เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 04 Oct 2024 01:26:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา การเอาชีวิตรอดของ ‘คนธรรมดา’ https://thestandard.co/bangkok-breaking-movie/ Fri, 04 Oct 2024 01:26:46 +0000 https://thestandard.co/?p=991438

Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา ภาพยนตร์แอ็กชันไทยเร […]

The post Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา การเอาชีวิตรอดของ ‘คนธรรมดา’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา ภาพยนตร์แอ็กชันไทยเรื่องล่าสุดจาก Netflix ภายใต้การกำกับของ โขม-ก้องเกียรติ โขมศิริ ที่กลับมาจับมือกับนักแสดงมากฝีมือ เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ มาพาผู้ชมไปติดตาม วันชัย (เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ) ฮีโร่คนธรรมดาที่ต้องเอาชีวิตรอดจากเมืองเทวดาอันบ้าคลั่งอีกครั้ง พร้อมเสริมทัพความเดือดด้วยทีมนักแสดงมากฝีมือ นำโดย ดู๋-สัญญา คุณากร, มายด์-อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ (มายด์ 4EVE), ต๊อก-ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ, ฟลุค-ธีรภัทร โลหนันทน์, ณัฐ ศักดาทร และ เดย์ THAITANIUM ฯลฯ

 

 

สำหรับฉบับภาพยนตร์ คือเรื่องราวภาคแยกของฉบับซีรีส์ที่ออกฉายในปี 2564 บอกเล่าเรื่องราวของวันชัยที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากอาสาสมัครกู้ภัยจนได้เป็นเจ้าหน้าที่กู้ชีพเต็มตัว แต่แล้วชีวิตของเขาก็ต้องพลิกผัน เมื่อเขาต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์จลาจลม็อบเคหะ และด้วยการตัดสินใจที่ผิดพลาด ซึ่งส่งผลให้เพื่อนร่วมงานต้องบาดเจ็บสาหัส จนถูกสั่งพักงานอย่างไม่มีกำหนด ก่อนจะเบนเข็มชีวิตหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นไรเดอร์ส่งอาหาร

 

แต่ดูเหมือนว่าความโชคร้ายของวันชัยจะยังไม่จบลงง่ายๆ เมื่อเขาต้องไปส่งชานมไข่มุกให้พยาบาลสาว เมจิ (มายด์-อาทิตยา ตรีบุดารักษ์) และเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ลักพาตัว ดวงกมล (ยูเค-ณัฐธยาน์ องค์ศรีตระกูล) ลูกสาวเจ้าสัวผู้ทรงอิทธิพล จนทำให้พวกเขาต้องหาทางเอาชีวิตรอดจากเคหะชุมชนรวมใจ สถานที่ซึ่งถูกควบคุมโดยแก๊งนักเลงสุดโฉดไปให้สำเร็จ

 

 

สิ่งที่ชอบใน Bangkok Breaking ฉบับซีรีส์ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2564 คือไอเดียของเรื่องที่ผู้กำกับและทีมสร้างปูเอาไว้อย่างแข็งแรง กับเรื่องราวของ ‘คนธรรมดา’ อย่างวันชัย หนุ่มบ้านนอกที่ตัดสินใจย้ายมาอยู่เมืองกรุง แต่นั่นกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่นำพาเขาเข้าไปพัวพันกับมุมมืดที่ซุกซ่อนอยู่ภายใต้เมืองเทวดาแห่งนี้ 

 

แต่ข้อสังเกตสำคัญที่มองว่าค่อนข้างติดขัดคือ การที่ซีรีส์พยายามใส่ประเด็นที่อยากจะนำเสนอเข้ามามากมายเกินจำเป็น ทั้งปมปัญหาของแต่ละตัวละครไปจนถึงเรื่องราวการสืบสวนหาความจริงของตัวละครหลัก จนทำให้ความน่าสนใจของซีรีส์ตลอด 6 ตอนค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ และนำมาสู่บทสรุปที่เราไม่ได้รู้สึกยินดีที่ได้เห็นเหล่าตัวละครหลักเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ต่างๆ มาได้อย่างที่ควรจะเป็น

 

 

ขณะที่ฉบับภาพยนตร์ Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา ที่เพิ่งสตรีมทาง Netflix เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมงเศษที่เราได้ติดตามการเอาชีวิตรอดของวันชัย เราก็สัมผัสได้อย่างชัดเจนว่าผู้กำกับและทีมสร้างได้กลับไปขัดเกลาจุดด้อยและตีบวกจุดเด่นของฉบับซีรีส์ให้ออกมาลงตัวขึ้นไม่น้อยทีเดียว 

 

สิ่งแรกที่อยากกล่าวถึงคือ ฉากหลังสำคัญอย่างเคหะชุมชนรวมใจที่ออกแบบมาได้อย่างโดดเด่น ทั้งการออกแบบฉากและเสื้อผ้าหน้าผมของตัวละคร โดยเฉพาะเหล่าแก๊งนักเลงโฉดที่นำโดย ดาร์ลี่ (เดย์ THAITANIUM) ที่มองเผินๆ อาจจะดูล้นๆ ไปบ้าง แต่ความบ้าคลั่งของพวกเขากลับช่วยขับเน้นให้สถานที่แห่งนี้มีชีวิตชีวาขึ้นมา หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง เคหะชุมชนรวมใจแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งตัวละครสำคัญของ Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา ที่คอยขับเคลื่อนเรื่องราวไม่แพ้ตัวละครอื่นๆ นั่นเอง

 

 

ขณะที่ฉากแอ็กชันไล่ล่า ขึ้นชื่อว่าผู้กำกับ โขม ก้องเกียรติ ที่เคยสร้างความสยองแก่ผู้ชมมาแล้วใน ลองของ (2548) และเคยเสิร์ฟฉากแอ็กชันเดือดๆ เท่ๆ มาแล้วใน อันธพาล (2555) หรือภาพยนตร์ชุด ขุนพันธ์ แน่นอนว่าผลงานครั้งนี้เขายังคงขนฉากแอ็กชันไล่ล่ามาสร้างความตื่นเต้นแก่ผู้ชมแบบจัดเต็มไม่แพ้กัน 

 

โดยฉากที่ส่วนตัวผู้เขียนชื่นชอบที่สุดเห็นจะเป็นฉากขับรถไล่ล่าที่ถูกร้อยเรียงเหตุการณ์มาเป็นอย่างดี เริ่มต้นด้วยสถานการณ์เล็กๆ ที่วันชัยต้องไปส่งชานมไข่มุกให้เมจิ ก่อนจะค่อยๆ เร่งเครื่องไต่ระดับความเดือดขึ้นเรื่อยๆ มีช่วงพักเบรกให้เราได้พักหายใจสั้นๆ ก่อนจะเหยียบคันเร่งอีกครั้งด้วยฉาก Long Take ที่อาจจะไม่ได้ยาวมากนัก แต่ก็เป็นอีกหนึ่งฉากไฮไลต์ที่ผู้กำกับและทีมสร้างนำเสนอออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมจริงๆ 

 

 

ส่วนเนื้อเรื่องเองก็ถูกขัดเกลาให้ชัดเจนและแข็งแรงขึ้น ทั้งการแนะนำให้เรารู้จักเบื้องหลังและเป้าหมายของแต่ละตัวละครเท่าที่จำเป็น ก่อนที่ผู้กำกับจะโยนสถานการณ์ต่างๆ ให้เหล่าตัวละครหลักได้เผชิญและค่อยๆ เผยแง่มุมต่างๆ ให้เราเข้าใจพวกเขามากขึ้น แม้ว่าอีกด้านมันจะทำให้เรื่องราวของตัวละครอื่นๆ อย่างเจ้าสัวหรือคุณนายเจ้าของมูลนิธิรวมพลังใจดูจะเบาบางลงไป แต่มันก็ทำให้ตัวเนื้อเรื่องมีความกระชับ ไม่ยืดเยื้อ และขับเคลื่อนให้ตัวละครดำเนินไปข้างหน้าตั้งแต่ต้นจนจบ

 

แกนหลักสำคัญที่ส่งให้เรื่องราวของเหล่าตัวละครหลักมีมิติที่น่าสนใจคือ การพาเราไปสำรวจ ‘ความกลัว’ ที่เป็นพลังขับเคลื่อนตัวละครทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันชัยกับการเป็น ‘ฮีโร่คนธรรมดา’ ที่อยากช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับภัยอันตรายแค่ไหน หรือแม้คนคนนั้นจะเป็นมือปืนอย่าง สิน (ดู๋-สัญญา คุณากร) ที่เป็นต้นเหตุให้เขาต้องมาเจอชะตากรรมแบบนี้ก็ตาม แต่เมื่อเรื่องราวทั้งหมดสิ้นสุดลง เขาก็ได้แสดงให้เราเห็นว่าความกลัวที่เขาเก็บซ่อนไว้นั้นมันหนักหนาสาหัสขนาดไหน เพราะถึงแม้เขาจะมีจิตใจที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่นขนาดไหน แต่ลึกๆ แล้วเขาก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาเช่นเดียวกัน

 

 

หรือจะเป็นเมจิ พยาบาลสาวที่จู่ๆ ก็ถูกจับพลัดจับผลูเข้ามาเสี่ยงชีวิตในเหตุการณ์ที่เธอไม่เกี่ยวข้อง แถมเธอยังไม่ได้เข้มแข็งและอยากช่วยเหลือคนอื่นแบบเดียวกับวันชัย แม้ว่าชีวิตที่ผ่านมาของเธอนั้นไม่ได้ราบรื่นนัก แต่เธอก็ยังอยากจะมีชีวิตต่อไป ความกลัวจึงเป็นสิ่งเดียวที่ขับเคลื่อนให้เธอยังคงดิ้นรนหาทางเอาชีวิตรอดออกไปจากนรกบนดินแห่งนี้

 

รวมไปถึงสิน มือปืนผู้มีฝีมือฉกาจฉกรรจ์ ไร้ซึ่งความปรานี แต่เหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้เขาพยายามเอาชีวิตรอดออกไปก็คงหนีไม่พ้นความกลัวที่จะต้องสูญเสีย แบงค์ (ฟลุค-ธีรภัทร โลหนันทน์) ไปเหมือนที่เขาเคยสูญเสียครอบครัวไปในอดีต ความกลัวเหล่านั้นจึงกลายเป็นแรงผลักดันให้เขาพร้อมจะทำทุกวิถีทางเพื่อหลบหนีเอาชีวิตรอดจากนรกแห่งนี้ รวมถึงหลบหนีจากเมืองเทวดาอันเน่าเฟะ เพื่อที่จะได้ไปเริ่มต้นชีวิตที่สงบสุขเสียที

 

ดังนั้นความกลัวที่พวกเขาต่างแบกรับเหล่านี้เอง ที่ทำให้พวกเขาต่างเป็นตัวละครที่มีชีวิตจิตใจและชักชวนให้เราอยากเอาใจช่วยพวกเขาไปตลอดทั้งเรื่อง

 

 

สำหรับผู้เขียน แม้ว่าตัวภาพยนตร์จะยังมีข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างทางอยู่บ้าง แต่การกลับมาของวันชัยและ Bangkok Breaking ฉบับภาพยนตร์ครั้งนี้ ก็สามารถมอบความสนุกและความลุ้นระทึกให้กับเราได้อย่างครบรส ทั้งฉากแอ็กชันไล่ล่าที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี เรื่องราวของตัวละครที่มีมิติชวนติดตาม และการแสดงอันยอดเยี่ยมของเหล่านักแสดงนำที่ไม่มีใครโดดเด่นมากน้อยไปกว่ากัน

 

สามารถรับชม Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา ได้แล้วทาง Netflix 

 

รับชมตัวอย่าง Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา ได้ที่:

 

 

ภาพ: Netflix

The post Bangkok Breaking: ฝ่านรกเมืองเทวดา การเอาชีวิตรอดของ ‘คนธรรมดา’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
มนต์รักนักพากย์ (2566) ลอง ลิฟ ไทย ซีเนมา-มิตร ชัยบัญชา ฟอร์เอฟเวอร์ https://thestandard.co/opinion-once-upon-a-star/ Thu, 12 Oct 2023 08:00:51 +0000 https://thestandard.co/?p=853929

ขอเริ่มต้นด้วยการพูดถึงช้างตัวเบ้อเริ่มที่อยู่ในห้องก่อ […]

The post มนต์รักนักพากย์ (2566) ลอง ลิฟ ไทย ซีเนมา-มิตร ชัยบัญชา ฟอร์เอฟเวอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ขอเริ่มต้นด้วยการพูดถึงช้างตัวเบ้อเริ่มที่อยู่ในห้องก่อน 

 

น่าสังเกตว่าทันทีที่เทรลเลอร์และโปสเตอร์สไตล์วินเทจของหนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ งานกำกับของ อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร และเป็นผลงานที่ Netflix ออกทุนสร้างร้อยเปอร์เซ็นต์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘ทีไทย ทีมันส์’ ที่ออกข่าวปีก่อน) ได้รับการเผยแพร่สู่การรับรู้ของสาธารณชน เสียงเรียกร้องหนาหูจากทั่วสารทิศก็คือโอกาสที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ (อย่างน้อย ‘สักหนึ่งสัปดาห์ก็ยังดี’) ด้วยเหตุผลที่ไม่ได้สลับซับซ้อน

 

นี่เป็นหนังที่นอกจากส่วนหนึ่งของเนื้อหาพูดถึงประวัติศาสตร์หน้าสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬารของอุตสาหกรรมหนังไทย ยังเป็นหนังที่เฉลิมฉลอง ‘ภาพยนตร์’ ในฐานะมหรสพ หรืออีกนัยหนึ่ง หนังที่อรรถรสในการชมสัมพันธ์กับการได้ดูเป็นหมู่คณะอย่างแยกจากกันไม่ได้ (หลายๆ ฉากในหนังก็ถ่ายทอดห้วงเวลาที่เรียกได้ว่าเป็น Magic Moment ของมันโดยตรง) และนั่นทำให้โดยอัตโนมัติ แพลตฟอร์มหรือช่องทางเดียวที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์แบบรวมหมู่ หรือที่เรียกว่า Collective Experience ก็คือในโรงภาพยนตร์

 

 

แต่บังเอิญว่าเจ้าของหนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ เป็นเจ้าของเดียวกับบริการสตรีมมิง ซึ่งมีระบบการเผยแพร่คอนเทนต์หรือภาพเคลื่อนไหวในแบบที่ไม่ต้องพึ่งพาโรงหนังอีกต่อไป โรงหนังก็เลยไม่ใช่อุโบสถอันศักดิ์สิทธิ์ หรือพื้นที่จารึกแสวงบุญสำหรับคนดู หรือเอาเข้าจริงๆ กลายเป็นส่วนเกินของสมการนี้ด้วยซ้ำ

 

นั่นทำให้เป็นเรื่องช่วยไม่ได้จริงๆ ที่ใครจะรู้สึกถึงความลักลั่นและย้อนแย้งของการที่หนังที่สร้างเพื่อหวนรำลึกถึงภาพยนตร์ในฐานะสันทนาการที่ผู้คนได้หัวเราะ ร้องไห้ และซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน กลับถูกเผยแพร่ผ่าน ‘จอหนัง’ ของใครของมัน และพวกเราในฐานะคนดูไม่มีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน หนังเรื่องอื่นยังพอทำเนา แต่สำหรับเรื่องนี้ มันชวนให้รู้สึกรุนแรงกว่าเพื่อน 

 

 

แต่ก็อีกนั่นแหละ แง่มุมหนึ่งที่อาจยกมาชดเชยส่วนที่ขาดตกบกพร่องก็คือ แพลตฟอร์มสตรีมมิงช่วยลดทอนความเหลื่อมล้ำเชิงภูมิศาสตร์ หมายความว่า ตราบเท่าที่ใครคนนั้นอยู่ในที่ๆ มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตและเป็นสมาชิกของบริการสตรีมมิงยี่ห้อนั้นๆ การเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม (ซึ่งนับเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของอุตสาหกรรมหนังไทย จนเกิดความเหลื่อมล้ำในเชิงของการรับรู้และรสนิยม) ก็ไม่ใช่ประเด็นปัญหาอีกต่อไป และในขณะที่หนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ ต้องแลกกับการไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์อย่างที่ใครๆ ลงความเห็นว่านี่คือที่ทางที่เหมาะสมของมัน การที่คนทั่วโลกสามารถดูหนังเรื่องนี้ผ่านจอภาพส่วนตัวในช่วงเดียวกัน ก็เป็นเรื่องที่คงต้องชั่งตวงวัดกันไปว่ามันคุ้มค่ากับอรรถรสและสุนทรียะที่ตกหล่นสูญหายหรือไม่อย่างไร

 

และเป็นไปได้หรือไม่ว่าในเมื่อ ‘ตลาด’ มีขนาดใหญ่และความหลากหลายมากขึ้น คนทำหนังก็ไม่ต้องติดอยู่ในเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเดิมๆ ของการต้องทำหนัง (ฉายโรง) เพื่อตอบสนองกลุ่มคนดูที่เป็นวัยรุ่นเพียงลำพัง และ มนต์รักนักพากย์ ก็เล่าเรื่องที่ฉีกตัวเองไปจากกรอบเนื้อหาที่คุ้นเคยและมีเนื้อหาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อย่างที่ผู้กำกับเล่าแจ้งแถลงไขไว้ก่อนหน้านี้ว่า นี่คือจดหมายรักของเขาต่อหนังไทย และหนังไทยในที่นี้ก็ย้อนกลับไป 50 กว่าปี หรือช่วงปลายของยุค ‘หนังไทย 16 มม.’ (ซึ่งถ่ายทำแบบไม่บันทึกเสียงและใช้การพากย์สด) และจากที่หนังของนนทรีย์นำเสนอซึ่งรองรับด้วยข้อเท็จจริง นักพากย์เป็นผู้เล่นสำคัญที่ชี้เป็นชี้ตายความสำเร็จหรือล้มเหลวของหนังเรื่องหนึ่งอย่างชนิดวันต่อวันทีเดียว

 

 

โฟกัสสำคัญของ มนต์รักนักพากย์ ได้แก่หน่วยหนังเร่ขายยาของ มานิตย์ (เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ) ซึ่งจะว่าไปแล้วสถานะของหน่วยเผยแพร่ความบันเทิงแบบจรยุทธ์ของเขาอยู่ในลำดับชนชั้นที่ต่ำสุดของระบบการฉายหนัง ซึ่งเริ่มจากโรงชั้นหนึ่งในเมืองหลวง โรงชั้นสอง โรงหัวเมืองต่างจังหวัด หนังล้อมผ้า (ซึ่งเก็บค่าดู) จนกระทั่งถึงหนังเร่ขายยาที่ตะลอนไปตามจังหวัดต่างๆ และดูฟรี และจากที่คนดูได้เห็น สภาพของตัวหนังที่ตกทอดมาถึงพวกเขาก็เต็มไปด้วยรอยขีดข่วน ภาพกระตุก สีสันเลอะเลือน หรือที่เรียกกันว่ากากฟิล์มนั่นเอง

 

แต่ทั้งๆ ที่เผชิญกับข้อจำกัดนานัปการ ทั้งกฎเกณฑ์ของบริษัทขายยาที่คร่ำครึโบราณ เทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนไป (การมาถึงของหนัง 35 มม. เสียงในฟิล์ม และโทรทัศน์) ตลอดจนคู่แข่งตัวฉกาจอันได้แก่หน่วยฉายหนังล้อมผ้าซึ่งมีทุกอย่างเหนือกว่า ทั้งเครื่องฉาย สภาพฟิล์มหนัง และนักพากย์

 

สิ่งที่หนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ บอกเล่าก็คือการดิ้นรนเฮือกสุดท้ายของทีมไก่รองบ่อนของมานิตย์ ซึ่งประกอบด้วย เรืองแข (หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ) นักพากย์หญิงคนเดียว, เก่า (เก้า-จิรายุ ละอองมณี) คนคุมจอและเครื่องฉาย, ลุงหมาน (สามารถ พยัคฆ์อรุณ) คนขับรถ และกล่าวได้ว่าความพยายามกระเสือกกระสนเพื่อไปต่อและอยู่รอด (และโดยไม่ต้องยึดติดอยู่กับข้อบังคับล้าหลัง) ก็ไม่เพียงก่อให้เกิดทั้งความกระตือรือร้นและแรงบันดาลใจใหม่ๆ กับทุกคนในทีม อาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวยังล้ออยู่กับภาวะลูกผีลูกคนของหนังไทยช่วงนั้น (พ.ศ. 2513) ที่ถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องรับมือกับความพลิกผันที่รุมเร้านานัปการ และนั่นรวมถึงเหตุไม่คาดฝันที่จู่โจมแบบไม่มีใครตั้งตัว

 

 

อย่างที่ใครๆ รับรู้รับทราบ หนึ่งในตัวละครที่เล่นบทบาทสำคัญ ทั้งๆ ที่เขาล่วงลับไปแสนนานก็คือ มิตร ชัยบัญชา และความแยบยลของบทหนังส่วนนี้ก็ได้แก่การใช้ประโยชน์จากคาแรกเตอร์นี้ ทั้งในฐานะบุคลิกที่มีเลือดเนื้อ และความหมายเชิงสัญลักษณ์ซึ่งโยงไปถึงแก่นเรื่อง หรือพูดอย่างเจาะจง หนังใช้การเสียชีวิตกะทันหันของมิตรเป็นเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้เหล่าตัวละครในเรื่องค้นพบความปรารถนาและความมุ่งหวังของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น แต่ก็อีกนั่นแหละ วิธีการที่ผู้สร้าง ‘เลือก’ ให้เราได้ ‘พบเจอ’ กับมิตร ชัยบัญชา ในหนังเรื่องนี้ ก็นับว่า ‘เสี่ยง’ และท้าทายการยอมรับของคนดูพอสมควร

 

อย่างไรก็ตาม 2-3 ส่วนที่โดดเด่นมากๆ อย่างแรกสุดก็คืองานสร้าง (เอก เอี่ยมชื่น ผู้ซึ่งร่วมงานกับนนทรีย์มาตั้งแต่หนังเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง) ที่จำลองช่วงเวลาตามท้องเรื่องได้สมจริงสมจังและประณีต ทั้งเสื้อผ้าหน้าผมของตัวละคร อุปกรณ์ประกอบฉาก รถบุโรทั่งที่ใช้เร่ฉายหนัง ฉากตลาดยามเช้าในต่างจังหวัด โรงเรียนสอนพิมพ์ดีด ไปจนถึงโรงแรมซอมซ่อที่หน่วยเร่ฉายหนังใช้ซุกหัวนอน ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เพียงแค่ทำให้ยุคสมัยที่ผ่านพ้นไปแล้วเนิ่นนานกลับมาโลดเต้นและดูมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทว่ามันยังช่วยสนับสนุนให้เรื่องที่บอกเล่าดูขึงขังจริงๆ มากขึ้น

 

 

อีกหนึ่งก็คือการสร้างบุคลิกของมานิตย์ ผู้ซึ่งว่าไปแล้วบทหนังแทบจะไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละคร นอกจากเขาเป็นหัวหน้าหน่วยเร่ฉายหนังที่ดูอบอุ่นและเปี่ยมด้วยเมตตา และนั่นยิ่งทำให้เราอยากรู้ภูมิหลังของใครคนนี้มากขึ้น แต่บางทีเรื่องแต่หนหลังของเขาก็คงไม่มีอะไรสลักสำคัญที่คนดูควรรู้ เพราะสุดท้ายแล้วชีวิตและความรักของเขาก็มีเพียงแค่สิ่งที่เราได้เห็นเบื้องหน้า นั่นคือการพากย์หนังขายยาที่เจ้าตัวบอกว่าพากย์แต่ละเรื่องมาเป็นร้อยๆ รอบ 

 

และแน่นอน คนที่ทำให้ตัวละครซึ่งดูเหมือนไม่มีมิตินี้กลับเต็มล้นไปด้วยความเป็นมนุษย์ก็คือ เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ หรือว่ากันตามจริง ตัวตนของเขากลืนหายไปกับคาแรกเตอร์นี้อย่างไร้รอยต่อจริงๆ และคนดูเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัยในความเป็นนักพากย์ห้าเสียงที่คล่องแคล่วช่ำชอง แม้ว่าจนแล้วจนรอดเสียงผู้หญิงของเขาก็สมควรถูกนักเลงหัวไม้ด่าทอว่าเหมือน ‘สุนัขเยี่ยวรดกะละมัง’ จริงๆ แต่ใครที่โตทันหนังกลางแปลงพากย์สด ซึ่งใช้นักพากย์ผู้ชายคนเดียว เสียงผู้หญิงก็ระคายหูแบบนี้ทั้งนั้น

 

ไม่ว่าจะอย่างไร หนึ่งในฉากที่ผู้สร้างถ่ายทอดคาแรกเตอร์นี้ได้จับใจมากๆ อยู่ในตอนท้าย ที่เจ้าตัวบอกเจตนารมณ์ของตัวเองกับทุกคนด้วยน้ำเสียงและสีหน้าสีตาที่เด็ดเดี่ยวมุ่งมั่น แต่ก็แฝงไว้ด้วยความอ่อนโยน ทำนองว่าเขาจำเป็นต้องสู้เพื่อความฝันของตัวเอง เพราะไม่อย่างนั้นมันก็จะกลายเป็นปมค้างคาหรือบาดแผลทางจิตใจ แต่พูดอย่างถี่ถ้วน นี่เป็นฉากที่ส่วนประกอบต่างๆ ลงตัวจริงๆ ทั้งงานด้านภาพ การตัดต่อ การแสดงของนักแสดงทุกคนที่พอดิบพอดี และการกำกับที่ทุกอย่างดูไหลลื่นเป็นธรรมชาติมากๆ

 

 

ประเด็นสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดที่น่าพูดถึงเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ก็คือบทบาทของมันในฐานะผลงานบันทึกประวัติศาสตร์หนังไทย น่าสังเกตว่าหนังไทยไม่เหมือนหนังฮอลลีวูดตรงที่เราไม่ค่อยสร้างหนังที่พูดถึงความเป็นไปในระบบอุตสาหกรรมสักเท่าไร (ส่วนหนึ่งคงเพราะมันไม่ใช่หัวข้อที่ขายได้และมักจะมีราคาแพง) เพราะอย่างนี้ความพยายามของ มนต์รักนักพากย์ ในการบอกเล่าเรื่องแต่หนหลังที่เกือบตกสำรวจนี้ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชม 

 

แต่ก็นั่นแหละ เงื่อนไขของการเป็นหนัง ‘บันเทิงคดี’ ก็ทำให้ผู้สร้างต้องใส่สีตีไข่และหยิบโน่นผสมนี่ หรือพูดตรงๆ หนังมีความคลาดเคลื่อนในแง่ข้อเท็จจริงตามสมควร ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัว นี่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง เพราะจนแล้วจนรอดคนทำหนังก็บอกตั้งแต่ต้นว่านี่คือจดหมายรักที่เขาสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงช่วงเวลาที่ ‘หอมหวานที่สุดของวงการหนังไทย’ หรืออีกนัยหนึ่ง เขาไม่ได้มองสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยสายตานักประวัติศาสตร์ แต่ในฐานะคนที่รักและผูกพันกับหนังไทยซึ่งเต็มไปด้วยฉันทาคติ จะเรียกว่าด้อมหรือนายแบกก็คงจะได้ อันส่งผลให้สิ่งละอันพันละน้อย ทั้งเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ความทรงจำ (ที่เอาแน่นอนไม่ได้) และจินตนาการของผู้สร้าง ควบแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน 

 

 

โดยปริยาย มนต์รักนักพากย์ เป็นหนังที่ชวนให้เปิดบทสนทนาต่อเนื่องหลังดูจบจริงๆ ส่วนหนึ่งอาจจะเพื่อชำระสะสางสิ่งที่คนทำหนังถือวิสาสะดัดแปลง แต่ส่วนที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็เพื่อให้ผู้ชมรุ่นหลังจะได้รับรู้ว่า ทันทีที่จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ นี้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์หนังไทย เบื้องหน้าที่ดูหอมหวานและชวนให้ถวิลหากลับแอบซ่อนไว้ด้วยเส้นทางที่ทั้งทุลักทุเล ระหกระเหิน และไม่เคยโรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบด้วยประการทั้งปวง

 

มนต์รักนักพากย์ (พ.ศ. 2566)

กำกับ: นนทรีย์ นิมิบุตร
ผู้แสดง: ศุกลวัฒน์ คณารศ, หนึ่งธิดา โสภณ, จิรายุ ละอองมณี, สามารถ พยัคฆ์อรุณ 

 

ภาพ: Netflix

The post มนต์รักนักพากย์ (2566) ลอง ลิฟ ไทย ซีเนมา-มิตร ชัยบัญชา ฟอร์เอฟเวอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
มนต์รักนักพากย์ ผลงานล่าสุดจาก อุ๋ย นนทรีย์ พร้อมพาผู้ชมไปสัมผัสกับยุครุ่งเรืองของวงการหนังไทย 11 ต.ค. นี้ https://thestandard.co/once-upon-a-star-11-oct-66/ Wed, 13 Sep 2023 08:45:56 +0000 https://thestandard.co/?p=841297

“คนดูต้องการสิ่งใหม่ ถ้าผมไม่เดินหน้าทำอะไรเลย ก็เท่ากั […]

The post มนต์รักนักพากย์ ผลงานล่าสุดจาก อุ๋ย นนทรีย์ พร้อมพาผู้ชมไปสัมผัสกับยุครุ่งเรืองของวงการหนังไทย 11 ต.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

“คนดูต้องการสิ่งใหม่ ถ้าผมไม่เดินหน้าทำอะไรเลย ก็เท่ากับว่าผมทรยศต่ออาชีพที่ผมรัก”

 

มนต์รักนักพากย์ ภาพยนตร์ที่เปรียบเสมือนจดหมายรักถึงวงการภาพยนตร์ไทยจากผู้กำกับมากฝีมือ อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร ที่จะพาผู้ชมย้อนเวลากลับไปสัมผัสยุคสมัยอันหอมหวานของวงการภาพยนตร์ไทยอีกครั้ง วันที่ 11 ตุลาคมนี้ ทาง Netflix

 

 

ภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องราวในปี 2513 ช่วงเวลาที่การรับชมการพากย์หนังกลางแปลงกำลังเฟื่องฟู  โดยบอกเล่าผ่านสายตาของ มานิตย์ (เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ) หัวหน้าทีมและนักพากย์มือหนึ่งของหน่วยเร่ขายยาหน่วยที่ 18 ของบริษัทขายยาโอสถเทพยดา ที่ออกตระเวนเร่ขายยาและเรียกลูกค้าด้วยการจัดฉายหนังกลางแปลง โดยมีลูกทีมที่เชื่อใจได้คอยช่วยเหลือ นำโดย เรืองแข (หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ) นักพากย์สาวผู้เปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์, ไอ้เก่า (เก้า-จิรายุ ละอองมณี) หนุ่มขี้เล่นที่ใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งเขาจะได้ไปโลดแล่นอยู่บนจอภาพยนตร์ และ ลุงหมาน (สามารถ พยัคฆ์อรุณ) คนขับรถหนังเร่ผู้เป็นเหมือนผู้หลักผู้ใหญ่ที่คอยดูแลทุกคนในทีม

 

แต่ดูเหมือนว่าเส้นทางความฝันของมานิตย์จะไม่ได้ราบรื่นนัก เมื่อเขาต้องหาทางเอาชนะบริษัทคู่แข่งที่มีอุปกรณ์และทีมงานที่เก่งกาจ แถมยังต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการภาพยนตร์ไทย มานิตย์และพรรคพวกจึงต้องจับมือและช่วยเหลือกันเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคที่กำลังมาถึง 

 

นอกจากชื่อของ อุ๋ย นนทรีย์ ที่จะมานั่งแท่นผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างแล้ว ภาพยนตร์ยังเนืองแน่นไปด้วยทีมนักแสดงมากฝีมือที่จะมาพาผู้ชมย้อนเวลาสู่ยุคพากย์หนังกลางแปลงไปพร้อมกัน นำโดย เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ, หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ, เก้า-จิรายุ ละอองมณี และ สามารถ พยัคฆ์อรุณ 

 

ด้าน อุ๋ย นนทรีย์ ได้รับแรงบันดาลใจในการบอกเล่าเรื่องราวครั้งนี้มาจากการได้พูดคุยกับนักพากย์ตัวจริงเสียงจริงในช่วงยุค 60 ซึ่งเป็นประสบการณ์การทำงานที่สนุกสนานและเข้มข้น เขาจึงตัดสินใจหยิบยกเรื่องราวเหล่านี้มานำเสนอในรูปแบบภาพยนตร์ เพื่อเป็นบันทึกประวัติศาสตร์และเป็นจดหมายรักของเขาที่มีต่อวงการภาพยนตร์ไทย 

 

 

และหากเราสังเกตจากตัวอย่างก็จะเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการกล่าวถึง มิตร ชัยบัญชา นักแสดงมากฝีมือผู้ล่วงลับที่ฝากผลงานการแสดงเรื่องเยี่ยมไว้ให้กับวงการภาพยนตร์ไทยมากมาย เช่น เงิน เงิน เงิน, อินทรีแดง, และ มนต์รักลูกทุ่ง ฯลฯ ก็เป็นความตั้งใจของผู้กำกับที่อยากจะรำลึกและถ่ายทอดเรื่องราวของ ‘พระเอกตลอดกาล’ ที่ผู้ชมชาวไทยต่างหลงรัก ให้คนรุ่นหลังได้รับชม 

 

 

ขณะที่นักแสดงนำอย่าง เวียร์ ศุกลวัฒน์ ได้เล่าถึงความรู้สึกที่มีต่อ มิตร ชัยบัญชา ว่า “ตั้งแต่เริ่มงานในวงการมา ถึงเราไม่ได้อยู่ในยุคนั้น แต่เราก็ได้ยินคนพูดถึงคุณมิตรมาตลอด รู้สึกทึ่งและประทับใจกับการใช้ชีวิตและผลงานของเขามาก พอได้มาเล่นเรื่อง มนต์รักนักพากย์ เขาเป็นเหมือนคนที่เราได้เห็นทุกวัน เพราะต้องพากย์เสียงเขาทุกวัน มันเลยเกิดความรักในตัวเขา และรู้สึกผูกพันโดยไม่รู้ตัว ยิ่งในเรื่องมีฉากที่เราได้เจอคุณมิตรด้วย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่สุดของตัวละครนี้เลยครับ”

 

รับชมตัวอย่าง มนต์รักนักพากย์ ได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=kAF2hTaIpiM

 

 

อ้างอิง:

The post มนต์รักนักพากย์ ผลงานล่าสุดจาก อุ๋ย นนทรีย์ พร้อมพาผู้ชมไปสัมผัสกับยุครุ่งเรืองของวงการหนังไทย 11 ต.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บ้านเช่า..บูชายัญ ลัทธิประหลาดชวนผวาและคำสวดที่หลอนชวนติดหู https://thestandard.co/home-for-rent/ Sat, 08 Apr 2023 09:58:25 +0000 https://thestandard.co/?p=774524 บ้านเช่าบูชายัญ

    บ้านเช่า..บูชายัญ คือภาพยนตร์สยองขวัญเรื่ […]

The post บ้านเช่า..บูชายัญ ลัทธิประหลาดชวนผวาและคำสวดที่หลอนชวนติดหู appeared first on THE STANDARD.

]]>
บ้านเช่าบูชายัญ

 

 

บ้านเช่า..บูชายัญ คือภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องล่าสุดจากผู้กำกับ จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ที่เคยสร้างความหลอนให้ผู้ชมมาแล้วใน ลัดดาแลนด์ (2554) พร้อมได้ทีมนักแสดงมากฝีมือมาร่วมรับบทนำ ประกอบด้วย เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ, มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน และ ต่าย-เพ็ญพักตร์ ศิริกุล

 

ภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องราวของสองสามีภรรยา กวิน (เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ) และ หนิง (มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน) ซึ่งมีลูกสาววัย 7 ขวบ ที่เปิดบ้านเช่าให้คนแปลกหน้ามาอาศัย กระทั่ง ราตรี (ต่าย-เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) คุณหมอวัยเกษียณ และลูกสาววัย 40 ปีมาเช่าบ้านของพวกเขา ก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นมากมาย ทั้งคนเช่าบ้านที่จู่ๆ ก็ขนอีกามาแขวนไว้หน้าบ้าน จนเพื่อนข้างบ้านยังเล่าว่าทุกตี 4 จะได้ยินเสียงสวดดังออกมาจากบ้าน ไม่เพียงแค่นั้น กวินยังเริ่มมีพฤติกรรมประหลาดมากขึ้นเรื่อยๆ หนิงจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องลูกสาวของเธอจากลัทธิประหลาดนี้ให้ได้

 

 

บ้านเช่า..บูชายัญ นับว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานในการกำกับของ จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ที่โดดเด่นด้วยชั้นเชิงในการนำเสนอที่คอยวางชิ้นส่วนหลักฐานเล็กๆ น้อยๆ ให้เราได้ตั้งคำถาม ตีความ และปะติดปะต่อเรื่องราวอยู่เป็นระยะ ซึ่งทำให้ตัวภาพยนตร์สามารถตรึงผู้ชมได้อย่างอยู่หมัด ควบคู่ไปกับฉากสุดสยองที่ช่วยตอกย้ำ ‘ความแปลกประหลาด’ ที่เกิดขึ้นให้เราได้สัมผัสไปพร้อมกับตัวละคร 

 

ไล่เรียงตั้งแต่จังหวะจะโคนในการหลอกล่อความสนใจของผู้ชม การออกแบบแสงเงาและดนตรีประกอบที่ช่วยเสริมให้บรรยากาศของเรื่องดูเปี่ยมมนตร์ขลังชวนขนลุก การสร้างสรรค์คำสวดบูชาองค์เทพอย่าง “หว่อเย วอยู พูนา ชารา” ที่ยังวนเวียนอยู่ในหัวของเราจนถึงตอนนี้ 

 

 

และองค์ประกอบที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องเห็นจะเป็นสองนักแสดงนำอย่าง มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน และ เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ ที่ถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของตัวเองออกมาได้อย่างโดดเด่น ทั้งบทบาทของหนิง แม่ที่จู่ๆ ก็ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ประหลาดมากมายจนแทบจะควบคุมสติของตัวเองไว้ไม่อยู่ แต่เธอก็ต้องยืนหยัดเพื่อช่วยเหลือลูกสาวของตัวเองให้รอดพ้นจากลัทธิประหลาด รวมถึงกวิน พ่อและสามีที่มีลับลมคมในอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่ชวนให้เราอยากติดตามไปตลอดทั้งเรื่องเช่นกัน 

 

ส่วนจุดที่เซอร์ไพรส์เรามากๆ คือการแสดงของ กัสจัง ที่รับบทเป็น อิง ลูกสาวของกวินและหนิง ที่สามารถถ่ายทอดบทบาทของตัวเองออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมไม่แพ้นักแสดงมากประสบการณ์คนอื่นๆ ทั้งแง่มุมของความน่ารักสดใส ความผูกพันที่มีต่อพ่อและแม่ ไปจนถึงความหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเราอาจกล่าวได้ว่าบทบาทของเธอถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของภาพยนตร์ก็คงไม่ผิดนัก 

 

 

ในภาพรวมแล้ว บ้านเช่า..บูชายัญ นับว่าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญจากฝีมือของผู้กำกับ จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ อีกหนึ่งเรื่องที่สามารถสร้างความลุ้นระทึกจนเรานั่งไม่ติดเก้าอี้ พร้อมกับการชวนผู้ชมมาร่วมตีความและปะติดปะต่อเรื่องราวเพื่อหาความจริงของลัทธิประหลาดไปพร้อมกับตัวละครได้อย่างน่าสนใจ รวมถึงการแสดงของทีมนักแสดงนำทุกคนที่สามารถตรึงให้เราอยู่กับตัวละครไปได้ตลอดทั้งเรื่อง 

 

บ้านเช่า..บูชายัญ เข้าฉายอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์ 

 

รับชมตัวอย่างได้ที่: 

 

 

ภาพ: GDH 

The post บ้านเช่า..บูชายัญ ลัทธิประหลาดชวนผวาและคำสวดที่หลอนชวนติดหู appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครบรอบ 20 ปี แฟนฉัน, พีพี-อิงฟ้า รับบทนำใน The Project D ฯลฯ สรุปโปรเจกต์น่าสนใจจากงาน GDH Line Up 2023 https://thestandard.co/projects-from-gdh-line-up-2023/ Thu, 23 Mar 2023 06:36:04 +0000 https://thestandard.co/?p=767252

วันนี้ (23 มีนาคม) ค่าย GDH จัดงานแถลงข่าว GDH Line Up […]

The post ครบรอบ 20 ปี แฟนฉัน, พีพี-อิงฟ้า รับบทนำใน The Project D ฯลฯ สรุปโปรเจกต์น่าสนใจจากงาน GDH Line Up 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (23 มีนาคม) ค่าย GDH จัดงานแถลงข่าว GDH Line Up 2023 จีดีเอช..เปิดบ้าน..พร้อมเสิร์ฟงานใหม่ ‘ไปให้ถึงใจเธอ’ เพื่อเปิดตัวโปรเจกต์ใหม่ที่เตรียมจ่อคิวมอบความบันเทิงให้กับผู้ชม โดยมีทีมนักแสดงและผู้กำกับเดินทางมาร่วมงานอย่างคับคั่ง 

 

 

เริ่มต้นด้วย The Chinese Family (Working Title) ผลงานการกำกับเรื่องใหม่ของ พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ จากละคร ฉลาดเกมส์โกง พร้อมได้ บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล มารับบทนำ ว่าด้วยเรื่องราวของครอบครัวคนจีนและ Generation Gap ในครอบครัวยุคใหม่ 

 

 

ต่อเนื่องกันที่ The Project D (Working Title) ที่ได้ บอส-นฤเบศ กูโน ซึ่งเคยสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมมาแล้วจากซีรีส์ แปลรักฉันด้วยใจเธอ มานั่งแท่นผู้กำกับ พร้อมด้วย พีพี-กฤษฏ์ อำนวยเดชกร และ อิงฟ้า วราหะ มาร่วมรับบทนำ โดย D ที่มาจาก Durian หรือทุเรียน รวมถึงเป็นชื่อตัวละครที่พีพีสวมบทบาท 

 

 

และสำหรับแฟนๆ ที่ยังคงประทับใจกับความสัมพันธ์ของเจี๊ยบและน้อยหน่าก็เตรียมตัวให้พร้อม เพราะ GDH กำลังจะนำภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน กลับมาให้ทุกคนได้ชมในโรงภาพยนตร์กันอีกครั้งในฉบับ Remaster เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี นอกจากนี้ยังมี Documentary ที่จะพาทุกคนไปย้อนชมปรากฏการณ์ แฟนฉัน รวมถึงการจัดอีเวนต์ GDH FunFest ที่รวมศิลปินตั้งแต่ GDH และ GTH กลับมามอบความสนุกให้กับแฟนๆ 

 

 

 

ตามมาด้วย DELETE ซีรีส์แนวสยองขวัญ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง GDH และ Netflix กำกับโดย โอ๋-ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ จาก HOMESTAY นำแสดงโดย นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต, ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา และ ไอซ์ซึ-ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์

 

 

เพื่อน (ไม่) สนิท ผลงานที่เป็นความร่วมมือกันระหว่าง GDH และ Houston ว่าด้วยเรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่น ความฝัน และหนังสั้น กำกับโดย อัตตา เหมวดี ที่เคยฝากผลงานโฆษณาและมิวสิกวิดีโอมาแล้วมากมาย พร้อมด้วย บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ มาดูแลในตำแหน่งโปรดิวเซอร์ นำแสดงโดยนักแสดงหนุ่มไฟแรง โทนี่-อันโทนี่ บุยเซอเรท์ จาก เธอกับฉันกับฉัน

 

 

ปิดท้ายด้วยภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง บ้านเช่า..บูชายัญ ผลงานการกำกับเรื่องล่าสุดจาก จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ กับเรื่องราวของผู้เช่าบ้านปริศนาที่เข้ามาทำพิธีกรรมสุดสยอง นำแสดงโดย เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ, มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน และ ต่าย-เพ็ญพักตร์ ศิริกุล ภาพยนตร์มีกำหนดเข้าฉาย 6 เมษายนนี้ ในโรงภาพยนตร์ 

 

ภาพ: GDH 

อ้างอิง: 

The post ครบรอบ 20 ปี แฟนฉัน, พีพี-อิงฟ้า รับบทนำใน The Project D ฯลฯ สรุปโปรเจกต์น่าสนใจจากงาน GDH Line Up 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>
บ้านเช่า..บูชายัญ บรรยากาศชวนขนพอง…ค้นหาเบาะแสสุดสยองผ่านภาพโปรโมตชุดแรก ก่อนฉายจริง 6 เม.ย. นี้ https://thestandard.co/ban-chao-buchayan-movie/ Mon, 20 Mar 2023 06:47:34 +0000 https://thestandard.co/?p=765551

บ้านเช่า..บูชายัญ ผลงานการกำกับเรื่องล่าสุดค่าย GDH และ […]

The post บ้านเช่า..บูชายัญ บรรยากาศชวนขนพอง…ค้นหาเบาะแสสุดสยองผ่านภาพโปรโมตชุดแรก ก่อนฉายจริง 6 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

บ้านเช่า..บูชายัญ ผลงานการกำกับเรื่องล่าสุดค่าย GDH และ เอ็นเอท สตูดิโอ ที่ได้ จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ที่เคยสร้างความหลอนให้ผู้ชมมาแล้วใน ลัดดาแลนด์ (2554) มานั่งแท่นผู้กำกับ ได้เผยภาพโปรโมตชุดแรกออกมาให้คอหนังสยองขวัญได้ค้นหาเบาะแส ก่อนไปร่วมไขคดีในบ้านเช่าสุดสยองพร้อมกัน 6 เมษายนนี้ ในโรงภาพยนตร์ 

 

 

สำหรับ บ้านเช่า..บูชายัญ คือภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากคดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นจริง เมื่อมีผู้เช่ารายหนึ่งเป็นพวกลัทธิประหลาดกำลังคุกคามครอบครัวเจ้าของบ้านเพื่อเอาชีวิตมาเป็นเครื่องสังเวย

 

 

กลายมาเป็นเรื่องราวสุดสยองของสองสามีภรรยา กวิน และ หนิง ซึ่งมีลูกสาววัย 7 ขวบ ที่เปิดบ้านเช่าให้คนแปลกหน้ามาอาศัย ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง กระทั่ง ราตรี คุณหมอวัยเกษียณ และ นุช ลูกสาววัย 40 ปี มาเช่าบ้านของพวกเขา ก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นมากมาย ทั้งคนเช่าบ้านที่จู่ๆ ก็ขนอีกามาแขวนไว้หน้าบ้าน แต่งตัวประหลาดๆ จนเพื่อนข้างบ้านยังเล่าว่าทุกตี 4 จะได้ยินเสียงสวดดังออกมาจากบ้าน 

 

ไม่เพียงแค่นั้น กวินยังเริ่มมีพฤติกรรมประหลาดมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีรอยสักเป็นเอกลักษณ์สามเหลี่ยม ซึ่งเป็นรอยสักแบบเดียวกันกับที่พวกคนเช่าบ้านมี หนิงจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องลูกสาวของเธอจากลัทธิประหลาดนี้ให้ได้

 

 

นอกจากชื่อของผู้กำกับ จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ แล้ว ภาพยนตร์ยังคับคั่งด้วยทีมนักแสดงนำมากฝีมือที่จะมาร่วมไขคดีครั้งนี้ นำโดย เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ จาก ดิว ไปด้วยกันนะ (2562), มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน จาก แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว (2559) และ ต่าย-เพ็ญพักตร์ ศิริกุล จาก ปั๊มน้ำมัน (2559) พร้อมด้วย เก้ง-จิระ มะลิกุล และ วรรณ-​วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ มาดูแลในตำแหน่งโปรดิวเซอร์

 

 

ภาพ: GDH 

The post บ้านเช่า..บูชายัญ บรรยากาศชวนขนพอง…ค้นหาเบาะแสสุดสยองผ่านภาพโปรโมตชุดแรก ก่อนฉายจริง 6 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
GDH เปิดตัว บ้านเช่า..บูชายัญ หนังสยองขวัญเรื่องล่าสุด นำแสดงโดย เวียร์ ศุกลวัฒน์ และ มิว นิษฐา https://thestandard.co/gdh-launch-horror-movie/ Fri, 10 Mar 2023 06:26:22 +0000 https://thestandard.co/?p=760981 บ้านเช่า..บูชายัญ

คอภาพยนตร์สยองขวัญห้ามพลาดกับ บ้านเช่า..บูชายัญ ผลงานกา […]

The post GDH เปิดตัว บ้านเช่า..บูชายัญ หนังสยองขวัญเรื่องล่าสุด นำแสดงโดย เวียร์ ศุกลวัฒน์ และ มิว นิษฐา appeared first on THE STANDARD.

]]>
บ้านเช่า..บูชายัญ

คอภาพยนตร์สยองขวัญห้ามพลาดกับ บ้านเช่า..บูชายัญ ผลงานการกำกับเรื่องล่าสุดจาก จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ที่เคยสร้างความหลอนให้กับผู้ชมมาแล้วใน ลัดดาแลนด์ (2554) โดยล่าสุดทางค่าย GDH และ เอ็นเอท สตูดิโอ ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ ณ SF World Cinema ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมปล่อยตัวอย่างแรกให้ทุกคนได้อุ่นเครื่อง ก่อนไปร่วมไขคดีสุดสยองพร้อมกัน 6 เมษายนนี้ ในโรงภาพยนตร์ 

 

 

โดยทีมสร้างได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้จากคดีสะเทือนขวัญ เมื่อผู้เช่าคือพวกลัทธิประหลาดกำลังคุกคามครอบครัวเจ้าของบ้านเพื่อเอาชีวิตมาเป็นเครื่องสังเวย

 

จึงกลายมาเป็นเรื่องราวของสองสามีภรรยา กวิน (เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ) และ หนิง (มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน) ที่เปิดบ้านเช่าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แต่หลังจากที่ผู้เช่าบ้านรายหนึ่งมาเช่าบ้านของพวกเขาก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นมากมาย ทั้งคนเช่าบ้านที่จู่ๆ ก็ขนอีกามาแขวนไว้หน้าบ้าน แต่งตัวประหลาดๆ อีกทั้งเพื่อนข้างบ้านยังเล่าว่า ทุกตี 4 จะได้ยินเสียงสวดดังออกมาจากบ้าน 

 

และเมื่อทั้งคู่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจบ้านเช่า ยังพบสัญลักษณ์สามเหลี่ยมประหลาดๆ ที่วาดด้วยเลือดอยู่ในบ้าน โดยตำรวจสันนิษฐานว่าผู้เช่าอาจจะเป็นลัทธิที่ใช้บ้านเป็นที่ทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อบูชายัญอะไรบางอย่าง เรื่องราวการสืบหาความจริงสุดสยองในบ้านเช่าหลังนี้จึงเริ่มต้นขึ้น 

 

นอกจากชื่อของผู้กำกับ จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ แล้ว ภาพยนตร์ยังคับคั่งด้วยทีมนักแสดงนำมากฝีมือที่จะมาร่วมไขคดีครั้งนี้ นำโดย เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ จาก ดิว ไปด้วยกันนะ (2562) และ มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน จาก แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว (2559) พร้อมด้วย เก้ง-จิระ มะลิกุล และ วัน-​วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ มาดูแลในตำแหน่งโปรดิวเซอร์ 

 

รับชมทีเซอร์แรกได้ที่:

 

The post GDH เปิดตัว บ้านเช่า..บูชายัญ หนังสยองขวัญเรื่องล่าสุด นำแสดงโดย เวียร์ ศุกลวัฒน์ และ มิว นิษฐา appeared first on THE STANDARD.

]]>
เก็บตกบรรยากาศหลังกล้องของ เวียร์ ศุกลวัฒน์ ในรายการ On That Day EP.3 https://thestandard.co/on-that-day-wier-sukollawat/ Sat, 28 May 2022 13:28:14 +0000 https://thestandard.co/?p=635178

THE STANDARD POP เก็บตกภาพบรรยากาศการนั่งไทม์แมชชีนย้อน […]

The post เก็บตกบรรยากาศหลังกล้องของ เวียร์ ศุกลวัฒน์ ในรายการ On That Day EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>

THE STANDARD POP เก็บตกภาพบรรยากาศการนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปกับ เวียร์ ศุกลวัฒน์ ในรายการ On That Day EP.3 เพื่อสำรวจอีกหลายๆ มุมที่ไม่ได้เห็นผ่านหน้ากล้อง ที่สะท้อนให้เห็นถึงช่วงเวลาที่เวียร์รู้สึกว่า

 

เราไม่สามารถ ‘เจ๋ง’ ได้คนเดียวอีกต่อไป

 

รับชมรายการ On That Day EP.3 ได้ที่

 

 

เวียร์ ศุกลวัฒน์ เวียร์ ศุกลวัฒน์

The post เก็บตกบรรยากาศหลังกล้องของ เวียร์ ศุกลวัฒน์ ในรายการ On That Day EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมื่อถึงเวลาที่เราไม่อยาก ‘เจ๋ง’ อยู่คนเดียว เวียร์ ศุกลวัฒน์ On That Day EP.3 https://thestandard.co/on-that-day-weir-sukollawat-kanarot/ Sat, 28 May 2022 11:10:38 +0000 https://thestandard.co/?p=635106 เวียร์ ศุกลวัฒน์

รายการ On That Day EP.3 ชวน เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ นั่ง […]

The post เมื่อถึงเวลาที่เราไม่อยาก ‘เจ๋ง’ อยู่คนเดียว เวียร์ ศุกลวัฒน์ On That Day EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เวียร์ ศุกลวัฒน์

รายการ On That Day EP.3 ชวน เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ นั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปในช่วงเวลาเก่าๆ ผ่านภาพในอินสตาแกรม เริ่มตั้งแต่ภาพเก่าๆ ที่ไม่เคยลบ, บทเรียนจากธรรมชาติและแก๊งหมา, ความสุข ความทุกข์ และมุมมองความรักที่เปลี่ยนแปลงไป 

 

จนทำให้เขารู้สึกว่าจะ ‘เจ๋ง’ อยู่คนเดียวต่อไปไม่ได้แล้ว 

 

รับชมรายการ On That Day EP.3 แบบเต็มๆ ได้ที่ 

 

 

 

นอกจากภาพที่เราเห็นในอินสตาแกรมของเวียร์ มีภาพไหนที่ถูกลบออกไปบ้างไหม?

 

“ไม่เคยลบเลย ขนาดบางทีเป็นภาพลูกค้าจ้างเรามา มีปัญญา 3 เดือน 6 เดือน ลบได้ผมก็ไม่เคยลบของเขา ผมจำทุกรูปได้ว่ามันคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน โมเมนต์แบบไหน เราจะเก็บเอาไว้ ณ ตรงนั้นเสมอ” 

 

 

เวียร์ ศุกลวัฒน์

 

ถ้าไปดูในอินสตาแกรม จะเห็นว่าคุณลงภาพพระอาทิตย์ตกเอาไว้เยอะมาก มีความหมายอะไรซ่อนอยู่เป็นพิเศษหรือเปล่า?

 

“จริงๆ พระอาทิตย์กับพระอาทิตย์ขึ้นสวยเหมือนกันนะ แต่ผมตื่นไม่ทันพระอาทิตย์ขึ้นแค่นั้นเอง (หัวเราะ)

 

“เหมือนผมเสพติดสิ่งนั้น เวลาไปถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นและลงในเวลาและสถานที่ต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกไม่เหมือนกัน ก็ทำให้ผมเรียนรู้ได้ว่าธรรมชาติไม่เหมือนกันในแต่ละวัน คนก็ไม่เหมือนกันในแต่ละคน เราคาดหวังได้นะ แต่ก็ต้องยอมรับว่าผิดหวังแน่ เราไปนั่งรอดูพระอาทิตย์แต่วันนั้นมองไม่เห็นเลยก็มี ซึ่งก็ให้ความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง”

 

 

 

การมีแก๊งหมา 4 ตัว เข้ามาในชีวิต ช่วยให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?

 

“เมื่อก่อนทำอะไรคนเดียว แต่ทุกวันนี้มีหมา 4 ตัว เราไม่ได้ตัวคนเดียวอีกต่อไปแล้ว มีคนให้กลับไปดูแล ให้อาหาร พาไปไหนมาไหน คิดถึงคนอื่นมากขึ้นเวลาจะทำอะไร โกรธง่าย หายเร็ว พูดคำขอบคุณและขอโทษง่ายขึ้น แล้วก็ทำให้เราอ่อนโยนขึ้นด้วย 

 

“ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่เหมือนมันสอนเราโดยไม่รู้ตัวเลยนะ ต้องเรียกว่า อาจารย์ (หัวเราะ)” 

 

 

เวียร์ ศุกลวัฒน์

 

ความสุขในวัย 37 ปี ของเวียร์ ศุกลวัฒน์ คืออะไร? 

 

“ผมไม่ได้วางเป้าหมายชัดเจนในทุกอย่าง แต่มีเป้าเล็กๆ ที่คิดอยู่เหมือนกัน ส่วนใหญ่หลักกลมๆ ที่จะเอามาเป็นเพื่อนผมในชีวิตคือความสุข ผมค่อนข้างเคารพตัวเอง ให้อภัยตัวเองในบางครั้ง มีความสุขง่ายขึ้น และไม่รอช้าที่จะคว้าความสุขที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเอาไว้

 

“แล้วก็พยายามเข้าใจและไม่ตัดสินคนอื่น เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะได้ไม่ต้องทุกข์ว่าทำไมเขาเป็นแบบนั้น ผมคิดแค่นี้ล่ะ ความสุขเกิดขึ้นแล้ว”

 

 

 

ความทุกข์ในวัย 37 ปี ของเวียร์ ศุกลวัฒน์ คืออะไร?

 

“เรื่องพื้นฐานก็ยังมีปะปนกันไปเรื่อยๆ ไม่ได้ในสิ่งทีต้องการ แต่เป็นทุกข์สั้นๆ ที่น้อยลงไปเยอะมาก แต่ก็ต้องมีไว้บ้างเพื่อให้รู้ว่าทุกข์มันเป็นอย่างนี้นะ”

 

เรื่องที่ทำให้เป็นทุกข์เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง?

 

“ตอนเด็กๆ อยู่กับความทุกข์นาน แล้วชอบวิ่งหาเพราะคิดว่าเราเจ๋งอยู่แล้ว ปัจจุบันก็ยังรู้สึกทุกข์อยู่นะ แต่สั้นลง เลี้ยวหลบความทุกข์ได้ แต่อันนั้นเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องเจอ ก็รับผลที่ตามมาให้ได้”

 

ทุกวันนี้ยังรู้สึกว่าตัวเองเจ๋งอยู่ไหม?

 

“เจ๋งครับ เติมข้างหน้าด้วยว่า โคตรเจ๋ง”

 

เวียร์ ศุกลวัฒน์ ในตอนนี้ เจ๋งเรื่องอะไรมากที่สุด?

 

“ผมใช้ชีวิตมันนะ คนอื่นอาจจะมันกว่านี้ก็ได้ แต่ผมรู้สึกตัวเองเจ๋งเรื่องนี้แล้ว เวลาให้คะแนนในชีวิต ผมไม่เคยให้คะแนนความสุขตัวเองน้อยเลย”

 

เวียร์ ศุกลวัฒน์

 

 

มุมมองความรัก ณ ทุกวันนี้ เปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อนอย่างไรบ้าง? 

 

“การผ่านอะไรมาพอสมควร ไม่ได้หมายความว่าเก่งขึ้น เพียงแต่ได้เรียนรู้ว่าเราเป็นคนไม่เพอร์เฟ็กต์ อาจเคยคิดว่าตัวเองเจ๋งเพราะโตมาได้ด้วยตัวคนเดียว แต่พอถึงวันหนึ่ง เรารู้สึกว่าเราเจ๋งคนเดียวไม่ได้ เริ่มไปมองหาความเจ๋งของคนอื่นมากขึ้น  

 

“ไม่เอาตัวเองไปตัดสิน เพราะทุกคนโตมาในครอบครัวที่แตกต่าง ซึ่งเราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เมื่อมีความรัก และต้องพร้อมเติมความเจ๋งของคนอื่นเข้ามา หรือจะเจ๋งคนเดียวก็ได้นะ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันจะเหงาๆ หน่อย”

เวียร์ ศุกลวัฒน์ พูดถึงมุมมองความรักที่เปลี่ยนไป ในรายการ On That Day EP.3 สามารถรับชมรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ YouTube: THE STANDARD POP

The post เมื่อถึงเวลาที่เราไม่อยาก ‘เจ๋ง’ อยู่คนเดียว เวียร์ ศุกลวัฒน์ On That Day EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เวียร์ ศุกลวัฒน์ ช่วงเวลาที่ไม่อยากเจ๋งอยู่คนเดียว | ON THAT DAY EP.3 https://thestandard.co/on-that-day-weir-sukollawat/ Thu, 26 May 2022 12:00:36 +0000 https://thestandard.co/?p=633819 เวียร์ ศุกลวัฒน์

รายการ On That Day EP.3 THE STANDARD POP ชวนทุกคนมานั่ง […]

The post ชมคลิป: เวียร์ ศุกลวัฒน์ ช่วงเวลาที่ไม่อยากเจ๋งอยู่คนเดียว | ON THAT DAY EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เวียร์ ศุกลวัฒน์

รายการ On That Day EP.3 THE STANDARD POP ชวนทุกคนมานั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปในอดีตพร้อม ‘เวียร์ ศุกลวัฒน์’ กับชีวิตในช่วง 37 ปีที่ผ่านมา

 

เริ่มตั้งแต่การท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญกับเขาไม่เคยเปลี่ยน, แก๊งสุนัขบีเกิลที่สอนบทเรียนและเพิ่มความอ่อนโยน, เหตุผลที่ยังเซ็นสัญญากับช่อง 7 ไม่ย้ายค่ายไปไหน, ‘กรงน้ำผึ้ง’ ผลงานล่าสุด, บท ‘จ่าแซม’ ในภาพยนตร์ระดับฮอลลีวูด ‘Thirteen Lives’, ความเจ๋งที่ลดลง, มุมมองความรักที่เปลี่ยนแปลงไป และเวียร์เกิดมาทำไมบนโลกใบนี้

The post ชมคลิป: เวียร์ ศุกลวัฒน์ ช่วงเวลาที่ไม่อยากเจ๋งอยู่คนเดียว | ON THAT DAY EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>