบตามสิทธิและกฎหมาย มีการแก้ไขเอกสารต่างๆ เพื่อยังทำให้เห็นว่า ITV ยังทำธุรกิจสื่อ รวมทั้งมีการทำหนังสือไปยังศาลปกครองสูงสุดเพื่อเร่งรัดคดี ITV ให้ตัดสินภายในเดือนนี้ เพื่อให้มีผลบางอย่างทางกฎหมายกับคุณพิธาโดยตรง

 

ผมรู้สึกสะเทือนใจที่มีความพยายามทำให้ ITV ฟื้นคืนชีพเพื่อมีจุดประสงค์เป็นเครื่องมือทางการเมืองอีกครั้ง เพื่อขัดขวางการทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีของพิธาที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน

 

เอกราชระบุว่า ผมจึงอยากเรียกร้องในฐานะอดีตคน ITV ที่เคยประสบชะตากรรมต้องตกงานและเจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2550 ขอให้หน่วยงานต่างๆ ให้ความเป็นธรรมกับพิธา และพิจารณาอย่างรอบคอบตามหลักของกฎหมายที่มีนิติรัฐและนิติธรรม เพราะมิใช่แค่อดีตคน ITV อย่างตนที่เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เป็นการใช้กระบวนการกฎหมายมาทำลายความตั้งใจทำงานทางการเมืองของคุณพิธา และทำลายความเชื่อมั่นและศรัทธาที่ประชาชนได้เลือกตั้งให้ความไว้วางใจพรรคก้าวไกลและคุณพิธาอีกด้วย รวมทั้งจะทำให้ในวงการกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันตนก็ทำหน้าที่ในฐานะทนายความและนักกฎหมายคนหนึ่งว่า หลักนิติรัฐและนิติธรรมที่ควรจะเป็น และเป็นกรณีศึกษาอีกครั้งหรือไม่ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ห้ามถือครองหุ้นสื่อ แท้ที่จริงเพื่อการป้องกันผลประโยชน์และส่วนได้เสียทางการเมือง หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่า

 

อ้างอิง:

The post เลือกตั้ง 2566 : เอกราช ว่าที่ ส.ส. ดอนเมือง ก้าวไกล อดีตคน ITV เปิดเอกสารเลิกจ้าง ระบุยุติประกอบกิจการตั้งแต่ มี.ค. ปี 2550 ชี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือการเมืองอีกครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>